- ธรรมะสร้างกำลังใจ ทำให้คุณเป็นสุขใจได้ตลอดเวลา
- → ดูโปรไฟล์: โพสต์: ^_^หลับตาพริ้ม๐นั่งหน้ายิ้ม^_^
^_^หลับตาพริ้ม๐นั่งหน้ายิ้ม^_^
เป็นสมาชิกตั้งแต่ 12 Jun 2007ออฟไลน์ ใช้งานล่าสุด Sep 13 2008 03:54 AM
สถิติเว็บบอร์ด
- กลุ่ม Members
- โพสต์ 62
- ดูโปรไฟล์ 84231
- อายุ ไม่เปิดเผย
- วันเกิด ไม่เปิดเผย
-
Gender
ไม่เปิดเผย
โพสต์ที่ฉันโพสต์
ในกระทู้: ประสบวิบากกรรมอะไรบ้าง
13 September 2008 - 03:38 AM
เคยดู ข่าว เด็ก ดั๊กแด้ อ่ะ เคยคิด เหมือนกัน ว่าทำไมน้องเค้าต้องมารับเคราะห์อย่างนี้ อาจจะไม่ใช่วิบากกรรมนี้ก็ได้
แต่นี่ทำกับพระพุทธรูป ที่เป็นที่เคารพสักการะ บูชา ของ สาธุชนทั่วไป และยังเป็น ผู้หลุดพ้นจากกิเลส ผู้ประเสริฐที่สุดในภพ 3 เพียง อานิสงค์ ที่เกิด จากการเคารพสักการะ บูชา ก็ สุดจะพรรณนา แม้ ยามจะละจากโลก เพียง นึกถึงท่าน และเกิดความเลื่อมใส ก็ส่งผล ให้พ้น จาก อบาย ไปเกิด ยัง สุขคติโลกสวรรค์ได้
ฉะนั้น ไปทำแบบนี้ก็ อึ๋ย !!! สย๋อง~~
ในกระทู้: เอาบุญทำความสะอาด เตรียมงานวันคุ้มครองโลกมาฝากค่ะ
19 April 2008 - 11:25 PM
อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ จ้า
ในกระทู้: ไปลอกเขามาอีกที เหตุที่พระพุทธองค์ทรงมีพระชนมายุ ๘o พรรษา
11 April 2008 - 11:22 AM
อรรถกถา ตโยธรรมชาดก
ว่าด้วย ธรรมของผู้ล่วงพ้นศัตรู
...พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรงปรารภการตะเกียกตะกายจะฆ่าพระองค์นั่นแหละ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยสฺเสเต จ ตโย ธมฺมา ดังนี้.
...ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี. พระเทวทัตบังเกิดในกำเนิดวานร ควบคุมฝูงอยู่ในหิมวันตประเทศ. เมื่อลูกวานรที่อาศัยตนเติบโตแล้ว ก็ขบพืชของลูกวานรเหล่านั้นเสียสิ้น เพราะกลัวว่า วานรเหล่านี้จะแย่งคุมฝูง.
...ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ก็อาศัยวานรนั้นแหละ ถือปฏิสนธิในท้องของนางวานรตัวหนึ่ง. ครั้นนางวานรรู้ว่า ตั้งครรภ์ เพื่อจะถนอมครรภ์ของตน ก็ได้ไปสู่เชิงเขาตำบลอื่น พอท้องแก่ครบกำหนด ก็คลอดพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์เจริญวัย ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง.
...วันหนึ่ง ถามมารดาว่า แม่จ๋า ใครเป็นพ่อของฉัน.
มารดาตอบว่า พ่อคุณ บิดาของเจ้าคุมฝูงอยู่ที่ภูเขาลูกโน้น.
แม่พาฉันไปหาพ่อเถิด.
ลูกจ๋า เจ้าไม่อาจเข้าใกล้พ่อของเจ้าได้ เพราะพ่อของเจ้าคอยขบพืชของลูกวานร ที่อาศัยตนเกิดเสียหมด เพราะกลัวจะแย่งคุมฝูง.
