ดิฉันเป็นคนมีนิสัยโมโหร้ายมาก นั่งสมาธิไม่ได้เลยค่ะ
#1
โพสต์เมื่อ 13 November 2014 - 02:37 AM
ดิฉันเป็นคนไม่ยอมใครค่ะ ปกติไปวัด ดิฉันจะเป็นคนเงียบๆ ไม่ยุ่ง ไม่วุ่นวายกับใคร อาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ดิฉันถูกแย่งที่นั่งบนรถบัส ตอนขากลับหน่ะค่ะ ดิฉันเป็นคนไม่ชอบเอาเปรียบใคร แต่กลับโดนเอาเปรียบ ดิฉันจะวีนแตกทันทีค่ะ แม่ของดิฉันจึงไปทวงที่นั่งคืน เขาไม่คืนค่ะ ทำเป็นเนียนๆ ไม่รู้ ไม่ชี้ แต่เค้ารู้ตัวค่ะ แต่แกล้งทำเป็ไม่รับรู้
ดิฉันโมโหจัด เลยตะโกนลั่นรถบัส "แม่เรากลับกันเองเถอะ หนูยิ่งโมโหร้ายอยู่ อยู่ตรงนี้นาน เดี๋ยวได้ถลกหนังหัวคนแย่งเก้าอี้" ดวงตาลุกวาว แข็งกร้าว เหมือนยักษ์เลยค่ะ เป็นคนตาดุมาก ตาโต พอตะโกนด้วยความโมโหบนรถบัส คนเค้าเงียบทั้งคันรถเลยค่ะ เพราะเค้าไม่เคยเจอ คนวัดเป็นแบบนี้ ดิฉันเลยลงจากรถ แล้วเดินไปรอรถที่หน้าวัด เดินให้ห่างจากรถบัสให้เร็วที่สุดเลยค่ะ ดิฉันกลัวว่าถ้าเค้าเผลอว่าดิฉันตอบ ดิฉันกลัวยั้งมือไม่อยู่ เป็นถึงขนาดนี้!!! ดิฉันยังมีสติพอที่จะรู้ว่านี่คือวัด ดิฉันจึงไม่ทำอะไรรุนแรงไปมากกว่านี้ แต่ใจนี่เดือดสุดๆเลยค่ะ เวลาทำบุญ คือจะมีเรื่องให้หงุดหงิดใจบ่อยมาก ถ้าตอนดิฉันปกติ คนจะดูไม่ออกเลยค่ะ จะสุภาพ เรียบร้อย ถ้าโมโหขึ้นมาจะเปลี่ยนเป็นคนละคนเลยค่ะ เพราะเป็นแบบนี้ นั่งสมาธิ ก็มีแต่มืด ทั้งฟุ้ง หาฐานที่ 7 ไม่เจอ นึกดวงแก้วก็ยาก ถ้าไม่เค้นภาพก็นึกไม่ออก นึกสบายๆก็ทำไม่เป็นค่ะ ไม่รู้สบายเป็นแบบไหน พอทำไม่ได้ดั่งใจต้องการก็จะโกรธ เลยทำให้หมดอารมณ์นั่งเลยค่ะ ข้อดีของดิฉันก็คงจะมีแต่เป็นคนปลื้มบุญง่ายนะคะ ยิ้มคนเดียว ปลื้มง่ายมาก ฟังหลวงพ่อพูดอะไรนิดหน่อยก็ปลื้ม อย่างตอนเดินแถวประธานกฐิน ดิฉันนั่งมองก็ปลื้มกับกับคนที่เดิน เห็นนางวิสาขาก็ปลื้มอยู่คนเดียว จะปลื้มง่ายพอๆกับโกรธง่ายเลยค่ะ แต่นั่งสมาธิดิฉันทำไม่ได้ จะแก้ไขอย่างไรดีคะ ดิฉันไม่อยากจะให้ความโกรธไปเป็นคตินิมิตรตอนตาย ต้องแย่แน่ๆเลยค่ะ T_T
เดี๋ยวนี้ดิฉันจะทำความสะอาดบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้นั่งสมาธิดีขึ้นเลยค่ะ T_T
#2
โพสต์เมื่อ 13 November 2014 - 02:43 AM
#4
โพสต์เมื่อ 13 November 2014 - 09:28 AM
