เทคนิคง่ายๆ ในการเข้าถึงดวงปฐมมรรค
#1
โพสต์เมื่อ 14 December 2005 - 08:06 PM
- ให้มีความอยากนั่ง และนั่งอย่างสบายเป็นทุนก่อน
- วิธีเร่งที่ดีที่สุด คือ การดูเฉยๆ แล้วจะเย็นและมีความสุขในการนั่ง
- พอนั่งปุ๊ปก็หมดหน้าที่ของตา หรือร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง ที่เหลือก็เป็นหน้าที่ของใจแล้ว
- ให้รักษาอารมณ์สบายตลอดเวลาทั้งในการนั่งและช่วงอื่นๆ เพราะว่าอารมณ์สบายจะทำให้เกิดความง่าย ง่ายต่อการนึกนิมิต ง่ายต่อการหยุดนิ่ง ง่ายต่อการเข้ากลาง ง่ายต่อการเข้าถึงกายภายใน ความสบายมี 2 อย่าง คือ เกิดขึ้นเองกับเราสร้างขึ้น ความสบายที่เกิดขึ้นเอง จู่ๆ ก็เกิดขึ้นเอง ส่วนความสบายที่เราสร้างขึ้นมานั้น ทำได้โดย
1. ห่างจากบุคคล หรือสิ่งของที่ทำให้ไม่สบายใจ
2. หาสิ่งที่ทำให้สบายใจ เช่น ชมนกชมไม้ ฟังเพลง อยู่สงบคนเดียว
- ให้รักษาอารมณ์สบายก่อนที่จะนั่งจนเกิดความรู้สึกอยากนั่ง มีความพอใจในการนั่ง เห็นไม่เห็นเป็นเรื่องรอง (ไม่สำคัญ)
- นิมิต คำภาวนา มีไว้กันความฟุ้ง ความง่วง ถ้าไม่ฟุ้ง ไม่ง่วง ก็ให้จรดเข้าภายใน หรือจรดเข้าศูนย์กลางกาย อย่าอยากได้ อยากเห็น เพราะเราจะเผลอไปเร่ง แล้วดึงประสาทตา ปวดขมับ เกร็งกล้ามเนื้อ ท่องไว้ๆ ถ้าเราได้ด้วยความอยาก ถึงจะใสแค่ไหนก็ไม่เอา ให้ได้ด้วยความสบาย
อย่างเดียว
- ให้มีชั่วโมงหยุด ชั่วโมงนิ่ง ชั่วโมงกลางเยอะๆ
- การปฏิบัติธรรม ให้มีมรรคผล นิพพาน เป็นแก่นสาร ไม่หวังลาภ ยศ สรรเสริญ ถ้าหวังอย่างนั้น จะทำให้จิตไม่นิ่ง ต้องทำใจให้บริสุทธิ์ คิดเสมอว่า เรียนไปทำไม เอาจริงไหม ปล่อยใจเลื่อนลอยไปที่อื่นหรือเปล่า
- จริงวันนี้ ได้วันนี้ จริงพรุ่งนี้ ได้พรุ่งนี้
- อย่าใช้ความหยาบในการปฏิบัติเพื่อหาความละเอียด เช่นอารมณ์เศร้าหมอง ขุ่นมัว ลมหายใจเร็ว แรง จิตใจสั่น ไหว ริบรัว ฯลฯ
- ใจที่มีพลัง จะต้องเป็นใจที่เป็นกลางๆ ตั้งมั่น และมั่นคง
- แม้เราจะไม่เข้าถึงธรรมในวันนี้ แต่อารมณ์สบาย คือ ของขวัญอันยิ่งใหญ่แก่จิตใจ ซึ่งจะทำให้เราเข้าถึงธรรมในวันหน้า
- จิต มีลักษณะเป็นดวง จึงเรียกว่า ดวงจิต
เห็น = มองห่างๆ เหมือนของสองสิ่ง
ได้ = มองใกล้ๆ หรือ เข้าๆ ออกๆ
เป็น = เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มั่นคง กลืน แยกไม่ออก
- ความเบา ความสบาย เป็นสิ่งที่เมื่อนั่งแล้วต้องเริ่มทำ ไม่ว่าจะได้ธรรมะในระดับใดก็ตาม
