ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* - - - - 1 คะแนน

ปฏิจจสมุปบาท (สายการเกิดและดับ) ที่ว่าเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ถามว่าก่อนอวิชชาคืออะไร


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 13 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 cheterkk

cheterkk
  • Members
  • 270 โพสต์

โพสต์เมื่อ 01 June 2014 - 02:59 PM

ปฏิจจสมุปบาท (สายการเกิดและดับ) ที่ว่าเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี  

ถามว่าก่อนหน้าเกิดอวิชชาคืออะไร  เพราะอยู่พระสูตรก็กล่าวมาว่า มีอวิชชาจึงมีสังขาร แล้วอะไรละทำให้เกิดอวิชชา ???

 

10.4.1 ประเภทความสัมพันธ์

ความสัมพันธ์ของปฏิจจสมุปบาทแบ่งเป็น 2 สาย คือ สายเกิด(ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์) เรียกว่า สมุทยวาร และสายดับ(ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวล) เรียกว่า นิโรธวารมีพระบาลีพุทธภาษิตโดยย่อ ดังนี้

1.สายเกิด

อิมสฺมึ สติ อิทํ อุปฺปชฺชติ อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ15)

เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี

เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติจึงมี

เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจจึงเกิดขึ้น พร้อมกองทุกข์ทั้งมวลจึงเกิดขึ้นประการฉะนี้

2.สายดับ

อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ

เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ

เพราะอวิชชาสำรอกดับไปโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ

เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ

เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ ความโศก ความคร่ำครวญ รำพัน ทุกข์ โทมนัสความคับแค้นใจก็ดับ กองทุกข์ทั้งมวลก็ดับลงด้วยประการฉะนี้

 

http://book.dou.us/d...php?id=md408:10



#2 cheterkk

cheterkk
  • Members
  • 270 โพสต์

โพสต์เมื่อ 01 June 2014 - 08:44 PM

ถามว่าก่อนหน้าเกิดอวิชชาคืออะไร  เพราะอยู่ๆ พระสูตรก็กล่าวมาว่า มี อวิชชาจึงมีสังขาร แล้วอะไรละทำให้เกิดอวิชชา ???



#3 ก้าน

ก้าน
  • Members
  • 16 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 26 June 2014 - 10:18 PM

ถามว่าก่อนหน้าเกิดอวิชชาคืออะไร  เพราะอยู่ๆ พระสูตรก็กล่าวมาว่า มี อวิชชาจึงมีสังขาร แล้วอะไรละทำให้เกิดอวิชชา ???

ก่อนเกิดอวิชชาคืออะไรขอตอบว่าอุปทานเกิดก่อนแล้วค่อยมีอวิชชาเป็นคำตอบน่าจะถูกต้องครับไม่ต้องคิดมากการที่จะบรรลุธรรมให้รู้แค่สิ่งๆนั้นพอไม่ต้องไปยึดถือให้มากนักมันจะหนักหัวเอาน้ะครับ



#4 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 27 June 2014 - 07:58 AM

แล้วเดี๋ยวต้องมีปัญหา งูกินหาง  คือ  ก็จะปรากฏคำถามว่า  เมื่ออุปทานเกิดก่อนอวิชา   แล้วอะไรเกิดก่อนอุปทาน  แล้วอะไรเกิดก่อน  สิ่งที่เกิดก่อนอุปทาน   ...........

 

ผมว่าต่อไปมันก็จะเหมือนคำถามที่ตอบได้ และ ไม่ได้  อย่างเช่น  น้ำอ้อยหวานยังไง  น้ำปลาเค็มยังไง  ซึ่งไม่ว่านักปราชณ์คนไหนก็ไม่มีทางอธิบายให้ชัดแจ้งได้

 

คนที่เคยลองลิ้มรสสิ่งเหล่านี้มาแล้ว  ก็จะสามารถตอบ  เพราะเขาเข้าใจถ่องแท้แล้ว  แต่สำหรับผู้ที่ไม่เคยลิ้มรสเล่า  ให้ผู้ที่เคยลิ้มรสมาก่อน  อธิบายยังไง  ก็ไม่มีทางเข้าใจได้ชัดเจนอย่างแน่นอน

 

