อยากทราบพุทธวิธีในการแก้ง่วง เวลานั่งสมาธิค่ะ
วิธีแก้ง่วง
เริ่มโดย Omena, Feb 06 2006 07:08 PM
มี 10 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 06 February 2006 - 07:08 PM
#2
โพสต์เมื่อ 06 February 2006 - 07:52 PM
วิธีแก้ความขี้เกียจนั่งธรรมะด้วยค่ะ
"เกิดมาว่าจะมาหาแก้ว พบแล้วไม่กำจะเกิดมาทำไม
อ้ายที่อยากมันก็หลอก อ้ายที่หยอกมันก็ลวง ทำให้จิตเป็นห่วงเป็นใย.."
พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร)
อ้ายที่อยากมันก็หลอก อ้ายที่หยอกมันก็ลวง ทำให้จิตเป็นห่วงเป็นใย.."
พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร)
#3
โพสต์เมื่อ 06 February 2006 - 07:55 PM
แหมคุณ ฟ้าร้าง
ก็ต้องแก้กันเองแล้วล่ะค่ะ
ก็ต้องแก้กันเองแล้วล่ะค่ะ
เมื่อไหร่หนอจะได้พบทหารหาญ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที
สุนทรพ่อ
muralath2@hotmail
#4
โพสต์เมื่อ 06 February 2006 - 09:49 PM
ครูไม่ใหญ่บอกว่า ขี้เกียจแก้ได้ด้วยการขยันค่ะคุณฟ้าร้าง
#5
โพสต์เมื่อ 06 February 2006 - 09:50 PM
อ่า...มันมีอยู่ตรงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนพระมหาโมคคัลลานะ ก่อนที่ท่านจะตรัสรู้นะครับ มีหลายวิธี เช่น ให้ยอนหู เป็นต้น แต่วิธีท้ายสุดที่ผมจำได้ คือ ท่านแนะนำให้นอนไปเลยครับ ใครรู้ช่วยเสริมหน่อยละกันนะครับ
สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา
*********************
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา
*********************
รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว
เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว
เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล
คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
#6
โพสต์เมื่อ 06 February 2006 - 10:45 PM
วิธีแก้ความง่วงเหงาหาวนอนนั้น มีอยู่ถึง ๘ ประการด้วยกัน ดังที่พระสัมมาพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระมหาโมคคัลลานะ อันมีใจความว่า
๑. ในขณะที่เพ่งจิตในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่เพื่อบำเพ็ญสมาธิหรือวิปัสสนา แล้วเกิดความง่วงขึ้นตามมา ให้เพ่งสิ่งนั้นให้มาก หรือให้หนักแน่นยิ่งๆ ขึ้นไป ก็จะทำให้หายง่วงได้
๒. ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ตรึกตรองและพิจารณาในธรรม ที่ได้อ่าน ได้ฟัง หรือได้เรียนมาแล้ว โดยนึกทบทวนในใจ
๓. ถ้ายังไม่หายง่วง ให้สาธยายธรรมที่ได้อ่าน ได้ฟัง หรือได้เรียนมาแล้ว คือ ให้พูดออกเสียง
๔. ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ยอนช่องหูทั้งสองข้าง (เอานิ้วไชเข้าไปในรูหู) แล้วเอามือลูบตัว
๕. ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ลุกขึ้นยืนแล้วเอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย และแหงนดูดาวนักษัตร
๖. ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ทำในใจถึงอาโลกสัญญา (นึกถึงแสงสว่าง) ตั้งความสำคัญในกลางวันว่า กลางวันอย่างไร กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างไร กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยอยู่ฉะนี้ ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิด (คือ ให้ทำความรู้สึกเหมือนกับว่า กลางคืนนั้นสว่างราวกับกลางวัน)
๗. ถ้ายังไม่หายง่วง ให้เดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ ไม่ส่งใจออกไปภายนอก (ควรเดินเร็วๆ เพื่อให้หายง่วง)