มีหลายท่านที่เป็นอย่างนี้.....พื้นฐานของอารมณ์มักโกรธ คือ โทสะจริต ถ้าไม่เรียนเรื่องสมาธิ เมื่อก่อนศาสตร์เมืองจีนจะใช้อารมณ์ "เศร้า สลด หรือ ธรรมสังเวช" ข่มอารมณ์โกรธนี้ให้สลายไป แล้วแปรเปลี่ยนเป็น "ความรอบคอบ สุขุม ใจเย็น" เข้าแทนที่ในใจ เท่ากับว่าเป็นการปรับ โทสะจริต ให้เป็น พุทธิจริต คือ มีปัญญา-เหตุผลเข้าแทนที่อารมณ์ขุ่นมัว
เมื่อมีโอกาสศึกษาเรื่องสมาธิ ควรมองย้องดูตนเอง (เสมือนถอนวิญญาณออกจากร่าง หันมามอง) หรือ มองเงาสะท้อนตัวเราว่า โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ ทำคนดีดีอย่างเราให้เป็นยักษิณีได้ แล้วเราจะรู้เท่าทันกิเลสตระกูลนี้ก่อนมาครอบงำจิตใจ
จะแก้ไข ต้อง
๑. เจริญสติ มีความสำรวมอินทรีย์
๒. เลือกกัมมัฏฐานที่เหมาะกับโทสะจริต คือ เจริญพรหมวิหาร(เจริญเมตตา)...หรือ ใช้วรรณกสิณ(กสิณสี) ที่วัดฯ ก็ประยุกต์ กสิณสีขาว แทนก่อน
๓. นึกถึงความไม่เที่ยงแท้ของโลก เจริญธรรมสังเวช ให้อภัย (เราเองก็ยังไม่สมบูรณ์ คนอื่นก็เช่นกัน อภัยทานเถิดประเสริฐนักแล) ปรับอารมณ์ใส อารมณ์สบายให้เกิดขึ้น ทิ้งทุกอย่าง วางทุกสิ่ง
หรือถ้ามีเวลาจะลองเข้าอบรม "สมาธิแก้ว"ก็ดีนะ
บอกตามตรง ดิฉันรู้สึกท้อแท้ และหมดหวังกับการนั่งสมาธิมากๆค่ะ วันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 ดิฉันก็ได้ลองนั่งสมาธิตามเสียงหลวงพ่อใน YouTube ดิฉันก็ทำไม่ได้ เพราะมันหาฐานที่ 7 ไม่เจอ หาที่วางใจไม่ได้ เหมือนเดิมค่ะ โมโห หงุดหงิด T_T
อารมณ์โกรธ เป็นอารมณ์หยาบ อายตนะไม่ละเอียดพอที่จะดึงดูดสู่ทางสายกลางได้...จนกว่าเราจะปรับอารมณ์ใหันุ่มนวล หยุด นิ่ง ถูกส่วน แก่รอบ
วันคืนล่วงไปล่วงไป อุปสรรคมีไว้ให้ข้ามนะ
กสิณขาว หรือ โอทาตกกสิณ
ไฟล์แนบ
#5
โพสต์เมื่อ 13 November 2014 - 01:15 PM
#6
โพสต์เมื่อ 13 November 2014 - 03:09 PM
หรือจะใช้ ภูติกสิณ อาโลกกสิณ อากาสกสิณ ก็ได้ เพราะใช้ได้ทุกๆจริต
แต่ พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ แนะนำ อาโลกกสิณ และบริกรรมภาวนา สัมมา อะระหัง นะ
ไฟล์แนบ
#7
โพสต์เมื่อ 14 November 2014 - 10:16 PM
หรือจะใช้ ภูติกสิณ อาโลกกสิณ อากาสกสิณ ก็ได้ เพราะใช้ได้ทุกๆจริต
แต่ พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ แนะนำ อาโลกกสิณ และบริกรรมภาวนา สัมมา อะระหัง นะ
หมายถึง ให้นั่งมองดวงแก้วในรูปภาพ แล้วท่องสัมมาอะระหังในใจใช่ไหมคะ
ดิฉันลองไปหาข้อมูลเรื่องกสิณมาค่ะ มีจ้องไฟด้วยค่ะ ไม่ชอบเลย
