คุณ โทษ และการสลัดออกไปจากเวทนา
อะไรเล่า เป็นคุณแห่งเวทนาทั้งหลาย คือ
๑.) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุปฐมฌาน ในสมัยนั้น เธอไม่คิดมุ่งเบียดเบียนตน
ไม่คิดมุ่งเบียดเบียนผู้อื่น ทั้งไม่คิดมุ่งเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย
ในสมัยนั้น เธอจึงเสวยเวทนา ซึ่งไม่มีการเบียดเบียน นั่นแล
เรากล่าวว่า ความไม่คิดมุ่งเบียดเบียนกัน เป็นคุณแห่งเวทนาทั้งหลาย
๒.) ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ ในสมัยนั้น เธอย่อมไม่คิดเบียดเบียนตน ฯ
เรากล่าวว่า ความไม่มุ่งเบียดเบียนกัน เป็นคุณแห่งเวทนาทั้งหลาย
๓.) ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ ในสมัยนั้น เธอย่อมไม่คิดมุ่งเบียดเบียนตน ฯ
เรากล่าวว่า ความไม่คิดมุ่งเบียดเบียนกัน เป็นคุณแห่งเวทนาทั้งหลาย
๔.) ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ในสมัยนั้น เธอย่อมไม่คิดเบียดเบียนตน
ไม่คิดมุ่งเบียดเบียนผู้อื่น ทั้งไม่คิดมุ่งเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความไม่คิดมุ่งเบียดเบียนกัน เป็นคุณแห่งเวทนาทั้งหลาย
อะไรเล่า เป็นโทษแห่งเวทนาทั้งหลาย คือ
การที่เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา
นี้ชื่อว่า โทษแห่งเวทนาทั้งหลาย
อะไรเล่า เป็นการสลัดออกไปจากเวทนาทั้งหลาย คือ
การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในเวทนาทั้งหลายได้
นี้ชื่อว่า การสลัดออกไปจากเวทนาทั้งหลาย.
ล.๑๒ น.๑๗๕-๑๗๖, มหาทุกขักขันธสูตร.