10 กันยายน 49 กรรมเก่า-กรรมใหม่ คืออะไร: กรรมเก่า กรรมใหม่ คืออะไร ? ความดับแห่งกรรม
และทางปฏิบัติเพื่อดับกรรมคืออะไร ?
พุทธดำรัส ตอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่าคืออะไร ตา อันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า หู... จมูก...
ลิ้น... กาย... ใจ... อันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า เป็นของอันปัจจัยปรุงแต่งสำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่ง
เวทนา... เรียกว่ากรรมเก่า
กรรมใหม่ คืออะไร กรรมที่บุคคลทำด้วยวาจา ใจ ในบัดนี้ นี่เราเรียกว่ากรรมใหม่
ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน...ความดับใดกระทบกับความพ้นทุกข์เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม นี้เรียกว่า ความดับแห่งกรรม
ทางปฏิบัติเพื่อ ความดับแห่งกรรมคืออะไร ... อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมา
วาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ทางปฏิบัติเพื่อความดับ
แห่งกรรม
* จุดมุ่งหมายของพรหมจรรย์
พุทธดำรัส ตอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกปริพพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงถามพวกเธออย่างนี้ว่า พวกท่านอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อประสงค์อะไร.... พวกเธอพึงตอบพวกเขาอย่างนี้ว่า พากเราอยู่เพื่อประพฤติ
พรหมจรรย์กำหนดรู้ทุกข์ ถ้าพวกเขาถามอย่างนี้ว่า ทุกข์ที่ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อกำหนด
รู้นั้นคืออะไร.... พวกเธอพึงตอบพวกเขาอย่างนี้ว่า
ทุกข์ คือ ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...
ทุกข์ คือ ดีใจ รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ... ธรรมารมณ์....
ทุกข์ คือ จักขุวิญญาณ... โสตวิญญาณ... ฆานวิญญาณ.... ชิวหาวิญญาณ... กายวิญญาณ... มโนวิญญาณ...
ทุกข์ คือ จักขุสัมผัส... โสตสัมผัส...ฆานสัมผัส... ชิวหาสัมผัส... กายสัมผัส... มโนสัมผัส...
ทุกข์ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะผัสสะเหล่านี้เป็นปัจจัย
11 กันยายน 49 ทำเองรู้เอง
พุทธดำรัส ตอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยจักษุ... ฟังเสียงด้วยหู... ดมกลิ่นด้วย
จมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย... รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ โมหะ
อันมีอยู่ภายในว่า.... มีอยู่ในภายในของเรา หรือรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ โมหะ อันไม่มีอยู่ในภายในว่า... ไม่มีอยู่
ในภายในของเรา.... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้พึงเชื่อด้วยศรัทธา ด้วยความชอบใจของตน ด้วยการ
ได้ฟังต่อ ๆ กันมากระนั้นหรือ.... ธรรมเหล่านี้พึงทราบได้ด้วยการเห็นด้วยปัญญามิใช่หรือ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นทางให้ภิกษุได้อาศัยประกาศความรู้อันยิ่งโดยไม่ต้องอาศัยศรัทธา โดยไม่ต้อง
อาศัยความชอบใจของตน โดยไม่ต้องอาศัยการฟังต่อ ๆ กันมา
* ประโยชน์ของการเจริญสมาธิ
พุทธดำรัส ตอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ เพราะเมื่อภิกษุมีจิตเป็นสมาธิแล้ว สิ่งทั้ง
ปวงย่อมปรากฏตามความเป็นจริง ก็อะไรเล่าปรากฏตามความเป็นจริง คือ ตา..ย่อมปรากฏตามความเป็นจริง
ว่าไม่เที่ยง ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ... ธรรมารมณ์.... จักขุ
วิญญาณ... โสตวิญญาณ... ฆานวิญญาณ.... ชิวหาวิญญาณ... กายวิญญาณ... มโนวิญญาณ...
จักขุสัมผัส... โสตสัมผัส...ฆานสัมผัส... ชิวหาสัมผัส... กายสัมผัส... มโนสัมผัส... สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะผัสสะเหล่านี้เป็นปัจจัย ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่าไม่เที่ยง....
12 กันยายน 49 วิธีละมิจฉาทิฏฐิ: ทำอย่างไรจึงจะละมิจฉาทิฏฐิ สักกายทิฏฐิ และอัตตานุทิฏฐิได้ ?
