การสวดมนต์
#1 *usr36008*
โพสต์เมื่อ 19 August 2010 - 03:45 PM
ถามว่าจะบาบมั๊ยครับ
#2
โพสต์เมื่อ 19 August 2010 - 06:18 PM
มีชุดขาวเตรียมไว้ ทำวัตร ครับ....
#3
โพสต์เมื่อ 19 August 2010 - 06:25 PM
อาบน้ำ แปรงฟัน ให้ร่างกายสะอาดสดชื่นก็แล้วกันนะครับ
แต่พยายามอย่าให้ติดเป็นนิสัยนะครับ ผมเห็นหลายๆคนที่มาวัดฯ แล้วชอบปลดกระดุมสองสามเม็ดบนเพราะตัวเองไม่ชินกับการใส่เสื้อปิด อย่างน้อยๆเสื้อกล้ามสีขาวตัวหลวมๆก็ดีนะครับ เวลาคนอื่นเขาเห็นเขาจะได้ไม่รู้สึกอะไร การยังศรัทธาให้เกิดแก่ผู้อื่นที่พบเห็นก็สำคัญนะครับ
พยายามฝึกตัวไว้ครับ เวลาบวชจะได้ไม่ต้องปรับตัวมาก อยู่เป็นเนื้อนาบุญได้เต็มที่
อนุโมทนาบุญด้วยครับ
#4 *usr36008*
โพสต์เมื่อ 19 August 2010 - 06:48 PM
แต่ตอนหลัง ๆ ผมก็พยายามใส่เสื้อแล้วครับ เพราะรุ้สึกลึก ๆ ว่าเราต้องเคารพในพระรัตนตรัย
ต้องสำรวมกาย...ด้วยการปกปิดร่างกายมันถึงจะถูกใช่มั๊ยครับ...
อนุโมทนาบุญด้วยครับ
#5
โพสต์เมื่อ 19 August 2010 - 07:59 PM
#6
โพสต์เมื่อ 19 August 2010 - 08:07 PM
ก็เคารพด้วย กาย วาจา ใจ
#7
โพสต์เมื่อ 20 August 2010 - 07:40 AM
แก่น คือ สร้างกุศลกรรมบท หรือ อกุศลกรรมบท
สวดมนต์ คือ การทำความดี ด้วยการระลึกถึงและสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย และทบทวนหัวข้อธรรม เนื้อหาธรรม ฯล
มุ่งเพื่อความสะอาด บริสุทธิ์ใจ ความเจริญในธรรมและทิฎฐิชุกัม ทำความเห็นให้ตรงต่อสัจจธรรมความจริง
ไม่ได้ก่ออกุศลกรรมบทข้อไหน ย่อมไม่บาป
นอกจากไม่บาปแล้ว ยังถือว่าได้ ทำความดี ครบทั้งกาย วาจา ใจ สมควรได้บุญ นะครับ
ส่วนเรื่่องควร / ไม่ควร คือ กระพี้ หรือ เปลือก (วัตรปฏิบัติ จารีต ประเพณี มารยาท ชนชั้นทางสังคมในยุคสมัยและท้องถิ่นนั้น ๆ)
เรื่องการใส่เสื้อ มิดชิด สุภาพ เรียบร้อย นั้น
ในอดีต หลายยุค หลายท้องถิ่นที่มีสภาพทางภูมิศาสตร์ สภาพอากาศร้อน มนุษย์ก็ไม่ได้ใส่เสื้อนะครับ
การเข้าวัด หรือ เข้าวัง บุรุษ ก็ไม่ใส่เสื้อ ก็มี
แต่สมัยนี้ควรทำในทุกสถานที่ แม้อยู่คนเดียวในบ้านตนเอง
ต้องทำในหลายสถานที่ เช่น วัด วัง ที่สาธารณะ
กรณีเจ้าของกระทู้ อยู่ในบ้านคนเดียว ถ้าอากาศร้อนนัก ถอดเสื้อก็ได้ ขอให้ใจสะอาด สว่าง สงบ เถิดครับ
#8 *ีusr36008*
โพสต์เมื่อ 20 August 2010 - 10:11 AM
ที่ให้คำแนะนำ รู้สึกสบายใจแล้วครับ
#9
โพสต์เมื่อ 20 August 2010 - 11:21 AM
#10
โพสต์เมื่อ 21 August 2010 - 09:14 AM
#11
โพสต์เมื่อ 22 August 2010 - 08:00 PM
#12 *seree*
โพสต์เมื่อ 24 June 2011 - 08:59 PM
#13 *atletiton modik*
โพสต์เมื่อ 27 September 2011 - 08:47 PM
#14
โพสต์เมื่อ 23 October 2013 - 12:42 AM
บาปไม่ได้อยู่ที่แต่งตัวหรอกนะ บาปอยู่ที่จิตใจต่างหาก จิตใจสะอาดหรือเปล่าละ ตอนนั่งอะ หรือว่านั่งคิดถึงรูปโป๊ะละ ..............
