ขอคำปรึกษาจากทุกท่านหน่อยค่ะ...ด่วนมาก
#1
โพสต์เมื่อ 21 August 2008 - 10:05 PM
ที่กำลังเตรียมตัวสอบสอบเรียนต่อมหาวิทยาลัยในปีหน้า
ตอนนี้ก็กำลังเรียนไปด้วย และเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยไปด้วย
มาปรึกษาดิฉัน ที่เข้ามาปรึกษาก็มีปัญหาหลายอย่าง เช่น
-บางคนเครียดกับการเรียนและการเตรียมตัวสอบเข้า
-บางคนกลัวสอบเข้าไม่ได้
-บางคนความจำไม่ค่อยดี
-บางคนก็ฟุ้งซ่าน
-บางคนเรียนหนังสือไม่ค่อยดี
ฯลฯ
ดิฉันก็ห้กำลังใจลูกศิษย์ทุกคน ไม่อยากให้เขาท้อตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่ม
และให้คำแนะนำให้เขาเหล่านั้นว่า
...ให้นั่งสมาธิ แบ่งเวลาให้ถูก ตั้งใจอ่านหนังสือ ทำอย่างสม่ำเสมอและต้องมีความตั้งใจจริง...
ถ้าเครียดก็ให้ไปทำกิจกรรมอื่นก่อน เช่น เล่นกีฬา ดูทีวี ฟังเพลง
แล้วถ้าดีขึ้นก็ค่อยมาอ่านใหม่ แล้วต้องพักผ่อนให้เพียงพอ
พวกเขาก็พอจะมีกำลังใจขึ้น
และจากการที่ดิฉันได้สอบถามลูกศิษย์ที่มาปรึกษาดิฉัน พบว่า...
เขาเหล่านั้น...ไม่มีใครนั่งสมาธิเลย...
ดิฉันจึงได้อธิบายข้อดีของการนั่งสมาธิให้พวกเขาฟัง
และยกตัวอย่างนักเรียนไทยที่แข่งขันชีวะเหรีัยญทองโอลิมปิกโลก
ที่นั่งสมาธิ...จนสอบได้เหรีัยญทองโอลิมปิก
ลูกศิษย์ที่ได้ฟัง ก็มีความสนใจที่จะนั่งสมาธิ
ีลูกศิษย์หลายคนมาปรึกษาดิฉันว่า...
ควรนั่งวันละกี่นาที
ถ้าง่วงแก้ไขอย่างไร
จะเริ่มต้นอย่างไรดี
แต่ก่อน พวกเขาเคยนั่ง แค่ 3-4 นาทีก็เมื่อย ง่วงแล้ว
จึงไม่อยากนั่ง...
ซึ่งดิฉันก็ได้ให้คำแนะนำหลักในการนั่งสมาธิให้พวกเขาไปว่าควรทำอย่างไรบ้าง
แล้วดิฉันก็นึกถึงไฟล์เสียง MP3 ของหลวงพ่อครูไม่ใหญ่ทันที เรื่อง...
- นำนั่งสมาธิ : สติกับสบาย
- ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 : จุดเริ่มต้นทางสายกลาง
ถ้าดิฉันจะทำแบบนี้จะดีไหมค่ะ
คือตอนนี้ดิฉันมีความคิดว่า...
จะทำปก CD สวย ๆ บอกประโยชน์ของการนั่งสมาธิ
แล้วไรท์ 2 ไฟล์นี้ลงแผ่น CD
จากนั้นนำไปแจกให้ลูกศิษย์ที่สนใจนั่งสมาธิ
์นำไปเปิดฟัง...แล้วปฏิบัติตามเสียงหลวงพ่อครูไม่ใหญ่ที่บ้าน
เพื่อให้พวกเขาได้นั่งสมาธิถูกหลักวิชชา
หรือใครมีไอเดียดีกว่านี้ก็ขอคำแนะนำหน่อยค่ะ
ขอบคุณทุกความคิดเห็นค่ะ ... ที่กรุณาให้คำแนะนำดี ๆ แก่ดิฉัน
..................................
