นั่งสมาธิอย่างไรจึงจะสบายๆและถูกหลักวิชชาธรรมกาย ?
#1
โพสต์เมื่อ 01 July 2010 - 02:52 AM
คือได้ยินได้ฟังมาก็มากแล้ว ลงมือปฎิบัติก็ทำแล้วแต่ก็ยังมีปัญหาคือ
1. นั่งตัวตั้ง หลังตรง ใบหน้าไม่เชิด หรือก้มลง ไหล่ไม่ยก หรือตกระดับ แต่บางทีทำไมหายใจไม่คล่องค่ะ
2. การวางมือ : มือขวาทับมือซ้าย ให้หัวแม่มือข้างซ้ายชนกับปลายนิ้วชี้ข้างขวาแล้ววางบน
หน้าตักแนบลำตัว ตรงนี้แหละปัญหาทำไมวางแนบลำตัวไม่ค่อยจะได้เลย ? และปลายนิ้วไม่คงที่ด้วยค่ะ
3. การวางเท้าขวาทับเท้าซ้าย มีเทคนิคอย่างไร ที่วางแล้วรู้สึกมั่นคง สมดุลย์ และรู้สึกสบาย ๆอยู่ได้นาน ๆค่ะ
ขอบพระคุณทุก ๆ คำแนะนำค่ะ
#2
โพสต์เมื่อ 01 July 2010 - 10:32 AM
การนั่งสมาธิที่ดีคือร่างกายกับจิตใจสบายๆผ่อนคลาย ปล่อยวางจากภาระรอบข้าง ถ้าอยู่บ้านแนะนำให้อาบน้ำชำระ
ร่างกายทุกครั้งให้สะอาดก่อน ส่วนท่านั่งไม่จำเป็นต้องเป๊ะมาก เพราะจะทำให้จิตกังวลติดอยู่กับร่างกายภายนอกมาก
เกินไป ให้ปรับท่านั่งให้สบายให้รู้สึกว่าไม่มีร่างกายส่วนไหนที่เกร็ง ตึง หรือเครียดเกินไป ถ้ากังวลว่าจะนั่งท่าไม่สวยไม่
เป็นไร นั่งบ่อยๆจนถึงระดับนึงจะสัมผัสได้เองว่าหลังเราจะตรงขึ้นมาเองโดยไม่จำเป็นต้องเกร็งเหมือนกับมีท่อภายในมาค้ำ
ไว้ยังไงอย่างนั้นเลย และอีกอย่างหาที่รองนั่งแบบที่ใช้นั่งสมาธิ จะช่วยทำให้นั่งได้ท่าขัดสมาธิพอดีไม่เมื่อยขาไม่สูงหรือต่ำ
เกินไปและที่สำคัญอย่า ลุ้น เร่ง เพ่ง จ้อง แบบที่หลวงพ่อบอก ก็จะนั่งดีขึ้นเรื่อย ที่สำคัญกว่านั้นนั่งทุกวันอย่าให้ขาดแม้
วันเดียวจะนั่งมืดตื้อมืดมิดยังไงก็ถือว่าสมาธิก้าวหน้าต่อเนื่องเป็นลำดับ ผิด ตกประการใด ขออภัยไว้ล่วงหน้าครับ
#3
โพสต์เมื่อ 01 July 2010 - 12:37 PM
เจ้าของกระทู้ อย่ากังวลใจเรื่อง ท่านั่ง ตำแหน่งการวางเท้า วางมือ นิ้ว เลยครับ
เรื่องการวางใจ ให้ถูกศูนย์(กลางกายฐานที่ ๗) ถูกส่วน สำคัญกว่า
จริงอยู่ว่า ท่านั่งที่ถูกต้อง นั้น มีผลต่อการปฏิบัติธรรม และการนั่งสมาธิได้นาน ๆ มีทุกขเวทนาจากความเมื่อย น้อยลง
คำถามคือ ??? เรายอมรับหรือไม่ว่า
๑ กายภาพของเรา ไม่ได้ลักษณะมหาบุรุษ โดยเฉพาะ ช่วงขา แขน นิ้ว
ดังนั้น การนั่งสมาธิในท่ามาตราฐาน จึงอาจไม่ใช่ท่านั่งที่สบายที่สุดของเราก็ได้
๒ ขนาดร่างกายเรา ความอ้วน ผอม ความสมดุลย์ทางกายภาพ
ก็มีส่วนทำให้การนั่งสมาธิในท่ามาตราฐาน ไม่ใช่ท่านั่งที่สบายที่สุดของเรา
หรือถึงขนาด ทำให้เราไม่สามารถนั่งขัดสมาธิ ถูกต้องตามมาตรฐานนั้นได้
