ถ้าสมมุติมีคนบางคนทีเราเคยเเนะนำเค้าเกี่ยวกับการทำผิดศิล
เเต่มีมีคำตอบมาอย่างนึงว่า "ก็ผมไม่ได้รับศิลแล้วผมจะผิดศิลได้อย่างไร"
ผมก็
เป็นนทุกคนทุกคนจะให้คำตอบให้เค้ายังไงดีครับ
.....................................................................
คนหัวหมอ...
เริ่มโดย Daemusin, Dec 31 2009 04:03 PM
มี 7 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 31 December 2009 - 04:03 PM
คนที่ไม่มีปัญหาคือคนที่ไม่ได้ทำ
#2
โพสต์เมื่อ 31 December 2009 - 04:45 PM
ต้องถามคนตั้งกระทู้กลับครับ ว่าตอบไปว่ายังไง แล้ว feedback คืออะไร :-)
"ชีวิตนี้อุทิศเพื่อพระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกาย"
#3
โพสต์เมื่อ 31 December 2009 - 04:52 PM
ยังครับ คือมีคนรู้จักอยู่คนนึง ซึ่งคิดว่าน่าจะถามเเบบนี้ ถ้าผมจะชวนเค้ามานั่งสมาธิ
เลยต้องเตรียมหาคำตอบไว้ หลายๆ รูปเเบบ นะครับ
เลยอยากลอง ความคิดเห็นหลายๆมุม น่ะครับ
.........................................
เลยต้องเตรียมหาคำตอบไว้ หลายๆ รูปเเบบ นะครับ
เลยอยากลอง ความคิดเห็นหลายๆมุม น่ะครับ
.........................................
คนที่ไม่มีปัญหาคือคนที่ไม่ได้ทำ
#4
โพสต์เมื่อ 31 December 2009 - 05:47 PM
..น้ำทะเล เค็มฉันใด ทำผิดศีล ก็ผิดฉันนั้น แม้จะบอกว่าไม่ได้รับศีล
..การอาราธนาศีล เป็นการ"ตั้งใจ"ที่จะทำศีลให้บริสุทธิ์..
ไม่อาราธนาก็ได้ ไม่เกี่ยวกับไม่อาราธนาแล้วทำผิดศีล แล้วไม่ผิด...
...
..การอาราธนาศีล เป็นการ"ตั้งใจ"ที่จะทำศีลให้บริสุทธิ์..
ไม่อาราธนาก็ได้ ไม่เกี่ยวกับไม่อาราธนาแล้วทำผิดศีล แล้วไม่ผิด...
...
#5
โพสต์เมื่อ 31 December 2009 - 08:08 PM
ก้อนเหล็กแดง ไม่ว่าจะรู้หรือไม่รู้ เมื่อจับย่อมร้อนเหมือนกันหมด
ผิดศีลไม่ว่าจะรู้หรือไม่รู้ย่อมบาปเช่นกัน แต่คนที่รู้ย่อมบาปน้อยกว่า เพราะจะทำด้วยความระมัดระวัง
ผิดศีลไม่ว่าจะรู้หรือไม่รู้ย่อมบาปเช่นกัน แต่คนที่รู้ย่อมบาปน้อยกว่า เพราะจะทำด้วยความระมัดระวัง
#6
โพสต์เมื่อ 31 December 2009 - 08:45 PM
ศีล...เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติของมนุษย์...