#2
โพสต์เมื่อ 21 August 2008 - 10:26 PM
แต่ถ้าพอจะทำได้ คุณครูลองจัดนั่งสมาธิวันละ 10-15 นาที ก่อนเข้าเรียนช่วงบ่ายดูสิคะ หรือ ก่อนเข้าแถวช่วงเช้าก็ได้ค่ะ นัดแนะให้เด็ก ๆ มากันเช้าหน่อย ลองทำดูสัก 1 สัปดาห์ดูก่อน แล้วค่อยถามความเห็นนักเรียนว่าอยากทำต่อมั้ย
แนวคิดนี้ได้มาจากหัวหน้างานเก่าของดิฉันเอง ซึ่งดูแลงานฝ่ายขายของสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง ดิฉันเห็นเธอปิดล้อคห้องตอนกลางวันอยู่บ่อย ๆ หลังจากมื้อกลางวัน จนมารู้ทีหลังว่านั่งสมาธิ 15 นาที แล้วก็มาจัดในอ้อฟฟิศ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ก็ใช้ช่วงเวลาตอนเย็นหลังเลิกงานค่ะ ใช้โต๊ะในห้องทำงานนั่นแหละแต่จัดเก้าอี้กันหน่อย แรก ๆ คนไม่เยอะค่ะ บางคนก็ยังนั่งทำงานอยู่เลย แต่หลัง ๆ คนแน่นค่ะ
ก็เลยเห็นว่า ทำให้เป็นอะไรที่ง่าย ๆ สถานที่ที่ไหนก็ได้ที่ดูแล้วเหมาะสม
เป็นกำลังใจให้ค่ะ
#3
โพสต์เมื่อ 21 August 2008 - 10:34 PM
บางคนดิฉันไม่เคยสอนเขาเลยค่ะ
แต่เคยคุยกันครั้งสองครั้งเอง
บางคนเคยสอนปีก่อนโน้น นาน ๆ เจอกันที
แล้วดิฉันจะลองจัดนั่งสมาธิ
แล้วชวนพวกเขามานั่งสมาธิ
ตามคำแนะนำของคุณบุญเลี้ยงค่ะ
แต่ไม่รู้ว่าอาทิตย์หนึ่ง จะทำได้สักกี่วัน
เพราะโอกาสที่คาบว่างตรงกันมีน้อย
ขอขอบคุณ...คุณบุญเลี้ยงมากนะค่ะ
ที่ให้คำแนะนำดี ๆ แก่ดิฉัน
#4
โพสต์เมื่อ 21 August 2008 - 11:00 PM
บางคนดิฉันไม่เคยสอนเขาเลยค่ะ
แต่เคยคุยกันครั้งสองครั้งเอง
บางคนเคยสอนปีก่อนโน้น นาน ๆ เจอกันที
...ให้นั่งสมาธิ แบ่งเวลาให้ถูก ตั้งใจอ่านหนังสือ ทำอย่างสม่ำเสมอและต้องมีความตั้งใจจริง...
เขาเหล่านั้น...ไม่มีใครนั่งสมาธิเลย...
ลูกศิษย์ที่ได้ฟัง ก็มีความสนใจที่จะนั่งสมาธิีลูกศิษย์หลายคนมาปรึกษาดิฉันว่า...ควรนั่งวันละกี่นาที
ถ้าง่วงแก้ไขอย่างไร...จะเริ่มต้นอย่างไรดี
- วิธีแก้ง่วงเริ่มที่โภชเนมัตตัญญุตา...รู้จักประมาณในการกิน...บริหารร่างกายให้สดชื่นแจ่มใส
- ซึ่งคุณครู...คงต้องสละเวลาทำหน้าที่เป็นยอดกัลยาณมิตร...ประคับประคองตลอดลอดฝั่งอย่างสม่ำเสมอ.....คุณครูคงจะหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งเมื่อ...ได้เห็นรอยยิ้มและความสำเร็จของเขาเหล่านั้น
#5
โพสต์เมื่อ 22 August 2008 - 12:25 AM
ขอร่วมอนุโมทนาบุญด้วยนะครับ สาธุ สาธุ สาธุ .............
