เพื่อความเข้าใจถูก ในความเหมือนและความแตกต่าง รวมถึงข้อดี ข้อด้อย และคำแนะนำ
เรื่อง การตั้งสัจจะ , ตั้งความปรารถนา ,การปวารณา ในการทำความดี
จึงขอเชิญเพื่อนสมาชิก ให้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องดังกล่าว ด้วยครับ
โดยขอตั้งประเด็น ผ่านคำถามดังนี้ครับ
๑ ? การตั้งสัจจะ , ตั้งความปรารถนา ,การปวารณา ในการทำความดี
มีความเหมือนและความแตกต่าง กันอย่างไรครับ
เรื่องสัจจะ
๒ ? อย่างไร แค่ไหนจึงเรียกว่า ตั้งสัจจะ ครับ
เช่น คิดในใจ , พูดกับตัวเอง , จุดธูปหน้าพุทธปฏิมากร แล้วกล่าววาจาออกมา
บอก-ประกาศให้บุคคลอื่น หรือเทพไท้เทวา บริเวณนั้น ๆ รับทราบ
*** กรณีพูดกับตัวเอง ไม่มีมนุษย์ฟัง แต่มีอมนุษย์ เช่น สัตว์ กายละเอียด ,เทพไท้เทวา บริเวณนั้น ๆ
หรือผู้มีญาณ ทราบด้วยทิพโสต หรือ มีเทวดามาบอกอีกต่อ
แบบนี้ถือว่า ตั้งสัจจะ หรือไม่ ครับ
๓ ? ข้อดี ข้อด้อย ( ความเสี่ยง ) ของการตั้งสัจจะ
ข้อด้อย ( ความเสี่ยง )ของการตั้งสัจจะ แก้ไขเป็น ผลเสียของการผิดสัจจะ
8/4/2551
โดยเฉพาะการตั้งสัจจะ เรื่องที่ต้องใช้เวลายาวนาน
แบบทำทุกวัน ตลอดพรรษา ตลอดปี ทุกปี ตลอดชีวิต
หรือเรื่องที่ตนเอง ยังไม่มั่นใจว่าจะทำได้สำเร็จตลอด
เช่น
การตั้งสัจจะ ใส่บาตรทุกวันตลอดชีวิต รักษาศีล ๕ , ศีล๘ ตลอดชีวิต , ไม่มีคู่ครอง ไม่แต่งงาน ,
รักษาศีล ๘ ทุกวันพระ , นั่งสมาธิ ๑ ชั่วโมงทุกวัน หรือประพฤติพรหมจรรย์ บวชตลอดชีวิต ฯล
๔ ? ข้อแนะนำในการตั้งสัจจะ ที่ถูกต้อง และรอบคอบ ปลอดภัย มีความเสี่ยงน้อย ได้ผลมากที่สุด
เพื่อที่จะไม่มีวิบากกรรมหนัก ในกรณีที่ไม่สามารถทำได้สำเร็จตลอด
เรื่องตั้งความปรารถนาและการปวารณา ในการทำความดี
กรณีนี้หมายเฉพาะ เรื่องทานกุศล ทานบารมี
โดยที่บอก-ประกาศให้บุคคลอื่น ให้ทราบด้วย หรือรับปากกับภิกษุไว้
เช่น เดือนนี้ ปีนี้ ตั้งใจว่า จะสร้างทานบารมีอะไรบ้าง ทำเท่านั้นเท่านี้ (จำนวนเงิน) กี่กอง ฯล
๕ ? ข้อแนะนำในการตั้งความปรารถนาและการปวารณา ในการทำความดี
ที่ถูกต้อง และรอบคอบ ปลอดภัย มีความเสี่ยงน้อย ได้ผลมากที่สุด
เพื่อที่จะไม่มีเศษวิบากกรรม ในกรณีที่ไม่สามารถทำได้สำเร็จ
ป.ล. จะเลือกสนทนา ข้อไหน ประเด็นใด ก็ได้นะครับ
ขออนุโมทนา ในการสนทนาธรรม ครับ
R2813_9.gif 4.29K
27 ดาวน์โหลด
เชิญสนทนาเรื่องการตั้งสัจจะ ในการทำความดี
เริ่มโดย Dd2683, Apr 01 2008 11:02 PM
มี 10 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 01 April 2008 - 11:02 PM
#2
โพสต์เมื่อ 02 April 2008 - 08:42 PM
๑.,๒.) ดูๆจากชาดก
การตั้งสัจจะ ต้องเริ่มต้น "พูดออกมา" ว่า "ข้าพเจ้าขอตั้งสัจจะดังต่อไปนี้..."
ไม่ใช่คิดในใจหรือพูดในใจ
แต่ถ้าไม่พูดประโยคนี้ออกมา ก็เป็นเพียงการปรารถนา
๓.) ถ้ายังไม่มั่นใจ ควรเพียงตั้งความปรารถนา
๔.) จากชาดก กล่าวว่า "เป็นธรรมดาที่ความปรารถนาของพระนิยตโพธิสัตว์ย่อมสำเร็จ"
บางครั้งท้าวสักกะก็ "ต้อง" ช่วยให้สำเร็จ
ยังอ่านไม่พบที่ไม่สำเร็จเลย
ผมคิดว่ายังไม่ควรตั้งสัจจะในเรื่องระยะยาวตลอดชีวิตถ้ายังไม่ใช่พระนิยตโพธิสัตว์
แต่ถ้าใช่ก็ "คง" จะรู้ตัวเอง ก็ควรตั้งสัจจะได้
แต่จากชาดก แม้ในชาติที่่เป็นพระนิยตโพธิสัตว์ ก็ไม่ได้เขียนไว้ว่ารู้ว่าตนเองเป็นพระนิยตโพธิสัตว์แล้ว
ต้องรอให้พระพุทธเจ้าในสมัยนั้นได้ทำพุทธพยากรณ์ก่อนแล้วจึงทราบว่าตนเองเป็นพระนิยตโพธิสัตว์
แต่โอเคถ้าเป็นการตั้งสัจจะในเรื่องฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ งูกัด
เพราะแม้ ไฟไม่ดับ , ตายไม่ฟื้น , ก็ไม่เสียสัจจะบารมี
ปล. ควรจะมีคำศัพท์เฉพาะแยกสัจจะ "ระยะยาว" กับ "ระยะสั้น"
เช่น "สัตยาธิษฐาน" ใช้กับ ระยะยาวตลอดชีวิต เช่น บวชตลอดชีวิต
"ตั้งสัจจะ" ใช้กับ ระยะสั้น เช่น ไฟไหม้
ส่วน "ระยะกลาง" ประมาณครึ่งปี เช่น การตั้งกอง ก็ควรจะมีคำศัพท์อีกคำหนึ่ง
วานผู้รู้ช่วยบอกด้วย
๕.) ส่วนเรื่องกี่กอง ขอเป็นแค่ "ตั้งกอง"
อย่าถึงกับ "ตั้งสัจจะ" เลย
ขอให้ "ตั้งคำถาม" มาอีก
สาธุ
การตั้งสัจจะ ต้องเริ่มต้น "พูดออกมา" ว่า "ข้าพเจ้าขอตั้งสัจจะดังต่อไปนี้..."
