การเกิดใหม่ระลึกชาติกับกระบวนทัศน์ การเกิดใหม่เป็นความเชื่อของมนุษย์ มาตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานเป็นบ้านเป็นชุมชนเกษตร อันเป็นกระบวนทัศน์ทางสังคมเก่าเดิมของมนุษย์ ทุกเชื้อชาติสายพันธุ์โดยไม่ยกเว้น หลักฐานของหลุมศพผู้จากไปพร้อมกับ อาวุธและเครื่องใช้ประจำตัว
ยังคงพอเห็นแม้ในทุกวันนี้ ส่วนการระลึกชาตินั้นก็เป็นเช่นที่กฤษณะพูดกับอรชุน ในภควัตคีตาที่บันทึกไว้เมื่อ 2,300 ปีก่อนว่า “อรชุนท่านจำได้เพียงเรื่องราวของชาตินี้...ส่วนข้านั้น ข้าสามารถจดจำย้อนกลับไปได้ไม่ว่าจะเมื่อไรชาติไหน” แต่ต่อมา ด้วยการ#####วิทยาศาสตร์ การ#####อุตสาหกรรม ที่เริ่มขึ้นในโลกตะวันตก วิทยาศาสตร์กายภาพ โดยเฉพาะชีววิทยาที่บ่งบอกว่า ชีวิตเป็นผลผลิตของการคัดเลือกตามธรรมชาติ หรือความบังเอิญ ก็ได้ล้มล้างความเชื่อเรื่องของการเกิดใหม่ลงไปทั้งหมด และกระแสของกระแสตะวันตกเช่นนี้เองที่ได้ค่อยๆ แพร่สู่ภูมิภาคของโลกด้วยลัทธิล่าอาณาคม กระบวนทัศน์ “สมัยใหม่” ก็กลายเป็นเป้าหมายสูงสุดของชนทุกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ รวมทั้งบ้านป่าเมืองดอยมาแต่นั้นกระทั่งบัดนี้
บทความของวันนี้ต้องการชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์กัน ของกระบวนการธรรมชาติสองกระบวนการ นั่นคือระหว่างการเกิดใหม่ที่เป็น ปัจเจกกรณี ที่ทุกวันนี้และด้วยวิทยาศาสตร์ทางจิตสาขาจิตวิทยาผ่านพ้น ตัวตน (transpersonal psychology) ได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า การตาย การเกิดใหม่ เป็นวัฏจักรของการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติธรรมดาๆ นั่นอย่างหนึ่ง - กับกระบวนทัศน์หรือการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ระดับโลกที่เป็นกระบวนการธรรมชาติธรรมดาๆ อีกอย่างหนึ่ง ส่วนการระลึก ชาติที่แยกจากการเกิดใหม่ไม่ได้ เพราะเป็นส่วนขยายที่สนับสนุนการเกิดใหม่ หลังการตายทางชีววิทยาที่ว่านั้น (Ian Stevenson : The Children Who Remember..., 1987 ; Joel Whitton and Joe Fisher ; Life between Life, 1986) นั่นคือสองกระบวนการที่คนทั่วไปรวมทั้งนักวิชาการส่วนใหญ่ที่มั่นคง อยู่กับปรัชญาวัตถุนิยมและอารยธรรมโลกานุวัตร “สมัยใหม่” ปฏิเสธไม่ยอม รับ โดยเห็นว่าเป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระ “เอามาจากไหนก็ไม่รู้” แต่หากคน ทั่วไปและนักวิชาการเหล่านี้ได้ติดตามวิทยาศาสตร์ยุคใหม่หรืออ่านหนังสือ ใหม่ๆ นอกสายอาชีพของตนบ้างก็จะต้องพบว่า ทุกวันนี้ นักวิชาการส่วน ใหญ่ได้สรุปจนเป็นที่ยอมรับกันว่า สังคมโลกกำลังเปลี่ยนแปลงสู่กระบวน