ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ปริศนาแห่งความฝัน ตอนที่ 2


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 4 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 13 April 2006 - 04:52 PM

ปริศนาแห่งความฝัน ตอนที่ 2
บทที่ ๒ แนวคิด ทฤษฎี และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

๒.๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความฝัน

ความฝันคืออะไร?


ตามพจนานุกรมฉบับบาลีไทย “สุบิน” ได้แก่ “ความฝัน”


ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานแสดงไว้ว่า
“ฝัน” หมายถึง การนึกเห็นเป็นเรื่องเป็นราวเมื่อเวลานอนหลับ “นึกเห็น” และ “นึกเห็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้”


คำว่า “ฝัน” เป็นคำไทย แปลมาจากมคธว่า “สุบิน” หมายถึง เรื่องที่ได้ปรากฏเห็นในเวลาหลับ กิริยาที่บุคคลหยั่งลงสู่ความหลับแล้วเห็นภาพที่ปรากฏทางมโนทวารคือ ใจนี้ เรียก ความฝัน

พจนานุกรม เซนจุรี (อังกฤษ) อธิบายว่า
“ความรู้สึกอย่างราง ๆ ถึงภาพและความคิดทั้งหลายบางส่วนในเวลานอนหลับ”


พจนานุกรม ลารูสส์ (ฝรั่งเศส) อธิบายว่า
“หมวดหมู่ของความคิดและภาพทั้งหลาย ที่ปรากฏแก่วิญญาณในระหว่างนอนหลับ”
และอธิบายต่อว่า ความฝันมีอยู่เสมอ ตั้งแต่เราตั้งต้นหลับจนกระทั่งตื่น
แต่บางคืนที่เรารู้สึกว่าเรานอนไม่ฝันเลยนั้น ความจริงเราฝันเหมือนกัน แต่เราจำไม่ได้เอง


คำว่า ความฝัน (Dream) เป็นคำที่ใช้อธิบายพฤติกรรมของจิตตอนที่คนกำลังหลับ
ดังที่ใน the Oxford Universal Dictionary กล่าวไว้ว่า

“a train of thoughts images or fancies passing through the mind during sleep “
(หมวดหมู่แห่งความคิด มโนภาพ หรือจินตนาการที่เกิดขึ้นแก่จิตขณะหลับ)


ซึ่งเป็นความหมายที่คล้ายกับความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานที่ให้ไว้ว่า
“ความฝัน คือ การนึกเห็นเป็นเรื่องราวเวลานอนหลับ”

เพราะฉะนั้น ความฝันจึงเป็นกระบวนการทำงานของจิตใจอย่างหนึ่ง
ที่แสดงถึงสภาพทางจิตใจของบุคคลทั้งในส่วนที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
นอกจากนี้ ความฝันยังมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญ ๆ ในชีวิต
ซึ่งมีอิทธิพลต่อทั้งผู้ฝัน และผู้ใกล้ชิดอีกด้วย

๒.๒ นานาทัศนะเกี่ยวกับความฝัน

ความฝันเชิงสรีรวิทยา
มีการศึกษาเรื่องความฝันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๕๓ พบว่า
การกลอกดวงตาเร็วภายใต้เปลือกตาขณะนอนหลับนั้น เป็นสัญญาณว่าคนกำลังฝัน
ประมาณชั่วโมงเศษ ๆ หลังจากคนล้มตัวลงนอน ดวงตาก็จะกลอกไปมาอย่างรวดเร็ว
คลื่นสมองจะเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับคนที่ตื่นอยู่ และหายใจถี่ขึ้นด้วย เป็นอยู่เช่นนี้ประมาณ ๕ - ๑๐ นาที
จากนั้น ดวงตาจะหยุดกลอกไปมา คลื่นสมองจะเป็นเช่นคนกำลังหลับ และลมหายใจก็จะผ่อนยาว

