ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ธรรมะเพื่อความหลุดพ้น


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 6 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 August 2006 - 02:02 AM



อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน คำนี้ตรงข้ามกับคำว่าอัตตา คือ ตัวตนขอแนะนำให้รู้จักกับอัตตาไว้ตรงนี้เล็ก ๆ

อัตตา คือ เรายึดว่า นี่เป็นตัวเรา ดังนั้น เราจึงเสิร์ฟทุกอย่างให้กับตัวเรา ด้วยความรักใคร่หลงใหล
เราจะมีมานะคือถือดีทำดีอยากอวด พยายามทำดีเพียงเพื่อจะไปเกิดในสวรรค์ประการเดียว ไม่ใช่เพื่อหลุดพ้น
จากสังสารวัฏ มี 3 ก. คือ กิน กาม เกียรติ ดูแลไว้ให้ตัวเองอย่างดี ดังนี้เป็นต้น

อนัตตา คือให้รู้ว่า ตัวเราไม่ใช่ตัวตน ( และทุกอย่างในโลกก็ไม่ใช่ตัวตนด้วย )

ขอลอกพระสูตรมาลงไว้ให้อ่านกันบ้าง จะได้ใกล้ชิดกลิ่นอายของภาษาหนังสือธรรมะเข้าไปอีกนิด
พอไปหาอ่านจะได้พอคุ้นเคย อ่านบ่อย ๆ แล้วเพลินดี ในพระสูตรมีนิทานเยอะด้วย แต่ที่เอามานี้ไม่ใช่นิทาน
เป็นพระสูตรชื่อว่า จูฬสัจจกสูตร อยู่ในพระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 12 มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์หน้า
392 – 404/422-436 ท่านอาจารย์วศิน อินทสระ คัดออกมาให้ นักศึกษาธรรมวันอาทิตย์ได้อ่านกัน
มีใจความดังนี้

“ ตัวตนหรือมิใช่ตัวตน “

คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เมืองเวสาลี คราวนั้น
นิครนถ์คนหนึ่ง ชื่อ สัจจกะ อาศัยอยู่ในเมืองเวสาลี ( ชาวเมืองเวสาลี )
เป็นผู้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของประชาชนว่า เป็นผู้มีความรู้ดี ยกตนเองว่าเป็นปราชญ์
และประกาศในเมืองเวสาลีนั่นว่า เขาไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์ใดๆที่จะโต้วาทะกับเขาได้
แม้ผู้ที่ปฏิญาณตนว่า เป็นสัมมาสัมพุทธะ ถ้าคิดจะโต้วาทะกับตนแล้วก็ต้องหวั่นไหว
ประหม่า เหงื่อตก อย่าว่าแต่มนุษย์เลย แม้เสาก็ต้องสั่นคลอน หวั่นไหว ถ้าคิดจะโต้วาทะกับตน

เช้าวันหนึ่ง พระอัสสชิเถระ ( รูปหนึ่งในพวกปัญญจวัคคีย์ ) เข้าไปบิณฑบาตในเมืองเวสาลี
สัจจกนิครนถ์ออกมาเดินเล่น พบพระอัสสชิ จึงเข้าไปหาและถามท่านว่า

“ พระคุณเจ้าอัสสชิ ท่านเป็นสาวกของพระสมณโคดมข้าพเจ้าอยากทราบว่า
พระสมณโคดมสอนสาวกอย่างไร แนะนำสาวกอย่างไร “

“ อัคคิเวสสนะ “ พระอัสสชิตอบ “ พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงเป็นศาสดาของพวกเราสอนว่า
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ( รวมเป็นขันธ์ 5 ) ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน( อนัตตา ) “

“ ท่านอัสสชิ ท่านอาจฟังมาผิดกระมัง ถ้าพระสมณโคดมตรัสสอนเช่นนี้จริง
ข้าพเจ้าจะช่วยสอนพระสมณโคดมให้มีความเห็นเสียใหม่ ให้มีความคิดที่ถูกต้องดีกว่านี้ “

สัจจกนิครนถ์เข้าไปยังลิจฉวีสภา ซึ่งพวกเจ้าลิจฉวีกำลังประชุมกันอยู่
เล่าเรื่องที่สนทนากับพระอัสสชิให้เจ้าลิจฉวีฟัง และ