- ชัดไม่ชัด ไม่สำคัญ สำคัญว่ากลางหรือเปล่า นิมิตสัดส่ายเคลื่อนไหว อย่าตาม!!! จรดใจนิ่งๆ เข้ากลางอย่างเดียว แล้วจิตก็จะรวมลงสู่กลางเอง
- นึกดวงแก้ว ก็นึกแบบช้าง อย่าให้มีลีลา หรือมีพิธีรีตองมากมาย การนึกก็นึกอย่างสบาย นึกเห็น ก็เห็น เพราะใจเป็นธาตุสำเร็จอยู่แล้ว ให้มีความมั่นใจ ความมั่นใจเท่านั้นที่จะสร้างความมั่นใจต่อ ๆ ไป
- อย่ากลัวเสียเวลา อย่ากลัวเสียหน้า อย่ากลัวว่าจะไม่ได้
- พระในอุดมคติของพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ
1. สันโดษ ไม่คลุกคลีด้วยคนหมู่มาก
2. ไม่สะสม ไม่เห็นแก่ลาภ
3. ไม่อยากเด่น ไม่อยากดัง
4. อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นไปเพื่อบุญกุศลล้วนๆ
5. เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ
- อย่าท้อใจ อย่าน้อยใจ เพราะเมื่อกระแสใจเสื่อมคุณภาพ บาปจะเข้าครอง ต้องปลุกใจให้ฮึดสู้ นั่งให้สนุก เบิกบาน ให้เป็นบุญบันเทิงให้ได้
- อย่าเสียดายความคิดเก่าๆ จงสลัดทิ้งออกไป ตัดใจให้เหมือนตายจาก
- เรื่องหยาบๆ ภายนอก ถ้าดูเบา จะมีผลต่อภายใน
- ถ้าไม่ฝึกจรดศูนย์กลางกายตลอดเวลา เวลานั่งใจจะรวมได้ช้า ต้องมัวปัดของเก่าออก ทำให้เสียเวลา
- ถ้าเห็นภาพต้นไม้ คน สัตว์ อย่าไปสนใจ เพราะใจเริ่มเป็นสมาธิ จึงจะเห็นภาพ ให้ดูเฉย ๆ ดูจุดที่เล็กที่สุด เดี๋ยวภาพก็จะเปลี่ยนไปเอง เปลี่ยนไปสู่ความไม่เปลี่ยน
- ความง่ายเกิด เพราะเราทำจิตให้คิดว่าง่าย ความยากเกิด เพราะเราทำจิตให้คิดว่ายาก ถ้ายาก เด็กทำไม่ได้หรอก
- เป็นอนุบาลตอนนี้ อีก ๕ นาที ก็เป็นด็อกเตอร์ได้
- อย่ากลัวว่าจะไม่ได้ อย่ากลัวว่าจะได้ช้า
- อย่ากลัวว่าจะไม่ได้ เพราะดวงธรรมที่โตเท่ากับฟองไข่แดงของไข่ไก่ มีในมนุษย์ทุกคน ถ้าไม่มีก็เป็นคนไม่ได้ ถ้าดวงนี้แตกดับ กายก็แตกดับดวงธรรมมีกันทุกคน เพียงแต่ไม่เห็น ถ้าใจยังสัดส่ายอยู่
- อย่านั่งไปบ่นไป ไม่เห็นมีอะไรๆ ๆ ๆ ให้เฉยๆ จะได้นิสัยอุเบกขา ใจจะได้เป็นกลางๆ
- ถ้าส่วนไหนตึง นั่นพยายามเกินไป อย่าฝืนให้ปรับ
- จุดเริ่มต้นที่ไหนก็ได้ แต่ลงท้ายต้องศูนย์กลางกาย ช่วงแรกใจอาจจะอยู่ข้างหน้า หรือที่ไหนก็ไม่รู้ อย่ากังวล ปล่อยไป เดี๋ยวจะเข้าศูนย์กลางกายเอง แม้ไม่เห็น แม้ไม่ชัด แต่ให้ใจอยู่กลางท้อง พร้อมความหวังว่าจะได้รักษาใจให้สบาย เดี๋ยวได้แน่
- ถ้าใจยังไม่พร้อมที่จะนึก อย่าเพิ่งนึก ให้วางใจเฉยๆ จงคอยด้วยใจที่เยือกเย็น วางใจในที่สบายๆ การวางใจเฉยๆ ไม่ใช่ช้า เพราะใจเฉย เป็นใจที่ใกล้กับใจละเอียดแล้ว
