บุญ กับ บาป คืออะไร?
#1
โพสต์เมื่อ 02 June 2008 - 01:12 PM
ผมอยากทราบจริงๆ ครับ ว่า
ในเมื่อบุญเป็นสิ่งดี บาปเป็นสิ่งไม่ดี แล้วความหมายของมันคืออะไร
รบกวนผู้รู้ช่วยตอบด้วยนะครับ
จาก...เด็ก ม.ต้น
#2
โพสต์เมื่อ 02 June 2008 - 02:15 PM
วิธีทำบุญ
ทาน คือการบริจาคทรัพย์สิ่งของแก่ผู้ที่ควรให้
ศีล คือการสำรวมกาย วาจา ใจ ให้สงบเรียบร้อย ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น
ภาวนา คือการสวดมนต์ ทำสมาธิ อ่านหนังสือธรรมะ ฯลฯ
อปจารยะ คือมีความเคารพอ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม
เวยยาวัจจะ คือการขวนขวายช่วยเหลือในกิจที่ชอบ
ปัตติทานะ คือการอุทิศส่วนบุญต่อผู้อื่น
ปัตตานุโมทนา คือการอนุโมทนาบุญที่ผู้อื่นทำ
ธัมมัสสวนะ คือการฟังธรรม
ธัมมเทสนา คือการแสดงธรรม
ทิฏฐุชุกัมภ์ คือการปรับปรุงความคิดเห็นของตนให้ถูกต้อง
บาปหมายถึง สิ่งที่ทำให้จิตใจเสีย คือมีคุณภาพต่ำลง ไม่ว่าจะเสีย ในแง่ไหนก็เรียกว่าบาปทั้งสิ้น สิ่งที่ทำแล้วเป็นบาป คือ อกุศลกรรมบถ 10 ได้แก่
ฆ่าสัตว์
ลักทรัพย์
ประพฤติผิดในกาม
พูดเท็จ
พูดส่อเสียด
พูดคำหยาบ
พูดเพ้อเจ้อ
คิดโลภมาก
คิดพยาบาท
มีความเห็นผิด
"นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต บาปย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ทำบาป"
ที่มา : หนังสือมงคลชีวิต 38 ประการ
#3
โพสต์เมื่อ 02 June 2008 - 02:21 PM
#4
โพสต์เมื่อ 02 June 2008 - 02:37 PM
คนดีทำดีง่าย ทำชั่วยาก
ผลบุญ ให้ผลที่สุด คือ ตำแหน่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผลบาป ให้ผลที่สุด คือ โลกันตมหานรก
#5
โพสต์เมื่อ 02 June 2008 - 02:43 PM
ทำ กรรม ดี ก็ได้ผล เป็น บุญ
ทำ กรรมไม่ดี ก็ได้ผล เป็น บาป
แต่ ว่า ดี อย่างไร หรีอ อย่างไร ถึง เรียกว่า ดี. อย่างไร ถึง ว่าไม่ดี ก็ต้องศึกษากันต่อไปนะ
#6
โพสต์เมื่อ 02 June 2008 - 04:00 PM
ตัวผมก็นึกเลยต่อไปว่า DMC แห่งนี้ ช่างอุดมไปด้วยคนดี มีสติปัญญาสามารถจริงๆ
#7
โพสต์เมื่อ 02 June 2008 - 05:33 PM
แจ่มมากๆเลย สมกับระดับ EQ ท่านจริงๆ EQ ... ตั้ง 0 แนะ .......072..........