ว่าจะไปโต้วาทะกับพระสมณโคดม จะหมุนพระสมณโคดมเสีย ให้เหมือนหมุนหม้อเปล่า
ขอเจ้าลิจฉวีทั้งหลายจงไปด้วยกันเถิด

เจ้าลิจฉวีได้ตามสัจจกนิครนถ์เข้าไปในป่ามหาวัน ถามพวกภิกษุว่า พระศาสดาประทับอยู่ที่ใด
พวกภิกษุตอบว่าประทับพักกลางวันอยู่ใต้ต้นไม้ต้นหนึ่ง สัจจกนิครนถ์เข้าไปหา แล้วทูลถามว่า
ทรงสั่งสอนสาวกอย่างไร พระศาสดาตรัสตอบอย่างเดียวกับที่พระอัสสชิตอบแล้ว สัจจกะจึงว่า

พระโคดม ต้นไม้และพืชพันธุ์ทั้งหลายจะเจริญงอกงามต้องอาศัยพื้นดิน
การงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่มนุษย์ทำก็ต้องอาศัยพื้นดินฉันใด
บุคคลอาศัยรูปเป็นตัวตน มีเวทนา มีสัญญา สังขาร และวิญญาณเป็นตัวตน
จึงมีบุญ มีบาปได้ ถ้ารูปเป็นต้นไม่เป็นตัวตนแล้ว บุญบาปจะมีได้อย่างไร “

“อัคคิเวสสนะ ท่านยืนยันหรือว่า รูปเป็นตัวตนของเรา “ พระศาสดาตรัสถาม

“ข้าพเจ้ายืนยันอย่างนั้น, พระโคดม ประชาชนทั้งหลายก็ยืนยันเช่นนี้เหมือนกัน

“คนอื่นช่างเขาเถิด อัคคิเวสสนะ ขอเพียงแต่ท่านยืนยันคำของท่านอย่างนั้นหรือ”

“ ข้าพเจ้ายืนยันอย่างนั้น”

“ อัคคิเวสสนะ ถ้าอย่างนั้นเราขอถามท่านสักข้อหนึ่ง คือ
กษัตริย์ที่ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล และพระเจ้าอชาตศัตรู
ย่อมสามารถฆ่าคนที่ควรฆ่า เนรเทสคนที่ควรเนรเทศได้มิใช่หรือ “
“ เป็นอย่างนั้น พระโคดม “

“ ก็ท่านบอกว่า รูป เป็นต้น เป็นตัวตนของเรา ท่านมีอำนาจเหนือรูป เป็นต้นนั้นหรือ
ท่านปรารถนาได้หรือว่า ขอรูปของเราจงเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าเป็นอย่างนี้เลย

เมื่อพระศาสดาตรัสถามดังนี้ถึง 2 ครั้ง สัจจกนิครนถ์ก็คงนิ่งอึ้งอยู่ จึงตรัสเตือนว่า
เวลานี้ไม่ใช่เวลานิ่ง แต่เป็นเวลาที่จะต้องพูด
ในที่สุด สัจจกนิครนถ์ก็ทูลรับว่า ไม่อาจบังคับรูปเป็นต้นได้

พระศาสดาจึงตรัสว่า “ เปรียบเหมือนคนถือขวานเข้าไปในป่าด้วยต้องการแก่นไม้
พบต้นกล้วย จึงตัดที่โคนแล้วตัดใบออก เขาไม่พบแม้แต่กระพี้ จะพบแก่นได้อย่างไร
วาจาของท่านก็หาแก่นสารอะไรไม่ได้ พอซักไซ้ไล่เลียงเข้าก็ว่างเปล่า แพ้ไปเอง
ที่ท่านเคยพูดในเมืองเวสาลีไว้อย่างไร
จงพิสูจน์คำพูดของท่านเถิดเหงื่อของท่านหยดลงจากหน้าผากแล้ว แต่ของเราไม่มีเลย “

สัจจกนิครนถ์นิ่งอึ้ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ
และในที่สุดก็กล่าวขอโทษพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่อจากนั้นได้ทูลถามพระพุทธองค์ว่า
ด้วยเหตุเพียงเท่าใด สาวกของพระสมณโคดมชื่อว่า ได้ทำตามคำสั่งสอน
ทำถูกต้องตามโอวาทของพระสมณโคดม ข้ามความสงสัยเสียได้ ถึงความแกล้วกล้า
ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนแห่งศาสนาตน ?

