ไปที่เนื้อหา


Roytavan

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 31 Dec 2008
ออฟไลน์ ใช้งานล่าสุด Aug 13 2012 11:01 AM
-----

กระทู้ที่ฉันเริ่ม

กลอนเวียนประทักษิณก่อนบวช (พรุ่งนี้เช้า)

19 July 2010 - 10:09 AM



กลอนสำหรับเวียนประทักษิณก่อนบวช 2553


น้อมก้มกราบวันทาสาธุหัตถ์
ปรมัตถ์สัตยาอธิษฐาน
เดินเวียนทักษิณาสาธุการ
บรมศานต์องค์ปฐมมุนินทร

ขออัญเชิญพรหมอินทร์แลเทพไท้
ทุกภพไตรโขดหินแลสิงขร
คนธรรพ์ ครุฑ ยักษ์ ยม นาค นาคร
ประนมกรสาธุโมทนา

ณ บัดนี้ศรีฤกษ์เบิกสวัสดิ์
เจริญวัตรสัทธรรมพระศาสนา
เดินตามรอยแห่งองค์พระสัมมา
บวชบูชาคุณพระรัตนตรัย

น้อมพระธรรมนำใจใสพิสุทธิ์
สังฆพุทธเกริกฤกษ์มไห
กลั่นนิมิตรองรับบุญจากแดนไตร
ปวงเทพไท้แซ่ซ้องก้องจักรวาล

เปล่งวาจาโมทนาว่าสาธุ
จงบรรลุทำนุธรรมอันไพศาล
ด้วยดวงจิตตั้งมั่นสู่นิพพาน
สาธุการสานถ้อยโมทนา

ด้วยอำนาจพุทธามหาสัตย์
ปรมัตถ์จรัสตรัยนัยสิกขา
ให้ทุกท่านเจริญโรจน์โชติมรรคา
สุขหรรษามหาวัตรพิพัฒน์เทอญ




อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ

กาญจน์มุนี ศรีวิศาลภพ (พี่อู๊ด)
19 กรกฎาคม 2010



กลอนขอขมาเพื่อลาบวช

05 February 2010 - 09:48 PM



กลอนขอขมาเพื่อลาบวช


หยาดน้ำตา ไหลนอง อาบสองแก้ม
รอยยิ้มแย้ม เปี่ยมสุข จิตผ่องใส
ปลี้มปิติ เห็นลูกครอง คล้องผ้าไตร
ตามครรไล รอยบาท ศาสดา

เพียงครั้งเดียว ที่หวัง ในชีวิต
ขอตั้งจิต สืบสานพระ ศาสนา
ลูกขอบวช ตามรอย พระสัมมา
เทิดคุณค่า พุทธศาสน์ ปราชญ์บดินทร์

เหนือพระคุณ อื่นใด ในไตรภพ
ฤาจักกลบ พระคุณแม่ ให้ถวิล
ค่าน้ำนม จากอก ที่หลั่งริน
ฤาจักสิ้น แม้นชีพดับ ลับวิญญา

“อุกาสะ” ลูกขอลา ในครานี้
เพียงเพื่อที่ แทนคุณพระ ศาสนา
แทนพระคุณ พ่อแม่ ที่เมตตา
เลี้ยงดูมา จนเติบใหญ่ ใช่จากจร

แม้นเกิดใหม่ เป็นลูก ศากยะ
ใช่ลดละ คำแม่ ที่สั่งสอน
น้ำคำพ่อ ครูอาจารย์ ยังสังวรณ์
ใช่ตัดรอน เรียงร้อย ถ้อยวจี

แม้นพลาดพลั้ง ผิดไป ในครั้งก่อน
ยังอาทร ขอขมา ละศักดิ์ศรี
ขอก้มกราบ แทบบาท พระภูมี
ตัวลูกนี้ ขอลา สถาพร

เอสาหัง ภันเต อุกาสะ
สรณะ พุทธองค์ คงคำสอน
ละกิเลส ตัณหา ละนิวรณ์
คือคำสอน แห่งองค์ พระสัมมา

ขอครองผ้า ผืนนี้ เพียงครั้งหนึ่ง
ขอเพียงพึ่ง บารมี ไตรสิกขา
ครองผ้าทอง กาสายะ พระพุทธา
น้อมบูชา องค์พระ รัตนตรัย

ขอน้ำตา แม่แก้ว อย่ารินหลั่ง
จงหยุดยั้ง ด้วยธรรม นำสดใส
ให้พ่อแม่ มีสุข ปลอดโรคภัย
แม้นลูกไกล ให้สุข สวัสดี

ผ้าผืนนี้ คือธงชัย อรหัต
ประกาศชัด สู่ทาง ธรรมวิถี
กลายเป็นหนึ่ง แห่งไตรรัตน์ หัตถ์บดี
ด้วยบุญนี้ จงพิพัฒน์ สวัดิ์ชัย.



อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ

กาญจน์มุนี ศรีวิศาลภพ (พี่อู๊ด)


---------------------------------


กลอนสำหรับเวียนประทักษิณ


น้อมก้มกราบวันทาสาธุหัตถ์
ปรมัตถ์สัตยาอธิษฐาน
เดินเวียนทักษิณาสาธุการ
บรมศานต์องค์ปฐมมุนินทร

ขออัญเชิญพรหมอินทร์แลเทพไท้
ทุกภพไตรโขดหินแลสิงขร
คนธรรพ์ ครุฑ ยักษ์ ยม นาค นาคร
ประนมกรสาธุโมทนา

ณ บัดนี้ศรีฤกษ์เบิกสวัสดิ์
เจริญวัตรสัทธรรมพระศาสนา
เดินตามรอยแห่งองค์พระสัมมา
บวชบูชาคุณพระรัตนตรัย

ขอทุกท่านน้อมธรรมนำดวงจิต
กลั่นนิมิตรกลางกายให้สุขใส
รองรับบุญทบทวีจากแดนไตร
ปวงเทพไท้แซ่ซ้องสาธุการ.



อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ

กาญจน์มุนี ศรีวิศาลภพ (พี่อู๊ด)







เรียน ท่านสมาชิกและสาธุชนทุกท่าน

ขอกราบอนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่มีส่วนนร่วมงานบวชพระในวันพรุ่งนี้นะคะ
บทกลอนที่ผู้เขียนได้นำมาโพสต์ไว้ทั้ง 2 บทนี้
จะเป็นบทกลอนที่ทำให้ทุกท่านได้ตรึกระลึกถึงบุญอันยิ่งใหญ่ได้บ้างไม่มากก็น้อย...
โดยเฉพาะช่วงที่นาคกราบขอขมาพ่อแม่ญาติพี่น้องและมิตรสหาย...
ที่ต่างก็ต้องหลั่งน้ำตาแห่งความปลื้มปิติออกมาอย่างไม่ขาดสาย
จนยากที่จะเอามาตรวัดปริมาณของน้ำตาแห่งความปลื้มปิติใจในแต่ละครั้งได้...


ขอกราบอนุโมทนาบุญนะคะ

กาญจน์มุนี ศรีวิศาลภพ (ร้อยตะวัน)


กลอนตักบาตรฉลองพระใหม่ 15,000 รุป

06 September 2009 - 09:37 AM



กลอนตักบาตรฉลองพระใหม่ 15,000 รุป


ทิฆัมพรอมรโรจน์โชติไตรรัตน์
น้อมนำภัตราหารทานถวาย
งามเหล่าสงฆ์หนึ่งหมื่นห้าเดินเรียงราย
ธรรมกายสายสวรรค์ชั้นนิพพาน

กงล้อธรรมเคลื่อนนำธรรมจักร
รอยสลักพุทธาเลิศเปิดสังสาร
ประวัติศาสตร์จักจารึกชั่วกัปป์กาล
ทุกพิมานเทพแซ่ซ้องก้องธานินทร์

ภัตตานิสะปะริวารานิ
สมาธิรวมนิ่งดิ่งกสิณ
ขออำนาจพระตรัยรัตนขจัดจินต์
ลดละสิ้นปวงกิเลสเพทนิรันดร์

ปฐพีทาบทองฉลองวัตร
พระโปรดสัตว์สพัดธรรมนำสุขสันต์
ชนน้อมใจมาใส่บาตรอย่างพร้อมพลัน
ฉลองวันพระบวชใหม่มไหกาล