อิอิ
สาธุครับ
#8
โพสต์เมื่อ 02 June 2008 - 06:42 PM
ผมแค่ ลอกมาตอบครับ
#9
โพสต์เมื่อ 02 June 2008 - 07:47 PM
ตัวอย่างผลของบุญ
ผู้ที่มีอายุยืน เพราะในอดีต ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
ผุ้ที่ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ เพราะในอดีต ไม่รังแกหรือทรมานสัตว์
ผุ้ที่มีพลานามัยสมบูรณ์ เพราะในอดีต ให้ทานด้วยข้าวปลาอาหารมามาก
ผู้ที่มีผิวพรรณงาม เพราะในอดีต รักษาศีล และให้ทาน เสื้อผ้าเครื่องนุ่มห่มมามาก
ผู้ที่มีอำนาจมีคนเกรงใจ เพราะในอดีต มีมุทิตาจิต ใครทำความดีก็อนุโมทนา ไม่อิจฉาริษยาใคร
ผู้ที่ร่ำรวยมีโภคทรัพย์มาก เพราะในอดีต ให้ทานมามาก
ผู้ที่เกิดในตระกูลสูง เพราะในอดีต บูชาบุคคลที่ควรบูชา
ผู้ที่ฉลาดมีสติปัญญาดี เพราะในอดีต คบบัณฑิต ฝึกสมาธิเจริญภาวนามามากและไม่ดื่มสุรายาเมา
#10
โพสต์เมื่อ 02 June 2008 - 09:54 PM
#11
โพสต์เมื่อ 03 June 2008 - 12:01 PM
#12
โพสต์เมื่อ 03 June 2008 - 12:48 PM
อนุโมทนาในคำตอบของทุกท่านครับ
#13
โพสต์เมื่อ 03 June 2008 - 05:42 PM
ผู้ตอบตอบได้เฉียบคม สั้นๆ ง่ายๆ ได้ใจความดีมาก ในความคิดของผมครับ
#14
โพสต์เมื่อ 03 June 2008 - 05:49 PM
#15
โพสต์เมื่อ 03 June 2008 - 08:31 PM
คำตอบ: เจริญพร...คำถามแรก คำว่า “กรรม” คืออะไร ความจริงคำว่า “กรรม” เป็นคำในภาษาพระพุทธศาสนา แต่ถ้าแบบชาวบ้าน กรรม คือ การกระทำของเรานี่เอง แต่ละคนก็มีการกระทำในชีวิตประจำวันด้วยกันทั้งนั้น ทุกอิริยาบถที่เราทำ ไม่ว่าทำด้วยการพูด ทำด้วยการคิด ทำด้วยมือของเราก็ตามที แต่ว่า ความหมายของกรรมที่ลึกไปกว่าการกระทำทั่วๆไป คือ อะไรก็ตาม ถ้าทำด้วยความตั้งใจ ถือว่าเป็นกรรม ถ้าไม่ตั้งใจ ไม่ถือว่าเป็นกรรม
ถ้าถามว่า คนเรา ทำกรรมได้กี่ทาง...ชัดเจนเลย ไม่ว่าเด็ก ไม่ว่าผู้ใหญ่ ไม่ว่าหญิง ไม่ว่าชาย คนเราทำกรรมได้ 3 ทางด้วยกัน คือ
ประการที่ 1. กรรมทางกาย
จะเอามือไปทำ จะเอาเท้าไปทำ หรือเอาทั้งตัวนี้ไปทำ เช่น เอาหัวไปโขกพื้นสักโป๊กหนึ่ง ก็จัดว่าเป็นกรรม เพราะตั้งใจจะโขก จะโขกเพราะโกรธก็เป็นกรรม จะโขกเป็นลักษณะคำนับอย่างที่บางชนชาติเขาทำกัน นั่นก็เป็นกรรม เพราะทำด้วยความตั้งใจ10 นิ้วของเรายกมือพนมไหว้กราบผู้ที่มีคุณธรรม นี้ก็เป็นกรรม จัดเป็นกรรมดี แต่ว่า 10 นิ้วอีกเหมือนกัน รวบกำเข้าเป็นกำปั้น แล้วไปต่อยเขาโครมครามเข้า มันก็เป็นกรรม แต่ว่าเป็นกรรมชั่ว
ประการที่ 2. กรรมทางวาจา
