ถ้าแม้นไม่ทำดีในแดนดิน จะถวิลถึงสวรรค์นั้นอย่าหา
สวรรค์นั้นมีอยู่หลายชนิดหลายชั้นหลายขั้นด้วยกัน ตามที่ท่านผู้เฒ่าผู้แก่เล่ากันมา สวรรค์ ที่จะกล่าวในที่นี้หมายถึง ฉกามาพจร
คือสวรรค์ ๖ ชั้น ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราช จนถึงชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ความมหัศจรรย์ ของดินแดนเหล่านี้
หนังสือไตรภูมิได้กล่าวพรรณนาไว้โดยละเอียดแล้ว ในทศชาดก เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นพระเจ้าเนมิราช พระราชาแห่งกรุงมิถิลา
พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้เพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรม ทรงยินดีในการบำเพ็ญทานรักษาศีลอุโบสถตั้งแต่ทรงพระเยาว์
เมื่อเสด็จขึ้นทรงราชย์ก็ทรงมั่นในทศพิธราชธรรม ทรงสั่งสอนประชาชนให้มั่นอยู่ในความดี ครั้นประชาชนเหล่านั้นสิ้นชีพก็ไปเกิดบนสวรรค์
ขณะนั้นปรากฏว่าบนสวรรค์นั้นเต็มไปด้วยเทพเจ้า
หมู่เทพบนดาวดึงส์ก็ประชุมกันสรรเสริญคุณงามความดีของพระเนมิราช ต่างก็อ้อนวอนองค์ท้าวสหัสนัยน์ให้ไปทูลเชิญเสด็จพระองค์มา
ณ เทวสถาน พระเนมิราชได้ทอดพระเนตรเห็นวิมานของเหล่าเทพบุตร เทพธิดา ซึ่งล้วนแต่งดงาม บ้างก็ประดับประดาไปด้วยแก้วมณี
บ้างก็แวววาวระยับระยิบไปด้วยแก้วเจ็ดประการแลตระการตา บ้างมีสวนประดับด้วยดอกไม้นานา พรรณส่งกลิ่นหอมอวลไปทั่วบริเวณ
เสียงดนตรีสวรรค์เสนาะโสต เสียงตะโพนเสียงฆ้องไพเราะ ฟังแล้วทำให้เกิดความเจริญใจยิ่งนัก
เทพบุตรเทพธิดาเจ้าของวิมาน เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ล้วนแต่เคยประกอบกุศลกรรม บริจาคทานรักษาศีลอยู่ตลอดเวลา
จึงได้รับความบันเทิงสุขในสวรรค์ชั้นฟ้า ดังนี้
เมื่อสรุปความแล้วจะเห็นได้ว่าผู้ที่จะได้ขึ้นสวรรค์ ชั้นฟ้านั้น ต้องเป็นผู้ที่กระทำความดีตั้งแต่ในเมืองมนุษย์
ดังพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ถ้าแม้นไม่ทำดีในแดนดิน จะถวิลถึงสวรรค์นั้นอย่าหา
อันสวรรค์ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงในอนุปุพพิกถา ก็เป็นอานิสงส์ จากทานและศีล
สำหรับผู้ที่ไม่เชื่อในเรื่องนรกสวรรค์ว่ามีจริงอาจกล่าวได้ในแง่ สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ พระราชนิพนธ์นี้
ก็ยังถือได้ว่าเป็นความจริงอยู่นั่นเอง คือถ้าเรา เป็นคนดี ทำแต่สิ่งที่ดีที่ชอบ จิตใจเราก็จะบริสุทธิ์
และได้รับความสุขเช่นเดียวกันกับการขึ้นสวรรค์
ดังนั้น ผู้ที่หวังสวรรค์หวังความสุขในโลกหน้า หรือในปัจจุบัน ควรจะประกอบแต่กรรมดีตั้งแต่วันนี้ ในแดนดิน
ม.ศ.๕
๑ ธันวาคม ๒๕๑๕
ว่าด้วยสำเภาในการเทศน์มหาชาติ
ในปลายสมัยรัชกาลที่ ๒ การค้าสำเภาเป็นสิ่งที่นิยมกัน ไทยเราส่งสำเภาออกไปค้าขายจนได้เงินเข้าท้องพระคลังเสมอๆ
ทั้งนี้อยู่ในควบคุมของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ อนึ่ง