- ยิ่งอยากก็ยิ่งยาก เลิกอยากก็เลิกยาก จำไว้......... ผู้ที่สว่างเดี๋ยวนี้ ก็คือผู้ที่เคยฟุ้งมาก่อน ผู้ที่จิตตั้งมั่นเดี๋ยวนี้ ก็คือผู้ที่เคยมืดมาก่อน
- เมื่อจิตหยาบ ให้ทำให้นิ่งก่อน พอจิตละเอียด จะกระดิกจิตถึงดวงแก้ว ถึงองค์พระได้ ถ้าไปนึกตอนทิ่จิตหยาบ จะเครียด เพราะมีความอยากนำหน้า ต้องทำให้นิ่งก่อน
- นั่งเพราะความอยาก ลมหายใจจะร้อนๆ และอั้น พออั้นมากๆเข้า จะปล่อย "ฮือ" ออกมาที
- ทำไมฟุ้ง ทำไมคิดหลายเรื่อง เพราะจิตกำลังหาที่สบาย เมื่อยังไม่พบที่ชอบก็แสวงหาต่อไป เมื่อพบที่ชอบก็หยุด การที่มีความคิดเหลือเฟือ ไม่ใช่ว่าฝึกจิตไม่ได้ เพราะความคิดเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งของจิต
- เมื่อเข้าถึงกำเนิดความสุข แหล่งของความสุขที่ศูนย์กลางกาย จิตก็จะไม่ไปไหน มีสุข เกิด ความพอใจ พอเหมาะ พอดี พอเพียง แค่ส่งจิตถึงศูนย์กลางกายนิดเดียว แล้วจิตถอน ก็ได้บุญมากแล้ว หรือแค่เห็นแสงแว๊บนิดเดียว ชีวิตวันนั้นก็มีความสุขแล้ว คุ้มค่าแล้ว เหมือนคนเล่นน้ำ เอาเท้าจุ่มน้ำตื้น ๆ ก็ยังชื่นใจ
- ถ้าอยากได้เร็ว จะได้ช้า ถ้าไม่กลัวช้า จะได้เร็ว ให้ตัดใจ หักใจ ห้ามใจ ของหยาบๆ ก่อน เรื่องข้างในมีอีกเยอะ อย่าไปเลอะเรื่องข้างนอก
- พลังใจเป็นต่อ เพราะใจจ่อศูนย์กลางกาย
- ไฟฟ้าที่ลืมปิด ชีวิตที่ลืมศูนย์กลางกาย น่าเสียดายจังนะ
- สายน้ำอาจหมุนวน สายลมอาจเปลี่ยนทิศ แต่สายใยของชีวิต จะไม่เปลี่ยนทิศจากศูนย์กลางกาย
- ทหารของกองทัพธรรมจะต้องเรียบร้อยกว่ากองทัพทางโลก ต้องสะอาดหมด ทั้งซ้าย ขวา หน้า หลัง ล่าง บน นอก ใน
พิมพ์แจกต่อๆ กันไป จะได้อานิสงส์มากๆ เลยครับ
#2
โพสต์เมื่อ 14 December 2005 - 10:04 PM
ก๊อบๆๆๆ ค่ะ แล้วก็จะเอาไปส่งต่อ
#3 *ผู้มาเยือน*
โพสต์เมื่อ 14 December 2005 - 10:53 PM
สาธุค่ะ _/|\_
#4
โพสต์เมื่อ 14 December 2005 - 11:13 PM
pasara
#5
โพสต์เมื่อ 15 December 2005 - 12:31 AM
#6 *ผู้มาเยือน*
โพสต์เมื่อ 15 December 2005 - 10:33 AM
#7
โพสต์เมื่อ 15 December 2005 - 08:00 PM
ต่อไปต้องนั่งได้อย่างมีความสุขมากๆแน่เลยล่ะค่ะ
ย่อมมีแสงอรุณขึ้นก่อน
เป็นบุพนิมิตฉันใด
ความเป็นกัลยาณมิตรก็เป็นตัวนำ
เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้น
ของหนทางพระนิพพาน ฉันนั้น"
#9
โพสต์เมื่อ 16 December 2005 - 11:56 AM