ถ้าตั้งใจชมใครตามความเป็นจริงว่า เขาดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ ก็จัดว่าเป็นกรรมดีของเรา แต่ในทำนองกลับกัน ถ้าตั้งใจด่าใคร ก็เป็นกรรม แต่ว่าเป็นกรรมเสียของเรา เป็นกรรมชั่วของเรา จัดเป็นกรรมทางวาจา แต่ว่าคนหลับ นอนละเมอ ไม่เป็นกรรม เพราะว่าไม่ได้ตั้งใจ ไม่ถือสาหาความกัน หรือคนไข้เพ้อ จะเพ้อชมใคร จะเพ้อว่าใคร ติใครก็ตามที ไม่จัดว่าเป็นกรรม เพราะไม่มีความตั้งใจ ไม่มีเจตนา
ประการที่ 3. กรรมทางใจ
เป็นกรรมทางความคิดนั่นเอง คิดรักใครก็เป็นกรรม คิดเกลียดใคร ชังใครก็เป็นกรรม คิดอิจฉาตาร้อนใครก็เป็นกรรม แค่คิดก็เป็นแล้ว
ตรงนี้เอง เมื่อจะตัดสินว่า กรรมที่เราทำนี้ เป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว ถ้าจะเอามาตรฐานของใครมาวัดนั้นคงยากเหมือนกัน ก็ต้องเอามาตรฐานของผู้รู้ เอามาตรฐานตัวเราเองมันก็คงไม่ใช่
เมื่อครั้ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ มีผู้สงสัยเช่นเดียวกับที่คุณโยมสงสัย เด็กก็สงสัย ว่า ที่เรียกว่ากรรมดีเป็นอย่างไร กรรมชั่วเป็นอย่างไร พระองค์ตรัสตอบไว้อย่างชัดเจน แต่ตรัสตอบแบบให้เด็กเข้าใจ ดังนี้
กรณีที่ 1. ทำอะไรแล้ว เดือดร้อนเขา เดือดร้อนเรานั่นเป็นกรรมชั่วแน่นอน
กรณีที่ 2. ทำอะไรก็ตาม ถ้าเดือดร้อนเรา แต่สบายใจเขา ก็ยังจัดเป็นกรรมชั่วอยู่ดี
เช่น เขาแย่งของของเรา แกล้งเรา เขาสนุกแต่เราเดือดร้อน ถ้าอย่างนั้นกรรมชั่ว ในทำนองเดียวกัน เราเย็นใจ สบายใจ แต่เขาเดือดร้อนใจ เช่น เราไปแกล้งเขา ถ้าอย่างนั้นจัดเป็นกรรมชั่ว
กรณีที่ 3. ทำอะไรแล้ว ไม่ร้อนเขาไม่ร้อนเรา ตรงกันข้าม เย็นทั้งเขา เย็นทั้งเรา นั่นคือ กรรมดี
นี่คือที่พระองค์ทรงตอบเด็ก
เวลาพระองค์ทรงตอบผู้ใหญ่ พระองค์ทรงตอบอีกลักษณะหนึ่ง ผู้ใหญ่มีความคิดมากกว่า ไกลกว่า พระองค์ทรงตอบว่า ทำอะไรแล้ว ต้องร้อนใจในภายหลัง อย่าทำ มันเป็นกรรมชั่ว
แม้เมื่อเริ่มต้นรู้ว่ามันสนุก มันสบาย มันสะดวก แต่ตอนท้ายมันลงท้ายด้วยความเดือดร้อน นั่นแหละกรรมชั่ว อย่าไปทำ เช่น ตอนจะกินเหล้า เริ่มต้นสนุก แต่ตอนท้ายส่งเสียง “โอกอาก โอกอาก” คลานกันเสียแล้ว อาเจียนกันเสียแล้วหรือตีกันเสียแล้ว เพราะฉะนั้น ทำอะไรต้องร้อนใจในภายหลัง จัดเป็นกรรมชั่ว
แต่ถ้า ทำอะไรแล้ว ไม่ต้องร้อนใจในภายหลัง จัดเป็นกรรมดี เช่น เด็กตั้งใจเรียนหนังสือตั้งแต่ต้นปี ทั้งทำการบ้าน ทั้งอ่านทั้งท่อง ไม่มีเวลาไปเที่ยว แม้จะเหนื่อย แต่ว่าปลายปีเขาสอบได้ เขามีความเข้าใจดี อย่างนี้เป็นกรรมดี พระองค์ก็ทรงให้ข้อคิดอย่างนี้
ทีนี้ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ที่การศึกษาหย่อนสักหน่อย พระองค์ทรงตีกรอบให้เลย โดยไม่ต้องคิดมาก กล่าวคือ
