เท่าที่ได้อ่านได้ค้นคว้ามานาน เชื่อว่านักคิดนักปรัชญา และนักวิทยาศาสตร์
โดยเฉพาะนักฟิสิกส์ ระดับนำทุกคนกระมัง
ที่พูดเหมือนๆ กันว่า มนุษย์คือจักรวาล
ภายในคือจิตรู้ที่มีขึ้นมาเพื่อเรียนรู้จักรวาลภายนอก
หรือพูดว่ามนุษย์คือจักรวาล ที่มีขึ้นเพื่อเรียนรู้ตัวเอง
หรือพูดว่ามนุษย์มีขึ้นมา เพื่อให้จิตรู้มีที่ตั้งหรือเป็นฐาน เพื่อการเรียนรู้ความจริง
ปริศนาปรัชญาศาสนา และวิทยาศาสตร์จึงเกี่ยวกับ นิยามของความเป็น มนุษย์อย่างแยกจากกันไม่ได้
ปริศนาอาจเป็นคำถามที่มีเป้าหมายเบื้องต้นที่ความลี้ลับของ จักรวาล
ความเป็นมาและจุดมุ่งหมายของการเกิดขึ้นมาและการดำรงอยู่
รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างกันของธรรมชาติและชีวิต โดยเฉพาะมนุษย์
ส่วนปรัชญาอาจเป็นคำตอบหรือความพยายามที่จะแสวงหาความจริงที่อยู่ เบื้องหลังคำถามธรรมชาติเหล่านั้น
ด้วยปัญญา เพื่อยังหาความรู้ความเข้า ใจร่วมกันของมนุษย์เราต่อความจริงแท้
ดังนั้นมนุษย์จึงต้องตั้งคำถาม ต้องตั้งปริศนาขึ้นมาเพื่อหาคำ ตอบของความจริงให้ได้
ตรงนี้หากเราคิดให้ลงไปถึงที่สุด เราก็จะได้คำตอบ ต่อคำถามข้อที่หนึ่ง นั่นคือคำตอบต่อคำถามที่ถามว่า
- มนุษย์เกิดมาทำไม?
- หรือทำไมต้องมีมนุษย์?
เพราะหากเพียงต้องการกิน ต้องการสืบพันธุ์ ต้องการต่อสู้หรือหนีภัยเอาตัวรอด
ก็ไม่เห็นจำเป็นอะไรที่ต้องมีมนุษย์ขึ้นมา เป็นแค่สัตว์ธรรมดาๆ ทั่วไปก็พอแล้ว
ธรรมชาติหรือจักรวาลไม่จำเป็นต้องมี วิวัฒนาการของสติปัญญาให้มันยุ่งยาก
ไม่จำเป็นต้องสร้างระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคมและการเมืองพร้อมกับองค์กรวิชาการบริวารขึ้นมารองรับ
เพราะที่สร้างขึ้นมาทั้งหมด ไม่ว่าจะวิลิศมาหราแค่ไหน ตีไข่ใส่สีให้ดูดีงาม ประการใด
ก็คือกิน คือสืบพันธุ์ หรือว่าคือการต่อสู้หนีภัย อันเป็นสัญชาตญาณ ของสัตว์ธรรมดาๆ อยู่วันยังค่ำ
ดังนั้นคำตอบเพื่อตอบว่าทำไมต้องมีมนุษย์ที่ ต้องมีคำถามปริศนา หรือพยายามหาความจริงให้ได้
ก็เพราะว่ามนุษย์ไม่ใช่ สัตว์ธรรมดาๆ
หากว่ามนุษย์จำเป็นต้องอาศัยทางผ่าน ต้องอาศัย วิวัฒนาการของสสารวัตถุรูปกายแห่งชีวิตมาตามลำดับบ้าง
นั่นก็เพื่อให้โอกาส ต่อการเรียนรู้ความจริงแท้ของธรรมชาติหรือจักรวาลนั่นเอง การเรียนรู้จากคำตอบที่ได้ด้วยปัญญาต่อปริศนาคำถามทำให้ต้องมีมนุษย์ขึ้นมา
ในด้านปฏิบัติ
ปริศนามักจะซ่อนเงื่อนงำของประสบการณ์ ธรรมชาติที่คนทั่วไปมักจะนึกไม่ถึงหรือนึกไม่ทันเอาไว้
แต่หากว่าปริศนาใด ซ่อนเงื่อนของประสบการณ์ทางจิตที่ประณีตและล้ำลึก
ย่อมต้องอาศัยความ ล้ำลึกและประณีตเช่นเดียวกันของปัญญาหรือปรัชญา มาใช้ในการตีความหรือ พิจารณานั้น
ดังเช่นปริศนาธรรมในศาสนา ล้วนเป็นปรัชญาแทบทั้งนั้น
ซึ่งแน่นอนการตีความย่อมมีระดับความล้ำลึกประณีตต่างกันไปตามระดับของ ปัญญาของผู้พิจารณานั้นๆ ดังนั้นการคาดหวังที่จะเห็นข้อสรุปของการ พิจารณาให้เป็นเช่นเดียวกันจากทุกคนจึงเป็นไปไม่ได้