จะรู้สึกเหมือนวูบเข้าใจว่าจะเป็นตกศูนย์อยู่สองสามครั้ง
หลังจากนั้นก็จะกลับมารู้สึกว่าตัวเบาว่างเหมือนเดิม
ซึ่งผมไม่เข้าใจว่าจะต้องใช้เวลาในการนั่งสมาธินานขนาดไหนถึงจะเห็นดวงธรรมครับ
ผมอยากเห็นเร็วๆครับ จะได้อธิบายให้พ่อกับแม่ฟังได้เต็มปาก
#10
โพสต์เมื่อ 16 December 2005 - 03:00 PM
คือว่าผมฝึกนั่งสมาธิมาได้เกือบเดือนแล้วครับ
จะรู้สึกเหมือนวูบเข้าใจว่าจะเป็นตกศูนย์อยู่สองสามครั้ง
หลังจากนั้นก็จะกลับมารู้สึกว่าตัวเบาว่างเหมือนเดิม
ซึ่งผมไม่เข้าใจว่าจะต้องใช้เวลาในการนั่งสมาธินานขนาดไหนถึงจะเห็นดวงธรรมครับ
ผมอยากเห็นเร็วๆครับ จะได้อธิบายให้พ่อกับแม่ฟังได้เต็มปาก
อยากแท้แท้ ทำให้แย่ นะแม่เอย ให้นิ่งเฉย นิ่งเฉยเฉย แค่หยุดใจ
#11
โพสต์เมื่อ 16 December 2005 - 05:56 PM
#12
โพสต์เมื่อ 17 December 2005 - 01:45 AM
#13
โพสต์เมื่อ 17 December 2005 - 08:36 AM
คุณสิริปโภ อธิบายได้ดีมากๆ ค่ะ
#14
โพสต์เมื่อ 18 December 2005 - 02:48 PM
ชอบจัง
ย่อมมีแสงอรุณขึ้นก่อน
เป็นบุพนิมิตฉันใด
ความเป็นกัลยาณมิตรก็เป็นตัวนำ
เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้น
ของหนทางพระนิพพาน ฉันนั้น"
#15 *ผู้มาเยือน*
โพสต์เมื่อ 19 December 2005 - 09:29 PM
เทคนิคการแก้ลุ้น เร่ง เพ่ง จ้อง อยู่ที่ว่า ให้ทำใจเหมือนต่อแถวเข้าคิดซื้อของ เพราะตามหลังความจริงแล้ว ถ้าเราไปซื้อของแล้วต้องเข้าคิว เราไม่สามารถไปเร่งคนที่อยู่ข้างหน้าเราให้เร็วขึ้นได้ เราทำได้อย่างเดียวคือ รอ รอ รอ แล้วก็รอ จนกว่าจะถึงคิวของเรา ดังนั้นเวลานั่งสมาธิลองทำใจแบบการรอตอนเข้าคิดต่อแถวนะครับ เผื่อจะดีขึ้น
#16 *ผู้มาเยือน*
โพสต์เมื่อ 19 December 2005 - 09:32 PM
#17
โพสต์เมื่อ 20 December 2005 - 10:54 AM
ขอบคุณค่ะ
อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ สาธุ
"รักษา อารมณ์ดี + อารมณ์เดียว + อารมณ์สบาย ทั้งวัน "
#18
โพสต์เมื่อ 20 December 2005 - 02:56 PM
#19
โพสต์เมื่อ 20 December 2005 - 06:31 PM
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที
#20
โพสต์เมื่อ 21 December 2005 - 03:11 PM
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน
#21
โพสต์เมื่อ 06 February 2006 - 06:28 PM
สาธุ..สาธุ
ขอให้สิริปโภเจริญ ในทางโลกและทางธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปครับ
#22
โพสต์เมื่อ 11 February 2006 - 10:44 AM
