กรณีพระภิกษุรูปหนึ่งห้ามกราบพระพุทธรูป
#1
โพสต์เมื่อ 15 August 2008 - 04:17 PM
ขอแสดงความคิดเห็นก่อน แลัวจะแสดงลิงค์ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ต่อไป :-
ในการกราบไหว้มารดาบิดา ปู่ย่า ตายาย ฯลฯ
ในการกราบไหว้มารดาบิดานั้น พวกเราไหว้อะไร ?
กราบไหว้ผิวสีเหลือง ขาว ดำ ของสตรีที่เป็นมารดา บุรุษที่เป็นบิดา หรือ?
กราบไหว้เส้นผมที่ขาว เทา ดำ ของสตรีที่เป็นมารดา บุรุษที่เป็นบิดา หรือ?
กราบไหว้สีของฟันที่ขาว เทา ดำ ของสตรีที่เป็นมารดา บุรุษที่เป็นบิดา หรือ?
กราบไหว้สีดำของลูกตาดำ ของสตรีที่เป็นมารดา บุรุษที่เป็นบิดา หรือ?
กราบไหว้สีขาวของนัยน์ตาขาว ของสตรีที่เป็นมารดา บุรุษที่เป็นบิดา หรือ?
... ฯลฯ ...
กราบไหว้กลิ่นกาย กลิ่นเหงื่อ ของสตรีที่เป็นมารดา บุรุษที่เป็นบิดา หรือ?
กราบไหว้กลิ่นปาก ของสตรีที่เป็นมารดา บุรุษที่เป็นบิดา หรือ?
คำตอบที่น่าจะถูกต้อง คือ
เราไม่ได้กราบไหว้รูปารมณ์ [สีต่างๆ], คันธารมณ์ [กลิ่นต่างๆ] เหล่านั้น
แท้ที่จริงแล้ว เรากราบไหว้ในอุปการะคุณที่ท่านทั้งสองเคยได้กระทำไว้แล้วต่อเรา
ทั้งที่กำลังกระทำต่อเราในปัจจุบัน และจักกระทำต่อเราแม้ในอนาคต เรากราบไหว้คุณคือ
พรหมวิหารธรรมที่ท่านทั้งสองได้มีต่อเรา.
พระสูตรชื่อว่า พรหมสูตร
http://84000.org/tip...a_name.php?name
คำว่า พรหมวิหาร 4
http://84000.org/tip...d_seek.php?text เสิดคำว่า พรหมวิหาร_4
เมื่อพิจารณามาถึงตรงนี้ บางท่านอาจจะมีคำถามว่า
แล้วผิวสีเหลือง... เสียง... กลิ่นกาย ของสตรีที่เป็นมารดา ของบุรุษที่เป็นบิดา
มีความสำคัญหรือเกี่ยวข้องอย่างไรต่อการกราบไหว้?
ตอบว่า การได้เห็นมารดาบิดาก็ตาม ย่อมเป็นอุปการะต่อการระลึกถึงพระคุณนั้นๆ
เมื่อระลึกในอุปการะคุณนั้นแล้ว ก็กราบไหว้ในเพราะการระลึกถึงพระคุณนั้นเป็นเหตุ
บุคคลที่มารดาบิดาล่วงลับไปแล้ว หรือต้องไปอยู่ในที่ไกลจากมารดาบิดานั้น
บางคนก็ได้เก็บรูปภาพของท่านทั้งสองไว้ เพื่อการระลึกถึงพระคุณของท่านเหล่านั้น
บุคคลนั้นเมื่อได้ระลึกแล้ว ก็ยกมือกราบไหว้ในบุญคุณของท่านทั้งสอง
หากว่ามีบุคคลบางคนกล่าว หรือกล่าวหาอย่างนี้ว่า
บุคคลนี้กราบไหว้กระดาษ ช่างน่าเย้ยหยัน น่าติเตียนเหลือเกิน
ก็กระดาษนั้นมีที่มาร้านถ่าย ล้าง อัดรูปทั่วไป
ก็กระดาษนั้น ร้านเหล่านั้นทำกันเองทั้งนั้น
ก็กระดาษนั้นไร้ประโยชน์ เพราะไม่มีคุณธรรมใดๆ ในกระดาษเลย.