แม่จ๋า พาฉันไปเถิด ฉันจักรู้ (อนาคตของตนเอง).
นางจึงพาพระโพธิสัตว์มายังสำนักของวานรผู้เป็นพ่อ.
...วานรนั้นเห็นลูกของตนแล้ว ก็คิดว่า เมื่อเจ้านี่เติบโตจักไม่ยอมให้เราคุมฝูง ต้องฆ่ามันเสีย บัดนี้ทีเดียว เราจักทำเป็นเหมือนสวมกอดมัน แล้วก็บีบให้แน่นให้ถึงสิ้นชีวิตให้จงได้ จึงกล่าวว่า มานี่เถิดลูก เจ้าไปไหนเสีย นมนานจนป่านนี้ ดังนี้แล้ว ทำเป็นเหมือนกอดรัดพระโพธิสัตว์ รัดจนแน่น.
ก็พระโพธิสัตว์มีกำลังดังช้างสารสมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง จึงบีบรัดตอบ.
ครั้งนั้น กระดูกทุกชิ้นส่วนของวานรนั้น ถึงอาการจะแตกแยก.
...ลำดับนั้น วานรผู้เป็นพ่อเกิดวิตกว่า ไอ้นี่เติบโตขึ้นต้องฆ่าเรา เราต้องหาอุบายอะไร รีบฆ่ามันเสียก่อน แต่นั้นก็คิดได้ว่า ไม่ไกลจากนี้ มีสระที่มีผีเสื้อน้ำสิงอยู่ เราจักให้ผีเสื้อน้ำกินมันเสียที่สระนั้น แล้วจึงกล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า ลูกเอ๋ย พ่อแก่แล้ว จักมอบฝูงให้เจ้า วันนี้จะตั้งเจ้าเป็นหัวหน้า ที่ตรงโน้นมีสระอยู่ ในสระนั้น ดอกโกมุท ๒ ดอก อุบล ๓ ดอก ปทุม ๕ ดอก กำลังบาน ไปเถิด ไปเอาดอกไม้ มาจากสระนั้น.
...พระโพธิสัตว์รับคำว่า ดีละพ่อ ฉันจักไปนำมาแล้วก็ไป แต่ยังไม่ผลีผลามลงไป ตรวจดูรอยรอบๆ สระ เห็นแต่รอยลงเท่านั้น ไม่เห็นรอยขึ้น ก็รู้ว่าอันสระนี้ต้องมีรากษสยึดครองแน่นอน พ่อเราไม่อาจฆ่าเราด้วยตน จักหวังให้รากษสเคี้ยวกินเราเสีย เราจักไม่ลงสระนี้ และต้องเก็บดอกไม้ให้ได้ด้วย แล้วเดินไปหาที่ซึ่งไม่มีน้ำ ไปได้ ๒ ดอก ทีเดียว โดดไปลงฝั่งโน้น โดดจากฝั่งโน้นมาลงฝั่งนี้ ก็คว้าได้อีก ๒ ดอก ด้วยอุบายนั้นแหละ. ด้วยวิธีนี้ พระโพธิสัตว์เก็บดอกไม้ได้ เป็นกองทั้งสองฝั่งสระและไม่ต้องลงสู่สถานอันอยู่ในอาญาของรากษส.
...ครั้นพระโพธิสัตว์เห็นว่า ไม่สามารถจะเก็บได้มากกว่านี้ ก็รวบรวมดอกไม้กองไว้ที่เดียว.
...ครั้งนั้น รากษสดำริว่า อัจฉริยบุรุษมีปัญญาอย่างนี้ เราไม่เคยเห็นเลยตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ ดอกไม้ก็เก็บได้ตามปรารถนา และไม่ต้องลงสู่สถานที่ อันอยู่ในอาญาของเราอีกด้วย จึงระเบิดน้ำ โผล่ขึ้นจากน้ำเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ กล่าวว่า พานรินทร์ ในโลกนี้ ผู้ใดมีธรรม ๓ ประการ ผู้นั้นย่อมครอบงำปัจจามิตรได้ ชะรอยภายในตัวของท่าน จักมีธรรมทั้งนั้นครบทุกประการ เป็นแน่.