๓ วัย ความเสื่อมของสภาพร่างกาย เส้นเอ็น และข้อต่ออวัยวะ คือ อุปสรรค ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ใครถึงวัย ส.ว. คงทราบเอง
สภาพความเป็นจริงโดยย่อดังกล่าวนี้ พอแก้ไขได้บ้างครับ
เช่น
การออกกำลังกาย ยืดเส้น เช่น โยคะ
(แต่ถ้าสูงวัยหรือมีปัญหาสุขภาพ ต้องเลือกท่าโยคะที่ ไม่อันตรายอวัยวะ ข้อต่อนั้น ๆ ด้วยนะครับ)
และการใช้อาสนะ ที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของเรา
ฯล
ดังนั้น ถ้าเจ้าของกระทู้ วางแขนแนบลำตัวละวางนิ้วให้จรดกันพอดี อย่างมั่นคง ไม่ได้
ก็ช่างมันเถิดครับ
อย่าลืมว่า เรานั่งเอาธรรมะ ไม่ได้นั่งเอาท่าสง่างาม
ดังนั้น แค่นั่งในท่าที่เรารู้สึกสบาย นั่งได้นาน ๆ เมื่อยช้า ๆ
มีความพอใจที่เราได้นั่งสมาธิ มีความพอใจในท่านั่งที่เราทำได้
ก็ดีแล้วนะครับ
คิดซะว่า นั่งสมาธิเพื่อการกุศล (ความเจริญในกุศลธรรมของเราเอง)
ดีกว่าวิ่งเพื่อการกุศล ที่ต้องเหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้าอีกนะครับ
แต่สำหรับท่านที่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว ก็สมควรฝึกนั่งขัดสมาธิ ในท่ามาตราฐาน นะครับ
ใหม่ ๆ อาจไม่สะดวกบ้าง
แต่ถ้าเราขยันฝึกในท่านั่งมาตราฐาน และหมั่นออกกำลังกาย ยืดเส้น เช่น โยคะ และใช้อาสนะ ที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของเรา
สักวันก็ทำได้
ซึ่งจะมีผลดีระยะยาวทั้งในด้านสุขภาพและผลต่อการปฏิบัติธรรม ด้วยครับ
สรุป ผมคิดว่า
๑ สิ่งสำคัญ คือ เรื่องการวางใจ ให้ถูกศูนย์(กลางกายฐานที่ ๗) ถูกส่วน สำคัญกว่าท่านั่งครับ
๒ สุขภาพกาย และคุณภาพใจ + อิทธิบาทธรรม ๔ ครับ
สุขภาพกาย :
เรื่องอาหารมื้อก่อนนั่งสมาธิ ย่อยง่าย ไม่มากเกิน , น้ำดื่ม พอดีกับสภาพการขับถ่ายของร่างกายตนเอง ,
บริหารเส้น ด้วย โยคะ เช่น ท่า สุริยนมัสการ ฯล ,
ยาดม น้ำมันที่ช่วยให้สดชื่นยามง่วง , อาสนะที่เหมาะสมกับการนั่งสมาธิและร่างกายของตนเอง
อาบน้ำ ชำระกายให้สะอาด สดชื่น ฯล
จิตใจ :
ก่อนการนั่งสมาธิ ควรเตรียมความพร้อมของใจ ในระหว่างวัน
ด้วยการสร้าง-รักษาอารมณ์ดี อารมณ์สบาย ไม่มีเรื่องรกใจ กังวล คั่งค้างใจ เอื้อเฟื้อการนั่งสมาธิ ดีมากนะครับ
ซึงการสร้างกุศลกรรมบท ๑๐ ในระหว่างวัน
และตั้งใจรักษาศีล ๕ โดยเฉพาะ ศีล ๘ ให้ดี
ก็ยิ่งเอื้อเฟื้อและส่งเสริมผลการนั่งสมาธิ ในวันนั้น ๆ รอบ นั้น ๆ