#6
โพสต์เมื่อ 22 August 2008 - 12:47 AM
#7
โพสต์เมื่อ 22 August 2008 - 02:35 AM
นักเรียน ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถตัดสินใจอย่างไรได้ชัดเจนนัก ผมว่า การให้เขานั่งสมาธิในสายตาเราน่าจะดีกว่า หรือ จัดให้มีการมานั่งสมาธิในวัด
นักเรียน ส่วนหนึ่งต้องการเรียนดี การให้บอกให้เขานั่งเพื่อบอกถึงผลของสมาธิ ก็เป็นอุบายอย่างหนึ่ง
นักเรียน ส่วนหนึ่งต้องการผลของสมาธิทางด้านหน้าตา จิตใจ
นักเรียน ส่วนหนึ่งต้องการอ่านหนังสือได้ดีขึ้น เข้าใจมากขึ้น
นักเรียน ต้องการการอยู่เป็นกลุ่ม มีพฤติกรรมกลุ่มที่เหนียวแน่น
นักเรียน ต้องแบ่งเวลาให้เป็นในการทำแต่ละเรื่อง
นักเรียน บางคนยังใช้ชีวิตไม่เป็น ซึ่งก็น่าจะมีการบอกให้เขาใช้ชีวิตให้เป็นด้วย
การแจก CD เป็นธรรมทานดีมากครับ สาธุ
มุมมองของผมคือ การผลักให้เขารับในสิ่งที่เขาไม่คิดว่ามันสำคัญ มันจะยากกว่า การให้เขารู้ว่ามันสำคัญสำหรับเขา และ เขาต้องการที่จะทำ ครับ ทั้งนี้คุณครูคงต้องศึกษาถึงภาวะจิตของนักเรียนด้วยว่า เหมาะสมหรือไม่อย่างไรครับ
#8
โพสต์เมื่อ 22 August 2008 - 03:11 AM
#9
โพสต์เมื่อ 22 August 2008 - 06:06 AM
#10
โพสต์เมื่อ 22 August 2008 - 08:18 AM
เราขอเสริมวิธีการแนะนำ ดึงดูดให้นักเรียนสนใจในการนั่งสมาธิละกัน..
โดยอาจอธิบายในเชิงเปรียบเทียบกับสิ่งใกล้ตัวนักเรียน ที่คุ้นเคยกันดี.. ว่า..
หัวสมองคนเราก็เปรียบเสมือน Harddisk ของคอมพิวเตอร์ ที่เก็บข้อมูลไว้มากมาย
เมื่อข้อมูลบน Harddisk มีมากในระดับหนึ่ง การจัดเรียงตัวที่กระจัดกระจายของข้อมูลจะทำให้
การเรียกข้อมูลใดข้อมูลหนึ่งมาใช้งานทำได้ช้า.. ต้องแก้ไขด้วยการทำ Disk Deflagmenter
การนั่งสมาธิ.. ก็เปรียบเสมือนการทำ Disk Deflagmenter เหมือนกัน.. จะทำให้ความคิด ความจำของเรา
เป็นระบบ เป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น.. ประสิทธิภาพของ Harddisk นอกจากอยู่ที่ความจุแล้ว..
ยังอยู่ที่ความมีระเบียบของข้อมูลที่จัดเก็บด้วย.. ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น.. สมองของคนเราก็เช่นเดียวกัน..
เมื่อเราจับอะไรต่อมิอะไรใส่ลงไปมากเข้ามากเข้า.. มันก็เริ่มเละเทะ ไม่เป็นระบบ ระเบียบ
ลองนึกถึงห้องที่มีของวางระเกะระกะ รกรุงรัง.. เราจะเอาของใหม่ไปเก็บ ก็เก็บลำบาก.. เพราะหาที่ลงไม่ได้..
ครั้นจะหาของสักชิ้นในห้องนั้น.. ก็เป็นการยากไม่แพ้กัน..
ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น.. ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้.. ของคนเราก็เช่นเดียวกัน.. ถ้าถูกจัดอย่างมีระบบ ระเบียบแล้ว
จะสามารถแสดงศักยภาพที่แท้จริงของมันออกมาได้อย่างมหัศจรรย์.. ซึ่งสิ่งที่จะช่วยได้คือ.. การทำสมาธิ..
ดังนั้น.. การนั่งสมาธิจึงเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกเพศทุกวัย ทุกเชื้อชาติ ทุกภาษา ทุกอาชีพ ขาดไม่ได้..
ไม่ว่าจะเป็น นักเรียน นักศึกษา คนในวัยทำงาน การบำบัดคนป่วย หรือคนชรา.. ล้วนจำเป็นทั้งสิ้น..