...เมื่อจะชื่นชมพระโพธิสัตว์ จึงกล่าวคาถานี้ ความว่า :-
“ ธรรม ๓ ประการเหล่านี้ คือทักขิยะ สุริยะ ปัญญา มีแก่บุคคลใด เหมือนมีแก่ท่าน บุคคลนั้นย่อมล่วงพ้นศัตรูได้. ” ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทกฺขยํ ได้แก่ ความเป็นผู้มีความขยันขันแข็ง.
บทนี้เป็นชื่อของความเพียรอย่างสูงที่ประกอบพร้อมมูลด้วยปัญญาอันรู้จักกำจัดภัยที่มาประจวบเข้า.
บทว่า สูรยํ ได้แก่ความเป็นผู้กล้าหาญ.
บทนี้เป็นชื่อของความเป็นผู้ไม่มีความพรั่นพรึง.
บทว่า ปญฺญา นี้ เป็นชื่อของความรู้อุบาย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความปรากฏผล.
...รากษสนั้นชมเชยพระโพธิสัตว์ด้วยคาถานี้อย่างนี้แล้ว ก็ถามว่า ท่านเก็บดอกไม้เหล่านี้ไปทำไม?
พระโพธิสัตว์ตอบว่า พ่อของเราปรารถนาจะตั้งเราเป็นผู้นำฝูง เราเก็บไป เพราะเหตุนั้น.
รากษสพูดว่า อุดมบุรุษเช่นท่าน ไม่น่าจะนำดอกไม้ไป เราจักนำไปให้ แล้วหอบดอกไม้เดินตามหลังพระโพธิสัตว์ไป.
...ครั้งนั้น บิดาของพระโพธิสัตว์เห็นแต่ไกลแล้ว รำพึงว่า เราส่งมันไป หมายว่าจักให้เป็นเหยื่อของรากษส บัดนี้ มันกลับใช้ให้รากษสถือดอกไม้ตามมา คราวนี้เราฉิบหายแล้ว เลยหัวใจแตกเจ็ดเสี่ยง สิ้นชีวิตในที่นั้นเอง.
ฝูงวานรที่เหลืออยู่ประชุมกัน ยกพระโพธิสัตว์ให้เป็นราชาผู้นำฝูง.
...แม้พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า
วานรนายฝูงในครั้งนั้น ได้เป็น พระเทวทัต ในครั้งนี้
ส่วนบุตรของลิงผู้เป็นจ่าฝูง ได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.
.. อรรถกถา ตโยธรรมชาดก จบ.
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org...?...A=380&Z=384
...พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
...๘. ตโยธรรมชาดก
ธรรมของผู้ล่วงพ้นศัตรู
[๕๘] ดูกรพระยาวานร ผู้ใดมีธรรม ๓ ประการนี้ คือ ความขยัน ความแกล้วกล้า
ปัญญาเหมือนท่าน ผู้นั้นย่อมล่วงพ้นศัตรูได้.
จบ ตโยธรรมชาดกที่ ๘.
นี่ก็อ้างอิงมาอีกทีจาก พระไตรปิฎก
ว่าด้วย ธรรมของผู้ล่วงพ้นศัตรู
...พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรงปรารภการตะเกียกตะกายจะฆ่าพระองค์นั่นแหละ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยสฺเสเต จ ตโย ธมฺมา ดังนี้.
...ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี. พระเทวทัตบังเกิดในกำเนิดวานร ควบคุมฝูงอยู่ในหิมวันตประเทศ. เมื่อลูกวานรที่อาศัยตนเติบโตแล้ว ก็ขบพืชของลูกวานรเหล่านั้นเสียสิ้น เพราะกลัวว่า วานรเหล่านี้จะแย่งคุมฝูง.
...ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ก็อาศัยวานรนั้นแหละ ถือปฏิสนธิในท้องของนางวานรตัวหนึ่ง. ครั้นนางวานรรู้ว่า ตั้งครรภ์ เพื่อจะถนอมครรภ์ของตน ก็ได้ไปสู่เชิงเขาตำบลอื่น พอท้องแก่ครบกำหนด ก็คลอดพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์เจริญวัย ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง.
...วันหนึ่ง ถามมารดาว่า แม่จ๋า ใครเป็นพ่อของฉัน.
มารดาตอบว่า พ่อคุณ บิดาของเจ้าคุมฝูงอยู่ที่ภูเขาลูกโน้น.
แม่พาฉันไปหาพ่อเถิด.
ลูกจ๋า เจ้าไม่อาจเข้าใกล้พ่อของเจ้าได้ เพราะพ่อของเจ้าคอยขบพืชของลูกวานร ที่อาศัยตนเกิดเสียหมด เพราะกลัวจะแย่งคุมฝูง.
แม่จ๋า พาฉันไปเถิด ฉันจักรู้ (อนาคตของตนเอง).
นางจึงพาพระโพธิสัตว์มายังสำนักของวานรผู้เป็นพ่อ.
...วานรนั้นเห็นลูกของตนแล้ว ก็คิดว่า เมื่อเจ้านี่เติบโตจักไม่ยอมให้เราคุมฝูง ต้องฆ่ามันเสีย บัดนี้ทีเดียว เราจักทำเป็นเหมือนสวมกอดมัน แล้วก็บีบให้แน่นให้ถึงสิ้นชีวิตให้จงได้ จึงกล่าวว่า มานี่เถิดลูก เจ้าไปไหนเสีย นมนานจนป่านนี้ ดังนี้แล้ว ทำเป็นเหมือนกอดรัดพระโพธิสัตว์ รัดจนแน่น.
ก็พระโพธิสัตว์มีกำลังดังช้างสารสมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง จึงบีบรัดตอบ.
ครั้งนั้น กระดูกทุกชิ้นส่วนของวานรนั้น ถึงอาการจะแตกแยก.
...ลำดับนั้น วานรผู้เป็นพ่อเกิดวิตกว่า ไอ้นี่เติบโตขึ้นต้องฆ่าเรา เราต้องหาอุบายอะไร รีบฆ่ามันเสียก่อน แต่นั้นก็คิดได้ว่า ไม่ไกลจากนี้ มีสระที่มีผีเสื้อน้ำสิงอยู่ เราจักให้ผีเสื้อน้ำกินมันเสียที่สระนั้น แล้วจึงกล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า ลูกเอ๋ย พ่อแก่แล้ว จักมอบฝูงให้เจ้า วันนี้จะตั้งเจ้าเป็นหัวหน้า ที่ตรงโน้นมีสระอยู่ ในสระนั้น ดอกโกมุท ๒ ดอก อุบล ๓ ดอก ปทุม ๕ ดอก กำลังบาน ไปเถิด ไปเอาดอกไม้ มาจากสระนั้น.
...พระโพธิสัตว์รับคำว่า ดีละพ่อ ฉันจักไปนำมาแล้วก็ไป แต่ยังไม่ผลีผลามลงไป ตรวจดูรอยรอบๆ สระ เห็นแต่รอยลงเท่านั้น ไม่เห็นรอยขึ้น ก็รู้ว่าอันสระนี้ต้องมีรากษสยึดครองแน่นอน พ่อเราไม่อาจฆ่าเราด้วยตน จักหวังให้รากษสเคี้ยวกินเราเสีย เราจักไม่ลงสระนี้ และต้องเก็บดอกไม้ให้ได้ด้วย แล้วเดินไปหาที่ซึ่งไม่มีน้ำ ไปได้ ๒ ดอก ทีเดียว โดดไปลงฝั่งโน้น โดดจากฝั่งโน้นมาลงฝั่งนี้ ก็คว้าได้อีก ๒ ดอก ด้วยอุบายนั้นแหละ. ด้วยวิธีนี้ พระโพธิสัตว์เก็บดอกไม้ได้ เป็นกองทั้งสองฝั่งสระและไม่ต้องลงสู่สถานอันอยู่ในอาญาของรากษส.
