นอกจากผู้มีพระคุณ เราต้องมีความกตัญญูกับใครอีกครับ
#1
โพสต์เมื่อ 18 August 2005 - 11:23 PM
คำเตือน : ขอความกรุณาเคารพสิทธิในการแสดงความคิดเห็น และใช้คำพูดที่สุภาพ
#2
โพสต์เมื่อ 19 August 2005 - 02:33 PM
ผมเห็นว่าเราควรจะแสดงความกตัญญูต่อตัวเราเองครับ ในเมื่อเราได้เกิดมาแล้ว ก็ควรจะแสวงหาว่า คนเราเกิดมาทำไม ในเมื่อเราได้อัตภาพความเป็นมนุษย์ ซึ่งสามารถทำได้ในสิ่งที่สัตว์ เดียรัจฉาน หรือเทวดาทำไม่ได้ ก็ควรจะแสดงหาว่าสิ่งที่ควรทำคืออะไร ไม่หลงมัวแต่ทำร้ายร่างกายตัวเอง ด้วยอบายมุขต่างๆ เช่น เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด เป็นต้น น่าจะถือเป็นการแสดงความกตัญญู ต่อร่างกายตัวเองได้ครับ
พ่อแม่ซึ่งเป็นผู้ที่ให้อัตภาพความเป็นมนุษย์ แก่เรานี้ก็เป็นผู้มีพระคุณมหาศาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นบรมครูของพวกเราทุกคน ก็เป็นผู้ที่มีพระคุณอย่างไม่มีประมาณ
เราสามารถตอบแทนพระคุณของพ่อแม่ ด้วยการชี้เส้นทางที่ถูกต้องให้กับท่านได้ เช่นเดียวกับเราสามารถตอบแทนพระบรมครู ได้ด้วยการปกป้องคำสอนของพระองค์ครับ =)
#3
โพสต์เมื่อ 19 August 2005 - 03:41 PM
สิ่ ง ที่ ค ว ร ก ตั ญ ญู
สิ่งที่ควรแก่ความกตัญญู คือทุกสิ่งที่มีคุณแก่เรา ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น ๕ ประการ ได้แก่
๑. กตัญญูต่อบุคคล คือใครก็ตามที่เคยมีพระคุณต่อเรา ไม่ว่าจะมาก น้อยเพียงไร จะต้องกตัญญูรู้คุณท่าน ติดตามระลึกถึงเสมอด้วยความซาบซึ้ง พยายามหาโอกาสตอบแทนคุณท่านให้ได้ โดยเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์ บิดามารดา ครู อุปัชฌาย์อาจารย์ พระมหากษัตริย์หรือผู้ปกครอง ที่ทรงทศพิธราชธรรม จะต้องตามระลึกนึกถึงพระคุณของท่านให้จงหนัก
ให้ปฏิบัติตัวให้เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ และเป็นพุทธมามกะสมชื่อ
๒. กตัญญูต่อสัตว์ คือสัตว์ที่มีคุณต่อเรา เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ที่ใช้งาน จะต้องใช้ด้วยความกรุณาปรานี ไม่เฆี่ยนตีมันจนเหลือเกิน อย่าใช้งานหนักจนเป็นการทรมาน ขณะเดียวกันต้องเลี้ยงดูให้อาหารอย่าให้อดอยาก ให้ได้กินได้นอนได้พักผ่อนตามเวลา ตัวอย่างในเรื่องกตัญญูต่อสัตว์นี้มีอยู่ว่า
ในสมัยก่อนพุทธกาล วันหนึ่งพระเจ้ากรุงราชคฤห์เสด็จประพาสอุทยาน และได้บรรทมหลับในอุทยานนั้น ขณะนั้นมีงูเห่าตัวหนึ่งเลื้อยเข้ามาและกำลังจะฉกกัดพระองค์ เผอิญมีกระแตตัวหนึ่งเห็นเข้าแล้วร้องขึ้น พระองค์จึงสะดุ้งตื่นและไล่งูให้พ้นไป ทรงระลึกถึงคุณของกระแตว่าเป็นผู้ช่วยชีวิตพระองค์ไว้ จึงรับสั่งให้พระราชทานเหยื่อแก่กระแตในอุทยานนั้นทุกวัน และห้ามไม่ให้ใครทำอันตรายแก่กระแตในอุทยานนั้น คนทั้งหลายจึงเรียกอุทยานนั้นว่า เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน แปลว่า ป่าไผ่อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต ซึ่งต่อมาก็คือ เวฬุวันมหาวิหาร วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนานั่นเอง