ประมาณนี้อ่ะจ๊ะ.. เราเชื่อว่า.. ถ้านักเรียนได้ฟังถ้อยความ คำจริง เหล่านี้.. จะต้องแห่กันมานั่งสมาธิมากมาย..
กระทั่งล้นห้องที่จัดเตรียมเอาไว้แน่นอน.. ส่วนที่เหลือ.. เราเชื่อว่าคุณครูทำได้อยู่แล้ว..
กราบอนุโมทนาบุญกับคุณครู ผู้ให้แสงสว่างกับเยาวชน และความเมตตาที่มีต่อศิษย์ของท่านเอง..
สาธุ สาธุ สาธุ..
ที่สุดแห่งธรรมนั้นเป็นเป้าหมาย..
โลกจะสุขสันต์เมื่อท่านเข้าถึงธรรมกาย..
สว่างไสวทั่วทุกธาตุธรรม..
#11
โพสต์เมื่อ 22 August 2008 - 08:36 AM
#12
โพสต์เมื่อ 22 August 2008 - 08:44 AM
#13
โพสต์เมื่อ 22 August 2008 - 09:15 AM
ในความเห็นของผม การจะจับเด็กนักเรียนมานั่งขัดสมาธิอย่างปุ๊บปั๊บเลยนั้น ผมว่าไม่ดีแน่ ให้ลองนึกถึงตอนที่เราเริ่มหัดนั่งกันใหม่ๆก็ได้ครับ แทนที่เด็กนักเรียนจะคิดว่าการนั่งสมาธินั้นดีจะกลายเป็นว่าต้องมานั่งทรมาณ หากเป็นผมนะครับคุณครู ผมจะยอมสละชม.เรียนที่ตัวเองสอนสัก15นาทีช่วงท้ายชม.เรียน แล้วให้เขาลองหัดนั่งสมาธิในท่าที่สบายๆก่อน คือนั่งโดยใช้เก้าอี้ ให้เขานั่งปล่อยขาสบายๆไปก่อน แต่มีข้อแม้ว่าห้ามนักเรียนนั่งผิงพนักพิง ให้นั่งตัวตรง ใครนั่งผิงจะถือว่าคนนั้นหลับให้สะกิดปลุกเขาให้ตื่น ไม่นั่งท้าวแขนกับโต๊ะเอามือวางหน้าตักสบายๆ ผมจะเริ่มให้นักเรียนทำอย่างนี้ก่อนครับ ให้นักเรียนเข้าใจว่าการนั่งสมาธิไม่ยากอย่างที่คิด หากชม.นั้นเป็นชม.สุดท้ายของวัน ผมจะให้นักเรียนนั่งให้อยู่ตัวก่อน คือสัก15นาทีในช่วง2-3วันแรก จากนั้นค่อยๆปรับเพิ่มเวลาให้มากขึ้น อาจจะเพิ่มครั้งละ5นาที พอครบเวลาผมก็จะให้เขาลืมตาและพูดให้กำลังใจเขา ถ้าเป็นผม ผมจะทำเช่นนี้
ส่วนเรื่องการแนะนำการนั่งสมาธินั้น ผมจะไม่แนะนำเด็กๆให้ซับซ้อนจนเกินไป เพราะเด็กมีความเครียดแฝงอยู่แล้วหากอธิบายเรื่องที่ซับซ้อนจะทำให้เด็กเครียดมากยิ่งขึ้น ผมจะแนะนำเขาเหมือนอย่างพระอาจารย์แนะนำเด็กเล็กตอนที่ผมเคยไปช่วยเลี้ยงเด็กที่ศูนย์เด็ก คือให้เขานึกอะไรก็ได้ให้อยู่ข้างในกลางท้อง จะเป็นลูกปิงปอง ลูกฟุตบอล ลูกบาส หรือดวงแก้วก็ได้ นึกไปเรื่อยๆสบายๆ ผมจะไม่กำหนดว่าต้องนึกที่ศูนย์กลางกายฐานที่7กับพวกเขา เพราะจะเป็นการมาร์คจุดทำให้เด็กนักเรียนเครียดหนักขึ้นไปอีก ช่วงแรกจะให้เขานึกสบายๆไปก่อน เมื่ออยู่ตัวแล้วผมถึงจะอธิบายเรื่องศูนย์กลางกายฐานที่7ให้เขาอีกทีครับ