...ครั้นพระโพธิสัตว์เห็นว่า ไม่สามารถจะเก็บได้มากกว่านี้ ก็รวบรวมดอกไม้กองไว้ที่เดียว.
...ครั้งนั้น รากษสดำริว่า อัจฉริยบุรุษมีปัญญาอย่างนี้ เราไม่เคยเห็นเลยตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ ดอกไม้ก็เก็บได้ตามปรารถนา และไม่ต้องลงสู่สถานที่ อันอยู่ในอาญาของเราอีกด้วย จึงระเบิดน้ำ โผล่ขึ้นจากน้ำเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ กล่าวว่า พานรินทร์ ในโลกนี้ ผู้ใดมีธรรม ๓ ประการ ผู้นั้นย่อมครอบงำปัจจามิตรได้ ชะรอยภายในตัวของท่าน จักมีธรรมทั้งนั้นครบทุกประการ เป็นแน่.
...เมื่อจะชื่นชมพระโพธิสัตว์ จึงกล่าวคาถานี้ ความว่า :-
“ ธรรม ๓ ประการเหล่านี้ คือทักขิยะ สุริยะ ปัญญา มีแก่บุคคลใด เหมือนมีแก่ท่าน บุคคลนั้นย่อมล่วงพ้นศัตรูได้. ” ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทกฺขยํ ได้แก่ ความเป็นผู้มีความขยันขันแข็ง.
บทนี้เป็นชื่อของความเพียรอย่างสูงที่ประกอบพร้อมมูลด้วยปัญญาอันรู้จักกำจัดภัยที่มาประจวบเข้า.
บทว่า สูรยํ ได้แก่ความเป็นผู้กล้าหาญ.
บทนี้เป็นชื่อของความเป็นผู้ไม่มีความพรั่นพรึง.
บทว่า ปญฺญา นี้ เป็นชื่อของความรู้อุบาย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความปรากฏผล.
...รากษสนั้นชมเชยพระโพธิสัตว์ด้วยคาถานี้อย่างนี้แล้ว ก็ถามว่า ท่านเก็บดอกไม้เหล่านี้ไปทำไม?
พระโพธิสัตว์ตอบว่า พ่อของเราปรารถนาจะตั้งเราเป็นผู้นำฝูง เราเก็บไป เพราะเหตุนั้น.
รากษสพูดว่า อุดมบุรุษเช่นท่าน ไม่น่าจะนำดอกไม้ไป เราจักนำไปให้ แล้วหอบดอกไม้เดินตามหลังพระโพธิสัตว์ไป.
...ครั้งนั้น บิดาของพระโพธิสัตว์เห็นแต่ไกลแล้ว รำพึงว่า เราส่งมันไป หมายว่าจักให้เป็นเหยื่อของรากษส บัดนี้ มันกลับใช้ให้รากษสถือดอกไม้ตามมา คราวนี้เราฉิบหายแล้ว เลยหัวใจแตกเจ็ดเสี่ยง สิ้นชีวิตในที่นั้นเอง.
ฝูงวานรที่เหลืออยู่ประชุมกัน ยกพระโพธิสัตว์ให้เป็นราชาผู้นำฝูง.
...แม้พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า
วานรนายฝูงในครั้งนั้น ได้เป็น พระเทวทัต ในครั้งนี้
ส่วนบุตรของลิงผู้เป็นจ่าฝูง ได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.
.. อรรถกถา ตโยธรรมชาดก จบ.
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org...?...A=380&Z=384
...พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
...๘. ตโยธรรมชาดก
ธรรมของผู้ล่วงพ้นศัตรู
[๕๘] ดูกรพระยาวานร ผู้ใดมีธรรม ๓ ประการนี้ คือ ความขยัน ความแกล้วกล้า
ปัญญาเหมือนท่าน ผู้นั้นย่อมล่วงพ้นศัตรูได้.
จบ ตโยธรรมชาดกที่ ๘.