พุทธดำรัส ตอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เห็นจักษุ... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... ว่าเป็นของไม่เที่ยง
จึงจะละมิจฉาทิฏฐิ รู้เห็น รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ... ธรรมารมณ์.... รู้เห็น จักขุวิญญาณ...
โสตวิญญาณ... ฆานวิญญาณ.... ชิวหาวิญญาณ... กายวิญญาณ... มโนวิญญาณ... รู้เห็น จักขุสัมผัส...
โสตสัมผัส...ฆานสัมผัส... ชิวหาสัมผัส... กายสัมผัส... มโนสัมผัส... รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะผัสสะเหล่านี้เป็นปัจจัย ว่าเป็นของไม่เที่ยงจึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เห็นจักษุ (เป็นต้นนั้น) ว่าเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฏฐิได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เห็นจักษุ...เป็นต้นนั้น) ว่าเป็นอนัตตา จึงจะละสักกายทิฏฐิได้....
* มหาสมุทรในพุทธศาสนา
พุทธดำรัส ตอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ย่อมกล่าวว่า มหาสมุทร มหาสมุทรนั้นไม่ชื่อว่า
เป็นมหาสมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า มหาสมุทรนั้นเป็นเพียงแอ่งน้ำใหญ่ เป็นห้วงน้ำใหญ่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นมหาสมุทรของบุรุษ ..... กำลังของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
นั้นเกิดจาก รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ .....บุคคลใดย่อมอดกลั้นกำลังอันเกิดจาก รูป เสียง กลิ่น
รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ นั้นได้ บุคคลนี้เรียกว่าพราหมณ์ สามารถข้ามมหาสมุทร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
ใจ ซึ่งมีทั้งคลื่นมีทั้งน้ำวน มีทั้งสัตว์ร้าย มีทั้งผีเสื้อน้ำ แล้วขึ้นถึงฝั่งยืนอยู่บนบกได้ อยู่จนพรหมจรรย์ ถึงที่
สุดแห่งโลกข้ามถึงฝั่งแล้ว"
13 กันยายน 49 สัตว์ทั้งหลายลอยคออยู่ในมหาสมุทร
พุทธดำรัส ตอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยตา... เสียงอันถึงรู้ด้วยหู... กลิ่นอันจะพึงรู้ด้วย
จมูก... รสอันจะถึงรู้ด้วยลิ้น... โผฏฐัพพะอันจะถึงรู้ด้วยกาย... ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้ด้วยใจ...
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่ารัก นี้เรียกว่า มหาสมุทร ในวินัยของพระอริยเจ้า โลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มาร
โลก พรหมโลก หมู่สัตว์ พร้อมทั้งพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ส่วนมาก หลงใหลติดใจอยู่ในมหาสมุทรนั้น
จึงยุ่งดุจด้ายของช่างหูก เป็นปมดุจกระจุกด้าย เป็นพงดุจหญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย หาล่วงอบาย ทุคติ
วินิบาตสงสารไปได้ไม่
บุคคล คลายราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว บุคคลนั้นชื่อว่าข้ามหาสมุทรนี้ ซึ่งมีทั้งสัตว์ มีทั้งผีเสื้อ น้ำ มีทั้ง
คลื่นและภัย ที่ข้ามได้แสนยาก ได้แล้ว....
14 กันยายน 49 เบ็ดของมาร: เบ็ดของมารคืออะไร ? ทำอย่างไรจึงจะไม่ติดเบ็ดของมาร ?
พุทธดำรัส ตอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรานเบ็ดหย่อนเบ็ดที่มีเหยื่อลงในห้วงน้ำลึก ปลาที่เห็นแก่เหยื่อตัวใด
ตัวหนึ่งกลืนกินเบ็ดนั้น ชื่อว่ากลืนกินเบ็ดของนายพรานเบ็ด ย่อมถึงความวิบัติ ความพินาศ พรานเบ็ดพึง
กระทำได้ตามใจชอบฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายในโลกมีเบ็ดอยู่ ๖ อย่างเหล่านี้ เพื่อจะนำสัตว์ทั้งหลายไป
เพื่อจะฆ่าสัตว์ทั้งหลายเสีย เบ็ด ๖ อย่าง คือ รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ... ธรรมารมณ์.... ที่จะพึง
รู้ด้วย ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... อันน่าอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่ารัก
ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญหมกมุ่น รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ... ธรรมารมณ์....ภิกษุนี้เรียกว่า
กลืนกินเบ็ดของมาร ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ มารใจบาปจึงกระทำได้ตามใจชอบฉันนั้น....
ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ... ธรรมารมณ์....
