ฌาน4/Right Concentration มีอะไรบ้าง
#1
โพสต์เมื่อ 14 June 2008 - 04:38 AM
#2
โพสต์เมื่อ 14 June 2008 - 02:59 PM
ฌาน 4 คือ การที่จิตสงบนิ่งไปตามลำดับ จนเข้าถึง ปฐมฌาน ทุตยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน ครับ
ซึ่ง ปฐมฌาน ว่าตามตำรา ก็มีองค์ 5 คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน มีองค์ 3 คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
ตติยฌาน มีองค์ 2 คือ สุข เอกัคคตา
จตุตถฌาน มีองค์ 2 คือ อุเบกขา เอกัคคตา
ที่นี้มาดูในรายละเอียด แต่ละคำนะครับ
วิตก ภาษาพระ ไม่ใช่แปลว่า ห่วงกังวล นะครับ แต่หมายถึงว่า ปักจิตลงสู่อารมณ์ หรือ การตรึก เป็นต้น
วิจาร ภาษาพระ ก็ไม่ใช่หมายถึง วิพากษ์วิจารณ์เรื่องโน้นเรื่องนี้นะครับ แต่หมายถึง การตรอง การพิจารณาอารมณ์
ปีติ คงไม่ต้องแปลนะคำนี้
สุข นี่ก็คงไม่ต้องแปล
เอกัคคตา หมายถึง ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์เดียวครับ
#3
โพสต์เมื่อ 14 June 2008 - 03:10 PM
เอ่อ คราวหน้าตั้งกระทู้ถามรวม ๆ จะเป็นประโยชน์มากกว่านะครับ
ขออนุโมทนา พี่หัดฝัน ที่ตอบกระทู้ไว้ดีแล้วนะครับ สาธุ
ขอทำความเข้าใจถูก ก่อนว่า
ผมไม่ใช่ผู้รู้ หรอกครับ
ยังเป็นเพียงนักเรียนอนุบาล กำลังหัดคลานเตาะแตะ ศึกษาธรรมเท่านั้น
การร่วมแสดงความคิดเห็นและสาระธรรม ที่ผมนำมาแบ่งปันนั้น
ก็เป็นของผู้รู้แจ้ง คือ พระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มีบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก
และผู้รู้จริงท่านอื่น มีพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ หลวงพ่อฯ คุณยายอาจารย์ฯ เป็นต้น
แม้ทัศนะส่วนตัว ก็มาจากการการศึกษา ทำความเข้าใจ ไตร่ตรอง จากผู้รู้แจ้งและรู้จริงทั้งสิ้น
ดังนั้น ผมรู้แก่ใจตนเองอยู่ว่า
ผมแค่แบ่งปันสาระธรรมของผู้รู้แจ้งและรู้จริง แค่ ค้นความรู้ที่มีอยู่อยู่แล้มา copy and paste เท่านั้น
จึงเขินและกระดากใจ เมื่อมีท่านใดมาชื่นชม ทำนองว่า ผมตอบกระทู้แจ่มดี
แต่หลายโอกาส ในการตั้งและตอบกระทู้
ผมต้องใช้คำว่า ความคิดเห็น ความเข้าใจ ทัศนะส่วนตัว
ก็เพราะ เกรงว่าหากอ้างอิงว่า
ความรู้ ความเข้าใจ ที่นำมาแสดง มาจากผู้รู้แจ้งและผู้รู้จริง หรือคำครู
โดยทีตนเองทรงจำมาไม่ถูก คลาดเคลื่อน หรือพิจารณาไม่แยบคายมากพอ
ก็จะกลายเป็น กล่าวตู่ธรรม สร้างความเสียหายท่านผู้รู้แจ้งและผู้รู้จริงและครูบาอาจารย์
ผมจึงเลี่ยงมาใช้ความคิดเห็น ความเข้าใจ ทัศนะส่วนตัว ดังกล่าว
ที่ต้องอธิบาย ขยายความตามความเป็นจริงมานี้
ก็เพื่อไม่อยากให้ท่านใด เข้าใจผิด ว่า
ผม ตอบดี รู้มาก หรือเพราะ อวดรู้
ผมแค่ค้นคว้า copy and paste แล้วนำมาแบ่งปันให้พิจารณาเท่านั้นครับ
#4
โพสต์เมื่อ 14 June 2008 - 03:20 PM
แต่เพื่อไม่ให้การค้นคว้าเปล่าประโยชน์
งั้นขอนำมาร่วมสนทนาธรรม ต่อนะครับ
ข้อมูลอาจซ้ำกับ พี่หัดฝันบ้าง ก็ขออภัยทานด้วยครับ
กลับมาที่คำถามกระทู้นะครับ
ที่จริง เรื่องสัมมาสมาธิ เป็นเรื่องใหญ่ในพระพุทธศาสนา
เป็นเรื่องของการรู้แจ้ง โดยภาวนามยปัญญา
ดังนั้น จึงขอเพียง
ค้นความรู้ที่มีอยู่อยู่แล้มา copy and paste ให้ทุกท่านพิจารณาเอง
และร่วมสนทนาธรรมสักเล็กน้อยนะครับ
จากคำถาม ขอตอบสั้น ๆ แล้วเสนอแหล่งข้อมูลและ key word เพื่อการค้นคว้าศึกษากันเพิ่มเติมนะครับ
การทำความเข้าใจเรื่อง สัมมาสมาธิ นั้น (รวมถึงธรรมะข้ออื่น ๆ)
มาได้จาก ๒ ทาง เป็นอย่างน้อย คือ
