การอโหสิกรรม ช่วยทำให้บาปลดลงได้แค่ไหน
#1
โพสต์เมื่อ 03 September 2008 - 10:51 AM
แล้วถ้าเราอโหสิกรรมให้กัน ผลแห่งกรรมนี้จะลดลงได้บ้างไหมครับ
#2
โพสต์เมื่อ 03 September 2008 - 12:03 PM
เราก็ลองสมมุติืสถานการณ์ของตัวเองว่า ถ้าเพื่อนทำให้เราโกรธด้วยเรื่องนั้นเรื่องนี้ แล้วเพื่อนมาขอโทษเรา เราหายโกรธไหม แล้วถ้าเขาทำเรื่องที่หนักยิ่งกว่านี้ในความรู้สึกเราล่ะ เราจะหายโกรธเขาไหม
เราตอบได้มั้ัยครับ ผมว่า บางทีตัวเองยังตอบตัวเองไม่ได้เลยน่ะครับ
#3
โพสต์เมื่อ 03 September 2008 - 12:25 PM
#4
โพสต์เมื่อ 03 September 2008 - 12:49 PM
#5
โพสต์เมื่อ 03 September 2008 - 12:57 PM
#6
โพสต์เมื่อ 03 September 2008 - 01:05 PM
ดังนั้น บาปจะลดลงมากน้อยก็จะต้องขึ้นอยู่กับกำลังบาปที่ยังเหลืออยู่ครับ เพื่อความไม่ประมาท ให้ละชั่ว ทำความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส บาปก็จะไม่ส่งผลครับ เหมือนเกลือ ๑ช้อนละลายในสระน้ำ น้ำไม่เค็มเพราะเกลือน้อยจึงไม่ส่งผลเค็มครับ
#7
โพสต์เมื่อ 03 September 2008 - 01:47 PM
#8
โพสต์เมื่อ 03 September 2008 - 03:31 PM
การจองเวรกันก็อีกอย่างครับ
#9
โพสต์เมื่อ 03 September 2008 - 03:34 PM
ถ้าเปรียบก็เสมือน คนที่เราไปทำเขาไว้จนยากที่เขาจะให้อภัยเรา แต่เราก็ไม่ยอมแพ้ที่จะกล่าวคำขอโทษเขาจากใจจริง
โดยแสดงความจริงใจว่าถึงแม้เขาจะไม่ให้อภัย แต่เราก็ยังคงกล่าวคำขอโทษเขาไปเรื่อยๆ.... โดยไม่ต้องรอผลว่าเขาจะ
ให้อภัยรึเปล่า
แต่เชื่อเถอะ.. ซักวัน เขาจะต้องยอมรับคำขอโทษ หรือที่เราเรียกว่าการขออโหสิกรรมกับเราแน่ๆ.. เราเชื่ออย่างนั้นค่ะ..
ส่วนวิธี ก็อย่างที่เรารู้ๆกัน มีหลายวิธี ที่เราชอบใช้ส่วนมากจะเป็น การทำบุญทุกบุญ โดยเริ่มจาก ทำทาน รักษาศีล
และเจริญภาวนาหรือการนั่งสมาธิ หลังจากทำเสร็จเราจะอุทิศบุญให้แก่เขาและขออโหสิกรรมทุกครั้งไปค่ะ
มีแถมนึดนึงนะค่ะ.. ส่วนตัวเราเอง หลังจากทำบุญ(ตักบาตร)แล้ว เราจะมานั่งสมาธิต่อ โดยก่อนนั่งจะตั้งใจอธิฐานก่อนว่า
ขออโหสิกรรมให้แก่ลูกหนี้เวรลูกหนี้กรรมของเราก่อน เสมอๆค่ะ -----
----- อยากจะได้รับการอโหสิกรรมจากใคร เราต้องเริ่มที่ตัวเองก่อนค่ะ อภัยก่อน แล้วถึงได้รับการอภัยนะค่ะ -------
แนะนำผิดพลาดอย่างไรต้องขออภัยนะค่ะ เพราะเป็นวิธีการที่เราใช้อยู่ เดี๋ยวให้ผู้รู้มาตอบร่วมด้วยดีกว่านะค่ะ...