จะศิล8 ศิล5 ไม่สำคัญหรอก ต้องเข้าใจก่อนว่า พระพุทธองค์ท่านทรงบัญญัติศิลไว้ทำไม แล้วสวดมนต์บทใหนก็ไม่สำคัญเท่ากับ ประคองจิตใจให้สะอาดนะ สวดมนต์เป็น กุศโลบาย ให้จิตไม่ฟุ้งคิดนอกคอก แต่ แปดหมื่นสี่พันจิต ที่มนุษย์มีนี่ ก็ไม่ง่าย ฝึกบ่อยๆ มองอารมณ์ตัวเองบ่อยๆ ก็จะรู้เอง .......... ว่าเราควรทำตัวยังไง ถึงเจริญตามพระพุทธองค์ได้
#15
โพสต์เมื่อ 23 October 2013 - 08:59 AM
ศีลและปัญญา
เท่านั้นเป็นเลิศในโลก
(รวบรวม โดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน)
สมเด็จพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ทรงตรัสไว้ดังนี้
๑. ปัญญาอบรมศีลให้บริสุทธิ์ ศีลอบรมปัญญาให้บริสุทธิ์ ศีลต้องอาศัยปัญญา ปัญญาต้องอาศัยศีล ศีลและปัญญาเป็นของคู่กัน ศีลและปัญญาเท่านั้นเป็นเลิศในโลก
๒. “ปัญญาที่แท้จริงจะเกิดขึ้นโดยการถาม (ปุจฉา) ตอบ (วิสัชนา) ภายในใจของตน (อย่าไปยุ่งกับกายและใจของผู้อื่น) โดยใช้หลักอริยสัจเป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหา (ทั้งทางโลกและทางธรรม) อริยสัจ แปลว่าความจริงที่พระองค์ทรงพบด้วยพระองค์เอง เมื่อพบความจริงแล้ว ให้ยอมรับนับถือความจริงนั้น ๆ อย่างจริงใจและด้วยความเคารพ หมายถึงให้ปฏิบัติตามนั้นด้วย เพราะจะเป็นหนทางที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ในที่สุด “พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ ต่างก็บรรลุเป็นพระพุทธเจ้าได้ด้วยอริยสัจ และพระสาวกของพระองค์ทุกองค์ต่างก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ด้วยอริยสัจทั้งสิ้น มีทางนี้ทางเดียว ทางอื่นไม่มี ”
๓. พระพุทธองค์ทรงตรัสยกย่องศีลไว้มากมาย ดังตัวอย่างเช่น
๓.๑ ศีลเป็นมารดา (แม่) ของพระพุทธศาสนา
๓.๒ ศีลเป็นมารดา (แม่) ของพระธรรม
๓.๓ ศีลเป็นรากฐานที่จะรองรับพระธรรมในพุทธศาสนา
๓.๔ การบวชเป็นพระภิกษุ จะต้องรับศีลจากพระอุปัชฌาย์ก่อนทุกองค์ แม้พวกอุบาสก-อุบาสิกาจะเข้าสู่พระพุทธศาสนา พระท่านก็ให้ศีลก่อนทั้งสิ้น
๓.๕ การปฏิบัติพระกรรมฐาน และพิธีกรรมต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาก็ต้องอาราธนาศีลก่อนทั้งสิ้น
๓.๖ ในพระไตรปิฎก ก็เริ่มต้นด้วยศีล ( คือ พระวินัยมีรายละเอียดอยู่มากถึง ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์)