ทัศน์ใหม่ไปแล้ว พร้อมกันนั้นนักวิทยาศาสตร์ทางจิตได้จัดเรื่องของการเกิด ใหม่และการระลึกชาติให้เป็นความรู้ เป็นวิทยาศาสตร์ทางจิต ในสาขา จิตวิทยาว่าด้วยสภาพจิตที่เปลี่ยนแปลงไป (the science of non-ordinary states of consciousness, see Ken Wilber ; How Big Is Your Umbrella, 1994 : Stanislav Grof ; Holotropic Mind, 1998)
วิวัฒนาการทางสังคมก็เป็นเช่นเดียวกับกระบวนวิวัฒนาการ ของจักรวาลทั้งหลายทั้งปวง เป็นต้นว่า วิวัฒนาการทางชีววิทยาที่แสดงถึง ทิศทางและขั้นตอนของวิวัฒนาการขององค์กรชีวิตของเผ่าพันธุ์ไล่ขึ้นมาตามลำดับ กระทั่งเป็นนกแต่ละตัว เป็นมนุษย์แต่ละคน สังคมเองก็ต้องเปลี่ยนแปลง หรือวิวัฒนาการไปตามทิศทางและผ่านขั้นตอนไปตามลำดับเช่นเดียวกัน ซึ่งทิศทางและขั้นตอนของวิวัฒนาการธรรมชาติทั้งหมดไม่ได้เดินเป็นเส้นตรง แต่เป็นวัฏจักรหรือเป็นวงเวียนที่หมุนอยู่ในวงเวียนที่ใหญ่กว่า และอยู่ในวง เวียนที่ใหญ่กว่านั้นอีกซ้อนขึ้นไปเรื่อยๆ โดยที่แต่ละวงที่หมุนเวียนวนไปแต่ ละรอบไม่เคยมีการซ้ำที่ทับรอยเดิม
คำว่ากระบวนทัศน์ที่ใช้ๆ กันในปัจจุบันนั้น ดูเหมือนว่า จะมีคนใช้และคุ้นกับมันน้อยกว่าใช้ทับศัพท์ตรงๆ ว่าพาราไดม์ (paradigm) สมัยก่อนเขาเรียกว่าโลกทัศน์ (world view) ที่กระชับกว่าที่หมายถึงความ เชื่อหรือทัศนะร่วมของคนที่ดำรงชีวิตร่วมกันในสังคม - มีต่อโลกต่อธรรมชาติ ความเชื่อหรือทัศนะที่มีอิทธิพลต่อความคิด ต่อวิถีการดำรงอยู่ของเรา คือคุณค่าและความหมายของความเป็นตัวเรา และความเป็นสังคมโดยรวม
สำหรับที่บ้านเรานั้น - เพียงเมื่อไม่ถึงหนึ่งร้อยปีก่อนนี้หรือแม้ใน ชนบทที่ห่างไกลออกไปเช่นชีวิตเด็กของผู้เขียนโลกทัศน์ของชุมชนในเวลานั้น ยังคงยึดถือวิถีธรรมชาติเป็นแนวทาง นั่นคือการเติบโตหมุนเวียนไปด้วยกัน โดยไม่มีการเบียดเบียนทำลายล้างกันโดยไม่จำเป็น แม้ว่าจำเป็น ยังต้องผ่าน กรรมวิธีประเพณีที่นับถือร่วมกันเป็นความศักดิ์สิทธิ์ เป็นเมื่อไม่กี่ทศวรรษมา นี้ หลังสงครามโลกครั้งที่สองมานี้เองที่กระแสตะวันตก - อารยธรรมวัตถุก็ได้ เข้ามาเจือจางวิถีธรรมชาติของเรา และเร่งรัดปรับแปรวัฒนธรรมการดำรงชีวิต แบบเดิมๆ ของเราให้กลายเป็นตะวันตกมากขึ้นและมากขึ้น จนเนื้อหาสาระ ความเป็นเรา กลายเป็นเข็มที่หล่นในกองฟางยากที่จะควานหาได้พบ ซึ่ง จริงๆ แล้วปัจจุบันนี้และในวันนี้ มันไม่ใช่เพียงแต่สังคมบ้านเราเท่านั้นที่รับ มาซึ่งกระแสตะวันตกเช่นนั้น ที่ไหนๆ ก็เป็น รวมทั้งที่ทิมบักตูและที่อาราเร่ แห่งทวีปแอฟริกา เพราะว่า ณ วันนี้ กระแสตะวันตกที่ว่าได้กลายเป็น กระแสโลกานุวัตรไปแล้ว ไม่ว่าที่ไหน สังคมใด
