มนุษย์ต่างดาวถ้าเขาปฏิบัติธรรมก็บรรลุธรรมได้ใช่ไหม
#1 *ดลใจ*
โพสต์เมื่อ 13 September 2005 - 10:54 AM
#2
โพสต์เมื่อ 13 September 2005 - 05:52 PM
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#3
โพสต์เมื่อ 13 September 2005 - 10:18 PM
จักรวารของเราเรียกว่ามงคลจักรวารในจักรวารของเรามี4โลก เเต่ละโลกมนุษย์จะมีรูปหน้าที่ต่างกัน
โดยโลกเรามนุษย์จะมีหน้ารูปไข่ โลกอื่นๆก็มีรูปทรงของหน้าเเตกต่างกันไป เช่น ทรง3เหลี่ยม ทรง4เหลี่ยม
ส่วนอีกทรงผมจําไม่ได้ครับ
(ได้ความรู้จากการบวชที่วัดพระธรรมกาย โดยถามจากพระอาจารย์)
#4
โพสต์เมื่อ 14 September 2005 - 03:16 AM
มนุสสภูมิ คือ โลกซึ่งเป็นที่อาศัยของสัตว์ผู้มีใจสูง คำว่า "มนุษย์" มาจากคำว่า "มน" (อ่านว่า มะนะ) แปลว่าใจ รวมกับคำว่า "อุษย์" หรือ "อุตม" (อุดม) แปลว่า สูง มนุษย์จึงหมายถึงผู้มีใจสูง ใจรุ่งเรือง และกล้าแข็ง ซึ่งก็คือคนที่อาศัยอยู่ในโลกของเรานี้ และรวมถึงคนที่อยู่ในอีกสามโลก ในจักรวาลเดียวกันกับเราด้วย ได้แก่ ปุพพวิเทหทวีป, อปรโคยานทวีป, อุตตรกุรุทวีป และชมพูทวีป
รูปใบหน้าของมนุษย์มีลักษณะตามสัณฐานของทวีป
มนุษย์ในทวีปทั้ง 4 เมื่อกล่าวโดยรวม มีรูปร่าง สัณฐาน หน้าตา ในลักษณะเดียวกัน ต่างกันตรงขนาด ความได้ส่วนสัด และความประณีตสวยงาม เช่น
- มนุษย์ในชมพูทวีปมีใบหน้ารูปไข่
- มนุษย์ในอปรโคยานทวีปมีใบหน้ากลมเหมือนดวงจันทร์ในคืนวันเพ็ญ
- มนุษย์ในปุพพวิเทหทวีปมีใบหน้าเหมือนมะนาวตัด หรือพระจันทร์ครึ่งซีก
- มนุษย์ในอุตตรกุรุทวีปมีใบหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยม
มนุษย์ในชมพูทวีป มีความสวยงาม และความขี้เหร่แตกต่างกันมากมาย ตามแต่กุศล และอกุศลที่เจ้าตัวกระทำมาให้ผล ส่วนมนุษย์ในทวีปอื่นอีก 3 ทวีป ความสวยงามของผู้คนไม่แตกต่างกัน เนื่องจากมีคุณธรรมในจิตใจเสมอเหมือนกันโดยทั่วไป
คุณสมบัติสามประการ ที่คนในชมพูทวีปประเสริฐกว่าคนในทวีปอื่น และเทวดาชั้นดาวดึงส์ คือ
1. สูรภาวะ มีจิตใจกล้าแข็งในการกระทำความดี เช่น บำเพ็ญ ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา
2. สติมันตะ มีสติตั้งมั่นในคุณพระรัตนตรัย
3. พรหมจริยวาส สามารถประพฤติพรหมจรรย์ คือบวชได้
ลักษณะพิเศษ 4 ประการ ที่คนในชมพูทวีปประเสริฐกว่าคนในทวีปอื่นคือ
1. มีจิตใจกล้าแข็ง สามารถประกอบได้ทั้งกรรมดี และกรรมชั่ว ฝ่ายดีสามารถเป็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกฯ พระอัครสาวก พระสาวก พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นต้น แต่ฝ่ายชั่วก็สามารถฆ่ามารดา บิดา พระอรหันต์ ทำโลหิตตุปบาท ทำสังฆเภท เป็นต้น คนในอีก 3 ทวีป ไม่สามารถทำได้ถึงเพียงนี้
2. มีความเข้าใจในสิ่งที่เป็นเหตุ ทั้งที่สมควร และไม่สมควร รู้จักพิจารณาหาเหตุที่ทำให้เกิดสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะเป็นอย่างๆ ได้ทั้งฝ่ายที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม
3. มีความเข้าใจในสิ่งที่มีประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์ รู้จักทั้งโลกิยประโยชน์ และโลกุตตรประโยชน์ โลกียประโยชน์ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มนุษย์สมบัติ เทวสมบัติ เป็นต้น ส่วนความเข้าใจจะลึกซึ้งเพียงใด ขึ้นกับ ศรัทธา วิริยะ ปัญญา บารมี และการคบหาสมาคม
4. มีความเข้าใจในสิ่งที่เป็นกุศล และอกุศล ทั้งโลกิยกุศล และโลกุตตรกุศล ฝ่ายกุศลได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ฝ่ายอกุศล ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น
สำหรับคนที่อยู่ในอุตตรกุรุทวีป มีคุณสมบัติพิเศษสูง และประเสริฐกว่าคนชมพูทวีป และเทวดาชั้นดาวดึงส์ 3 ประการคือ
1. ไม่ถือเอาเงินทอง ทรัพย์สมบัติ ว่าเป็นของตน
2. ไม่หวงแหนหรือถือเอาว่า ผู้นั้น ผู้นี้เป็นบุตร ภรรยา สามีของตน
3. มีอายุถึง 1,000 ปี เสมอ
สำหรับเรื่องของปุพพวิเทหทวีป และอปรโคยานทวีป ไม่่มีอะไรพิเศษ ชีวิตความเป็นไปต่างๆ คล้ายคนในชมพูทวีป เว้นแต่ความเจริญของโลกและจิตใจของผู้คน ถึงจะสูงก็ไม่สูงเท่าคนในชมพูทวีป ถึงจะต่ำก็ไม่ต่ำเท่ากับคนในชมพูทวีป เป็นไปในฐานะกลางๆ พระโพธิสัตว์ก็ดี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันตสาวกทั้งหลายก็ดี เมื่อจะบังเกิด ก็จะอุบัติขึ้นเฉพาะในชมพูทวีปเท่านั้น ไม่เกิดสร้างบามีที่โลกมนุษย์ทวีปอื่นๆ
เหตุที่ทำให้มาเกิดเป็นมนุษย์ เพราะเป็นผู้มีมนุษยธรรม คือธรรมที่ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ ซึ่งก็คือศีลทั้ง 5 ข้อนั่นเอง หากเป็นผู้ที่บกพร่องในการรักษาศีลแล้ว ก็ยากที่จะเกิดมาเป็นมนุษย์อีก
แค่นี้ยังทำไม่ได้ แล้วจะไปปราบมารได้ไง
#5 *ดลใจ*
โพสต์เมื่อ 14 September 2005 - 09:26 AM
จากบทเรียน จักรวาลวิทยา (DOU) บทที่ 3 ข้อมูลนี้ มีแหล่งอ้างอิงข้อมูลจากไหนคะ
#6
โพสต์เมื่อ 14 September 2005 - 12:44 PM
สารคดีวันพระพุทธเจ้าเปิดโลก (Server ต่างประเทศ)
สารคดีวันพระพุทธเจ้าเปิดโลก (Server เมืองไทย)
บทนำ
บทเรียนจักรวาลวิทยาบทที่ 1
บทเรียนจักรวาลวิทยาบทที่ 2
บทเรียนจักรวาลวิทยาบทที่ 3
บทเรียนจักรวาลวิทยาบทที่ 4
บทเรียนจักรวาลวิทยาบทที่ 5
บทเรียนจักรวาลวิทยาบทที่ 6
บทเรียนจักรวาลวิทยาบทที่ 7
บทเรียนจักรวาลวิทยาบทที่ 8
แค่นี้ยังทำไม่ได้ แล้วจะไปปราบมารได้ไง
#7
โพสต์เมื่อ 14 September 2005 - 02:39 PM
#8 *Guest*
โพสต์เมื่อ 14 September 2005 - 05:32 PM
#9 *q*
โพสต์เมื่อ 14 September 2005 - 05:56 PM
#10
โพสต์เมื่อ 15 September 2005 - 12:43 AM
#11 *ดลใจ*
โพสต์เมื่อ 15 September 2005 - 05:50 PM
จะ save เก็บไปอ่าน
#12 *Guest*
โพสต์เมื่อ 15 September 2005 - 05:57 PM
#13
โพสต์เมื่อ 16 September 2005 - 12:12 AM
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#14 *Guest*
โพสต์เมื่อ 16 September 2005 - 11:10 AM
#15 *ดลใจ*
โพสต์เมื่อ 16 September 2005 - 07:03 PM
ได้อ่านจาก บทนำ http://www.dou.us/el.../gl101intro.pdf จะบอกค่ะว่าข้อมูลนี้ได้มาจากไหน