ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

จิตอกุศลมีสิบสองดวง จริงหรือครับ อยากเรียนถามผู้รู้


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 9 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 doramn

doramn
  • Members
  • 26 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:samutprakan

โพสต์เมื่อ 02 December 2007 - 10:06 PM

ได้ยินมาว่า พระอภิธรรมบอกว่า หากเราทำกรรมชั่วมูลเหตุมาจากจิตอกุศลเพียง สิบสองดวง เท่านั้น(ไม่ทราบว่าจริงหรือไม่) ขอทราบข้อมูลจากผู้รู้แจกจ่ายความรู้เป็นธรรมทานให้เพื่อนนักสร้างบารมี เพื่อใช้ระวังไม่ให้จิตเป็นอกุศลครับ

#2 bluelotus

bluelotus
  • Members
  • 45 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 December 2007 - 08:31 AM

อกุศลจิต ๑๒ ดวง ประกอบด้วย
โลภมูลจิต ๘ ดวง
โทสมูลจิต ๒ ดวง
โมหมูลจิต ๒ ดวง

โลภมูลจิต หรือโลภสหคตจิต ซึ่งมีจำนวน ๘ ดวง คือ
๑. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
๒. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน
๓. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
๔. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน
๕. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
๖. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน
๗. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
๘. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน

โทสมูลจิต หรือ ปฏิฆจิต ซึ่งมี ๒ ดวง คือ
๑. โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ จิตเกิดพร้อมด้วยความเสียใจ ประกอบด้วยความโกรธ เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
๒. โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ จิตเกิดพร้อมด้วยความเสียใจ ประกอบด้วยความโกรธ เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน

โมหมูลจิต หรือ โมมูหจิต ซึ่งมีจำนวน ๒ ดวงนั้น คือ
๑. อุเปกฺขาสหคตํ วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตํ จิตหลงเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความสงสัย
๒. อุเปกฺขาสหคตํ อุทฺธจฺจสมฺปยุตฺตํ จิตหลงเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน


#3 suppy001

suppy001
  • Members
  • 2210 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 December 2007 - 10:35 AM

_/|\_ krub

#4 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 03 December 2007 - 10:44 AM

เชิญเจ้าของกระทู้ แวะไปศึกษารายละเอียด ที่นอกเหนือจากที่คุณ bluelotus ตอบไว้


้ได้ที่ อภิธรรม ออนไลน์


http://www.abhidhamonline.org

http://www.abhidhamo...les/thesis2.htm

http://www.abhidhamo...aphi/p1/034.htm
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#5 doramn

doramn
  • Members
  • 26 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:samutprakan

โพสต์เมื่อ 03 December 2007 - 01:20 PM

สาธุครับ

เหตุใดโลภมูลจิตจึงมีมากกว่า โทสะกับโมหะอีกครับ

ส่วนที่ว่า เกิดขึ้นเองโดย(ไม่)มีสิ่งชักชวน นี่หมายถึงอะไร ช่วยยกตัวอย่างนิดนึงครับ

อนุโมทนากับผู้ตอบทุกคนเลยครับ ....สาธุ

#6 bluelotus

bluelotus
  • Members
  • 45 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 December 2007 - 08:46 AM

- เหตุใดโลภมูลจิตจึงมีมากกว่า โทสะกับโมหะอีกครับ

ตอบ เพราะจิตโลภเกิด สามารถเกิดร่วมกับอารมณ์ของจิตได้ทั้ง โสมนัส และ อุเบกขา ขณะที่จิตโกรธ และจิตหลง จะเกิดในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง กล่าวคือ จิตโกรธเกิดเฉพาะอารมณ์ที่เป็นโทมนัส ส่วนจิตหลงเกิดเฉพาะอารมณ์ที่เป็นอุเบกขา

