อ้างอิงจากย้อนรอยหมู่คณะตอนที่ 4 ระวังถูกสะกดจิต นะครับ
http://www.dmc.tv/fo...showtopic=23052
ก่อนจะเข้าเรื่องก็ต้องขอขอบคุณ เพื่อนๆ นักเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา ที่กรุณาแนะนำให้ทำเป็นหนังสือนะครับ ผมเองก็กำลังคิดอยู่ เพียงแต่ตอนนี้เพิ่งเขียนมาแค่ 4 ตอน หากทำเป็นหนังสือ ก็มีแค่ 4 หน้า มันก็จะแปลกๆ อยู่ครับ ว่ามะ เอาไว้เขียนไปหลายๆ ตอนก่อนจะดีกว่า
จากตอนที่แล้ว กล่าวถึง ช่วงเวลาที่ผมได้เริ่มลงมือปฏิบัติธรรมกับหมู่คณะอย่างจริงจัง ในตอนนั้น แม้ผมจะไม่ได้คำนึงถึงว่า "ภาษาที่หลวงพ่อครูไม่ใหญ่ใช้ว่า ผู้ที่หยุดใจได้ ก็จะเข้าถึงกายต่างๆ ไปจนถึงกายธรรม นั้นไม่ยักเหมือนที่เขาเขียนๆไว้ในตำรา แฮะ" แต่ในใจลึกๆ ก็ยังอดสงสัยไม่ได้ว่า "เอ ทำไมไม่เหมือนกันน้า" ตรงนี้ก็มองเป็นข้อคิดได้เหมือนกันครับว่า เรียนรู้แต่ตำราไปก่อน โดยยังไม่ได้ปฏิบัตินั้น อาจจะไม่ใช่ข้อดีเสมอไป บางคนไม่ได้เรียนรู้ตำรามาก่อน แต่มาฝึกปฏิบัติเลย ก็จะปฏิบัติไปได้โดยไม่ต้องลังเล ทำให้ผลการปฏิบัติก้าวหน้าได้เร็วกว่าผู้ที่ศึกษาตำรับตำรามา อย่างนี้ก็มีเยอะทีเดียว
และแล้ววันหนึ่งก็ได้มีโอกาสฟัง หลวงพี่ฐานะฯ หรือ พระมหาดอกเตอร์สมชาย ฐานวุฒิโฑ ซึ่งเรียนจบปริญญาตรี แพทย์ศาสตร์บัณฑิต แต่มาบวชอุทิศชีวิตที่วัดพระธรรมกาย ท่านได้เทศน์ให้ฟังเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า (ถ้อยคำต่อไปนี้ ไม่ได้เหมือนที่ท่านพูดเป๊ะๆ ทุกตัวอักษรนะครับ เพราะผมเขียนจากความทรงจำตั้ง 20-30 ปีมาแล้ว แต่เนื้อหาโดยรวมๆ เหมือนกัน)
"ผลการปฏิบัติธรรม ตามที่ได้กล่าวไว้ในตำรา บอกว่า เมื่อใจสงบ แนบแน่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสมาธิแล้วนั้น จะเข้าถึงสมาธิจิตระดับปฐมฌาน หากยังคงปฏิบัติได้ก้าวหน้าต่อไปเรื่อยๆ ก็จะเข้าถึงสมาธิระดับ ทุติยฌาน ตถิยฌาน จตุตถฌาน เมื่อปฏิบัติให้ก้าวหน้าต่อไป สมาธิจิตก็จะยกระดับจากรูปฌาน สู่อรูปฌาน แล้วก็เจริญวิปัสสนาจนบรรลุธรรม"
(ปล.นี่เป็นผลการปฏิบัติตามที่สอนกันมาเป็นตำรับตำราของไทยดั้งเดิมนะครับ จะสอนแบบนี้ แต่ปัจจุบัน จะมีบางสายการปฏิบัติที่เขาได้รับถ่ายทอดต่อๆ กันมาจากประเทศพม่า เขาจะเน้นทำสมาธิไม่มาก แล้วเจริญวิปัสสนาเลย โดยเขาบอกกันว่า ของเขาเป็นทางลัด ไม่ต้องไปเสียเวลาฝึกสมถะ(ฝึกให้ใจสงบ) อันนี้ก็แล้วแต่ ดุลยพินิจของแต่ละท่านครับ ผมเพียงแต่บอกข้อมูลเพิ่มเติมให้ทราบ)
