ไปที่เนื้อหา


กัปตัน

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 09 Mar 2007
ออฟไลน์ ใช้งานล่าสุด Apr 16 2009 05:19 PM
-----

กระทู้ที่ฉันเริ่ม

ข่าวดี!!! จัดศูนย์สอบ World Pec ครั้งที่ 3

31 December 2008 - 12:16 PM

สวัสดีครับ

ขอโอกาสประชาสัมพันธ์ข่าว

ศูนย์กัลยาณมิตร ประชาอุทิศ 61ทุ่งครุ จัดศูนย์สอบ World Pec ครั้งที่ 3 ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี

ผู้สนใจสามารถสมัครสอบ หรือแนะนำญาติและเพื่อนที่มีบ้านพักอาศัย อยู่ในบริเวณเขตทุ่งครุ ถนนประชาอุทิศ ถนนพุทธบูชา เขตราชบูรณะหรือใกล้เคียง มาสอบได้

สอบถามและสมัครได้ที่คุณกุ้ง 0891104004 คุณตุ๊กตา 0815635903 ภายใน 11 มค. 2552 นี้

แนบไฟล์  4.jpg   20.83K   137 ดาวน์โหลด

สถานที่ปลดทุกข์ เห็นสุขทันตา (สุขพิมาน)

19 September 2008 - 03:42 PM

สวัสดีทุกท่านครับ happy.gif

"คนจะไปอินเดีย จะสุขก็สุขได้ทุกเรื่อง เรียกว่าเรามีอิสระจะเลือกสุขเลือกทุกข์ได้ตามใจ แต่ถ้าจะเป็นความทุกข์ก็เห็นจะเป็นเรื่องเดียวแท้ๆ ที่ใหญ่และใกล้ตัวที่สุด พอทุกข์ปรากฎขนลุกขนชันขึ้นมา คงเลือกที่เลือกทางไม่ได้ จะหาห้องน้ำเพื่อย้ายถ่ายเทออกไปก็ยาก...ต้องนั่งเดือดร้อนทนทุกข์ เพราะหาที่ปลดทุกข์ไม่ได้นั่นเอง..."

ด้วยเหตุนี้แหละครับ ผู้เคยทุกข์ รู้ทุกข์ รู้ทางออกจากทุกข์ และรู้วิธีดับทุกข์ จึงได้มาร่วมกันลงขัน ร่วมไม้ร่วมมือ สร้างสถานที่บรรเทาทุกข์ให้ตนและผู้อื่น เป็นที่ชื่นใจ ขอนำมาเล่าให้ท่านที่สนใจฟังครับ

แนบไฟล์  s1.jpg   47.75K   83 ดาวน์โหลด

ความเป็นมา

ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ คราวเดินทางนมัสการสังเวชนียสถาน โอกาสที่คุณยายอาจารย์ตรีธา เนียมขำ เจริญอายุ ๘๐ ปี ที่วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ได้ปรารภว่า น่าจะมีที่สักแห่งหนึ่งพอสร้างห้องน้ำ ที่พักถวายเพลพระ ใกล้ๆ กับชายแดน น่าจะเป็นการบรรเทาความเดือดร้อน ลำบาก ให้คนแสวงบุญ คุณยายบอกว่า ขอให้ท่านเจ้าคุณดำเนินการให้ด้วย จะเป็นบุญกุศลอย่างมาก จากนั้นได้รับปัจจัยบริจาคมาเป็นทุนเริ่มต้นในการจัดสร้าง จึงน้อมรับมาปฏิบัติ

พระราชรัตนรังษี
๙ มีนาคม ๒๕๔๙

ทำบุญปลดทุกข์ เห็นสุขทันตา

เป็นที่ทราบกันดีว่า...การเดินทางสู่แดนพุทธองค์ ประเทศอินเดียนั้น สิ่งที่ผู้แสวงบุญทำใจลำบากมากที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องการเข้าห้องน้ำห้องสุขา...เพราะที่อินเดีย กล่าวขวัญกันมากว่าเป็นประเทศที่มีห้องน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก...ด้วยเวลาเข้าห้องน้ำแต่ละครั้งต้องมีกฎกติกา มารยาท ในการเข้าห้องน้ำว่า...หญิงซ้าย ชายขวา พระคุณเจ้าด้านหน้า แม่ชีด้านหลัง...โดยมีรถทัวร์ที่นั่งกันมาเป็นศูนย์กลาง ก็คือต้องไปทุ่งกันหรืออาศัยราวป่า ข้างกำแพงเก่าบ้าง ป่าถั่วแระบ้าง หรือไม่ก็ลงทุ่งข้าวสาลีนั่นเอง เป็นความลำบากสำหรับผู้ไม่คุ้นเคย...

