ด้วยเห็นว่ามีประโยชน์อย่างยิ่ง อยากให้ผู้ที่ยังไม่เคยอ่านได้อ่าน....จึงขออนุญาตนำมา post อีกครั้งค่ะ
จากกระทู้ http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=7714
ระวัง....การล่วงเกิน "ผู้มีธรรม"
เมื่อเขียนเรื่องการใช้ไหว้วาน "ผู้ทรงธรรม" แล้ว ก็เลยอยากจะเขียนถึงเรื่อง "การล่วงเกิน "ผู้มีธรรม" ด้วย
การใช้ไหว้วาน "ผู้ทรงธรรม" นั้น ก็เป็นสิ่งไม่อยู่แล้ว แต่การล่วงเกิน "ผู้ทรงธรรม" หรือ "ผู้มีธรรม" นั้นหนักกว่า
บาปมากกว่า เพราะเป็นการล่วงเกิน เป็นการทำร้าย "ผู้ทรงธรรม" ไม่ว่าจะเป็นทั้งกายหรือใจ หรือจะด้วยเจตนาและไม่เจตนาก็ตาม
เพราะ..."ผู้มีธรรม" และ "ผู้ทรงธรรม" นั้น คล้ายกันในความหมาย ก็คือเป็นผู้ที่ยึดถือการกระทำความดี เป็นชีวิตจิตใจ เป็นสรณะ
เป็นที่พึ่ง และเป็น "คนดี" ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
คำว่าเป็นคนดีนั้น หมายความว่า....
1. ทำอะไรก็แล้วแต่.....มีประโยชน์ต่อตนเอง
2. ทำอะไรก็แล้วแต่.....มีประโยชน์ต่อคนอื่น
3. ทำอะไรก็แล้วแต่.....ไม่สร้างเดือดร้อนต่อตนเอง
4. ทำอะไรก็แล้วแต่.....ไม่สร้างเดือดร้อนต่อคนอื่น
ต้องทำให้ได้ครบ 4 ข้อ เราจึงเรียกว่า "ความดี"
"ผู้มีธรรม"....ต้องทำ "ความดี" ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
"ผู้มีธรรม" นั้นมีทั้งภิกษุ สงฆ์ ผู้ทรงศีล นักบวช และฆราวาสที่มี "จิต" ดี
เราไม่มีโอกาสจะทราบได้อย่างแน่ชัด 100 เปอรเซ็นต์เลยว่า...ใครบ้างเป็น "ผู้มีธรรม"
นอกจากการสังเกต และการสันนิษฐานของเราเองและผู้อื่น
"ผู้มีธรรม" นั้น ตัวท่านเองก็ไม่สามารถจะพูดให้ใครฟังได้ว่าตัวเองเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
เพราะบางทีตัวของ "ผู้มีธรรม" นั้นเอง ก็ยังไม่ทราบตัวท่านเองเลยว่า ท่านเป็นอย่างไร ?
เพราะความเป็น "ธรรม" นั้น มันเป็นเรื่องของ "จิตใจ" ที่เกิดขึ้นมาจากความเป็น "ธรรมชาติ" ไม่สามารถหาซื้อจากที่ใดได้
อาจจะติดมาจากอดีต แล้วมา "ปรุงแต่ง" เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ในภาวะปัจจุบัน
เพราะฉะนั้น เมื่อเราไม่รู้ว่าใครบ้างเป็น "ผู้มีธรรม" จงอย่าได้มีความประมาท เผลอไผลไปตำหนิติเตียน หรือทำร้ายท่าน ทั้งทางกายและใจ ด้วยใจที่เป็นอกุศล หรือต้องการประชดประชัน ตีวัวกระทบคราด ใช้คำไม่สุภาพ หรือล่วงเกินในสิ่งที่ตัวเองยังไม่รู้จริง
ความปลอดภัย เมื่อเราไม่รู้ว่าจะไป "ล่วงเกิน" ใครบ้างที่เป็น "ผู้มีธรรม" ควรทำอย่างนี้
เวลาจะออกความเห็นใด หรือกล่าวถึง ที่เป็นการกล่าวตรงข้ามกับความคิดเห็นหรือการกระทำของผู้อื่น ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใคร ไม่ว่าจะอยู่ต่อหน้าหรือหลับหลังใครก็ตาม ควรกล่าวถึงหรือเขียนด้วยความเป็นสุภาพชน ไม่ใช้ถ้อยคำกระแทกแดกดัน ประชดประชัน กล่าวส่อเสียด ดูหมิ่น เหยียดหยามหรือแสดงในสิ่งที่ไม่สมควรแสดงเพราะ "ผู้มีธรรม" ก็เป็นคนธรรมดา ย่อมมีความผิดพลาดได้เป็นของธรรมดาเมื่อทำผิดพลาด ก็ย่อมได้รับคำติเพื่อก่อ เพื่อสร้างสรรค์ เช่นคนอื่นได้เช่นกัน
เคยหรือไม่ ? ที่ท่านเองเคยมีคนหมั่นไส้ท่านอย่างไม่รู้สาเหตุ ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร ?