ขออัญเชิญเทพบดินทร์ปิ่นชั้นฟ้า
ปวงอินทราพรหมมินทร์ถิ่นไพศาล
คนธรรพ์ ครุฑ ยักษ์ ยม นาคบาดาล
สาธุการแซ่ซ้องโมทนา

ขอคุณพระไตรรัตน์อันศักดิ์สิทธิ์
บันดาลฤทธิ์ให้ท่านสมปรารถนา
คิดสิ่งใดให้สำเร็จในทุกครา
ชั่วชีวาให้สุขสวัสดี

ให้ชื่อเสียงเลื่องลือทั้งไตรภพ
มารสยบพบชัยในวิถี
เส้นทางธรรมตามองค์ปราชญ์บดี
ชั่วชีวีชนะปราบกำราบมาร

อันพรใดไหนเลิศในไตรภพ
จงประสบพรเอกเสกสุขศานต์
ขอจงพ้นวัฏฏะภัยสู่นิพพาน
ชั่วกัปป์กาลสราญรื่นชื่นนิรันดร์.


อนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่มาตักบาตรด้วยนะคะ

กาญจน์มุนี ศรีวิศาลภพ(ร้อยตะวัน)
4 กันยายน 2552

กว่าจะเป็นบาตรพระ..

04 September 2009 - 04:12 PM



กว่าจะเป็นบาตรพระ

ว่ากันว่าบาตรที่ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัยนั้น ต้องเป็นบาตรบุ หรือบาตรที่ทำขึ้นด้วยมือ และประกอบด้วยเหล็ก 8 ชิ้น มิใช่บาตรหล่อซึ่งผลิตด้วยเครื่องจักรอย่างที่พระบวชใหม่บางรูปใช้อยู่ใน ปัจจุบัน ซึ่งการทำบาตรบุนั้นมี ขั้นตอนต่างๆ มากมาย กว่าจะได้บาตรมาแต่ใบ โดยจะแบ่ง คร่าวๆ เป็น 7 ขั้นตอน คือ

ขั้นตอนที่ 1 ทำขอบบาตร ซึ่งถือเป็นขั้นตอนแรกของการทำบาตรพระ เนื่องจากขอบบาตรจะเป็นตัวกำหนดว่าบาตรใบนั้นจะมีขนาดและรูปทรงอย่างไร การขึ้นรูปขอบบาตรเริ่มจากการนำเหล็กมาตัดตามแต่ขนาดของบาตร เช่น บาตรขนาด 7 นิ้ว จะต้องตัดแผ่นเหล็กให้มีความยาว 8 นิ้ว เพื่อเหลือเนื้อที่ไว้ประกบปลายทั้งสองข้าง เมื่อได้เหล็กที่มีขนาดตามต้องการแล้ว ก็นำมาตีขมวดเป็นวงกลม ซึ่งเหล็กที่นำมาใช้นั้นจะใช้ฝาถังน้ำมันหรือใช้เหล็กแผ่นก็ได้



ขั้นตอนที่ 2 การประกอบกง ช่างจะตัดแผ่นเหล็กเป็นรูปกากบาท ซึ่งเรียกว่า ‘กง’ จากนั้นจึงดัดงอขึ้นรูปแล้วนำมาติดกับขอบบาตร เมื่อขึ้นรูปเสร็จจะเหลือช่องว่างรูปสามเหลี่ยมใบโพ 4 ช่อง ช่างจะวัดและตัดแผ่นเหล็กรูปร่างเหมือนใบหน้าวัว 4 ชิ้น ที่เรียกว่า ‘หน้าวัว’ หรือ ‘กลีบบัว’ จักฟันโดยรอบเพื่อใช้เป็นตะเข็บเชื่อมกับส่วนต่างๆ ตีให้งอเล็กน้อยตามรูปทรงของบาตร ซึ่งเมื่อประกอบกันแล้ว จะได้บาตรที่มีตะเข็บ 8 ชิ้นพอดี

ขั้นตอนที่ 3 การแล่น คือการเชื่อมประสานรอยตะเข็บ ให้เหล็กเป็นเนื้อเดียวกัน โดยใช้ผงทองแดงกับน้ำประสานทองทาให้ทั่วบาตรก่อน เพื่อให้น้ำประสานทองเชื่อมโลหะไม่ให้มีรูรั่ว สมัยโบราณใช้เตาแล่นแบบที่ใช้มือสูบลมเร่งไฟ แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้เครื่องเป่าลมไฟฟ้าแทน