(แต่สำหรับท่านที่มาบ่อยจะชอบมาก เพราะบรรยากาศการเข้าห้องน้ำที่อินเดียนั้น เลือก Location ได้ตามใจ ไม่ต้องรอคิว...และก็สะอาดแบบธรรมชาติ) smile.gif

แนบไฟล์  s2.jpg   35.93K   88 ดาวน์โหลด

พระธรรมทูตไทย สายประเทศอินเดีย นำโดยท่าน เจ้าคุณพระราชรัตนรังษี ได้มองเห็นความลำบากนี้ จึงได้มอบหมายให้ไปดำเนินการซื้อที่ดินเพื่อการสร้างพุทธวิหาร บริเวณใกล้ด่านโสเนารี (Sonauli) ห่างจากเขตชายแดนอินเดียก่อนเข้าสู่ลุมพินีแดนประสูติประเทศเนปาลประมาณ ๒ กิโลเมตร...สิ่งจำเป็นเร่งด่วนในการก่อสร้างอันดับแรกนั่นก็คือการสร้างห้องน้ำ...เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้แสวงบุญ...ทั้งชาวพุทธไทยและชาวพุทธประเทศอื่นๆ และจะขยายโครงการเป็นที่แวะพักรับประทานอาหารถวายเพลพระ พร้อมทั้งสร้างเป็นสำนักงานพระธรรมทูต สายประเทศอินเดียและเนปาล อีกทั้งยังจะเป็นที่อำนวยความสะดวกกรณีด่านปิด วีซ่า หนังสือเดินทางมีปัญหา พระธรรมทูตก็คอยให้การช่วยเหลือได้ที่นั่น

แนบไฟล์  s3.jpg   29.66K   81 ดาวน์โหลด

เบื้องต้นท่านเจ้าคุณอาจารย์ให้ไปเจรจาขอเช่าที่ดินวัดพม่า ซึ่งพม่ามีที่ดินอยุ่แล้ว แต่ผู้เขียน ไม่เห็นด้วย...เพราะเกรงว่าหากมีผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัวในกาลข้างหน้า...ในที่สุดเพื่อความสบายใจของคณะทำงาน ก็ตัดสินใจซื้อที่ดินในนามมูลนิธิวัดไทยกุสินารา...และดำเนินการก่อสร้าง จนได้เป็นรูปร่างสำเร็จ ใช้สอยได้แล้วตั้งแต่ฤดูกาลที่ผ่านมา ปี ๒๕๕๐ จนผู้แสวงบุญส่วนใหญ่จะเรียกว่า สุขาราม หรือแดนสุขาวดี ณ ขณะนี้สร้างเสร็จ เป็นห้องน้ำห้องสุขา รวม ๓๕ ห้อง...สำหรับอุบาสิกา ๒๐ ห้อง อุบาสก ๑๐ ห้อง พระสงฆ์อีก ๕ ห้อง ตามอัตราส่วนของจำนวนผู้มาแสวงบุญ

แนบไฟล์  s4.jpg   23.68K   82 ดาวน์โหลด

มีปรัชญาการเชิญชวนทำบุญกับห้องน้ำนี้ว่า ทำบุญปลดทุกข์ เห็นสุขทันตา ก็เป็นอันว่า มีเจ้าศรัทธาร่วมสร้างเป็นอันมากจนเกินความคาดหมาย ดั่งที่เห็น และจะมีโครงการขยายสาขาทั่วสังเวชนียสถานต่อไป พร้อมยังมีมุมอินเดียน้อย...ให้ท่านได้นั่งซดกาแฟอร่อย ชิมโรตีร้อนๆ ผสมนมข้น...ช้อปปิ้งของที่ระลึก ดำเนินการโดยนักศึกษาไทยในอินเดียและ มีหมากอินเดียให้เคี้ยวเพื่อเข้าบรรยากาศจริงๆ ในช่วงรอทำเอกสารเข้าสู่ประเทศเนปาล...หวังว่าท่านคงสบายใจเรื่องห้องน้ำได้แล้วฯ


