คุณสมบัติของคนที่ได้ธรรมกายคืออะไร
#1
โพสต์เมื่อ 09 February 2008 - 08:42 PM
กราบเรียนเชิญท่านผู้รู้(จริง)อนุเคราะห์ลูกนกลูกกาช่วยบอกทางสว่างให้ที :'(
กราบแทบเท้าอนุโมทนาล่วงหน้าครับ
สาธุๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆสาธุครับ
#2
โพสต์เมื่อ 09 February 2008 - 09:31 PM
แล้วน้องนั่งมากี่วัน กี่เดือน กี่ปี แล้วคะ
คุณยายอาจารย์ฯ เล่าไว้ว่า ให้ขยันนั่ง เหมือนกำปั่นทุบดิน ของมันมีอยู่ในตัวแล้ว ถ้าจิตนิ่งจริงๆ ก็เห็นเอง
คุณครูไม่ใหญ่ของเราก็เคยท้อเหมือนกัน ตอนช่วงฝึกแรกๆ แต่ท้อไม่แท้ เพราะพอนั่งแบบ เห็นไม่เห็นก็ช่างมัน
กลับเห็นดวงแก้วสว่างในท้องเลย
แต่คนที่เค้ามีบุญเก่ามามาก นั่งปุ๊บ เห็นปั๊บ ก็มีอยู่
เราจะไปเอาอย่างเค้า คงไม่ได้หรอกค่ะ
มารมันคอยสอดละเอียด ว่าให้เลิกนั่งเถอะๆ อยู่เรื่อย อย่ายอมมันเชียวนะคะ
หลวงปู่ฯ(พระมงคลเทพมุนี สด จันทสโร) บอกไว้ว่า ของจริงคู่กับคนจริง
แล้วน้องล่ะ จริงแค่ไหน...
#3
โพสต์เมื่อ 09 February 2008 - 09:44 PM
คุณครูไม่ใหญ่สอนว่า ให้มี 4 ส. คือ สติ สบาย สม่ำเสมอ สังเกตุ
3 ส. แรก น่าจะเข้าใจได้นะคะ
ส่วน ส. ที่ 4 สังเกตุ , ให้สังเกตุว่าเราทำถูกวิธีหรือเปล่า ให้จดจำอารมณ์ และ สภาวะจิต ของประสบการณ์ที่ดีที่สุดไว้
ไม่ใช่นั่งแบบอยากเห็นพระ อยากเห็นดวงแก้ว จะมึนหัวเอานะคะ
เวลานั่งครั้งต่อไป ให้ปรับอารมณ์ให้เหมือนตอนที่เราทำได้ดีค่ะ
เหมือนการปลูกต้นไม้ เราก็ต้องรดน้ำพรวนดิน ต้นไม้จึงจะเจริญงอกงาม
ใจของเราก็เหมือนกัน ถ้าเราทำใจให้พอดีๆ สบายๆ (นึกถึงบุญทำความสะอาด จะสบายใจเป็นพิเศษ)
เดี๋ยวดวงแก้ว องค์พระท่านก็จะมาเองค้า
สู้เค้านะ ทาเคชิ เอ้ย ไม่ใช่ ลูกพระธัมฯ ตัวจริง(หรือป่าว)
#4 *YTTRA*
โพสต์เมื่อ 09 February 2008 - 10:03 PM
เอาอย่างที่คุณ middleway ว่าน่ะแหละครับถูกแล้ว
นั่งสมาธิคุณจะมาเอาอารายพรวดพราด นั่งวันนี้พรุ่งนี้คุณจะเอาอารายนักหนา อย่าใจร้อนเดะ ค่อยๆเป็นค่อยๆไป
จากประสบการณ์ที่ผมนั่งมา อย่าว่าแต่ดวงธรรมเลยครับ แค่คำว่า "ใจหยุด" เป็นยังงัยผมต้องใช้เวลาเกือบสิบปีถึงจารู้
คุณจะนั่งสมาธิให้ จำไว้สองคำเลยนะ สม่ำเสมอ กับ สังเกต
ถ้าคุณไม่มีความสม่ำเสมอ ต่อให้คุณนั่งได้องค์พระตั้งแต่วันแรกเด๋วมันก้อหายไป
นั่งนิ่งๆ นานๆ นุ่มๆ เบาๆ สบายๆ ง่วงก็หลับ เมื่อก็ขยับ ฟุ้งก็ลืมตา เด๋วมันจะเห็นเอง
#5
โพสต์เมื่อ 09 February 2008 - 10:29 PM