จากนั้น ดวงตาก็จะเริ่มกลอกไปมาใหม่ เป็นเช่นนี้คืนละ ๓ - ๔ ครั้ง
สมมติว่า เข้านอนตอน ๓ ทุ่ม พอ ๔ ทุ่มเศษ ๆ ก็จะเริ่มฝัน ครั้งที่ ๑
ฝันครั้งที่ ๒ น่าจะประมาณเที่ยงคืน
ครั้งที่ ๓ ประมาณตี ๒
ครั้งที่ ๔ ประมาณตี ๓ ถึงตี ๔
และอาจมีครั้งที่ ๕ ประมาณตี ๕ถึง ๖ โมงเช้า

จากการทดสอบที่สามารถยืนยันผลได้ พบว่า
ถ้าถูกปลุกขณะหลับและดวงตากลอกไปมานั้น เขาจะบอกว่า
เขากำลังฝันอยู่พอดี (ปลุก ๒๗ ครั้ง บอกว่าฝันอยู่ถึง ๒๐ ครั้ง)

แต่ถ้าปลุกระหว่างหลับและดวงตาไม่กลอกไปมาเลย
เขามักจะบอกว่าไม่ได้ฝัน (ปลุก ๒๓ ครั้งบอกว่าฝันเพียง ๔ ครั้ง)

การค้นพบต่อมาก็คือว่า
หากเขาถูกปลุกขณะฝันหรือเมื่อฝันจบ เขาจะจำความฝันได้ถึงร้อยละ ๘๐
ซึ่งถ้าตื่นตามปกติ เขามักจะจำไม่ได้ว่าฝันอะไรบ้าง แต่ก็ยังพอจำได้บ้าง เฉพาะที่ตื่นเต้น เหมือนจริง และใกล้เคียงกับประสบการณ์ที่ตื่นอยู่ขณะนั้น

การหลับและกลอกตาไปมาเรียกว่า หลับแบบ REM : Rapid Eyes Movement
ขณะหลับแบบนี้คลื่นสมองจะเหมือนคนตื่นอยู่
เมื่อดูด้วยเครื่องตรวจคลื่นสมอง (EEG : Electroencephalograph )
จึงอาจเรียกการหลับช่วงนี้ว่า REM - EEG หรือ D – STATE
ซึ่งจะใช้เวลาประมาณร้อยละ ๒๕ ของเวลาหลับปกติ คือ ๒ ชั่วโมงใน ๘ ชั่วโมง ของคนหนุ่มสาว

D – State ความตื่นในความหลับ จะเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ตลอดคืน
เริ่มต้นหลังจากหลับไปประมาณ ๑๐๐ นาที และจะเกิดอยู่ประมาณ ๑๐ นาที
จากนั้นจะเกิด D – State อีกครั้งหลังจากหลับไปประมาณ ๙๐ - ๑๐๐ นาที

คนหนุ่มสาวจะมี D – State ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของเวลาหลับ
และจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อผ่าน ๑๐ ปีไปแล้ว จะเหลือร้อยละ ๒๕
และจะเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่งเมื่ออายุ ๖๐ (D -State ลดลง)

D – State มีในสัตว์เหมือนกัน เช่น
พวกลิง สุนัข แมว หนู กระรอก และช้าง รวมทั้งพวกนกบางชนิด และสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด

ในขณะที่เกิด D – State จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายบางอย่าง เช่น
ลมหายใจหนักขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจถี่ขึ้น กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
โดยเฉพาะในสัตว์ชั้นต่ำ แต่ในคนพบว่า มีการตื่นตัวของอวัยวะเพศเกิดขึ้น เช่น
มีการไหลเวียนของเลือดไปหล่อเลี้ยงบริเวณนั้นเพิ่มขึ้น เป็นต้น

เราไม่อาจห้ามคนฝันได้ เช่น พยายามปลุกทุกครั้งขณะฝัน หรือมี D – State
แต่ถ้าปล่อยสบาย ๆ ในคืนต่อมา จะฝันมากขึ้นเป็นฝันทบต้นทีเดียว แปลว่า
ถ้าห้ามฝันคืนหนึ่ง คืนต่อมาจะต้องฝันเพิ่มมากขึ้น ชดเชยคืนก่อนหน้านั้น
ฉะนั้น เป็นคนต้องฝัน ห้ามกันไม่ได

