"
He will appear in Asia at home in Europe…
One who is issued from great Hermes…"
"ท่านจะปรากฏกายในเอเชีย ตั้งถิ่นฐานในยุโรป…
ผู้ซึ่งเป็นผลมาจากองค์เทพผู้ยิ่งใหญ่…" (ซ. 10 ค. 75)
"The man from the East will come out of his seat,
Passing across the Apentines to see France,
He will fly through the sky, the rains and snows,
And strike everyone with the rod."
"บุรุษจากตะวันออกจะลุกออกจากที่ประทับ
เดินทางผ่าน(เทือกเขา) อาเพนไนส์เข้าสู่ฝรั่งเศส
เขาจะบินมาบนท้องฟ้า ฝ่าสายฝน และหิมะ
และตีกระทบด้วยไม้วิเศษ"
โคลงทั้งสองบทข้างต้น ชี้ชัดว่าผู้นำแห่งศรัทธาใหม่ จะต้องมาจากเอเชียแน่นอน แต่อาจจะต้องเดินทางไกลเพื่อเผยแผ่สัจจธรรมจนมีถิ่นฐานในยุโรป และเป็นอัครสาวกขององค์เทพผู้ยิ่งใหญ่ คำว่า "Hermes" เดิมเป็นชื่อเทพเจ้าของชาวกรีกโบราณ จะเป็นไปได้หรือไม่ว่า ผู้นำของ "ศรัทธาใหม่" จะเป็น สาวกของพระพุทธเจ้า
ในโคลงบทที่ ซ. 3 ค. 31 นอสตราดามุสบันทึกคำทำนายไว้ดังนี้
"The moon in the middle of the night…
The young sage alone with his mind has seen it.
His disciples invite him to become immortal…
His body in the fire…"
"ดวงจันทร์ลอยเด่นยามราตรี…
หนุ่มคงแก่เรียนผู้สันโดษมองเห็นภาพในดวงจิต
เหล่าสาวกจะอัญเชิญท่านไปสู่ความเป็นอมตะ
ร่างของท่านอยู่ในเพลิง"
นอสตราดามุสระบุถึงพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ มี "หนุ่มคงแก่เรียน" "เห็นภาพในดวงจิต" "ไปสู่ความเป็นอมตะ" และ "ร่างของท่านอยู่ในเพลิง" ผู้นำของศรัทธาใหม่น่าจะเป็นพระสงฆ์ "เห็นภาพในดวงจิต" น่าจะหมายถึง การเห็นภาพในสมาธิ เพราะมีโคลงบทอื่นๆ ที่ระบุว่า "เห็นสัจจธรรมด้วยดวงตาที่ปิด" หรือ "เปล่งวาจาด้วยปากที่ปิดแน่น" หรือ "การมองเห็นภาพลักษณ์ในความสงบของผืนทะเลสาบ" เป็นต้น
"ศรัทธาใหม่" ของสังคมโลก ท่านได้พาดพิงไปถึง "พระจันทร์" หรือ "ดวงจันทร์" หรือแม้แต่ "แสงจันทร์" คลายครั้งหลายคราระบุแม้กระทั่งว่า ผู้นำของ "ศรัทธาใหม่" ของโลกนี้ จะมีชื่อเกี่ยวกับ "พระจันทร์" หรือ The Moon เห็นได้จากโคลงทำนาย ซ. 2 ค. 28 ข้างล่างนี้
หลวงพ่อวัดปากน้ำฯในวัยหนุ่ม
"Second to the last of the prophet’s name,
Will take Diana’s day(The moon’s day) as his day of silent rest…
He will travel far and wide in his drive to infuriate,
delivering a great people from subjection."