#23
โพสต์เมื่อ 03 August 2006 - 07:40 AM
๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๘
จะหยุดนิ่งได้ ใจต้องทิ้งทุกสิ่งหมดเลย
ต้องไม่ผูกพันกับสิ่งใดทั้งสิ้น
ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ
หรือเรื่องราวอะไรต่างๆ ต้องไม่ผูกพันเลย
๑๑ มกราคม ๒๕๔๗
ถ้าหยุด นิ่ง ได้ ก็จะเข้าถึงของจริงในตัวได้
๕ มกราคม ๒๕๔๖
จากหนังสือ เลิศล้ำ ถ้อยคำครู
ไฟล์แนบ
#24
โพสต์เมื่อ 08 August 2006 - 08:18 PM
#25
โพสต์เมื่อ 22 August 2006 - 10:41 AM
ไม่มีลุ้นเร่งจองมองที่หมาย
ก็จะพบผู้รู้อยู่กลางกาย
ธาตุอ่อนแก่มากมายถึงปลายทาง
#26
โพสต์เมื่อ 30 August 2006 - 09:45 PM
สาธุค่ะ
#27
โพสต์เมื่อ 02 September 2006 - 10:05 PM
ทำความเข้าใจก่อนว่า ดวงปฐมมรรคคืออะไร ?
ดวงปฐมมรรคคือดวงธรรม (ชื่อเต็มว่า ดวงธรรมมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน) เป็นของเที่ยงแท้แน่นอนของตัวเรา ไม่ใช่นิมิต
ดวงปฐมมรรคมีลักษณะกลมรอบตัว เป็นดวง ขาว และใส สว่างมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับกำลังบุญของผู้นั้น
ทำอย่างไรจึงจะได้ดวงปฐมมรรค ?
ตอบว่าต้องทำใจหยุดนิ่งที่ 072
อะไรคือใจ ?
ใจคือ เห็น-จำ-คิด-รู้ รวม 4 อย่างนี้เรียกว่าใจ
ต้องเอา เห็น-จำ-คิด-รู้ มารวมอยู่ที่ 072 ใจจึงจะหยุด
ทำอย่างไรใจจึงจะหยุด ?
ต้องให้ใจทำหน้าที่ 2 อย่าง
คือ 1.นึกถึงบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้ว ขาวใส สว่างโชติ
2.นึกถึงคำบริกรรมภาวนา สัมมาอะระหัง ท่องไปที่กลางดวงใส
ขั้นตอนของใจหยุดจะเป็นอย่างไร ?
1.อารมณ์จะค่อย ๆ สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน (ถ้ายิ่งทำยิ่งฟุ้งซ่าน นั่นคือทำผิด ให้เริ่มใหม่)
2.จะเห็นดวงนิมิต(ไม่ใช่ดวงธรรม)ขึ้นก่อน ดวงนิมิตแปรเปลี่ยนขนาด รูปร่าง สี ได้
3.เมื่อหยุดนิ่งต่อไป ก็จะเห็นดวงปฐมมรรค (ดวงธรรม) มีขนาดแน่นอน โตเท่าฟองไข่แดงของไก่ อยู่ที่ 072
วิธีฝึกให้ใจหยุดทำอย่างไร ของ่าย ๆ
ตอบ ทางเดินขอใจที่จะเข้าไปสู่ 072 มีอยู่ 7ที่ ให้เอาใจไต่ฐานไปตามนั้น
คือเอา บริกรรมนิมิต และบริกรรมภาวนา เดินทางไปฐานต่าง ๆ ดังนี้
1.ปากช่องจมูก คือปากทางเข้ารูจมูก วางใจตรงปากทางเข้าไม่ให้ล้ำให้เหลือ่มเข้าไปในรูจมูก
ญ-ซ้าย ช-ขวา ให้เอาบริกรรมนิมิต+บริกรรมภาวนามาไว้ที่นี่
2.เพลาตา คือที่หัวตา ญ-ซ้าย ช-ขวา ให้เอาบริกรรมนิมิต+บริกรรมภาวนามาไว้ที่นี่