๓. กตัญญูต่อสิ่งของ คือของสิ่งใดก็ตามที่มีคุณต่อเรา เช่นหนังสือธรรมะ หนังสือเรียน สถานศึกษา วัด ต้นไม้ ป่าไม้ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการหาเลี้ยงชีพ ฯลฯ จะต้องปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้ให้ดี ไม่ลบหลู่ดูแคลน ไม่ทำลาย
ตัวอย่างเช่น ไม้คานที่ใช้หาบของขาย เมื่อเจ้าของตั้งตัวได้ ร่ำรวย ขึ้นก็ไม่ทิ้ง ยังคิดถึงคุณของไม้คานอยู่ ถือเป็นของคู่ชีวิตช่วยเหลือตนสร้างฐานะมา จึงเลี่ยมทองเก็บไว้เป็นที่ระลึก ไว้เป็นเครื่องเตือนใจ อย่างนี้ก็มี
มีกล่าวไว้ในเตมียชาดกว่า
“อย่าว่าถึงคนที่เราได้พึ่งพาอาศัยกันเลย แม้แต่ต้นไม้ที่ได้อาศัยร่มเงา ก็หาควรจะหักกิ่งริดก้านรานใบของมันไม่ ผู้ใดพำนักอาศัยนั่งนอนใต้ร่มเงาของต้นไม้ใดแล้ว ยังขืนหักกิ่งริดก้านรานใบ เด็ดยอด ขุดรากถาก เปลือก ผู้นั้นชื่อว่าทำร้ายมิตร เป็นคนชั่วช้าเลวทราม จะมีแต่อัปมงคล เป็นเบื้องหน้า”
๔. กตัญญูต่อบุญ คือรู้ว่าคนเราเกิดมามีอายุยืนยาว ร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณดี สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความสุขความเจริญ มีความก้าวหน้า มีทรัพย์สมบัติมาก ก็เนื่องมาจากผลของบุญ จะไปสวรรค์กระทั่งไปนิพพานได้ก็ด้วยบุญ กล่าวได้ว่า ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยบุญ ทั้งบุญเก่าที่ได้สั่งสมมาดีแล้ว และบุญใหม่ที่เพียรสร้างขึ้นประกอบกัน จึงมีความรู้คุณของบุญ มีความอ่อนน้อม ในตัว ไม่ดูถูกบุญ ตามระลึกถึงบุญเก่าให้จิตใจชุ่มชื่น และไม่ประมาทในการสร้างบุญใหม่ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
๕. กตัญญูต่อตนเอง คือรู้ว่าร่างกายของเรานี้เป็นอุปกรณ์สำคัญที่เราจะใช้อาศัยในการทำความดี ใช้ในการสร้างบุญกุศลนานาประการ เพื่อความสุขความเจริญก้าวหน้าแก่ตนเอง จึงทะนุถนอมดูแลร่างกาย รักษาสุขภาพให้ดี ไม่ ทำลายด้วยการกินเหล้า เสพสิ่งเสพย์ติด เที่ยวเตร่ดึกๆ ดื่นๆ และไม่นำร่างกาย นี้ไปประกอบความชั่ว เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เจ้าชู้ อันเป็นการทำลายตนเอง
มีคำตอบของคุณ Paramai ด้วยนะเนี่ย ไม่เบาๆ ส่วนรายละเอียดของมงคลชีวิตเรื่องความกตัญญูอ่านได้จาก http://www.ibscenter...news.asp?qId=49
ส่วนคำถามที่ว่า ระหว่างพ่อแม่ กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะมีพระคุณเหมือนหรือต่างกันอย่างไร เท่าที่ผมเคยได้ยินจากครูบาอาจารย์ ก็สั้นๆ ว่า พ่อแม่ให้กำเนิดกายเนื้อ ส่วนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในกำเนิดกายธรรม แก่เราน่ะครับ
#4
โพสต์เมื่อ 19 August 2005 - 11:41 PM
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#5
โพสต์เมื่อ 20 August 2005 - 02:22 AM
"โจทย์ชีวิตเป็นเรื่องที่สำคัญ โจทย์ชีวิตนำมาสู่การแสวงหา การแสวงหานำมาสู่การค้นพบ แล้วความสำเร็จก็เกิดขึ้น"
บางคนเห็นพระจันทร์ ก็ยกมือไว้ ต่อมาก็เป็นเทศกาลไหว้พระจันทร์ ต่อมาก็มีขนมไหว้พระจันทร์ ในขณะที่บางคนเห็นพระจันทร์ ก็อยากจะไปลงดวงจันทร์ ดวงจันทร์ดวงเดียวกัน แต่โจทย์ต่างกัน ก็นำไปสู่ความสำเร็จที่ต่างกัน
โจทย์ชีวิตของคุณคืออะไร?
คุณตั้งโจทย์ชีวิตคุณแล้วหรือยัง? คนเราเกิดมาทำไม? อะไรคือเป้าหมายของชีวิต?