เอาหัวข้อธรรมที่หลวงพ่อทัตตะ มาแถมให้ครับ
1. ไม่ว่าร้ายใคร แม้แต่คิดก็ไม่ได้ ( เริ่มยาก หุ หุ )
2. ไม่ทำร้ายใคร แม้แต่วาจา ความคิด ( ระดับเริ่มมันส์ขึ้น 55 )
3. รักษาศีลให้บริสุทธิ์ ไม่ด่างพร้อย ทะลุ หรือขาด ( )
4. ระมัดระวังในการบริโภคอาหาร อย่าให้มากเกินไป ( อันนี้จะง่วง ) หรือน้อยเกินไป บริโภคพอดี พอดี ( อันนี้ผมว่าไม่ยากเท่าไหร่ )
5. อยู่ในที่สงบ เหมาะแก่การเจริญสมาธิภาวนา
6. เจริญสมาธิภาวนาอยู่เนือง ๆ สม่ำเสมอ
ผมว่าถ้าทำได้ครบหมดทั้ง 6 หัวข้อนี้ ธรรมมะละเอียดก็ไม่ยากแล้วครับ
ปล.คำบาลีจำไม่ได้ครับ ต้องขออภัยอย่างแรง
ไฟล์แนบ
#6
โพสต์เมื่อ 09 February 2008 - 10:37 PM
#7
โพสต์เมื่อ 09 February 2008 - 11:53 PM
พอเราอ่านหัวข้อกระทู้ "คุณสมบัติของคนที่ได้ธรรมกายคืออะไร"
ทำให้นึกถึงสิ่งที่หลวงพ่อสอนที่โรงเรียนอนุบาลฯทุกๆวัน
คุณสมบัติก็คือ
ไม่ตาย ไม่บ้า และก็ลงมือทำไงคะ
จริงๆตัวเอง ยังมีธรรมะที่ไม่คืบหน้าสักเท่าไร ครั้นจะตอบก็เขินๆ
แต่ก็ต้องยอมรับว่ายังทำน้อยไปจริงๆ
เคยตั้งใจจะนั่งให้ได้วันละอย่างน้อย 3 ชม. ก็ไม่สำเร็จ
ก็เลยลดลงเหลือ 2 ชม. มันก็ทำไม่ได้อีก จนตอนนี้ให้ได้สักชม.ก็แทบแย่
บางวันแค่ 15 นาทีก็สุดๆแล้ว แฮะๆ
แต่ก็พยายามคิดว่าทำให้ได้ทุกวัน เก็บชั่วโมงบินไปเรื่อยๆ สักวันจะต้องสำเร็จ
อืม... มีอีกเรื่อง พอดีได้มีโอกาสฟังธรรมะจากพอจ.ไพบูลย์ ธัมมวิปุโล ท่านบอกว่า
คนที่บรรลุธรรมมีอยู่ 4 จำพวก
1. คนที่ปฏิบัติลำบาก บรรลุช้า
2. คนที่ปฏิบัติลำบาก บรรลุเร็ว
3. คนที่ปฏิบัติสะดวก บรรลุช้า
4. คนที่ปฏิบัติสะดวก บรรลุเร็ว
ซึ่งเป็นผลมาจาก
เขาทำทานมามากแค่ไหน ถ้าทำมามากก็จะปฏิบัติสะดวก ทำมาน้อยก็ปฏิบัติลำบาก
ส่วนบรรลุช้าหรือเร็วอยู่ที่ ในอดีตเขานั่งธรรมะมามากแค่ไหน นั่งมามากก็บรรลุเร็ว นั่งมาน้อยก็บรรลุช้า
จะเห็นว่าทุกอย่างอยู่ที่การกระทำของเราเองทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ก็ขอเป็นกำลังใจกับทุกคนที่มีความพยายามเหมือนๆกันนะคะ
และขอกำลังใจจากทุกคนด้วยคะ
อนุโมทนาบุญกับทุกๆคนด้วยนะคะ ... สาธุ
#8
โพสต์เมื่อ 10 February 2008 - 02:29 PM
ว่าบางทีอยู่ที่สายอาชีพด้วยหรือปล่าว
เห็นแหม่ม ที่แต่งเพลง ที่บ้านอยู่ australia นั่งแป๊บเดียวก็ เห็นองค์พระแล้ว
แถมยัง วาดรูปส่งไปให้สามี ก็นั่งเห็นอีก
แบบประมาณว่า สายศิลป์ เห็นง่ายกว่าสายวิทย์
#9
โพสต์เมื่อ 10 February 2008 - 02:57 PM
