#1
โพสต์เมื่อ 10 October 2015 - 02:51 AM
#2
โพสต์เมื่อ 10 October 2015 - 07:02 PM
แม้ว่าเราจะตั้งใจรักษาศีลอย่างดี แต่ก็มีบางครั้งบางคราวที่เราอาจพลาดพลั้งเบียดเบียนชีวิตผู้อื่น โดยที่เราเองก็มิได้ตั้งใจ ซึ่งก็อาจเป็นไปเพราะความจำเป็นบางอย่าง หรืออาจเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์แต่ละเหตุผลนั้นล้วนเป็นเหตุให้เราเกิดความไม่สบายใจ หรือเกิดความสงสัยขึ้นว่าการกระทำของเรา ผิดศีล หรือ ศีลขาดหรือไม่ และบางคนถึงกับเกิดความทุกข์ใจในการรักษาศีล ว่าเป็นเรื่องที่ยากเกินกว่าวิสัยของเรา หรือไม่ ซึ่งความจริงมิได้เป็นเช่นนั้นเลย เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถรักษาศีลอย่างถูกต้อง จึงมีความจำเป็นที่เราต้องศึกษา ข้อวินิจฉัยของศีลแต่ละข้อ ว่าการกระทำอย่างใดจึงถือว่าศีลขาด อย่างไรถือว่า ศีลทะลุ ศีลด่างพร้อย ซึ่งข้อวินิจฉัย มีดังต่อไปนี้
องค์แห่งศีลที่ผิดจากการฆ่าสัตว์ต้องประกอบด้วย คือ
1. สัตว์นั้นมีชีวิต
2. รู้อยู่ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
3. มีจิตคิดจะฆ่าสัตว์นั้น
4. มีความพยายามฆ่าสัตว์นั้น
5. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
การฆ่าอันประกอบด้วยองค์ 5 นี้ ไม่ว่าจะฆ่าเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่า หรือแม้แต่การยุยงให้สัตว์ ฆ่ากันเองจนกระทั่งตายไปข้างหนึ่งก็ตาม เช่น การจับไก่มาตีกัน จนกระทั่งไก่ตายไป หรือที่เรียกว่า ชนไก่ ทั้งหมดเรียกว่าศีลขาดทั้งสิ้น แต่หากไม่ครบองค์ เช่น พยายามฆ่า แต่สัตว์นั้นไม่ตาย ก็เรียกว่า ศีลทะลุ และถ้าลดหลั่นลงมาอีก ก็เรียกว่า ศีลด่าง ศีลพร้อย
อนุโลมการฆ่า นอกจากการฆ่าสัตว์โดยตรงดังที่กล่าวมาแล้ว การทำร้ายร่างกาย การทรมานให้ได้รับ ความลำบาก เรียกว่า อนุโลมการฆ่า ก็เป็นสิ่งที่ควรเว้น อนุโลมการฆ่า มีลักษณะดังต่อไปนี้
- การทำร้ายร่างกาย ในที่นี้หมายถึงการกระทำต่อมนุษย์ด้วยกัน อันได้แก่
- ทำให้พิการ
- ทำให้เสียโฉม
- ทำให้บาดเจ็บ
- การทารุณกรรม ในที่นี้หมายถึงการทำต่อสัตว์เดรัจฉาน อันได้แก่
- การใช้ เช่น การใช้งานเกินกำลังของสัตว์ ไม่ให้สัตว์ได้พักผ่อน หรือไม่บำรุงเลี้ยงดูตามสมควร
- กักขัง เช่น การผูกมัด หรือขังไว้ โดยที่สัตว์นั้นไม่สามารถเปลี่ยนอิริยาบถได้ หรือไม่มีความสุข เช่น ขังนก ขังปลาไว้ในที่แคบ
- นำไป เช่น การผูกมัดสัตว์แล้วนำไป โดยผิดอิริยาบถของสัตว์ ทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมาน - เล่นสนุก ได้แก่ การรังแกสัตว์ต่างๆ เพื่อความสนุกสนาน
- ผจญสัตว์ ได้แก่ การนำสัตว์มาต่อสู้กัน เช่น ชนโค
การฆ่าโดยตรงถือว่าศีลขาด ส่วนอนุโลมการฆ่า ไม่นับว่าศีลขาด แต่ถือว่า ศีลทะลุ ศีลด่าง ศีลพร้อย ซึ่งจะให้ผลมากน้อยแตกต่างกันไป การฆ่าสัตว์ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ
1. คุณของสัตว์นั้น การฆ่าสัตว์ที่มีคุณมาก จะมีโทษมากกว่าการฆ่าสัตว์มีคุณน้อยหรือไม่มีคุณ เช่น ฆ่าพระอรหันต์ มีโทษมากกว่าฆ่าปุถุชน ฆ่าสัตว์ช่วยงานมีโทษมากกว่าฆ่าสัตว์ดุร้าย เป็นต้น
2. ขนาดกาย สำหรับสัตว์เดรัจฉาน เมื่อเทียบกับพวกที่ไม่มีคุณเหมือนกัน การฆ่าสัตว์ใหญ่ มีโทษมากกว่าการฆ่าสัตว์เล็ก
3. ความพยายาม มีความพยายามในการฆ่ามาก มีโทษมาก มีความพยายามน้อย มีโทษน้อย
4. กิเลสหรือเจตนา กิเลส หรือเจตนาแรง มีโทษมาก กิเลสหรือเจตนาอ่อน มีโทษน้อย เช่นการฆ่าด้วยโทสะ หรือความเกลียดชัง มีโทษมากกว่าการฆ่าเพื่อป้องกันตัว
#3
โพสต์เมื่อ 11 October 2015 - 05:43 PM
อย่าไปมี "วิปฏิสาร" กับสิ่งที่เรา "ไม่มีเจตนา" ไม่รู้ ไม่เห็น
ในทางกลับกัน ถ้าเรารักษาความสะอาดเป็นกิจวัตรแล้ว "ไรฝุ่น"ย่อมไม่แพร่หลาย
http://www.kalyanami...Itemid=99999999
#4
โพสต์เมื่อ 12 October 2015 - 04:27 AM
ไม่ทราบว่า ต้องหาคำตอบจากไหน ที่ใกล้ DMC เจ้าคะ?
