ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ขอคำอธิบาย ขันธ์สาม และกิจสิบหก ครับ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 12 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 เคยเข้าวัด

เคยเข้าวัด
  • Members
  • 1296 โพสต์
  • Interests:สร้างบุญบารมีอย่างยวดยิ่ง ตราบเท่าชีวีหมดอายุขัย

โพสต์เมื่อ 15 September 2006 - 10:47 AM

รบกวนขอคำอธิบายเกี่ยวกับขันธ์สามและกิจสิบหก คืออะไรและมีอะไรบ้างครับ
1) พระปัญญาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 20 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 4 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือ พระสมณโคมสัมมาสัมพุทธเจ้า (อย่างน้อยที่สุด)
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย

#2 บุญโต

บุญโต
  • Members
  • 2192 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • Interests:ปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 15 September 2006 - 11:23 AM

ขันธ์สาม (มาจากขันธ์ 5 ขันธ์ แต่เค้าระบุถึงขันธ์ที่ 3 หรือปล่าวน๊า) (ขันธ์ แปลว่า หมวด)
ขันธ์สาม คือ สัญญาขันธ์ ได้แก่ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่าง ๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์นั้น ๆ ได้ (ประมาณนี้หรือปล่าวน๊า)

กิจสิบหก
http://www.dmc.tv/fo....php/t4467.html

#3 บุญโต

บุญโต
  • Members
  • 2192 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • Interests:ปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 15 September 2006 - 11:45 AM

หรือว่าจากขันธ์ 5 ย่อมาเป็นขันธ์ 3 จากข้อมูลที่ได้มาข้างล่างนี้กันแน่น๊า? unsure.gif

จาก
หลักปฏิบัติสมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน
รจนาโดย
พระธรรมธีรราชมหามุณี (โชดก ญาณสิทธิ ป.ธ. ๙)
หน้า ๑๖๙ - ๑๗๑

*************************************

ขันธ์ ๕

คำว่า ขันธ์ แยกเป็น ๒ ศัพท์ คือ ข + ธ แปลและหมายความได้
๘ อย่าง คือ

๑. ข แปลว่า อินทรีย์ อินทรีย์ แปลว่า เป็นใหญ่ ธ แปลว่า ทรงไว้ ต่อกันเข้า
เป็น ขันธะ แปลว่า ทรงไว้ซึ่งอินทรีย์มีจักษุเป็นต้น ดังหลักฐานว่า
ขานิ จักขุนทริยาทีนิ ธาเรนตีติ ขันธา
ชื่อว่าขันธ์ เพราะอรรถว่า ทรงไว้ซึ่งอินทรีย์มีจักขุนทรีย์ เป็นต้น

๒. ข แปลว่า ว่างเปล่า ธ แปลว่า ทรงไว้ ต่อกันเข้าเป็น ขันธะ แปลว่า ทรงไว้
ซึ่งความว่างเปล่า คือ สูญจากสัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา สูญจากความ
เที่ยง ความสุข ความสวยงาม เป็นต้น ดังหลักฐานว่า
ขัง อัตตะนิจจาทีหิ สุญญัง ธาเรนตีติ ขันธา
ชื่อว่าขันธ์ เพราะอรรถว่า ทรงไว้ซึ่งความเป็นของสูญ คือ สูญจากตัวตนและ
สูญจากความเป็นของเที่ยง เป็นต้น

๓. ข แปลว่า สวรรค์ ธ แปลว่า ทรงไว้ ต่อกันเข้าเป็น ขันธะ แปลว่า ผู้ทรงไว้
ซึ่งสวรรค์ คือ ผู้สร้างสวรรค์ ดังหลักฐานว่า
ขัง สัคคัง ธาติ วิทธาตีติ ขันโธ
ชื่อว่าขันธ์ เพราะอรรถว่า ทรงไว้ คือ รองรับไว้อย่างวิเศษซึ่งสวรรค์ หมาย
ความว่า บุคคลอาศัยขันธ์ ๕ นี้แล้ว สามารถสร้างทานกุศล ศีลกุศล
ภาวนากุศล ได้ เพราะผลแห่งกุศลนั้นเอง บุคคลจึงไปสวรรค์ได้