#10
โพสต์เมื่อ 10 February 2008 - 03:47 PM
- พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯแนะไว้ ต้องตั้งใจหยุดอยู่ตรงนั้น จึงจะถูกเป้าหมาย
- คุณยายอาจารย์ฯเคยเล่าไว้ทำนองว่า ยายเกิดมาไม่มีทรัพย์ ไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ทางโลก เหมือนคนอื่นๆ ยายมีอย่างเดียวคือจริง
- ซึ่งสานุศิษย์ก็ใช้หลักการเดียวกันนี้ นำมาปฏิบัติสืบต่อกันมา
#11
โพสต์เมื่อ 10 February 2008 - 05:40 PM
ตอบ ตั้งใจปฏิบัติ ไม่ขี้สงสัย
และฝึกได้ง่ายจริงหรอ
ตอบ ฝึกได้ง่ายจริง หยุดใจที่ศูนย์กลางกาย ทุกอิริยาบถ ทำบ่อยๆ ทำนานๆ
ถ้าง่ายทำไมมีน้อยคนที่ได้ล่ะ
ตอบ เอาสถิติที่ไหนมาบอกว่าคนมีธรรมกายมีน้อย มิใช่เรื่องที่ต้องมาโอ้อวดบอกใครว่าตนมี และเหนือกว่าคนอื่น และไม่จำเป็นจะต้องออกมาบอกให้ใครรู้ ผู้รู้ภายในจะบอกท่าน
หยุดสงสัย และ ตั้งใจปฏิบัติ
#12
โพสต์เมื่อ 10 February 2008 - 08:41 PM
ใจหยุดนิ่งโปร่งโล่งเบาสบายสว่างสงบสุขเห็นองค์พระ..........ง่าย
ไปเที่ยวสวรรค์นรกมีฤทธิ์ฯลฯ..........ต้องมีครูสอนและดูแล
#13
โพสต์เมื่อ 10 February 2008 - 09:24 PM
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาให้ความรู้ค่ะ
สาธุ
ที่สุดแห่งธรรมนั้นเป็นเป้าหมาย..
โลกจะสุขสันต์เมื่อท่านเข้าถึงธรรมกาย..
สว่างไสวทั่วทุกธาตุธรรม..
#14
โพสต์เมื่อ 11 February 2008 - 11:48 AM
ชิตังเม ชิตังเม ชิตังเม
กราบอนุโมทนาด้วยนะครับ สาธ สาธุ สาธุ
#15
โพสต์เมื่อ 11 February 2008 - 03:45 PM
คุณสมบัติของคนที่ได้ธรรมกายคืออะไร
- คุณสมบัติของคนที่ได้ธรรมกาย คือ ต้องมีใจรักในพระรัตนตรัยและการทำสมาธิยิ่งกว่าชีวิตหรือพูดง่ายๆคือ เอาชีวิตเป็นเดิมพันนั่นเองครับ
ฝึกได้ง่ายจริงหรอถ้างายทำไมมีน้อยคนที่ได้ล่ะครับผู้รู้ช่วยทีคับ
- ฝึกได้ง่ายมากๆครับ เพียงแต่ต้องเอาชีวิตเป็นเดิมพันสักหน่อยเท่านั้น และขจัดความอยากในใจออกไปให้พ้น เช่นอยากรู้ อยากเห็น อยากเข้าถึง เพราะความอยากจะเป็นตัวบดบังใจเราให้เข้าถึงได้ยากครับ
- ทำไมมีน้อยคนนักที่ได้ คำตอบ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งใจจริงน่ะสิครับ หากพูดตามอย่างหลวงพ่อทัตตะก็ต้องพูดว่า สักแต่ว่านั่งเท่านั้น สักแต่ว่านั่งเป็นเช่นไร ตอนแรกตั้งใจนั่งอย่างเต็มที่ ภาวนาสัมมาอะระหังๆๆ แต่พอนั่งไปได้สักพัก คำภาวนาเริ่มเปลี่ยนเป็น เมื่อยจริงเว้ยๆๆ สักพักเริ่มเปลี่ยนเป็น เลิกเถอะๆๆ นี่เขาถึงเรียกว่า สักแต่ว่านั่ง ไงครับ