บุคคลที่กล่าวอย่างนี้ หรือบุคคลที่คล้อยตาม กล่าวตามบุคคลนั้น
ชื่อว่าเป็นบุคคลลึกหรือตื้น อาศัยความฉลาดกล่าว
หรือว่าอาศัยความเขลากล่าว
ชื่อว่ากล่าวคำมีประโยชน์และควรฟัง
หรือกล่าวไร้ประโยชน์และไม่ควรเสียเวลาฟัง
ชื่อว่าพิจารณาดีแล้ว จึงกล่าวติเตียนผู้อื่น
หรือว่าไม่ได้พิจารณาด้วยดี ก็ติเตียนผู้อื่น ?
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ฉันใด ก็ฉันนั้น
บุคคลบางคนได้เห็นพระพุทธรูปก็ตาม หรือแม้กระทั่งผ้ากาสาวะ
เพราะการเห็นนั้นนั่นแหละ เป็นเครื่องช่วยให้ระลึกถึงพระคุณ
ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ...
คำว่า พุทธคุณ
http://84000.org/tip...d_seek.php?text เสิดคำว่า พุทธคุณ
บุคคลที่ฉลาดในเหตุ ควรรู้ว่า บุคคลเหล่านั้นไม่ได้กราบไหว้เนื้อปูน
ไม่ได้กราบไหว้เนื้อทองสัมฤทธิ์หรือเนื้อทองคำแต่อย่างใด แต่บุคคลเหล่านั้นกราบไหว้
พระพุทธคุณ อันมีการเห็นพระพุทธรูป เป็นปัจจัยช่วยให้ระลึกถึง
เฉกเช่น บุคคลไม่ได้กราบไหว้สีผิวกาย... กลิ่น... รูปภาพของมารดาบิดา
ของตนเอง แต่เพราะการได้เห็นได้ยินได้ฟังนั้นแหละ เป็นปัจจัยเครื่องช่วยให้ระลึกถึง.
บุคคลรักษารูปภาพของมารดาบิดา อันเป็นเครื่องระลึกถึงไม่ให้ฉีกชาด
ไม่ให้ถูกทำลายไปโดยง่าย เพื่อประโยชน์ต่อการเป็นระลึกได้ยาวนาน ฉันใด
บุคคลเหล่านั้นจะรักษาพระพุทธรูปเหล่านั้น ปฏิบัติต่อพระพุทธรูปเหล่านั้น
ด้วยดี เพื่อประโยชน์ต่อการเป็นเครื่องระลึกได้ยาวนาน ก็ฉันนั้น.
บุคคลประพฤตินอบน้อมต่อรูปภาพนั้นบ้าง ประหนึ่งว่า
อยู่ต่อหน้ามารดาบิดา ฉันใด
บุคคลประพฤตินอบน้อมต่อพระพุทธรูปเหล่านั้น ประหนึ่งว่า
อยู่ต่อหน้าพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้น.
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บุคคลเหล่านั้น เมื่อระลึกถึงพระคุณของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้อานิสงส์อย่างไร ?
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
มหานามสูตร
http://84000.org/tip...h...6756&Z=6837
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tip....php?b=22&i=281
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
ปสาทสูตร
http://84000.org/tip...t...?B=21&A=912
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tip...a.php?b=21&i=34
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
ญาณสัญญกเถราปทานที่ ๘
ว่าด้วยผลแห่งการได้สัญญา
http://84000.org/tip...h...3850&Z=3866
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tip....php?b=32&i=132
ปุนนาคปุปผิยเถราปทานที่ ๙ (๑๕๙)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบุนนาค
http://84000.org/tip...h...mp;A=4353 เสิดคำว่า ก่อสถูปที่กองทราย
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tip....php?b=32&i=161
สุสัญญกเถราปทานที่ ๓ (๗๓)
ว่าด้วยผลแห่งการไหว้ผ้าบังสุกุลจีวร
http://84000.org/tip...h...2834&Z=2844
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tip...a.php?b=32&i=75
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
ฉัททันตชาดก ว่าด้วยพญาช้างฉัททันต์
[บางส่วน]
[๒๓๔๑] นายพรานผู้กระทำกรรมอันชั่วช้า ขุดหลุมเอากระดานปิดเสร็จแล้ว
สอดธนูเข้าไว้ เอาลูกธนูลูกใหญ่ยิงพญาช้างซึ่งมายืนอยู่ข้างหลุมของตน.