ขั้นตอนที่ 4 การลาย หรือการออกแบบรูปทรง เป็นการนำบาตรที่แล่นแล้วมาเคาะให้ได้รูปทรงที่ต้องการ โดยจะใช้ ‘ค้อนลาย’ ซึ่งเป็นค้อนรูปโค้งงอ หัวค้อนมีลักษณะแหลม เคาะด้านในของบาตร สำหรับที่รองเคาะนั้นเป็นทั่งไม้สี่เหลี่ยมขนาดพอเหมาะกับบาตร



ขั้นตอนที่ 5 การตี ช่างจะใช้ค้อนเหล็กตีผิวด้านนอกของบาตรให้รอบ เพื่อให้ส่วนที่นูนออกมาจากการลายเรียบเสมอกัน รวมทั้งตีให้รอยตะเข็บที่ยังขรุขระเรียบเสมอกัน จากนั้นต้องนำไป ‘ตีลาย’ บนทั่งไม้ เพื่อให้ได้รูปทรงตามต้องการ แล้วนำไปเจียรต่อโดยใช้เครื่องเจียรไฟฟ้า แล้วจึงตะไบตกแต่งให้สวยงามอีกครั้ง ซึ่งจะได้บาตรสีเงินขึ้นเงาแวววับ



ขั้นตอนที่ 6 การสุม หรือระบมบาตร เพื่อป้องกันการเกิดสนิม โดยในสมัยก่อนจะใช้กำมะถันทา จากนั้นจึงนำบาตรมากองรวมๆ กัน แล้วใช้หม้อครอบสุม เชื้อเพลิงที่ใช้จะเป็นเศษไม้สักจากร้านขายเครื่องไม้ซึ่งมีอยู่รอบภูเขาทอง เนื่องจากไม้สักเป็นไม้ที่ให้ความร้อนสูง ซึ่งบาตรที่ได้จากการสุมจะมีสีดำ จากนั้นจึงใช้น้ำมันมะพร้าวทาทับอีกครั้ง แต่ปัจจุบันนิยมใช้น้ำมันกันสนิมชโลมให้ทั่วตัวบาตรแทน

ขั้นตอนที่ 7 การทำสี อันเป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งทำให้บาตรเป็นสีต่างๆ เช่น สีเขียว สีดำสนิท นั้นถือเป็นเทคนิค เฉพาะตัวของช่างแต่ละคน รวมทั้งการแกะสลักลวดลายไทย การตีตรา การสลักชื่อช่างผู้ทำ ซึ่งจะทำหรือไม่ก็แล้วแต่ความพอใจของช่างตีบาตร



มีทั้งสุมเขียว และรมดำ

ส่วนสีของบาตรพระนั้นส่วนใหญ่จะนิยมสีดำเป็นหลัก ซึ่ง ‘หิรัญ’ ช่างเก่าแก่ของบ้านบาตร เล่าถึงวิธีการทำสีว่า โดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 แบบ คือ ‘สุมเขียว’ และ ‘รมดำ’ ซึ่งสุมเขียว ก็คือการนำเศษไม้สักมาเผาให้เกิดความร้อน แล้วจึงนำบาตรไปเผาในฟืนไม้สัก บาตรที่ได้จะเป็นสีเขียวปีกแมลงทับ

ส่วนรมดำคือการนำบาตรไปเผาจนดำ รอให้เย็น จากนั้นจึงนำน้ำยาที่ทำจากส่วนผสมของใบขี้เหล็ก แอลกอฮอล์ และชะแล็ก มาทาให้ทั่วทั้งด้านนอกและด้านในบาตร ตากให้แห้ง แล้วนำไปรมควันอีกครั้ง ถ้าอยากให้สีดำสนิทก็ให้ทาน้ำยาหลายๆ เที่ยว นอกจากนั้นปัจจุบันยังมีการทำให้เกิดลวดลาย ด้วยการใช้ค้อนค่อยๆ ตีให้ขึ้นลาย ซึ่งเรียกกันว่า ‘บาตรตีเม็ด’