อ้างอิง "ชีวิตและงานพระธรรทูตไทย ในอินเดีย" โดย ดร.พระมหาคมสรณ์ คุตตธมฺโม , พระราชรัตนรังษี ( ปีก่อนท่านจัดกิจกรรม ๒๒ เมษายน ทำบุญอายุสมงคล พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ครับ ดูที่ http://www.dmc.tv/pa...from_Nepal.html )

_______________________________________


การสร้างเวจกุฎี ห้องน้ำห้องส้วม มีอานิสงส์มากครับ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยตรัสถึงช่างทอง สร้างเวจกุฎีถวายบูชาพระรัตนตรัยด้วยศรัทธาเลื่อมใส ได้เสวยสุขในสุคติโกลสวรรค์ และเป็นปัจจัยให้ถึงซึ่งพระนิพพาน

พระองค์เองก็เคยสร้างเวจกุฎี และที่สำหรับอาบแก่พระภิกษุสามเณรได้ตั้งสัตยธิษฐานว่า ขอให้ได้เป็นพระพุทธเจ้า พระองค์หนึ่ง ในอนาคตกาล ด้วยผลแห่งอานิงส์ ที่ได้สร้างเวจกุฎีให้เป็นสาธารณะทานนี้ ครั้นทำลายขันธ์แล้วก็ไปบังเกิดสวรรค์เสวย ทิพย์สมบัติอยู่ชั้นดุสิตครั้นจุติจากชาตินั้นแล้ว ได้ท่องเที่ยงอยู่สังสารวัฎฎ์จนบารมีเต็มเปี่ยมแล้วจึงตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ

แนบไฟล์  s5.jpg   20.47K   79 ดาวน์โหลด

.. คนน่ารัก..

06 September 2008 - 02:09 PM

แนบไฟล์  Y6970095_0.jpg   71.72K   116 ดาวน์โหลด

ท่านผู้รู้กล่าวว่า วิธีทำให้คนรัก มีอยู่สองแบบด้วยกัน นั่นคือ แบบโลกวิธี และ แบบพุทธวิธี แบบที่ชาวโลกทั่วไปทำกัน โดยมากก็คือ การบังคับให้คนอื่นมารักตัว ในที่นี้หมายความว่า เอาใจหรือเจตนาเข้าไปบังคับ อยากแต่ให้เขารัก ถ้าเขาไม่รัก ก็พาลหาว่าเขาเป็นคนไม่ดี “คนไร้หัวใจ ไม่รู้จักรัก” (ว่ากันไปโน่น) เจตนาที่จะสร้างความรักนั้น เป็นเจตนาที่พุ่งไปหาคนอื่นฝ่ายเดียว เมื่อไม่ได้ดังใจ ก็เลยเกิดภาวะสลับขั้ว คิดโกรธอาฆาตแค้นไปเลย ภรรยาไม่รักก็คิดแต่ว่าภรรยาไม่ดี สามีไม่รักก็คิดแต่ว่าสามีเถลไถล ทำการงานเจ้านายไม่โปรด ก็พาลหาว่าเจ้านายลำเอียง หนักเข้าแทนที่จะแก้ตัวเอง ก็เลยคิดหาทางจะปรับปรุงภรรยา สามี หรือเจ้านายโดยไม่ได้ดูตัวเองเลย นี่แหละคือ โลกวิธี

อีกแบบหนึ่ง แทนที่จะไปจัดที่คนอื่นหรือทำให้คนอื่นมารักเรา ก็ย้อนกลับเข้ามาจัดที่ตัวเราเอง คือทำให้เป็น “คนน่ารัก” ถือหลักใหญ่ว่า ถ้าตัวเราน่ารัก คนอื่นเขาก็รัก จะขอเสนอตัวอย่างง่ายๆ เวลาเรายืนอยู่หน้ากระจกเงาบานใหญ่ มองดูที่จะกระจกเงา ถ้าเราอยากเห็นเงาในกระจกยิ้มจะทำอย่างไร จะใช้ปืนขู่ จะพูดจาโอ้โลมหรือ ก็เปล่า! ง่ายนิดเดียว เราก็ยิ้มเสียเอง พอเรายิ้ม เงามันก็ยิ้มกับเรา นี่แหละคือ พุทธวิธี