เคยหรือไม่ ? ที่ท่านเคยถูกดูหมิ่นเหยียดหยามจากคนอื่น บางครั้งก็ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร ?
เคยหรือไม่ ? ที่ท่านมักจะมึนงงกับปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่รู้ทางแก้ไข บางครั้งก็ไม่ทราบสาเหตุ
เคยหรือไม่ ? ที่ท่านถูกกล่าวร้ายป้ายสีจากคนอื่น ทั้งๆ ที่ท่านไม่ได้ทำ บางครั้งก็ไม่ทราบสาเหตุ
เคยหรือไม่ ? ที่ท่านพูดอะไรไปแล้ว ไม่มีคนเชื่อถือ หรือพูดอะไรไปแล้วคนไม่เชื่อ
เหล่านี้คือ "กรรม" ที่ได้กล่าวล่วงเกิน "ผู้มีธรรม"
ตรงกันข้าม...ถ้าใครให้เกียรติ ให้ความเคารพ แม้ว่าจะติเพื่อก่อ หรือให้เหตุผลที่ตั้งบนความบริสุทธิ์ใจ "กรรม" ที่ได้
รับก็คือ........
ไปไหน ทำอะไร พูดกับใคร ไหว้วานใคร ร่วมงานบุญกับใคร เจอะเจอใคร ? ก็มีแต่คนรักใคร่ เป็นที่ชื่นชอบ เป็นที่รัก
เป็นที่เคารพของหมู่ชนทั่วไป
ลองสังเกตคนใกล้ตัว ไกลตัว หรือคนที่คุณรู้จัก ...ที่เป็นที่รักที่เคารพของคนทั่วไป ที่ไม่ใช่เพื่อนยกยอปอปั้น ชื่นชมกันเอง (ประเภทเขียนเอง..ชมเอง หรือไหว้วานให้คนอื่นมาชมแทน) ว่าเป็นเช่นนี้หรือเปล่า ? ถ้าใช่ ก็แสดงว่าคนๆ นั้นให้ความเคารพ "ผู้มีธรรม" อย่างดี
อาจารย์ผมคนหนึ่งชื่อ.........เวลาท่านจะแสดงความคิดเห็นใด ต่อผู้ที่คิดว่าน่าจะเป็น "ผู้มีธรรม" ท่านมักจะขึ้นต้นว่า
"ขออนุญาต ขอสอบถามเพื่อศึกษา เพื่อเรียนรู้ ว่า......"
นั่นคือผู้ที่รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร
แต่พวกเรา..ไม่ต้องขนาดนั้น ไม่ต้องนอบน้อมขนาดนั้นก็ได้
เพียงแต่ว่า พูดคุย แสดงความคิดเห็น หรือแลกเปลี่ยนความรู้ กล่าวถึง ด้วยความสุภาพอ่อนน้อมให้เกียรติคนอื่น ใช้กริยา
วาจา (ข้อเขียน) ด้วยใจที่คิดว่ากำลังคุยกับเพื่อน ไม่ใช่คุยกับคนที่เกลียดขี้หน้ากัน
การใช้วาจาตรงๆ ก็สามารถทำได้ เพราะการใช้วาจาพูดคุยกันตรงๆ ก็สามารถใช้คำพูดหรือข้อเขียนที่อ่อนน้อม สุภาพ ได้
คนปากกับใจตรงกัน หรือคนที่พูดตรงๆ ต่างจาก "คนปากพล่อย" มากมายนัก
ในที่นี้ผมเพียงจะพูดถึงเรื่องการล่วงเกิน "ผู้มีธรรม" เพียงการพูด ทั้งการพูดต่อหน้าและลับหลัง
การกล่าวถึง การตำหนิ ติเตียนด้วยความไม่ชอบ
ยังไม่ได้พูดถึงการล่วงเกิน "ผู้มีธรรม" ด้วยการกระทำ
เพราะแค่ล่วงเกิน "ผู้มีธรรม" ด้วยวาจา ด้วยการกล่าวถึง ยังต้องได้รับ "กรรม" ที่หนักหนาสาหัสแล้ว