“ถ้าเป็นพระสายธรรมยุต ส่วนใหญ่ท่านได้บาตรที่ตะไบจนขึ้นเงา แล้วมาก็จะนำไปบ่มเอง การรมดำกับการบ่มบาตร ไม่เหมือนกันนะ รมดำใช้เวลาแค่ชั่วโมงเดียว แต่บ่มบาตรใช้เวลาทั้งวันทั้งคืน ซึ่งช่างแถวบ้านบาตรเราไม่มีความรู้ทางด้านนี้ไม่รู้ว่าท่านทำยังไง แต่พระสายธรรมยุตท่านเก่งมาก เพราะการบ่มบาตรต้องใช้ความอดทนสูง ท่านเก่งกว่าเรา (หัวเราะ) แต่ละวัดไม่เหมือนกัน บางวัดจะใช้บาตรที่มีสีเงินเงาวับ ซึ่งเรียกว่าบาตรตะไบขาว แต่ถ้าเป็นพระสายธรรมยุต จะใช้บาตรซึ่งมีดำสนิท” ช่างตีบาตรจากบ้านบาตรกล่าว



พระสึกแล้ว บาตรไปไหน

บางคนอาจสงสัยว่าในแต่ละปีมีพระภิกษุที่บวชในช่วงเข้าพรรษา และลาสิกขาไปในช่วงออกพรรษา รวมทั้งภิกษุสามเณรที่บวชภาคฤดูร้อนเป็นจำนวนมาก เมื่อภิกษุสามเณรเหล่านี้ลาสิกขาไปแล้ว บาตรพระที่ท่านใช้อยู่หายไปไหน มีการนำกลับมาเวียนใช้ใหม่หรือไม่ และหากเป็นวัดที่มีการอุปสมบทภาคฤดูร้อนเป็นประจำ พระท่านจะจัดการกับบาตรที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างไร พระครูใบฎีกาขาล สุขมฺโม ไขข้อข้องใจในเรื่องนี้ว่า

“เวลาที่พระภิกษุหรือสามเณรสึกออกไป จะไม่นิยมนำผ้าจีวรหรือบาตรกลับบ้าน แต่จะทิ้งไว้ที่วัดเพื่อเป็นการทำบุญ ซึ่งหากบาตรของพระรูปใดแตก ร้าว หรือบิ่น ท่านก็จะนำบาตรเหล่านี้มาใช้แทน ถ้าในกรณีที่วัดนั้นมีการบวชภาคฤดูร้อน ก็จะนำบาตรดังกล่าวมาให้สามเณรที่บวชใหม่ได้ใช้ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เด็กๆ ได้บวชเรียน แต่ถ้าเป็นบวชภาคฤดูร้อนของพระภิกษุ ผู้ที่จะบวชต้องนำบาตรมาเอง เพราะถือเป็นหนึ่งในอัฐบริขารที่ผู้บวชต้องมี

อย่างที่วัดพระรามเก้า กาญจนาภิเษก ที่อาตมาอยู่นั้น ก็มีการบวชสามเณรภาคฤดูร้อนทุกปี เราก็จะจัดสรรบาตรเตรียมไว้ให้สามเณรบวชใหม่ ถ้ามีเหลือเราก็จะส่งไปให้พระสงฆ์ที่มหามกุฎราชวิทยาลัย ที่ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีพระภิกษุสามเณรบวชเรียนอยู่ประมาณ 1,000 กว่ารูป เพราะเราเห็นว่าบาตรแต่ลูกหากใช้ไปหลายๆ ปีก็อาจจะกะเทาะ หรือมีรอยบุบ พระ-เณรท่านจะได้ใช้บาตรที่เราส่งไปแทนได้”

กล่าวได้ว่าเส้นทางของ ‘บาตรพระ’ คงไม่แตกต่างจากการเดินเข้าสู่เส้นทางธรรมของบรรดาชายหนุ่ม ที่พร้อมจะสละความสุขทางโลก เพื่อแสวงหาธรรมะขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเส้นทางนั้นต้องผ่านการเคี่ยวกรำ เฉกเช่นการตีและบ่มบาตร อีกทั้งพร้อมที่จะเสียสละตนเองทุกเมื่อเพื่อดำรงไว้ซึ่งพุทธศาสนา