ปริยัติธรรม ( คันถะธุระ ) และการปฏิบัติธรรม ( วิปัสสนาธุระ )
(ไม่นับการศึกษา ค้นหาจาก Search engines in network และการถาม การสนทนาธรรม นะครับ )
ซึ่งแต่ละทางนั้น ก็จะได้ความรู้ ความเข้าใจที่หลากหลาย แตกต่างกันไป
ตามแต่การตีความภาษาศาสตร์ของธรรมกถึกและวิปัสสนาจารย์แต่ละท่าน
ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ คือ ความรู้แจ้งตรงไปตามความเป็นจริง
ก็มีมากระดับชั้น ความละเอียดของจิต ของใจ ของการเข้าถึงธรรม
นั่นคือ ตามแต่สามัญผลของแต่ละสายการปฏิบัติธรรม แต่ละครูบาอาจารย์ ก็ว่ากันไปครับ
ในแง่ของการทำความเข้าใจเรื่อง สัมมาสมาธิ จาก ปฏิบัติธรรม
สัมมาสมาธิ คือ สมาธิที่เจริญตามแนวของ ฌาน ๔ ในอริยมรรค มีองค์ ๘
จากประสบการณ์ของครูบาอาจารย์ท่านอื่น มีรายละเอียดอย่างไร ขอยกไว้ ไม่กล่าวถึง
ขอกล่าวถึงแต่ สามัญผลของสมถะและวิปัสสนา
ของพระเดชพระคุณ พระมงคลเทพมุนี ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
ที่มีบันทึกไว้ในพระธรรมเทศนา กัณฑ์ที่ ๑๘ สมาธิ ( สมาธิเบื้องต่ำและเบื้องสมาธิสูง ) นะครับ
โดยรวบรัดมาที่ ฌาน ๔
#5
โพสต์เมื่อ 14 June 2008 - 03:36 PM
สามารถศึกษา เรียนรู้ ทำความเข้าใจได้จาก ตัวอย่างดังนี้ครับ
ฌาน ๔ = รูปฌาน ๔ (the Four Jhanas)
๑. ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑ — the First Absorption) มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
๒. ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒ — the Second Absorption) มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
๓. ตติยฌาน (ฌานที่ ๓ — the Third Absorption) มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา
๔. จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔ — the Fourth Absorption) มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา
คัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม นิยมแบ่งรูปฌานนี้เป็น ๕ ขั้น เรียกว่า ฌานปัญจกนัย หรือ ปัญจกัชฌาน
โดยแทรก ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) ที่มีองค์ ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เพิ่มเข้ามา
แล้วเลื่อนทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตฌาน ในฌาน ๔ ข้างต้นนี้
ออกไปเป็น ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน ตามลำดับ
M.I.40 ม.มู. ๑๒/๑๐๒/๗๒
****
สัมมาสมาธิ ใน มหาสติปัฏฐานสูตร
ข้อความบางตอนจาก สติปัฏฐานสูตร
สัมมาสมาธิเป็นไฉน ? (ในอริยมรรค มีองค์ ๘ )
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เธอเข้าถึงทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่
เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ. เสวยสุขด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไปเข้าถึงตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า
ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอเข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะ ละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้ สติบริสุทธิ์อยู่
อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
****
สัมมาสมาธิ ใน พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 360
[๓๙] สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต
ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบสมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ ในสมัยนั้น อันใด