๔. เรื่องขอศีลที่หลวงพ่อฤๅษี (พระราชพรหมยานมหาเถระ) ท่านสอนลูกศิษย์ไว้มาก ซึ่งพิมพ์ลงในหนังสือธัมมวิโมกข์หลายเล่ม หลายตอน จะขอรวบรวมไว้ในตอนหลัง
๕. ตัวอย่างที่ทรงเน้นถึงความสำคัญของศีลในพระสูตร
ก) เรื่องโจร ๕๐๐ มีความโดยย่อดังนี้
โจร ๕๐๐ ปล้นฆ่าเป็นอาจิณ หนีการตามจับของทางการมาเจอพระรูปหนึ่งกำลังจงกรมอยู่ในป่า ก็เข้าไปขอพระรูปนั้นเป็นที่พึ่ง เพราะพวกตนกำลังถูกตามฆ่าจากทางการ พระรูปนั้นกล่าวว่า “ที่พึ่งอื่นใดนั้นไม่มี ที่จะพึ่งได้นั้นมีแต่ศีลเท่านั้น” เมื่อพวกโจรเกิดศรัทธา คือ เชื่อท่านโดยยอมปฏิบัติตามที่ท่านแนะนำ ท่านก็ให้ศีลและเน้นความสำคัญว่า “จงรักษาศีลด้วยชีวิต แม้ตัวจะตายก็จงอย่าคิดละเมิดศีล” คือท่านเน้นศีลชั้นละเอียดถึงมโนกรรมก็ต้องบริสุทธิ์ ที่สุดโจร ๕๐๐ ก็ถูกจับและถูกฆ่าตายหมด โจรทั้ง ๕๐๐ ไม่แม้แต่จะต่อสู้ ไม่ร้องขอชีวิต จิตไม่คิดอาฆาต-พยาบาท และจองเวรแต่อย่างใด เมื่อกายตายจิตก็ไปจุติ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทวโลก เพราะอานิสงฆ์ของศีล ตั้งใจรักษาศีลอย่างเคร่งครัดในพุทธันดรนี้ เทวดาทั้ง ๕๐๐ องค์ ก็ลงมาเกิดเป็นลูกชาวประมงได้พบพระสารีบุตร เกิดศรัทธาขอบวชกับท่าน และในที่สุดก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้ง ๕๐๐ องค์
ข) เรื่อง พระนางสามาวดีและคณะ ๕๐๐ มีความโดยย่อที่เกี่ยวกับศีลดังนี้
พระนางสามาวดีและบริวาร ๕๐๐ ได้ฟังเทศน์จาก นางขุดฉุตรา ซึ่งเป็นพระโสดาบัน เพราะได้ฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันเพียงครั้งเดียว ก็บรรลุมีดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบัน เมื่อนางมาเทศน์ให้พระนางสามาวดีและบริวารอีก ๕๐๐ ฟัง ฟังเพียงครั้งเดียวก็มีดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบันทั้งหมด เมื่อกรรมที่เป็นอกุศลให้ผลกับพระนางและคณะ ถูกพระนางมาคัณทิยากับญาติวางแผนวางเพลิงพระตำหนักที่พัก โดยปิดทางออกไว้ทั้งหมด จนถูกไฟครอกตายทั้งหมด ก่อนจะตายพระนางสามาวดีสั่งให้บริวารทั้งหมดทำจิตให้สงบและบริสุทธิ์ถึงขั้นมโนกรรม คือ ให้อภัยทาน-ไม่โกรธ-ไม่พยาบาท อาฆาตและจองเวรในพระนางมาคัณทิยาและญาติแต่อย่างใด เมื่อกายตายจิตก็ไปจุติ ณ สวรรค์ ทุกคน
: วิจารณ์ หรือธัมมวิจยะ เรื่องโจร ๕๐๐
ก) ก่อนจะตายมีมรณานุสสติ และยอมรับว่าคนเราเกิดมาแล้วต้องตาย แต่ขอตายอย่างผู้มีปัญญา (ฉลาด) คือ เอาศีลเป็นที่พึ่ง (ศีล คือพระธรรมหรือเป็นมารดาของพระธรรมในพุทธศาสนา)
