เรื่องเวลากับทฤษฏีสัมพัทธภาพ
#1
โพสต์เมื่อ 15 May 2008 - 11:25 AM
ทฤษฏีสัมพัทภาพยังเป็นต้นกำเนิดของสิ่งประดิษฐของมนุษย์หลายสิบหลายร้อยผลงาน ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพมือถือ จอโทรทัศน์ ไมโครเวฟ คอมพิวเตอร์ หรือแม้กระทั่งยานอวกาศ ฯลฯ ถ้าจะกล่าวถึงรายละเอียดเหล่านั้นใช้เวลา 1เดือนก็คงสาธยายไม่จบ เพราะฉะนั้นในที่นี้จึงขอกล่าวถึงเฉพาะแต่เรื่องของเวลา ซึ่งถือเป็นใจความเนื้อหาหลักๆของทฤษฏีสัมพันทธภาพดังที่เราท่านพูดคุยกันมาแล้ว จากกระทู้ http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=15928
ผมได้อ่านศึกษาเรื่องเวลาตามทฤษฏีสัมพันทธภาพหลายรอบแต่ก็ไม่รู้จะเรียบเรียงเริ่มต้นอธิบายให้คนเข้าใจได้อย่างไร เพราะเรื่องนี้มันเกี่ยวกับความละเอียดอ่อนทางความคิดมากทีเดียว ถ้าผมอธิบายผิดถูกหรือมั่ว ประการใดต้องรีบขออภัยตรงบรรทัดนี้ก่อนเลยนะครับ
ดังที่เราพูดคุยกันมาแล้วในเรื่องเวลา1กัป 1มหากัป หรือ1อสงไขย และจำนวนเวลาต่างๆนั้น ดังที่พี่ Dd2683 กล่าวไว้ว่า 1กัปแต่ละกัปนั้นไม่เท่ากัน ในส่วนตัวผมคิดว่า ถูกต้องครับ ไม่ใช่เพียงเพราะสาเหตุแค่ 3 ประการดังที่พี่ Dd2683 กล่าวไว้เท่านั้น
ในทฤษฏีสัมพันทธภาพของไอน์สไตน์อธิบายว่า เวลานั้น “ ยืดหดได้ ” ซึ่งทฤษฏีนี้คัดค้านอย่างแรงกับหลักการ เวลาสัมบูรณ์ของนักวิทยาศาสตร์สมัยนั้น ที่ว่าเวลาจะต้องเดินไปข้างหน้า และเดินเท่ากันเสมอ ทฤษฏีของไอน์สไตน์ทำให้โลกตะลึกอยู่พักใหญ่ เกิดข้อกังขาวิพากวิจารอยู่หลายปี จนกระทั่ง ในที่สุด เมื่อมีการส่งดาวเทียมออกไปนอกโลก นักวิทยาศาสตร์ ก็เริ่มพิศวงกับเวลา เพราะ เวลาของนาฬิกาบนดาวเทียม เดินไม่เท่ากับนาฬิกาบนโลก และมีผลเสียอย่างมากต่อการคำนวณที่ละเอียดอ่อน ดาวเทียมบางดวงที่ไม่เชื่อหลักทฤษฏีสัมพัทธภาพ ถึงกับใช้การไม่ได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องมาเริ่มต้นกันใหม่หมด
หรือ ทฤษฏีที่ว่า ถ้าหากมีนักบินขับจรวดออกไปไกลแสนไกลในจักรวาลเป็นระยะทางหลายล้านๆปีแสง และเขาใช้เวลาในการเดินทางบนยานเพียง2ปี แต่เมื่อเขากลับมาก็ปรากฏว่า เวลาบนโลกผ่านไปหลายร้อยหลายพันปี ผู้คนที่เขารู้จัก ล้มหายตายจากกันไปหมด จากหลักการนี้ไอสไตน์ให้ข้อสรุป ”ว่าความเร็วมีผลกับเวลา” ยิ่งยานเดินทางเร็วมาก เวลาก็จะเดินช้าลง คนบนยานก็จะแก่ช้าลง และเคยมีคนคิดกันเล่นๆว่า สมมุติว่ามีนักบินคนหนึ่งขับเครื่องบินคองคอร์ท ที่มีความเร็วเหนือเสียง เขาขับไปขับมาทั่วโลกอยู่ทุกวันทุกคืน เพื่อส่งผู้โดยสาร ปรากฏว่าเวลาผ่านไปหลายปี เพื่อนๆรุ่นเดียวกับเขา ล้วนแก่ลง แต่ตัวเขาเองกลับหนุ่มฟ้อหล่อเฟี้ยวเหมือนไม่แก่เลย นั่นเป็นเพราะเขาใช้ชีวิตอยู่กับความเร็วสูง ซึ่งมีผลสัมพัธผกผันกับแสงและเวลาตามทฤษฏีสัมพันทภาพ ไอสไตน์ ยังคิดค้นทฤษฏีและข้อพิสูจน์อีกหลายอย่างมายืนยันถึงทฤษฏีสัมพันภาพนี้ ถ้าจะนำมาเล่าในที่นี้ก็คงพิมกันอีกยาวไม่รู้จบ