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า การระลึกชาติสนับสนุนวัฏจักรของการ เวียนว่ายตายเกิด ตามที่ศาสนาทางตะวันออกทุกศาสนากล่าวเอาไว้ เพียงแต่มีบางคนเท่านั้นที่สามารถจำความเป็นมาของตนในชาติก่อนได้ การระลึกชาติอาจมีความหมายต่อการวิวัฒนาการทางจิตก็เป็นได้ หากว่าต่อ มาผู้มีประสบการณ์ สามารถทรงความจำของชาติก่อนๆ นั้นได้ และโน้มนำ ให้ตนเลือกเส้นทางของการดำรงชีวิตให้ห่างไกลวงจรแห่งโลกียะได้ จริงๆ แล้วเรื่องของการระลึกชาติได้นั้น โดยหลักการ - เด็กส่วนมากหรืออาจจะทุกคน น่าที่จะระลึกได้ โดยเฉพาะในวัยระหว่างสองขวบครึ่งถึงห้าขวบ ซึ่งเราอาจ ทดสอบได้โดยเลือกจังหวะและอารมณ์ของเด็กกับวิธีการตั้งคำถาม ตามที่มี รายงานเอาไว้เมื่อสามสี่ทศวรรษก่อน การระลึกชาติเป็นประสบการณ์ที่พบ น้อยมาก และการค้นพบหรือข้อสรุปจะถูกปฏิเสธจากนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการตะวันตกทุกคนอย่างทันทีทันใด แต่อยู่ๆ เพียงไม่กี่ปีหลังตั้งแต่ ปลายทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา รายงานการระลึกชาติได้เพิ่มจำนวนมาก พร้อมๆ กับมีผู้ที่เชื่อและยอมรับ รวมทั้งนักวิชาการก็มีจำนวนเพิ่มตามไป อย่างสอดคล้อง เป็นหนึ่งในสี่ของประชากรที่เป็นผู้ใหญ่ และเพิ่มเป็นหนึ่งใน สามเพียงอีกไม่กี่ปีต่อมา ทุกวันนี้คนอเมริกันที่เป็นผู้ใหญ่ รวมทั้งนักวิชาการ ที่เชื่อในเรื่องการเกิดใหม่และการระลึกชาติได้เพิ่มขึ้นเป็นร่วม 40 เปอร์เซ็นต์
นักวิทยาศาสตร์ทางจิตเชื่อว่า ประสบการณ์การระลึกชาติให้ การรับรู้ภายในที่มีความหมายที่สำคัญยิ่งว่า เรามีเวลาอย่างไม่จำกัดต่อการค้น พบความหมายและที่มาของเราและพัฒนาการรับรู้ตัวเองนั้นไปสู่ปัญญาเหนือ ปัญญาให้ได้ รับรู้ด้วยว่ากรรมได้กำหนดกฎแห่งกรรมเพื่อที่เราจะได้ชดใช้ เรียนรู้ตัวเอง รู้ปัญญาที่เหนือล้ำนั้น ด้วยความรู้เร้นลับที่ได้มาจากศาสนาที่ว่า กระทั่งความรู้ใหม่ จิตวิทยาใหม่ๆ ทำให้นักวิชาการจำนวนไม่น้อยในเวลา ปัจจุบันพากันยอมรับว่า การเกิดใหม่โดยเฉพาะด้วยข้อมูลที่ปฏิเสธไม่ได้นอกจากว่าเป็นการระลึกชาติ ชีวิตจึงไม่ได้สิ้นสุดด้วยการตายไปจากโลกโดย ที่จิตไม่ได้ตาย และคงไม่มีวันตายไปได้ ศาสนาและจิตวิทยาใหม่จึงเชื่อ เหมือนๆ กันว่า วิวัฒนาการไม่ใช่เพียงเป็นวิวัฒนาการทางชีววิทยาของชีวิต หรือของเผ่าพันธุ์ไล่ขึ้นมาจนถึงมนุษย์แต่ละคนโดยความบังเอิญ ลองผิดลอง ถูกของธรรมชาติอย่างตาบอดตาใสเท่านั้น หากมันยังมีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ สำคัญกว่า วิวัฒนาการของจิตวิญญานต่างหากที่ความหมายของตัวตนและกฎ แห่งกรรมแสดงให้เห็นด้วยการเวียนว่ายตายเกิดนั้น ซึ่งก็เป็นการเวียนว่ายตาย เกิดของแต่ละคนแต่ละจิต