หลวงพี่บอกต่อว่า "ทีนี้ของเรา พอฝึกสมาธิจนใจสงบหยุดนิ่ง ถึงระดับหยุดในหยุดไปเรื่อยๆ แล้ว หลวงพ่อบอกว่า เราจะเข้าถึงดวงปฐมมรรค กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม และกายธรรม จากนั้น ก็อาศัยปัญญาของกายธรรม เจริญวิปัสสนา เห็นความไม่เที่ยงของโลกและจักรวาล จนหมดกิเลสบรรลุธรรม"
ดูเผินๆ แล้วเหมือนภาษาไม่เหมือนกัน แต่ภาษาเป็นสื่อใช้แทนสภาวธรรมของใจที่เหมือนกัน ขึ้นกับว่าจะใช้เรียกกันอย่างไร
ในที่นี้ ปฐมฌาน ก็คือ การเข้าถึงดวงปฐมมรรค นั่นเอง
ทุติยฌาน ก็คือ การเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด นั่นเอง
ตติยฌาน ก็คือ การเข้าถึงกายทิพย์ นั่นเอง
จตุตถฌาน ก็คือ การเข้าถึงกายพรหม นั่นเอง (ผู้ที่เป็นพรหม คือ ฝึกสมาธิจนบรรลุ รูปฌาน 4)
อรูปฌานทั้ง 4 คือ การเข้าถึงกายอรูปพรหม นั่นเอง
ส่วนกายธรรม หากค้นตามตำราจริงๆ จะเรียกว่า บรรลุโคตรภูญาน แปลว่า ญานหยั่งกระแสนิพพาน ถ้าพูดแบบเข้าใจง่ายๆ คือ ไปเยี่ยมได้แต่ยังอยู่ไม่ได้ ดังนั้น หากดำเนินตามทางมรรคผลนิพพาน ก็จะอาศัยปัญญาของกายธรรม เจริญวิปัสสนาจนหมดกิเลสในที่สุด
พอผมฟังมาถึงตรงนี้ ผมถึงบางอ้อ อ๋อ แม้ไม่เหมือนกัน แต่จริงๆ แล้ว มันก็เหมือนกันนั่นแหละ แต่ที่ดูผิวเผินว่าแตกต่างนั้น ขึ้นกับภาษาที่ใช้สื่อความกันเท่านั้นเอง ภายหลัง ผมได้ฟังเรื่องราวของพระชื่อดังรูปหนึ่งแถวระยอง ที่สามารถลากโบกี้รถไฟที่อินเดียขึ้นภูเขาได้ ท่านทำสมาธิจนเห็นดวงสว่างอยู่ข้างหน้า(ปฐมมรรค) แต่ไม่ได้อยู่ที่กลางกาย ซึ่งท่านบอกว่า ท่านเข้าถึงปฐมฌาน ครับ ยิ่งทำให้มั่นใจว่า ภาษาก็ส่วนหนึ่ง ประสบการณ์ก็อีกส่วนหนึ่ง ภาษาสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ออกมาได้บางส่วน แต่ยังมีประสบการณ์อีกมากหลาย ที่ภาษานั้น ไม่ได้ถ่ายทอดออกมาได้ครับ
ย้อนรอยหมู่คณะตอนที่ 5
เริ่มโดย หัดฝัน, May 01 2010 08:12 AM
มี 6 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 01 May 2010 - 08:12 AM
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร
#2
โพสต์เมื่อ 01 May 2010 - 09:00 AM
จริงครับ ผมเคยเห็นหลายกระทู้ หลายเว็บไซด์ คุยกันในเรื่องปฏิบัติธรรม ยกเอาบาลีมาอ้างว่า ต้องปฏิบัติแบบนั้น เป็นแบบนั้นจึงจะถูกต้อง เถียงกันไม่สิ้นสุด เหมือนนักศึกษายกตำรามีดีเบตโต้วาที โดยเฉพาะวิสุทธมรรคนี่ ยกเอามาเป็นหลักใหญ่ๆเลย