เรามักจะเข้าใจกันว่า ความฝันสะท้อน ความปรารถนา หรือ ความต้องการ ของคนเราออกมา
หรือ ไม่ก็เป็น ประสบการณ์ในอดีต ซึ่งคงจะจริง เมื่อคนหลับอยู่ใน D – State
หากถูกกระตุ้นด้วยเสียงพูด หรือหยดน้ำลงบนผิวหน้า เขามักจะบอกว่า
เขาฝันอย่างที่ถูกเร้า หรือไม่ก็คล้าย ๆ อย่างนั้น หรือถ้าดูหนังผีก่อนนอน อาจฝันถึงผีได้เหมือนกัน สิ่งแวดล้อมภายนอกจึงมีอิทธิพลต่อการฝันอยู่ค่อนข้างจำกัด นั่นคือ
ฝันมาจากสิ่งเร้าภายในเป็นหลัก สิ่งเร้าภายนอกมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ความฝันในเชิงมานุษยวิทยา
ในเชิงมานุษยวิทยาเน้นใน ๒ ประเด็นคือ
ความเชื่อ และ การทำนายฝัน

มีสาระสำคัญในแต่ละเรื่อง พอสรุปได้ดังนี้
ความฝันกับความเชื่อ มีความเชื่อสำคัญ ๆ ๒ อย่างคือ

๑. ความฝันเป็นผลของการท่องเที่ยวของไปวิญญาณ หรือชีวิตเล็ก ๆ หรือเจตภูตของผู้ฝันเอง
กล่าวคือ เมื่อคนเราหลับลง เจตภูตในตัวเขาไม่หลับไปด้วย แต่กลับท่องเที่ยวสนุกสนาน โลดโผน อยู่ข้างนอก ความฝันจะเป็นสุขสนุกสนานไปด้วย หากไปผจญภัยยากลำบาก ก็อาจฝันร้าย หรือฝันผวา
เรียกว่า เจตภูตท่องเที่ยวอย่างไร ก็จะฝันอย่างนั้น เมื่อเจตภูตกลับเข้าตัว เขาก็จะตกใจตื่น และจะจำฝันนั้นได้เฉพาะเรื่องที่ประทับใจหรือตื่นเต้นเท่านั้น

เจตภูตพลัดหลงได้ยาก แต่ก็มีกรณีเจตภูตพลัดหลง กลับไม่ได้ กลับไม่ถูก ผู้ฝันจะตื่นได้อย่างเลอะเลือน
คือมีชีวิตแต่ไม่มีจิตใจ หรือมีเพียง มิ่ง (ชีวิต) แต่ไร้ขวัญ (จิตใจ)
มิ่งต้องคู่กับขวัญ เป็นมิ่งขวัญเสมอ หรือกรณี ไหลตาย ไหลคือ หลับไหล หรือละเมอ
เนื่องจากเจตภูตกลับไม่ถูกปัจจุบันทางการแพทย์เรียก SUD – SUND Sudden Unexplained Nocturnal Death อันเป็นฝันที่เกิดจากธาตุพิการนั่นเอง

๒. ความฝันเป็นผลของเทพต่าง ๆ หรือภูตผีต่าง ๆ หรือ จิตวิญญาณของบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว มาปรากฏในฝัน โดยอาศัยผู้ฝันเป็นสื่อกลาง ที่เรียกว่า เข้าฝัน
เพื่อบอกเล่า เพื่อเยี่ยมเยียน ตักเตือน หรือร้องขออะไรบางอย่าง
ซึ่งมักมีคำพยากรณ์ในอนาคตค่อนข้างมาก และมักเป็นในทางบวก

ส่วนฝันในเชิงลบก็เรียก ฝันร้าย มักจะเป็นภาระของวิญญาณ ภูตผีปีศาจมากกว่าอย่างอื่น
อาจมาในลักษณะ ข่มขู่ คาดโทษ หรือพาไปเมืองผี นำไปสู่ฝันผวา (Night terror)
หรือฝันร้าย (Nightmare) ทำให้ตกใจตื่นอย่างขวัญเสีย หรือขวัญหนีดีฝ่อ ต้องปลอบกันเป็นการใหญ่
เพื่อเรียกขวัญกลับมาด้วยการผูกข้อมือ ด้วยด้ายดิบ ๒ - ๓ เส้น ที่เรียกว่า ผูกขวัญ
นอกจากนี้ก็มีพิธีลอยฝัน (ร้าย) หรือแก้ฝัน เพื่อช่วยควบคุมความประพฤติของผู้คนมิให้ ผิดผี ง่าย ๆ