อันจะพึงรู้ด้วย ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... ภิกษุนี้เรียกว่าไม่กลืนกินเบ็ดของมาร ทำลาย ย่ำยีเบ็ดของ
มารได้ ไม่ถึงความวิบัติ ไม่ถึงความพินาศ มารใจบาปจึงกระทำได้ตามใจชอบไม่ได้....
15 กันยายน 49 พระพุทธเจ้ายังมีอายตนะ แต่ไม่ติดในอายตนะ
ปัญหา พระโกฏฐิกะ ถามพระสารีบุตรว่า ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... และ รูป... เสียง... กลิ่น... รส...
โผฏฐัพพะ... ธรรมารมณ์.... ต่างเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวผูกมัดซึ่งกันและกันหรืออย่างไร ?
พระสารีบุตรตอบ ดูก่อนท่านโกฏฐิกะ ตาเป็นเครื่องผูกมัดรูป และรูปเป็นเครื่องผูกมัดตาหามิได้... หูเป็น
เครื่องผูกมัดเสียง และเสียงเป็นเครื่องผูกมัดหูก็หามิได้ ... จมูกเป็นเครื่องผูกมัดกลิ่น และกลิ่นเป็นเครื่องผูก
มัดจมูกหามิได้... ลิ้นเป็นเครื่องผูกมัดรส และรสเป็นเครื่องผูกมัดกายก็หามิได้...
ใจเป็นเครื่องผูกมัดธรรมารมณ์ และธรรมารมณ์เป็นเครื่องผูกมัดใจก็หามิได้...
ความพอใจรักใคร่ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูป.... อาศัยหูและเสียง....อาศัยจมูกและกลิ่น...อาศัยลิ้นและ
รส....อาศัยกายและโผฏฐัพพะ... อาศัยใจและธรรมารมณ์นั้นต่างหาก เป็นเครื่องผูกมัดในจักษุและรูปเป็นต้น
นั้น...
ท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือนโคดำและโคขาวที่เขาผูกโยงไว้ด้วยเชือกหรือด้วยสายแอกเส้นเดียว ใครเล่าจะพึง
พูดได้ว่า โคดำเป็นเครื่องผูกมัดโคขาว หรือโคขาวเป็นเครื่องผูกมัดโคดำ ที่แท้เชือกและสายแอกเส้นเดียวที่
ใช้ผูกโยงโคทั้งสองนั้น และเชื่อว่าเป็นเครื่องผูกมัดในโคทั้งสองนั้น....
ท่านผู้สูงอายุ ถ้าจักษุเป็นเครื่องผูกมัดรูป หรือรูปจักเป็นเครื่องผูกมัดจักษุ ฯลฯ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบไม่พึงมีปรากฏได้
ดูก่อนท่านโกฏฐิกะ พระเนตรของพระผู้มีพระภาคมีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงเห็นรูปด้วยพระเนตร.... ยังทรง
ฟังเสียงด้วยพระโสต... ยังทรงสูดกลิ่นด้วยพระนาสิก... ยังทรงลิ้มรสด้วยพระชิวหา... ยังทรงถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกาย.... ยังทรงรู้ธรรมารมณ์ด้วยพระมนัส แต่พระองค์ก็ไม่มีความพอใจรักใคร่ พระองค์ทรง
มีจิตหลุดพ้นแล้ว...
* อัตตาที่เป็นอมตะมีหรือไม่
พระอานนท์ตอบ ดูก่อนท่านอุทายี บุรุษต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้ ถือเอาขวานอันคมเข้าไปสู่
ป่า พบต้นกล้วยใหญ่ มีลำต้นทรงยังใหม่ ไม่รุงรังในป่านั้น พึงตัดที่โคนต้นแล้วตัดที่ปลาย ครั้นแล้วลอก
กาบออก แม้กระพี้ที่ต้นกล้วยนั้นก็ไม่พบที่ไหนจะพบแก่นได้ฉันใด ดูก่อนท่านอุทายี ภิกษุจะพิจารณาหาตัวตน
หรือสิ่งที่เป็นตัวตน หรือสิ่งที่เนื่องด้วยตนในผัสสายตะ ๖ ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเล็งเห็นอยู่อย่างนี้ ก็ไม่
ยึดถือสิ่งใดในโลก เมื่อไม่ยึดถือก็ไม่ดิ้นรน เมื่อไม่ดิ้นรน ก็ปรินิพพานโดยแท้
16 กันยายน 49 การติดในนิมิตและพยัญชนะให้โทษ
พุทธดำรัส ตอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลแทงจักขุนทรีย์ด้วยหลาวเหล็กอันร้อน ไฟติดลุกโพลงแล้วยังดี
กว่าการเอาใจใส่ต่อเครื่องหมายใหญ่และรายละเอียดปลีกย่อยในรูปอันจะพึงรู้ด้วยตาจะดีอะไร.....