การรักษาศีลนั้นอยู่ที่เจตนา...ต้องเริ่มต้นที่เวรมณี หรือ วิรัติ หมายถึง ความตั้งใจงดเว้นจากความชั่วนั่นเอง
วิรัติ...เป็นสิ่งบ่งชี้ถึงการมีศีล...แบ่งเป็น 3แบบ
1. สมาทานวิรัติ คือ ความตั้งใจงดเว้นจากบาป เพราะได้สมาทานศีลไว้แล้ว
2. สัมปัตตวิรัติ คือ ความตั้งใจงดเว้นจากบาปเมื่อเกิดเรื่องขึ้นเฉพาะหน้า แม้เดิมทีไม่ได้สมาทานศีลไว้ แต่เมื่อไปพบเหตุการณ์ที่ชวนให้ล่วงละเมิดศีล ก็คำนึงถึง ชาติ ตระกูล การศึกษา หรือความดีต่างๆ เป็นต้น จึงทำให้เกิดความตั้งใจที่จะงดเว้นจากบาปเวรขึ้นในขณะนั้นนั่นเอง
3. สมุจเฉทวิรัติ คือ ศีลของพระอริยเจ้า
ดังนั้น...การรับศีลนั้นเป็นกระบวนการแสดงออกซึ่งเจตนารมย์...แม้ไม่รับศีล ก็ต้องมีมนุษยธรรมเป็นปกติ
แม้จะไม่ได้รับศีลก็สามารถรักษาศีลได้...ในทางกลับกัน หากปราศจากความตั้งใจรักษาแล้ว ก็ไม่จัดว่าเป็นการรักษาศีล
คงต้องแนะนำด้วยจิตเมตตาครับ...ว่า...คนทุศีลอาจรอดจากกฎหมาย แต่เสี่ยงต่ออบาย ...จึงไม่ควรฉลาดในทางเสื่อม...โดยอ้างเหตุแห่งกฎหมาย ....ควรศึกษาให้รู้เท่าทันอุบายแห่งความเสื่อม เพื่อเอาตัวรอดปลอดภัยในวัฎฎะสงสารนี้ครับ
ลิ๊งค์โทษของการละเมิดศีล...ให้แล้ว
http://main.dou.us/v..._id=390&page=10
การรักษาศีลนั้นอยู่ที่เจตนา...ต้องเริ่มต้นที่เวรมณี หรือ วิรัติ หมายถึง ความตั้งใจงดเว้นจากความชั่วนั่นเอง
วิรัติ...เป็นสิ่งบ่งชี้ถึงการมีศีล...แบ่งเป็น 3แบบ
1. สมาทานวิรัติ คือ ความตั้งใจงดเว้นจากบาป เพราะได้สมาทานศีลไว้แล้ว
2. สัมปัตตวิรัติ คือ ความตั้งใจงดเว้นจากบาปเมื่อเกิดเรื่องขึ้นเฉพาะหน้า แม้เดิมทีไม่ได้สมาทานศีลไว้ แต่เมื่อไปพบเหตุการณ์ที่ชวนให้ล่วงละเมิดศีล ก็คำนึงถึง ชาติ ตระกูล การศึกษา หรือความดีต่างๆ เป็นต้น จึงทำให้เกิดความตั้งใจที่จะงดเว้นจากบาปเวรขึ้นในขณะนั้นนั่นเอง
3. สมุจเฉทวิรัติ คือ ศีลของพระอริยเจ้า
ดังนั้น...การรับศีลนั้นเป็นกระบวนการแสดงออกซึ่งเจตนารมย์...แม้ไม่รับศีล ก็ต้องมีมนุษยธรรมเป็นปกติ
แม้จะไม่ได้รับศีลก็สามารถรักษาศีลได้...ในทางกลับกัน หากปราศจากความตั้งใจรักษาแล้ว ก็ไม่จัดว่าเป็นการรักษาศีล
คงต้องแนะนำด้วยจิตเมตตาครับ...ว่า...คนทุศีลอาจรอดจากกฎหมาย แต่เสี่ยงต่ออบาย ...จึงไม่ควรฉลาดในทางเสื่อม...โดยอ้างเหตุแห่งกฎหมาย ....ควรศึกษาให้รู้เท่าทันอุบายแห่งความเสื่อม เพื่อเอาตัวรอดปลอดภัยในวัฎฎะสงสารนี้ครับ
ลิ๊งค์โทษของการละเมิดศีล...ให้แล้ว
http://main.dou.us/v..._id=390&page=10
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC
#7
โพสต์เมื่อ 31 December 2009 - 08:50 PM