ความฝันเชิงจิตวิเคราะห์

ฟรอยด์ ถือว่า ความฝันเป็นหนทางนำไปสู่ความเข้าใจจิตไร้สำนึก
เป็นการแสดงออกของตัณหานานาชนิดที่เก็บกดไว้ในขณะตื่น
เขาสังเกตว่า คนไข้ที่มีการฝันแบบลุกเดิน มีลักษณะคล้ายคนถูกสะกดจิต
เขาเห็นความสัมพันธ์ระหว่างการนอน การฝัน และสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นทั้งภายนอกและภายใน

ความฝันมีความสัมพันธ์กับการนอนหลับฝันอย่างไร
การนอนเป็นสิ่งสำคัญมาก สำหรับคนทั่วไปใช้เวลาในการนอนถึงหนึ่งในสามของเวลาในชีวิตทั้งหมด
โดยเฉลี่ยคนเราจะนอนวันละ ๘ ชั่วโมง แต่ใครจะนอนกี่ชั่วโมงในหนึ่งคืนนั้น
ขึ้นอยู่กับสุขภาพและความเคยชินของผู้นั้น เพราะความฝันเป็นธรรมชาติของคนหลับ
และก็เป็นส่วนหนึ่งของการนอนนั้นด้วย

การนอนคืออะไร
การนอนเป็นการพักผ่อนอย่างหนึ่งของมนุษย์และสัตว์ (ยกเว้นแมลง)
สำหรับมนุษย์ย่อมหมายถึง เป็นการพักผ่อนจิตสำนึก
เมื่อหลับ จิตสำนึกจะถูกปิดลง (ชั่วคราว)
แต่โดยความเป็นจริง เมื่อเราหลับ เรามักจะฝันเรื่องต่าง ๆ ซึ่งแปลว่า จิตสำนึกอาจกลับมาได้ เพราะปิดไม่สนิท

ทฤษฎีเกี่ยวกับการนอนหลับ
มีหลายทฤษฎี มีทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า
การนอนหลับเป็นเรื่องของสัญชาติญาณ เป็นการป้องกันร่างกายไม่ให้ปะทะกับความเหน็ดเหนื่อย
แสดงว่า การนอนหลับมิใช่เพราะเหน็ดเหนื่อย แต่เป็นธรรมชาติในการป้องกันตัวเองต่างหาก

ทฤษฎีเชิงชีวภาพ พยายามหาความสัมพันธ์การนอนกับการพักผ่อน หรือสัญชาติญาณเข้าด้วยกัน
พบว่า การนอนหลับเป็นปรากฏการณ์สากล อาจถือว่าเป็นสัญชาติญาณก็ได้

ทฤษฎีการนอนในแง่ของระบบประสาท ในตอนแรกก็ชี้ว่า
แบบแผนของระบบประสาทในสมองถูกจัดแต่งไว้เป็นชั้นเป็นลำดับ
ชั้นบนสุด คือความคิดและภาษา
ชั้นล่างสุด เกี่ยวกับการหายใจ การไหลเวียนเลือด และระบบการเห็นอื่น ๆ
เมื่อเราหลับ การทำงานในระดับสูงสุดหยุด ระดับล่างยังคงทำงานตามลำพังต่อไป

ฉะนั้นคนที่ได้ชื่อว่าหลับ ก็คือคนที่ระบบการทำงานของประสาทอยู่ในสภาพเฉย หรือไม่ทำงานเลย
ระบบกล้ามเนื้อจะผ่อนคลาย กระแสพลังจากอวัยวะรับความรู้สึกถูกเคลื่อนย้ายไป
ระบบประสาทไม่พร้อมจะทำงาน สิ่งเร้าจึงไม่มีผล ยกเว้นแต่ว่าเกิดภาวะไม่ปกติขึ้น