แต่เท่าที่เห็นมาก็ไม่เคยเห็นผู้ที่ปฏิบัติได้จริง รู้เห็นจริง มาเถียงมาโต้แย้งกะเค้าเลย นั่นเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่า การปฏิบัติธรรม เมื่อรู้เมื่อเห็นเอง จะหมดความสงสัยในธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างสิ้นเชิง ไม่ต้องนำวิธีในตำหรับตำรามาใช้เป็นแบบแผนให้ไปตามทางเป๊ะๆ เพราตำราเป็นแนวทางคร่าวๆ บอกวิธีอย่างรวมๆไว้เฉยๆ เพราะประสบการในการปฏิบัติธรรมนั้น บางทีมันก็เอามาเขียนเป็นภาษามนุษย์ไม่ได้ เช่น คำว่า กระดิกจิต รวมใจ ขยายใจคลุมโลก เอาโลกมาใว้ในใจ แค่นี้คนที่อยู่กับตำราแต่ไม่เคยปฏิบัติธรรมก็งงเป็นไก่ตาแตกแล้วครับ
แต่เท่าที่เห็นมาก็ไม่เคยเห็นผู้ที่ปฏิบัติได้จริง รู้เห็นจริง มาเถียงมาโต้แย้งกะเค้าเลย นั่นเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่า การปฏิบัติธรรม เมื่อรู้เมื่อเห็นเอง จะหมดความสงสัยในธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างสิ้นเชิง ไม่ต้องนำวิธีในตำหรับตำรามาใช้เป็นแบบแผนให้ไปตามทางเป๊ะๆ เพราตำราเป็นแนวทางคร่าวๆ บอกวิธีอย่างรวมๆไว้เฉยๆ เพราะประสบการในการปฏิบัติธรรมนั้น บางทีมันก็เอามาเขียนเป็นภาษามนุษย์ไม่ได้ เช่น คำว่า กระดิกจิต รวมใจ ขยายใจคลุมโลก เอาโลกมาใว้ในใจ แค่นี้คนที่อยู่กับตำราแต่ไม่เคยปฏิบัติธรรมก็งงเป็นไก่ตาแตกแล้วครับ
#3
โพสต์เมื่อ 01 May 2010 - 10:17 AM
ผมว่าก็เหมือนตำราสอนทำอาหารละครับ
ต่อให้อ่านมันจนจำได้หมด ไปทำครั้งแรกก็ใช่ว่าจะทำเป็นเลย
เพราะความเชี่ยวชาญบางอย่างต้องอาศัยการลงมือทำ เช่น การใช้อุปกรณ์ต่างๆเป็นต้น
หลังจากลงมือทำไปแล้ว ตำราอาหารจริงๆแล้วไม่ตายตัว
คนที่ทำไปบ่อยๆส่วนใหญ่ก็จะเริ่มปรับปริมาณเครื่องปรุงหรือวิธีการปรุงให้ถูกใจของตัวเองด้วย
สมาธิก็เช่นกัน วิธีการต่างๆกันไม่ได้ตายตัวเหมือนตัวหนังสือ
แต่ถ้าคนไม่เริ่มทำ อ่านแต่วิธีการอย่างเดียว ฝีมือการปรับตรงนี้ก็ไม่เกิด
พอไม่เข้าใจ (เพราะไม่เคยทำ) ก็เลยพาลไปหาว่าคนที่ไม่ทำตรงตามตำราเป๊ะๆนั้นผิดอีก
ปัจจุบันนี้คนอ่านตำราทำอาหารแต่ไม่เคยลงมือทำมีจำนวนมาก
อ่านมาก รู้มาก แต่ไม่ลงมือทำ เลยได้แต่นั่งเถียงกันไม่รู้จบ
แถมคนที่เป็นพ่อครัวแม่ครัวฝีมือดี (เป็นผลจากการทำอาหารมานาน) ที่ทำไม่ตรงตามตำราทุกตัวอักษร
ก็เลยโดนผู้รู้(แต่ในตำรา) มาหาว่าทำอาหารไม่เป็นซะอีก
มันก็เป็นดังนี้แล
ต่อให้อ่านมันจนจำได้หมด ไปทำครั้งแรกก็ใช่ว่าจะทำเป็นเลย
เพราะความเชี่ยวชาญบางอย่างต้องอาศัยการลงมือทำ เช่น การใช้อุปกรณ์ต่างๆเป็นต้น
หลังจากลงมือทำไปแล้ว ตำราอาหารจริงๆแล้วไม่ตายตัว
คนที่ทำไปบ่อยๆส่วนใหญ่ก็จะเริ่มปรับปริมาณเครื่องปรุงหรือวิธีการปรุงให้ถูกใจของตัวเองด้วย
สมาธิก็เช่นกัน วิธีการต่างๆกันไม่ได้ตายตัวเหมือนตัวหนังสือ
แต่ถ้าคนไม่เริ่มทำ อ่านแต่วิธีการอย่างเดียว ฝีมือการปรับตรงนี้ก็ไม่เกิด