กรรมชั่วทางกาย
ฆ่าสัตว์
ลักทรัพย์
ประพฤติผิดในกาม
ดื่มน้ำเมา เสพยาเสพติด
กรรมชั่วทางวาจา ตั้งแต่
พูดเท็จ
พูดคำหยาบ
พูดส่อเสียด
พูดเพ้อเจ้อ ประเภท น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง
กรรมชั่วทางใจ
คิดโลภ อยากได้ของเขา
คิดพยาบาท จองล้างจองผลาญเขา
คิดเห็นผิดเป็นชอบ
คิดโง่ๆ
คิดอิจฉาริษยา
ถ้าจะให้ชัดเจนยิ่งกว่านี้ สำหรับนักปราชญ์ บัณฑิต หรือนักฝึกสมาธิ พระองค์ก็ทรงตรัสไว้ชัดเจนว่า ทำอะไรแล้วใจมันขุ่นมัว นั่นคือ กรรมชั่วมาแล้ว ถ้าทำอะไรแล้วใจใส ยิ่งทำยิ่งใสนั่นคือ กรรมดีมาแล้ว กรรมชั่ว กรรมดี ตัดสินกันอย่างนี้
#16
โพสต์เมื่อ 03 June 2008 - 09:55 PM
ครับ สาธุ
(คนเคยบวช)
#17
โพสต์เมื่อ 03 June 2008 - 11:16 PM
#18
โพสต์เมื่อ 04 June 2008 - 10:21 PM
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ คือ สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ หรือกล่าวอย่างง่ายๆว่า การกระทำที่เกิดเป็นบุญ เป็นกุศล แก่ผู้กระทำดังต่อไปนี้
1.
บุญสำเร็จได้ด้วยการบริจาคทาน (ทานมัย) คือการเสียสละนับแต่ทรัพย์ สิ่งของ เงินทอง ตลอดจนกำลังกาย สติปัญญา ความรู้ความสามารถ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยส่วนรวม รวมถึงการละกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ออกจากจิตใจ จนถึงการสละชีวิตอันเป็นสิ่งมีค่าที่สุดเพื่อการปฏิบัติธรรม
2.
บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล (สีลมัย) คือการตั้งใจรักษาศีล และการปฏิบัติตนไม่ให้ละเมิดศีล ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ หรือศีล ๘ ของอุบาสกอุบาสิกา ศีล ๑๐ ของสามเณร หรือ ๒๒๗ ข้อของพระภิกษุ เพื่อรักษากาย วาจา และใจ ให้บริสุทธิ์สะอาด พ้นจากกายทุจริต ๔ ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักทรัพย์ ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม และเสพสิ่งเสพติดมึนเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท วจีทุจริต ๔ ประการ คือไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดปด ไม่พูดเพ้อเจ้อ และไม่พูดคำหยาบ มโนทุจริต ๓ ประการ คือ ไม่หลงงมงาย ไม่พยาบาท ไม่หลงผิดจากทำนองคลองธรรม
3.
บุญสำเร็จได้ด้วยการภาวนา (ภาวนามัย ) คือการอบรมจิตใจในการละกิเลส ตั้งแต่ขั้นหยาบไป จนถึงกิเลสอย่างละเอียด ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นโดยใช้สมาธิปัญญา รู้ทางเจริญและทางเสื่อม จนเข้าใจอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ในที่สุด
4.