นี่ก็อ้างอิงมาอีกทีจาก พระไตรปิฎก
ในกระทู้: ถ้าจะอธิษฐาน
08 April 2008 - 02:49 AM
พระสีวลี พระอรหันต์ผู้มีลาภมาก
พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ยกย่องพระสีวลีเถรเจ้าด้วยพระวาจาว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของเราตถาคต พระสีวลีเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยลาภ” และตามคัมภีร์มโนรถปูรณี ในเรื่องของพระสีวลีก็ได้กล่าวไว้ว่ายกเว้นแต่พระตถาคตเจ้าแล้ว ไม่มีผู้ใดเลิศด้วยลาภเหมือนพระสีวลีเถรเจ้า
บุพกรรมของพระสีวลี
ในกัปที่แสน แต่กัปนี้ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ในครั้งนั้น ท่านได้เกิดเป็นกษัตริย์ในพระนครหงสวดี ได้ยินพระพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งสาวกของพระองค์ชื่อสุทัสสนะ ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้มีลาภมาก ดังนั้น ทรงปรารถนาในตำแหน่งนั้นบ้าง จึงได้นิมนต์ พระชินสีห์พร้อมทั้งพระสาวก ให้เสวยและฉันถึง ๗ วัน ครั้น ถวายมหาทานแล้วก็ได้ตั้งความปรารถนาว่า ขอให้ท่านเป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีลาภในอนาคตกาล.พระปทุมุตตระบรมศาสดา จึงทรงพยากรณ์ว่าความปรารถนาของท่านนี้จะสำเร็จในกัปที่แสนแต่กัปนี้ไป ท่านจะบังเกิดในนาม สีวลี ได้บวชในสำนักของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าโคตมะ ซึ่งสมภพในวงศ์ของพระโอกกากราช ดังนี้แล้ว เสด็จหลีกไป
ต่อจากนั้น ท่านก็กระทำกุศลจนตลอดชีวิต ครั้นสิ้นชีวิตแล้วก็ท่องเที่ยวไปกำเนิดในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ครั้นในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ ในกาลของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ท่านได้เกิดเป็นกุลบุตรผู้หนึ่งอาศัยในหมู่บ้านเล็ก ๆ ชายแดนท่านได้มีโอกาสถวายทานแด่องค์พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยน้ำผึ้งผสมกับดีปลีและเนยแข็งโดยกวนให้เข้ากัน ในโอกาสที่ชาวเมืองนั้นพร้อมกับพระราชาได้มีโอกาสถวายทานเป็นการใหญ่แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น และท่านได้อธิษฐานขอพรไว้ว่า ด้วยกุศลที่ตนกระทำแล้วนี้ ขอให้ตนเองเป็นผู้เลิศด้วยลาภเถิดพระองค์ก็ได้ทรงอนุโมทนาให้ตามปรารถนา
พระสีวลีทดลองบุญ
ในเวลาต่อมา พระบรมศาสดาได้เสด็จไปยังพระนาครสาวัตถี พระสีวลีเถระถวายอภิวาทพระบรมศาสดาแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักทดลองบุญของข้าพระองค์ ขอพระองค์จงมอบภิกษุ ๕๐๐ รูปแก่ข้าพระองค์ พระศาสดาตรัสสั่งว่า จงรับไปเถิด สีวลี.ท่านพาภิกษุ ๕๐๐ รูป เดินทางบ่ายหน้าไปสู่หิมวันตประเทศ เดินทางผ่านดง เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไทร ที่ท่านเห็นเป็นครั้งแรก ได้ถวายทานตลอด ๗ วัน เทวดาทั้งหลายได้ถวายทานทุก ๆ ๗ วัน ในสถานที่ทั่ว ๆ ไป ที่ท่านเห็นต่างกรรม ต่างวาระ กันดังนี้ คือ
ท่านเห็นต้นไทรเป็นครั้งแรก เห็นภูเขาชื่อว่าปัณฑวะเป็นครั้งที่ ๒ เห็นแม่น้ำอจิรวดี เป็นครั้งที่ ๓ เห็นแม่น้ำวรสาครเป็นครั้งที่ ๔ เห็นภูเขาหิมวันต์เป็นครั้งที่ ๕ ถึงป่าฉัททันต์ เป็นครั้งที่ ๖ ถึงภูเขาคันธมาทน์เป็นครั้งที่ ๗ และพบพระเรวตะ เป็นครั้งที่ ๘.