พอไม่เข้าใจ (เพราะไม่เคยทำ) ก็เลยพาลไปหาว่าคนที่ไม่ทำตรงตามตำราเป๊ะๆนั้นผิดอีก
ปัจจุบันนี้คนอ่านตำราทำอาหารแต่ไม่เคยลงมือทำมีจำนวนมาก
อ่านมาก รู้มาก แต่ไม่ลงมือทำ เลยได้แต่นั่งเถียงกันไม่รู้จบ
แถมคนที่เป็นพ่อครัวแม่ครัวฝีมือดี (เป็นผลจากการทำอาหารมานาน) ที่ทำไม่ตรงตามตำราทุกตัวอักษร
ก็เลยโดนผู้รู้(แต่ในตำรา) มาหาว่าทำอาหารไม่เป็นซะอีก
มันก็เป็นดังนี้แล
"ฉุดมันเอาไว้ หยุดมันเอาไว้ ไม่ให้มันรวนเร ต้องหยุดนิ่งสุดใจ หยุดมันเอาไว้ ฉุดมันเอาไว้ ไม่ให้มันซวนเซ ต้องฉุดให้ใจหยุด"
- ไมโคร (เพลง หยุดมันเอาไว้)
"แค่หลับตา... (ลบเลือนทุกสิ่ง เหลือเพียงหนึ่งเดียว) เธอจะเห็นยามเธอหลับตา... (ใช้ใจสัมผัสและมองสิ่งนั้น) เธอจะเห็นตัวฉันเป็นอย่างที่เป็น"
- อุ๊ หฤทัย (เพลง แค่หลับตา)
- ไมโคร (เพลง หยุดมันเอาไว้)
"แค่หลับตา... (ลบเลือนทุกสิ่ง เหลือเพียงหนึ่งเดียว) เธอจะเห็นยามเธอหลับตา... (ใช้ใจสัมผัสและมองสิ่งนั้น) เธอจะเห็นตัวฉันเป็นอย่างที่เป็น"
- อุ๊ หฤทัย (เพลง แค่หลับตา)
#4
โพสต์เมื่อ 01 May 2010 - 03:45 PM
ก็ปฎิบัติของเราต่อไป เสียเวลาถกเถียงกันเปล่า ชีวิตนี้สั้นนัก....
#5
โพสต์เมื่อ 01 May 2010 - 03:57 PM
การปฏิบัติธรรม ก็เหมือน การเรียนว่ายน้ำ ซื้อตำรามาอ่าน ก็สู้มีครูฝึกมาสอนว่าย ไม่ได้ แล้วแม้ระทั่งรู้ว่าว่ายยังไงก็สู้ ไปฝึกไปลองว่ายไม่ได้เช่นนั้น
เฉกเช่นเดียวกันการนั่งธรรมะ ถ้าอ่านวิธีการปฏิบัติมามากมาย ก็สู้มีพระอาจารย์ผู้รู้ลงนำนั่งเองไม่ได้ แล้วถึงแม้ว่ารู้้ว่านั่งแบบไหนทำใจยังไง ก็สุ้ลงมือทำนั่งเองเห็นเองไม่ได้
ดั่งนี้แล้ว ก็อนุโมทนากับผู้ที่กำลังปฏิบัติลงมือทำเองจริงๆทุกๆท่านคร้าบบ สาธุ
ปล เรื่องราวของผู้เขียนอ่านสนุกน่าสนใจมากเช่นกันคร้าบ
เฉกเช่นเดียวกันการนั่งธรรมะ ถ้าอ่านวิธีการปฏิบัติมามากมาย ก็สู้มีพระอาจารย์ผู้รู้ลงนำนั่งเองไม่ได้ แล้วถึงแม้ว่ารู้้ว่านั่งแบบไหนทำใจยังไง ก็สุ้ลงมือทำนั่งเองเห็นเองไม่ได้
ดั่งนี้แล้ว ก็อนุโมทนากับผู้ที่กำลังปฏิบัติลงมือทำเองจริงๆทุกๆท่านคร้าบบ สาธุ
ปล เรื่องราวของผู้เขียนอ่านสนุกน่าสนใจมากเช่นกันคร้าบ
เลือกเอา บัวมีสี่เหล่า
เลือกเอา ใจใสๆ
เลือกเอา ใจใสๆ
#6
โพสต์เมื่อ 01 May 2010 - 07:09 PM
...ชาวพุทธจะคิดกันแนวไหนก็เอานะ แต่อย่ามาลุยกันเองละกัน ไม่งั้นจบสิ้น...
..อันมือของฉันสองมือนี้ ดูเล็กนิดเดียวและไม่มั่นใจว่าฉันจะสร้างสิ่งดีๆ ให้เกิดแก่โลกใบนี้ได้.. แต่ฉันมั่นใจว่า ...หัวใจของฉันนี้ มอบไว้ให้แด่พระพุทธศาสน์....
#7
โพสต์เมื่อ 04 May 2010 - 10:33 AM
สาธุค่ะ กระจ่างแจ้งจริงๆ เลยค่ะ