๑. ราคจริต
ราคจริตนี้ ท่านจัดกรรมฐานที่เหมาะสมไว้ ๑๑ อย่างคือ อสุภกรรมฐาน ๑๐ กับกายคตานุสสติ
กรรมฐาน อีก ๑ รวมเป็น ๑๑ อย่างในเมื่ออารมณ์รักสวยรักงามปรากฏขึ้นแก่อารมณ์จิตจงนำกรรมฐาน
นี้มาพิจารณา โดยนำมาพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งจากกรรมฐาน ๑๑ อย่างนี้ ตามแต่ท่านจะชอบใจ
จิตใจท่านก็จะคลายความกำหนัดยินดีในกามารมณ์ลงได้อย่างไม่ลำบากยากเย็นอะไรเลย ถ้าจิตข้อง
อยู่ในกามารมณ์เป็นปกติ ก็เอากรรมฐานนี้พิจารณาเป็นปกติ จนกว่าอารมณ์จะสงัดจากกามารมณ์
เห็นคนและสัตว์และสรรพวัตถุทั้งหลายที่เคยนิยมชมชอบว่าสวยสดงดงาม กลายเป็นของ น่าเกลียด
โสโครกโดยกฎของธรรมดา จนเห็นว่าจิตใจไม่มั่วสุมสังคมกับความงามแล้วก็พิจารณาวิปัสสนาญาณ
โดยยกเอาขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ ว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเราโดย
เอาอสุภกรรมฐานหรือกายคตานุสสติกรรมฐานเป็นหลักชัยทำอย่างนี้ไม่นานเท่าใดก็จะเข้าถึงมรรคผล
นิพพาน การทำถูกไม่เสียเวลานานอย่างนี้
๒. โทสจริต
คนมักโกรธ หรือขณะนั้นเกิดมีอารมณ์โกรธพยาบาทเกิดขึ้นขวางอารมณ์ไม่สะดวกแก่
การเจริญฌาน ท่านให้เอากรรมฐาน ๘ อย่าง คือ พรหมวิหาร ๔ และ วัณณกสิณ ๔ วัณณกสิณ ๔
ได้แก่ นีลกสิณ เพ่งสีเขียว โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง ปีตกสิณ เพ่งสีเหลือง โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว
กรรมฐานทั้งแปดอย่างนี้ เป็นกรรมฐานระงับดับโทสะ ท่านจะเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมาะสม
แก่ท่าน คือตามแต่ท่านจะพอใจเอามาเพ่งและใคร่ครวญพิจารณา อารมณ์โทสะก็จะค่อยๆ คลายตัว
ระงับไป
๓. โมหะ และ วิตกจริต
อารมณ์ที่ตกอยู่ในอำนาจของความหลงและครุ่นคิดตัดสินใจอะไรไม่เด็ดขาด ท่านให้เจริญ
อานาปานุสสติกรรมฐานอย่างเดียว อารมณ์ความลุ่มหลงและความคิดฟุ้งซ่านจะสงบระงับไป
4. สัทธาจริต
ท่านที่เกิดสัทธาความเชื่อ เชื่อโดยปกติ หรืออารมณ์แห่งความเชื่อเริ่มเข้าสิงใจก็ตาม
ท่านให้เจริญกรรมฐาน ๖ อย่าง คือ อนุสสติ ๖ ประการ ดังต่อไปนี้ (๑) พุทธานุสสติกรรมฐาน
(๒) ธัมมานุสสติกรรมฐาน (๓) สังฆานุสสติกรรมฐาน (๔) สีลานุสสติกรรมฐาน (๕) จาคา-
นุสสติกรรมฐาน (๖) เทวตานุสสติกรรมฐาน อนุสสติทั้ง ๖ อย่างนี้ จะทำให้จิตใจของท่านที่
ดำรงสัทธาผ่องใส
๕. พุทธิจริต
คนเฉลียวฉลาดรู้เท่าทันเหตุการณ์ และมีปฎิภาณไหวพริบดี ท่านให้เจริญกรรมฐาน ๔
อย่าง ดังต่อไปนี้ (๑) มรณานุสสติกรรมฐาน (๒) อุปสมานุสสติกรรมฐาน (๓) อาหาเรปฏิกูลสัญญา
(๔) จตุธาตุววัฏฐาน รวม ๔ อย่างด้วยกัน
กรรมฐานที่เหมาะแก่จริตทั้ง ๖ ท่านจัดเป็นหมวดไว้ ๕ หมวด รวมกรรมฐานที่เหมาะ
แก่จริต โดยเฉพาะจริตนั้นๆ รวม ๓๐ อย่าง หรือในที่บางแห่งท่านเรียกว่า ๓๐ กอง กรรมฐาน
ทั้งหมดด้วยกันมี ๔๐ กอง ที่เหลืออีก ๑๐ กอง คือ อรูป ๔ ภูตกสิณ ได้แก่ ปฐวีกสิณ เตโชกสิณ
วาโยกสิณ อาโปกสิณ ๔ อย่างนี้เรียกภูตกสิณ อาโลกสิณ ๑ และอากาศกสิณอีก ๑ รวมเป็น
๑๐ พอดี กรรมฐานทั้ง ๑๐ อย่างนี้ ท่านตรัสไว้เป็นกรรมฐานกลางเหมาะแก่จริตทุกอย่าง รวม
ความว่าใครต้องการเจริญก็ได้เหมาะสมแก่คนทุกคน แต่สำหรับอรูปนั้นถ้าใครต้องการเจริญ
ท่านให้เจริญฌานในกสิณให้ได้ฌาน ๔ เสียก่อน แล้วจึงเจริญในอรูปได้ มิฉะนั้นถ้าเจริญอรูป
เลยทีเดียวจะไม่มีอะไรเป็นผล เพราะอรูปละเอียดเกินไปสำหรับนักฝึกสมาธิใหม่
กรรมฐานที่เหมาะกับจริต
เริ่มโดย เพียงพอ, Jan 08 2006 03:32 PM
มี 4 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 08 January 2006 - 03:32 PM
#2
โพสต์เมื่อ 08 January 2006 - 09:00 PM
อนุโมทนาบุญ กับ ธรรมทานด้วยค่ะ สาธุ
" เกิดมาเพื่อ ทำพระนิพพานให้แจ้ง + แสวงบุญ + สร้างบารมีค่ะ "
"รักษา อารมณ์ดี + อารมณ์เดียว + อารมณ์สบาย ทั้งวัน "
"รักษา อารมณ์ดี + อารมณ์เดียว + อารมณ์สบาย ทั้งวัน "
#3
โพสต์เมื่อ 13 January 2006 - 10:02 PM
สาธุ ๆ ดีจังเลย กำลังนึกอยากเขียนถึงอยู่เชียว
ไว้ขอไว้วางไว้ที่บล็อกหน่อยนะคะ
ไว้ขอไว้วางไว้ที่บล็อกหน่อยนะคะ
#4 **[email protected]**
โพสต์เมื่อ 31 January 2006 - 02:21 PM
ขออนุโมทนาบุญด้วยนะคะ......ไม่รู้ว่าตัวเองจริตแบบไหน...เพราะทุกข้อมีจริตในตนเองทั้งหมด..
#5
โพสต์เมื่อ 13 March 2006 - 05:49 PM
สาธุ
เมื่อไหร่หนอจะได้พบทหารหาญ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที
สุนทรพ่อ
muralath2@hotmail