แต่นั่นเป็นข้อสังเกตในเบื้องต้นว่า เวลา ไม่มีความคงที่แน่นอน เป็นมิติที่ซับซ้อนเกินความคิดมนุษย์ ในยุคที่ไอสไตน์คิดค้นทฤษฏีนี้ ตอนนั้นเขาถูกหาว่าบ้า เพี้ยน แต่ต่อมาภายหลัง นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกก็ยอมรับกัน และนำเอาทฤษฏีนั้นมาใช้มาปฏิบัติซึ่งเป้นประโยชน์อย่างมากต่อวงการวิทยาศาสตร์
คำว่าเวลานั้น มันเป็นสิ่งที่มนุษย์สมุติกันขึ้นมาเองทั้งสิ้น ผ่านการเขียนการพูด ว่ากันเป็นจำนวนหน่วยเท่านั้นเท่านี้ หนึ่งวันเท่ากับโลกหมุนรอบตัวเอง1รอบ 2วันเท่ากับ2รอบ 365รอบก็เท่ากับ1ปี หรือโลกโคจรรอบดวงอาทิต1รอบเรียกว่า1ปี นี่เป็นสิ่งที่มนุษย์เอาจำนวนหน่วยไปใส่ลงในเวลาที่มันมีอยู่แล้ว ถ้าเรามองไปอีกขั้น อย่างหนึ่งวันของเรา ก็เท่ากับ24ชั่วโมง แต่คราวนี้ ถ้าสมุติเราพลาดไปเกิดบนดาวอังคาร เวลาก็จะเปลี่ยนไปทันที เพราะเวลา1ปีบนดาวอังคาร จะเท่ากับประมาณ2ปีบนโลก แต่ที่พิสดารกว่านั้น เวลา1วัน(หมุนรอบตัวเอง)ใช้เวลาเท่ากับบนโลกเพียงครึ่งชั่วโมง ทำให้เราต้องนับวันนับปีกันใหม่หมด
ทีนี้เราจะทำยังไงกันดี ..ในเมื่อตอนนี้ เวลานี้ เราบัญญัติหน่วยของสิ่งที่เราเรียกมันว่าเวลามาแบบนี้ แต่ต่อไปภายหน้าไม่ว่าจะกี่ปีกี่ล้านปี หรือกี่อสงไขย เราจะทราบได้อย่างไรว่าพอกัปพินาศไฟบรรลัยกัลป์ ล้างโลกสูญสิ้น พอเริ่มกัปใหม่โลกใหม่ จำนวนการนับวันนับชั่วโมง นับปี จะเหมือนเดิมอย่างปัจจุบันเป๊ะๆ
เวลาเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงของมันอยู่แล้วในจักรวาล เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนซับซ้อนเกินความเข้าใจของมนุษย์ แต่มนุษย์ก็เอาตัวเลขไปใส่ให้กับเวลา ไปกำหนดอย่างนั้นอย่างนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบดีถึงความไม่แน่นอนของเวลา ทรงค้นพบสิ่งที่เรียกว่าเวลามาก่อนไอสไตน์ถึง2000กว่าปี ทรงหยั่งรู้ทุกสภาพของคำว่าเวลา แม้ในภพภูมิต่างๆ สวรรค์ชั้นต่างๆ พรหม อรูปพรหม ก็ทรงเห็นทราบทุกอย่างแม้เวลาในแต่ละภพแต่ละภูมิที่ไม่เท่ากัน และภพภูมิที่เรียกว่านิพพานที่ไม่มีคำว่าเวลา พระองค์ก็ทรงไปรู้ไปเห็นมาแล้ว พระองค์ก็ทรงนำมาแสดงให้มนุษย์โลกทราบโดยสังเขปพอเหมาะแก่ความเข้าใจตามสติปัญญาของมนุษย์เท่านั้นเอง
ที่กล่าวมายืดยาวทั้งหมด ก็เพื่อจะแสดงให้เห็นว่า คำว่าเวลา จำนวนนับ คำเปรียบเทียบเกี่ยวกับเวลาต่างๆทั้งหลาย ล้วนเป็นสิ่งที่เราสมมุติกันขึ้น เราไม่มีทางเข้าใจด้วยปัญญาดิบๆเลยว่า เวลาอันยาวนานทั้งหลายนั้น มันมีสภาพอย่างไร มันเปลี่ยนแปลง ยืดหดอย่างไร เรามาถกเถียงตั้งข้อสงสัยในเรื่องจำนวนนับเป็นล้านๆๆๆๆๆๆๆปี ที่เราไม่อาจจะอยู่รอไปถึงวันนั้นได้ แต่เราก็ยังมาสงสัยถึงสิ่งนั้นอยู่ จริงอยู่ว่าเราสามารถนับเอามาเป็นจำนวนเปรียบเทียบเชิงพินิจพิเคราะแบบคร่าวๆได้ แต่ถ้าเราจะถามหาความแน่นอนเที่ยงตรง นั่นเป็นไปไม่ได้สำหรับดวงปัญญาอย่างพวกเรา เพราะฉะนั้นก็หมดปัญหาที่จะมาสงสัยว่า 1กัป 1มหากัป 1อสงไขย ว่ามันมีความยาวเท่าไหร่แน่