เพราะปัญญาของคน เราล้วนเป็นจิตมยปัญญาหรือสูตมยปัญญาทั้งสิ้น
ซึ่งประเด็นแรกเป็นปัญญาที่ ได้มาจากประสบการณ์บนสัญชาตญาณ
ส่วนประเด็นหลังเป็นการได้มาจาก วัฒนธรรมความเชื่อและจากความรู้หรือวิทยาศาสตร์ที่สะสมเป็นความทรงจำ ไล่ขึ้นมาตามช่วงเวลาและความก้าวหน้าของความรู้ความเชื่อนั้นๆ
ดังนั้นจึงเป็นไม่ได้ที่ความเห็นของคนเราอาศัยการรับรู้มาจากสองประเด็นสอง
ปัญญาดังกล่าวเป็นไปในทำนองเดียวกันทุกประการ
ยกเว้นสำหรับน้อยคนยิ่งนักที่สามารถมีปัญญาระดับพิเศษที่เรียกว่า
ภาวนามยปัญญา นั่นคือปัญญาที่ ได้มาจากการปฏิบัติจิตปฏิบัติสมาธิ
อย่างไรก็ตาม น่าจะต้องเชื่อได้ว่ามันมี ปัญญาอีกระดับหนึ่งที่อยู่ก่อนหน้าระดับพิเศษนั้น
นั่นคือปัญญาของนักปรัชญา หรือกวีเอกยอดศิลปิน รวมทั้งนักฟิสิกส์วิทยาศาสตร์ผู้คร่ำเคร่งอยู่กับ จินตนาการ
ดังที่ไอน์สไตน์ และต่อมาวูลฟ์กัง พอลี ที่พูดเอาไว้มีใจความ คล้ายๆ กันว่า
สิ่งสำคัญที่สุดที่ผลักดันในนักวิทยาศาสตร์เป็นนักวิทยาศาสตร์ ที่แท้จริงมีเพียงประการเดียว นั่นคือจินตนาการ
ดังนั้นเองจึงมีแต่นักปรัชญา หรือกวีชั้นยอดด้วยกันที่เข้าใจความตายของนิรันดร
หรือนักฟิสิกส์ระดับเดียวกันที่เข้าใจความว่างของความเต็ม หรือความเต็มของความว่าง และผู้ปฏิบัติจิตด้วยกันที่เราสามารถได้ยินเสียงจากการตบมือข้างเดียว
การพิจารณาเพื่อตีความหมายของประสบการณ์ โดยเฉพาะหลักหรือทฤษฎีปรัชญาในอดีต
โดยคนทั่วไปที่เป็นคนธรรมดาในยุคสมัยต่อๆมา
จึงเห็นแตกต่างกันไปตามพื้นฐานของข้อมูลของความรู้ของตนแต่ละคน นั้นๆ
การตีความหมายจึงมีแต่การโต้แย้งกันในทุกประเด็น ทั้งนี้ก็เพราะ
วัฒนธรรมความเชื่อและความหลากหลายกับความก้าวหน้าทางวิชาการที่มีการ เปลี่ยนแปลงไปตามวันและเวลา
ทุกวันนี้ทางตะวันตกจึงได้มีการเอาปรัชญาในยุคของกรีกมารื้อฟื้น
และนำมาปรับแปรใหม่จากการเทียบเคียง (re-evaluation) กับความรู้ ใหม่ๆ ที่ก้าวหน้าไปมาก
โดยเฉพาะในด้านของฟิสิกส์ทฤษฎีและชีววิทยาใหม่ นั่นเป็นเช่นเดียวกับที่นักฟิสิกส์แควนตัมในอดีต
เมื่อไม่นานมานี้ ที่ได้พบความแนบขนานสอดคล้องกัน ระหว่างวิทยาศาสตร์ใหม่กับศาสนาที่อุบัติขึ้นมาจากทางตะวันออก
เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ เต๋า และศาสนาอื่นๆ เมื่อหลายทศวรรษก่อน
โดยเฉพาะจากหนังสือที่เขียนโดย ฟริตจ๊อฟ แคปร้า ในปี 1975 และโดย การี่ ซูกาฟ ในปี 1979
หลังจากนั้นความรู้ใหม่ที่เป็นความจริงใหม่นี้ ก็ได้กลายเป็นวิสัยทัศน์ที่เป็นพื้นฐาน
ของกระบวนทัศน์ใหม่ทางสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป
เปลี่ยนจากกระบวนทัศน์เก่าเดิมที่เน้นความจริงทางกายภาพบนหลักการแยกส่วน
สู่กระบวนทัศน์ องค์รวมหรือกระบวนทัศน์ทางจิตวิญญาณ
ซึ่งกำลังเกิดขึ้นในประเทศที่พัฒนา มากๆ แล้วอย่างรวดเร็ว
ด้วยมิติใหม่ทางวิชาการเช่นนั้นเอง ที่ทำให้นักคิด นักค้นคว้าในระยะหลังๆมานี้