ให้ใจเกลี้ยง จากบรรดาเรื่องรกใจ ให้ใจหยุด นิ่ง สงบ มั่นคง ได้ดียิ่งขึ้น
เพราะศีล ที่บริสุทธิ์ ยิ่งส่งเสริม สนับสนุน สมาธิ
การสวดมนต์ ทำวัตร ก่อนนั่งสมาธิ ก็ช่วยปรับใจ จากหยาบเข้าสู่ละเอียด ได้ครับ
และที่สำคัญมาก คือ
การวางใจ ถูกศูนย์ ถูกส่วน อย่างผ่อนคลาย แตะ แผ่ว เบา พอดีๆ ฯล
ตามที่ครูบาอาจารย์ สั่ง สอน แนะ นำ ไว้ดีแล้วครับ
มีกระทู้ที่เกี่ยวข้องการฝึกสมาธิมาให้พิจารณาครับ
อุปสรรคและวิธีแก้ไขในการทำสมาธิ
http://main.dou.us/l...t.php?id_mag=12
เทคนิคเบื้องต้นในการเข้าถึงดวงปฐมมรรค
http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=4292
ถาม-ตอบ ปัญหาการปฏิบัติธรรม
http://www.dmc.tv/fo...showtopic=17017
#4
โพสต์เมื่อ 01 July 2010 - 01:43 PM
เท่าที่เคยสังเกตุดูรูปปั้นองค์พระธรรมกาย หรือรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะคะ
จะเห็นว่า ส้นเท้าจะแนบชิดกับต้นขา และรู้สึกว่าข้อมือก็พาดอยู่นิดๆบนโคนขา
ลองดูรูปที่ขึ้นใน DMC ตอนนั่งปฏิบัติธรรม กรอบของร่างกายเวลามองจากด้านบน(top view)จะคล้ายๆ บุมเมอแรง ลองทำความรู้สึกว่าเรานั่งในท่าเหมือนที่ท่านนั่ง
จากพระธรรมเทศนาของหลวงปู่ ปลายนิ้วก้อยจะวางอยู่บนตาตุ่ม(ถ้าจำไม่ผิด)...สงสัยคงต้องกลับไปฟังท่านอีกรอบ
จากหลวงพ่อทัตตะ ต้องหาเบาะรองก้นให้ยกขึ้นสูงกว่าเท้า จะทำให้นั่งได้นานขึ้น เมื่อยขาน้อยลง
ท่าโยคะ
ท่างู บริหารหลัง กระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อหลัง
ท่าผีเสื้อ(ไม่แน่ใจเรียกชื่อถูกไม๊) ท่านี้จะทำให้สามารถนั่งในท่านั่งสมาธิแบบมาตรฐานได้ง่ายและนานขึ้น
ท่าโยคะของคุณยาย จำชื่อเรียกไม่ได้ ส่งเสริมการปฏิบัติธรรมเช่นกัน
เวลาใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ให้ลองนั่งขัดสมาธิ ให้มากขึ้น เพื่อปรับร่างกายให้เคยชินกับท่านั่งสมาธิ (อาจได้ผลเฉพาะบุคคล)
หากสุดท้ายแล้ว การวางใจ และความสบายกาย สำคัญที่สุดค่ะ เพราะเมื่อใจเข้าถึงธรรม(ไม่จำเป็นต้องถึงขนาด ตกศูนย์ หรือเห็นดวงปฐมรรค หรือองค์พระภายใน) แค่ใจละเอียดขึ้น เข้าถึงมิติแห่งความละเอียด ความสงบภายใน ร่างกายมันจะปรับไปตามสภาวะธรรมภายในเอง โดยที่เราไม่ต้องฝืน
เช่น กายจะตั้งตรงไปเองโดยอัตโนมัติ
ส่วนเรื่องปลายนิ้วไม่คงที่ ก็เป็นเหมือนกันค่ะ บางทีนั่งๆไป นิ้วก็ไม่ได้จรดกัน แต่ขอรับรองได้ว่าไม่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงธรรมแน่นอนค่ะ เพราะ นับจนถึงวันนี้... ได้สัมผัสความสุขจากการนั่งสมาธิ รู้สึกพอใจ ในผลการปฏิบัติธรรม และความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมของตัวเองค่ะ
