กำหนดจิต ที่ลมหายใจ ..จิตจะไปอยู่ที่ไหนครับ ฐานที่อะไรครับ
กำหนดจิต ที่ลมหายใจ ..จิตจะไปอยู่ที่ไหนครับ
#1
โพสต์เมื่อ 04 May 2016 - 08:08 PM
#2
โพสต์เมื่อ 04 May 2016 - 11:51 PM
เป็นคำถามที่ผนวก ๒ ประเด็นเอาไว้ด้วยกัน คือ (๑) จิตจะไปอยู่ที่ไหนครับ และ (๒) ฐานที่อะไรครับ ขอแยกตอบแบบนี้นะครบ
(๑) จิตจะไปอยู่ที่ไหนครับ
สำหรับคำถามนี้ ต้องตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า คุณจับลักษระลมหายใจที่ไหน จิตก็จะอยู่ที่นั่นครับ ถ้าจะพูดให้ง่ายขึ้น เช่น คุณจับลักษระลมหายใจที่จมูกว่ามีลมเข้า และ ลมออก จิตก็จะไปจับที่จมูก ... ถ้าคุณไปจับลักษณะลมหายใจที่อกหรือที่ท้อง ว่าพองขึ้น ยุบลง จิตก็จะไปจับอยู่ตรงนั้น .... แต่ถ้าจับลักษณะลมหายใจที่แนวทางเดินจากจมูก ไปช่ิงอก ไปท้อง จิตก็จะเคลื่อนไปตามแนวนั้น เริ่มที่จมูกไปสุดที่ช่องท้อง แล้วเริ่มจากช่องท้องไปสุดที่จมูกครับ ....
(๒) ฐานที่อะไรครับ
อันนี้อาจจะเข้าใจยากนิดนึงนะครับ ค่อยๆ พิจารณาไป การพิมพ์อาจจะไม่ได้รายละเอียดมากนัก แต่จะพยายามครับ ... การทำบริกรรมภาวนาเบื้องต้นในทุกสำนักเมื่อใจรวมเป็นหนึ่งแล้ว จะมีอาการเหมือนกันหมดครับ คือ โปร่ง โล่ง เบา สบาย สว่าง อิ่มอยู่ในปิติ จนสิ่งที่จิตจับอยู่นั้นเลือนหายไปเอง ไม่นึกถึง ไม่ได้ยินคำบริกรรมภาวนาอีก ซึ่งจัดเป็นฌาณในเบื้องต้น คือ อิ่มปิติในสุขจากการใจหยุด ใจนิ่ง ใจรวม ... จากนั้น ก็จะเป็นแนวทางการเดินใจของแต่ละสำนักตามจริตของผู้สอน เป็นกายในกาย จิตในจิต ยังไม่ไปจับที่ฐานใดทั้งนั้น
แต่ต่อจากนั้น ก็แล้วแต่คำสอนของพระอาจารย์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการพิจารณากายในกาย จิตในจิต ต่อไปอีก แล้วแต่ว่าสำนักยึดสิ่งใดเป็นอารมณ์ (ตรงนี้ไม่ค่อยถนัดของผ่านแค่นี้นะครับ) แต่สุดท้ายแล้วจะไปรวมที่ฐานที่ ๗ ทั้งหมดตามคำของพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ (ตรงนี้ต้องขออ้างอิงธรรมของพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ นะครับ เพราะเป็นการถามถึงฐานที่ตั้งของใจ เป็นการอ้างอิงจากผลการปฏิบัติ)
การทำบริกรรมภาวนาในแนวทางวิชชาธรรมกายเอง ในขั้นแรกก็ให้ใจจับที่คำบริกรรมภาวนา และ ภาพนิมิตที่กลางท้อง เพื่อให้ใจมีที่จับ ลดความฟุ้งซ่าน เหมือนกับแนวทางอื่นๆ ครับ ไม่ได้มีความแตกต่า่งกัน และอาการใจหยุด ใจนิ่ง ใจรวมก็เป็นแบบเดียวกัน ต่อเมื่อเราพิจารณาหยุดในหยุด นิ่งในนิ่ง ต่อไป เมื่อใจถูกส่วน ก็จะไปรวมกันที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ครับ
จะเห็นได้ว่า การทำสมาธิภาวนา ในหลักการแล้วแทบจะไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย เน้นใจหยุด ใจนิ่งให้ได้ก่อน แล้วจึงพิจารณาจากการหยุด การนิ่งนั้น เพื่อเข้าถึงธาตุแห่งพระพุทธเจ้าภายในตัวของพวกเราทุกคน
เพราะฉะนั้น ถ้าเรามีจริตความชอบในแนวทางแบบไหน ก็เร่งเพียรในแนวทางที่ตัวเองทำแล้วสบายใจที่สุดนั้นไป อย่าละทิ้ง อย่าท้อถอย สุดท้ายก็จะเข้าถึงพระในตัวกันทุกคนครับ
.....................................