บ้านบาตร : วิถีของช่างตีบาตร

หากจะพูดถึงแหล่งตีบาตรพระที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยแล้วละก็ เป็นที่ไหนไปไม่ได้นอกจาก ‘ชุมชนบ้านบาตร’ ซึ่งปัจจุบัน ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกเมรุปูน ใกล้วัดสระเกศ ซอยบ้านบาตร ถนนบำรุงเมืองและถนนบริพัตร แขวงสำราญราษฎร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

สันนิษฐานว่าบ้านบาตร เกิดจากการรวมตัวของชาวกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีความชำนาญด้านการตีบาตรที่ได้อพยพเข้ามาอยู่ใน กรุงเทพฯ ราวพ.ศ.2326 สมัยที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้สถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานี และเนื่องจากในช่วงต้นของราชวงศ์จักรีนั้น พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และผู้มีฐานะ นิยมสร้างวัด ทำให้กรุงเทพฯ มีวัดและพระสงฆ์อยู่เป็นจำนวนมาก การตีบาตรพระจึงเป็นอาชีพหนึ่งที่เฟื่องฟูมากในขณะนั้นและกลาย เป็นอาชีพที่หล่อเลี้ยงชีวิตของชาวบ้านบาตรเรื่อยมา

จนกระทั่งปี พ.ศ.2514 ได้มีการก่อตั้งโรงงานผลิตบาตรพระขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อชาวบ้านบาตร ชนิดที่เรียกว่า แทบจะทำให้ชุมชนล่มสลายเลยทีเดียว เพราะครอบครัวที่ประกอบอาชีพตีบาตรพระ ต่างก็ต้องเลิกกิจการไปตามๆ กัน เนื่องจากยอดสั่งซื้อมีน้อยลง และถูกกดราคาจนไม่สามารถอยู่ได้

อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ.2544 ได้มีการตั้งกลุ่มทำบาตรพระขึ้นมาอีกครั้ง จากการสนับสนุนของนายชาญชัย วามะศิริ ผู้อำนวยการเขตป้อมปราบฯ โดยส่งเสริมให้บ้านบาตรกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งคนไทยและต่างชาติสามารถเข้ามาดูวิธีการทำบาตร และซื้อหาบาตรพระใบเล็กๆ ไปเป็นที่ระลึก ส่งผลให้กิจการของชาวบ้านบาตรเริ่มฟื้นตัวขึ้น เพราะนอกจากจะมีรายได้จากการตีบาตรสำหรับพระภิกษุแล้ว ชาวบ้านยังมีรายได้อีกส่วนหนึ่งจากการขายบาตรขนาดเล็กให้แก่นักท่องเที่ยวด้วย หลายครอบครัวที่เลิกอาชีพนี้ไปก็กลับมาทำอาชีพตีบาตรเหมือนเดิม ทำให้ปัจจุบันชุมชนบ้านบาตรกลับฟื้นคืนชีวิตขึ้นอีกครั้ง

ที่มาของบทความและรูปภาพ :

http://freedomax.multiply.com/photos/album/35/35
http://tum3332.multiply.com/photos/album/99/LifeBan_Bat
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7668
http://www.trytodream.com/index.php?topic=4537.0

ข่าวด่วน...!

01 September 2009 - 04:19 PM






ขอแสดงความยินดีกับพี่ใหญ่ (ยุคล) ด้วยคะ....


ข่าวการประชุม ครม.เมื่อสักครู่ที่ผ่านมา ครม.มีมติแต่งตั้งให้
"ยุคล ลิ้มแหลมทอง"หรือ พี่ใหญ่ ของพวกเราเป็นปลัดระทรวงเกษตร ฯ อย่างเป็นทางการคนใหม่เรียบร้อยแล้วค่ะ
***ปล....หวังว่าเวลานั่งสมาธิพี่คงจะไม่เห็นไก่หรือเป็ดลอยมาตรงหน้าอีกนะคะ...*** laugh.gif biggrin.gif




อนุโมทนาบุญกับพี่ใหญ่ทุกบุญด้วยค่ะ


อู๊ด(อาศรมบัณฑิต)

ลิ้งค์สำหรับดูข่าว : http://news.mcot.net/politic/inside.php?va...m50eXBlPWNsaXA=

คมชัดลึก :ครม.เห็นชอบแต่งตั้ง "ยุคล ลิ้มแหลมทอง" เป็นปลัดเกษตรฯคนใหม่
ที่มา : http://www.komchadluek.net/detail/20090901...