นี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น.
****
สัมมาสมาธิ ใน อังคิกสูตร แสดงการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ[/b]
๘. อังคิกสูตร
[๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ เธอทั้งหลายจงฟัง ....
….
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ……
.....
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน …
….
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
สรรเสริญ …
…..
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌานอันไม่มีสุข
ไม่มีทุกข์ เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสและโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ …….
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมถือด้วยดี ทำไว้ใน
ใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ซึ่งปัจจเวกขณนิมิตด้วยปัญญา
….
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ
อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ภิกษุจะโน้มน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้ง
ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆ เธอย่อมถึง
ความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่โดยแน่นอน …
****
สัมมาสมาธิ ใน http://www.dmc.tv/pa...ditation03.html
ประเภทของสมาธิ
1. สัมมาสมาธิ
การ ฝึกสมาธิเพื่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่า ผู้ฝึกหรือผู้ปฏิบัติย่อมต้องการที่จะฝึกหรือปฏิบัติในแนวทางที่ถูกต้อง ซึ่งนอกจากจะฝึกหรือปฏิบัติได้ถูกต้องแล้ว จำเป็นจะต้องทราบว่าวัตถุประสงค์ของการฝึกหรือปฏิบัติเพื่ออะไร ทั้งนี้การฝึกสมาธิในแนวทางที่ถูกต้องในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าสัมมาสมาธิ และสัมมาสมาธินั้น โดยความหมายทั่วไป หมายถึงการตั้งจิตมั่นชอบ ซึ่งในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงสัมมาสมาธิไว้หลายแห่ง โดยได้อธิบายความหมาย ตลอดจนลักษณะของสัมมาสมาธิไว้ หลายแห่งดังนี้
สัมมาสมาธิเป็นไฉน ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้า ถึงปฐมฌานมีวิตกวิจารมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอเข้าถึงทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่
เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าถึงตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
เธอเข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.1
จาก ความที่ยกนำมากล่าวนี้ แสดงว่า
สัมมาสมาธิ จะมีความสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เมื่อเข้าถึงปฐมฌาน จนกระทั่งถึงจตุตถฌานแล้ว จะมีสภาวะที่ไม่สุข ไม่ทุกข์ และเป็นอุเบกขา จนมีสติบริสุทธิ์ นอกจากนี้ ในพระไตรปิฎกยังกล่าวถึงลักษณะของสัมมาสมาธิไว้ดังนี้
1.ลักษณะของสัมมาสมาธิคือการที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน2
2.สัมมาสมาธิ มีความตั้งมั่นแห่งจิตโดยชอบเป็นลักษณะ3
ส่วนในพระอภิธรรมปิฎก4 ได้กล่าวถึงลักษณะของจิตที่เป็นสัมมาสมาธิว่า
สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต
ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ ในสมัยนั้น อันใด
นี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิมีในสมัยนั้น.