พากันหวนกลับไปค้นคว้ารื้อฟื้นปรัชญาเก่าๆ และความรู้เดิมๆ ของอดีตที่ถูกหลงลืมทิ้งไป หรือไม่เข้าใจกลับมาศึกษาใหม่เป็นโครงการรายวิชาในสถาบันของมหาวิทยาลัยต่างๆ
เช่น Insitute of Integral Studies
และพบว่า มีหลายอย่างหลายประการเหลือเกินที่ความรู้ ข้อมูลเก่าเดิมเหล่านั้น
โดยเฉพาะปรัชญาของกรีกที่มีขึ้นระหว่างช่วงหกร้อยกว่าปี กับช่วงสามร้อยปีก่อนคริสตกาล ช่วงแห่งยุคสมัย
“ความจริงที่ยอม รับกันโดยไม่ต้องพิสูจน์” (perrenial philosophy) ได้ปรากฏขึ้น
ที่อาจ เรียกว่ายุคแห่งปรมัตสัจจะ (Axiom Period)
ซึ่งปรัชญาของกรีกเหล่านั้น ต่างก็มีส่วนที่พ้องจองตัวเองสู่อุดมคติ
จริงๆแล้วปรัชญาของอริสโตเติล มีส่วนอย่างสำคัญต่อความคิดทางตะวันตกว่าด้วยทิศทางและเป้าหมายของการสรรค์สร้าง หลักการของการดำรงอยู่ของจิตปัญญาหรือจิตวิญญาณสูงสุด ซึ่งก็คือที่มาของพระเจ้าในความเชื่อของชาวตะวันตกนั่นเอง
ในบทว่าด้วย เดอ อันติมะ (De Antima) นั้น อริสโตเติล ได้กล่าวเอาไว้ว่า
จิตวิญญาณ คือความจริงแท้พื้นฐานของธรรมชาติที่เปี่ยม ศักยภาพของความเป็นชีวิต
ในช่วงปลายของชีวิต อริสโตเติลเชื่อว่า
จิต วิญญาณคือตรรกะอันบริสุทธิ์ (pure reason) มีหนึ่งเดียว
ส่วนจิตวิญญาณ ที่อยู่ในทุกชีวิตหรือตัวตน (soul) เป็นส่วนหนึ่งของความจริงที่บริสุทธินั้น
เมื่อคนเราตายไป ส่วนสำคัญของจิตวิญญาณตัวตนที่ว่านั้น
จะกลับไปรวมกับความจริงที่ยิ่งใหญ่อันเป็นสากลหนึ่งเดียวนั้น
อริสโตเติลนั้นคือผู้ที่นักวิทยาศาสตร์กายภาพยอมรับว่าเป็น “บิดาแห่งความรู้วิทยาศาสตร์”
ทั้งนี้ก็เพราะว่าอริสโตเติล เป็นผู้ยึดมั่นต่อเหตุผล เชื่อมั่นต่อความเป็นระบบ
และนำความเป็นเหตุปัจจัยระหว่างกันและความเป็นระบบนั้นๆ
มาเป็นประเด็นหลักในการอธิบายข้อสังเกตและการทดลองของเขา
แต่ไม่ค่อยมีนักวิชาการหรือนักวิทยาศาสตร์ผู้ใดสนใจที่จะหยิบยกเอาหลักปรัชญาที่เป็นประสบการณ์ทางจิต หรือด้านของความรู้เร้นลับต่อความจริงอันสากล
รวมทั้งเนื้อหาที่ว่าด้วยจิตวิญญาณที่อธิบายธรรมชาติและอริสโตเติลมาประกอบการพิจารณาเลย
จนกระทั่งมาถึงทุกวันนี้เท่านั้น เมื่อความคิดของอริสโตเติล ดังกล่าวถูกนำมาพิจารณาใหม่และพบว่า
สอดคล้องกับกลไก ของกระบวนการชีววิวัฒนาการทางด้านฟิสิกส์เคมีอย่างน่าสนใจยิ่ง
นั้นคือข้อสรุปหลังการรื้อฟื้นขึ้นมาเพื่อพิจารณาใหม่ (re- evaluation) ของทฤษฎีหรือปรัชญาของอริสโตเติล
บนความก้าวหน้าใหม่ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์ สสารและจิตวิญญาณ (God in Nature)
ซึ่งก็คือจิต วิญญาณสูงสุดนั้นมีมาตั้งแต่เดิม ตั้งแต่เริ่มต้นของจักรวาล
สิ่งที่ผลักดัน วิวัฒนาการสู่ชีวิตเป็นเรื่องที่ต้องเป็นเช่นนั้นมาแต่ต้น (teleology)
ด้วยแม่พิมพ์ที่เรียกว่ารูปแห่งชีวิตที่ซ่อนตัวเองอยู่ภายใน
วิวัฒนาการทั้งหมดไม่ได้เกิดขึ้นจากกลไกภายนอก หรือความบังเอิญ ทุกสิ่งมีทิศทางมีเป้าหมายตั้งแต่ต้น.
นสพ.ไทยโพสต์