ข) จิตมั่นคงในพระรัตนตรัย ไม่สงสัยในพระธรรม (ศีล) และคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ค) มีศีล ๕ บริสุทธิ์ ขั้นมโนกรรม ซึ่งเป็นศีลขั้นที่ ๓
ศีลมี ๓ ขั้น
ขั้นที่ ๑ ไม่เอากายไปกระทำผิดศีล พวกนี้ตายแล้วไม่ตกนรก แต่ยังต้องเกิดอีก ๗ ชาติ จึงจะไปพระนิพพานได้
ขั้นที่ ๒ ปากไม่พูดให้ผู้อื่นกระทำผิดศีลเพื่อตน ตายแล้วต้องเกิดอีก ๓ ชาติ จึงจะไปพระนิพพานได้
ขั้นที่ ๓ จิตไม่ยินดีด้วยเมื่อเห็นผู้อื่นกระทำผิดศีล ตายแล้วต้องเกิดอีก ๑ ชาติ จึงจะไปพระนิพพานได้
ผล โจรทั้ง ๕๐๐ จึงไม่ตกนรก เพราะมีศีลละเอียดขั้นที่ ๓ เทียบเท่ากับพระโสดาบันขั้นที่ ๓ หรือขั้นละเอียด หรือเป็นพระสกิทาคามี เมื่อลงมาเกิดเป็นมนุษย์เพียงชาติเดียวก็พบพระสารีบุตร ขอบวช ฟังเทศน์จากพระสารีบุตร ก็จบกิจในพุทธศาสนาเป็นพระอรหันต์ทุกองค์
เรื่อง พระนางสามาวดี และคณะ ๕๐๐ ก็เช่นกัน
ทุกท่านเป็นพระโสดาบันอยู่แล้ว แต่ก่อนตายทุกท่านก็ยอมรับความจริงเรื่องคนเราเกิดมาแล้วต้องตาย ไม่มีใครหนีความตายไปได้ จิตของทุกท่านมั่นคงในพระรัตนตรัย ศีล ๕ ข้อของทุกท่านเต็มขั้นมโนกรรมทุกท่าน ทุกท่านให้อภัยทานแก่ผู้ที่มาปองร้ายหมายเอาชีวิตโดยการใช้ไฟครอกให้ตาย จิตทุกท่านไม่โกรธ ไม่พยาบาท อาฆาตและจองเวรแต่อย่างใด เมื่อกายตายจิตจึงไปจุติ ณ แดนสวรรค์ ซึ่ง มิได้กล่าวไว้ชัดว่าชั้นใด แต่ความดีขนาดนี้ ควรจะไปชั้นสูง ๆ อย่างแน่นอน ธัมมวิจยะ หรือการยกธรรมะขึ้นมาพิจารณาเป็นตัวทำให้เกิดปัญญา หากใครไม่ปฏิบัติตามที่พระองค์ทรงชี้แนะ ปัญญาก็ไม่เกิด
๖. พระองค์ทรงตรัสเรื่องมูลเหตุของศีล ได้ดังนี้
๖.๑ " ศีลทุกข้อมีมูลเหตุ คือ การมีกิเลส การเกิดกิเลสของแต่ละประเภท ทำให้จิตที่ถูกครอบงำแล้วเกิดอุปาทาน ทำไปตามกิเลสนั้น สร้างกรรมให้เกิดไปตามกิเลส ไม่ว่าทางมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม "
๖.๒ " จงจำไว้ว่า กรรมที่เกิดแม้แต่มโนกรรมก็เป็นกรรม ผู้ที่บริสุทธิ์จะบริสุทธิ์แม้แต่มโนกรรม มโนกรรมนั้นจะไม่เบียดเบียนใคร ไม่เบียดเบียนแม้แต่ตนเอง จึงไม่มีทางจะเบียดเบียนผู้อื่นได้เลย "
๖.๓ " เมื่อกิเลสทำให้เกิดอาบัติ การบัญญัติศีลจึงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำซึ่งอาบัตินั้น ศีลจึงเป็นข้อห้ามที่ตถาคตห้ามไม่ให้สาวกของตถาคตทำชั่วในอาบัตินั้น ๆ "