ไม่ใช่คิดในใจหรือพูดในใจ
แต่ถ้าไม่พูดประโยคนี้ออกมา ก็เป็นเพียงการปรารถนา
๓.) ถ้ายังไม่มั่นใจ ควรเพียงตั้งความปรารถนา
๔.) จากชาดก กล่าวว่า "เป็นธรรมดาที่ความปรารถนาของพระนิยตโพธิสัตว์ย่อมสำเร็จ"
บางครั้งท้าวสักกะก็ "ต้อง" ช่วยให้สำเร็จ
ยังอ่านไม่พบที่ไม่สำเร็จเลย
ผมคิดว่ายังไม่ควรตั้งสัจจะในเรื่องระยะยาวตลอดชีวิตถ้ายังไม่ใช่พระนิยตโพธิสัตว์
แต่ถ้าใช่ก็ "คง" จะรู้ตัวเอง ก็ควรตั้งสัจจะได้
แต่จากชาดก แม้ในชาติที่่เป็นพระนิยตโพธิสัตว์ ก็ไม่ได้เขียนไว้ว่ารู้ว่าตนเองเป็นพระนิยตโพธิสัตว์แล้ว
ต้องรอให้พระพุทธเจ้าในสมัยนั้นได้ทำพุทธพยากรณ์ก่อนแล้วจึงทราบว่าตนเองเป็นพระนิยตโพธิสัตว์
แต่โอเคถ้าเป็นการตั้งสัจจะในเรื่องฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ งูกัด
เพราะแม้ ไฟไม่ดับ , ตายไม่ฟื้น , ก็ไม่เสียสัจจะบารมี
ปล. ควรจะมีคำศัพท์เฉพาะแยกสัจจะ "ระยะยาว" กับ "ระยะสั้น"
เช่น "สัตยาธิษฐาน" ใช้กับ ระยะยาวตลอดชีวิต เช่น บวชตลอดชีวิต
"ตั้งสัจจะ" ใช้กับ ระยะสั้น เช่น ไฟไหม้
ส่วน "ระยะกลาง" ประมาณครึ่งปี เช่น การตั้งกอง ก็ควรจะมีคำศัพท์อีกคำหนึ่ง
วานผู้รู้ช่วยบอกด้วย
๕.) ส่วนเรื่องกี่กอง ขอเป็นแค่ "ตั้งกอง"
อย่าถึงกับ "ตั้งสัจจะ" เลย
ขอให้ "ตั้งคำถาม" มาอีก
สาธุ
#3
โพสต์เมื่อ 02 April 2008 - 09:47 PM
ขอขอบคุณ นรอ DJ96.25PM2-3 ที่แวะมาสนทนาด้วยครับ
และอนุโมทนา ที่ค้นเรื่องการตั้งสัจจะ ของพระบรมโพธิสัตว์ ที่มีมาในชาดก ครับ สาธุ
ขอสนทนาต่อนะครับ
แล้วถ้ายุคนี้ ไม่นิยมแบบเดิม แต่มีคำและวิธีต่างกับในอดีต
เช่น
มีพระถาม ธรรมทายาท ว่า ใครจะบวช / ประพฤติพรหมจรรย์ ตลอดชีวิต ยกมือขึ้น
แบบนี้ใครที่ยกมือ ให้พระและหลายคนรับทราบ
เป็นการตั้งสัจจะ หรือยังครับ
เห็นด้วยครับ เพื่อความไม่ประมาท ความรอบคอบ ปลอดภัย
เพราะศรัทธา อดุมการณ์ มนุษย์มีขึ้น มีลง แปรผันได้
อีกทั้ง อนาคต คือ กาลที่ยังมาไม่ถึง จึงไมมีอะไร ๆ ที่แน่นอน
หากผิดพลาดไป แม้สู้เต็มที่แล้ว แม้ไม่ตั้งใจเสียสัจจะ
แต่สัจจะบารมี ย่อมพร่อง เสียหายไปด้วย
ที่กล่าวอย่างนี้ ไม่มีเจตนา คัดค้่าน ต่อต้านการตั้งสัจจะในการทำความดี นะครับ
่เพียงแต่อยากให้รอบคอบ ในการตั้งสัจจะ ในการทำความดี
และไม่ประมาท ในผลเสีย ในวิบากบาป เมื่อไม่สามารถรักษาสัจจะได้ตลอด
รอสมาชิกท่านอื่น ๆ แวะมาสนทนา แบ่งปัีนความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง
เกี่ยวกับการตั้งสัจจะ , ตั้งความปรารถนา ,การปวารณา ในการทำความดี อีกครับ
อนุโมทนา ล่วงหน้าครับ
และอนุโมทนา ที่ค้นเรื่องการตั้งสัจจะ ของพระบรมโพธิสัตว์ ที่มีมาในชาดก ครับ สาธุ
ขอสนทนาต่อนะครับ
QUOTE
การตั้งสัจจะ ต้องเริ่มต้น "พูดออกมา" ว่า
"ข้าพเจ้าขอตั้งสัจจะดังต่อไปนี้..."
ไม่ใช่คิดในใจหรือพูดในใจ
แต่ถ้าไม่พูดประโยคนี้ออกมา ก็เป็นเพียงการปรารถนา
"ข้าพเจ้าขอตั้งสัจจะดังต่อไปนี้..."