#10
โพสต์เมื่อ 03 September 2008 - 04:00 PM
การอโหสิกรรมไม่ได้ทำให้บาปลดลงนะครับ แต่ช่วยลดการผูกเวรหรือจองเวร
ยกตัวอย่าง เราฆ่าเขาตาย เราก็มีบาปฆ่าคน และหากผู้ที่ถูกเราฆ่าโกรธแค้นเรา ก็กลายเป็นการผูกเวร
ก่อนอื่นให้แยกแยะให้ออกก่อนนะครับ ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือ 1. บาปที่เกิดจากการฆ่าคนตาย และ2. การผูกเวร ซึ่งทั้ง2ข้อนี้ไม่เกี่ยวกันโดยสิ้นเชิง การอโหสิกรรมหรือขออโหสิกรรมจะส่งผลต่อข้อ2คือการผูดเวรเท่านั้นครับ จะไม่เกี่ยวกับบาปเลยสักนิด แม้เราขออโหสิกรรมเขาแล้วเขาอโหสิกรรมให้เรา บาปก็ยังคงอยู่เท่าเดิม
อุปมา บุญบาปเปรียบได้เหมือนนําเกลือ บุญเปรียบได้เหมือนนํา บาปเปรียบได้เหมือนเกลือ ถามว่าเราเอาเกลือไปละลายในนําถามว่าเกลือหายไปไหม ไม่หายถูกไหมครับ แต่ทำให้นําเค็มขึ้น ความเค็มไปบดบังความจืดสดชื่นของนํา อ่ะ ที่นี้เติมนําลงไปให้เยอะขึ้นให้หายเค็ม ถามว่าเกลือหายไปไหม ก็ยังอยู่ถูกไหมครับ แถมยังอยู่ในปริมาณเท่าเดิมที่เติมลงไปเพียงแต่ถูกนําเจือจางให้ความเค็มลดน้องลงเท่านั้น
แต่การอโหสิกรรมกับการผูกเวรนั้นเปรียบเหมือนกับการเล่นขี่ม้าส่งเมือง การผูกเวรก็เหมือนกับให้คนขึ้นขี่หลังเราซึ่งคนที่ขึ้นขี่หลังเรานั้นเขาจะลงหรือไม่ลงก็ได้ขึ้นอยู่กับเขา แม้เราจะปล่อยมือหากเขาไม่ยอมลงเขาก็สามารถเกราะหลังเราต่อไปได้ถูกไหมครับ และการอโหสิกรรมก็เหมือนกับการขอร้องให้คนที่ขี่หลังลงจากหลังเรา ซึ่งถ้าหากเขายอมลงจากหลังเราเราก็ไม่ต้องทนแบกเขาเดินต่อไป และต่างคนก็ต่างแยกย้ายกันไปคนละทางไม่มาเจอกันอีกก็ได้ แต่หากคนที่ขี่หลังเราไม่ยอมลง เราก็ต้องทนแบกเขาต่อไป ฉันใดฉันนั้น
อธิบายอย่างนี้หวังว่าคุณเจ้าของกระทู้คงเข้าใจนะครับ
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
#11
โพสต์เมื่อ 03 September 2008 - 04:49 PM
#12
โพสต์เมื่อ 03 September 2008 - 07:13 PM
ส่วนบาปกรรมของผู้กระทำ ล้วนต้องรับผลทั้งนั้น ดังที่คุณเคยเข้าวัดอุปมาบาปประดุจเติมเกลือ บุญประดุจเติมน้ำ
ใครทำกรรมใดไว้
กัลละยานัง วา ปาปะกัง วา
ดีหรือชั่วก็ตาม
ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ
ตนจักต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
เพียงแต่ผลจากการอโหสิกรรม อาจช่วยผ่อนผันการส่งผลของกรรมต่อผู้กระทำ(ส่งผลช้า หรือ ผ่อนหนักเป็นเบา) หากผู้กระทำนั้นมีจิตสำนึก ดำรงสภาวะใจให้อยู่ในบุญมิให้บาปได้ช่อง
#13
โพสต์เมื่อ 03 September 2008 - 07:25 PM
#14
โพสต์เมื่อ 03 September 2008 - 09:14 PM
สาธุ
สาธุ
สาธุ
#15
โพสต์เมื่อ 03 September 2008 - 11:10 PM
สาธุ สาธุ สาธุ
เพิ่มเติมข้อมูล
เชิญพิจารณา คำตอบที่พี่ หัดฝัน เคยตอบไว้ดีแล้ว ในกระู้ทู้
สงสัยเรื่องการอโหสิ
http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=8678
จะพอเข้าใจเรื่อง อโหสิกรรม ได้มากขึ้นครับ
เผอิญ เพิ่งเรียน DOU มาน่ะครับ จึงจะขอเล่าเกี่ยวกับ อโหสิกรรม
ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรม 12 ในแง่วิชาการ (กรณีนี้ไม่เกี่ยวกับคำพูดว่า นึกอโหสิกรรม นะครับ)