สิ่งเร้าที่ผิดปกติ จะกระตุ้นเซลล์ประสาทและการตอบโต้ของกล้ามเนื้อขึ้นมาได้
ทำให้เซลล์ประสาททำงานและคนนั้นก็จะตื่นอย่างเต็มที่ หมายถึงการผ่อนคลายทำให้เกิดการหลับ
แต่ถ้ามีความกังวลหรือความเครียดอยู่ ก็ยากจะผ่อนคลายได้

อีกทฤษฎีหนึ่งชี้ว่า การหลับเกิดจากการขาดเลือดมาเลี้ยงสมองเพราะหลอดเลือดขยายใหญ่เกินไป
เลือดที่ไปเลี้ยงสมองจึงหลับเข้าสู่เส้นเลือดเร็ว เป็นเหตุให้ศูนย์ควบคุมการเคลื่อนไหว
ทำงานน้อยลง ทำให้หลับ

กล่าวได้ว่า การนอนเป็นภาวะจะพักผ่อน เมื่อหลับตาลง ก็จะเป็นการขจัดสิ่งเร้าภายนอกออกไป
การทำงานของจิตใจ ก็จะค่อย ๆ ลดลงจนถึงระดับต่ำสุด เราก็จะพักผ่อนได้
แต่ ก็ยังมีสิ่งเร้าภายในมารบกวน เช่น
ความหิว กระหายน้ำ ปวดปัสสาวะ ซึ่งขจัดได้ง่ายกว่าแรงกดดันที่เราไม่ต้องการ ได้แก่
ความคับข้องใจ ความรู้สึกผิด วิตกกังวล ความอยาก จินตนาการต่าง ๆ ทำให้รุกเร้าอยู่ตลอดเวลาแม้ในขณะพัก

ความฝันจะช่วยขจัดความขัดแย้ง ความวิตกกังวลเหล่านี้ให้น้อยลงเพื่อจะได้หลับต่อไป แต่บางครั้งก็ไม่สำเร็จเพราะถูกกระตุ้นอย่างรุนแรงเกินไป

พอจะสรุปได้ว่า
ความฝันช่วยตอบสนองความปรารถนาทางกายขั้นต้นได้ เช่นความหิว อันเกิดจากแรงกระตุ้นภายใน และจะหลับต่อไปได้เมื่อฝันว่าได้กินอาหาร คือความต้องการได้ตอบสนองแล้วชั่วคราว
เช่นนี้ถือว่า เป็นความหลอน (Hallucination) อย่างหนึ่ง

ฟรอยด์แบ่งเนื้อหาของความฝันออกเป็น ๒ คือ
๑. ฝันที่มีเนื้อหาเปิดเผย : เนื้อหาจะตรงตามที่ผู้ฝันต้องการ มีความอยากได้อะไร ก็จะฝันสิ่งนั้น
เป็นความฝันที่เข้าใจง่าย ตรงไปตรงมา ซึ่งไม่สู้มีความหมายและคุณค่าในการศึกษาทางจิตวิเคราะห์เท่าไร


๒. ฝันที่มีเนื้อหาซ่อนเร้น : จะปรากฏในผู้ใหญ่ซึ่งดูเหมือนจะไม่มีสาระ ไม่ต่อเนื่อง เป็นส่วน ๆ
ไม่ปะติดปะต่อ ต้องใช้การตีความ จึงจะเข้าใจได้

ฟรอยด์ ตั้งข้อสังเกตในเรื่องฝันไว้ ๓ ประการ
๑. ความฝันเป็นสิ่งที่ไร้ความหมาย เพราะเกิดจากการทำงานของสมองที่ไม่สมบูรณ์ สะท้อนความจำเก่า ๆ
ที่ผ่านมาแล้วอย่างไม่เป็นระบบ

๒. ความฝันเป็นการสนองความปรารถนา ทำให้เกิดความพึงพอใจ และทำให้ผู้ฝันหลับต่อไปได้

๓. ความฝันมีความหมายทั้งหมด แต่ปรากฏออกมาเหมือนเหลวไหล ไม่ต่อเนื่อง ซึ่งสามารถอธิบายได้