ไม่ใช่คิดในใจหรือพูดในใจ
แต่ถ้าไม่พูดประโยคนี้ออกมา ก็เป็นเพียงการปรารถนา
แล้วถ้ายุคนี้ ไม่นิยมแบบเดิม แต่มีคำและวิธีต่างกับในอดีต
เช่น
มีพระถาม ธรรมทายาท ว่า ใครจะบวช / ประพฤติพรหมจรรย์ ตลอดชีวิต ยกมือขึ้น
แบบนี้ใครที่ยกมือ ให้พระและหลายคนรับทราบ
เป็นการตั้งสัจจะ หรือยังครับ
QUOTE
ผมคิดว่ายังไม่ควรตั้งสัจจะในเรื่องระยะยาวตลอดชีวิต
เห็นด้วยครับ เพื่อความไม่ประมาท ความรอบคอบ ปลอดภัย
เพราะศรัทธา อดุมการณ์ มนุษย์มีขึ้น มีลง แปรผันได้
อีกทั้ง อนาคต คือ กาลที่ยังมาไม่ถึง จึงไมมีอะไร ๆ ที่แน่นอน
หากผิดพลาดไป แม้สู้เต็มที่แล้ว แม้ไม่ตั้งใจเสียสัจจะ
แต่สัจจะบารมี ย่อมพร่อง เสียหายไปด้วย
ที่กล่าวอย่างนี้ ไม่มีเจตนา คัดค้่าน ต่อต้านการตั้งสัจจะในการทำความดี นะครับ
่เพียงแต่อยากให้รอบคอบ ในการตั้งสัจจะ ในการทำความดี
และไม่ประมาท ในผลเสีย ในวิบากบาป เมื่อไม่สามารถรักษาสัจจะได้ตลอด
รอสมาชิกท่านอื่น ๆ แวะมาสนทนา แบ่งปัีนความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง
เกี่ยวกับการตั้งสัจจะ , ตั้งความปรารถนา ,การปวารณา ในการทำความดี อีกครับ
อนุโมทนา ล่วงหน้าครับ
ไฟล์แนบ
#4
โพสต์เมื่อ 02 April 2008 - 11:20 PM
๑,) การถามรวมๆแล้วยกมือ ไม่ใช่การตั้งสัจจะ เป็นการอนุโลมไปตามมรรยาทในสังคม ไม่ให้เขาเสียการปกครอง ให้ภาพออกมาดูสวยงามว่าสามัคคีUNITY อานิสงค์ที่จะได้ก็คือ จะได้บริวารที่เชื่อฟัง ว่าไงว่าตามกัน แต่จะทำตามหรือไม่ก็อีกเรื่่องหนึ่ง
๒.) Promise = สัญญา,ปวารณา เช่น ตั้งกองกฐิน ( สิ่งที่ผู้พูดจะพยายามทำให้ได้ แต่ถ้าไม่ได้ ก็ยังไม่เสียสัจจะบารมี ได้แค่ไหนก็แค่นั้น ดีกว่ากลัวเสียสัจจะ แล้วไม่ตั้งกองเลย )( สร้างบุญใหม่ )
Pledge his word = ให้คำสัตย์สัญญา เช่น จะรักษาศีล๘ตลอดชีวิต ( สิ่งที่ผู้พูดต้องทำให้จงได้ มิเช่นนั้นจะต้องเสียสัจจะบารมีที่กำลังจะมีในอนาคตเมื่อจบโครงการ แต่ไม่เป็นบาป เพราะไม่มีเจตนาทำชั่ว ไม่ใช่มุสา แต่ถ้าทำได้ ก็จะได้สัจจะบารมีเมื่อจบโครงการ มีแต่ได้บุญกับเท่าทุน ไม่มีบาป อย่ากังวลใจ เดี๋ยวใจจะหมอง สาหร่ายจะพันคอ เสียท่าเขาแย่เลย อุตสาหะทำดีแล้ว แม้ยังไม่ถึงดี เพราะอินทรีย์ยังอ่อน ก็ไม่เป็นไร ได้แค่ไหนก็แค่นั้น ต้องมีสัมมาสังกัปปะคือคิดชอบดำริชอบ อย่าหาเรื่่องหมองๆใส่ใจ ต้องพยายามคิดในแง่ดีแง่บวก guiltyดี แต่อย่าover-guiltyนะครับ กล่าวโดยสรุปคือ การตั้งสัจจะในเรื่องดี มีแต่ได้บุญกับเท่าทุน ส่วนการเสียสัจจะในเรื่องไม่ดี เช่น จะเลิกเหล้าตลอดชีวิต แต่ทำได้ ๑๐ ปีก็กลับมากินอีก อย่างนี้ได้บาป) ( หาบาปไม่เป็น หาบุญเป็น หาบุญได้ )
Wishful thinking = การอ้างเหตุผลโดยถือเอาความปรารถนาเป็นเกณฑ์ เช่น ขอให้ไฟดับโดยอ้างบุญที่่เคยทำมา หรือให้แม่น้ำคงคาไหลย้อนกลับ ( ใช้บุญเก่า ใช้บุญเป็น)
Exchange = บนบานสานกล่าว ขอผลประโยชน์ก่อนแล้วจะไปทำความดีชดเชยผ่อนส่งหนี้ภายหลัง ( เป็นการ
ตั้งความปรารถนาอีกแบบหนึ่ง ) มักใช้ในเวลาที่อ้างบุญเก่าแล้วไม่เพียงพอไม่ได้ผล บุญเก่าแค่พอวางดาวน์เท่านั้น แต่ขอโอนบ้านมาอยู่ก่อน แล้วค่อยๆทยอยบุญทำสังฆทานผ่อนส่งไปเรื่อยๆจนสำเร็จเสร็จสิ้น เช่น ถ้าไฟดับจะทำสังฆทาน ๒๐,๐๐๐ วัด วัดละ ๑ บาท ถ้ายังไม่ดับอีก ก็เพิ่มไปเรื่อยๆ ๒,๓,๔...บาทจนกว่าไฟจะดับ นั่นก็คือถึงจุดที่บุญเพียงพอในการนั้นแล้ว เป็นต้น