"พยางค์ที่สองของนามศาสดาพยากรณ์
จะใช้วันแห่งพระจันทร์เป็นวันสำหรับพักในความเงียบ
เขาจะเดินทางกว้างและไกล ส่งแรงขับทำให้ผู้คนสะดุดใจ
และนำพามหาชนให้หลุดพ้นจากความเป็นข้า(ของบ่วงกรรม?)" ซ. 2 ค. 28
ประโยคที่บอกว่า "พักในความเงียบ" และ "วันแห่งพระจันทร์" ถ้ามาเชื่อมกับโคลงที่พรรณาว่า "หนุ่มคงแก่เรียนผู้สันโดษเห็นภาพในดวงจิต" จะเป็นไปได้มากทีเดียวว่า นอสตราดามุสมองเห็นภาพการนั่งวิปัสสนากรรมฐาน ในวันพระจันทร์เต็มดวง เพราะมีอีกโคลงที่พรรณาว่า
"They see the truth with eye closed,
Speak the fact with closed mount…
Then at the time of need the awaited one will come late…"
"พวกเขาเห็นสัจจธรรมด้วยดวงตาที่ปิด…
เปล่งสัจจวาจาด้วยปากที่ปิดแน่น…
บุคคลอันเป็นที่พึ่งยามต้องการจะมาถึงช้า … " (ซ. 5 ค. 96)
โคลงทำนายบทนี้ยิ่งชี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า ศรัทธาใหม่ของโลกมนุษญ์จะสัมพันธ์กับการนั่งสมาธิวิปัสสนากรรมฐานอย่างแน่นอน การมองเห็นสัจจธรรมด้วยดวงตาที่ปิด และเปล่งสัจจวาจาด้วยวาจาที่ปิดแน่น จะเป็นสิ่งอื่นไปไม่ได้ นอกจากการนั่งสมาธิจนถึง ธรรมะ ภายใน มองเห็นดวงธรรม เห็นกายในกาย เห็น ธรรมกาย
ยังมีโคลงทำนายที่น่าจะตีความได้ว่าเป็นการบ่งบอกถึงการนั่งวิปัสสนากรรมฐานกับความหมายที่เกี่ยวกับ "พระจันทร์" อีกโคลงคือ
"the great amount of silver of Diana (Moon) and Mercury (Hermes)
The images will be seen in the lake (the mind of meditation)
the sculptor looking for new clay,
He and his followers will be soaked in Gold."
"รัศมีสีเงินของแสงจันทร์กับบารมีแห่งองค์เทพแผ่กระจายกว้าง
ภาพลักษณ์ที่ปรากฏในความสงบของผืนทะเลสาบ
ประติมากรเสาะหาดินปั้นใหม่
ร่างของท่านกับผู้ติดตาม (สาวก) จะถูกฉาบ (หล่อ) ด้วยทองคำ" (ซ. 9 ค. 12)
คำว่า Diana ในภาษาฝรั่งเศสหมายถึงพระจันทร์ การออกเสียงแบบฝรั่งเศสยังตรงกับคำว่า Dhyana หรือ ฌาณ อันหมายถึงการนั่งวิปัสสนา ประโยคที่ว่า "ภาพลักษณ์ที่ปรากฏในความสงบของผืนทะเลสาบ" หมายถึงการเข้าฌาณจากการนั่งวิปัสสนาอย่างชัดเจน
ประโยคใน ซ. 9 ค. 12 ที่บอกว่า "ประติมากรเสาะหาดินปั้นใหม่" น่าจะตีความได้ว่า สาวกของผู้นำศรัทธาใหม่นี้ จะต้องพยายามค้นหาสูตรหรือ มรรควิธีที่จะนำพาผู้ติดตามไปสู่แนวทางแห่งแสงสว่างแห่งสัจธรรม เป็นทางออกใหม่ หรือ ทางเลือกใหม่ หรือที่พึ่งใหม่ทางจิตวิญญาณที่หิวกระหายสัจธรรมของมนุษย์
สำหรับในประเทศไทย ที่วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี จะมีมหาชนหลั่งไหลมาจากทุกทิศของประเทศ รวมทั้งชาวต่างประเทศ มาปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิวิปัสสนากรรมฐาน โดยการปฏิบัติของที่นี่ใช้ "วิชชาธรรมกาย" ของพระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) หรือที่รู้จักกันในนาม "หลวงพ่อวัดปากน้ำฯ" เป็นฐานของคำสอน
ในขณะที่ศึกษาต้นกำเนิดของวัดพระธรรมกาย ก็ได้พบปรากฏการณ์ ที่น่าตื่นเต้นแห่งศรรตวรรษโดยบังเอิญ เพราะหลวงพ่อวัดปากน้ำ มีฉายาทางพระว่า "สด จนฺทสโร" ชื่อในพยางค์ที่สองของท่าน มีความหมายตรงกับคำว่า "พระจันทร์" พ้องกับคำทำนายของนอสตราดามุสอย่างชัดเจน จากจุดเริ่มต้นนี้เอง ความลี้ลับของโคลงทำนายของนอสตราดามุส จึงได้ถูกไขออกเป็นข้อๆ
