๒ อสงไขย ๑oo,ooo มหากัป
#1
โพสต์เมื่อ 08 May 2008 - 12:49 PM
แต่ที่ตั้งกระทู้ใหม่ขึ้นมา เพราะอยากที่จะสนทนาต่อเกี่ยวกับประเด็นในช่วงท้ายๆ ของกระทู้ข้างต้น ซึ่งได้เปลี่ยนไปจากประเด็นเดิม กลายมาเป็นสนทนาถึงความหมายที่แท้จริงของ ยี่สิบอสงไขยแสนมหากัป ว่าหมายความถึง 20 อสงไขยกับแสนมหากัป หรือ 20 อสงไขยของแสนมหากัป กันแน่
จึงได้ลองค้นในพระไตรปิฎก เทียบเคียงกับการบำเพ็ญบารมี และการระลึกชาติของพระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครสาวก และพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย เพื่อช่วยให้เข้าใจคำว่า 20 อสงไขยแสนกัป มากยิ่งขึ้นนะครับ
ดังในพระไตรปิฎกข้างล่างนี้ครับ
http://203.172.204.1...0...ml?b=10&i=1
อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร
"ถามว่า ชื่อว่าบุพเพนิวาส ใครระลึกได้ ใครระลึกไม่ได้
ตอบ เดียรถีย์ระลึกได้ พระสาวก พระปัจเจกพุทธะระลึกได้. เดียรถีย์พวกไหนระลึกได้. เดียรถีย์เหล่าใดถึงความเป็นผู้เลิศเป็นกรรมวาที เดียรถีย์แม้เหล่านั้นก็ระลึกได้ตลอด ๔๐ กัปเท่านั้น ยิ่งกว่านั้นไม่ได้. พระสาวกระลึกได้แสนกัป. พระอัครสาวกทั้งสองระลึกได้อสงไขยและแสนกัป. พระปัจเจกพุทธะระลึกได้สองอสงไขยและแสนกัป. แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีกำหนดเท่านั้นเท่านี้. พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงระลึกเท่าที่ทรงหวัง เดียรถีย์ทั้งหลายระลึกได้ตามลำดับขันธ์ พ้นลำดับแล้วไม่สามารถระลึกได้"
จะเห็นว่า ในพระไตรปิฎกใช้คำว่า พระอัครสาวก ระลึกชาติได้ อสงไขย และแสนกัป
ส่วนพระปัจเจกพุทธเจ้า ระลึกชาติได้ สองอสงไขย และแสนกัป ผมคิดว่าความหมายของคำนี้ ย่อมเป็นแนวทางให้เราเข้าใจคำว่า ยี่สิบอสงไขย แสนกัป ได้ถ่องแท้ขึ้นนะครับ
#2
โพสต์เมื่อ 08 May 2008 - 01:20 PM
แต่ผมไม่เข้าใจนะครับ ว่า คุณหัดฝัน ต้องการสื่อถึงอะไรเหรอครับ
ยังไงช่วยชี้แจงด้วยครับ
#3
โพสต์เมื่อ 08 May 2008 - 01:28 PM
นั่งสมาธิตายดีกว่าเครียดตายเยอะครับ - -"
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
#4
โพสต์เมื่อ 08 May 2008 - 01:46 PM
เชิญสนทนาว่าด้วยเรื่อง "มหากัป", ว่าระยะเวลาแต่ละ มหากัป เท่ากันหรือไม่ ? พิจารณาอย่างไร ?
http://www.dmc.tv/fo...showtopic=15928
และ
20 อสงไขย กับอีก 100,000 มหากัป, รบกวนด้วยครับ
http://www.dmc.tv/fo...showtopic=15886
ซึ่งระยะเวลายาวนาน มาก ระยะเวลา 1 กัปป์ ยังอุปมาได้ว่า ตัวเลขน่าจะยาวนานถึง (ด้วยปัญญาเท่าที่ผมจะอุปมาตัวเลขได้)
ส่วนพระปัจเจกพุทธเจ้า ระลึกชาติได้ สองอสงไขย และแสนกัป ผมคิดว่าความหมายของคำนี้ ย่อมเป็นแนวทางให้เราเข้าใจคำว่า ยี่สิบอสงไขย แสนกัป ได้ถ่องแท้ขึ้นนะครับ
แม้พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ซึ้งตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ยังมีข้อจำกัด ในการย้อนอดีต ...