หรือ ตอนเริ่มนั่งตั้งใจอย่างเต็มที่ พอเริ่มนั่งไปได้สักไม่ถึงครึ่งชม.ก็คิดว่านั่งนานเป็นชม.แล้ว ก็ลืมตา พอดูนาฬิกาอ้าว ยังไม่ถึงครึ่งชม.เลย นี่เขาถึงเรียกว่า สักแต่ว่านั่ง ไงครับ
หรือ ตอนเริ่มนั่งตั้งใจเสียดิบดี ว่าวันนี้จะนั่งให้ได้สักชม. พอเริ่มนั่งก็นั่งได้ครบ1ชม.แหล่ะครับ แต่พอครบ1ชม.เสร็จก็เลิกนั่งทันที นี่เขาถึงเรียกว่า สักแต่ว่านั่ง ไงครับ
หรือ ตอนเริ่มนั่งตั้งใจอย่างเต็มที่ แต่พอนั่งไปๆ "พ่อ(แม่)ละครมาแล้ว" หรือ "พ่อ(แม่)กินข้าว" ก็เลิกทันที นี่เขาถึงเรียกว่า สักแต่ว่านั่ง ไงครับ
อ้าว แล้วมีใจรักล่ะเป็นยังไง ตั้งใจจะนั่งปุ๊บรีบนั่งหลับตาเจริญภาวนาทันที ไม่สนใจเรื่องเวลา ไม่สนใจสิ่งรบกวนรอบข้าง ไร้ซึ่งความอยาก เมื่อยก็ช่างมัน หิวก็ไม่สน อดข้าวสักมื้อจะตายให้รู้ไป ละครมาก็ไม่สน โลกจะแตกก็ให้มันแตกไปดิ จะนั่งหลับตามันอยู่อย่างนี้แหล่ะ นี่ถึงจะเรียกว่ามีใจรักอย่างแท้จริงครับ
เหมือนการเรียน หากเรารักเรียน ตั้งใจเรียน ทบทวนการบ้าน ถึงเวลาสอบเราก็สอบได้ แต่ถ้าเราสักแต่ว่าเรียน คือเวลาเข้าเรียนก็ไม่สนใจเรียน คอยแต่เวลาจะเลิกเรียน มีการบ้านก็ไม่ทำ คิดว่าแบบนี้เมื่อถึงเวลาสอบจะสอบได้ไหมล่ะครับ ฉันใดฉันนั้นครับ ขอแค่มีความตั้งใจที่จะทำจริงและทำจริงโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันคำว่าสำเร็จจะไปไหนเสียจริงไหมครับ
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
#16
โพสต์เมื่อ 11 February 2008 - 09:34 PM
#17
โพสต์เมื่อ 13 February 2008 - 03:20 PM
ที่ทำนะคะ
ค่อยค่อย คลายทีละส่วน(ตามที่หลวงพ่อเมตตาบอก) คลายหน้าผาก คลายตา ผ่อนคลาย ค่อยค่อยนึกไปทีละส่วนนะคะ ปาก แขน มือ ค่อยค่อยบอกให้ผ่อนคลายในใจ น่ะค่ะ ระหว่างนั่งก็นึกคลายตลอดเวลา นะคะ
จะรู้สึกสบายทั่วตัว และที่รู้สึกคือ เหมือนตั้งแต่ปลายเท้าขึ้นมา แข็งเป็นแก้ว แข็งขึ้นมาเรื่อนเรื่อย และรู้สึกเหมือนขาถูกดูด ให้จมลงไป (หุหุ ตกใจมากเรียกหาหลวงปู่ในใจ ใหญ่เลยค่ะ ตะกายจนหลุดจากสมาธิ อิอิ)
ตะกายขึ้นมาลืมตา
นั่งครั้งต่อไปพอคลายไปเรื่อยเรื่อย รู้สึกเหมือนหยุดหายใจ (ไม่มีลมหายใจเข้าออก เหมือนทุกอย่างหยุดไป )
ลองดูนะคะ
เห็นพระอาจารย์บอกว่าให้นิ่งต่อไป ดีแล้วน่ะค่ะ
อยู่ว่างว่างก็คลายหน้าเล่นเล่นตลอดเวลานะคะ พอนั่งจริงจะนิ่งเร็วค่ะ
#18