การทำให้คนรักแบบทางโลก ก็เหมือนการขู่หรือพูดโอ้โลมให้เงายิ้ม ซึ่งไม่มีทางจะสำเร็จหรือคงอยู่ถาวร ส่วนแบบพุทธวิธี ก็คือการปรับที่ตัวเรานั่นคือ เรายิ้มเสียเอง วิธีทำให้คนรักแบบโลกๆ เราตั้งปัญหาว่า “ทำอย่างไรเขาจึงจะรักเรา?” แต่แบบพุทธวิธีท่านกลับปัญหาเสียใหม่ว่า “ทำอย่างไรเราจึงจะเป็นที่รักของเขา?” ถ้าเราศึกษาจะพบว่า พระพุทธองค์ทรงสอนมุ่งเข้าสู่การปรับปรุงตัวเองเป็นสำคัญ เช่น การรักษาศีล ให้เว้นทุจริต ให้ประพฤติสุจริต คือให้เราเป็นผู้เว้น เป็นกระผู้ทำทั้งสิ้น ผมยังไม่เห็นธรรมะข้อใดที่พระพุทธองค์สอนให้เราบังคับคนอื่นทำดี แต่ตัวเราไม่ต้องทำก็ได้ เมื่อเราเข้าใจหลักการแล้วว่า การครองใจคน หรือการทำให้คนรักก็คือ การทำให้ตัวเราน่ารักเสียก่อน

คำถามมีว่า ทำอย่างไรตัวเราจึงจะน่ารักล่ะ ? หรือ คนทั้งหลายเขารักคนอย่างไร ? ซึ่งคำถามนี้ก็ได้มีผู้ทรงปัญญาคิดค้นหาคำตอบไว้แล้วว่า จิตใจคนเราโดยทั่วๆ ไป รักอะไร? สิ่งพิเศษอันนั้น ที่เมื่อคนทั้งหลายเห็นเข้าเป็นต้องเกิดความรักในผู้นั้น ก็คือ “ความงาม” ตามหลักทางพุทธศาสนานั้น มนุษย์จะงามมากงามน้อย ก็โดยคุณสมบัติสี่ประการคือ อาภรณ์ ร่างกาย มารยาทและจิตใจ ความงามทั้งสี่นี้ น้ำหนักไม่เท่ากัน สองอย่างหลัง ซึ่งจัดเป็นความงามภายในมีน้ำหนักมากกว่า ความงามสองอย่างแรกซึ่งจัดเป็นความงามชั้นนอก ลองดูตัวอย่างง่ายๆ ระหว่างหญิงแต่งตัวดี มีเครื่องประดับงดงาม แต่ร่างกายไม่สมประกอบ กับหญิงผิวพรรณดี รูปร่างดี เสียงดี แต่ขาดอาภรณ์งาม อย่างไหนที่เราจะเลือกเป็นคู่รัก? แน่นอนว่าเป็นคนที่สอง เพราะเครื่องประดับภายนอกยังเปลี่ยนกันได้ เช่นเดียวกัน หญิงงามหุ่นดีหน้าตาดีแต่ปากจัด มารยาทไม่งาม ก็ใช่ว่าจะเป็นต่อผู้หญิงที่ดูธรรมดาแต่อยู่ด้วยแล้วสบายใจ เพราะความงามภายในของเธอใช่ไหมครับ? (ผมตอบแทนก็แล้วกันว่า “ใช่”) ในทางศาสนาท่านเพ่งเล็งเรื่องมารยาทและจิตใจเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางของความงามทีเดียว

เนื้อเรื่อง นายแพทย์ไพศาล บุญสะกันต์

โดยสรุป การที่คนเราจะรักกัน ก็เพราะเห็นความงามของอีกฝ่าย คือ งามอาภรณ์ งามร่างกาย งามมารยาท และงามจิตใจ ยิ่งงามพร้อมครบสี่ประการมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นที่รักมากเท่านั้นครับ

ทางแห่งความสำเร็จ

04 September 2008 - 10:05 PM

แนบไฟล์  4.jpg   32.45K   107 ดาวน์โหลด

อิทธิบาทสี่...ล้ำ.............................เลิศคุณ
ฐานแห่งสำเร็จหนุน......................ส่งให้
ธรรมสี่อย่างเจือจุน........................กันอยู่
ปฏิบัติครบถ้วนได้.........................สิ่งพร้อมอเนกอนันต์