ตอนนี้เวลานี้ เราได้พบกับพุทธศาสนาแล้ว ได้พบกับวิชชาธรรมกาย ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนให้เราพัฒนาปัญญาของเราให้เฉียบคมสามารถศึกษาสิ่งต่างๆใด้ทั้งจักรวาล ท่านสอนไว้ไห้แล้วครับ แล้วเราล่ะ จะเรียนในสิ่งที่ท่านสอนหรือไม่ หรือจะมามัวนั่งสงสัยแต่ไม่ยอมเรียน อยู่กระนั้นหรือครับ
ผิดถูกประการใดต้องขออภัยด้วยนะครับ ต้องขอโทษพี่DD2683ด้วยที่มาเล่าช้าไปหน่อย ผิดถูกประการใดโปรดเข้ามาชี้แนะผมด้วยนะครับ
#2
โพสต์เมื่อ 15 May 2008 - 12:35 PM
กระทู้ของน้องทำให้ได้คิดขึ้นมาอีกเยอะทีเดียวว่า เวลาของมนุษย์แต่ละยุค ตั้งแต่ยุคต้นกัป มาจนถึงปัจจุบัน แท้จริงแล้วมันเดินเท่ากันหรือไม่ แล้วถ้ายิ่งย้อนไปพูดถึงกัปก่อนๆ หน้านี้ล่ะ เวลาเดิน 1 วันมี 24 ชั่วโมงเท่ากันหรือไม่
ถ้าหากไม่เท่ากัน แล้วที่อายุมนุษย์จากเดิมว่ากันเป็น อสงไขยปั ลดลงมาเหลือ ร้อยปีนี่ มันมาจากพื้นฐานเวลาที่เท่ากันหรือเปล่า หากไม่เท่า อย่างนี้จะมิกลายเป็น อายุมนุษย์ในอดีตแสนปี อาจจะมีเวลารวมใกล้เคียงกันกับอายุมนุษย์ยุคปัจจุบัน 100 ปีก็เป็นได้
ยิ่งคิดก็ยิ่งรู้สึกเหมือนที่หลวงพ่อทัตตะท่านเคยบอกไว้น่ะครับว่า ยิ่งศึกษาไปมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งพบว่า เรายิ่งกลายเป็นคนที่ไม่รู้มากยิ่งขึ้นเพียงนั้น
แต่เอ หยุดไว้แค่นี้ดีกว่า คุยกันยาวไป เดี๋ยวบางท่านนึกมันส์ขึ้นมา เอาไปตั้งกระทู้เวลาของโลกแต่ละยุคยาวเท่ากันหรือไม่ ประเดี๋ยวจะไม่จบ ดังนั้นผมขอจบแค่นี้ดีกว่า ไปล่ะครับ อิอิอิ
#3
โพสต์เมื่อ 15 May 2008 - 04:44 PM
ก่อนหน้านี้ที่นึกสนุก ก็เพียงอุปมาระเวลาอสงไขยปีและระยะเวลาของกัปป์เทียบระยะเวลาปัจจุบัน จะได้นึกตามได้ว่า น่าจะยาวนานถึงไหน...
อันตรกัปป์นี้ กับอัตรกัปป์หน้าที่พระพุทธเจ้าจะบังเกิดขึ้น เมื่อมนุษย์อายุ 8000 ปี ยาวนานจนนึกประมาณยังลำบาก... ถ้าระหว่างนั้น เสวยสุขก็แล้วไป ถ้าไม่ใช่จะเป็นยังไง... คิดแล้วสยอง
ขออนุโมทนาบุญครับ
#4
โพสต์เมื่อ 15 May 2008 - 07:05 PM
ในเรื่องทฤษฎีสัมพัทธภาพ ผมเข้าใจตามได้นิดหน่อยเท่านั้นเองครับ
แต่คำอธิบาย ขยายความและตัวอย่าง เรื่อง เวลา ของคุณ สิริปโภ ก็ทำให้เข้าใจเรื่อง เวลา มากขึ้น ขอบคุณครับ
ทบทวนอีกครั้งนะครับว่า กระทู้ก่อนที่ผมตั้งขึ้น นั้น ไม่ได้ชวนมาคำนวณ จำนวนปีของอายุมหากัป
แต่ชวนสนทนาเรื่อง แต่ละมหากัป นั้นสั้น ยาวเท่ากันหรือไม่ โดยสันนิษฐานไว้ ๓ ข้อ
และคุณ สิริปโภ ก็เสนอเพิ่มว่า แต่ละมหากัป นั้นสั้น ยาว ไม่เท่ากันได้
เพราะเวลา ยืด-หด ได้
ดังตัวอย่างและคำอธิบายข้างต้น
งั้นขอนำเนื้อหาความรู้ของคุณ สิริปโภ ในกระทู้นี้ ไปเสริมความรู้ ในกระทู้นั้น ด้วยนะครับ