๘. ถ้ายังไม่หายง่วงอีก ให้สำเร็จสีหไสยาสน์ คือ นอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า (เหมือนพระพุทธรูปปางไสยาสน์) มีสติสัมปชัญญะ โดยบอกกับตนเองว่า ทันทีที่รู้สึกตัวแล้ว จะรีบลุกขึ้นทันที ด้วยตั้งใจว่า เราจักไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง และความสุขในการเคลิ้มหลับ ดังนี้
๑. ในขณะที่เพ่งจิตในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่เพื่อบำเพ็ญสมาธิหรือวิปัสสนา แล้วเกิดความง่วงขึ้นตามมา ให้เพ่งสิ่งนั้นให้มาก หรือให้หนักแน่นยิ่งๆ ขึ้นไป ก็จะทำให้หายง่วงได้
๒. ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ตรึกตรองและพิจารณาในธรรม ที่ได้อ่าน ได้ฟัง หรือได้เรียนมาแล้ว โดยนึกทบทวนในใจ
๓. ถ้ายังไม่หายง่วง ให้สาธยายธรรมที่ได้อ่าน ได้ฟัง หรือได้เรียนมาแล้ว คือ ให้พูดออกเสียง
๔. ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ยอนช่องหูทั้งสองข้าง (เอานิ้วไชเข้าไปในรูหู) แล้วเอามือลูบตัว
๕. ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ลุกขึ้นยืนแล้วเอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย และแหงนดูดาวนักษัตร
๖. ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ทำในใจถึงอาโลกสัญญา (นึกถึงแสงสว่าง) ตั้งความสำคัญในกลางวันว่า กลางวันอย่างไร กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างไร กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยอยู่ฉะนี้ ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิด (คือ ให้ทำความรู้สึกเหมือนกับว่า กลางคืนนั้นสว่างราวกับกลางวัน)
๗. ถ้ายังไม่หายง่วง ให้เดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ ไม่ส่งใจออกไปภายนอก (ควรเดินเร็วๆ เพื่อให้หายง่วง)
๘. ถ้ายังไม่หายง่วงอีก ให้สำเร็จสีหไสยาสน์ คือ นอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า (เหมือนพระพุทธรูปปางไสยาสน์) มีสติสัมปชัญญะ โดยบอกกับตนเองว่า ทันทีที่รู้สึกตัวแล้ว จะรีบลุกขึ้นทันที ด้วยตั้งใจว่า เราจักไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง และความสุขในการเคลิ้มหลับ ดังนี้
#7
โพสต์เมื่อ 07 February 2006 - 04:36 AM
Sathu for the ? and thank you 4 the answers...was looking 4 the answers myself z z z ^_~ Sathu kah khunเกียรติก้องธรณินทร์
คุณครูไม่ใหญ่ บอกว่า :
1. อดีตที่ผิดพลาด ลืมให้หมด 2. บาปทุกชนิดไม่ทำเพิ่มเด็ดขาด 3. หมั่นนึกถึงบุญอย่างสม่ำเสมอ
4. บุญทุกบุญทำให้เข้มข้นทับทวี 5. ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย
ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ _/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ ด้วยรักจากใจ ด้วยห่วงใย จากใจจริง
1. อดีตที่ผิดพลาด ลืมให้หมด 2. บาปทุกชนิดไม่ทำเพิ่มเด็ดขาด 3. หมั่นนึกถึงบุญอย่างสม่ำเสมอ
4. บุญทุกบุญทำให้เข้มข้นทับทวี 5. ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย
ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ _/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ ด้วยรักจากใจ ด้วยห่วงใย จากใจจริง
#8
โพสต์เมื่อ 07 February 2006 - 09:37 AM
^^~*
ผมขอเอาประสบการณ์ส่วนตัวมาช่วยแนะนำนะครับ
อันแรกเลย ต้องทำใจให้เบิกบานมากที่สุด นึกถึง แต่สิ่งที่ทำให้เรา
มีความสุข เช่น นึกถึงคุณครูไม่ใหญ่ นึกถึงบรรยากาศของวันที่ทำให้เรา
มีความสุข อันนี้ทำให้เรารู้สึกตื่นตัวในการนั่งสมาธิในช่วงแรกนะครับ
พอถึงช่วงที่เริ่มง่วงช่วงต่อไป ให้เรายืดตัวและบิดซ้ายขวา ก้มหน้าขึ้นลง หันซ้ายขวา .