พระพุทธองค์ทรงตรัสธรรมเหล่านี้  ตามความลุ่มลึกของผู้ฟัง  เพราะทรงพิจารณาแล้วว่าตรัสแล้วจะเกิดประโยชน์แก่ผู้ฟัง  เพราะผู้ฟังธาตุธรรมเหมาะสมแล้วกับธรรมเหล่านั้น   ในเมื่อเราต้องการที่จะศึกษาธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ถ้าเราเข้าใจตามนี้  เราก็ต้องทำตัวเราให้ลุ่มลึกเหมาะสมกับธรรมเหล่านั้นก่อน  แล้วจะทำให้เราเข้าใจธรรมเหล่านั้นได้อย่างลึกซึ้งชัดเจน  ไม่มีผิวเผิน

 

เคยมีผู้กล่าวไว้   (ขออภัย จำไม่ได้จริงๆ ว่าไปจดมาจากตรงไหน  อาจจะมาจากพระไตรปิฎก  แต่ไม่ขอยืนยัน)   การศึกษาพระไตรปิฎกมีอยู่ 3 แบบ

 

 ๑. อลคัททูปริยัติ การศึกษาแบบจับงูพิษที่หาง คือ ศึกษาพุทธพจน์เพื่อ ลาภ สักการะสรรเสริญ หรือเพื่อยกตนข่มผู้อื่น ย่อมเป็นโทษกับตนเอง เหมือนการจับงูพิษที่หาง งูย่อมแว้งขบกัดเอาได้

 

 ๒. นิสสรณัตถปริยัติ การศึกษาเพื่อประโยชน์แก่การออกไปจากทุกข์คือ ศึกษาพุทธพจน์เพื่ออบรมปัญญา เป็นการศึกษาของผู้ที่เห็นโทษภัยของกิเลส เห็นภัยในวัฏฏสงสารปรารถนาจะออกไปจากวัฏฏทุกข์

 

๓. ภัณฑาคาริกปริยัติ การศึกษาแบบขุนคลัง คือ ศึกษาพุทธพจน์เพื่อทรงพระศาสนาไว้ไม่ให้เสื่อมสูญ เป็นการศึกษาของพระอรหันต์ซึ่งหมดกิจในการอบรมปัญญาเพื่อละกิเลสแล้ว แต่มีฉันทะและเห็นประโยชน์ในการศึกษาเพื่อถ่ายทอดพระธรรมคำสอนให้แก่ชนรุ่นหลัง

 

การศึกษาธรรมมีประโยชน์แน่ๆ  แต่เราจะเลือกศึกษาแบบไหน  นั่นคือ อีกเรื่องหนึ่งครับ  ค่อยๆ พิจารณากันไปครับผม


สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#5 ก้าน

ก้าน
  • Members
  • 16 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 27 June 2014 - 08:18 PM

แล้วเดี๋ยวต้องมีปัญหา งูกินหาง  คือ  ก็จะปรากฏคำถามว่า  เมื่ออุปทานเกิดก่อนอวิชา   แล้วอะไรเกิดก่อนอุปทาน  แล้วอะไรเกิดก่อน  สิ่งที่เกิดก่อนอุปทาน   ...........

 

ผมว่าต่อไปมันก็จะเหมือนคำถามที่ตอบได้ และ ไม่ได้  อย่างเช่น  น้ำอ้อยหวานยังไง  น้ำปลาเค็มยังไง  ซึ่งไม่ว่านักปราชณ์คนไหนก็ไม่มีทางอธิบายให้ชัดแจ้งได้

 

คนที่เคยลองลิ้มรสสิ่งเหล่านี้มาแล้ว  ก็จะสามารถตอบ  เพราะเขาเข้าใจถ่องแท้แล้ว  แต่สำหรับผู้ที่ไม่เคยลิ้มรสเล่า  ให้ผู้ที่เคยลิ้มรสมาก่อน  อธิบายยังไง  ก็ไม่มีทางเข้าใจได้ชัดเจนอย่างแน่นอน

 