ส่วนคำชี้แนะให้คุณ สิริปโภ เกี่ยวกับความเข้าใจเรื่อง เวลา นั้นไม่มีหรอกครับ
เพราะผมมีความรู้ ความเข้าใจไม่มากพอ ที่จะร่วมสนทนาเรื่อง มิติเวลา เชิงวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ น่ะครับ
แต่ขอถามพี่หัดฝัน ตรง ๆ ใน คคห.ที่2 ที่กล่าวว่า
บางท่าน ที่กล่าวนั้น หมายถึง ผม หรือเปล่า ครับ
เพราะผมตั้งกระทู้ เชิญสนทนา เรื่อง ความสั้น ยาว ของมหากัป ไว้
ถ้า ใช่
ก็เอ่ยชื่อ ออกมาตรง ๆ ก็ได้นะครับ
และถ้ากระทู้นั้น มีเนื้อหาหรือความไม่เหมาะสมอย่างไร
ก็เชิญพี่หัดฝัน ชี้แนะ ทักท้วง ตักเตือนผมได้โดยตรง ที่กระทู้นั้น ๆ ได้เลยครับ
เพราะการมีคนที่เป็นบัณฑิต ทรงภูมิรู้ ภูมิธรรม มีเกียรติคุณ ในการทำความดีไว้มากมาย แบบพี่หัดฝัน
กรุณา ชี้ขุมทรัพย์ให้ ผมถือว่า เป็นเรื่องที่ดี และยินดีรับฟังการชี้แนะครับ
เราเคารพพระรัตนตรัยเหมือนกัน และมีครูบาอาจารย์เดียวกัน
มีเรื่องชี้แนะอันใด คุยกันตรง ๆ ดีกว่าครับ
อนุโมทนาพี่หัดฝันล่วงหน้า นะครับ สาธุ
#5
โพสต์เมื่อ 15 May 2008 - 08:52 PM
#6
โพสต์เมื่อ 16 May 2008 - 01:39 PM
#7
โพสต์เมื่อ 17 May 2008 - 12:09 AM
ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)
ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป
#8
โพสต์เมื่อ 18 May 2008 - 09:06 AM
ก่อนอื่นต้องขอกล่าว สวัสดีกับทุกท่านที่เข้ามาถกหรือเข้ามาอ่านทุกท่านครับ
ผมเห็นด้วยเรื่อง เวลาแต่ละกัปอาจสั้นยาวไม่เท่ากัน ตามสมมติฐานของพี่Dd2683ครับ
แต่ไม่เห็นด้วยที่เวลาแต่ละกัปไม่เท่ากันเนื่องจากการยืดหดของเวลา
ถ้าพูดถึงการยืดหดของเวลาตามทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ จะต้องไม่ลืมเรื่องกรอบอ้างอิงเฉื่อยเสมอ
เพราะชื่อทฤษฎีก็บอกแล้วว่า มันเป็นการสัมพัทธ์ ดังนั้น จะต้องมีจุดอ้างอิงเสมอ ว่าเทียบกับสิ่งใด
ตัวอย่างเช่น รถยนต์มีความเร็วคงที่ 50 km/h เมื่อเทียบกับผู้สังเกตที่อยู่นิ่ง
แต่ถ้าหากผู้สังเกตมีการเคลื่อนที่ ไม่ได้อยู่นิ่งเหมือนตอนแรก
จะพบว่าความเร็วของรถยนต์ ไม่ได้เป็น 50 km/h เหมือนตอนแรกแล้ว
อาจจะเร็วขึ้น หรือช้าลง ขึ้นอยู่กันว่า ผู้สังเกตเคลื่อนที่เข้าหารถยนต์ หรือเคลื่อนที่ออกจากรถยนต์
ซึ่งจุดอ้างอิง ยังคงเป็นผู้สังเกต แต่ผู้สังเกตมีการเคลื่อนที่
ทำให้ผู้สังเกต เห็นความเร็วรถยนต์เปลี่ยนแปลงไป
หากผู้สังเกต กลับมาหยุดนิ่งอีกครั้ง ก็จะเห็นว่ารถยนต์มีความเร็ว 50 km/h เช่นเดิม
และหากผู้สังเกต นั่งอยู่ในรถจะพบว่า ความเร็วของรถยนต์มีค่าเป็นศูนย์ เมื่อเทียบกับผู้สังเกต
หรือพูดง่ายๆว่า รถยนต์หยุดนิ่ง ไม่ได้มีการเลื่อนที่ เมื่อเทียบกับ ผู้สังเกต
พูดถึงตรงนี้ หลายๆท่านอาจ "งง" ทำไมความเร็วรถยนต์เป็นศูนย์ ลองนึกตามดูนะครับ
หากท่านนั่งอยู่ในรถยนต์คันหนึ่งที่ปิดทึบมองไม่เห็นวิวทิวทัศน์ข้างนอกรถยนต์เลย