๔. ข แปลว่า ยอด ธ แปลว่า ทรงไว้ ต่อกันเข้าเป็น ขันธะ ดังหลักฐานว่า
กัง มัตถะกัง ทะธาตีติ ขันโธ (แปลงตัว ก เป็นตัว ข)
ชื่อว่าขันธ์ เพราะอรรถว่า ทรงไว้ซึ่งยอด หมายความว่า ถ้าบุคคลฉลาด
สามารถฝึกฝนอบรมขันธ์นี้ให้ดีแล้ว ผู้นั้นจะเป็นยอดคน เป็นจอมคน เป็น
ยอดโลก เป็นจอมโลก คือเป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุดในโลกได้

๕. ขันธะ แปลว่า แบกภาระไว้ ดังหลักฐานว่า
ขะมะติ ภารันติ ขันโธ
ชื่อว่าขันธ์ เพราะอรรถว่า แบกภาระไว้ฯ หมายความว่า เบญจขันธ์นี้ เป็น
ภาระที่หนักมาก สมดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า "ภารา หะเว ปัญจักขันธา"
ดังนี้เป็นต้น ใจความว่า "ขันธ์ ๕ เป็นภาระที่หนักมาก ทุกๆ คนเป็นผู้แบก
ภาระไว้ การแบกภาระไว้เป็นทุกข์ในโลก วางภาระเสียได้เป็นสุขจริงๆ บุคคล
วางภาระหนักได้แล้วไม่ถือเอาภาระอื่นอีก ถอนตัณหาพร้อมทั้งราก
ปราศจากความอยาก ปรินิพพาน นั่นแหละเป็นบรมสุข" ดังนี้

๖. ขันธะ แปลว่า สภาวธรรมที่ถูกทุกข์นับไม่ถ้วนเคี้ยวกินอยู่เสมอ ดัง
หลักฐานว่า
ชาติชะราพยาธิมะระณาทีหิ อะเนเกหิ ทุกเขหิ ขัชชะติ ขันโธ
ชื่อว่าขันธ์ เพราะอรรถว่าถูกทุกข์นับไม่ถ้วน มีชาติ ชรา พยาธิ มรณะ
เป็นต้น กัดกิน คือ เคี้ยวกินอยู่เป็นนิตย์

๗. ขันธะ แปลว่า สภาวธรรมที่ถูกทุกข์บั่นรอน ถูกทุกข์ตัดทอนอยู่เสมอ
ดังหลักฐานว่า
เตเหวะ ทุกเขหิ ขัญญะติ อะวะทารียะตีติ ขันโธ ชื่อว่าขันธ์
เพราะอรรถว่าถูกทุกข์ คือ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นต้น เหล่านั้น
แหละบั่นรอน คือตัดทอนอยู่เสมอ

๘. ขันธะ แปลว่า สภาวธรรมที่ถูกพระยามัจจุราช ทำลายอยู่โดยรอบด้าน
ดังหลักฐานว่า
ขะณียะติ ปะริขัญญะตีติ ขันโธ ชื่อว่า ขันธ์ เพราะอรรถว่า ถูก
พระยามัจจุราชทำลายอยู่โดยรอบด้าน

สรุปความ คำว่า ขันธะ แปลว่า ไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีความสวยงาม ไม่มี
ความสุข ไม่มีความเที่ยง ไม่มีตัวตน รูปขันธ์จริงๆ ได้แก่เย็นกับร้อน เวลา
เกิดมากี่ภพกี่ชาติก็ตาม ย่อมพบเย็นกับร้อนเท่านี้ โดยไม่มีเปลี่ยนแปลง

ขันธ์ ๕ ย่อให้สั้นเหลือ ๓ คือ รูป คงไว้ เวทนา สัญญา สังขาร ย่อลงเป็น ๑
เรียกว่า นามเจตสิก วิญญาณ เป็น นาม เรียกว่า นามจิต ย่อลงในแนว
ปฏิบัติเหลือ ๒ คือ รูป คงไว้ นามเจตสิก กับ นามจิต ย่อลงเป็น ๑ เรียกว่า
นาม ขันธ์ ๕ นั้น เมื่อย่อให้สั้นๆ ในแนวปฏิบัติจึงเหลือเพียง ๒ เท่านั้น
คือ รูป กับ นาม เรียกย่อๆ ว่า "รูปนาม"