ประชาชนทั้งหลาย ได้ถวายทานในที่ทุกแห่งตลอด ๗ วันเท่านั้น.ก็ในบรรดา ๗ วัน นาคทัตตเทวราช ที่ภูเขาคันธมาทน์ ได้ถวายบิณฑบาตชนิดน้ำนม (ขีรบิณฑบาต) สลับวันกับ ถวายบิณฑบาตชนิดเนยใส (สัปปิบิณฑบาต) วันเว้นวัน ลำดับนั้นภิกษุสงฆ์จึงถามท่านเทวราช ว่า ของที่ท่านนำมาถวายนั้นเกิดขึ้นได้อย่าไร ในเมื่อ แม่โคนมที่เขารีดนมถวายแด่เทวราชนี้ก็มิได้ปรากฏ การบีบทำน้ำนมส้มก็มิได้ปรากฏ .เนาคทัตตเทวราชตอบว่า นี้เป็นอานิสงส์แห่งการถวายสลากภัตรน้ำนมในกาลแห่งพระกัสสปทศพล.
ในกาลต่อมา พระศาสดาทรง เอาเหตุแห่งการที่พระขทิรวนิยเถระจัดการต้อนรับ ให้เป็นอัตถุปบัติ (เหตุเกิดแห่งเรื่อง) ในการที่ทรงแต่งตั้งพระสีวลีเถระไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศ ในบรรดาภิกษุผู้เลิศด้วยลาภ และเลิศด้วยยศทั้งหลาย ในศาสนาของพระองค์ ในเรื่องนี้ มีเหตุเกิดขึ้นอย่างนี้
เหตุเกิดแห่งเรื่องที่ทรงแต่งตั้งพระสีวลีเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้เลิศด้วยลาภ และเลิศด้วยยศทั้งหลาย ในศาสนาของพระองค์
ในสมัยหนึ่ง พระขทิรวนิยเรวตเถระ ซึ่งเป็นน้องชายของพระสารีบุตร ได้หนีการแต่งงานที่บิดามารดาจัดการให้ มาขอบวชในสำนักพระภิกษุ ซึ่งมีภิกษุอยู่ประมาณ ๓๐ รูป เหล่าพระภิกษุสอบถามดู ทราบว่าเป็นน้องชายของพระสารีบุตร ที่ท่านได้เคยแจ้งไว้ก่อนว่าถ้าน้องชายมาขอบวชก็อนุญาตให้บวชได้ จึงได้ทำการบวชให้แล้วส่งข่าวมายังท่านพระสารีบุตร
ครั้งนั้น เมื่อพระสารีบุตรทราบข่าวดังนั้น จึงกราบทูลพระศาสดาเพื่อขอไปเยี่ยม พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบว่าพระเรวตะเริ่มทำความเพียรเจริญวิปัสสนา จึงทรงห้ามพระสารีบุตรถึง ๒ ครั้ง ในครั้งที่ ๓ เมื่อพระสารีบุตรทูลอ้อนวอนอีก ทรงทราบว่า พระเรวตะบรรลุพระอรหัตแล้วจึงทรงอนุญาตและตรัสว่าจะทรงไปด้วยพร้อมเหล่าพระสาวกอื่น
ดังนั้น พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวาร ก็ได้เสด็จออกไปด้วยพระประสงค์ว่าจะไปเยี่ยมพระเรวตะ.ครั้นเดินทางมาถึง ณ ที่แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นหนทาง ๒ แพร่ง
พระอานนเถระกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญตรงนี้มีหนทาง ๒แพร่ง ภิกษุสงฆ์จะไปทางไหน พระเจ้าข้า
พระศาสดาตรัสถามว่า อานนท์หนทางไหน เป็นหนทางตรง
พระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญหนทางตรงมีระยะประมาณ ๓๐ โยชน์ แต่เป็นหนทางที่มีอมนุษย์ ส่วนหนทางอ้อมมีระยะทาง ๖๐ โยชน์ เป็นหนทางสะดวกปลอดภัย มีภิกษาดีหาง่าย.