แต่จักรวาลไม่น่าจะจำกัดดั่งเช่นวิทยาศาสตร์เก่าที่จำกัด แค่ความเป็นรูปธรรมกายภาพของมนุษย์แต่ละคน หรือศาสนาที่พูดกันแต่เรื่อง ของจิตแต่ละจิตเป็นปัจเจก ความคิดที่หนีไม่พ้นหลักการแยกส่วน แม้แต่การ เกิดใหม่ การระลึกชาติ ก็พยายามพูดให้เป็นวิวัฒนาการของจิตวิญญาณที่ แปลกแยกเป็นเอกเทศ แต่ทุกวันนี้เราเริ่มรู้แล้วว่าจักรวาลให้เนื้อหาสาระที่ยิ่ง ใหญ่กว่านั้น ทุกวันนี้เราเริ่มรู้ว่ามันไม่เพียงเป็นเรื่องของคนแต่ละคนหรือจิต แต่ละจิตเป็นปัจเจกเท่านั้น แท้ที่จริงการเกิดใหม่กับการระลึกชาติยังแสดงออก ซึ่งความสำคัญและความสัมพันธ์ระหว่างเราแต่ละคนและจิตแต่ละจิตกับสังคม โดยรวมที่แยกจากกันไม่ได้อีกด้วย
นักวิทยาศาสตร์ทางจิตเชื่อว่า การระลึกชาติคือจุดเริ่มต้นของ ความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริงต่อความหมายของชีวิตและวิวัฒนาการของจิต แต่ละคน ซึ่งความรู้ความเข้าใจนั้นเองจะนำไปสู่การเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ ทางสังคม น่าสนใจที่ความรู้ในด้านของวิทยาศาสตร์ทางจิตได้มาพ้องจองกับ การค้นพบวิทยาศาสตร์ใหม่และแควนตัมฟิสิกส์ซึ่งให้ความจริงสอดคล้องกับ ศาสนาที่อุบัติทางตะวันตก - เช่นศาสนาพุทธของเรา - ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน อันเป็นประเด็นร่วมอีกประเด็นหนึ่งที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความรู้ความ คิดความเชื่อตลอดจนวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมของมนุษยชาติไปจากความเป็น “สมัยใหม่” ได้เช่นเดียวกัน นั่นเป็นสิ่งที่นักวิชาการสายสังคมและนักปรัชญา ที่มั่นคงอยู่กับกระแสหลัก หรือกับตรรกะและเหตุผล ต้องกระวนกระวายใจ ทนไม่ได้ที่เห็นเรื่องไร้สาระหรือไสยศาสตร์ดึกดำบรรพ์กลับได้รับการยอมรับ และขยับขยายมายืนเคียงคู่ทางวิชาการกับความเป็น “สมัยใหม่” แถมยังทำ ท่าว่าจะนำหน้ากลายเป็นกระแสหลักทางสังคมไปภายในเวลาไม่กี่ปีข้างหน้า อีกด้วย ดังจะเห็นได้ว่าในช่วงทศวรรษที่แล้วเป็นต้นมา - ประเทศทางตะวันตก แทบทุกประเทศได้เกิดมีฟอรั่ม มีการอภิปรายเสวนาระหว่างสองกระแส สองกระบวนการคิดของนักวิชาการในสถาบันต่างๆ และในมหาวิทยาลัยอย่าง ดุเดือดถี่กระชั้น ซึ่งแน่นอนว่า ยิ่งมีการพูดกันมาก การอภิปรายกันมาก ก็ยิ่งชี้บ่งถึงความสำคัญและความหมายของการระลึกชาติ และการเปลี่ยนย้าย กระบวนทัศน์ใหม่ทางสังคมที่จะเป็นกระบวนทัศน์ทางจิตวิญญานให้เด่นชัด มากขึ้นและมากขึ้น