รูปนาม นี้ เกิดที่ไหน เกิดที ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เกิดเมื่อไร เกิดเมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้อง
เย็นร้อนอ่อนแข็ง ใจนึกคิดธรรมารมณ์
เมื่อรูปนามเกิดแล้ว อะไรเกิดติดตามมา กิเลสกเกิดติดตามมา
กิเลสตัวไหน กิเลสตัวโลภะ โทสะ โมหะ
เกิดได้อย่างไร เกิดได้อย่างนี้ คือ ตัวอย่างเช่น ตาเห็นรูปดี ชอบใจ
ความชอบใจเป็นกิเลสคือโลภะ เห็นรูปไม่ดี ไม่ชอบใจ ความไม่ชอบใจ
เป็นกิเลสคือโทสะ เห็นรูปแล้วเฉยๆ ไม่มีสติกำหนดรู้เป็นโมหะ
เมื่อกิเลสเกิดแล้ว จะปฏิบัติอย่างไรกิเลสจึงจะไม่เกิด ให้กำหนดรู้ เช่น
เมื่อตาเห็นรูป ให้กำหนดว่า เห็น ตั้งสติไว้ที่ตา เมื่อหูได้ยินเสียง ให้กำหนด
ว่า ได้ยิน ตั้งสติไว้ที่หู เป็นต้น กิเลสจึงจะไม่เกิด


***************************************


#4 เคยเข้าวัด

เคยเข้าวัด
  • Members
  • 1296 โพสต์
  • Interests:สร้างบุญบารมีอย่างยวดยิ่ง ตราบเท่าชีวีหมดอายุขัย

โพสต์เมื่อ 15 September 2006 - 12:12 PM

ขออนุโมทนาสำหรับข้อมูลนะครับคุณสายนําทิพย์ (ชื่อเหมือนโรงเรียนสมัยอนุบาลของผมเลย แต่ปัจจุบันย้ายมาอยู่โรงเรียนฝันในฝันแล้วครับ ^ ^)
ขันธ์สาม ผมหยิบยกมาจากหนังสือวิสุทธิวาจาน่ะครับ ตอนแรกก็คิดเหมือนกับคุณสายนําทิพย์ แต่ดูอีกที คำสอนหลวงปู่น่าจะลึกซึ้งกว่านี้น่ะครับ เลยลองมาตั้งกระทู้ถามดูน่ะครับ
1) พระปัญญาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 20 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 4 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือ พระสมณโคมสัมมาสัมพุทธเจ้า (อย่างน้อยที่สุด)
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย

#5 MiraclE...DrEaM

MiraclE...DrEaM
  • Members
  • 1368 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 September 2006 - 01:15 PM

QUOTE
ขันธ์สาม (มาจากขันธ์ 5 ขันธ์ แต่เค้าระบุถึงขันธ์ที่ 3 หรือปล่าวน๊า) (ขันธ์ แปลว่า หมวด)

QUOTE
หรือว่าจากขันธ์ 5 ย่อมาเป็นขันธ์ 3 จากข้อมูลที่ได้มาข้างล่างนี้กันแน่น๊า?

ขันธ์ 3 หมายถึง ไตรสิกขา หรือป่าวครับ ศีล สมาธิ ปัญญา (เพราะขันธ์แปลว่า หมวด)
สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา

*********************

รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว

เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล


คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

#6 คนรักวัด

คนรักวัด
  • Members
  • 626 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 September 2006 - 02:12 PM

สาธุ ครับ คุณ บุญโต
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
โก หิ นาโถ ปโร สิยา
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน
นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ . . . ฯ ๑๖๐ ฯ

เราต้องพึ่งตัวเราเอง
คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้ว
ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้แสนยาก

Oneself indeed is master of oneself,
Who else could other master be?
With oneself perfectly trained,
One obtains a refuge hard to gain

#7 นักท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยว
  • Members
  • 2378 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:รู้สึกว่าจะไม่ค่อยได้อยู่กะที่อ่ะ มาดูอารายกานอ่ะ
  • Interests:มาสร้างบารมีตามติดหมู่คณะดีกว่า