ฉันทะ...รักสิ่งนั้น..........................เป็นกำลัง
รักใคร่ในสิ่งหวัง............................ก่อนสร้าง
พอใจยิ่งเสริมพลัง...........................สำเร็จ
ธรรมหนึ่งพึงอย่าร้าง.......................เริ่มไว้ในใจ

วิริยะ...ไม่ท้อ................................พยายาม
บากบั่นพากเพียรตาม.....................ต่อตั้ง
ทำติดต่อทุกยาม............................เสมออยู่
ธรรมสื่อหมายรวมทั้ง......................แกร่งกล้าหาญจริง

จิตตะ...ไม่ทอดทิ้ง.........................สิ่งใด
ฝักใฝ่ใสใจใน................................สิ่งนั้น
สมาธิแน่วแน่ใจ.............................จดจ่อ
ทำสิ่งมุ่งหวังนั้น.............................แจ่มแจ้งแสดงมา

วิมังสา...ลึกซึ้ง...............................ตริตรอง
หมั่นตรวจสอบทดลอง.....................พิสูจน์ไว้
ปัญญาสอดส่องมอง.........................ผลเหตุ
ทุกสิ่งสำเร็จได้...............................อย่างนี้หรือไฉน

พระเดชพระคุณ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) กล่าวไว้ว่า

ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา นี้เรียกว่าอิทธิบาท 4 เป็นหัวใจแห่งความสำเร็จทั้งมวล แปลอย่างจำง่ายว่า ปักใจ บากบั่น วิจารณ์ ทดลอง ไม่ว่าจะทำกิจการใดถ้าประกอบด้วย 4 อย่างนี้เป็นสำเร็จทั้งสิ้น

1. ต้องปักใจ รักการนี้จริงๆ ประหนึ่งชายหนุ่มรักหญิงสาว
2. ต้องบากบั่น พากเพียรเอาจริงเอาจัง
3. วิจารณ์ ตรวจดูการปฏิบัติให้ถูกต้องตามแนวสอนของอาจารย์ให้ดีที่สุด
4. ทดลองในที่นี่ได้แก่หมั่นใคร่คราญสอดส่องดูว่าวิธีการที่ทำไปนั้นมีอะไรขาดตกบกพร่องบ้าง
รีบแก้ไข อย่างนั้นไม่ดี เปลี่ยนอย่างนี้ลองดูใหม่ เช่นนั่งภาวนาในที่นอนมักจะง่วงก็เปลี่ยนมานั่งเสียที่อื่นใหม่เป็นต้น


ข้อสำคัญให้ยึดแนวสอนเป็นหลักไว้ อย่าออกนอกทาง 4 อย่างนี้ เรียกว่า อิทธิบาท เป็นเครื่องที่จะช่วยให้สำเร็จในกิจทั้งปวง


เอาใจจรดอยู๋ที่ศูนย์กลางกายให้มากที่สุด ผลจะเกิดวันหนึ่งไม่ต้องสงสัย ผลเกิดอย่างไรท่านรู้ได้ด้วยตัวของท่านเองครับ

ธรรมสำหรับเป็นที่อาศัยอยู่ของจิตใจที่ดี

02 September 2008 - 05:12 PM

พรหมวิหารสี่...ข้อ.................ของพรหม
พระสมณโคดม.....................ช่วยชี้
ชีวิตประเสริฐสม....................บริสุทธิ์
ธรรมประจำใจนี้...................ประพฤติได้ ยิ่งเจริญ

แนบไฟล์  teach_67_big.jpg   21.41K   112 ดาวน์โหลด

เมตตา...คนอื่นด้วย...............รักเสมอ
หมายมุ่งให้พบเจอ.................สุขล้น
ปรารถนาสิ่งดีเสนอ................หนุนส่ง
ขอสุขจงท่วมท้น....................พรั่งพร้อมบริบูรณ์

แนบไฟล์  daisy_sky.jpg   23.39K   91 ดาวน์โหลด

กรุณา...คนอื่นด้วย................สงสาร
หมายมุ่งพ้นภัยพาล................อย่าใกล้
ปรารถนาช่วยในการ..............พ้นทุกข์
ขอเรื่องร้ายอย่าได้..................เกิดขึ้นอีกเลย