ขอบคุณที่ตั้งกระทู้ดีๆ
สาธุ
๒.) Promise = สัญญา,ปวารณา เช่น ตั้งกองกฐิน ( สิ่งที่ผู้พูดจะพยายามทำให้ได้ แต่ถ้าไม่ได้ ก็ยังไม่เสียสัจจะบารมี ได้แค่ไหนก็แค่นั้น ดีกว่ากลัวเสียสัจจะ แล้วไม่ตั้งกองเลย )( สร้างบุญใหม่ )
Pledge his word = ให้คำสัตย์สัญญา เช่น จะรักษาศีล๘ตลอดชีวิต ( สิ่งที่ผู้พูดต้องทำให้จงได้ มิเช่นนั้นจะต้องเสียสัจจะบารมีที่กำลังจะมีในอนาคตเมื่อจบโครงการ แต่ไม่เป็นบาป เพราะไม่มีเจตนาทำชั่ว ไม่ใช่มุสา แต่ถ้าทำได้ ก็จะได้สัจจะบารมีเมื่อจบโครงการ มีแต่ได้บุญกับเท่าทุน ไม่มีบาป อย่ากังวลใจ เดี๋ยวใจจะหมอง สาหร่ายจะพันคอ เสียท่าเขาแย่เลย อุตสาหะทำดีแล้ว แม้ยังไม่ถึงดี เพราะอินทรีย์ยังอ่อน ก็ไม่เป็นไร ได้แค่ไหนก็แค่นั้น ต้องมีสัมมาสังกัปปะคือคิดชอบดำริชอบ อย่าหาเรื่่องหมองๆใส่ใจ ต้องพยายามคิดในแง่ดีแง่บวก guiltyดี แต่อย่าover-guiltyนะครับ กล่าวโดยสรุปคือ การตั้งสัจจะในเรื่องดี มีแต่ได้บุญกับเท่าทุน ส่วนการเสียสัจจะในเรื่องไม่ดี เช่น จะเลิกเหล้าตลอดชีวิต แต่ทำได้ ๑๐ ปีก็กลับมากินอีก อย่างนี้ได้บาป) ( หาบาปไม่เป็น หาบุญเป็น หาบุญได้ )
Wishful thinking = การอ้างเหตุผลโดยถือเอาความปรารถนาเป็นเกณฑ์ เช่น ขอให้ไฟดับโดยอ้างบุญที่่เคยทำมา หรือให้แม่น้ำคงคาไหลย้อนกลับ ( ใช้บุญเก่า ใช้บุญเป็น)
Exchange = บนบานสานกล่าว ขอผลประโยชน์ก่อนแล้วจะไปทำความดีชดเชยผ่อนส่งหนี้ภายหลัง ( เป็นการ
ตั้งความปรารถนาอีกแบบหนึ่ง ) มักใช้ในเวลาที่อ้างบุญเก่าแล้วไม่เพียงพอไม่ได้ผล บุญเก่าแค่พอวางดาวน์เท่านั้น แต่ขอโอนบ้านมาอยู่ก่อน แล้วค่อยๆทยอยบุญทำสังฆทานผ่อนส่งไปเรื่อยๆจนสำเร็จเสร็จสิ้น เช่น ถ้าไฟดับจะทำสังฆทาน ๒๐,๐๐๐ วัด วัดละ ๑ บาท ถ้ายังไม่ดับอีก ก็เพิ่มไปเรื่อยๆ ๒,๓,๔...บาทจนกว่าไฟจะดับ นั่นก็คือถึงจุดที่บุญเพียงพอในการนั้นแล้ว เป็นต้น
ขอบคุณที่ตั้งกระทู้ดีๆ
สาธุ
#5
โพสต์เมื่อ 03 April 2008 - 11:51 AM
อนุโมทนา นรอ DJ96.25PM2-3 ครับ
พอดีไปค้นเจอกระทู้เก่า ที่เกี่ยวข้องกัน น่าสนใจมากครับ
เชิญแวะไปที่
สัจจะบารมี, ถ้าไม่มั่นใจควรทำหรือเปล่า ?
http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=5021
โดย นักเรียนอนุบาล SmilingCat
ตัวอย่าง
และกระทู้ คิดและทำอย่างไรจึงจะมี "สัจจะบารมี"
http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=7715
โดย นรอ. พงษ์พันธ์
ตัวอย่าง
สัจจะ มิได้หมายความเพียงการกล่าววาจาเท่านั้น แต่โดยความหมายแล้วสัจจะนั้น
หมายถึง ความจริงใจ จริงจัง ความซื่อสัตย์ โดยสรุปก็คือความรับผิดชอบนั่นเอง
รับผิดชอบต่ออะไรบ้าง ก็รับผิดชอบต่อบุคคล คือคบใครก็คบด้วยความจริงใจ
ไม่คดในข้องอในกระดูก รับผิดชอบต่อคำพูดคือพูดจริงทำจริง พูดอย่างไรก็ทำ
อย่างนั้น ทำอย่างไรก็พูดอย่างนั้น รับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน คือไม่ว่าจะทำงาน
อะไรก็ตามจะตั้งใจทำงานนั้นให้ดีที่สุด และประการสุดท้ายรับผิดชอบต่อความดี
คือไม่ว่าจะทำอะไรก็จะถือเอาธรรมเป็นใหญ่ไม่ยอมทำในสิ่งที่ผิดศีลธรรม.