พระพุทธองค์ทรงตรัสธรรมเหล่านี้  ตามความลุ่มลึกของผู้ฟัง  เพราะทรงพิจารณาแล้วว่าตรัสแล้วจะเกิดประโยชน์แก่ผู้ฟัง  เพราะผู้ฟังธาตุธรรมเหมาะสมแล้วกับธรรมเหล่านั้น   ในเมื่อเราต้องการที่จะศึกษาธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ถ้าเราเข้าใจตามนี้  เราก็ต้องทำตัวเราให้ลุ่มลึกเหมาะสมกับธรรมเหล่านั้นก่อน  แล้วจะทำให้เราเข้าใจธรรมเหล่านั้นได้อย่างลึกซึ้งชัดเจน  ไม่มีผิวเผิน

 

เคยมีผู้กล่าวไว้   (ขออภัย จำไม่ได้จริงๆ ว่าไปจดมาจากตรงไหน  อาจจะมาจากพระไตรปิฎก  แต่ไม่ขอยืนยัน)   การศึกษาพระไตรปิฎกมีอยู่ 3 แบบ

 

 ๑. อลคัททูปริยัติ การศึกษาแบบจับงูพิษที่หาง คือ ศึกษาพุทธพจน์เพื่อ ลาภ สักการะสรรเสริญ หรือเพื่อยกตนข่มผู้อื่น ย่อมเป็นโทษกับตนเอง เหมือนการจับงูพิษที่หาง งูย่อมแว้งขบกัดเอาได้

 

 ๒. นิสสรณัตถปริยัติ การศึกษาเพื่อประโยชน์แก่การออกไปจากทุกข์คือ ศึกษาพุทธพจน์เพื่ออบรมปัญญา เป็นการศึกษาของผู้ที่เห็นโทษภัยของกิเลส เห็นภัยในวัฏฏสงสารปรารถนาจะออกไปจากวัฏฏทุกข์

 

๓. ภัณฑาคาริกปริยัติ การศึกษาแบบขุนคลัง คือ ศึกษาพุทธพจน์เพื่อทรงพระศาสนาไว้ไม่ให้เสื่อมสูญ เป็นการศึกษาของพระอรหันต์ซึ่งหมดกิจในการอบรมปัญญาเพื่อละกิเลสแล้ว แต่มีฉันทะและเห็นประโยชน์ในการศึกษาเพื่อถ่ายทอดพระธรรมคำสอนให้แก่ชนรุ่นหลัง

 

การศึกษาธรรมมีประโยชน์แน่ๆ  แต่เราจะเลือกศึกษาแบบไหน  นั่นคือ อีกเรื่องหนึ่งครับ  ค่อยๆ พิจารณากันไปครับผม

ขอบคุณครับ 8-) :oสาธุ



#6 Nee-Sansanee 2

Nee-Sansanee 2
  • Members
  • 893 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 27 June 2014 - 10:06 PM

มีฉากหลังจ้า  รู้ ๆกันอยู่แล้ว เขาบดเขาบัง เราไว้ด้วยกับดักที่ทำให้ไหลหลง

งงงวย  ไม่รู้ตัวว่าติดอยู่ในกรงขัง  เป็นอวิชชา  พญามาร

 

ถูกผิดประการใด ๆก็ขออภัยไว้เลยค่ะ เพียงผ่านมาร่วมเสวนาด้วย และรอดู

คำตอบจากผู้รู้ต่อไป



#7 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 28 June 2014 - 02:19 PM

ก่อนเกิดฝน เป็นอะไร

ตอบว่า เป็น เมฆ

 

ก่อนเกิดเมฆ เป็นอะไร

ตอบว่า เป็น น้ำที่พื้นดิน (ระเหยไปเป็นเมฆ)

 

ก่อนเกิดน้ำที่พื้นดิน เป็นอะไร

ตอบว่า เป็น ฝน(ตกลงมา)

 

ก่อนเกิดฝน เป็นอะไร

ตอบ อ้าว ซ้ำเดิมแล้ว แต่ก็ไม่มีใครสงสัยอะไรเรื่องนี้นะ อิอิ


ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#8 ก้าน

ก้าน
  • Members
  • 16 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 28 June 2014 - 06:42 PM

อุปทานขันทั้ง5อันเกิดจากเหตุปัจจัยที่อาศัยกันและกันจึงยังเกิดขึ้นได้

#9 cheterkk

cheterkk
  • Members
  • 270 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 June 2014 - 04:01 PM

จริงๆเรื่องนี้น่าจะมีคำตอบในภาคการเรียนของวิชาปรัชญาชั้นสูงนะครับ 

 

ประเด็นทางปรัชญา[แก้]

นักปรัชญาสนใจในเรื่องของ การมีอยู่ (Existence) หรือการเป็นอยู่ คุณธรรม ความรู้ ความจริง และความงาม นักปรัชญา ตั้งคำถามกับแนวคิดเหล่านี้ --- ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่นอกขอบเขตของการศึกษาของวิทยาศาสตร์ ในอดีต

เรื่องที่อยู่ในขอบเขตการศึกษาของปรัชญา มีจำนวนมาก อาทิเช่น

  • ความคิดที่ถูกต้อง เป็นอย่างไร?