และรถยนต์คันนี้ วิ่งด้วยความเร็วคงที่ และวิ่งบนถนนราบเรียบมากๆ จนไม่รู้สึกถึงแรงสั่นใดๆเลย
ท่านจะบอกได้ไหมว่า รถยนต์ที่นั่งอยู่ หยุดนิ่งหรือเคลื่อนที่
คำตอบคือ บอกไม่ได้เลยครับ เพราะเราไม่มีจุดอ้างอิงอื่นใดเลย
หากเทียบกับตัวเรา ที่นั่งอยู่ในรถ จะเห็นว่ารถไม่ได้เคลื่อนที่ไปไหนเลย
เพราะตัวเรา ไม่ได้รู้สึกว่าเรากำลังเคลื่อนที่ ที่เรานั่งรถกันอยู่ทุกวัน และรู้ว่ามันเคลื่อนที่
เพราะเราเทียบกับพื้นดินหรือวิวทิวทัศน์ข้างนอก ใช่ไหมครับ เราถึงรู้ว่ามันเคลื่อนที่อยู่
ในทางกลับกัน ถ้าเราเทียบกับรถที่เรานั่งล่ะ
เราจะพบว่า รถเราอยู่นิ่ง แต่พื้นดินและวิวทิวทัศน์ต่างหากที่เคลื่อนที่ไป
ลองค่อยๆนึกตามดูนะครับ ว่าเป็นเช่นนั้นหรือไม่
นี่แหละครับ ความหมายของคำว่า "สัมพัทธ์"
ซึ่งความเร็วของรถยนต์ที่เปลี่ยนไปมานี้ เป็นผลอันเนื่องมาจาก
เราวัดความเร็วแบบสัมพัทธ์เทียบกับผู้สังเกต นั่นเอง
ดังนั้น การยืดหดของเวลา จะสังเกตเห็นได้ ผู้สังเกตจะต้องไม่อยู่ในกรอบอ้างอิงเฉื่อยนั้นๆ
เช่น เราเห็นว่า เวลาในยานอวกาศที่มีความเร็วสูงมากๆ เคลื่อนที่ช้าลง
เห็น 1 นาทีของนาฬิกาในยานอวกาศ เท่ากับ นาทีกว่าๆ ของนาฬิกาบนพื้นโลก
ก็เพราะเราอยู่นิ่งบนโลก และสังเกตเวลาบนยานอวกาศที่เคลื่อนที่อยู่ เทียบกับเวลาของตัวเรา
แต่ถ้าหาก เราอยู่ในยานอวกาศ เราจะเห็นว่า เวลาในยานอวกาศก็เคลื่อนที่ปกติ ไม่ได้ช้าแต่อย่างใด
ซึ่งในกรณีนี้ กรอบอ้างอิงเฉื่อยก็คือ ยานอวกาศ
จากข้างต้นที่กล่าวมา เป็นไปตามกฎพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษข้อหนึ่ง คือ
กฎทางฟิสิกส์ในทุกกรอบอ้างอิงเฉื่อย จะต้องเหมือนกันทุกประการ
นี่เป็นเหตุผลที่ว่า เมื่อเราอยู่ในกรอบอ้างอิง เราจะไม่เห็นการยืดหดของเวลา
เพราะเวลาในทางฟิสิกส์ มีความสม่ำเสมอ คือ แต่ละวินาที มีระยะเวลาเท่ากัน
หากเรานับเวลาบนพื้นโลกเมื่อเราอยู่บนพื้นโลกได้ 1 วินาที
เราก็จะนับเวลาในยานอวกาศเมื่อเราอยู่ในยานอวกาศได้ 1 วินาทีเท่ากัน
สรุปว่า เราจะเห็นการยืดหดของเวลาได้ เราจะต้องไม่อยู่ในยานอวกาศ
จะต้องอยู่บนพื้นโลก แล้วเทียบเวลาบนยานอวกาศที่เคลื่อนที่
กับเวลาของเราบนพื้นโลก จึงจะเห็นการยืดหดของเวลา
กลับมาเข้าเรื่องครับ ว่าทำไมผมไม่เห็นด้วย เรื่องการยืดหดของเวลา มีผลให้ความสั้นยาว ของแต่ละกัปไม่เท่ากัน
จากที่ได้กล่าวมาแล้ว เราจะเห็นการยืดหดของเวลาได้ เราต้องไม่อยู่ในกรอบอ้างอิงเฉื่อยนั้นๆ
แต่นี่เราอยู่ในกัป ซึ่งกัป ก็คือกรอบอ้างอิงเฉื่อยอันหนึ่ง เราจะไม่เห็นการยืดหดของเวลาของกัปเราเองได้เลยครับ
แต่เราจะเห็นเวลาของกัปอื่นยืดหด เมื่อเทียบกับเวลาในกัปของเรา
ดังนั้น หากเราอยู่ในกัปนั้นๆ เราจะไม่เห็นการยืดหดของเวลาครับ
เวลาในแต่ละกัปที่ไม่เท่ากัน(แต่ละกัปนี่หมายถึงเราต้องไปเกิดอยู่ด้วยนะครับ ไม่ใช่ไปดูกัปอื่นเทียบกับกัปที่เราอยู่)
