พอดีวันนี้ฟังชาดกมาถึงชาดกนี้
เห็นมีคนบอกว่าทำออกมาไม่ตรงกับชาดกจริงๆ ลองค้นดูในเน็ตแล้วเจอแค่ตอนท้ายสั้นๆ ที่โดนจักรค้างบนหัวแล้ว
เลยอยากทราบที่มาของชาดกว่าตอนต้นเป็นมาอย่างไรครับ
โพสต์เมื่อ 07 May 2014 - 06:11 PM
พอดีวันนี้ฟังชาดกมาถึงชาดกนี้
เห็นมีคนบอกว่าทำออกมาไม่ตรงกับชาดกจริงๆ ลองค้นดูในเน็ตแล้วเจอแค่ตอนท้ายสั้นๆ ที่โดนจักรค้างบนหัวแล้ว
เลยอยากทราบที่มาของชาดกว่าตอนต้นเป็นมาอย่างไรครับ
โพสต์เมื่อ 09 May 2014 - 01:03 PM
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 280
๒. มิตตวินทกชาดก
ว่าด้วยจักรบดศีรษะ
[๘๒] "ท่านเลยปราสาทแก้วผลึก ปราสาทเงิน
และปราสาทแก้วมณีมาแล้ว มาถูกจักรกรด
สำเร็จด้วยหินพัดผันอยู่ ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่
ก็จักไม่พ้นจากจักรกรดตราบนั้น"
จบ มิตตวินทกชาดกที่ ๒
อรรถกถามิตตวินทกชาดกที่ ๒
พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุว่ายากรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า อติกฺกมฺม รมณก ดังนี้.
ก็เรื่องของชาดกนี้ เป็นเรื่องเกิดขึ้นครั้งศาสนาของ
พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า จักแจ่มแจ้งในมหามิตตวินทกชาดก
หลักนิบาต ก็ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์กล่าวคาถานี้ ความว่า
" ท่านเลยปราสาทแก้วผลึก ปราสาทเงิน
และปราสาทแก้วมณี มาแล้ว มาถูกจักรกรด
สำเร็จด้วยหินพัดผันอยู่ ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่
ก็จักไม่พ้นจากจักรกรดตราบนั้น " ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 281
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รมณก เป็นชื่อของแก้วผลึก
ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์แสดงว่า เจ้านั้นสิผ่านพ้นปราสาทแก้ว-
ผลึกไปเสียแล้ว.
บทว่า สทามตฺตญฺจ เป็นชื่อของเงิน. พระโพธิสัตว์แสดงว่า
เจ้านั้นสิผ่านปราสาทเงินไปเสียแล้ว.
บทว่า ทูภก เป็นชื่อของแก้วมณี พระโพธิสัตว์แสดงว่า
เจ้านั้นสิผ่านปราสาทแก้วมณีไปเสียแล้ว.
บทว่า สฺวาสิ ตัดบทเป็น โส อสิ แปลว่า เจ้านั้นสิ.
บทว่า ปาสาณมาสีโน ความว่า ที่ชื่อว่า จักกรดนั้น สำเร็จ
ด้วยหินก็มี สำเร็จด้วยแก้วมณีก็มี แต่จักรกรดอันที่เจ้าถูกมัน
ขยี้บดทับนั้น สำเร็จด้วยหิน เพราะเหตุที่มาต้องจักรกรดสำเร็จ
ด้วยหิน เมื่อควรจะกล่าวว่า ปาสาณาสีโน กลับกล่าวว่า ปาสาณ-
มาสีโน โดยถือเอา ม อักษร ด้วยอำนาจพยัญชนะสนธิ มีอธิบาย
ไว้อีกนัยหนึ่งว่า ทูลหัวจักรกรดหิน คือมาถูกจักรกรดนั้นพัดผัน
ยืนอยู่.
บทว่า ยสฺมา ชีว น โมกฺขสิ ความว่า ทั้ง ๆ ที่ยังเป็น ๆ
อยู่นั้นแหละ จักไม่พ้นไปจากจักรกรดได้ ต้องทูนมันไว้ จนกว่า
บาปกรรมของเจ้าจะสิ้นไป.
พระโพธิสัตว์กล่าวคาถานี้แล้ว เสด็จไปสู่เทวสถานแห่ง
ตนทันที ฝ่ายมิตตวินทุกะเล่า ก็ทูลจักรกรดไว้ เสวยทุกข์อย่าง
มหันต์ ครั้นบาปกรรมหมดไป ก็ไปตามยถากรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 282
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า มิตตวินทกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุว่ายากในครั้งนี้
ส่วนท้าวเทวราช ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามิตตวินทกชาดกที่ ๒
ชาดกจริงมีเพียงเท่านี้ครับ
โพสต์เมื่อ 09 May 2014 - 08:28 PM
แต่การผลิตเป็นนิทานธรรม เพื่อสอนใจเด็ก ต้องมีอะไรที่ง่ายและไม่ซับซ้อน รวมทั้งมีที่มา ที่ไป ตามลำดับขั้นตอนเหตุการณ์
โพสต์เมื่อ 15 May 2014 - 12:56 PM
ให้เด็กๆฟัง ฝึกจับประเด็น นำมาเป็นข้อคิด
โพสต์เมื่อ 22 May 2014 - 12:15 PM
ขอบคุณทั้งสองท่านมากๆ ที่ช่วยให้ความกระจ่างครับ จะได้ใช้เป็นข้อมูลชี้แจงให้กับคนที่สงสัยต่อไปครับ