สาธุครับ ยิ่งคิดยิ่งทึ่ง
#5
โพสต์เมื่อ 08 May 2008 - 02:46 PM
"เชิญสนทนาว่าด้วยเรื่อง "มหากัป", ว่าระยะเวลาแต่ละ มหากัป เท่ากันหรือไม่ ? พิจารณาอย่างไร ?"
ส่วนที่ผมนำมาตั้งเป็นกระทู้ใหม่ มาจากคำถามในความเห็นที่ 31 ของกระทู้ข้างต้น ของคุณทัพพีในหม้อนั่นแหละครับว่า
(นี่เป็นคำถามในความเห็นที่ 31 ของคุณทัพพีในหม้อ)
"ที่ผมสงสัยจริงๆจังๆคือ
ยี่สิบอสงไขยแสนมหากัปป์ หรือ ยี่สิบอสงไขยกับแสนมหากัปป์ ใครเก่งบาลีช่วยดูตรงนี้ด้วย เพราะเป็นนัยยะสำคัญทีเดียว"
พอคุณทัพพีในหม้อ ถามเช่นนี้
ผม(หัดฝัน) จึงได้ตั้งกระทู้ใหม่นำเสนอข้อความในพระไตรปิฎก ไงล่ะครับว่า
เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมี สองอสงไขยและแสนกัป ดังนั้น พระสัมมาัสัมพุทธเจ้าย่อมบำเพ็ญบารมี ยี่สิบอสงไขยและแสนกัป ซึ่งก็เป็นความหมายเดียวกับคำว่า ยี่สิบอสงไขยกับแสนมหากัป ไงล่ะครับ
#6
โพสต์เมื่อ 08 May 2008 - 03:31 PM
#7
โพสต์เมื่อ 08 May 2008 - 04:14 PM
#8
โพสต์เมื่อ 08 May 2008 - 05:28 PM
กราบอนุโมทนาครับ
สาธุๆๆ
#9
โพสต์เมื่อ 08 May 2008 - 05:36 PM
รู้สึกว่าพระเดชพระคุณคุณครูไม่ใหญ่เคยบอกว่า 20อสงไขย กับอีก 100000 มหากัปนะครับ
ผมคิดว่าต้องเป็นแบบที่ท่านได้กล่าวไว้ครับ
แต่ผมคิดว่าไม่ว่าจะเป็นเวลาแบบไหน พระพุทธเจ้าก็ทรงบำเพ็ญบารมีมานาน มากๆๆๆๆๆเลยนะครับ และกว่าพระองค์จะทรงค้นพบสัจธรรมก็ยากมาก พระองค์ทรงมีพระคุณมากๆเลยครับเราโชคดีมากที่ได้มาพบคำสอนอันประเสริฐของพระองค์ ขอให้พี่น้องนักสร้างบารมีสู้ต่อไปให้สมกับที่พระองคืทรงยอมสละเพื่อพวกเรานะครับ
สาธุๆๆ
#10
โพสต์เมื่อ 08 May 2008 - 09:07 PM
#11
โพสต์เมื่อ 08 May 2008 - 10:37 PM
ต้องขอประทานโทษจริงๆครับ ที่ทำให้วุ่นวาย
คือที่จริงๆแล้ว ผมต้องการรู้ว่าในบาลีก่อนที่จะแปลเป็นไทยนั้น ใช้คำไหนกันแน่ครับ เพราะผมอ่านตำราภาษาไทยมาหลายเล่ม ทั้งส่วนของวัดเราที่จัดพิมพ์ และของสำนักพิมพ์อื่นๆ บางเล่มเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ดูเหมือนจะแปลหรือใช้ข้อความที่ไม่ตรงกัน ทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนไปได้
และเรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผมคาใจมานาน อยากหาข้อยุติ ผมไม่รู้ว่าการแปลพระไตรปิฎกนั้น ยืดหยุ่นมากน้อยแค่ไหน ใช้การแปลแบบคำต่อคำ หรือใช้การแปลแบบความเข้าใจประโยค เพราะถ้าเข้าใจผิดหรือคลาดเคลื่อน(ไม่ใช่แปลผิดนะครับ) ความหมายและความเข้าใจก็จะคลาดเคลื่อนไปหมด
ยกตัวอย่างจากเรื่องนี้ก็ได้ครับ ถ้าสมมุติพระไตรปิฎกบันทึกไว้ว่ายี่สิบอสงไขยกับแสนมหากัปป์อย่างหนึ่ง เราแปลความหมายเป็นยี่สิบอสงไขยแสนมหากัปป์อีกอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นอย่างนั้นก็เกิดความคลาดเคลื่อนในความเป็นจริงแล้ว เพราะตัวเลขจะต่างกันสุดกู่ทีเดียว
ดีว่าเรื่องที่เรากำลังพูดกันอยู่นั้นไม่ได้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากนัก แต่ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสิขาบทหรือข้อปฏิบัติใดๆหละครับ จะเกิดอะไรขึ้น มิแปลตามใจให้ตรงกับความคิดของตนเองกันหมดหรือครับ
อยากเรียนบาลีเองเหมือนกัน แต่ขี้เลื่อยในหัวมีไม่มากพอ(ฮือ...ฮือ...)ก็เลยยังคาใจจนทุกวันนี้แหละครับ
ใครที่มีความรู้ความสามารถช่วยดูตรงนี้ให้ผมด้วยนะครับ
อนุโมทนาบุญด้วยครับ
#12
โพสต์เมื่อ 08 May 2008 - 10:38 PM
#13 *YTTRA*
โพสต์เมื่อ 09 May 2008 - 09:56 AM
#14
โพสต์เมื่อ 09 May 2008 - 11:53 AM
#15
โพสต์เมื่อ 09 May 2008 - 12:47 PM
ส่วนพระปัจเจกพุทธเจ้า ระลึกชาติได้ สองอสงไขย และแสนกัป ผมคิดว่าความหมายของคำนี้ ย่อมเป็นแนวทางให้เราเข้าใจคำว่า ยี่สิบอสงไขย แสนกัป ได้ถ่องแท้ขึ้นนะครับ
ดูให้ดี จะเห็นว่าบุพเพนิวาสนุสสติญาณ ของพระปัจเจกฯ พระอัครสาวก และพระอสีติมหาสาวก จะสัมพันธ์กับอายุการบำเพ็ญบารมีตามที่ได้ตั้งปรารถนาไว้ คือ
พระปัจเจกพุทธะ - สองอสงไขย แสนมหากัป
พระอัครสาวก - อสงไขย กับแสนมหากัป
พระอสีติมหาสาวก - แสนมหากัป
ส่วนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นไม่จำกัดเวลา เพราะเป็นสัพพัญุตญาณ
#16
โพสต์เมื่อ 09 May 2008 - 05:42 PM
#17
โพสต์เมื่อ 10 May 2008 - 10:30 AM
สิ่งที่คุณ Panu เข้าใจ เป็นสิ่งเดียวกับที่คุณครูไม่ใหญ่อธิบายไว้หลายๆ ครั้งแล้วในโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา โดยมีพระมหาเสถียร เปรียญธรรม 9 ประโยคนั่งฟังอยู่ด้วยทุกครั้ง พระมหาเสถียรท่านฟังแล้วก็ไม่เคยทักท้วงใดๆ ในคำอธิบายนี้
ดังนั้น ผมคิดว่า สิ่งที่คุณเข้าใจนั้นถูกต้องครับ และเป็นความหมายเดียวกันกับที่ผมเข้าใจด้วยครับ