พระศาสดาตรัสตอบว่า
“ สาวกของเราย่อมพิจารณาเห็น
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณว่ามิใช่ตัวตนของเรา
เพียงเท่านี้ก็ชื่อว่า ได้ทำตามคำสั่งสอนของเรา…….. “


“ ด้วยเหตุเพียงเท่าใด ภิกษุชื่อว่าเป็นอรหันต์ “ สัจจกนิครนถ์ทูลถาม ?

สาวกของเราพิจารณาเห็น เบญจขันธ์ตามเป็นจริง คือ ไม่ใช่ตัวตนของเรา
หลุดพ้นแล้วเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แหละชื่อว่าเป็นอรหันต์
สิ้นอาสวะแล้ว ประกอบด้วยคุณอันยอดเยี่ยม ๓ ประการ
คือ ความเห็นอันยอดเยี่ยม( ทัสสนานุตตริยะ )๑
การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม ( ปฏิปทานุตตริยะ ) ๑
ความหลุดพ้นอันยอดเยี่ยม ( วิมุตตานุตตริยะ ) ๑

สัจจกนิครนถ์ทูลรับสารภาพและสรรเสริญว่า

“ ข้าพเจ้าเป็นผู้มีนิสัยคอยกำจัดคุณของผู้อื่น
คะนองวาจาคิดว่าจะรุกรานพระสมณโคดมด้วยถ้อยคำของตน พระสมณโคดมผู้เจริญ
บุคคลเจอช้างซับมันก็ดี เจอกองไฟที่ลุกโพลงก็ดี เจออสรพิษก็ดี ยังพอเอาตัวรอดได้บ้าง
แต่มาเจอพระสมณโคดมเข้าแล้ว ไม่มีทางรอดตัวไปได้เลย ( คือต้องยอมแพ้) “

สัจจกนิครนถ์อาราธนาพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น
พระศาสดาทรงรับนิมนต์โดยดุษณี วันรุ่งขึ้น พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
เสด็จไปเสวยที่อารามของสัจจกนิครนถ์ เมื่อเสวยเสร็จแล้ว สัจจกนิครนถ์ทูลว่า
ขอผลบุญในทานนี้จงเป็นความสุขแก่ผู้ให้เถิด พระศาสดาตรัสว่า ผลบุญในทานที่ให้
แก่ผู้มีราคะ โทสะ โมหะ เช่นท่าน จงมีแก่ทายก ส่วนผลบุญในทานที่ให้แก่ผู้ปราศจาก
ราคะ โทสะ โมหะเช่นเรา ขอจงมีแก่ท่าน

หลวงพ่อปัญญานันทะ เคยเทศน์ว่า อะไรๆมันเป็นของประกอบกันมาเช่น รถยนต์ เ
เราชี้ไปสิว่ารถอยู่ที่ไหน มันไม่มีรถ มีแต่ตัวถัง หลังคา ประตู ล้อ กระจก ฯลฯ ต่างๆมารวมกัน

เมื่อไล่ไปเรื่อย ๆ เราจะพบว่า ที่ปลายทางคือความว่าง มองแบบนี้ ตามภาพอาจจะเห็น
ของจริงอาจจะไม่เห็น เพราะมองเห็นด้วยตาเปล่าไม่ได้ แต่เราพอจะเข้าใจได้

เมื่อเรามองดูสวน สวนก็จะหายไป กลายเป็นส่วนประกอบของต้นไม้ กระถาง สระน้ำ ตุ๊กตาหิน หญ้า

เมื่อมองต้นไม้ ต้นไม้ก็จะหายไป กลายเป็นส่วนประกอบของลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ ราก ผล ดอก