สรุปคำแนะนำของผมง่ายๆนะครับ จะแนะนำใครก็ตามที่ยังไม่เคยนั่งสมาธิให้มานั่งสมาธิ ให้คิดถึงตอนที่เราเริ่มนั่งใหม่ๆแล้วเรารู้สึกเช่นไร แล้วจึงค่อยคิดหาวิธีแนะนำให้เขาเริ่มอย่างสบายๆ ไม่ทำให้เขาคิดว่าการนั่งสมาธิมันยากและทรมาณ เท่านั้นเองครับ
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
#14
โพสต์เมื่อ 22 August 2008 - 10:21 AM
#15
โพสต์เมื่อ 22 August 2008 - 10:56 AM
ทำดีได้กับตัว ทำชั่วไม่ได้ดี
#16
โพสต์เมื่อ 22 August 2008 - 11:45 AM
อนุโมทนาบุญค่ะ
พระผุดผ่านทุกวัน สะอาดเกลี้ยง
นิวรณ์หมดสุขสันต์ สดชื่น
ชีพรื่นธรรมหล่อเลี้ยง ผ่องทั้งกายใจ
สุนทรพ่อ
#17
โพสต์เมื่อ 22 August 2008 - 12:40 PM
ว่าจะเข้ามาตอบซะหน่อย แต่ท่านอื่นๆก็ได้ให้คำแนะนำไปครบถ้วนดีแล้ว ก็เลยแค่แวะเข้ามาให้กำลังใจกันครับ นี่หละครับประโยชน์ของกัลยาณมิตร
#18
โพสต์เมื่อ 22 August 2008 - 01:22 PM
#19
โพสต์เมื่อ 22 August 2008 - 04:50 PM
#20
โพสต์เมื่อ 22 August 2008 - 11:31 PM
เมื่อเด็กได้เริ่มนั่งสมาธิ ทุกอย่างก็จะค่อยๆไปตามทางเองละค่ะ ความสุขและความสงบเป็นรสอันเกษม อย่างแท้จริง
ที่สำคัญกว่านั้นคือผู้ที่เป็นกัลยาณมิตรควรเตรียมตัวด้วยการนั่งสมาธิมากๆก่อน ทุกๆวัน เพิ่อเพิ่มกำลังที่จะสร้างความสำเร็จ
แล้วในกลาง ในสมาธิ จะมีคำตอบที่ตนต้องการ ปัญญาอันเกิดจากสมาธิข้างในจะบอกเราเอง แล้วเราจะรู้ได้เองว่าควรทำหน้าที่กัลยาณมิตรของตนต่อไปอย่างไร
#21
โพสต์เมื่อ 24 August 2008 - 11:05 PM
#22
โพสต์เมื่อ 25 August 2008 - 04:37 PM
ต้องขออนุโมทนาบุญด้วยนะคับ.....สาธุ.........
#23
โพสต์เมื่อ 28 August 2008 - 12:36 AM
ที่ได้แนะนำดิฉันมีประโยชน์มาก ๆ เลยค่ะ
ขอชี้แจงหน่อยนะค่ะ .....
คือเด็กนักเรียนที่มาปรึกษาดิฉันนั้นน่ะ
เป็นเด็กระดับปวช. สายช่างอุตสาหกรรมค่ะ
กำลังจะสอบเข้าเรียนมหาวิทยาลัยหลักสูตร 4 ปี
ตอนนี้พวกเขาเรียนปี 3 เป็นปีสุดท้าย..ใกล้จบแล้วค่ะ
เรียนทั้งวิชาช่างทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ
และต้องนำความรู้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตประจำวันด้วย
คือมีโครงการออกหน่วยช่วยประชาชนในชุมชน
เช่น ถ้าเรียนช่างอิเล็กทรอนิกส์ก็รับซ่อมเครื่องเสียง ทีวี
ถ้าเรียนช่างไฟฟ้าก็ซ่อมตู้เย็น แอร์ อะไรประมาณนี้แหล่ะค่ะ
ตามหน่วยต่าง ๆ ของชุมชน
และต้องสร้างโปรเจคก่อนจบด้วย
อีกทั้งต้องเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยด้วย
ซึ่งการเรียนการสอนจะไม่เหมือนกับสายสามัญค่ะ
---------------