ถามตอบปัญหาการปฏิบัติธรรม หมวดปรับร่างกาย
http://dmc.tv/index....medtopic&type=4
ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)
ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป
#5
โพสต์เมื่อ 01 July 2010 - 02:15 PM
ท่าผีเสื้อ
ท่างู
ท่านั่งก้มตัว Paschimottanasana
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ท่าโยคะบริหารร่างกาย เพื่อการนั่งสมาธิ คลิกเพื่อดู
ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)
ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป
#6
โพสต์เมื่อ 01 July 2010 - 03:27 PM
ถ้าชาวโลกต่างมีความรู้ทางด้านการนั่งสมาธิทั้งทางกายภาพ และวิธีการภาวนาได้อย่างนี้มากๆก็เยี่ยมเลยครับ
ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติม
ท่านั่งสมาธิแบบวิชชาธรรมกายนี้ หลวงปู่สดท่านจำลองแบบมาจากอายตนะนิพพาน ครับ
เช่นเดียวกับชุดพระภิกษุ พระพุทธเจ้าก็ตรัสเองว่า เป็นเครื่องแบบของพระอรหันต์ เป็นธงชัยของพระอรหันต์ ก็คือพระพุทธองค์ทรงจำลองแบบมาจากภายในทั้งนั้นครับ
ดังนั้นเราก็ควรพยายามนั่งให้ได้เหมือนกับต้นแบบมากที่สุด ได้ก็ดีครับ
แต่ถ้ากายภาพไม่ให้ ก็ไม่ต้องซีเรียส เราสามารถเข้าถึงธรรมได้ ทุกอิริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน เห็นดวงปฐมมรรคตอนนอนก็มีหลายท่านครับ แต่ท่านั่งเป็นท่าที่สมควรที่สุดแล้วครับ
คนล่ะครึ่งทางแล้วกันครับ ถ้าเรากำหนดท่ามากจนเกร็งก็ไม่สมควร แต่จะนั่งสบายเกินเหตุก็ยิ่งไม่ใช่เรื่อง นั่งบ่อยๆครับ แล้วจะลงตัวไปเองครับ
ส่วนเรื่องโยคะ ก็เป็นวิธีการอันชาญฉลาดของคนโบราณมากครับ ที่ะทำให้เราสามารถนั่งอยู่ในท่าสมาธิได้นานๆ..........สาธุๆๆ
ละธรรมดำ ยังธรรมขาวให้เจริญ
ธัมมะกาโย อะหัง อิติปิ
เราตถาคต คือธรรมกาย
#7
โพสต์เมื่อ 01 July 2010 - 09:20 PM
ซึ้งใจในทุกคำตอบ ขอบคุณมาก ๆทุกท่านค่ะ
หวังว่าความรู้นี้เป็นประโยช์นอย่างยิ่งกับผู้ที่พยายามปฎิบัติธรรมเพื่อให้ได้
เข้าถึงธรรม บรรลุธรรมไปเป็นลำดับ ขอกราบอนุโมทนาบุญกับธรรมทานนี้ด้วยค่ะ สาธุ ๆ ๆ
#8
โพสต์เมื่อ 02 July 2010 - 07:40 AM
ขอบันทึกเก็บใว้นะครับ
สาธุ ครับผม
#9 *sky noi*
โพสต์เมื่อ 02 July 2010 - 11:03 AM
#10
โพสต์เมื่อ 03 July 2010 - 12:30 AM