เมื่อมองต้น ก็กลายเป็น เปลือก กระพี้ สะเก็ด แก่น

จับมาไล่ไปเรื่อย ๆ ทุกอย่างก็จะไปสุดที่การจับตัวของพลังงานคือ ความว่าง เราเหมือนกับ
จะมองทะลุอะไรไปได้หมด โลกจะใสเหมือนแก้ว

เมื่อทุกอย่างเป็นของว่าง ไม่ใช่ตัวตน จึงไม่มีอะไรน่าผูกผัน เมื่อมองอย่างโลก ๆ
เราก็ดูแลรักษาอย่างโลก ๆ ไปตามเหตุตามปัจจัยที่สมควรตามหน้าที่ของเรา เมื่อมองอย่างธรรม
ก็ให้ใจปล่อยวางลงจากความยึดมั่นในสิ่งต่าง ๆ ทั้งมวล เรียกว่ามี 2 โลก ซ้อนกันอยู่
คือ โลกที่เป็นไปอยู่ทุกวัน ซึ่งสร้างทุกข์ให้เรา กับโลกแบบธรรม ซึ่งปลดทุกข์ให้เรา

ในทางทฤษฎี ท่านก็จะสอนว่า เราคือองค์ประกอบของธาตุ 6
คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ อากาศธาตุ และวิญญาณธาตุ

1. ดินคือ ส่วนแข็ง เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก ฯลฯ

2. น้ำคือ เลือด น้ำลาย น้ำตา ฯลฯ

3. ลมคือ ลมหายใจ ลมในท้อง ฯลฯ

4. ไฟคือ ความร้อนในร่างกาย

5. อากาศธาตุ คือความว่างในตัวเรา เช่น ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องหลอดลม ช่องในลำไส้
หรือแม้แต่ในอณูละเอียดก็มีความว่างของแต่ละอณู ถ้าความว่างในตัวเราไม่มี เช่น จมูกตันก็หายใจไม่ได้
หลอดอาหารตัน ก็กินข้าวไม่ได้ ฉะนั้นช่องว่างหรือความว่างนี้ก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของเรา

ความจริงชีวิตภายนอก เราก็ยังอาศัยอยู่กับความว่าง เช่นในบ้าน เราอาศัยอยู่ในที่ว่างของห้อง
ในรถเราก็อยู่ในที่ว่างของรถ คือ ถ้ารถตันหมด เราก็เข้าไปในรถไม่ได้ เป็นต้น

6. วิญญาณธาตุ คือจิตของเรา
ในที่สุด ทุกอย่างจะคืนสู่ธรรมชาติ เมื่อเราตาย ดังนั้นเราก็คือ การรวมตัวของธาตุ 6 นั่นเอง ไม่มีเราจริง

ความทุกข์ใจเกิดจากความยึดมั่นว่า นั่นเป็นของ ‘ของเรา’ ซึ่งความจริงคือ ไม่มีสิ่งใดเป็นของเรา
มันเป็นธรรมชาติทั้งสิ้น เพราะถ้าเป็น’ของเรา’เราต้องสั่งได้

สิ่งของภายใน ร่างกายของเรา เราสั่งไม่ให้แก่ ไม่ให้ตาย ก็ไม่ได้ สั่งไม่ให้ทุกข์ เศร้า ร้องไห้ สุขก็ไม่ได้
แม้แต่จะสั่งให้ลืมความทุกข์ใจเรื่องเมื่อวาน ก็ยังสั่งไม่ได้

แต่ธรรมชาติสั่งได้ทุกอย่าง เพราะเราเป็นของธรรมชาติไม่มีอะไรเป็น “ตัวเรา” เป็น “ของเรา” ในทางธรรมะ

แล้วตัวตนจริง ๆ ของเราอยู่ที่ใด

ปัญหาที่ ๑๐ ถามเรื่องที่อยู่ของพระพุทธเจ้าที่ปรินิพพาน

“ ข้าแต่พระนาคเสน พระพุทธเจ้ามีจริงหรือ ? ”
“ ขอถวายพระพร มีจริง ”
“ พระผู้เป็นเจ้าอาจชี้ได้หรือไม่ว่า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน ? ”
“ ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าปรินิพพานด้วยการดับขันธ์แล้ว ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน ”
“ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
“ ขอถวายพระพร เปลวไฟที่ดับไปแล้วมหาบพิตรอาจชี้ได้หรือไม่ว่า เปลวไฟนั้นไปอยู่ที่ไหน ? ”
“ ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า เพราะเปลวไฟนั้นถึงซึ่งความไม่มีบัญญติแล้ว ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ก็ไม่มีใครอาจชี้ได้ว่าไปอยู่ที่ไหน
อาจชี้ได้เพียง พระธรรมกาย ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ”
“ พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้สมควรแล้ว ”