#6
โพสต์เมื่อ 20 August 2005 - 03:44 PM
สิ่งที่ควรสั่งสมคืออะไร คำตอบ บุญกุศล
สิ่งที่ควรแสวงหาคืออะไร คำตอบ พระรัตนตรัยภายใน
เป้าหมายชีวิต คืออะไร คำตอบ ที่สุดแห่งธรรม
ท่องแทบทุกวัน (บางครั้งเกโรงเรียน) ในโรงเรียนอนุบาลของฉัน ฝันในฝันวิทยาครับ
#7
โพสต์เมื่อ 21 August 2005 - 11:42 AM
#8
โพสต์เมื่อ 22 August 2005 - 01:19 AM
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#9
โพสต์เมื่อ 24 November 2005 - 11:51 PM
ย่อมระลึกถึงอยู่เสมอ ซึ่งอุปการะที่ผู้อื่นกระทำแล้วแก่ตนแม้เพียงเล็กน้อย
คอยหาโอกาสตอบแทน ความดีที่คนอื่นทำแล้วแก่ตน
อย่างฝังจิตฝังใจอยู่เนืองๆ ตรงกันข้ามกับบุคคลผู้ไม่มีความกตัญญูกตเวที
ใครทำคุณให้ คุณนั้น ก็ปรากฏเพียงชั่วคราวเหมือนรอยขีดลงในน้ำ
บุคคลผู้มีความกตัญญูย่อมไม่ถือเอาข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อยของผู้มีคุณ
มาลบล้างคุณความดีส่วนใหญ่ ทำนอง "เอาใบบัวปิดท้องฟ้า" ทว่าใบบัวนั้น
อาจปิดตาของตนไม่ให้เห็นท้องฟ้าได้ แต่ท้องฟ้าย่อมปรากฏแก่บุคคลทั่วไปอยู่เสมอ
คนมีความกตัญญูกตเวที มีแต่ความเจริญไม่มีเสื่อม
ส่วนคนอกตัญญูอกตเวที มีแต่ความเสื่อม ไม่มีความเจริญ
(อ้างอิงจาก ผู้สละโลก ของอาจารย์ วศิน อินทสระ น. ๑๖๘)
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#10
โพสต์เมื่อ 26 November 2005 - 08:58 AM
ความกตัญญู (Gratitude) นั้น เป็นทางมาแห่งปัญญา และความรุ่งเรือง
คนดีผีคุ้ม ตกนําไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้
1. อดีตที่ผิดพลาด ลืมให้หมด 2. บาปทุกชนิดไม่ทำเพิ่มเด็ดขาด 3. หมั่นนึกถึงบุญอย่างสม่ำเสมอ
4. บุญทุกบุญทำให้เข้มข้นทับทวี 5. ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย
ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ _/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ ด้วยรักจากใจ ด้วยห่วงใย จากใจจริง
#11
โพสต์เมื่อ 06 January 2006 - 05:56 PM
ทรงพระยศยิ่งฟ้าบรรดาศักดิ์
เทอดมิ่งแม่ไว้เหนือเกล้าเฝ้าอารักษ์
ศรัทธาภักดิ์จักครองอยู่คู่ชีวิน
ดัดแปลงและเรียบเรียง โดย ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี
คำบรรยายใต้พระบรมฉายาลักษณ์ โดย ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี
ความประทับใจประการหนึ่งที่กระผมมีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็คือ คราวหนึ่งที่ล้นเกล้าล้นกระหม่อมทั้งสองพระองค์ทรงพระประชวรพร้อมกัน และได้ประทับรักษาพระอาการ ณ โรงพยาบาลศิริราช โดยทรงประทับอยู่คนละมุมตึก ในตอนเช้าของวันหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเปิดประตูออกมา ทรงเห็นพยาบาลกำลังเชิญเสด็จสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีโดยรถเข็นเพื่อออกมารับลม เมื่อทรงเห็นเช่นนั้น พระองค์ถึงกับรีบออกจากห้องประทับ แล้วทรงพระดำเนินมาแย่งพยาบาลเข็นรถ ครั้นมหาดเล็กเห็นเช่นนั้น จึงกราบบังคมทูลว่า "ไม่เป็นไร... ไม่ต้องเข็น มีพยาบาลเข็นให้อยู่แล้ว" แต่พระองค์กลับตรัสตอบมหาดเล็กผู้นั้นว่า "แม่ของเรา ทำไมต้องให้คนอื่นเข็น เราเข็นเองได้" แสดงให้เห็นถึงพระราชกตัญญุตาธรรมและน้ำพระราชหฤทัยอย่างสูง
#12
โพสต์เมื่อ 06 January 2006 - 08:14 PM
ภูมิใจจังเลยเกิดเป็นชาวไทย อยู่ภายใต้ร่มเงาของกษัตริย์ที่มีจิตใจสูงส่ง
#13
โพสต์เมื่อ 06 January 2006 - 09:42 PM
#14
โพสต์เมื่อ 06 January 2006 - 10:36 PM
#15
โพสต์เมื่อ 09 January 2006 - 10:14 PM
เมื่อได้ยิน "แม่เรา เราต้องเข็น"
ธ อภิบาลองค์ชนนีมิวายเว้น
สมดั่งเป็นยอดบุตรสุดหทัย
ดัดแปลงและเรียบเรียง โดย ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี
คำบรรยายใต้พระบรมฉายาลักษณ์ โดย ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี
#16
โพสต์เมื่อ 21 February 2006 - 06:58 PM
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที
#17
โพสต์เมื่อ 04 February 2007 - 08:47 AM