โพสต์เมื่อ 15 September 2006 - 03:09 PM

ถูกต้องนะครับ
กายธรรมควรเทิดไว้ ในใจ
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ


เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี

#8 บุญโต

บุญโต
  • Members
  • 2192 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • Interests:ปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 15 September 2006 - 03:27 PM

QUOTE
ถูกต้องนะครับ
คือที่คุณ Blue Moon ตอบใช่มั๊ยค่ะ

#9 เป็นหนึ่ง

เป็นหนึ่ง
  • Members
  • 354 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 September 2006 - 03:37 PM

กิจ ๑๖ ในวิสุทธิวาจา ก็มีนะครับ ดังนี้


กิจ ๑๖


ถ้าหลักฐานเรียกว่า โสฬสกิจ เรียกว่าแค่นี้สำเร็จโสฬสกิจแล้ว โสฬสกิจแปลว่ากระไร กิจ ๑๖ ในเพลงที่เขาวางไว้เป็นหลัก ว่า "เสร็จกิจ ๑๖ ไม่ตกกันดาร เรียกว่านิพพานก็ได้" นี่แหละ เสร็จกิจ ๑๖ ละ

ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายมนุษย์ ๔
ทุกขสัจ มุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์ ๔ เป็น ๘
ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม ๔ เป็น ๑๒
ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายอรูปพรหมอีก๔ มันก็เป็น ๑๖

นี้เสร็จกิจทางพุทธศาสนา ทางพระอรหัตแค่นี้ นี้ทางปฏิบัติ

เทศนาดังนี้เป็นทางปฏิบัติ ไม่ใช่ทางปริยัติ นี่ทางปฏิบัติอันนี้แหละ พระพุทธศาสนาในทางปริยัติดังแสดงแล้วในตอนต้น พุทธศาสนา ในทางปฏิบัติดังแสดงแล้วในบัดนี้ แต่ปริยัติปฏิบัติ ที่เรียกว่าเข้าถึง ปฏิบัติ เดินสมาบัติทั้ง ๘ นั้นเป็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ได้เข้าเห็นพระโสดา บรรลุถึงพระโสดา นั่น ปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว ได้เข้า ถึงพระโสดาแล้ว ทั้งหยาบทั้งละเอียด

เมื่อพระโสดาเดินสมาบัติทั้ง ๘ ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์เข้าทั้งหยาบทั้งละเอียด ได้บรรลุพระสกทาคา เมื่อถึงพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นเข้านั่นเป็นตัวปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว รู้แจ้งแทงตลอดในสกทาคาเข้าแล้ว

เมื่อพระสกทาคาเข้าสมาบัติทั้ง ๘ ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธ สัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหมเข้าเห็นในสัจธรรมทั้ง ๔ ชัดอีกได้บรรลุพระอนาคา นี้ที่ได้เห็นตัวพระอนาคา ทั้งหยาบทั้งละเอียด และทั้งธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา นั่นเป็นตัวปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียวรู้แจ้งแทงตลอดเห็นจริงทีเดียว เห็นปรากฏทีเดียว

เมื่อพระอนาคาเข้าสมาบัติ ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจมรรคสัจ ทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นชัดในทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ได้บรรลุพระอรหัต เมื่อเห็นกายพระอรหัตทั้งธรรมที่ ทำ ให้เป็นกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นชัดทีเดียว นั่น เห็นชัดอันนั้นแหละ ได้ชื่อว่าเป็นปฏิเวธแท้ๆ เชียว รู้แจ้งแทงตลอด

นี้ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ดังนี้ ศาสนามีทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ดังนี้

ถ้าว่านับถือศาสนา ปฏิบัติศาสนา เข้าปริยัติไม่ถูก ปฏิเวธ ก็ไม่ถูก มันก็ไปต่องแต่งอยู่นั่น เอาอะไรไม่ได้ สัก ๑๐ ปี ๑๐๐ ปี ก็เอาอะไรไม่ได้ ถึงอายุจะแก่ปานใด จะโง่เขลาเบาปัญญาปานใด ถ้าเข้าถึงทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรจสัจ มรรคสัจไม่ได้ ไม่เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ดังแสดงมาแล้วนี้ จะปฏิบัติศาสนา เอาเรื่องเอาราวไม่ได้