นั่นคือเมื่อหมดกิเลสและขันธ์ ๕ ดับแล้วก็ยังเหลือธรรมกาย ( เพราะอาจชี้ได้ ) นอกนั้นเป็นเพียงสิ่งสมมุติเท่านั้น...





หยุดคือตัวสำเร็จ

#2 Mai D na

Mai D na
  • Members
  • 282 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 August 2006 - 09:56 AM



wacko.gif ????

ปัญหา ที่ ๑๐

ใน ที่ ตรง นี้ พระ ธรรม กาย ชี้ ได้ ด้วย หรือ

ชี้ ยัง ไง คะ ไม่ ค่อย เข้า ใจ ??

.......................................................

ความ ว่าง...ต่าง จาก หยุด ไหม??

.......................................................




แม้กาลเวลาจะเปลี่ยนไป
แต่..
เ ป้ า ห ม า ย ไ ม่ เ ป ลี่ ย น แ ป ร




#3 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 August 2006 - 12:21 PM

QUOTE
ปัญหา ที่ ๑๐

ใน ที่ ตรง นี้ พระ ธรรม กาย ชี้ ได้ ด้วย หรือ

ชี้ ยัง ไง คะ ไม่ ค่อย เข้า ใจ ??


ก่อนอื่นขอบอกเอาไว้ในส่วนนี้ผมคัดมาจากคัมภีร์มิลินทร์ ทั้งหมด

ดังนั้นการตอบคำถามนี้ก็ไม่ใช่ง่าย ๆ เพราะต้องอาศัยผู้ที่มีปัญญาทางธรรมะ
มาตอบจึงตอบได้เข้าใจแจ่มแจ้ง แต่จะตอบตามความเข้าใจตัวเองก่อนหวัง
ว่าผู้ที่มีความรู้ทางธรรมะท่านอื่น ๆ จะช่วยแก้ไขให้เข้าใจยิ่งขึ้นเพื่อเป็นธรรมทาน
แก่ผู้ต้องการหลุดพ้นจากกิเลส หรือต้องการให้มันเบาบางขึ้น เพื่อความสุขใน
ชีวิตและการทำงาน

เมื่อ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดับไปแล้วก็หมดบัญญัติที่จะชี้ได้
เพราะการที่เราจะชี้ใครคนใดคนหนึ่งนั้น ต้องมีส่วนประกอบครบ ๕ ประการ
จึงจะสามารถบอกได้ว่าใครเป็นใคร แต่พระอรหันต์ท่านดับ ขันธ์ ๕ หมดไม่มี
เหลือ จะชี้บอกได้อย่างไรว่าขณะนี้ท่านอยุ่ไหน ?

ตอบว่าท่านนิพพานแล้ว ชี้ได้เพียงธรรมกาย ก็หมายความว่ายังสามารถบอกได้
ว่าท่านอยู่ไหน จากที่เราเรียนมาตามครูบาอาจาร์ยเรา ธรรมกายนั้นอยู่ที่ใด มอง
จากภายในกายของเรา ที่ตำแหน่ง ๐๗๒ เข้ากลาง ของกลางไป ครบ ๑๘ กายก็
เท่ากับว่าท่านเข้าถึงธรรมกายพระอรหันต์แล้ว และที่ที่ธรรมกายอยู่คือ.......
อายตนะนิพพาน น่าจะเป็นที่ที่เดียวที่ชี้ได้ว่าพระธรรมกายอยู่ที่ใด


QUOTE
ความ ว่าง...ต่าง จาก หยุด ไหม??