เราจะตรวจสอบว่า ความคิดใดถูกต้องหรือไม่ ได้อย่างไร? ธรรมชาติของความคิดและการคิดเป็นอย่างไร?

  • ความคิดที่ถูกต้องเป็นสิ่งสัมบูรณ์หรือว่าเป็นสิ่งสัมพัทธ์?
  • ธรรมชาติของความรู้เป็นอย่างไร?

ความรู้ เกิดจากเหตุปัจจัยใดบ้าง? อะไรคือกระบวนการที่ทำให้ได้มาซึ่งความรู้?

  • การกระทำ ควรจะมีเป้าหมายขั้นสุดท้ายอยู่ที่อะไร?
  • มีความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ดีกับสิ่งที่ชั่วหรือไม่? อะไรคือเกณฑ์แบ่งแยกระหว่างดีและชั่ว?
  • อะไรคือความจริง? อะไรคือสิ่งที่มีอยู่? จักรวาลนี้มีพระเจ้าหรือไม่?
  • ธรรมชาติพื้นฐานของสรรพสิ่งคืออะไร?
  • สรรพสิ่งมีอยู่ด้วยตัวของมันเองนอกเหนือการรับรู้ของเราหรือไม่?
  • ธรรมชาติของสถานที่และเวลาเป็นอย่างไร?
  • คนเรา เกิดมาทำไม? การมีสติรู้คืออะไร?
  • ความงามเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับผู้ที่รับรู้หรือไม่? หรือว่าเป็นสิ่งสากลที่เป็นจริงในตัวเองแม้จะไม่ถูกรับรู้?
  • องค์ประกอบของความงามคืออะไร? อะไรคือศิลปะ?

เหล่านี้ เป็นต้น

ในปรัชญากรีกโบราณ กลุ่มของคำถามเหล่านี้จะถูกพิจารณาถึงในสาขาแยกย่อยของปรัชญา คือ การวิเคราะห์ หรือตรรกศาสตร์ญาณวิทยา จริยศาสตร์ อภิปรัชญา และสุนทรียศาสตร์ โดยที่จริยศาสตร์กับสุนทรียศาสตร์ถูกรวมเรียกว่าอรรฆวิทยา/คุณวิทยา (Axiology) อย่างไรก็ตามปรัชญามิได้สนใจเฉพาะเรื่องเหล่านี้เท่านั้น อริสโตเติลผู้ริเริ่มการแบ่งสาขาในลักษณะนี้ยังคงจัดให้การเมืองฟิสิกส์สมัยใหม่ ธรณีวิทยา ชีววิทยา อุตุนิยมวิทยา และดาราศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของการศึกษาทางปรัชญาด้วยเช่นกัน แวดวงปรัชญากรีกได้พัฒนากระแสการคิดแบบวิเคราะห์ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากโสกราตีสและวิธีการของเขา ซึ่งเสนอให้แบ่งปัญหาที่สนใจออกเป็นส่วนๆ เพื่อทำให้เข้าใจปัญหาได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตามปรัชญาแนวอื่น เช่นในปรัชญาตะวันออก อาจไม่จำเป็นต้องใช้การแบ่งสาขาย่อยในลักษณะที่กล่าวมา หรือว่าสนใจในเรื่องเดียวกัน

ปรัชญาสาขาต่าง ๆ[แก้] ญาณวิทยา[แก้]

ญาณวิทยา หรือเรียกอีกอย่างว่า ทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge) บัญญัติขึ้นเพื่อใช้เป็นคำแปลของคำภาษาอังกฤษว่า Epistemology ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า Episteme (ความรู้) และ Logos (วิชา) มีความหมายว่า ทฤษฎีแห่งความรู้ ซึ่งญาณวิทยาจะอธิบายถึงปัญหาเกี่ยวกับที่มาของความรู้ แหล่งเกิดของความรู้ ธรรมชาติของความรู้ และเหตุแห่งความรู้ที่แท้จริง