ถ้าว่าคนละ โมฆชินโณ แก่เปล่า เอาอะไรไม่ได้ เอา เรื่องไม่ได้

เหตุนี้แหละทางพุทธศาสนาจึงนิยมนับถือนัก ในเรื่อง สัจธรรมทั้ง ๔ นี้



จากพระธรรมเทศนาเรื่อง "เขมาเขมสรณาคมน์"
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗




ส่วนขันธ์ ๓ นั้น เคยได้ยินมาว่า คือ มนุษย์ ทิพย์ ธรรม ครับ (ตรงนี้ไม่ยืนยันความถูกต้องนะครับ รอผู้รู้มาตอบอีกที)


I just gotta get out of this prison cell.
Someday I'm gonna be free.

#10 ศูนย์กลางกาย

ศูนย์กลางกาย
  • Members
  • 94 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 September 2006 - 04:55 PM

เกิดมาว่าจะมาหาแก้ว พบแล้วไม่กำ จะเกิดมาทำไม
สิ่งที่อยากก็หลอก สิ่งที่หยอกเขาก็ลวง ทำให้จิตเป็นห่วงเป็นใย
เลิกอยาก ลาหยอก รีบออกจากกาม เดิมตามขันธ์สามเรื่อยไป
เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร เรียกว่า นิพพานก็ได้

ขันธ์ ๓ คือ เดินตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งย่อมาจาก อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ กองแห่งปัญญา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมาอาชีวะ กองแห่งศีล สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ กองแห่งสมาธิ ขันธ์ หมายถึง กอง หมวด
อริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อแล้วเหลือ ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือถ้าจะย่อแล้วเหลือ ๑ คือ หยุด หยุดเป็นตัวสำเร็จ

อริยมรรค ได้แก่มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น สัมมาสมาธิเป็นปริโยสาน ซึ่งย่อลงเป็นศีล สมาธิ ปัญญา พระองค์เดินทางศีลเป็น
เบื้องต้น ( พระธรรมเทศนา พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) กัณฑ์ที่ 2)
สุคโต ดำเนินงาม ตามอริยมรรคทั้ง ๘ *(พระธรรมเทศนา พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) กัณฑ์ที่ 36)

เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร เรียกว่า นิพพานก็ได้

โดยย่อ กิจ ๑๖ คือ

เอา ตาธรรมกายโคตภูไปเห็น อริยสัจ๔ คือ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายมนุษย์ รู้ด้วยฌานของพระธรรมกายโคตภู บรรลุเป็นพระโสดาบัน
เอา ตาธรรมกายของพระโสดาไปเห็นอริยสัจ๔ คือ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์ รู้ด้วยฌานของพระโสดา บรรลุเป็นพระสกทาคา
เอา ตาธรรมกายของพระสกทาคา ไปเห็นอริยสัจ๔ คือ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม รู้ด้วยฌานของพระสกทาคา บรรลุเป็นพระอนาคา
เอา ตาธรรมกายของพระอนาคา ไปเห็นอริยสัจ๔ คือ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายอรูปพรหม รู้ด้วยฌานของพระอนาคา บรรลุเป็นพระอรหัต

เรียกว่า โสฬสกิจ เสร็จกิจ ๑๖ ไม่ตกกันดาร เรียกว่านิพพานก็ได้ (ย่อจาก พระธรรมเทศนา พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) กัณฑ์ที่ 14)

โดยละเอียด

นี้ไปอย่างนี้ ไปจริง ๆ อย่างนี้ ก็ไปได้เพราะเห็นสัจธรรมทั้ง ๔ แล้วก็
เข้ามาคลุมสัจธรรมทั้ง ๔ ไว้ยังไม่ปล่อย ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ มั่นกับใจดูแล้วดูอีก ทบทวนแล้วทบทวนอีก แน่นอนในใจ พอแน่นอนในใจ เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ
พอครบสี่เข้าเท่านั้นแหละ ได้บรรลุพระโสดาทันที