จึงไม่ได้เป็นผลมาจากการยืดหดของเวลาครับ
แต่ระยะเวลาของกัปที่ไม่เท่ากัน ก็มีความเป็นไปได้ตามที่พี่Dd2683 ได้ตั้งสมมติฐานไว้
ส่วนเรื่องการยืดหดของเวลานี่ ผมเห็นว่า มีผลต่อเวลาของภพภูมิต่างๆ ที่ไม่เท่ากันมากกว่า
ซึ่งเข้ากันได้กับทั้งทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษและทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปเลยทีเดียว
หากมีเวลาว่างๆ จะลองมาเล่าให้ฟังครับ
อนุโมทนาบุญกับทุกท่านครับ...สาธุ
ปล. เพิ่มเติมนิดนึง ทฤษฎีของไอสไตน์ เรียกว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพ(The theory of relativity)
อ่านว่า สำ-พัด-ทะ-พาบ นะครับ
ไม่ใช่ ทฤษฎีสัมพันธภาพ(The theory of relationship) อ่านว่า สำ-พัน-ทะ-พาบ
เห็นเรียกผิดกันเยอะ ทฤษฎีสัมพันธภาพ น่าจะเกี่ยวกับการทูตมากกว่านะ หุๆ อันนี้มุกนะครับ ถึงจะไม่ค่อยขำก็เหอะ
Someday I'm gonna be free.
#9
โพสต์เมื่อ 19 May 2008 - 07:31 PM
ไม่ได้มีเจตนาหมายถึงคุณ Dd2683 เลยครับ อารมณ์ตอนนั้น กำลังนึกสนุกเลยพิมพ์ไปอย่างนั้น ถ้าทำให้ไม่สบายใจ ก็ขออภัยด้วยนะครับ ไม่ได้มีเจตนาอย่างนั้นครับ อยากให้กระทู้นี้มีอารมณ์สนุกๆ แทรกอยู่ในวิชาการด้วยบ้างเท่านั้นเองครับ
#10
โพสต์เมื่อ 20 May 2008 - 12:11 AM
นึกถึงคำว่า อวิชชา เลยครับ
ความหมายในวาระนี้ คือ ความไม่รู้แจ้ง ความไม่เห็นแจ้ง ตรงตามความเป็นจริง ในตถตาของสิ่งนั้น ๆ ( เวลา )
ผมก็เลยยังเข้าใจตามได้นิดโหน่ย
งั้นขอนำความรู้ที่ คุณ เป็นหนึ่ง นำมาแบ่งปันในกระทู้นี้ ไปเสริมความรู้ในกระทู้นั้น นะครับ
ถึงแม้คามรู้ ความเข้าใจนี้ จะดูต่างจากของคุณ สิริปโภ
แต่ก็ทำให้ผมมีความรู้ ความเข้าใจ มีมุมมองในเรื่องฟิสิกส์ของเวลา กว้างขึ้น (ใช้คำนี้ ถูกไหมเนี่ย )
อนุโมทนา คุณ เป็นหนึ่ง ด้วยนะครับ สาธุ
ป.ล. ขอบคุณพี่หัดฝัน ที่เมตตาตอบครับ
ตอนนั้น ยังอยู่ในขั้น ผมไม่เข้าใจ ในสิ่งที่ พี่ัหัดฝัน ต้องการสื่อ(สาร) น่ะครับ
ไม่อยากคิดเองเออเอง เดี๋ยวจะกลายเป็นเข้าใจผิดเอง
จึงถามตรง ๆดีกว่า
ตอนนี้ ผมเข้าใจสิ่งที่พี่หัดฝัน ต้องการสื่อแล้ว ขอบคุณครับ
#11
โพสต์เมื่อ 20 May 2008 - 04:28 PM
ซึ่งในความเห็นส่วนตัวนั้น ผมเห็นด้วยกับคุณ Dd2683 ครับ ว่า แต่ละมหากัป ไม่น่าจะยาวเท่ากัน
เพียงแต่เรื่องนี้จะต่างออกไป คือ การเดินของเวลาในยุคอดีตกับปัจจุบัน รวมถึงมหากัปก่อนหน้า กับปัจจุบันนั้นยาวเท่ากันหรือไม่ โดยส่วนตัวแล้ว ผมเห็นว่า เวลาเดินเท่ากันน่ะครับ
แล้วจะไม่ผิดหลักทฤษฎีสัมพัทธภาพหรือ โดยส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่า ไม่ผิดหลักครับ เพราะทฤษฎีจะว่าไว้เกี่ยวกับเวลาของต่างสถานที่ เช่น โลก กับ ดาวดวงอื่น หรือ ต่างความเร็ว เช่น ยืนอยู่บนโลก กับ อยู่บนยานอวกาศ