#5
โพสต์เมื่อ 12 October 2015 - 08:45 AM
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC
หมายความถึง...ถ้าจะหาคำตอบเกี่ยวกับวิชาชีวิต ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเดินทางออกไปค้นหา เพียงอาศัยสื่อสีขาวคลังความรู้ใกล้ตัวเรา ก็สามารถไขปริศนาคาใจได้ ไม่มากก็น้อย
ไฟล์แนบ
#6
โพสต์เมื่อ 12 October 2015 - 09:33 AM
สำหรับกรณีนี้ ผมแนะนำให้คุณตั้งเจตนาว่า "ต้องการทำความสะอาด" เพียงเท่านั้น อย่าพลาดเผลอไปคิดว่า "จะกำจัดไรฝุ่น" ให้นึกถึงความสะอาดจริงๆ แล้วก็ให้ทำบุญอุทิศให้ผู้ที่เราได้พลาดไปเบียดเบียนจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม...
เป็นเรื่องยากหรือแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่การกระทำของเราจะไม่ไปกระทบกับชีวิตอื่น ดังนั้น ในปัจฉิมโอวาทของพระบรมศาสดาจึงตรัสสอนรวบยอดคำสอน(ซึ่งผมเข้าใจเองว่า นัยยะหนึ่งกินความรวมมาถึงเรื่องนี้ด้วย)เอาไว้ว่า ให้ดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท (ทุกย่างก้าว ทุกความคิดคำพูดและการกระทำทำไงให้กระทบผู้อื่นในทางไม่ดีให้น้อยที่สุด) ซึ่งจะทำได้ดีมากน้อยแค่ไหน ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับความลึกซึ้งว่าเรารู้ในเรื่องกฏแห่งกรรมเพียงใด ถ้ามีความลึกซึ้งมาก ก็จะระวังไม่ให้ไปกระทบผู้อื่นได้มาก
ดังเช่น พระพุทธองค์ได้บัญญัติเกี่ยวกับสิกขาบทภาชนีย์ ข้อหนึ่งขึ้นดังนี้
"(637)น้ำมีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่ามีตัวสัตว์ บริโภค ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
น้ำมีตัวสัตว์ ภิกษุสงสัย บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
น้ำมีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่าไม่มีตัวสัตว์ บริโภค ไม่ต้องอาบัติ. ..."
(อธิบายคำว่า มีตัวสัตว์ หมายถึงว่า ภิกษุรู้อยู่ คือ รู้ว่า สัตว์ทั้งหลายจักตายเพราะการบริโภค
ดังนี้ บริโภค, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.)
ข้อสังเกต บางครั้งบางกรณี การรู้มากเกินไป เช่นรู้ว่า ในน้ำนั้นมีตัวสัตว์อยู่ ก็เป็นเหตุให้เสี่ยงต่อการผิดศีลได้ง่าย สู้ไม่รู้เสียดีกว่า(ดูบรรทัดที่ 3) / หรือ เวลาญาติโยมถวายภัตตาหารไก่ทอดแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์ก็ไม่ควรหาความรู้ด้วยการถามโยมว่า ไก่นี้ท่านได้แต่ใดมา... เป็นต้นเพราะอาจเป็นไก่ที่โยมตั้งใจฆ่ามาทำอาหารถวายพระโดยตรง ขืนพระสงฆ์ถามแล้ว "รู้ความจริง" ขึ้นมา ก็ผิดศีลทันทีถ้าฉันไก่ทอดเข้าไป
ก็ลองพิจารณาเทียบเคียงดูนะครับ อาจได้คำตอบไม่ชัดถึงแนวทางปฏิบัติ ขอแนะนำให้ "ตั้งเจตนาเพื่อทำความสะอาด" เป็นหลักจะกระทบน้อยที่สุดครับ
#7
โพสต์เมื่อ 13 October 2015 - 04:56 PM
#8
โพสต์เมื่อ 06 November 2015 - 08:23 PM
#9
โพสต์เมื่อ 17 November 2015 - 10:02 PM
งั้นผมจามแล้วเชื่อโรคปริวออกจากปาก ถือ่าฆ่าไหมละครับ ผมว่าดูที่เจตนาดีกว่านะครั