ในกรรม 12 จะมีหมวดของกรรมที่ให้ผลตามลำดับเวลา อยู่ 4 อย่างได้แก่
ทิฐธรรมเวทนียกรรม อุปปัชชเวทนียกรรม อปราปริยเวทนียกรรม อโหสิกรรม
1. ทิฐธรรมเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในชาตินี้ เมื่อผ่านชาตินี้ไปแล้ว
กรรมนั้นจะกลายเป็นอโหสิกรรมไป แล้วกรรมต่อไปคือ กรรมที่ให้ผลในชาติหน้าก็จะเข้ามาทำหน้าที่ให้ผลแทนที่
2. อุปปัชชเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในชาติหน้า เมื่อพ้นชาตินี้ไปแล้ว กรรมนี้ก็จะเข้ามาลุย
จนกระทั้งหมดชาติหน้าแล้ว (แม้กรรมจะยังไม่หมด) กรรมนี้ก็จะกลายเป็นอโหสิกรรม
แล้วกรรมใหม่ก็จะเข้ามาทำหน้าที่แทน คือ กรรมที่ให้ผลในชาติที่ 3 เป็นต้นไป
3. อปราปริยเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลตั้งแต่ชาติที่ 3 เป็นต้นไป
กรรมนี้จะให้ผลไปตลอดจนกว่าจะหมด หรือมีกรรมใหม่ที่มีกำลังแรงกว่ามาให้ผล หรือกลายเป็นอโหสิกรรมไป
4. อโหสิกรรม หมายถึง กรรมที่เลิกให้ผล เพราะหมดกรรม หรือ หมดโอกาสให้ผลอีกต่อไป
หรือ หมดเวลาในการให้ผลแล้วเป็นต้น
การหมดเวลาในการให้ผล ก็ดังที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น คือ
กรรมปัจจุบันหมดเวลาแล้ว ก็กลายเป็นอโหสิกรรม แล้วกรรมชาติหน้าก็มาให้ผลแทน
จนกรรมชาติหน้าหมดเวลา กรรมชาติที่ 3 เป็นต้นไป ก็มาแทนเป็นต้น
การหมดกรรม ก็เช่น กรรมนั้นทำงานจนหมดแม็ค ก็จะกลายเป็นอโหสิกรรม เช่น
พ่อหัวหน้าชั้น เคยบูชาเจดีย์ตามเพื่อน ชาติต่อมา รวยมากๆ ชาติต่อๆมา รวยมาก ชาติต่อๆมา รวย
ชาติต่อๆมา เกือบรวย ชาตินี้ เกือบจน แต่ไม่ตกอบายเป็นต้น
พอหมดกำลังกรรมนี้เมื่อไหร่ เมื่อนั้นกรรมนี้ก็จะกลายเป็นอโหสิกรรม
การหมดโอกาสให้ผลอีกต่อไป ก็ได้แก่ การหมดกิเลส บรรลุธรรม กรรมที่เคยทำๆ มาก็กลายเป็นอโหสิกรรมไปครับ
เช่น องคุลีมาล ฆ่าคนเป็นพัน แต่กลายเป็นอโหสิกรรม เพราะท่านเป็นพระอรหันต์
หรือ โชติกเศรษฐี พอบวชเป็นพระบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ บุญสมบัติจักรพรรด์ ก็กลายเป็นอโหสิกรรมไป
เพราะหมดโอกาสให้ผลเป็นต้น
สรุป อโหสิกรรม จะเลิกให้ผล ก็เฉพาะ 3 กรณีนี้เท่านั้น คือ
หมดกำลังกรรม
หรือ หมดเวลา
หรือ หมดโอกาส ครับ
ส่วนกรรมนึกอโหสิให้ ตามหลักวิชาการ ไม่ได้ช่วยให้กรรมนั้น กลายเป็นอโหสิกรรม
แค่เลิกผูกเวรกัน ดังที่ข้างต้นโพสมาเท่านั้น แต่ก็ควรอโหสิต่อกัน
เพราะถ้าเลิกผูกเวร ก็เลิกสร้างกรรมชั่วใหม่ต่อกันได้อีกนับภพไม่ถ้วน
อนุโมทนา พี่ หัดฝัน ครับ
#16
โพสต์เมื่อ 04 September 2008 - 03:44 PM
สำหรับคำตอบแรกของผมในกระทู้นี้ ที่บอกว่า พอนึุกอโหสิกรรมแล้วกรรมจางลง ก็ต้องขออภัยที่ตอบย่อๆ ตามคำพูดของครูไม่ใหญ่น่ะครับ เลยอาจทำให้เกิดความเข้าใจสับสนไปว่า พออภัยปึ๊บ กรรมเลยละลายหายไป จนเหลืออยู่นิดหน่อยเลย ซึ่งไม่ได้จะบอกอย่างนั้นน่ะครับ
แต่ความหมายในทีนี้ก็คือ เมื่อนึกอภัยต่อกัน กรรมที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ไปก็จางลง เพราะเมื่อไม่จองเวรกัน กรรมเก่าก็ให้ผลหมดไป กรรมใหม่ก็ไม่เกิดขึ้นมาให้ผลต่อ ซึ่งก็ย่อมไม่กลายเป็นกรรมเก่าต่อกรรมใหม่ไม่สิ้นสุด จึงใช้คำย่อๆ ว่า กรรมจางลงน่ะครับ