แต่ถ้าอยู่ที่สถานที่เดียวกัน คือ โลก เหมือนกัน เวลาย่อมยาวเท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นอดีต หรือ ปัจจุบันก็ตาม ทีนี้มันก็จะย้อนไปอีกว่า แล้วถ้าเป็นมหากัปก่อนหน้าล่ะ โลกของมหากัปก่อนหน้า ตั้งอยู่ที่เดิมกับมหากัปนี้หรือเปล่า
ซึ่งถ้ามีการถกเป็นกระทู้ ผมคิดว่า คงจะยาวครับ เพราะผมค่อนข้างเห็นว่า เวลาน่าจะเดินเท่ากัน ก็เลยเสนอความเห็นไปในตอนแรกทำนองนั้น จึงหยุดไว้แค่นี้ดีกว่าน่ะครับ
#12
โพสต์เมื่อ 20 May 2008 - 08:49 PM
พี่หัดฝันเข้าใจถูกต้องแล้วละครับ ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ หากเราอยู่ในกรอบอ้างอิง เวลาของเราจะไม่มีการยืดหดครับ
จะเดินเป็นปกติ ไม่มีช้าลงเด็ดขาดครับ หากเราไปเกิดอยู่ในกัปนั้นๆ เราจะไม่รู้สึกถึงการยืดหดของเวลา ถึงแม้ว่า เวลาของกัปที่เราอยู่ เมื่อไปเทียบกับกัปอื่นแล้ว(เอากัปอื่นเป็นจุดอ้างอิง) จะเดินช้ากว่ากัปอื่นก็ตาม แต่เวลาของเราเมื่อเราอยู่ในกัปนั้นเอง จะไม่เห็นว่ามันช้าครับ คือ เวลาในทุกๆกัปจะเดินเท่ากัน มีระยะห่างของวินาทีเท่ากันครับ
ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจดีๆครับ ไม่งั้นจะเป็นเหมือนที่พี่หัดฝันบอก ถ้าเราไปเข้าใจเรื่องการยืดหดของเวลาไม่ถูกต้อง จะกลายเป็นว่า บางยุคที่มนุษย์มีอายุเป็นแสนปี อาจจะเท่ากับวินาทีเดียวในยุคนี้ก็ได้ เพราะการยืดหดของเวลา ซึ่งมันไม่ใช่ครับ เวลาในกรอบอ้างอิงเดียวกัน(กัปเดียวกัน) จะเดินเท่ากันเสมอ และถ้ากัปนี้ถูกทำลายลง เกิดเป็นกัปใหม่ขึ้นมา แล้วเราไปเกิดในกัปใหม่นั้นอีก เวลาก็ยังคงเดินสม่ำเสมอเท่าเดิมครับ ระยะห่างแต่ละวินาทียังคงเท่าเดิม ตราบใดที่เราไม่เอากัปของเราไปเทียบกับกัปอื่น ดังที่ผมได้กล่าวไปแล้วข้างต้น
มาถึงตรงนี้ ขอเพิ่มเติมอีกซักนิด ที่คุณสิริปโภนำเสนอมา ยังมีหลายส่วนที่ยังไม่ค่อยถูกต้องนัก เช่น
ตรงนี้ไม่ค่อยถูกต้องนัก ตรงที่ว่า มันจะไม่เห็นความแตกต่างขนานนั้นครับ ความต่างของเวลาที่ยืดออกไป จะเห็นชัดเมื่อมีความเร็วเข้าใกล้แสงมากๆเท่านั้นครับ ถ้าความเร็วแค่เครื่องบินคองคอร์ท ไม่เพียงพอที่จะเห็นความแตกต่างขนานนั้น เครื่องบินคองคอร์ท ผมไม่แน่ใจว่าบินด้วยความเร็วเหนือเสียงเท่าไหร่ แต่ผมเผื่อให้ 10 มัคเลย ก็จะมีความเร็วเพียงแค่ 3,300 m/s เท่านั้น แต่แสงมีความเร็วถึง 300,000,000 m/s ความแตกต่างของเวลาแทบจะไม่เห็นเลยครับ เพราะตามสูตรของทฤษฎีสัมพัทธภาพ คือ
t = t0 * (1 - (v2 / c2))1/2
เมื่อ v = ความเร็วของกรอบอ้างอิงเฉื่อย(ในที่นี้คือ เครื่องบิน)
c = ความเร็วแสงในสุญญากาศ (3 x 108 m/s)
เมื่อคำนวณออกมาแล้ว เวลา 1 วินาทีของนักบินที่ขับเครื่องบินจะช้าไปแค่ 0.99999999994 เท่านั้นครับ ซึ่งน้อยมาก
ถ้าคิดเป็นปี เวลาของคนขับเครื่องบิน ก็ต่างจากคนปกติ ไม่ถึง 1 วันเลยครับ(ค่าจริงไม่ถึง 0.1 วันด้วยซ้ำ)
ถ้านับตั้งแต่เกิดจนตาย ก็คงต่างกันไม่เกิน 1 เดือนเท่านั้น