พอพระโสดาเข้าสมาบัติ นิ่งอยู่ในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌานอากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ทบไปทวนมา ๆ
ตาธรรมกายของพระโสดาไปเห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ รู้ด้วยฌานของพระโสดา พอครบรอบ ๔ เข้าเท่านั้นได้บรรลุพระสกทาคาหน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูมใสบริสุทธิ์หนักขึ้นไป
ธรรมกายพระสกทาคา เข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌานเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ทบไปทวนมาแบบเดียวกัน เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม เห็นชัด
พอถูกส่วนเข้าก็ได้บรรลุพระอนาคา พระอนาคาเดินสมาบัติแบบเดียวกัน เห็น ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายอรูปพรหมเข้าก็ได้บรรลุพระอรหัตทีเดียว หมดกิเลสเป็นสมุทเฉทปหานทีเดียว
ถ้าหลักฐานเรียกว่า โสฬสกิจ เรียกว่าแค่นี้ สำเร็จโสฬสกิจแล้ว โสฬสกิจ
แปลว่ากระไร กิจ ๑๖ ในเพลงที่เขาวางไว้เป็นหลักว่า
เสร็จกิจ ๑๖ ไม่ตกกันดาร เรียกว่านิพพานก็ได้
นี่แหละเสร็จกิจ ๑๖ ละ
ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายมนุษย์ ๔
ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์ ๔ เป็น ๘
ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม ๔ เป็น ๑๒
ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายอรูปพรหมอีก ๔ มันก็เป็น ๑๖
นี้เสร็จกิจทางพุทธศาสนา ทางพระอรหัตแค่นี้ นี้ทางปฏิบัติ เทศนา


ที่แสดงมานี้ก็เพื่อจะให้รู้สัจธรรมทั้ง ๔ เมื่อรู้จักสัจธรรมทั้ง ๔ แล้ว
สัจธรรมทั้ง ๔ นี้ใครเป็นคนรู้คนเห็น ธรรมกาย
ธรรมกายโคตรภู ทั้งหยาบทั้งละเอียด
ธรรมกายพระโสดา ทั้งหยาบทั้งละเอียด
ธรรมกายพระสกทาคา ทั้งหยาบทั้งละเอียด
ธรรมกายพระอนาคา ทั้งหยาบทั้งละเอียด
ธรรมกายพระอรหัต ทั้งหยาบทั้งละเอียด เป็นผู้เห็นเป็นผู้รู้ เป็นผู้เห็น ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เหล่านี้
นี้แหละเป็นธรรมสำคัญในพุทธศาสนา เมื่อได้สดับตรับฟังแล้ว พึงมนสิการกำหนดไว้ในใจของตนทุกถ้วนหน้า เมื่อรู้จักธรรมที่พระองค์ทรงรับสั่งว่า
เอตํ โข สรณํ เขมํ นี้ที่พึ่งอันเกษมผ่องใส
เอตํ สรณมุตฺตมํ นี้ที่พึ่งอันอุดมสูง
สุด เอตํ สรณมาคมฺม มาอาศัยอันนี้เป็นที่พึ่งแล้ว
สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ด้วยประการดังนี้

(พระธรรมเทศนา พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) กัณฑ์ที่ 14)
จาก มรดกธรรม ๖๙ กัณฑ์ หลวงปู่วัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร




#11 iMac24

iMac24
  • Members
  • 437 โพสต์
  • Location:Dmoc
  • Interests:เกิดมาสร้างบารมี

โพสต์เมื่อ 15 September 2006 - 09:12 PM

คุณบุญโตนี้สุดยอดจริงเลยครับขยันหาข้อมูลดีจัง
ถ้าอยากได้รูปบุญโตแบบเจ๋งๆ บอกผมได้นะเดี๋ยวจัดให้ผมมีเยอะครับ
จงสู้และอย่าท้อ ลูกเอย
ต้องถึงธรรมอย่างเสบย แน่แท้
ให้ทำอย่างที่เคย สอนสั่ง
นั่ง บ่ มีข้อแม้ จักได้ธรรมครอง

สุนทรพ่อ

มาร่วมกันสร้างสันติสุขให้กับโลกกันเถอะ

#12 glouy.

glouy.
  • Members
  • 605 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 September 2006 - 07:26 PM

ขออนุโมทนาบุญ สาธุ สาธุ สาธุ

ลูกพระธรรม

#13 hk_girlza

hk_girlza
  • Members
  • 580 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 January 2010 - 07:31 AM

อนุโมทนาบุญค่ะ