- เกิดขึ้นเองโดย(ไม่)มีสิ่งชักชวน หมายถึงอะไร

ตอบ อสงฺขาริกํ แปลว่า เกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งชักชวน อสงฺขาริกํ เป็นจิตที่มีกำลังเข้มแข็ง (ติกฺข) ส่วน สสงฺขารกํ แปลว่า เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน สิ่งชักชวนของตนเอง ก็มีปโยคได้ทั้ง ๓ คือ ทั้งกายปโยค วจีปโยค และมโนปโยค
- กายปโยค การชักชวน ชักนำ ชักจูง ด้วยกาย เช่น จูงมือไป กวักมือชี้มือ พยักหน้า ขยิบตา ทำท่าทางตบตี เป็นต้น
- วจีปโยค การชักชวน ชักนำ ชักจูง ด้วยวาจา เช่นพูดเกลี้ยกล่อม ยกย่อง ยุยง กระทบกระเทียบ แดกดัน เป็นต้น
- มโนปโยค การชักชวน ชักนำ ชักจูง ด้วยใจ เป็นการนึกคิดทางใจก่อน เช่นคิดถึงเรื่องสนุกสนานเพลิดเพลิน แล้วเกิดจิตโลภขึ้น หรือคิอถึงเรื่องไม่ดีไม่งามไม่ชอบใจต่างๆ ก็บันดาลโทสะขึ้น เป็นต้น

เกิดขึ้นโดยอาศัยสิ่งชักชวนของตนเอง ก็มีปโยคได้ทั้ง ๓ คือ ทั้งกายปโยค วจีปโยค และมโนปโยค
แต่ถ้าเกิดขึ้นโดยอาศัยสิ่งชักชวนของผู้อื่น ก็มีปโยคเพียง ๒ คือ กายปโยค และวจีโยคเท่านั้น


เหตุให้เกิดอกุสลอสังขาริก
๑. อสงฺขาริกฺกมฺมชนิตปฏิสนฺธิกตา มีปฏิสนธิจิตเกิดจากอสังขาริก
๒. กลลกายจิตฺตตา มีความสุขกายสบายใจ (แข็งแรง)
๓. สีตุณฺหาทีนํ ขมนพหุลตา มีความอดทนต่อความเย็นและร้อนเป็นต้น จนเคยชิน
๔. กตฺตพฺพกมฺเมสุ ทิฏฺฐานิสํสตา เห็นผลในการงานที่จะพึงกระทำ
๕. กมฺเมสุ จิณฺณวสิตา มีความชำนาญในการงานที่ทำ
๖. อุตุโภชนาทิสปฺปายลาโภ ได้รับอากาศดีและอาหารดี เป็นต้น
ส่วนเหตุให้เกิด อกุสลสสังขาริก ก็มี ๖ ประการ และมีนัยตรงกันข้ามกับอกุสลอสังขาริกที่แสดงแล้วนี้



#7 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 04 December 2007 - 12:08 PM


อนุโมทนา บุญ คุณ bluelotus ด้วยครับ สาธุ

ผมไม่คุ้นกับศัพท์เฉพาะทาง พระอภิธรรม จึงเข้าใจได้ยังไม่มากนัก
ต้องไปศึกษาเพิ่มเติมบ้างครับ


#8 doramn

doramn
  • Members
  • 26 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:samutprakan

โพสต์เมื่อ 04 December 2007 - 03:46 PM

โอ้ละเอียดดีจิงครับ คุณbluelotus สาธุ

#9 hk_girlza

hk_girlza
  • Members
  • 580 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 December 2007 - 08:01 PM

สาธุ

#10 ลูกหลานหลวงปู่

ลูกหลานหลวงปู่
  • Members
  • 100 โพสต์

โพสต์เมื่อ 05 December 2007 - 12:12 AM

ขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ
ผมว่าถ้าสนใจเรื่องนี้ลองไปหาพระอภิธรรมปิฎกอ่านดูครับ (ไม่ทราบว่าอยู่ที่เสาเท่าไร ในสภาธรรมกายสากลครับ) เพราะสิ่งที่คุณ doramn ถามมานั้นอยู่ในพระอภิธรรมในปริจเฉทที่ 1 ครับ

อนุโมทนาบุญด้วยครับ
สาธุ