พระศาสดาตรัสว่า อานนท์ สีวลีได้มาพร้อมกับพวกเรามิใช่หรือ
พระอานนท์กราบทูลว่า ใช่ พระสีวลีมาแล้วพระเจ้าข้า
พระศาสดาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นพระสงฆ์จงไปตามเส้นทางตรงนั้นแหละ เราจักได้ทดลองบุญของพระสีวลี.
พระศาสดามีพระภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร เสด็จขึ้นสู่เส้นทาง ๓๐ โยชน์ เพื่อจะทรงทดลองบุญของพระสีวลีเถระ.
จำเดิมแต่ที่ได้เสด็จไปตามหนทาง หมู่เทวดาได้เนรมิตพระนครในที่ทุกๆ โยชน์ ช่วยกันจัดแจงพระวิหารเพื่อเป็นที่ประทับและที่อยู่แด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
พวกเทวบุตร ได้ถือเอาข้าวยาคูและของเคี้ยวเป็นต้น ไปเที่ยวถามอยู่ว่า พระผู้เป็นเจ้าสีวลีไปไหน ดังนี้แล้ว จึงไปหาพระเถระ พระเถระจึงให้นำเอาสักการะและสัมมมานะเหล่านั้นไปถวายพระศาสดา พระศาสดาพร้อมทั้งบริวารเสวยบุญของพระสีวลีเถระผู้เดียว ได้เสด็จไปตลอดทางกันดารประมาณ ๓๐ โยชน์
ฝ่ายพระเรวตเถระทราบการเสด็จมาของพระศาสดา จึงนิรมิต พระคันธกุฎีเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า นิรมิตเรือนยอด ๕๐๐ ที่จงกรม ๕๐๐ และที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน ๕๐๐ พระศาสดาประทับอยู่ใน สำนักของเรวตะเถระนั้นสิ้นกาลประมาณเดือนหนึ่งแล แม้ประทับอยู่ ในที่นั้น ก็เสวยบุญของพระสีวลีเถระนั่นเอง แม้พระศาสดาทรงพาภิกษุสงฆ์ไป เสวยบุญของพระสีวลีเถระ ตลอดการประมาณเดือนหนึ่งนั่นแลอีก เสด็จเข้าไปสู่บุพพาราม ลำดับ
ในกาลต่อมา พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่พระอริยเจ้าแล้ว ทรงสถาปนาพระเถระนั้นไว้ในตำแหน่งอันเลิศว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสีวลีเป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีลาภ.
http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=2006
ทุกอย่าง สำเร็จได้ด้วยบุญ ที่ตนเองได้สั่งสมเอาไว้ บุญอยู่เบื้องหลังของความสุขและความสำเร็จ ตลอดเวลาแม้กระทั่งบวชบรรพชาเป็นพระภิกษุ ตราบจนกระทั่งเข้าสู่พระนิพพาน
บัณฑิตจึงควรหมั่นสั่งสมบุญ ทั้ง ทาน ศีล ภาวนา และ อธิษฐานล้อมกรอบให้ดี (อธิษฐานบารมี)
ในกระทู้: อยากคุยกับคุณครูไม่ใหญ่จะเป็นไปได้ไหมคะ
06 April 2008 - 06:18 AM
ดู DMC ศึกษาจาก Case Study กรณีศึกษา ที่มีกรรมลักษณะคล้ายๆกัน
- ธรรมะสร้างกำลังใจ ทำให้คุณเป็นสุขใจได้ตลอดเวลา
- → ดูโปรไฟล์: โพสต์: ^_^หลับตาพริ้ม๐นั่งหน้ายิ้ม^_^
- Privacy Policy
- เงื่อนไข ข้อตกลง และกฏระเบียบของเว็บไซต์ DMC ·