อภิปรัชญา[แก้]

อภิปรัชญาเป็นศัพท์บัญญัติของคำว่า Metaphysics หมายถึงศาสตร์ที่ว่าด้วยความเป็นจริงหรือสารัตถะ (Reality Essence) มีปรัชญาอีกสาขาหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ Metaphysics คือ Ontology แปลว่า ภววิทยา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความมี (being) ศาสตร์ทั้งสองนี้มีความเกี่ยวข้องกันเพราะว่า Metaphysics คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะว่ามีจริงหรือไม่ Ontology ก็ศึกษาเรื่องความมีอยู่ของความแท้จริง หรือสารัตถะนั้นเป็นจริงอย่างไรโดยทั่วไปถือว่าศาสตร์ทั้งสองนี้ศึกษาเรื่องเดียวกัน คือ ความมีอยู่ของความแท้จริง หรือความแท้จริงที่มีอยู่ เพราะฉะนั้นจึงถือว่าศาสตร์ทั้งสองเป็นเรื่องเดียวกัน อภิปรัชญาเป็นการศึกษาปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากการเห็นทั่ว ๆ ไป หรือความรู้ที่อยู่นอกเหนือการรู้เห็นใด ๆ แต่สามารถรู้และเข้าใจด้วยเหตุผล

จริยศาสตร์[แก้]

จริยศาสตร์ (Ethics) มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาละตินคำว่า (Ethos) ที่หมายถึง อุปนิสัย หรือหลักของความประพฤติ ขนบธรรมเนียมที่เป็นความเคยชิน จริยศาสตร์ เป็นการศึกษาถึงเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์เราว่าคืออะไร อะไรควรทำหรือไม่ควรทำเพื่อจะได้ไปถึงเป้าหมายสูงสุดนั้น และจะใช้เกณฑ์อะไรมาตัดสินว่า สิ่งนี้ดี สิ่งนี้ไม่ดี ดังนั้น เป้าหมายของชีวิต คือ ตัวที่จะกำหนดการกระทำของมนุษย์ว่าจะเป็นไปในแนวทางใด และเป้าหมายชีวิตของมนุษย์แต่ละคนนั้นก็แตกต่างกันออกไปหลายแนวคิด

สุนทรียศาสตร์[แก้]

สุนทรียศาสตร์เป็นศัพท์คำใหม่ ที่บัญญัติขึ้นโดย โบมการ์เด็น (Alexander Gottieb Baumgarte) ซึ่งก่อนหน้าที่เป็นเวลา 2000 กว่าปี นักปราชญ์สมัยกรีก เช่น เพลโต อริสโตเติล กล่าวถึงแต่เรื่องความงาม ความสะเทือนใจ ซึ่งเป็นความรู้สึกทางการรับรู้ (Sense Perception) ของมนุษย์ ปัญหาที่พวกเขาโต้เถียงกันได้แก่ ความงามคืออะไร ค่าของความงามนั้นเป็นจริงมีอยู่โดยตัวของมันเองหรือไม่ หรือว่าค่าของความงามเป็นเพียงความข้อความที่เราใช้กับสิ่งที่เราชอบ ความงามกับสิ่งที่งามสัมพันธ์กันอย่างไร มีมาตรการตายตัวอะไรหรือไม่ที่ทำให้เราตัดสินใจได้ว่าสิ่งนั้นงามหรือไม่งาม สุนทรียศาสตร์นับว่าเป็นแขนงหนึ่งของปรัชญาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาคุณค่า (Axiology) ในสมัยก่อนวิชานี้เป็นที่รู้จักกันในรูปของวิชา “ทฤษฎีแห่งความงาม” (Theory of Beauty)

ตรรกศาสตร์[แก้]