วิธีการฝึกสัจจบารมีกระทำได้ดังต่อไปนี้
1. ศึกษาประวัติการสร้างบารมีของนักสร้างบารมีในทั้งในอดีต และในปัจจุบัน
ตัวอย่างเช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนที่พระองค์พทรงปรารภความเพียรทรง
กระทำสัจจกิริยาว่า หากไม่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณจะไม่ลุกจากที่ ที่สุดพระองค์
ก็ทรงบรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ หรือพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ
ภาษีเจริญ ท่านก็ได้กระทำสัจจกิริยาในคืนวันเพ็ญเดือน ๑๐ หากไม่บรรลุธรรมของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไม่ยอมลุกจากที่ ที่สุดท่านก็สามารถค้นพบวิชชาธรรมกายได้
อย่างนี้เป็นต้น เมื่อเราได้ศึกษาประวัติการสร้างบารมีของท่านทั้งหลายเหล่านี้
เราจะมีกำลังใจในการสร้างสัจจบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
2. ฝึกทำทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น กิจวัตร กิจกรรม ภาระกิจที่ได้รับหมอบหมายอย่างดีที่สุด
ไม่ทำแบบขอไปที เพียงพอให้เสร็จ จะทำวัตร จะสวดมนต์ จะบริหารร่างกาย จะทำงาน
ทุกอย่างก็ต้องทำอย่างดีที่สุด ไม่ปล่อยผ่านแม้เรื่องเล็กน้อย ทำอย่างเต็มที่ เท่าที่
ความสามารถของเราจะทำได้ อย่างนี้แหละจะเป็นการฝึกสัจจบารมีของเรา
3. ประหยัดคำพูด คือพูดเท่าที่จำเป็น คำพูดนั้นพูดแต่คำที่เป็นประโยชน์
จริง ไพเราะ ถูกกาล เพราะการพูดมากก็ผิดมาก พูดน้อยก็ผิดน้อย แต่หากไม่พูดเลย
เดี๋ยวจะไม่รู้เรื่อง ฉะนั้นก่อนพูดทุกครั้งต้องพิจารณาก่อน ว่าสิ่งใดควรพูดสิ่งใด
ไม่ควรพูด แล้วสัจจบารมีของเราจะเพิ่มพูนขึ้น
4. ต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่าเรายังไม่หมดกิเลส โอกาสที่จะกระทำ
ความผิดนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ แต่เมื่อกระทำไปแล้วต้องยอมรับผิด อย่ากลัวเสียหน้า
เพราะหากกลัวเสียหน้าแล้ว เราจะไม่สบายใจเอง ต้องตามจดจำความผิดที่กระทำไว้
เมื่อเรายอมรับผิด แล้วตั้งใจแก้ไขตนเอง ผู้อื่นก็พร้อมจะให้อภัยอยู่แล้ว เราเองก็สบายใจ
5. คบหากัลยาณมิตรที่เป็นคนทำจริง พูดจริง เพราะกัลยาณมิตรจะคอย
ตักเตือนเราไม่ให้กระทำสิ่งที่ไม่ดีได้ นอกจากนี้ การมีผู้ที่เราไว้ใจสามารถบอกกล่าว
ความผิดที่เรากระทำได้ นั่นจะเป็นการฝึกให้เราเป็นคนที่ไม่ปิดบังความชั่วของตนเอง
ไปได้อีกทาง และกัลยาณมิตรจะช่วยบอกหนทางแก้ไขให้กับเรา ไม่ให้เราต้องกระทำ
ผิดอีกครั้ง
6. ปฏิบัติธรรม หมั่นนั่งสมาธิอย่างสม่ำเสมอ เพราะการหมั่นทำสมาธิจะทำให้
เรามีสติสามารถควบคุมความประพฤติทางกายวาจา โดยเฉพาะทางวาจา เมื่อเรามีสติ
ก็จะกล่าวแต่เรื่องที่เป็นประโยชน์ สัจจบารมีก็จะเพิ่มพูนอยู่เรื่อยๆ และเป็นการสร้าง
สัจจบารมีอย่างดีที่สุดด้วย
อนุโมทนาบุญครับ smile.gif
โดย นรอ. niwat 28/10/2006 10:00
พอดีไปค้นเจอกระทู้เก่า ที่เกี่ยวข้องกัน น่าสนใจมากครับ
เชิญแวะไปที่
สัจจะบารมี, ถ้าไม่มั่นใจควรทำหรือเปล่า ?
http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=5021
โดย นักเรียนอนุบาล SmilingCat
ตัวอย่าง
QUOTE
ผมว่าให้ทดสอบตัวเอง ด้วยการทำแบบที่หลวงพ่อทัตตะเคยทำน่ะครับ หลวงพ่อท่านสมัยก่อนบวช ก็ศีล 5 ไม่เหลือเลยเช่นกัน ทีนี้พอท่านมารู้จักคุณยาย ท่านทำไงล่ะ ท่านก็เริ่มอยากรักษาศีลให้ครบก่อน แต่การจะไปตั้งสัจจะขอรักษาศีล 5 ให้ครบไปตลอดชีวิตเลย ท่านก็กลัวจะพลาดท่า ผิดศีล เหมือนกัน ดังนั้นท่านก็เริ่มเลย เริ่มอย่างไร เริ่มรักษาศีลทีละข้อ และทีละวัน เช่น
วันนี้ทั้งวัน จะไม่ฆ่าสัตว์เลย ต่อมาก็เพิ่มไปเรื่อยๆ เช่น วันนี้ทั้งวันจะไม่ฆ่า และไม่ดื่มสุราเลย ไม่สูบบุหรี่เลย แล้วก็ค่อยๆ เพิ่มจนครบ ห้าข้อ ทีนี้พอ 5 ข้อได้แล้ว ท่านก็ตั้งใจก่อนออกจากบ้านเลย วันนี้ทั้งวันจะไม่ผิดศีล 5 เลย รักษาไปต่อเนื่องเป็นเดือนๆ จนท่านมั่นใจว่ารักษาได้แล้ว ก็เปลี่ยนว่า ภายใน 3 เดือนจะไม่ผิดศีลเลย แล้วก็ค่อยๆ เพิ่มไปเรื่อยๆ