บอกเขาว่า ศีล ไม่ใช่ข้อห้ามนะครับ แต่ศีล แปลว่า ปรกติ
ปรกติของอะไร ปรกติของความเป็นมนุษย์ผู้มีใจสูงน่ะครับ
ปรกติของมนุษย์จะต้องไม่ฆ่า ไม่ลัก(แย่งชิงสิ่งของกัน) ไม่ผิดในกาม ไม่พูดปดส่อเสียดคำหยาบเพ้อเจ้อ และมีสติ
แต่หากมนุษย์ฆ่ากัน ซึ่งผิดปรกติของมนุษย์ มนุษย์ก็ไม่ต่างจากสัตว์ที่มุ่งร้ายต่อกัน ฆ่ากันเป็นปรกติเพื่อผลประโยชน์ เช่น แย่งอาหาร
หรือ หากมนุษย์ลักขโมยแย่งชิงสิ่งของกัน ซึ่งผิดปรกติของมนุษย์ มนุษย์ก็ไม่ต่างจากสัตว์ที่แย่งชิงอาหารกันเป็นเรื่องปรกติน่ะครับ
หรือ หากมนุษย์สำส่อน ลูกเขาเมียใครไม่เว้น มนุษย์ก็ไม่ต่างจากสัตว์ที่ไม่มีความผูกพันฉันท์สามีภรรยาน่ะครับ สมสู่กับตัวไหนก็ได้ เป็นต้น
หรือ หากมนุษย์พูดปดด่าว่ากัน มนุษย์ก็ไม่ต่างจากสัตว์ที่ส่งเสียงด่าว่าข่มขู่กัน เพื่อแย่งอาหาร เพื่อเอาชนะกัน เป็นต้นครับ
หรือ หากมนุษย์ดื้มน้ำเมา มนุษย์ก็จะไร้สติ ไม่ต่างจากสัตว์ที่ไม่มีสติรับรู้ผิดชอบชั่วดีครองกาย น่ะครับ
ดังนั้น การรักษาศีล จึงเป็นการรักษาความเป็นปรกติของความเป็นมนุษย์ แม้จะไม่ได้รับศีลก็ตาม หากไม่ได้ตั้งใจรักษาศีล ก็เท่ากับไม่รักษาปรกติของความเป็นมนุษย์น่ะครับ แล้วจะเป็นอะไรล่ะ ก็ต้องให้เพื่อนเจ้าของกระทู้ไปคิดดูครับ
ปรกติของอะไร ปรกติของความเป็นมนุษย์ผู้มีใจสูงน่ะครับ
ปรกติของมนุษย์จะต้องไม่ฆ่า ไม่ลัก(แย่งชิงสิ่งของกัน) ไม่ผิดในกาม ไม่พูดปดส่อเสียดคำหยาบเพ้อเจ้อ และมีสติ
แต่หากมนุษย์ฆ่ากัน ซึ่งผิดปรกติของมนุษย์ มนุษย์ก็ไม่ต่างจากสัตว์ที่มุ่งร้ายต่อกัน ฆ่ากันเป็นปรกติเพื่อผลประโยชน์ เช่น แย่งอาหาร
หรือ หากมนุษย์ลักขโมยแย่งชิงสิ่งของกัน ซึ่งผิดปรกติของมนุษย์ มนุษย์ก็ไม่ต่างจากสัตว์ที่แย่งชิงอาหารกันเป็นเรื่องปรกติน่ะครับ
หรือ หากมนุษย์สำส่อน ลูกเขาเมียใครไม่เว้น มนุษย์ก็ไม่ต่างจากสัตว์ที่ไม่มีความผูกพันฉันท์สามีภรรยาน่ะครับ สมสู่กับตัวไหนก็ได้ เป็นต้น
หรือ หากมนุษย์พูดปดด่าว่ากัน มนุษย์ก็ไม่ต่างจากสัตว์ที่ส่งเสียงด่าว่าข่มขู่กัน เพื่อแย่งอาหาร เพื่อเอาชนะกัน เป็นต้นครับ
หรือ หากมนุษย์ดื้มน้ำเมา มนุษย์ก็จะไร้สติ ไม่ต่างจากสัตว์ที่ไม่มีสติรับรู้ผิดชอบชั่วดีครองกาย น่ะครับ
ดังนั้น การรักษาศีล จึงเป็นการรักษาความเป็นปรกติของความเป็นมนุษย์ แม้จะไม่ได้รับศีลก็ตาม หากไม่ได้ตั้งใจรักษาศีล ก็เท่ากับไม่รักษาปรกติของความเป็นมนุษย์น่ะครับ แล้วจะเป็นอะไรล่ะ ก็ต้องให้เพื่อนเจ้าของกระทู้ไปคิดดูครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร
#8
โพสต์เมื่อ 01 January 2010 - 09:00 PM