ฟรอยด์ ได้ศึกษา ทดสอบและสังเกตโดยเฉพาะข้อ ๒ และ ๓ มาเป็นเวลานาน
และนำมาอธิบายไว้ในทฤษฎีวิเคราะห์ความฝันของเขา ปัญหาที่มีก็คือ

ทำไมความฝันของผู้ใหญ่จึงไม่เปิดเผย ตรงไปตรงมา ดังที่ผู้ฝันต้องการ

ตอบได้ว่า เพราะถูกขัดขวางจากสภาพความเป็นจริง (Reality) ยังถูกขัดขวางจากอุปสรรคภายในซึ่งได้แก่
Super – Ego หรือศีลธรรม – มโนธรรมอีกด้วย


ฉะนั้น ความฝันจึงต้องแปลงรูปและเหตุการณ์เป็นอย่างอื่นเสียก่อน ใ
นรูปของจิตไร้สำนึกที่ตัดขาดจากจิตสำนึกโดยสิ้นเชิง ผู้ฝันจะไม่ตื่นเต้น และสามารถหลับต่อไปได้
การแปลงรูปความฝัน ก็คือ การบิดเบือนแรงกดดันของความปรารถนาให้เข้ากับความต้องการของตน

ในเด็กเล็ก ๆ นั้น ความปรารถนาหรือความต้องการขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ ที่จะส่งเสริมหรือยับยั้ง
ฉะนั้น เมื่อเด็กถูกขัดขวาง ก็จะฝันเอาตามที่ต้องการ เพื่อสนองความต้องการของตนเช่นกัน


ไฟล์แนบ



#2 CEO

CEO
  • Members
  • 577 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย

โพสต์เมื่อ 29 April 2006 - 12:37 AM

ได้ยินมาว่าฝันมี 2 แบบ
1.กายละเอียดหลุดจากกายหยาบ
2.กายละเอียดไม่หลุดจากกายหยาบ
สร้างบารมีทุกวินาที
แม้ชีวิตนี้ก็ให้ได้

#3 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 May 2006 - 12:59 AM

QUOTE
โดยเฉลี่ยคนเราจะนอนวันละ ๘ ชั่วโมง แต่ใครจะนอนกี่ชั่วโมงในหนึ่งคืนนั้น
ขึ้นอยู่กับสุขภาพและความเคยชินของผู้นั้น เพราะความฝันเป็นธรรมชาติของคนหลับ

ผมฝันง่ายมากเลยครับ ไม่ว่าจะนอน 1 ชม.ก็ฝัน 2 ชม.ก็ฝัน 8 ชม.ก็ฝัน 12 ชม.ก็ฝัน
เอ หรือผมจะฝันในฝันหละครับเนี่ย 555+
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#4 ป่าน072

ป่าน072
  • Members
  • 371 โพสต์
  • Location:โคราช
  • Interests:การศึกษาต่อในวิชา วิทยาศาสตร์<br />วิศวะปิโตรเคมี

โพสต์เมื่อ 22 August 2006 - 04:35 PM

ชอบภาพค่ะ
เนื้อหาก็ดี
เมื่อดวงตาปิดสนิมอย่างละมุน
ไม่มีลุ้นเร่งจองมองที่หมาย
ก็จะพบผู้รู้อยู่กลางกาย
ธาตุอ่อนแก่มากมายถึงปลายทาง

#5 น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

    เราคือ นักรบกล้าอาสาสมัคร กองทัพธรรม

  • Members
  • 1961 โพสต์
  • Gender:Female
  • Interests:ช่วยงานบุญที่วัด ให้ถึงที่สุดกำลัง ตราบวันที่ชีวิตจะสิ้นลมหายใจ

โพสต์เมื่อ 04 November 2006 - 08:23 PM

ความฝันมีอยุ่4สาเหตุ
"ด้วยใจกล้าอาสา พัฒนาไม่หยุดยั้ง"

น้ำฝนลูกพระธัมฯ