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวช เป็นสามเณร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ อัญเชิญเสด็จไปแสดงธรรม
เรื่องมหาเวสสันดรชาดก ผูกสำเภาตั้งที่หน้าวัง บรรทุกสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค เต็มลำ ถวายเป็นเครื่องกัณฑ์บูชาธรรม ความข้อนี้
ทราบถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รับสั่งสรรเสริญเป็นอันมาก เห็นพระทัยว่าทรงอารีรอบคอบ รักพี่รักน้อง
เหตุที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ผูกสำเภาขึ้นเช่นนี้ อาจเป็นได้ ๒ ประการคือ
การค้าสำเภากำลังเป็นที่แพร่หลายประการหนึ่ง และเพื่อ แสดงคติในเวสสันดรชาดกกัณฑ์กุมาร ซึ่งเปรียบสองกุมารดังมหาสำเภาทอง
อันจะพาพระบิดาไปสู่พระนิพพาน
สืบมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออกทรงพระผนวชเป็นสามเณร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก็ได้ทรงมีพระราชดำรัส ให้ผูกสำเภา ตั้งที่สนามชัยค่อนไปทางทิศเหนือ บรรทุกสิ่งของเครื่องอุปโภค บริโภค เต็มลำสำเภา ถวายเป็น
เครื่องกัณฑ์บูชาธรรม เมื่อสมเด็จพระโอรสาธิราชเสด็จออกทรงผนวชเป็นสามเณร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก็ได้ทรงมีพระราชดำรัสให้ผูกสำเภา ตั้งที่สนามชัยตรงหน้าพระที่นั่งสุทไธยสวริยปราสาท บรรทุกสิ่งของ เครื่องอุปโภค บริโภค
เต็มลำสำเภาถวายเป็นเครื่องกัณฑ์บูชาธรรม
ม.ศ.๕
พ.ศ.๒๕๑๕
ธรรมคติจากพระราชนิพนธ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ตอนที่ ๓
เริ่มโดย Dd2683, Jan 25 2006 03:00 PM
มี 2 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 25 January 2006 - 03:00 PM
#2
โพสต์เมื่อ 26 January 2006 - 10:55 AM
ขออนุโมทนาบุญด้วยนะเพค่ะ_/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ
คุณครูไม่ใหญ่ บอกว่า :
1. อดีตที่ผิดพลาด ลืมให้หมด 2. บาปทุกชนิดไม่ทำเพิ่มเด็ดขาด 3. หมั่นนึกถึงบุญอย่างสม่ำเสมอ
4. บุญทุกบุญทำให้เข้มข้นทับทวี 5. ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย
ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ _/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ ด้วยรักจากใจ ด้วยห่วงใย จากใจจริง
1. อดีตที่ผิดพลาด ลืมให้หมด 2. บาปทุกชนิดไม่ทำเพิ่มเด็ดขาด 3. หมั่นนึกถึงบุญอย่างสม่ำเสมอ
4. บุญทุกบุญทำให้เข้มข้นทับทวี 5. ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย
ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ _/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ ด้วยรักจากใจ ด้วยห่วงใย จากใจจริง
#3
โพสต์เมื่อ 28 January 2006 - 01:03 AM
ทูลกระหม่อมน้อยแห่งปวงประชา ทรงมีพระปรีชายิ่ง ทั้งยังทรงบริบูรณ์พร้อมด้วยองค์คุณแห่งความเป็นพหูสูตครบถ้วนทุกประการ