(ทำอย่างช้า ๆ นะครับ)
แต่พยายามอย่าลืมตานะครับ ให้ทำใจอยู่ในอารมณ์ที่เบิกบานเหมือนดิม
พอถึงช่วงต่อไปอีก ให้เราลืมตา หรือเหลือบตามองสูง พร้อมกับพยายาม นึกถึงอะไรก็ได้ที่ใสๆ
ไว้ในตอนที่เราลืมตาครับ
และช่วงสุดท้ายที่เราไม่ไหวจริงๆ ให้เราปล่อยอาการฝืนทั้งหมด จดใจไปที่กลางท้อง
แล้วก็หลับ ไปเลยครับ แต่จะหลับได้แปปเดียว แต่เหมือนเราได้หลับนานมาก
ตื่นมาก็จะเบิกบาน และนั่งแบบมีสติได้อีกครั้งครับ
^^~* แต่ก่อนนั่งสมาธิควร ทำความสดชื่นกับตัวเราเองเสมอนะครับ และก็พยายาม
ฝึกนั่งบ่อยๆ ครับ เหมือนกับการฝึกหัดทำอะไรสักอย่างเวลาชำนาญแล้ว
ก็จะทำได้ง่ายขึ้นครับ.
ปล.วิธีนี้สามารถนำไปดัดแปลงได้ครับ เป็นวิธีส่วนตัวที่เวลาง่วงแล้วจะนำมาใช้ครับ
ถ้าใครมีวิธีดีๆ ก็นำมาเสนอบ้างนะครับ
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านครับ .... สาธุ ครับ....
ผมขอเอาประสบการณ์ส่วนตัวมาช่วยแนะนำนะครับ
อันแรกเลย ต้องทำใจให้เบิกบานมากที่สุด นึกถึง แต่สิ่งที่ทำให้เรา
มีความสุข เช่น นึกถึงคุณครูไม่ใหญ่ นึกถึงบรรยากาศของวันที่ทำให้เรา
มีความสุข อันนี้ทำให้เรารู้สึกตื่นตัวในการนั่งสมาธิในช่วงแรกนะครับ
พอถึงช่วงที่เริ่มง่วงช่วงต่อไป ให้เรายืดตัวและบิดซ้ายขวา ก้มหน้าขึ้นลง หันซ้ายขวา .
(ทำอย่างช้า ๆ นะครับ)
แต่พยายามอย่าลืมตานะครับ ให้ทำใจอยู่ในอารมณ์ที่เบิกบานเหมือนดิม
พอถึงช่วงต่อไปอีก ให้เราลืมตา หรือเหลือบตามองสูง พร้อมกับพยายาม นึกถึงอะไรก็ได้ที่ใสๆ
ไว้ในตอนที่เราลืมตาครับ
และช่วงสุดท้ายที่เราไม่ไหวจริงๆ ให้เราปล่อยอาการฝืนทั้งหมด จดใจไปที่กลางท้อง
แล้วก็หลับ ไปเลยครับ แต่จะหลับได้แปปเดียว แต่เหมือนเราได้หลับนานมาก
ตื่นมาก็จะเบิกบาน และนั่งแบบมีสติได้อีกครั้งครับ
^^~* แต่ก่อนนั่งสมาธิควร ทำความสดชื่นกับตัวเราเองเสมอนะครับ และก็พยายาม
ฝึกนั่งบ่อยๆ ครับ เหมือนกับการฝึกหัดทำอะไรสักอย่างเวลาชำนาญแล้ว
ก็จะทำได้ง่ายขึ้นครับ.
ปล.วิธีนี้สามารถนำไปดัดแปลงได้ครับ เป็นวิธีส่วนตัวที่เวลาง่วงแล้วจะนำมาใช้ครับ
ถ้าใครมีวิธีดีๆ ก็นำมาเสนอบ้างนะครับ
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านครับ .... สาธุ ครับ....
ไฟล์แนบ
#9
โพสต์เมื่อ 07 February 2006 - 09:38 AM
อนุโมทนาจ้า++++
ได้หลักวิธีการแก้ความง่วงแล้ว จะได้นำไปใช้ค่ะ
ได้หลักวิธีการแก้ความง่วงแล้ว จะได้นำไปใช้ค่ะ
#10
โพสต์เมื่อ 07 February 2006 - 02:59 PM
ถ้าเรานั่งธรรมะสม่ำเสมอเป็นประจำ และพิจารณาการนั่งของเราทุกครั้ง เมื่อถึงจุดหนึ่งความง่วงและความปวดเมื่อยจะหายไปเองโดยอัตโนมัติ อาการลืมตัวจะเกิดขึ้นแทน(ไม่ง่วง ไม่หลับ แต่ไม่รู้ตัว เหมือนไม่มีตัวตน)
#11
โพสต์เมื่อ 08 February 2006 - 10:24 AM
ขอบคุนครับ
พุทธบุตรต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนดวงตะวันที่มีดวงเดียว
พุทธบริษัท 4 ต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนตะวันที่มีดวงเดียว
พุทธบริษัท 4 ต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนตะวันที่มีดวงเดียว