แต่ถ้าให้มองลูกแก้ว แล้วสัมมาอะระหังไปด้วย ดิฉันน่าจะทำได้ค่ะ
#8
โพสต์เมื่อ 15 November 2014 - 07:49 AM
ทำได้แน่ ถ้าได้ทำ
ศัพท์โบราณ ท่านใช้คำว่า"เพ่ง" คือ มองด้วยใจจดใจจ่อ แต่ปัจจุบันคำว่า "เพ่ง" กลายเป็นลักษณะ จ้องเขม็ง เหมือนหาเรื่อง ซึ่งไม่ใช่
จึงต้องเกลาคำพูดจาก "เพ่ง" เป็น นึกง่ายๆ สบายๆ ใจเย็นๆ
การนำ อาโลกกสิณ มาฝึก นอกจาก ดวงแก้ว แล้ว สามารถเลือก ดวงอาทิตย์ยามเช้า ยามเย็น หรือ พระจันทร์คืนวันเพ็ญ มากำหนดเป็นบริกรรมนิมิตได้ แล้วแต่อัธยาศัย
แต่ด้วยกสิณเป็นวัตถุนอกกาย ต่างกับลมหายใจ พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ท่านได้แนะให้นึกบริกรรมนิมิตนี้ไว้ภายในร่างกาย ณ ศูนย์กลางกายฐานที่7(มโนทวาร) ซึ่งเป็นฐานที่ตั้งของ มรรค(เส้นทางสายกลาง) เพื่อเป็นกุศโลบายให้ใจ หยุด นิ่ง ถูกส่วน ต่อเนื่อง จนละเอียด นุ่มนวล ใจจะตกศูนย์ฯ ถึงตรงนั้นแล้วต้องปล่อยวางให้เป็นไปตามธรรมชาติของใจที่ละเอียดลุ่มลึกเอง
ไฟล์แนบ
#9
โพสต์เมื่อ 15 November 2014 - 11:55 AM
ทำได้แน่ ถ้าได้ทำ
ศัพท์โบราณ ท่านใช้คำว่า"เพ่ง" คือ มองด้วยใจจดใจจ่อ แต่ปัจจุบันคำว่า "เพ่ง" กลายเป็นลักษณะ จ้องเขม็ง เหมือนหาเรื่อง ซึ่งไม่ใช่
จึงต้องเกลาคำพูดจาก "เพ่ง" เป็น นึกง่ายๆ สบายๆ ใจเย็นๆ
การนำ อาโลกกสิณ มาฝึก นอกจาก ดวงแก้ว แล้ว สามารถเลือก ดวงอาทิตย์ยามเช้า ยามเย็น หรือ พระจันทร์คืนวันเพ็ญ มากำหนดเป็นบริกรรมนิมิตได้ แล้วแต่อัธยาศัย
แต่ด้วยกสิณเป็นวัตถุนอกกาย ต่างกับลมหายใจ พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ท่านได้แนะให้นึกบริกรรมนิมิตนี้ไว้ภายในร่างกาย ณ ศูนย์กลางกายฐานที่7(มโนทวาร) ซึ่งเป็นฐานที่ตั้งของ มรรค(เส้นทางสายกลาง) เพื่อเป็นกุศโลบายให้ใจ หยุด นิ่ง ถูกส่วน ต่อเนื่อง จนละเอียด นุ่มนวล ใจจะตกศูนย์ฯ ถึงตรงนั้นแล้วต้องปล่อยวางให้เป็นไปตามธรรมชาติของใจที่ละเอียดลุ่มลึกเอง
สาธุค่ะ
#10
โพสต์เมื่อ 27 November 2014 - 03:28 PM
ขอแนะนำเพิ่มเติมนะครับ พอดีพี่เพิ่งจับอะไรดีๆได้ไม่นาน อ่านจริตของนองแล้ว พี่แนะว่า อย่าเพิ่งนึกดวงแก้วกลมๆใสๆสว่างๆทันทีครับ มันจะนึกยาก ให้ลองบริหารการนึกภาพดังนี้นะครับ
1. หาสิ่งของ 1 ชิ้นที่ถูกใจ (ต้องชิ้นเดียวนะครับ และรายละเอียดให้น้อยที่สุด) หรือสัตว์เลี้ยงก็ได้ซัก 1 ตัว (อย่าไปนึกตอนมันเคลื่อนไหว เอาแค่นึกหน้ามันให้ออก เอาแต่หัวมันก็ได้) และต้องเป็นสิ่งที่จับต้องได้นะครับ เพือการบริหารที่สมบูรณ์ครับ