นี่แค่เรื่องศีล 5 แต่เพราะสมัยก่อนหลวงพ่อไม่รู้ จึงผิดศีลมาก ทีนี้พอรู้แล้ว การจะกลับไปรักษายังต้องใช้กำลังใจตั้งใจทำไปทีละวัน เพื่อดูกำลังตัวเองก่อนเลย แล้วถ้าคิดถึงขั้นจะประพฤติพรหมจรรย์(ขั้นสูง) และจะบวช ซึ่งต้องการกำลังใจมากไปกว่า รักษาศีล 5 เราก็น่าที่จะนำวิธีการของหลวงพ่อ มาประยุกต์ใช้ดูนะครับ
โดย นรอ. หัดฝัน 4/6/2006 9:02
วันนี้ทั้งวัน จะไม่ฆ่าสัตว์เลย ต่อมาก็เพิ่มไปเรื่อยๆ เช่น วันนี้ทั้งวันจะไม่ฆ่า และไม่ดื่มสุราเลย ไม่สูบบุหรี่เลย แล้วก็ค่อยๆ เพิ่มจนครบ ห้าข้อ ทีนี้พอ 5 ข้อได้แล้ว ท่านก็ตั้งใจก่อนออกจากบ้านเลย วันนี้ทั้งวันจะไม่ผิดศีล 5 เลย รักษาไปต่อเนื่องเป็นเดือนๆ จนท่านมั่นใจว่ารักษาได้แล้ว ก็เปลี่ยนว่า ภายใน 3 เดือนจะไม่ผิดศีลเลย แล้วก็ค่อยๆ เพิ่มไปเรื่อยๆ
นี่แค่เรื่องศีล 5 แต่เพราะสมัยก่อนหลวงพ่อไม่รู้ จึงผิดศีลมาก ทีนี้พอรู้แล้ว การจะกลับไปรักษายังต้องใช้กำลังใจตั้งใจทำไปทีละวัน เพื่อดูกำลังตัวเองก่อนเลย แล้วถ้าคิดถึงขั้นจะประพฤติพรหมจรรย์(ขั้นสูง) และจะบวช ซึ่งต้องการกำลังใจมากไปกว่า รักษาศีล 5 เราก็น่าที่จะนำวิธีการของหลวงพ่อ มาประยุกต์ใช้ดูนะครับ
โดย นรอ. หัดฝัน 4/6/2006 9:02
QUOTE
ขอบคุณมากครับพี่หัดฝัน
สรุปว่าควรตั้งสัจจะนะครับ แต่ว่าตั้งแบบเบา ๆ ก่อนให้ผ่านก่อน
เช่น เอาศีล ๕ ให้ครบให้ได้ทุกวันก่อน แล้วก็ค่อยเพิ่มเป็นเดือนเป็นปี
เพราะถ้าตั้งสัจจะแล้วล่วงสัจจะกำลังใจเริ่มใหม่ จะแทบไม่มี ( ขอยืนยัน )
ดังนั้นไม่ควรตั้งสัจจะถ้ากำลังใจไม่พอ
โดย นรอ. SmilingCat
สรุปว่าควรตั้งสัจจะนะครับ แต่ว่าตั้งแบบเบา ๆ ก่อนให้ผ่านก่อน
เช่น เอาศีล ๕ ให้ครบให้ได้ทุกวันก่อน แล้วก็ค่อยเพิ่มเป็นเดือนเป็นปี
เพราะถ้าตั้งสัจจะแล้วล่วงสัจจะกำลังใจเริ่มใหม่ จะแทบไม่มี ( ขอยืนยัน )
ดังนั้นไม่ควรตั้งสัจจะถ้ากำลังใจไม่พอ
โดย นรอ. SmilingCat
และกระทู้ คิดและทำอย่างไรจึงจะมี "สัจจะบารมี"
http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=7715
โดย นรอ. พงษ์พันธ์
ตัวอย่าง
สัจจะ มิได้หมายความเพียงการกล่าววาจาเท่านั้น แต่โดยความหมายแล้วสัจจะนั้น
หมายถึง ความจริงใจ จริงจัง ความซื่อสัตย์ โดยสรุปก็คือความรับผิดชอบนั่นเอง
รับผิดชอบต่ออะไรบ้าง ก็รับผิดชอบต่อบุคคล คือคบใครก็คบด้วยความจริงใจ
ไม่คดในข้องอในกระดูก รับผิดชอบต่อคำพูดคือพูดจริงทำจริง พูดอย่างไรก็ทำ
อย่างนั้น ทำอย่างไรก็พูดอย่างนั้น รับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน คือไม่ว่าจะทำงาน
อะไรก็ตามจะตั้งใจทำงานนั้นให้ดีที่สุด และประการสุดท้ายรับผิดชอบต่อความดี
คือไม่ว่าจะทำอะไรก็จะถือเอาธรรมเป็นใหญ่ไม่ยอมทำในสิ่งที่ผิดศีลธรรม.
วิธีการฝึกสัจจบารมีกระทำได้ดังต่อไปนี้
1. ศึกษาประวัติการสร้างบารมีของนักสร้างบารมีในทั้งในอดีต และในปัจจุบัน
ตัวอย่างเช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนที่พระองค์พทรงปรารภความเพียรทรง
กระทำสัจจกิริยาว่า หากไม่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณจะไม่ลุกจากที่ ที่สุดพระองค์
ก็ทรงบรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ หรือพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ
ภาษีเจริญ ท่านก็ได้กระทำสัจจกิริยาในคืนวันเพ็ญเดือน ๑๐ หากไม่บรรลุธรรมของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไม่ยอมลุกจากที่ ที่สุดท่านก็สามารถค้นพบวิชชาธรรมกายได้
อย่างนี้เป็นต้น เมื่อเราได้ศึกษาประวัติการสร้างบารมีของท่านทั้งหลายเหล่านี้
เราจะมีกำลังใจในการสร้างสัจจบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
2. ฝึกทำทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น กิจวัตร กิจกรรม ภาระกิจที่ได้รับหมอบหมายอย่างดีที่สุด
ไม่ทำแบบขอไปที เพียงพอให้เสร็จ จะทำวัตร จะสวดมนต์ จะบริหารร่างกาย จะทำงาน
ทุกอย่างก็ต้องทำอย่างดีที่สุด ไม่ปล่อยผ่านแม้เรื่องเล็กน้อย ทำอย่างเต็มที่ เท่าที่
ความสามารถของเราจะทำได้ อย่างนี้แหละจะเป็นการฝึกสัจจบารมีของเรา