จาก ลักษณะของสัมมาสมาธิที่กล่าวนี้
ในพระไตรปิฎกยังแสดงให้เห็นว่า สัมมาสมาธิมีคุณูปการแก่ผู้ฝึกหรือผู้ปฏิบัติ โดยเมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านและมีความตั้งมั่นแห่งจิตแล้ว ย่อมขจัดมิจฉาสมาธิ ตลอดจนกิเลสได้ ดังความในพราหมณสูต5 กล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้อีกตอนหนึ่งว่า
สัมมาสมาธิที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.
จาก ความข้างต้น แสดงให้ทราบว่า สัมมาสมาธิสามารถขจัดมิจฉาสมาธิ ตลอดจนกิเลสและความฟุ้งซ่าน สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าสู่เป้าหมายสูงสุดคือพระนิพพานได้ ดังความในปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ กล่าวไว้ดังนี้
สัมมา สมาธิ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาสมาธิ กิเลสที่เป็นข้าศึกต่อสัมมาสมาธิและความฟุ้งซ่านนั้นได้ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ และย่อมตั้งมั่นสัมปยุตธรรมทั้งหลายไว้โดยชอบ
เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า สัมมาสมาธิ.6
สัมมาสมาธิ
เป็นสมาธิที่มีฐานที่ตั้งของใจอยู่ภายในกาย สามารถทำให้กิเลสต่างๆเบาบางลง หรือลดถอยไปจากใจของเราได้ และเป็นสมาธิที่ถูกทาง เพราะเพื่อจุดหมายในทางหลุดพ้น และเป็นไปเพื่อปัญญาที่รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง มิใช่เพื่อผลในทางสนองความอยากของตัวตน เช่น จะอวดฤทธิ์ อวดความสามารถ เป็นต้น
สัมมาสมาธินี้ พระภาวนาวิริยคุณอธิบายว่า
เป็นสมาธิในพระพุทธศาสนา เกิดขึ้นจากการน้อมจิตเข้าไปตั้งอยู่ในกายของตนเอง อันจะทำให้ จิตจะสะอาด สงบ ว่องไวและมีความเห็นถูก ซึ่งจะแตกต่างจากสมาธิของพวกที่มิใช่พระพุทธศาสนาหรือพวกฤๅษีชีไพร ที่เกิดจากการประคองรักษาจิตไว้ที่นิมิตนอกกาย แม้บางครั้งจะทำให้เกิดความสว่างได้บ้าง
แต่ยังมีความเห็นที่ผิดอยู่ เพราะไม่ใช่วิธีการที่จะทำให้พ้นทุกข์ได้
1 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สติปัฏฐานสูตร เล่ม 17 หน้า 628-9
2 (ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม 17 หน้า 112)
3 (ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม 17 หน้า 250)
4 พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี จิตตุปปาทกัณฑ์ กามาวจรกุศล เล่ม 75 หน้า 360-1
5 พราหมณสูตรและอรรถกถา เล่ม 30 หน้า 13
6 ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม 17 หน้า 252
7 สารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม 31 หน้า 166
ขอตอบกระทู้ เกี่ยวกับ สัมมาสมาธิพอสังเขป