โพสต์เมื่อ 29 July 2008 - 01:22 PM
คุณผู้ถามต้องหูตากว้างไกล อย่ามองแค่เพียงขอความรู้ แต่ต้องหาความรู้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเชื่อคนอื่นก็ได้
เราฝึกเองโดยไม่พึ่งครูอาจารย์ เห็นธรรมกายยากนะครับ แต่ถ้าเราพึ่งครูอาจารย์ก็จะทำให้เราเห็นธรรมกายง่ายขึ้น
ครูอาจารย์ท่านต้องชำนาญในการฝึกให้เราเห็นธรรมกายได้ด้วย ไม่ใช่บอกแต่เพียงว่าให้เราพยายามเอง แต่ท่านต้องฝึกให้เราเห็นได้ในเวลาไม่ช้าไม่นาน เพราะอะไร เพราะเรามัวแต่สำรวจว่าเรามี ศีลบริสุทธิ์หรือยัง ศีลจะบริสุทธิ์ก็เมื่อใจหยุดใจนิ่ง แปลว่าเราทำใจหยุดใจนิ่งได้ก็เข้าถึงดวงศีลที่บริสุทธิ์ได้ ศีล สมาธิ ปัญญา มีอยู่ในตัวของเรา ทำเดี๋ยวนี้เข้าถึงได้เดี๋ยวนี้ เจออาจารย์อย่างนี้ซีครับถึงจะเรียกว่าของจริง
ขอขยายความตามประสบการณ์นะครับ ผมว่ารูปแบบการสอนให้คนเห็นพระธรรมกาย ปัจจุบันนี้มีหลายสำนัก แต่ละสำนักมุ่งเป้าหมายเดียวกันคือให้ผู้ฝึกเข้าถึงพระธรรมกาย บางที่ทำได้ดีมาก บางที่ทำได้น้อย บางที่ได้ผลไวและเกิดผลดีต่อผู้ฝึกเดี๋ยวนั้นเลย คือใจหยุด นิ่ง ใส สว่าง สงบเดี๋ยวนั้นเลย มีครับอยู่ที่ว่าท่านจะพบเจอหรือไม่
ถ้าเราคิดว่าปฏิบัติไปเรื่อยๆ แปลว่าตามยถากรรมหรือเปล่า ผมว่าอยู่ที่เราว่าจะเจอเทคนิคที่ทำให้เราเห็นธรรมได้เร็วขึ้นแค่ไหน ผมเคยถามวิปัสสนาจารย์บางท่านว่าทำไมท่านถึงสอนให้เขาเห็นธรรมได้ง่ายจัง ท่านบอกว่านอกจากตัวผู้ฝึกเองที่ตั้งใจปฏิบัติแล้ว ตัวอาจารย์เองก็ต้องมีความรู้ช่วยเขาด้วย เออ...แปลกผมก็เห็นว่าท่านทำได้จริงๆ แปลว่าอาจารย์ท่านนี้ท่านมีเทคนิคทั้งหยาบทั้งละเอียดจริงๆ
ช่วงนี้ผมว่า ทางวัดมีข้อเสียเปรียบตรงที่ไม่เน้นการฝึกให้บุคคลทั่วไปได้เห็นธรรม บุคลากรของทางวัดมีมากแต่ไม่สันทัดงานสอนเบื้องต้นเลย น่าจะปรับปรุงตรงนี้ให้ดีนะครับ สำนักอื่นๆ เขาทำได้โดยไม่ต้องใช้เงินมากมายอะไร ผมเองก็อยากเห็นว่าทางวัดผลิตบุคคลกรด้านการสอนให้คนอื่นเข้าถึงพระธรรมกายออกมารับใช้ประชาชนให้มากๆ เพราะเมื่อคนมีใจหยุดใจนิ่งแล้วสังคมจะสงบสุขเอง ไม่ต้องหวังพึ่งอย่างอื่นเลย ผมเห็นคนที่เข้าถึงธรรมกายมามากมายแล้ว จิตใจและการกระทำดีขึ้นผิดหูผิดตา
วิชชาธรรมกายเข้าถึงง่ายครับ ถ้าผู้สอน สอนได้ถูกทางจริงๆ ผมว่าอยู่ที่ผู้สอนมากกว่าผู้ฝึก ผู้สอนสอนให้เขาเห็นธรรมได้ง่ายๆ ได้ไหมล่ะครับ ผมว่าตรงนี้เราต้องพัฒนานะครับ...
#19
โพสต์เมื่อ 27 August 2008 - 10:59 AM
สาธุ