(ดั่งเช่นพระพุทธเจ้า)" ของอุบาสิกาถวิล (บุญทรง วัติรางกูล) มาให้ได้อ่านกันค่ะ พอดีตรงกับที่
น้ำใสอยากรู้ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้ว ก็เลยนำมาลงให้ ผู้ที่สนใจได้อ่านบ้าง ก็คงจะดี อ่านกันเลยนะคะ...
เมื่อพระพุทธบิดาปรินิพพานแล้ว ไม่นานนัก พระญาติสนิททรงพระนามว่า พระมหามานะ ได้รับการ
คัดเลือกให้เป็นพระราชาครองกรุงกบิลพัสดุ์ต่อไป พระน้านางปชาบดีโคตมี มีพระประสงค์จะบวช
ได้กราบทูลขอพระบรมศาสดาบวชบ้าง พระองค์ตรัสห้ามถึง 3 ครั้ง พระนางปชาบดีโคตมี ไม่ทรง
ท้อถอย วันหนึ่งพระนางพร้อมด้วยนางกำนัล 500 คน ที่เต็มใจบวชด้วย ต่างพากันปลงผม นุ่งห่มผ้า
ย้อมด้วยน้ำฝาดอย่างเพศนักบวช ไปเข้าเฝ้ากราบทูลขอบวชอีก พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธ
พระนางทรงขอให้พระอานนท์กราบทูลช่วยเหลือ พระบรมศาสดาทรงปฏิเสธถึง 3 ครั้งอีก
พระอานนท์กราบทูลถึงพระคุณของพระนางปชาบดีโคตมี ที่ทรงเลี้ยงดูมา ตั้งแต่พระพุทธมารดาทิวงคต
พระบรมศาสดาจึงทรงอนุญาต แต่มีเงื่อไขให้ปฏิบัติ เรียกว่า ครุธรรม 8 ถ้ากระทำตามได้จึงให้บวช
ครุธรรม 8 คือ หลักความประพฤติที่ภิกษุณีต้องปฏิบัติด้วยความเคารพ ศรัุทธาตลอดชีวิต ละเมิดไม่ได้
มีดังนี้
1. ภิกษุณีแม้บวชมานานถึง 100 ปี ก็ต้องกราบไหว้ภิกษุแม้เพิ่งบวชเพียงวันเดียว
2. ภิกษุณี จะอยู่ในวัดที่ไม่มีภิกษุไม่ได้
3. ภิกษุณี ต้องไปถามวันอุโบสถ และเข้าไปฟังโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน
4. ภิกษุณี อยู่จำพรรษาแล้ว ต้องปวรณาในสงฆ์ทั้งสองฝ่าย โดยสถานทัี้ง 3 คือ โดยได้เห็น โดยได้ยิน
โดยรังเกียจ (หมายถึงระแวงสงสัยหรือเห็นพฤติกรรมอะไร ที่น่าเคลือบแคลง)
5. ภิกษุณี ที่ต้องอาบัติหนัก ต้องประพฤติมานัต (เปลื้องตนจากความผิด) ในสงฆ์ทั้งสองฝ่าย 15 วัน
6. ภิกษุณี ต้องแสวงหาอุปสัมปทา (คือต้องบวช) ในสงฆ์ทั้งสองฝ่าย โดยต้องเป็น นางสิกขมานา ก่อน 2 ปี
คือถือศีล 6 ข้อ อย่างเคร่งครัด (ผิดข้อใดไม่ได้ ถ้าผิดต้องสมาทานนับเวลาใหม่)
7. ภิกษุณี ไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุ ไม่ว่าโดยปริยายใด ๆ
8. ภิกษุว่ากล่าว ภิกษุณีได้ แต่ภิกษุณีว่ากล่าวภิกษุ ไม่ได้
พระนางปชาบดีโคตมี ทรงมีพระศรัทธาแรงกล้า ทรงยอมรับปฏิบัติ ครุธรรมทั้ง 8 ประการ และได้
ทรงผนวชเป็นพระภิกษุณี องค์แรกในพระุพุทธศาสนา ต่อจากนั้นพระญาติวงศ์ฝ่ายสตรี เช่น พระนางยโสธรา
เจ้าหญิงชนบทกัลยาณี เจ้าหญิงโรหิณี เจ้าหญิงรูปนันทา ฯลฯ ได้พากันออกบวชตามกันมา และได้บรรลุ
คุณธรรมเบื้องสูง เป็นพระอรหันตเถรีด้วยกันทั้งสิ้น
การที่พระบรมศาสดาทรงไม่ยอมให้ สตรีบวชเป็นภิกษุณีนั้น มีสาเหตุหลายประการ เช่น เป็นเครื่องบั่นทอน
ให้มหาชนเสื่อมศรัทธาง่าย ทำให้อายุ พระศาสนา สั้นลง เช่น พื้นนิสัยของสตรีไม่หนักแน่น เจ้าแง่แสนงอน
ขี้อิจฉา มีเรื่องจุิกจิก ฯลฯ ทำให้หมู่คณะอยุ่ร่วมกันยาก และเหตุการณ์ ได้เป็นไปตามที่ทรงคาดคะเนไว้
ปรากฏว่าในการปกครองภิกษุณี พระบรมศาสดา ต้องทรงวางวินัยไว้ถึง 311 ข้อ ในขณะที่วินัยของพระภิกษุ
มีเพียง 227 ข้อ แสดงว่าภิกษุณี ทำผิดมากกว่าพระภิกษุสงฆ์
อย่างไรก็ดี ในครั้งกระนั้น ได้มีพระอรหันตเถรีหลายรูป ที่ได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นเลิศในด้านต่าง ๆ เช่น พระนางเขมา นางอุบลวรรณา ฯลฯ ไว้ น้ำใสจะเอาความเป็นเลิศของภิกษุณี แต่ละท่านมาลงให้อ่านกันอีกนะคะ วันนี้ขอเพียงเท่านี้ก่อน สวัสดีค่ะ