แนบไฟล์  212683172_28f78099ac.jpg   90.25K   122 ดาวน์โหลด

มุทิตา...คนอื่นด้วย.................ยินดี
แสดงจิตมิตรไมตรี..................มอบให้
ไม่คิดริษยาตี.........................ตนต่ำ
เป็นสุขอารมณ์ได้...................ร่วมด้วยสรรเสริญ

แนบไฟล์  244530461_6bc467069b.jpg   81.8K   96 ดาวน์โหลด

อุเบกขา...คนอื่นด้วย...............วางเฉย
ใจไม่โอนเอียงเลย...................อย่างนี้
เป็นกลางนิ่งอย่างเคย...............เห็นวิบัติ
ดีย่อมได้ดีชี้...........................ชั่วได้ชั่วเสมอ

แนบไฟล์  259701473_10b3ec0df2.jpg   144.82K   100 ดาวน์โหลด

๑) เมตตา ความรักที่จะให้เป็นสุข ตรงกันข้ามกับความเกลียดที่จะให้เป็นทุกข์ เมตตาเป็นเครื่องปลูกอัธยาศัย เอื้ออารี ทำให้มีความหนักแน่นในอารมณ์ ไม่ร้อนวู่วาม เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกเป็นมิตร ไม่เป็นศัตรู ไม่เบียดเบียนใคร แม้สัตว์เล็กเพียงไหน ให้เดือดร้อนทรมานด้วยความเกลียด โกรธ หรือสนุกก็ตาม

๒) กรุณา ความสงสารจะช่วยให้พ้นทุกข์ ตรงกันข้ามกับความเบียดเบียน เป็นเครื่องปลูกอัธยาศัยเผื่อแผ่เจือจาน ช่วยผู้ที่ประสบทุกข์ยากต่าง ๆ กรุณานี้เป็นพระคุณสำคัญข้อหนึ่งของพระพุทธเจ้า เป็นพระคุณสำคัญข้อหนึ่งของพระมหากษัตริย์ และเป็นคุณข้อสำคัญของท่านผู้มีคุณทั้งหลาย มีมารดาบิดา เป็นต้น

๓) มุทิตา ความพลอยยินดีในความได้ดีของผู้อื่น ตรงกันข้ามกับความริษยาในความดีของเขา เป็นเครื่องปลูกอัธยาศัย ส่งเสริมความดี ความสุข ความเจริญของกันและกัน

๔) อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง ในเวลาที่ควรวางใจดังนั้น เช่น ในเวลาที่ผู้อื่นถึงความวิบัติ ก็วางใจเป็นกลาง ไม่ดีใจว่า ศัตรูถึงความวิบัติ ไม่เสียใจว่า คนที่รักถึงความวิบัติ ด้วยพิจารณาในทางกรรมว่า ทุก ๆ คนมีกรรมเป็นของตน ต้องเป็นทายาทรับผลของกรรมที่ตนได้ทำไว้เอง ความเพ่งเล็งถึงกรรมเป็นสำคัญดังนี้ จนวางใจลงในกรรมได้ ย่อมเป็นเหตุถอนความเพ่งเล็งบุคคลเป็นสำคัญ นี้แหละเรียกว่า อุเบกขา เป็นเหตุปลูกอัธยาศัยให้เพ่งเล็งถึงความผิดถูกชั่วดีเป็นข้อสำคัญ ทำให้เป็นคนมีใจ ยุติธรรมในเรื่องทั่ว ๆ ไปด้วย

เนื้อเรื่อง พระพุทธเจ้าสอนอะไร โดยสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก บทกวีโดยคุณ Oracle รูปจากอินเตอร์เน็ต

ธรรม ๔ ข้อนี้ควรอบรมให้มีในจิตใจ ด้วยวิธีคิดแผ่ใจ ประกอบด้วยเมตตา เป็นต้น ออกไปในบุคคลและสัตว์ทั้งหลายโดยเจาะจงและโดยไม่เจาะจงคือทั่วไป เมื่อหัดคิดอยู่บ่อย ๆ จิตใจก็จะอยู่กับธรรมเหล่านี้บ่อยเข้าแทนความเกลียด โกรธ เป็นต้น ที่ตรงกันข้าม จนถึงเป็นอัธยาศัยขึ้น ก็จะมีความสุขมากครับ