จากการศึกษาชีวประวัติของหลวงพ่อวัดปากน้ำ "สด จันทสโร" พบว่า ตลอดชีวิตท่าน เป็นพระที่เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัยและธรรมปฏิบัติ จนค้นพบมรรควิธีเจริญทางธรรมะบรรลุถึง "วิชชาธรรมกาย" ที่สูญหายไปจากโลกนี้แล้วกว่าสองพันปี เผยแผ่พระธรรมคำสอนจนกระทั่งมรณะภาพ ในปี พ.ศ. 2502 คงเหลือไว้แต่วิชชาธรรมกายไว้เป็นมรดกของโลก
เมื่อเห็นวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ปี พ. ศ. 2460 เป็นวันที่หลวงปู่สด จนฺทสโร บรรลุถึง "วิชชาธรรมกาย" ทำให้โคลงทำนายของนอสตราดามุสทุกบทที่พรรณนาถึง "ศรัทธาใหม่" ของโลกเด่นชัดขึ้นมาฉับพลัน เข้าใจถึงเหตุผลทำไมนอสตราดามุสถึงได้พร่ำเอ่ยถึง "พระจันทร์" กับ "ดวงจันทร์" มากมายผิดปกติ
พระมงคลเทพมุนี ได้เคยเทศนาส่วนที่เกี่ยวกับ "วิชชาธรรมกาย" ไว้ว่า "ธรรมจะต้องชนะอธรรมเสมอ เราไม่เดือดร้อนใจ เพราะธรรมกายของพระพุทธศาสนาเป็นของแท้ ไม่ใช่ของเก๊ หรือของเทียม ธรรมกายจะปรากฏเป็นจริงแก่ผู้เข้าถึง"
โดยการตั้งข้อสันนิฐานจากตัวท่านเป็นแกนนำไปสู่ข้อพิสูจน์อื่นๆ แยกเป็นประเด็นๆ เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนดังนี้
การค้นพบวิชชาธรรมกาย คือ การค้นพบศรัทธาใหม่ของโลกจากเอเชียหรือ The New Faith
พระมงคลเทพมุนี คือสาวกแห่งศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ในเอเชีย (Issued from the great Hermes)
หนุ่มคงแก่เรียนผู้สันโดษเห็นภาพในดวงจิต (The young sage alone with his mind has seen it.) ด้วยวัยเพียง 32 ปีของภิกษุสด จนฺทสโร เป็นผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
กายที่ห่มด้วยจีวรสีเพลิง (His body in the fire) ร่างของท่านอยู่ในเพลิง
มือที่ถือไม้ชี้ (He strikes everyone with the rod) ตีทุกคนด้วยแขนงไม้
วันที่เข้าถึง "ธรรมกาย" คือวันขึ้น 15 ค่ำ พระจันทร์เต็มดวง ตรงกับ "พระจันทร์ลอยเด่นยามราตรี" ท่านนั่งวิปัสสนากรรมฐาน "จนสามารถเห็นภาพในดวงจิต" "ภาพลักษณ์ปรากฏในความสงบของผืนทะเลสาบ" เห็นธรรมกายจาก "การเห็นสัจธรรมด้วยดวงตาที่ปิด" และเปล่งสัจวาจาด้วยปากที่ปิดแน่น" และ "ประติมากรเสาะหาดินปั้นใหม่" คือวิธีการพบสัจธรรมวิธีใหม่
พยางค์ที่สองของนามศาสดาพยากรณ์ที่มีความหมายตรงกับพระจันทร์ ตรงกับชื่อพยางค์ที่สองของหลวงปู่พระมงคลเทพมุนี คือ สด จนฺทสโร
"เหล่าสาวกจะอัญเชิญท่านไปสู่ความเป็นอมตะ ร่างของท่านอยู่ในเพลิง" (ความเห็นของผมเอง เข้าใจว่า ร่างของหลวงพ่อวัดปากน้ำ เหล่าสานุศิษย์ ที่ยังไม่ได้เผา (ยังเก็บรักษาไว้ที่วัดปากน้ำ) จึงอาจตีความได้ว่า ร่างท่านยังเป็นอมตะอยู่ในจีวรสีเพลิง
"ร่างของท่านกับผู้ติดตาม(สาวก)จะถูกฉาบหรือหล่อด้วยทองคำ" วัดพระธรรมกายได้มีการหล่อรูปเหมือนหลวงพ่อวัดปากน้ำเป็นทองคำ ตามด้วยหล่อรูปเหมือนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง (ลูกศิษย์ หรือ ผู้ติดตาม) เป็นทองคำเช่นเดียวกัน
จากหนังสือ "นอสตราดามุส" โดยศาสตราจารย์เจริญ วรรธนะสิน พิมพ์ครั้งที่ 8 สำนักพิมพ์ คู่แข่ง