หากเราหันไปพิจารณาให้รอบด้านก็พอจะเห็นหรือสรุปได้ว่า - ไม่ว่าด้วยการ#####ของฟิสิกส์ใหม่ต่อวิทยาศาสตร์กายภาพหรืออารยธรรม “สมัยใหม่” ที่กลายเป็นหลักการของฟิสิกส์ปรัชญาที่แพร่สู่สาธารณชนมา ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 ก็ดี (Fritjof Capra, The Tao of Physics, 1975 ; Gary Zukav, The Dance of The Wu-Li Master, 1979) หรือเรื่องของ การเกิดใหม่ การระลึกชาติ กับชีวิตหลังความตายที่แพร่สู่สาธารณชนในช่วง เวลาเดียวกันที่เริ่มด้วยอลิซาเบธ คิบเลอร์ - รอส เรย์มอนด์ มูดดี้ ตามมาด้วย เอียน สตีเวนสัน และสตานิสลัฟ โกรฟ ที่ได้อ้างไว้แล้วก็ดี - นั่นคือช่วงเวลา ของวิกฤติโลกในทุกๆ ด้าน ทุกๆ ระดับ เป็นต้นว่า ความหายนะของสิ่งแวด ล้อมที่ตามมาด้วยภัยพิบัติทางธรรมชาตินานัปการ หรือความแปลกแยกขัดแย้ง ทางสังคม เผ่าพันธุ์ และวัฒนธรรมที่นำไปสู่การก่อการร้ายและสงคราม หรือว่าความถดถอยทางเศรษฐกิจที่จะนำไปสู่ความล่มสลายของธุรกิจการ ตลาดเสรีและเศรษฐกิจโยนทิ้งโลกานุวัตร วิกฤติหลากหลายทั้งหมดนั้นเป็น เพียงองค์ย่อยๆ ของวิกฤติดาวนพเคราะห์โลกที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น นั่นคือ “วิกฤติแห่งวิวัฒนาการโลก” ที่จะให้วิวัฒนาการใหม่ การเปลี่ยนแปลงระดับ โลกใหม่ที่เกิดตามหลังสภาพล่มสลายโลก (extinction) ดังเช่นที่เคยเกิดมา แล้วห้าครั้งในอดีต ซึ่งแต่ละครั้งได้ล้มล้างชีวิตจนหมดสิ้นสูญพันธุ์ไปถึง 70-95 เปอร์เซ็นต์ของชีวิตในเวลานั้นๆ - ครั้งสุดท้ายเมื่อ 65 ล้านปีก่อนกับไดโนเสาร์ ที่หมดไปทั้งตระกูล - แบบล้างแผ่นดิน
ช่วงเวลานี้จึงเปรียบเสมือนช่วงเวลาผกผันก่อนการเปลี่ยนแปลง สู่กระบวนทัศน์ใหม่ทางสังคม และเราหวังว่าสังคมมนุษยชาติจะมีการเปลี่ยน ได้ทันกับเวลา ก่อนที่ความล่มสลายจะเกิดขึ้นกับเผ่าพันธุ์จนมวลมนุษย์จะต้อง สูญสิ้นไปหมดทั้งตระกูลเยี่ยงไดโนเสาร์ - แบบล้างแผ่นดิน
ด้วยฟิสิกส์ใหม่และแควนตัมเมคานิกส์ที่ทุกวันนี้คือความจริง แท้ และหากว่านักวิทยาศาสตร์นักวิชาการยอมรับเรื่องการระลึกชาติว่าเป็น ความจริงแท้ด้วย สาธารณชนทั่วไปก็จะทยอยยอมรับกันเป็นเอกฉันท์ จากนั้นภายในหนึ่งหรือสองทศวรรษข้างหน้าเราอาจพบว่า โลกทัศน์ที่เราเคย ยึดมั่นว่าเป็นความจริงและนำมาเป็นฐานรากของวิถีชีวิตเป็นอารยธรรมจะ เปลี่ยนใหม่ไป ดังนี้
1.โลกทัศน์วัตถุนิยมทุกรูปแบบ - ผิด
2.หลักการแยกส่วนทุกระดับระนาบ - ผิด
3.จิตไม่ใช่สมอง หรือไม่ใช่ผลผลิตของสมอง สามารถดำรง เนื้อหาสาระพื้นฐานของความเป็นจิตโดยไม่ต้องอาศัยองค์ประกอบทาง ชีววิทยาเลย
4.จิตที่เป็นเนื้อในให้ความเป็นเราแต่ละคน ไม่ได้จำกัดที่จิตรู้ และจิตไร้สำนึกเท่านั้น
5.ต้องมีมิติอื่นนอกจากมิติแห่งที่ว่างและเวลาของเราระหว่าง การตายกับการเกิดใหม่
