ไปที่เนื้อหา


broke man heart broken

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 17 Jan 2009
ออฟไลน์ ใช้งานล่าสุด Jul 05 2009 10:25 AM
-----

โพสต์ที่ฉันโพสต์

ในกระทู้: กระทู้เช็คยอด -..-b+

26 February 2009 - 11:21 PM

ทดสอบ ทดสอบ

ในกระทู้: World-PECIII exam

20 January 2009 - 11:28 PM

มาดู วัตถุประสงค์ทั่วไปของการสอบกันครับ

1.เพื่อให้นักศึกษามีเป้าหมายในการทบทวนเนื้อหา ว่าจะทบทวนจบเมื่อไหร่
2.ใช้ข้อสอบเป็นเครื่องมือหนึ่งในการวัดความรู้ที่ นศ.ได้มาจากการเรียน หรือ การอ่านหนังสือ
3.ใช้ข้อสอบเป็นเครื่องมือหนึ่งในการประเมินความสามารถ ความตั้งใจ สติปัญญา โดยผ่านระบบเกรด A B C D F
4.ใช้ผลสอบเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจให้ รางวัล แก่ผู้มีผลการเรียนดี และลงโทษแก่ผู้มีผลการเรียนไม่ดี

จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว ผมขอใช้วิจารณญาณส่วนตัวในการวิเคราะห์นะครับ จะว่าไปทีละข้อทีละข้อ

1. ชัดเจนที่สุดครับ ถ้าไม่มีการกำหนดวันสอบ หลายๆคน คงอ่านหนังสือเล่มนี้ไม่จบ ไม่ได้สนทธนาธรรม
2. ถ้าเราไม่ใช้ข้อสอบเราจะทราบได้อย่างไรว่า ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาอยู่ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง
3. ถ้าเราไม่มีระบบข้อสอบ เราจะให้นักเรียนมาประเมินตนเองว่า ตนเองได้รับความรู้จากการอ่านหนังสือมาน้อยแค่ไหน
สำหรับคนที่ไม่เคยรู้มาเลย พอมาอ่าน จึงบอกว่า รู้เพิ่่มขึ้นมาก ส่วนคนที่รู้มากเป็นทุนเดิมอยู่แล้วพอมาอ่าน จึงบอกว่า
รู้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ถ้าเราเชื่่อว่า นักศึกษาจะประเมินตนเองอย่างยุติธรรม ผลการสอบworld pec ครั้งนี้คงมีคนได้ทิ่งหนึ่ง หลายหมื่นคนแ่น่นอน
4. แน่นอนว่า การตอบแทนโดยให้รางวัลเป็นสิ่งหนึ่งที่ครูใช้ เพื่อเพิ่มแรงผลักดันให้คนที่ยังไม่เชี่ยวชาญใ้ห้พยายามมากขึ้น ในการสอบครั้งต่อไป และเป็นการยกย่องเชิดชูผู้ที่ตั้งใจศึกษา อ่านหนังสือหลายๆรอบ คิดวิเคราะห์ทุกแง่มุม ให้เป็นที่ชื่นชม
ให้ตัวผู้สอบได้ดีเองมีความภาคภูมิใจ และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้ที่กำลังจะศึกษาต่อๆไป

จากวัตถุประสงค์ของการสอบและบทวิเคราะห์ดังที่ได้กล่าวข้างต้น ผมคิดว่า มีความจำเป็นต้องออกข้อสอบให้ได้มาตรฐาน ในการวัดองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการศึกษา โดยเฉพาะในบริบท หนังสือเรื่อง ศรัทธา และผู้ศึกษาเองก็ควรได้รับทราบว่าตนเองมีความรู้ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง ลึกซึ้งมากแค่ไหน โดยดูที่ผลของการสอบเป็นตัวตัดสินตัวหนึ่ง

ในกระทู้: พระไตรปิฎกแบบรวมย่อความ45เล่ม

19 January 2009 - 01:53 AM

แบบย่อความ แล้วยังคงความถูกต้องไว้ทั้งหมด คงไม่มี

ในกระทู้: World-PECIII exam

19 January 2009 - 01:39 AM

ขอวิจารณ์อย่างผู้กำลังศึกษา ซึ่งอาจมีข้อผิดพลาด และสิ่งที่จะวิจารณ์ต่อไปนี้ผู้เขียนก็เข้าใจข้อจำกัดต่างๆที่ทางวัดมีเช่นกัน