พี่ๆ ที่วัดกระซิบบอกว่า เป็นท่าโยคะที่ส่งเสริมการประพฤติพรหมจรรย์ค่ะ
ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)
ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป
#11
โพสต์เมื่อ 03 July 2010 - 01:18 AM
ลืมตอบครับ
ลองหาอะไรมารองก้นให้สูงสักนิดก็อาจจะช่วยได้นะครับ
#12
โพสต์เมื่อ 04 July 2010 - 08:45 PM
#13
โพสต์เมื่อ 18 July 2010 - 10:32 PM
1 ขอให้ร่างกายอยู่ในท่าที่สบาย เพราะเรานั่งเอาธรรมไม่ใช่เอาท่า (ไม่จำเป็นต้องหลังตรง บางคนนั่งหลังตรงกับเป็นฝืนไป)
2 ขอให้ใจเรานั้นสบาย ปลอดกังวล สดชื่น แจ่มใส
3 ให้เรามีสติ+ความสบายของกายและใจ
พอจ.ภาวนา ท่านบอกว่า ใจและกายไม่สบาย ธรรมกายก็ไม่เกิด
อนุโมทนาบุญนะครับ
เราพันธุ์ดีสุดขั้ว ชั่วลืมไปหมดแล้ว,จิตใจสูงส่งเหลือเกิน,มีปัญญา,มีมงคล,ทำที่ท่านได้ที่เรา
#14
โพสต์เมื่อ 20 September 2010 - 08:36 PM
จากหนังสือ ทางมรรคผล หรือ หลักการสอนสมถวิปัสสนากรรมฐาน ของ พระมงคลเทพมุนี วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กทม.
1_06.jpg 69.7K 30 ดาวน์โหลด
ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)
ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป
#15
โพสต์เมื่อ 13 October 2010 - 10:54 AM
#16
โพสต์เมื่อ 14 October 2010 - 11:50 AM
แต่ผมรู้สึกเหมือนจะเคยได้ฟังมาว่า
"นั่งเอาธรรม ไม่ได้นั่งเอาท่า"
นั่งให้สบาย ไม่ต้องกังวลกับท่าทางมากนัก
สำคัญคือ สามารถรวมใจที่ศูนย์กลางกายได้หรือไม่
เพราะจากที่เคยนั่งแล้วตอนได้อารมณ์สบายๆ
ท่าทางของเราจะมีการปรับได้ด้วยตัวของมันเองด้วยครับ
ความชั่ว คนชั่วทำได้ง่าย คนดีทำได้ยาก
ดังนั้น ความดี ทำได้ง่ายมากๆๆๆ
#17 *นะโม*
โพสต์เมื่อ 24 October 2010 - 04:03 AM
#18
โพสต์เมื่อ 28 October 2010 - 12:56 PM
แม้ว่าไม่สามารถนั่งสมาธิได้เพราะเหตุใด ๆก็ตาม เช่นน้ำท่วมเวลานี้ ดูข่าวแล้ว จากต่างประเทศ
ก็ขอให้พี่น้องไทยทำใจอยู่ในบุญกันนะคะ รักษาใจ แม้จะยากเย็น(เห็นใจ)ค่ะ ทำได้ในทุกอริยบทค่ะ
ขอเป็นกำลังใจและภาวนาให้ทุกคนปลอดภัยค่ะ
#19
โพสต์เมื่อ 06 December 2010 - 10:53 AM
#20
โพสต์เมื่อ 30 August 2011 - 02:37 PM
#21
โพสต์เมื่อ 09 January 2018 - 07:30 PM
กลับมาทบทวน ยังทันสมัยใหม่เสมอ
#22
โพสต์เมื่อ 08 March 2018 - 08:25 AM
กราบอนุโมทนาบุญ ด้วยค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