2. ทุกครั้งที่ว่างๆ ให้ลองนึกครับ จะหลับตาหรือลืมตาก็ได้ ไม่ต้องใส่ใจเรื่องเวลา เอาให้นานเท่าที่จะนานได้ครับ หากภาพนิ่งที่นึกเริ่มจะขาดตอน เราลองหมุนสิ่งที่เรานึกไปหลายๆมุมครับเป็นการบริหารการนึกให้แข็งแรงและต่อเนื่องครับ
3. เมื่อทำข้อ 2 จนชำนาญแล้ว (ถึงแม้จะทำได้สั้นๆ ก็ไม่เป็นไรครับ) ลองนึกเป็นสิ่งที่เราอยากจะนึกดูครับ
4. พอเราทำข้อ 3 ได้ชำนาญแล้ว ลองนึกดวงแก้วเป็นสิ่งสุดท้าย (ผมมีทิปที่จะทำให้นึกได้ง่ายขึ้นครับ ให้นึกภาพของลูกแก้วใส เวลาโดนไฟส่อง นึกเอาเฉพาะลูกแก้วในสภาพนั้น จะนึกง่ายกว่านึกลูกแก้วในสภาพปกติ เพราะพอไฟส่องทีลูกแก้ว ส่วนที่เป็นเงาสะท้อนมันจะสว่างเห็นเป็นลูกกลมๆได้ชัดเจนกว่า ทำให้มีจุดที่เราจะ focus ได้ครับ)
5. หลังจากทำข้อ 3 จนชำนาญ ลองนั่งหลับตาอย่างเดียวแล้วนึก (ยังไม่ต้องนั่งสมาธิก่อนนะครับ หากยังไม่นิ่งพอจะ มีอาการทางร่างกายอันเนื่องมาจากท่านั่งสมาธิมารบกวน)
ตรงนี้มีจุดที่ผมเห็นความต่างระหว่างการนั่งหลับตาสนิทกับการหลับแบบไม่สนิท (แบบคนนอนหลับแล้วตาปิดไม่สนิทหรือพริ้มตา)
5.1 เวลาหลับตาปิดสนิท ในขณะที่ไม่ได้หลับ อยู่ในสภาพนั้นซักพักมันจะเกิดอาการเกร็งที่เปลือกตา(พยายามจะลืมตา) เปลือกตาจะรู้สึกสั่นๆ ซึ่งตรงจุดนี้จะไปรบกวนการนึกของเรา ทำให้ภาพที่เกิดจากการนึกจะกระพริบๆ ซึ่งจะทำเป็นเหตุให้นึกภาพให้นิ่งไม่ได้ และท้อแท้ไปในที่สุด
5.2 หากเราพริ้มตา ตาเราจะมองเห็นภายนอกแบบไม่ชัดเจน ซึ่งเปลือกตาจะไม่มีอาการสั่นเลย และสิ่งที่เห็นจะไม่ชัดเจน ทำให้เราจับ focus ไม่ได้ ใจเลยไม่จดจ่ออยู่ที่สิ่งที่เราเห็น จึงทำให้มีสมาธิกับสิ่งที่นึกได้ง่ายกว่า และจากการที่เปลือกตาไม่สั่น ไม่มีอะไรมารบกวนการนึกของ
6.เมื่อน้องพอจะนึกภาพได้นิ่งและต่อเนื่องแม้เวลาจะสั้นก็ตาม ลองเริ่มนั่งสมาธิดูได้เลยครับ
อะไรดีๆที่ผมพบเจอก็คือเรื่องการปิดตาสนิทแล้วนึกกับพริ้มตาแล้วนึกนี่แหละครับ
และผลจากการนึกภาพได้ต่อเนื่องนี้เอง จิตเราจะไปจดจ่ออยู่กับสิ่งที่นึก ทำให้ไม่รับรู้อาการของร่างกาย เหมือนมีเพียงภาพที่เรานึกเพียงอย่างเดียว
อาการชาทั้งหลายก็จะไม่รับรู้ไปด้วยครับ
หากสงสัยตรงไหน หรือตรงไหนไม่เคลีย ส่งข้อความส่วนตัวมาถามได้เลยครับ จะได้ไม่รกกระทู้ครับ