ตรรกศาสตร์ หรือ ตรรกวิทยา (logic) มาจากรากศัพท์ ในภาษากรีกว่า “Logos” และความหมายของคำว่า logos ตามรากศัพท์เดิมในภาษากรีก หมายถึง คำพูด การพูด เหตุผล สมมุติฐาน สุนทรพจน์ คำกรีกที่มีรากศัพท์มาจาก logos เช่น logistikon มีความหมายถึง การอธิบาย การให้รายละเอียด นอกจากนี้ยังมีความหมาย หมายถึง คำสัญญา แต่อย่างไรก็ตามความหมาย ที่ซ่อนอยู่ของคำว่า Logic คือ การคิด นั่นเอง ตรรกวิทยามิใช่เรื่องราวของปรัชญาโดยตรง แต่มีความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องมือในการคิดทางปรัชญา เพื่อค้นหาเหตุผลและความถูกผิดในการโต้แย้งที่ต่างกัน

หรือ ตรรกศาสตร์ เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการแสวงหาเหตุผล ข้ออ้าง ข้อสรุป เพื่อให้เกิดความเชื่อ วิธีคิดอย่างมีเหตุผลของตรรกวิทยาที่นำมาเป็นเครื่องมือของความคิดในปรัชญามักมี 2 วิธีคือ

  1. อนุมานวิธี คือ การหาความจริงจากสิ่งที่เราเชื่อว่าเป็นจริงจากข้อสรุปที่ถูกต้องเหมาะสมที่มีอยู่ก่อนแล้ว
  2. อุปมานวิธี คือ การหาความจริงหรือการคิดหาเหตุผลด้วยการพิจารณาข้อปลีกย่อยอื่นด้วยการทดลอง ค้นคว้า แล้วนำมาเป็นข้อสรุปหากฎเกณฑ์
แนวคิดทางปรัชญา[แก้] จิตนิยม[แก้]

จิตนิยมเชื่อว่า มนุษย์เรามีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ จิต กับ ร่างกาย และเชื่อว่า จิตนั้นมีความสำคัญมากกว่าร่างกาย เพราะเป็นตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ จิตหรือวิญญาณนั้นเป็นอมตะ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ร่างกายนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปมา มีเกิดมีดับตามสภาพโลกภายนอก จึงทำให้ร่างกายเกิดสุขหรือทุกข์ต่าง ๆ จิตนิยมมองว่า จิตนั้นทำหน้าที่ควบคุมร่างกาย ส่วนร่างกายเป็นเพียงสิ่งที่ทำตามความต้องการของจิตเท่านั้น

จิตนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้จักการเรียนรู้ คิดค้น และมีอารมณ์ ความรู้สึกได้ ส่วนสมองนั้นเป็นเพียงเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้มนุษย์เรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ แต่ผู้ที่กระทำการเรียนรู้ เข้าใจ นึกคิดนั้นต้องเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ใช่สมอง และไม่ใช่สสาร และสิ่งนั้นคือ จิตหรือวิญญาณ และแม้ว่า จิตจะไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้ แต่มันก็เป็น จริงอยู่ในตัวเราเท่า ๆ กับร่างกายที่เป็นจริงด้วย

เพลโตเชื่อว่า มนุษย์เรามีธรรมชาติเป็นจิตกับร่างกาย เรียกทัศนะนี้ว่า ทวินิยม เพลโตแบ่งจิตออกเป็น 3 ภาค 3 หน้าที่ จิตภาคไหนแข็งแรงกว่า ร่างกายก็จะทำตามจิตภาคนั้นออกคำสั่ง ได้แก่

  1. ภาคตัณหา คือ ภาคที่มนุษย์ล้วนอยู่ในความต้องการความสุขทางร่างกาย เช่น กิน อยู่ โดยไม่คิดถึงสิ่งใดเลย ไม่สนใจความดี ความงาม หรือความเป็นจริง
  2. ภาคน้ำใจ คือ ภาคที่มนุษย์มีความรู้สึกทางใจเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุทางวัตถุ เช่น ความซื่อสัตย์ ความรักเกียรติ ความมีเมตตา คนที่มีจิตภาคนี้เข้มแข็ง ก็จะมีภาคตัณหาน้อยลง เพราะความสุขของเขาไม่ได้อยู่ที่การสนองตัณหา
  3. ภาคปัญญา คือ จิตในด้านที่เป็นเหตุผล เป็นจิตภาคที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับความเป็นมนุษย์ เพลโตถือว่า มนุษย์จะแตกต่างจากสัตว์และสิ่งต่าง ๆ ในโลก ก็ด้วยจิตภาคปัญญานี้เท่านั้น และการใช้ปัญญาเหตุผลของมนุษย์ภาคนี้ ก็จะทำให้มนุษย์เข้าถึงโลกของแบบได้

