สัสสตทิฐิ ความหมายที่แท้จริงคืออะไรครับ เป็นมิจฉาทิฐิหรือเปล่าครับ
สัสสตทิฐิ ความหมายที่แท้จริงคืออะไรครับ
เริ่มโดย ' hikari, Jul 07 2016 06:45 PM
มี 2 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 07 July 2016 - 06:45 PM
#2
โพสต์เมื่อ 07 July 2016 - 11:42 PM
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) การค้นหาคำว่า “ สัสสตทิฏฐิ ” ผลการค้นหาพบ 5 ตำแหน่ง ดังนี้ :-
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 1 / 5 ทิฏฐิ ความเห็น, ทฤษฎี;
ความเห็นผิดมี ๒ คือ
๑. สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง
๒. อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ;
อีกหมวดหนึ่ง มี ๓ คือ
๑. อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ
๒. อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ
๓. นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี คือถืออะไรเป็นหลักไม่ได้ เช่น มารดาบิดาไม่มีเป็นต้น;
ในภาษาไทยมักหมายถึง การดื้อดึงในความเห็น
(พจนานุกรมเขียน ทิฐิ);
(ข้อ ๔ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม, ข้อ ๓ ในอนุสัย ๗)
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 2 / 5 ภวตัณหา ความอยากเป็นนั่นเป็นนี่ หรืออยากเกิดอยากมีอยู่คงอยู่ตลอดไป,
ความทะยานอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ
(ข้อ ๒ ในตัณหา ๓)
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 3 / 5 ภวทิฏฐิ ความเห็นเนื่องด้วยภพ,
ความเห็นว่า อัตตาและโลกจักมีอยู่คงอยู่เที่ยงแท้ตลอดไป เป็นพวกสัสสตทิฏฐิ
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 4 / 5 สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง คือความเห็นว่า อัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป
เช่น เห็นว่าคนและสัตว์ตายไปแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนดวงชีพหรือเจตภูตหรือมนัสเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง;
ตรงข้ามกับ อุจเฉททิฏฐิ
(ข้อ ๑ ในทิฏฐิ ๒)
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 5 / 5 อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ เช่น เห็นว่าคนและสัตว์จุติจากอัตภาพนี้ แล้วขาดสูญ;
ตรงข้ามกับ สัสสตทิฏฐิ
(ข้อ ๒ ในทิฏฐิ ๒)
สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ .....
ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน .....
ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ .....
อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ
#3
โพสต์เมื่อ 08 July 2016 - 01:36 AM
กราบอนุโมทนาสาธุ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