บุคคลเกี่ยวโสตินทรีย์ ด้วยขอเหล็กอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้วยังดีกว่าการเอาใจใส่ในนิมิต (เครื่องหมาย
ใหญ่) และ อนุพยัญชนะ (รายละเอียดปลีกย่อย) ในเสียงอันจะพึงรู้ด้วยหูจะดีอะไร.....
บุคคลคว้านฆานินทรีย์ ด้วยมีดตัดเล็บอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้วยังดีกว่าการถือโดยนิมิต โดยอนุพยัญชนะ
ในรสจะดีอะไร.....
บุคคลแทงกายินทรีย์ ด้วยหอกอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้วยังดีกว่าการถือนิมิต โดยอนุพยัญชนะ ใน
โผฏฐัพพะจะดีอะไร วิญญาณอันเนื่องด้วยความยินดีในนิมิต หรือเนื่องด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะพึงตั้ง
มั่นอยู่ ถ้าบุคคลพึงถึงแก่ความตายในระยะเวลานั้น พึงเข้าถึงคือ ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดเดียรฉานอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหลับยังดีกว่า (การคิดธรรมารมณ์หรืออกุศลวิตกต่าง ๆ ) แม้เราจะกล่าวว่า ความ
หลับมีโทษ ไม่มีผล เป็นความโง่เขลา ของชีวิตทั้งหลาย แต่บุคคลอยู่ใต้อำนาจของวิตกเช่นใดแล้ว พึงทำลาย
สงฆ์ ให้แตกกันได้ บุคคลไม่ควรตรึกตรองถึงวิตกเช่นนั้นเลย....
Dhamma for the week 37
เริ่มโดย ThDk, Sep 17 2006 04:57 PM
มี 5 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 17 September 2006 - 04:57 PM
โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน
โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่
โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง
โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.
- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้
#2
โพสต์เมื่อ 17 September 2006 - 08:05 PM
อ่ะนี้จะเอาธรรมามาUpทุกวันเลยหรอ งั้นอนุโมทนานะ
กายธรรมควรเทิดไว้ ในใจ
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ
เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ
เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี
#3
โพสต์เมื่อ 17 September 2006 - 09:57 PM
สาธุ
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
โก หิ นาโถ ปโร สิยา
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน
นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ . . . ฯ ๑๖๐ ฯ
เราต้องพึ่งตัวเราเอง
คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้ว
ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้แสนยาก
Oneself indeed is master of oneself,
Who else could other master be?
With oneself perfectly trained,
One obtains a refuge hard to gain
โก หิ นาโถ ปโร สิยา
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน
นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ . . . ฯ ๑๖๐ ฯ
เราต้องพึ่งตัวเราเอง
คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้ว
ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้แสนยาก
Oneself indeed is master of oneself,
Who else could other master be?
With oneself perfectly trained,
One obtains a refuge hard to gain
#4
โพสต์เมื่อ 18 September 2006 - 08:39 PM
อนุโมทนาบุญด้วยนะคะ ส่งมาให้หนูเรื่อยๆนะคะหนุเปิดไปอ่านอยุ่นะคะ
"ด้วยใจกล้าอาสา พัฒนาไม่หยุดยั้ง"
น้ำฝนลูกพระธัมฯ
#5
โพสต์เมื่อ 19 September 2006 - 12:05 AM
ดีครับ อนุโมทนาบุญครับ
จงสู้และอย่าท้อ ลูกเอย
ต้องถึงธรรมอย่างเสบย แน่แท้
ให้ทำอย่างที่เคย สอนสั่ง
นั่ง บ่ มีข้อแม้ จักได้ธรรมครอง
สุนทรพ่อ
มาร่วมกันสร้างสันติสุขให้กับโลกกันเถอะ
ต้องถึงธรรมอย่างเสบย แน่แท้
ให้ทำอย่างที่เคย สอนสั่ง
นั่ง บ่ มีข้อแม้ จักได้ธรรมครอง
สุนทรพ่อ
มาร่วมกันสร้างสันติสุขให้กับโลกกันเถอะ
#6
โพสต์เมื่อ 27 March 2007 - 11:45 AM
ขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