พระยาช้างถูกยิงแล้วก็ร้องก้องโกญจนาท ช้างทุกๆ เชือกพากัน
บันลืออื้ออึงวิ่งไปทั้ง ๘ ทิศ ทำหญ้าและไม้ให้เป็นจุณไป.
พญาช้างฉัททันต์เอาเท้ากระชุ่นดินด้วยคิดว่า จักฆ่ามันเสีย
แต่ได้เห็นผ้ากาสาวพัสตร์ อันเป็นธงชัยของฤาษี
ทั้งที่ได้รับความทุกข์ ก็เกิดความรู้สึกว่า
ธงชัยแห่งพระอรหันต์อันสัตบุรุษไม่พึงทำลาย.
http://84000.org/tip...h...9415&Z=9524
ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tip...php?b=27&i=2327
แนะนำ :-
อ่านและค้นพระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม
อรรถกถาชาดกทั้งหมด ๕๔๗ เรื่อง
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
สารบัญประเภทธรรม
http://84000.org/tip..._type_index.php?
หมวดหนังสือธรรมะ
http://84000.org/tipitaka/book/
เรื่อง ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
http://84000.org/tip...k/bookpn02.html
เรื่อง สิ่งที่เป็นมงคล (มงคล ๓๘)
http://84000.org/tip...k/bookpn06.html
เรื่อง ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
http://84000.org/tip...k/bookpn01.html
เรื่อง
ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
การใช้ทรัพย์ ๕ ประการ
มหาทาน
ทานของสัตบุรุษนัยที่ ๑
ทานของสัตบุรุษนัยที่ ๒
กาลทาน ๕ อย่าง
ให้ทานในที่ใดมีผลมาก
ทานที่เจาะจงและไม่เจาะจง ๒๑ ประเภท
สังฆทาน ๗ ประเภท
ถวายภิกษุรูปเดียว ก็เป็นสังฆทาน
ทัททัลลวิมาน-แสดงอานิสงส์ของสังฆทาน
เรื่องเศรษฐีเท้าแมว
ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณาทาน ๔
อานิสงส์ของทาน ๕ อย่าง
ทานที่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ๖
ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ๑
http://84000.org/tip...k/bookpn01.html
เครดิต :ฐานาฐานะ
#2
โพสต์เมื่อ 15 August 2008 - 04:36 PM
#3
โพสต์เมื่อ 15 August 2008 - 05:49 PM
น่าจะเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุดของเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี เสียดายที่หนังสือไม่อยู่ที่นี่ไม่งั้นจะนำมาโพสให้ได้อ่านกัน
#4
โพสต์เมื่อ 15 August 2008 - 07:58 PM
ทำดีได้กับตัว ทำชั่วไม่ได้ดี
#5
โพสต์เมื่อ 15 August 2008 - 08:41 PM
#6
โพสต์เมื่อ 15 August 2008 - 11:40 PM
#7
โพสต์เมื่อ 16 August 2008 - 07:02 AM
ข้อมูลเพียบ ที่มาที่ไปก็มี ใครยังสงสัยอีกก็ตามไปค้นต่อเอาเองได้ ยอดเยี่ยมที่สุด
กราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ
#8
โพสต์เมื่อ 16 August 2008 - 08:54 AM