๖.๔ " การไม่ละเมิดศีล แต่ไม่ได้เจตนารักษาศีล ก็ไม่ได้ชื่อว่ามีศีล ดูตัวอย่างท่านอนันทเศรษฐี ศีลไม่ละเมิด แต่ไม่ได้รักษาศีล ทานก็ไม่ให้ ท่านไม่ได้ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่มุสา ไม่ดื่มสุราเมรัย กรรมชั่วไม่ได้ทำ ก็เลยไม่ตกนรก แต่ในขณะเดียวกัน ไม่รักษาศีล ไม่ให้ทาน จึงไม่มีกรรมดี ทำให้ไม่มีอานิสงส์ที่จะนำไปเกิดยังสวรรค์ได้ ลงท้ายก็ต้องไปเกิดเป็นคนที่ไม่มีบุญ ไม่มีทาน ไม่มีศีล คนที่ไม่มีบุญก็ไปสู่สถานที่คือกลุ่มขอทาน ไม่มีทานก็ทำให้ไม่ได้รับทานคือการให้ เพียงเข้าปฏิสนธิในครรภ์มารดาเท่านั้น มารดาและคนกลุ่มนั้นพลอยไม่มีใครให้ทานด้วย ความที่เป็นคนไม่มีศีล พอเกิดมารูปจึงไม่สวย มีสภาพเหมือนปีศาจคลุกฝุ่น "
๖.๕ "คนที่รู้ศีล แต่ไม่ยอมรักษาศีล ก็ไม่ต่างจากคนที่ไม่ละเมิดศีล แต่ไม่รักษาศีล"
ทรงตรัสถาม ปุจฉา “แล้วตถาคตบัญญัติศีลเพื่อใคร”
วิสัชนา ก่อนจะตอบ ผู้ตอบนึกถึงท่านพระสุรจิต (ท่านพระครูสังฆรักษ์ สุรจิต สุรจิตโต) ซึ่งเคยพูดเรื่องนี้ไว้ในอดีต มีความว่า ครั้งหนึ่งมีพระรูปหนึ่งมาปรารภให้ฟังว่า ท่านรู้สึกรังเกียจพระบางรูปในวัดที่ไม่ยอมรักษาศีล ท่านพระสุรจิตก็แนะนำว่า
ก) “พระพุทธเจ้าบัญญัติศีลเพื่อตัวเราเอง มิใช่เพื่อผู้อื่น ซึ่งหมายความว่าผู้ใดประพฤติ-ปฏิบัติในศีลได้ อานิสงส์ของศีลย่อมได้กับตัวเอง คือ ผู้ประพฤติ-ปฏิบัตินั้น ๆ”
ข) “ศีลย่อมเป็นของตัวเราผู้ทำศีลให้ปรากฏแก่กาย วาจา ใจ ของตนเอง จึงได้ชื่อว่าศีลที่พระพุทธเจ้าบัญญัติก็เพื่อตัวเราเอง จึงมิใช่บัญญัติเพื่อผู้อื่น”
ค) “ในเมื่อคนอื่นเขาไม่เอาศีล เราจึงไม่มีอำนาจบังคับให้คนอื่นเขาปฏิบัติศีลได้ ” การนึกก็คือการตอบ (วิสัชนา) นั่นเอง
๖.๖ “ทรงตรัสสอนเพิ่มเติมว่า”
ก) “อันนี้หมายถึง ตนย่อมเป็นที่พึ่งแห่งตนด้วย และหมายถึงไม่เพ่งโทษบุคคลอื่นด้วย และไม่สนใจในจริยาของผู้อื่นด้วย”
ข) “ดังนั้นบุคคลที่เจริญแล้ว ย่อมจะทำความเจริญในศีลให้เกิดแก่กาย-วาจา-ใจของตนเองเท่านั้น เป็นหลักสำคัญเบื้องต้น เพราะศีลปฏิบัตินั่นแหละจะนำไปซึ่งการตัดกิเลสที่ครอบงำจิต ไม่ปาณาติบาต ก็ตัดโทสะ ไม่ลักทรัพย์ ก็ตัดโลภะ ไม่กาเม ก็ตัดกาม ราคะ ดังนี้เป็นต้น”
ค) “ศีลจึงมีอานิสงส์มาก ธรรมของตถาคตจึงมีเหตุมีผลประกอบกันอยู่เสมอ และทุก ๆ บทธรรมเป็นพุทธบัญญัติ คือ สมมุติบัญญัติขึ้นมาให้พุทธสาวกผู้รับฟัง ฟังแล้วนำไปเป็นเหตุ เป็นผลปฏิบัติให้เกิดมรรคเกิดผลได้ตามบัญญัตินั้น ๆ”
เพราะฉะนั้น ทั้งศีล ๕ และ ศีล ๘ มีความสำคัญมากมายครับ