น่าจะเหมือนกัน เราต้องการหยุดเป็นตัวสำเร็จใช่ไหม เมื่อพิจารณาถึงสุญญตาได้
ใจก็หยุดนิ่ง ดังข้อความตอนหนึ่ง

"ด้วยเหตุเพียงเท่าใด ภิกษุชื่อว่าเป็นอรหันต์ สัจจกนิครนถ์ทูลถาม"

สาวกของเราพิจารณาเห็น เบญจขันธ์ตามเป็นจริง คือ ไม่ใช่ตัวตนของเรา
หลุดพ้นแล้วเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แหละชื่อว่าเป็นอรหันต์
สิ้นอาสวะแล้ว ประกอบด้วยคุณอันยอดเยี่ยม ๓ ประการ
คือ ความเห็นอันยอดเยี่ยม( ทัสสนานุตตริยะ )๑
การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม ( ปฏิปทานุตตริยะ ) ๑
ความหลุดพ้นอันยอดเยี่ยม ( วิมุตตานุตตริยะ ) ๑








หยุดคือตัวสำเร็จ

#4 ThDk

ThDk
  • Members
  • 259 โพสต์
  • Location:Struer, Denmark
  • Interests:จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อสำรอกราคะ... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอานุสัย.. เพื่อรู้รอบสังสารวัฎอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมมุติ... เพื่อญาณทัศนะ... เพื่อปรินิพพาน อันปราศจากอุปทาน.

โพสต์เมื่อ 23 August 2006 - 08:48 AM

สาธุ ขออนุโมทนา ค่ะ

บทความที่ให้ปัญญาอย่างนี้ อยากให้มีบ่อยๆค่ะ ปัญญา หมั่นลับบ่อยๆก็จะค่อยๆมีความคมมากขึ้น เอาไว้ตัดอวิชชา ( ไม่ใช้แข่งความคมกับผู้อื่น ).
อยากให้เพื่อนกัลยาณมิตร ศึกษาพระไตรปิฎก การได้อ่านพระสูตร ต่างๆเป็นต้น ทำให้ได้ปัญญา เห็นเป็นสัมมาทิฐิ. การจะละวาง อะไรไม่ใช่เรื่องง่ายถ้าเราไม่เห็นตามเป็นจริงว่าสิ่งที่เราถือในมือคืออะไร เช่นถ้าคนถือดินก้อนหนึ่งแล้วตาไม่ดีเห็นว่าก้อนดินนั้นเป็นก้อนทองก็ถืออยู่นั่นแหละ ไม่สามารถวางลงได้ แต่เมื่อไหร่ที่เห็นตามความจริงว่าก้อนดินที่ถืออยู่เป็นก้อนดินจริงๆ เขาก็จะวางลงเพราะไม่มีประโยชน์ที่จะถือให้เมื่อยและหนัก.

กิเลส คือ ความโลภทำให้เราลำบาก ตอนแรกๆก็ถือ พอโลภเข้าก็แบก พอโลภมากขึ้นอีกก็ต้องลากกันไป แต่พอเอาสิ่งที่ตนลากมาพิจารณาก็จะเริ่มคัดเอาบางสิ่งออกได้เพราะไม่เห็นประโยชน์ของการที่จะต้องลากมัน ที่เหลืออยู่ก็แค่เอาแบกไว้ พอแบกไปเรื่อย ก็รู้สึก หนักและเบื่อที่จะต้องแบก เห็นแต่ความลำบาก ทุลักทุเล ก็เลยเอาไอ้ที่แบกไว้มาพิจารณาและคัดออก ก็เลยเหลือแค่ 1 กำมือ เดินตัวปลิวเลย พอถือไปนานๆก็รู้สึกเมื่อยมือก็พิจารณาดูว่าไอ้ที่เราถืออยู่มันเริ่ม เก่า พุพัง ทรุดโทรมไปแล้ว เรามามัวถือมันอยู่ทำไม เมื่อนมือเปล่าๆ ก็เลยโยนทิ้งไป ที่นี้สิ มันโล่ง โปร่ง ว่าง เบา สบาย จะลุก จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน มันไม่ต้องมีหว่ง ไม่ต้องมีทุกข์ ไม่ต้องมีกังวล เพราะไม่ได้ลาก ไม่ได้แบก ไม่มีอะไรที่เราต้องถืออีกแล้ว. นี่แหละสุขที่แท้จริง สุขที่หลุดได้ พ้นได้ จากเครื่องพันธนาการ.