3. ประหยัดคำพูด คือพูดเท่าที่จำเป็น คำพูดนั้นพูดแต่คำที่เป็นประโยชน์
จริง ไพเราะ ถูกกาล เพราะการพูดมากก็ผิดมาก พูดน้อยก็ผิดน้อย แต่หากไม่พูดเลย
เดี๋ยวจะไม่รู้เรื่อง ฉะนั้นก่อนพูดทุกครั้งต้องพิจารณาก่อน ว่าสิ่งใดควรพูดสิ่งใด
ไม่ควรพูด แล้วสัจจบารมีของเราจะเพิ่มพูนขึ้น
4. ต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่าเรายังไม่หมดกิเลส โอกาสที่จะกระทำ
ความผิดนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ แต่เมื่อกระทำไปแล้วต้องยอมรับผิด อย่ากลัวเสียหน้า
เพราะหากกลัวเสียหน้าแล้ว เราจะไม่สบายใจเอง ต้องตามจดจำความผิดที่กระทำไว้
เมื่อเรายอมรับผิด แล้วตั้งใจแก้ไขตนเอง ผู้อื่นก็พร้อมจะให้อภัยอยู่แล้ว เราเองก็สบายใจ
5. คบหากัลยาณมิตรที่เป็นคนทำจริง พูดจริง เพราะกัลยาณมิตรจะคอย
ตักเตือนเราไม่ให้กระทำสิ่งที่ไม่ดีได้ นอกจากนี้ การมีผู้ที่เราไว้ใจสามารถบอกกล่าว
ความผิดที่เรากระทำได้ นั่นจะเป็นการฝึกให้เราเป็นคนที่ไม่ปิดบังความชั่วของตนเอง
ไปได้อีกทาง และกัลยาณมิตรจะช่วยบอกหนทางแก้ไขให้กับเรา ไม่ให้เราต้องกระทำ
ผิดอีกครั้ง
6. ปฏิบัติธรรม หมั่นนั่งสมาธิอย่างสม่ำเสมอ เพราะการหมั่นทำสมาธิจะทำให้
เรามีสติสามารถควบคุมความประพฤติทางกายวาจา โดยเฉพาะทางวาจา เมื่อเรามีสติ
ก็จะกล่าวแต่เรื่องที่เป็นประโยชน์ สัจจบารมีก็จะเพิ่มพูนอยู่เรื่อยๆ และเป็นการสร้าง
สัจจบารมีอย่างดีที่สุดด้วย
อนุโมทนาบุญครับ smile.gif
โดย นรอ. niwat 28/10/2006 10:00
#6
โพสต์เมื่อ 03 April 2008 - 03:59 PM
ขอบคุณสำหรับอีก ๒ กระทู้ที่แนะนำ
อ่านแล้ว ดีมาก
ผมได้ป้อนคำว่า "สัจจบารมี" ในพระไตรปิฎกออนไลน์
เจอแต่ผลดีของสัจจะ
ไม่เจอข้อเสีย
ป้อนคำว่า "เสียสัจจะ" ก็ไม่ได้ข้อมูล
ผมไม่เก่งเลยเรื่องคอมพิวเตอร์และอินเตอเน็ท(แก่แล้ว)
ใครพอที่จะช่วยหาข้อมูลในพระไตรปิฏก
เรื่อง "ถ้าพลาดสัจจะ มีผลเสียอย่างไร"
เพราะเท่าที่อ่านมาทั้ง ๓ กระทู้
ล้วนเป็นความเห็นส่วนบุคคล
อยากได้ข้อความจริงๆในพระไตรปิฏกยืนยัน
เช่นถ้าเป็นเรื่องตระหนี่ ก็จะยากจน
ถ้าเสียสัจจะ ก็คงจะเสียเครดิต เป็นต้น
สาธุ
อ่านแล้ว ดีมาก
ผมได้ป้อนคำว่า "สัจจบารมี" ในพระไตรปิฎกออนไลน์
เจอแต่ผลดีของสัจจะ
ไม่เจอข้อเสีย
ป้อนคำว่า "เสียสัจจะ" ก็ไม่ได้ข้อมูล
ผมไม่เก่งเลยเรื่องคอมพิวเตอร์และอินเตอเน็ท(แก่แล้ว)
ใครพอที่จะช่วยหาข้อมูลในพระไตรปิฏก
เรื่อง "ถ้าพลาดสัจจะ มีผลเสียอย่างไร"
เพราะเท่าที่อ่านมาทั้ง ๓ กระทู้
ล้วนเป็นความเห็นส่วนบุคคล
อยากได้ข้อความจริงๆในพระไตรปิฏกยืนยัน
เช่นถ้าเป็นเรื่องตระหนี่ ก็จะยากจน
ถ้าเสียสัจจะ ก็คงจะเสียเครดิต เป็นต้น
สาธุ
#7
โพสต์เมื่อ 07 April 2008 - 04:48 PM
เมื่อวานถวายปัจจัยกับหลวงพ่อเอาบุญมาฝากครับ
#8
โพสต์เมื่อ 07 April 2008 - 09:26 PM
สาธุ สาธุ สาธุ
#9
โพสต์เมื่อ 07 April 2008 - 10:40 PM
อนุโมทนา ในทานกุศลของครูปิยะ ด้วยนะครับ สาธุ
ส่วนประเด็นที่ นักเรียนอนุบาล DJ96.25PM2-3 ตั้งไว้
เรื่อง ข้อเสีย ของการตั้งสัจจะ(ในการทำความดี) ที่มีบันทึกในพระไตรปิฎก นั้น
ค้นตรง ๆ คงไม่เจอหรอกครับ
เพราะ ผลหรือวิบาก ของการตั้งสัจจะ(ในการทำความดี) นั้น มีแต่คุณประโยชน์ ความเจริญในธรรม ครับ
แก้ไข 8/4/2551
ส่วนการตั้งสัจจะ แล้วผิดสัจจะ แบบนี้คงมีแน่
ในแง่ของการขาดความน่าเชื่อถือ
รวมถึงทำให้ ต่อไปจะมีอุปสรรค ในการทำความดี นั้น ๆ (ที่ตนเองเคยตั้งสัจจะไว้)
คือ มีอุปสรรคมากขึ้น ทำได้ยากขึ้น ต้องใช้กำลังใจมากขึ้น
ในกรณีที่ ตั้งสัจจะ ในเรื่องสำคัญ เช่น
การตั้งสัจจะบวชตลอดชีวิต , ประพฤติพรหมจรรย์ตลอดชีวิต ฯล
ต่อหน้า้ครูบาอาจารย์ คณะสงฆ์ หรือผู้ทรงศีล ทรงธรรม เข้าถึงธรรม มาเป็นสักขีพยาน
แบบนี้หากทำได้ แต่ไม่ตลอด คือ เสียสัจจะนั้น ๆ
ผมคิดว่า
ก็มีผลดี ที่ทำได้ในระยะเวลาหนึ่ง
แต่ก็มีผลเสียหายของสัจจะบารมี เฉพาะตนโดยรวม พอสมควร
เืรื่องนี้เคยมีคำตอบในรายการ case study
ที่คุณครูไม่ใหญ่ เมตตาตอบไว้ดังนี้ครับ
ที่มา : ย่อเรื่อง เขานัดกันผูกคอตาย (21 กุมภาพันธ์ 2547) โดย Extra