6.มิติที่แท้จริงของจักรวาลเป็นพหุมิติ แต่ละมิติมีองค์กรชีวิต ดำรงอยู่ในที่นั้นๆ
7.การเกิดและการตายเป็นสิ่งลวงตา เป็นการเล่นกลของตาหู ของประสาทความรู้สึก
8.ตรรกะและเหตุผลเป็นของเราบนโลกเราเพื่อเรากันเอง มันยังมีตรรกะที่ลึกล้ำและเป็นสากลกว่าเหตุผลที่เราใช้ในการดำรงอยู่ของเราที่ เราไม่รู้หรือไม่เอามาคิด
http://www.thaipost.....&cat_id=110805
การเกิดใหม่ระลึกชาติกับกระบวนทัศน์
เริ่มโดย บุญโต, Jan 25 2007 04:24 PM
มี 6 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 25 January 2007 - 04:24 PM
#2
โพสต์เมื่อ 25 January 2007 - 04:46 PM
เยี่ยมยอดเลยครับ คุณพี่บุญโต
คาวมจริงก็คือความจริง สาธุ
คาวมจริงก็คือความจริง สาธุ
นำมอ ตี่ จ่าง อ้วง ผู่ สัก
#3
โพสต์เมื่อ 27 January 2007 - 01:56 PM
เอาจิ๊กซอว์แต่ละชิ้นมาต่อ ก็จะมองเห็นองค์รวม
#4
โพสต์เมื่อ 30 January 2007 - 10:37 AM
K.Boonto, thank you for the this article.. I've given up reading Thai newspapers (Tabloids) for years and never thought such articles would exist there...
Thank you again, krab!
Thank you again, krab!
#5
โพสต์เมื่อ 26 February 2007 - 06:48 PM
สาธุ คุณ บุญโต
พระพุทธเจ้ารู้
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์
#6
โพสต์เมื่อ 04 March 2007 - 02:01 PM
บุญโต เก่ง และ ดี อนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ สาธุ สาธุ
#7
โพสต์เมื่อ 28 June 2007 - 04:53 PM
น่าสนใจมากค่ะ
เคยได้ยินมาว่า พุทธศาสนา นิกายหนึ่งในเวียดนาม
สอนเรื่อง "การเกิดใหม่" นั้น
แท้จริงแล้วเป็น "การต่อเนื่อง" (continuation)
ต่อเนื่องมาจากร่างกายของแม่
ในขณะที่บางศาสนาว่า ไม่มีการเกิดใหม่
แต่เป็น การกลับไปรวมเป็นหนึ่งเดียวกับเทพเจ้าสูงสุดในศาสนา
ในขณะที่อีกศาสนาว่า ไม่มีการเกิดใหม่
แต่เป็น การตายแล้วสูญ ไม่มีเรื่องวิญญาณใดๆ ทั้งสิ้น..
เคยได้ยินมาว่า พุทธศาสนา นิกายหนึ่งในเวียดนาม
สอนเรื่อง "การเกิดใหม่" นั้น
แท้จริงแล้วเป็น "การต่อเนื่อง" (continuation)
ต่อเนื่องมาจากร่างกายของแม่
ในขณะที่บางศาสนาว่า ไม่มีการเกิดใหม่
แต่เป็น การกลับไปรวมเป็นหนึ่งเดียวกับเทพเจ้าสูงสุดในศาสนา
ในขณะที่อีกศาสนาว่า ไม่มีการเกิดใหม่
แต่เป็น การตายแล้วสูญ ไม่มีเรื่องวิญญาณใดๆ ทั้งสิ้น..
"จงอย่าเป็นทุกข์เพราะความหยาบคายของผู้อื่น"
"สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม" "เจตนา..นั้นแหละคือ..กรรม"
"จงทำในสิ่งที่ถูกต้อง..มากกว่าถูกใจ" "ไม่มีสิ่งเลวร้ายใดที่คนพูดโกหกทำไม่ได้"