ถ้าล่วงเกิน "ผู้มีธรรม" ด้วยการกระทำด้วยแล้ว จะยิ่งสาหัสสากรรจ์มาไม่รู้กี่เท่าต่อกี่เท่า
ผมได้รับการสั่งสอนจากครูบาอาจารย์หลายท่าน ให้เป็นอย่างนี้
และได้ถูกสอนให้เห็นถึงการล่วงเกิน "ผู้มีธรรม" อย่างชนิด ที่ไม่ได้ถูกแค่สอนด้วยวาจา
แต่ผมโดนสอนด้วยการถูกลงโทษจริงๆ
จึงรู้..จึงเข้าใจว่า...การได้รับ "กรรม" จากการล่วงเกิน "ผู้มีธรรม" นั้น มันเจ็บปวดและทรมาน
จึงไม่อยากให้ท่านที่พลั้งเผลอไปกล่าวล่วงเกิน "ผู้มีธรรม" ได้รับกรรมเช่นนั้น
เมื่อเราไม่รู้ว่า ใครบ้างที่เป็น"ผู้มีธรรม" ก็จงอ่อนน้อมถ่อมตน ติเตียนด้วยความสุภาพ หรือแสดงความคิดเห็นด้วยใจที่ไม่มีอคติ...
ทำอย่างนี้เอาไว้ก่อน...ปลอดภัยกว่ากันเยอะ
ผม (อโณทัย) ไม่ใช่ "ผู้มีธรรม" เพราะยังมีอารมณ์ มีความโกรธ ไม่ได้เป็นคนดีทั้งต่อหน้าและลับหลังตลอด 24 ชั่วโมง หรือ
ตลอดเวลา และไม่ได้ทำความดีครบองค์ประกอบ 4ประการ จะเชื่อหรือไม่เชื่อ...ก็ตามใจท่าน
ผมมีหน้าที่แค่ "บอก" "กรรม" ใดใครทำ คนนั้นเป็นคนรับครับ
อีกคำตอบ จากคุณ นักเรียนอนุบาล niwat
สตรีผู้นี้ได้รับพรพิเศษจากคุณยายอาจารย์ไว้เมื่อ
สิบปีที่แล้ว เพราะเหตุที่เธอทำทั้งบุญทั้งบาปต่อคุณยายท่าน คือ เมื่อเธออายุ ๑๗ ปี
ได้ตามผู้ใหญ่เข้าไปพบคุณยายฯ เธอได้ช่วยนวดคุณยายฯ
ขณะนวดเธอก็ฟังคุณยาย
เล่าเรื่องธรรมะต่างๆ รวมทั้งปาฏิหาริย์ เช่น การปัดลูกระเบิดเมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง
และอื่นๆ เธอได้ฟังไปก็นึกอกุศลในใจไปว่าที่คุณยายฯ เล่านั้นเป็นเรื่องจริงหรือเปล่า
ใครจะไปรู้
คุณยายฯ ท่านจึงทักว่า หนูๆ ที่หนูกำลังคิดอยู่นั้นน่ะ มันตกนรกนะ
คุณนงคราญฟังแล้วตกใจมากกราบขอขมา ขอให้คุณยายยกโทษให้คุณยายท่านว่า
ด้วยความดีที่ทำการนวดให้ยาย ยายจะให้พรหนู ๓ ข้อ จะได้ผ่อนหนักเป็นเบา
ให้รับโทษเสียตั้งแต่มีชีวิตอยู่ ตายแล้วไม่ต้องตกนรก (ในฐานดูถูกดูหมิ่นผู้มีคุณธรรม)
พรข้อหนึ่งในสามข้อนั้นมีว่า ให้ได้เห็นสิ่งที่ผู้อื่นเห็นไม่ได้ง่ายๆ ด้วยเหตุนี้คุณนงคราญ
จึงได้เห็นอะไรๆ แปลก เมื่อเธอไปเล่าให้ผู้ใดฟัง ก็มักถูกผู้ฟังคิดว่าไม่จริงอยู่เสมอ
อาจเป็นเพราะกรรมที่เธอนึกว่าคุณยายพูดไม่จริงในครั้งกระโน้น
Ref: ป้าหวิน จากความทรงจำ กุมภาพันธ์ 2539
ขออนุโมทนาสาธุการ อย่างยิ่งค่ะ