พี่หัดฝันตอบไว้ดีแล้ว
นอกนั้นเชิญพิจารณา ศึกษากันด้วยความแยบคายและค้นคว้าเพิ่มเติมเถิดครับ
#6
โพสต์เมื่อ 16 June 2008 - 10:19 AM
#7
โพสต์เมื่อ 17 June 2008 - 11:31 PM
ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)
ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป
#8
โพสต์เมื่อ 18 June 2008 - 08:26 PM
๑. ขุททกาปีติ มีลักษณะคือ
- เกิดอาการคล้ายหนังหัวพอง และขนลุก เป็นดังอาบน้ำในเวลาหนาว
- เกิดปรากฏเป็นดังเส้นผมตำแลคายเพียงเล็กน้อย
- เกิดในหทัยวัตถุให้สั่นระรัวเป็นดั่งปั่นผลหมาก
- เกิดในกายให้เนื้อตัวหนักมึนตึง และเวียนอยู่
๒. ขณิการปีติ มีลักษณะคือ
- ให้ปรากฏในจักขุทวารเป็นดังฟ้าแลบและเป็ฯประกายดังตีเหล็กไฟ
- เกิดในกายทวารเป็นดังปลาวซิวตอดในเวลาอาบน้ำ
- เกิดในกายให้ตัวร้อนทั่วไป
- เกิดแสบทั่วกาย ให้กายแข็งอยู่
- เกิดเป็นดังแมลงเม่าไต่ตอมตามตัว
- เกิดในอกให้หัวใจและท้องร้อง
- เกิดในใจสั่นไหว
- เกิดในกายให้เห็นกายเป็นสีเหลือง สีขาว เป็นไฟไหม้น้ำมันยางลามไปในน้ำ
๓. โอกกันติกาปีติ มีลักษณะคือ
- กายไหวดังคลื่นกระทบฝั่ง
- เป็นดังน้ำกระเพื่อมเกิดเป็นฟองน้ำ เกิดเป็นดังขี่เรือข้ามน้ำมีระลอก
- กายและใจเป็นดังไม้ปักไว้กลางสายน้ำไหล สั่นระรัวอยู่
- เป็นดังน้ำวน
- เป็นดัง หัว อก ไหล่ และท้องน้อยหนักผัดผันอยู่
- เกิดวาบขึ้นเป็นดังไฟลุก
- เกิดเป็นดังลมพัดขึ้นทั่วกาย
๔. อุพเพงคาปีติ มีลักษณะ ๘ คือ
- เกิดพองกายเนื้อตัวทั้งมวลหวั่นไหวอยู่
- เกิดเต้นเหยงๆ ขึ้น และลุกแล่นไป
- เกิดร้อนทั่วตัวและทั่วสันหลัง ศรีษะ สะเอว และท้องน้อย
- เกิดแสบร้อนเป็นไอขึ้นทั้งตัว เป็นดังไอข้าวสุกร้อน
- เกิดปวดท้อง และปวดน่องเป็นดังลงท้องเป็นบิด
- กายและเนื้อตัวเบา และสูงขึ้น
- หนักแข้งขา บั้นเอว ศรีษะ เป็นดังไข้จับ
- เกิดเป็นสมาธิหนัก และเย็นอยู่
๕ ผรณาปีติ มีลักษณะ ๘ คือ
- เกิดในจักขุทวาร ดูกายเนื้อตัวนั้นแผ่ไป ดูใหญ่ และสูงขึ้น
- เกิดแผ่ไปทั่วกาย ให้ตัวเย็น เป็นดังลงแช่น้ำ
- กายยิบๆ แยบๆ เป็นดังไรไต่
- เป็นดังประกายไฟพุ่งออกจารกกระบอก
- กายเบาเป็นดังนั่งและนอนอยู่เหนือสำลี
- กายหนาวสั่นตัวงอ และหนักหางตาเป็นดังอาบน้ำในฤดูหนาว
- กายอุ่น และเป็นไอขึ้น
- กายเย็นซาบซ่านทั่วตัว
ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)
ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป
#9
โพสต์เมื่อ 09 January 2018 - 01:01 PM
กลับมาทบทวนได้เสมอ ๆ ๆ สาธุ ๆ ๆ
#10
โพสต์เมื่อ 08 March 2018 - 08:24 AM
กราบอนุโมทนาบุญกับธรรมะที่ได้มาลงให้ได้ศึกษา ด้วยค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