ที่นี้พอใครเอาอะไรมาให้ถือ ให้แบกไว้ ก็ไม่เอาแล้ว เหมือนคนที่ออกจากคุกแล้ว เพื่อนเก่าเรียกให้กลับไปก็ไม่เอาแล้ว ออกจากคุกแล้วจะกลับไปทำไม. พระบรมศาสดา พระองค์ก็ทิ้งที่มีอยู่หมด และไม่หาของใหม่มาแบก หรือ ถือใหม่ พระองค์จึงหมดทุกข์ได้ ดับทุกข์ได้.

บางคนเคยแบกบาป ก็ละได้กลับมาแบกบุญแทน การแบกบุญย่อมประเสริฐกว่าการแบกบาป แต่การละทั้งบาป และ บุญ ประเสริฐที่สุด ไม่ต้องแบกอะไรเลย. บาปไม่ทำก็ไม่มีบาปให้เราแบก. ความดีใดที่ทำแล้วทั้งทางกาย วาจา ใจ ทำเสร็จตรงไหนก็วางทิ้งมันลงตรงนั้น จบแล้ว เสร็จแล้ว ไม่ต้องแบกความดีนั้นไว้. ถ้าทำได้อย่างนี้ก็ชื่อว่าอยู่ใกล้พระพุทธบิดา.

บางคนบอกว่าละบาปไม่ได้เพราะละแล้วจะทำอะไรกินล่ะ. คนเราไม่ทำความชั่วแล้วอดตายยังดีกว่า. คนเรายังไงก็ต้องตาย คนที่ไม่สามรถละความชั่วได้ ก็เหมือนคนที่แล่เนื้อตัวเองกินอยู่ทุกวัน เจ็บปวด ทุกข์ทรมาน แล่ไปเรื่อยๆ กินเนื้อตัวเองไปทุกวัน และก็ตายในที่สุด อยู่ก็ทุกข์ จะตายก็ทุกข์ ตายไปแล้วก็ทุกข์. คนที่ละชั่ว ถึงจะมีกินบ้าง อดบ้าง แต่ก็มีความสุขเพราะไม่ได้แล่เนื้อตัวเองกิน จะตายก็มีความสุขเพราะเห็นความสมบูรณ์ของเนื้อตนที่ไม่ได้ถูกแล่ออก ตายไปก็มีความสุขเพราะไม่เห็นกรรมชั่ว.

ขอให้ศึกษาพระธรรมกันมากๆนะคะ ปัญญาต้องสะสมบ่อยๆ เจริญๆบ่อยๆเพราะความเสื่อมของปัญญาย่อมนำทุกข์มาให้เสมอ.
เมื่อไรมีทุกข์ขอให้ทราบว่า ที่เราขาด ไม่ใช่คน สัตว์ สิ่งของ แต่เป็น ปัญญา ที่เราขาดมันไป.

ขอบพระคุณค่ะ

โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน

โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่

โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง

โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้


#5 คนรักวัด

คนรักวัด
  • Members
  • 626 โพสต์

โพสต์เมื่อ 11 September 2006 - 02:46 PM

อนุโมทนาบุญครับ
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
โก หิ นาโถ ปโร สิยา
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน
นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ . . . ฯ ๑๖๐ ฯ

เราต้องพึ่งตัวเราเอง
คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้ว
ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้แสนยาก

Oneself indeed is master of oneself,
Who else could other master be?
With oneself perfectly trained,
One obtains a refuge hard to gain

#6 นักท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยว
  • Members
  • 2378 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:รู้สึกว่าจะไม่ค่อยได้อยู่กะที่อ่ะ มาดูอารายกานอ่ะ
  • Interests:มาสร้างบารมีตามติดหมู่คณะดีกว่า

โพสต์เมื่อ 17 September 2006 - 12:04 PM

อนุโฒทนาบุญด้วยเด้อ
กายธรรมควรเทิดไว้ ในใจ
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ


เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี

#7 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 27 March 2007 - 10:43 AM

ขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