เมื่อวันพฤหัสก็ดูเรื่องจริงผ่านจอ นั่งวิเคราะห์อยู่นานว่าทำไมพระ(ไม่รู้ตอนนี้ขาดจากความเป็นพระไปแล้วหรือยังนะครับ)รูปนี้ถึงกล้าทำอย่างนี้ แต่จากการสังเกตุพฤติกรรมและวาจา พอจะมองออกได้ว่า สุดโต่ง เกินไปครับ สุดโต่งจนปัญญาถูกบดบัง มองไม่ออกว่าเป็นพระมิสมควรแสดงกิริยาแบบนั้น และมองไม่ออกว่าจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการกราบพระพุทธรูปนั้นคือ การกราบเพื่อแสดงความเคารพและน้อมรำลึกถึงพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยใช้วัสดุหล่อขึ้นมาเป็นตัวแทน มิใช่กราบเพราะคิดว่าวัสดุที่หล่อขึ้นมานั้นเป็นพระองค์
แต่หากผมคิดในอีกแง่ คิดในแง่ของสภาพจิตใจของมนุษย์ในยุคสมัยนี้ ที่คนทั่วไปมักกราบไหว้บูชาพระพุทธรูปด้วยความคิดที่ว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นของศักดิ์สิทธิ์ ผมก็เถียงไม่ออกเหมือนกันนะครับ
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
#9
โพสต์เมื่อ 16 August 2008 - 09:47 AM
- ส่วนตัวบุคคลคงไม่บังอาจวิจารณ์ เพราะท่านดำรงตนเป็นสมมุติสงฆ์อยู่คนละบริษัทกับอุบาสกครับ การวินิจฉัยผลการกระทำของท่านขึ้นกับคณะสงฆ์ผู้ปกครองสังฆมณฑล
#10
โพสต์เมื่อ 16 August 2008 - 05:36 PM
#11
โพสต์เมื่อ 16 August 2008 - 07:52 PM
ฟังจากข่าวแล้ว รู้สึกเศร้าใจ แทนที่จะให้คนกราบ ระลึกนึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า กลับมาให้คนคิดว่ามากราบวัตุถุที่สร้างพระ ไม่ได้เสริมสร้างศรัทธา และปัญญาให้กับพุทธศาสนิกชนเลย
#12
โพสต์เมื่อ 16 August 2008 - 08:29 PM
#13
โพสต์เมื่อ 16 August 2008 - 08:48 PM
อย่าเพิ่งว่าเขาต้องพิจารนาให้ดีก่อนนะครับ
สร้าง รักษา พัฒนา คนดีที่โลกต้องการ
ไม่แสบ ไม่โง่ ไม่แล้งน้ำใจ
มีวินัย เคารพ อดทน และกตัญญู
#14
โพสต์เมื่อ 16 August 2008 - 11:05 PM
#15
โพสต์เมื่อ 17 August 2008 - 11:21 AM
เป็นปถุชนคร้าบบบบ... (กัวบาป)
#16
โพสต์เมื่อ 18 August 2008 - 10:18 AM
ก็ยังคิดหาเหตุผลอยู่เหมือนกันค่ะว่า......
เราจะตอบเพื่อนยังไงที่เพื่อนถามคำถามเหล่านี้
เพราะตอนนี้ได้แต่วางเฉย
แต่ตอนต่อไปได้คำตอบแล้วล่ะค่ะ
#17
โพสต์เมื่อ 18 August 2008 - 03:26 PM
คือ บอกว่าทำบุญแล้วจะต้องเบิกบุญจากสวรรค์ก่อนจึงจะเอามาใช้ ต้องอุทิศบุญให้เชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย ที่เราทำให้เขาตาย อีกหลายเรื่องครับ แต่ที่ดีๆ ตรงตามคำสอนก็มีครับ แบคทีเรียไม่มีวิญญาณครองครับ เชื้อโรคบางชนิดเป็นพวกพืช บางพวกเป็นสัตว์
เชิญเข้าไปดูได้ WWW.larnwat.com/board
WWW.geocities.com/watsamyaek
#18
โพสต์เมื่อ 19 August 2008 - 12:51 PM
#19
โพสต์เมื่อ 19 August 2008 - 08:20 PM
#20
โพสต์เมื่อ 20 August 2008 - 05:11 AM
อนุโมทนามิ