เนื่องจากเป็นการสอบตอบปัญหาธรรมะเพื่อสร้างสันติภาพโลก และผู้สอบต่างมีความหลากหลายทั้งในด้าน พื้นความรู้ทั้งทางด้านหลักธรรม และภาษา(บาลี) ความสนใจ วุฒิภาวะ ทางด้าน ความคิด ความรู้ และอารมณ์ จึงเป็นการยากมากที่ทางผู้ที่ทำหน้าที่ออกข้อสอบจะสามารถออกข้อสอบที่เหมาะสมกับทุกคนได้และยังคงคุณสมบัติของข้อสอบปรนัยที่ดี

ลักษณะข้อสอบปรนัยที่ดี และเหมาะสมก็คือข้อสอบต้องวัดองค์ความรู้ที่ได้จากการอ่านตำราเล่มนี้ และความรู้ที่จะสามารถนำไปบูรณาการณ์กับการใช้ชีวิตทางโลกได้อย่างดี และที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าที่ได้กล่าวมาแล้ว ข้อสอบปรนัยที่ดีต้องไม่สามารถเป็นที่โต้แย้งได้ว่า ตัวเลือกในข้อสอบสามารถเป็นคำตอบที่ถูกได้มากกว่า 1 ข้อ

ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว ผู้เขียนเชื่อว่าทางวัด น่าจะพิจารณา ด้านความเป็นไปได้ในการตรวจคำตอบซึ่งผู้เข้าสอบมีจำนวนมาก และในด้านความถูกต้องแน่นอนของคำตอบเพื่อไม่ให้เกิดการโต้แย้งในภายหลัง ดังนั้นทางวัดน่าจะจำใจ ออกข้อสอบที่มีคำถาม ที่ถามเกี่ยวกับความเป็นจริง ข้อจริงแท้ ซึ่งก็หนีไม่พ้น ถามเกี่ยวกับความหมาย บทนิยาม ที่มีภาษาบาลีมาเกี่ยวข้อง

ดังนั้นผู้เขียนคิดว่า การสอบครั้งนี้ยังไม่ใช่การสอบตอบปัญหาธรรมะเพื่อสันติภาพโลกที่แท้จริง เพราะสันติภาพจะเกิดขึ้นได้จริงๆก็ต่อเมื่อ ทุกคนเข้าถึงสันติสุขภายใน และรู้สึกอยากจะแบ่งปันความสุขนี้ให้กับคนทั้งโลก จึงออกไปทำหน้าที่ เพื่อนผู้แนะประโยชน์ แล้วจะมีวิธีใดเล่าที่จะวัดได้ว่า สันติภาพเกิดขึ้นแล้วจริงๆ ผู้เขียนคิดว่า เราคงต้องคิดกันต่อไปว่า จะมีเครื่องมือใดเล่าที่จะสามารถวัดสันติภาพที่เกิดขึ้นได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเกินความสามารถของปุถุชนอย่างผู้เขียนจึงไม่สามารถเสนอแนวทางได้ จึงต้องเรียนถามท่านผู้รู้ต่อไป

อย่างไรก็ตามผู้เขียนก็ขอชื่นชม ยินดี และอนุโมทนาในความพยายามของหมู่คณะในการพยายามสร้างสันติภาพโลกในบังเกิดขึ้น โดยไม่ยอมแพ้ต่อความยากลำบากในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้าน การแต่งตำรา การออกข้อสอบ การแปลตำรา และข้อสอบเป็นภาษาต่างๆ การหาทุน การเชิญและประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีบุญมาสอบกันมากๆ การตรวจข้อสอบอัตนัย และอื่นๆอีกมากมาย ทั้งนี้เพื่อสนองต่อแนวทางที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อ คุณครูไม่ใหญ่ได้ให้ไว้

ทั้งนี้ผู้เขียนเองก็มีความประทับใจในเนื้อหา องค์ความรู้ที่ถ่ายทอดออกมาทางตัวอักษร ในหนังสือ "ศรัทธา" ด้วยความสวยงามของการใช้ภาษา ทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย และ มีศรัทธาเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้เขียนอดยินดีปรีดาไปด้วยไม่ได้ จึงคิดไปว่าทั้งชาตินี้เราได้อ่านหนังสือดีๆอย่างนี้ก็นับว่าไม่เสียชาติเกิดแล้ว และหนังสือเล่มนี้ยังสะท้อนให้เห็นว่า หลวงพ่อทัตตะ และ คณะกองวิชาการ มีความเข้าใจที่ลึกซึ้งในพระธรรมอย่างถ่องแท้ลึกซึ้ง ยากที่จะพบเจอได้ง่าย จึงเป็นบุญอย่างยิ่งที่ผู้เขียนได้อ่านหนังสือเล่มนี้ และขอกราบขอบพระคุณมา ณ.โอกาสนี้