เพราะฉะนั้น เรื่องขับเครื่องบินคองคอร์ทแล้วจะหนุ่มฟ้อหล่อเฟี้ยวนี่ ลืมไปได้เลยครับ
ส่วนอีกเรื่องก็คือ
ถ้านับวันเวลา โดนยึดพระอาทิตย์ขึ้น-ตก ก็เป็นเช่นนั้นจริงครับ แต่ทางฟิสิกส์ นับเวลาเป็นวินาทีครับ และแต่ละวินาทีห่างเท่ากัน และเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ในกรอบอ้างอิงเฉื่อยเดียวกัน ซึ่งจากระบบวัดสากล (International System of Units) นิยามไว้ว่า 1 วินาที เท่ากับการเปลี่ยนสถานะของอะตอมธาตุซีเซียม-133 เป็นจำนวน 9,192,631,770 คาบ โดยที่อะตอมของธาตุซีเซียมนั้นมีอุณหภูมิที่ศูนย์สัมบูรณ์ (0 K)
ดังนั้น หากเราไปเกิดอยู่บนดาวดวงอื่น ไม่ว่าจะเป็น ดาวอังคาร หรือดาวดวงไหน หนึ่งวันแบบดูดวงอาทิตย์ขึ้น-ตก จะไม่เท่ากันก็จริง แต่ถ้านับเวลาเป็นวินาทีแล้ว จะไม่มีผลเลยครับ คือ 1 วัน เท่ากับ 86400 วินาที(24 ชั่วโมง) ถ้าไปอยู่บนดาวอังคาร ดวงอาทิตย์จะขึ้นหรือตกซักกี่รอบ หากยังไม่ครบ 86400 วินาที ก็ไม่นับเป็นหนึ่งวันครับ
เห็นไหมครับ ถ้านับโดยเอาเกณฑ์วินาทีมาจับ 1 วันก็เท่ากันอยู่ดี อายุของมนุษย์ 75 ปี ถ้าไปอยู่บนดาวอังคารก็ยังคงเป็น 75 ปีครับ ไม่ใช่ว่าไปอยู่บนดาวอังคารแล้ว นับพระอาทิตย์ขึ้น-ตกเป็น 1 วัน ได้แค่ ครึ่งชั่วโมงของโลก แล้วอายุมนุษย์จะเหลือแค่ 1 ปีครึ่งเมื่อเทียบกับเวลาบนโลก
ขอแก้ไขข้อมูลอีก 1 เรื่องครับ เวลาบนดาวอังคาร 1 วัน เท่ากับ 24.622962 ชม. ครับ ไม่ใช่ ครึ่งชั่วโมงครับ
เหอๆ โพสต์ซะเยอะเลย วิชาการล้วนๆ อ่านเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้างก็อย่าว่ากันนะครับ
สำหรับกระทู้นี้ผมคงหยุดแค่นี้แหละครับ รู้สึกว่าตัวเองจะเพ้อเจ้อมากไปหน่อยแล้ว
อนุโมทนาบุญกับทุกท่านอีกครั้งครับ...สาธุ
Someday I'm gonna be free.
#13
โพสต์เมื่อ 21 May 2008 - 12:37 PM
#14
โพสต์เมื่อ 24 May 2008 - 09:47 AM
ขอบคุณพี่เป็นหนึ่งที่มาให้ความรู้ครับ
#15
โพสต์เมื่อ 24 May 2008 - 09:32 PM
ผมว่าประเด็นนี้ไม่ถูกครับ ยังไง 1 อสงไขยมหากัปป์ ก็ต้องยาวกว่า 1 มหากัปป์ แน่ๆ ครับ เพราะถูกจำกัดนิยามไว้ว่า 1 อสงไขยมหากัปป์ = 10^140 มหากัปป์ ครับ ส่วน ระยะเวลาแต่ละมหากัปป์ต่างหากที่ไม่เท่ากัน ดังนั้น ถึง 1 มหากัปป์ จะยาวมากน้อยต่างกันยังไง แต่เมื่อมี 10^140 มหากัปป์ ก็ต้องยาวกว่า 1 มหากัปป์ แน่ๆ ครับ
ดังนั้นประเด็นนี้สรุปได้แค่ 1 อสงไขยมหากัปป์ = 10^140 มหากัปป ครับ ส่วนเวลาที่ระบุลึกลงไปกว่านั้น ระบุไม่ได้ครับ
#16
โพสต์เมื่อ 28 May 2008 - 07:44 PM
แต่ช่างเหอะครับ เรื่องนี้พูดไปก็ยาวปล่าวๆ เถียงกันก็เหมือนตาบอดคลำช้าง
#17
โพสต์เมื่อ 24 November 2008 - 10:38 PM
ท่าทาง มันน่าจะเกี่ยวข้องกับที่คุณๆกำลังคุยกันอยู่หนะ สนใจมานานแล้วนะ แต่อยากฟังผู้ที่พอจะทราบเรื่องพวกนี้อธิบายให้ฟังเป็นวิทยาทานบ้างสิจ๊ะ