3.กลางกั๊กศีรษะ **สำคัญ** ต้องเหลือกตาขึ้นเบา ๆ ให้ความเห็นย้อนกลับเข้าไปในตัว คือเข้าไปในกลางกะโหลก
ให้เอาบริกรรมนิมิต+บริกรรมภาวนามาไว้ที่นี่
4.ปากช่องเพดาน คือตำแหน่งตรงที่เคยสำลักอาหาร ให้เอาบริกรรมนิมิต+บริกรรมภาวนามาไว้ที่นี่
5.ปากช่องลำคอ อยู่ในหลอดลำคอ เหนือระดับลูกกระเดือกนิดนึง ให้เอาบริกรรมนิมิต+บริกรรมภาวนามาไว้ที่นี่
6.ศูนย์กลางกายฐานที่ 6 อยู่ระดับเดียวกับสะดีอ ให้เอาบริกรรมนิมิต+บริกรรมภาวนามาไว้ที่นี่
7.ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ให้เอาบริกรรมนิมิต+บริกรรมภาวนามาไว้ที่นี่ ไม่ต้องเคลื่อนไปไหนอีกแล้ว
ที่ฐานที่ 7 ประคองดวงใส และให้ท่องลงไปในกลางดวงว่าสัมมาอะระหังอย่างต่อเนื่อง อย่าให้พรากจากกัน
อย่าจี้ใจ อย่าเพ่ง
แค่นึกเท่านั้น ใจ (คือเห็น-จำ-คิด-รู้) ก็จะเข้าไปอยู่ที่ 072 ทันที อย่าลังเล อย่าสงสัย ที่เราไม่แน่ใจเป็นเพราะเราไม่คุ้นเคย
ทำไปให้ "เพลินๆ" ใจยิ่งเพลินยิ่งสงบ และมีอารมณ์เดียว คืออารมณ์ สงบ เบา สบาย แดสงว่ามาถูกทางแล้ว
เพลิน หนักเข้าก็จะเห็นดวงนิมิตขึ้นมา ดวงนี้มีขนาดไม่แน่นอน สี ความสว่าง แปรเปลี่ยนไปได้
ต่อไปเราก็ประคองใจให้นิ่งไปในกลางดวงนิมิตนั้น ไม่ลุ้น ไม่เร่ง ไม่เพ่ง ไม่จี้ พักเดียวเท่านั้นก็จะตกศูนย์
ความรู้สึกเหมือนวูบตกจากที่สูง วูบมากหรือน้อยไม่ต้องไปสนใจ ประคองความนิ่งไว้ อย่าตกใจ
จากนั้นจะเกิดดวงปฐมมรรคขึ้นมา การเห็นปฐมมรรคนี้เป็นการเห็นที่แตกต่างจากการเห็นดวงนิมิต
นี่ เป็นการเห็นรอบตัว ซ้าย ขวา หน้า หลัง ล่าง บน นอก ใน เห็นพร้อมกันหมด (สมันตขักษุ)
นั่น เข้าถึงปฐมมรรคแล้วจ๊ะ
ไม่ยากเลย เห็นไหม
เทคนิค ก็คือ ถ้าทำวันนี้แล้วไม่ได้
วันหลังมาทำใหม่ ก็ไต่ฐานที่ 1 ถึง 7 ใหม่ แล้วก็ประคองใจใหม่ ทำทุก ๆ วัน เดี๋ยวใจก็หยุด
เทคนิคคือ ต้องให้ใจหยุด ไม่ใช่ให้อยากเห็นจ๊ะ
ขออนุโมทนาบุญจ้า
#28
โพสต์เมื่อ 13 September 2006 - 01:20 PM
สาธุ สาธุ สาธุ
#29
โพสต์เมื่อ 15 September 2006 - 10:36 PM
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ
เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี
#30
โพสต์เมื่อ 15 September 2006 - 10:41 PM
อยากให้เธอสมหวัง
ต้องถึงธรรมอย่างเสบย แน่แท้
ให้ทำอย่างที่เคย สอนสั่ง
นั่ง บ่ มีข้อแม้ จักได้ธรรมครอง
สุนทรพ่อ
มาร่วมกันสร้างสันติสุขให้กับโลกกันเถอะ