บุญสำเร็จได้ด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ (อปจายนมัย) คือการให้ความเคารพ ผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ ๓ ประเภท คือ ผู้มี วัยวุฒิ ได้แก่พ่อแม่ ญาติพี่น้องและผู้สูงอายุ ผู้มี คุณวุฒิ หรือคุณสมบัติ ได้แก่ ครูบาอาจารย์ พระภิกษุสงฆ์ และผู้มี ชาติวุฒิ ได้แก่พระมหากษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์
5.
บุญสำเร็จได้ด้วยการขวนขวายในกิจการที่ชอบ (เวยยาวัจจมัย) คือ การกระทำสิ่งที่เป็นคุณงามความดี ที่เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนรวม โดยเฉพาะทางพระพุทธศาสนา เช่น การชักนำบุคคลให้มาประพฤติปฏิบัติธรรม มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ในฝ่ายสัมมาทิฎฐิ
6.
บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ส่วนบุญ (ปัตติทานมัย) คือ การอุทิศส่วนบุญกุศลที่ได้กระทำไว้ ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง การบอกให้ผู้อื่นได้ร่วมอนุโมทนาด้วย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ ได้ทราบข่าวการบุญการกุศลที่เราได้กระทำไป
7.
บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย) คือ การได้ร่วมอนุโมทนา เช่น กล่าวว่า “สาธุ” เพื่อเป็นการยินดี ยอมรับความดี และขอมีส่วนร่วมในความดีของบุคคลอื่น ถึงแม้ว่าเราไม่มีโอกาสได้กระทำ ก็ขอให้ได้มีโอกาสได้แสดงการรับรู้ด้วยใจปีติยินดีในบุญกุศลนั้น ผลบุญก็จะเกิดแก่บุคคลที่ได้อนุโมทนาบุญนั้นเองด้วย
8.
บุญสำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม (ธัมมัสสวนมัย) คือ การตั้งใจฟังธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน หรือที่เคยฟังแล้วก็รับฟังเพื่อได้รับความกระจ่างมากขึ้น บรรเทาความสงสัยและทำความเห็นให้ถูกต้องยิ่งขึ้น จนเกิดปัญญาหรือความรู้ก็พยายามนำเอาความรู้และธรรมะนั้นนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สู่หนทางเจริญต่อไป
9.
บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม (ธัมมเทสนามัย) คือ การแสดงธรรมไม่ว่าจะเป็นรูปของการกระทำ หรือการประพฤติปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ ในทางที่ชอบ ตามรอยบาทองค์พระศาสดา ให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น หรือการนำธรรมไปขัดเกลากิเลสอุปนิสัยเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น ให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา มาประพฤติปฏิบัติธรรมต่อไป
10.
บุญสำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ตรง (ทิฏฐชุกัมม์) คือ ความเข้าใจในเรื่อง บาป บุญ คุณ โทษ สิ่งที่เป็นแก่นสารสาระหรือที่ไม่ใช่แก่นสารสาระ ทางเจริญทางเสื่อม สิ่งอันควรประพฤติสิ่งอันควรละเว้น ตลอดจนการกระทำความคิดความเห็นให้เป็นสัมมาทิฏฐิอยู่เสมอ
บุญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้ ผู้ใดได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือยิ่งมากจนครบ ๑๐ ประการแล้ว ผลบุญย่อมเกิดแก่ผู้ได้กระทำมากตามบุญที่ได้กระทำ ยิ่งได้มีการเตรียมกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ ตั้งใจจรดเข้าสู่ศูนย์กลางกาย หยุดในหยุด เข้าไปแล้วก็ยิ่งได้รับบุญมหาศาลตามความละเอียดประณีตที่เข้าถึงยิ่งๆ ขึ้นไป
#19 *ผู้มาเยือน*
โพสต์เมื่อ 16 September 2011 - 05:33 PM
#20 *ผู้มาเยือน*
โพสต์เมื่อ 16 September 2011 - 05:35 PM