มนุษย์ทุกคนมีจิตทั้ง 3 ภาคเหมือนกัน แตกต่างที่อัตราส่วนของจิตในแต่ละภาคนั้นไม่เท่ากัน ใครคนหนึ่งจะแสดงพฤติกรรมอะไรออกมา ก็แล้วแต่ว่ามีจิตภาคไหนเข้มแข็งที่สุด จิตที่ดีที่สุด คือ จิตที่มีภาค 3 ภาค สมดุลกัน แต่ขอให้ภาคปัญญานำภาคอื่น ๆ ก็เป็นอันใช้ได้

ปรัชญาตะวันออก[แก้] ปรัชญาอินเดีย[แก้]

ปรัชญาอินเดียแบ่งเป็น 2 พวก โดยแบ่งตามการนับถือเกี่ยวกับคัมภีร์พระเวท

  1. ปรัชญานาสติกะ โดยเป็นปรัชญาที่ไม่เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์พระเวท ได้แก่
  2. ปรัชญาอาสติกะ โดยเป็นปรัชญาที่เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์พระเวท ได้แก่
ปรัชญาจีน[แก้]

จีนเป็นหนึ่งในชนชาติที่มีประวัติแนวคิดเรื่องปรัชญามายาวนาน โดยมีความรุ่งเรื่องสูงสุดครั้งแรกในยุคชุนชิวจ้านกว๋อ ที่เรียกว่า "ร้อยสำนักความคิด" โดยมีนักปรัชญาที่สำคัญๆได้แก่ เหลาจื๊อแห่งลัทธิเต๋าที่เน้นหลักธรรมชาติและการไม่กระทำ ขงจื๊อแห่งลัทธิขงจื๊อผู้ยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ซางยางและหายเฟยแห่งลัทธิกฎหมาย ที่เชื่อว่ามนุษย์มีพื้นฐานดั้งเดิมชั่วร้ายและต้องใช้กฎหมายควบคุม ม่อจื่อที่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน



#10 vividu

vividu
  • Members
  • 716 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:Seattle, WA
  • Interests:Meditation

โพสต์เมื่อ 01 July 2014 - 07:12 AM

Dear K. Tuppe,

I want to know and understand this topic too. May you please make summary for us(or others who don't really understand Thai Ka)

Krap kob pra koon of the Dhammatan ka


8-)


#11 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 01 July 2014 - 08:00 AM

Dear  K.tian ai

 

I'm so sorry  my English  can not talk about  Dhamma  so  much.

 

Because  They have many words that I do not know in English.

 

But  Please wait for a while  I will try to find some part of Pratripitaka in English for all  as soon as I can..

 

(And a Big Problem for me is  I can not understand Pratripitaka in English clearly.......I wanna cry for my English....)


สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#12 ก้าน

ก้าน
  • Members
  • 16 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 16 July 2014 - 03:57 PM

แนะนำให้ไปเรียนพุทธวนก่อนน้ะครับคุณ
Cheterkk



#13 อารยาดุสิต

อารยาดุสิต
  • Members
  • 104 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 17 July 2014 - 02:17 PM

ส่าธุ



#14 cheterkk

cheterkk
  • Members
  • 270 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 July 2014 - 03:23 PM

ก่อนเกิดฝน เป็นอะไร

ตอบว่า เป็น เมฆ

 

ก่อนเกิดเมฆ เป็นอะไร

ตอบว่า เป็น น้ำที่พื้นดิน (ระเหยไปเป็นเมฆ)

 

ก่อนเกิดน้ำที่พื้นดิน เป็นอะไร

ตอบว่า เป็น ฝน(ตกลงมา)

 

ก่อนเกิดฝน เป็นอะไร

ตอบ อ้าว ซ้ำเดิมแล้ว แต่ก็ไม่มีใครสงสัยอะไรเรื่องนี้นะ อิอิ

เห็นด้วย มันคงเป็นอจินไตร พระพุทธองค์สอนให้ถอนศรออกจากอกก่อน ที่จะไปถามว่าใครยิง