ปล. ช่วงนี้พระอาจารย์หลายๆ รูป ท่านติดภารกิจ ทั้งเตรียมตัวเป็นพระอาจารย์โครงการต่างๆ ทั้งเข้าปฏิบัติธรรมเพื่อฝึกตน ไม่รวมพระ สามเณรที่ท่านมีหน้าที่รับผิดชอบนอกเหนือจากกิจของสงฆ์อยู่แล้ว ... ทำให้ช่วงนี้อาจจะไม่มีพระอาจารย์เข้ามาตอบ ก็จะเหลือลูกศิษย์ท้ายวัดอย่างผมคอยตอบอยู่ ความรู้ก็เท่าหางอึ่ง ปฏิบัติก็มืดตื้อมืดมิด อาจจะไม่ได้คำตอบที่ลุ่มลึกนัก แต่ถ้ายังสงสัยก็ค่อยสอบถามได้ครับ ... ทนๆ กันไปก่อนนะครับ ... อย่าถือสากันเลยนะครับ
#3
โพสต์เมื่อ 05 May 2016 - 05:08 AM
อนุโมธนาสาธุครับ ขอบคุณมากครับ ขอถามต่อครับ
เคยนั่งแบบนึกดวงใสดรงกลาง เกิดความสว่าง แต่ไม่เห็นดวงใส ข้างในมันดันๆ เหมือนขยายๆ(ไม่เห็นแต่รู้สึก) แต่พอเลิกนั่ง แล้วไปเจอเรื่องบางเรื่องที่มีผลกระทบต่ออารมณ์ รู้สึกว่าใจมันวางไม่ได้
ถ้าเทียบกับการนั่งสาย พุท-โธ กำหนดใจที่ลมหายใจ(ในเวลาที่เท่ากัน) สายพุท-โธ วางอารมณ์ได้ง่ายกว่า
ถาม : ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นครับ ,
#4
โพสต์เมื่อ 05 May 2016 - 10:01 AM
เคยนั่งแบบนึกดวงใสดรงกลาง เกิดความสว่าง แต่ไม่เห็นดวงใส ข้างในมันดันๆ เหมือนขยายๆ(ไม่เห็นแต่รู้สึก)
ไม่มีอะไรครับ เป็นปฏิกิริยาย้อนกลับ เกิดจากการเผลอตัวเพ่งมองหาศูนย์กลางกายของเราเองครับ คือเราไปกดดันตัวเอง ..... ครั้งหน้าถ้าเป็นแบบนี้ ก็ให้เลิกมองหาศูนย์กลางกาย ทำใจว่างๆ นิ่งในนิ่ง หยุดในหยุด วางใจเบาๆ เหมือนตัวเราลงไปลอยนิ่งๆ อยู่ในแสงสว่างนั้นครับ ไม่มีบน มีล่าง ไม่มีซ้ายขวา เดี๋ยวอาการแบบนั้นก็จะหายไปเองครับ อย่าลุ้น เร่ง เพ่ง จ้อง ครับ(พูดง่าย แต่ทำยาก--ผมเองกว่าจะผ่านด่านนี้ก็หลายปีอยู่ ถึงทุกวันนี้ก็ไม่ได้ก้าวหน้าไปไหนไกล ฮือ ฮือ)
ไปเจอเรื่องบางเรื่องที่มีผลกระทบต่ออารมณ์ รู้สึกว่าใจมันวางไม่ได้ ถ้าเทียบกับการนั่งสาย พุท-โธ กำหนดใจที่ลมหายใจ(ในเวลาที่เท่ากัน) สายพุท-โธ วางอารมณ์ได้ง่ายกว่า
ไม่แปลกหรอกครับ จริต ความถนัด ความชอบ ของแต่ละคนแตกต่างกัน .. ถ้าแบบไหนเป็นแบบที่ถนัด ที่ชอบ เราก็จะทำได้ดีกว่าครับ
#5
โพสต์เมื่อ 06 May 2016 - 10:15 AM
ขอกราบอนุโมทนาบุญกับธรรมะใสๆ ที่ คุณ.ทัพพีในหม้อ ได้เอามาลงไว้ให้ได้ศึกษาในครั้ง นี้ด้วย ค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