http://www.dmc.tv/fo...php/t13895.html
อย่างไรก็ดี
การทำความดี หรือการตั้งสัจจะในการทำความดี ใด ๆ ย่อมส่งผลดีแก่ผู้กระทำดีในทางเจริญ เสมอ
ทำให้สามารถพัฒนาการทำความดีของตนได้แบบก้าวกระโดด ในระยะเวลาอันสั้นกว่าปกติ
อย่างไรก็ตาม ไม่ควรดูเบา ไม่ควรประมาท แม้กระทั่งการตั้งสัจจะ ในการทำความดี นะครับ
เพราะหากตั้งสัจจะ ในเรื่องที่ ยากมาก ๆ หรือมีปัจจัยอื่นมาเกี่ยวข้องที่เราควบคุมไม่ได้
ก็อาจทำให้เสียสัจจะได้ แม้ไมเรา่เจตนาก็ตาม
ขอเสนอว่า หากจะตั้งสัจจะ ในการทำความดีใด ๆ ในกาลต่อไป จึงควร
๑ ) พิจารณา ประเมินศักยภาพ ความสามารถของตน
๒ ) ต้องเข้มงวด ให้ความสำคัญกับเรื่องนั้น ๆ เป็นพิเศษ เหมือนเรื่องนั้น ๆ เป็นเรื่องสุดท้ายที่เราจะทำในชีวิตนี้
๓ ) เริ่มจากเรื่องง่ายไปหายาก เล็กไปหาใหญ่ ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ไปสู่ช่วงระยะเวลายาว ๆ นาน ๆ
เมื่อสัจจะบารมี ในเรื่องง่าย ระยะเวลาสั้น ๆ สำเร็จ ก็จักเป็น สัจจะ ที่สมบูรณ์
แล้วจักเป็น สัจจะบารมีที่มั่นคงมากขึ้น
ทำให้มีกำลังแห่งสัจจะ ไปพัฒนาสัจจะบารมี และบารมีอื่น ที่ทำได้ยาก ต่อไป
*** รอสมาชิกท่านอื่น ๆ แวะมาสนทนา แบ่งปัีนความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง
เกี่ยวกับการตั้งสัจจะ ในการทำความดี อีกครับ
อนุโมทนา ล่วงหน้าครับ
ส่วนประเด็นที่ นักเรียนอนุบาล DJ96.25PM2-3 ตั้งไว้
เรื่อง ข้อเสีย ของการตั้งสัจจะ(ในการทำความดี) ที่มีบันทึกในพระไตรปิฎก นั้น
ค้นตรง ๆ คงไม่เจอหรอกครับ
เพราะ ผลหรือวิบาก ของการตั้งสัจจะ(ในการทำความดี) นั้น มีแต่คุณประโยชน์ ความเจริญในธรรม ครับ
แก้ไข 8/4/2551
ส่วนการตั้งสัจจะ แล้วผิดสัจจะ แบบนี้คงมีแน่
ในแง่ของการขาดความน่าเชื่อถือ
รวมถึงทำให้ ต่อไปจะมีอุปสรรค ในการทำความดี นั้น ๆ (ที่ตนเองเคยตั้งสัจจะไว้)
คือ มีอุปสรรคมากขึ้น ทำได้ยากขึ้น ต้องใช้กำลังใจมากขึ้น
ในกรณีที่ ตั้งสัจจะ ในเรื่องสำคัญ เช่น
การตั้งสัจจะบวชตลอดชีวิต , ประพฤติพรหมจรรย์ตลอดชีวิต ฯล
ต่อหน้า้ครูบาอาจารย์ คณะสงฆ์ หรือผู้ทรงศีล ทรงธรรม เข้าถึงธรรม มาเป็นสักขีพยาน
แบบนี้หากทำได้ แต่ไม่ตลอด คือ เสียสัจจะนั้น ๆ
ผมคิดว่า
ก็มีผลดี ที่ทำได้ในระยะเวลาหนึ่ง
แต่ก็มีผลเสียหายของสัจจะบารมี เฉพาะตนโดยรวม พอสมควร
เืรื่องนี้เคยมีคำตอบในรายการ case study
ที่คุณครูไม่ใหญ่ เมตตาตอบไว้ดังนี้ครับ
QUOTE
เจ้าของเคสอย่าไปกังวลกับการผิดสัจจะที่จะประพฤติพรหมจรรย์
ให้ทำใจสบาย ๆ
ชาตินี้ทำไม่ได้ ชาติหน้าก็ให้ตั้งใจใหม่
แต่ก็ต้องใช้กำลังใจให้มากกว่าชาตินี้ เมื่อบารมีมากขึ้น
ชาติหนึ่งก็จะสมความตั้งใจที่จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ได้
คือเมื่อชาตินี้ทำไม่สำเร็จ ก็จะมีผังที่ทำให้สำเร็จยากขึ้น
แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราไม่อาจที่จะเอาชนะผังนั้นได้ ต้องใช้กำลังใจที่มากกว่านี้
ให้ทำใจสบาย ๆ
ชาตินี้ทำไม่ได้ ชาติหน้าก็ให้ตั้งใจใหม่
แต่ก็ต้องใช้กำลังใจให้มากกว่าชาตินี้ เมื่อบารมีมากขึ้น
ชาติหนึ่งก็จะสมความตั้งใจที่จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ได้
คือเมื่อชาตินี้ทำไม่สำเร็จ ก็จะมีผังที่ทำให้สำเร็จยากขึ้น
แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราไม่อาจที่จะเอาชนะผังนั้นได้ ต้องใช้กำลังใจที่มากกว่านี้
ที่มา : ย่อเรื่อง เขานัดกันผูกคอตาย (21 กุมภาพันธ์ 2547) โดย Extra
http://www.dmc.tv/fo...php/t13895.html
อย่างไรก็ดี
การทำความดี หรือการตั้งสัจจะในการทำความดี ใด ๆ ย่อมส่งผลดีแก่ผู้กระทำดีในทางเจริญ เสมอ
ทำให้สามารถพัฒนาการทำความดีของตนได้แบบก้าวกระโดด ในระยะเวลาอันสั้นกว่าปกติ
อย่างไรก็ตาม ไม่ควรดูเบา ไม่ควรประมาท แม้กระทั่งการตั้งสัจจะ ในการทำความดี นะครับ
เพราะหากตั้งสัจจะ ในเรื่องที่ ยากมาก ๆ หรือมีปัจจัยอื่นมาเกี่ยวข้องที่เราควบคุมไม่ได้
ก็อาจทำให้เสียสัจจะได้ แม้ไมเรา่เจตนาก็ตาม
ขอเสนอว่า หากจะตั้งสัจจะ ในการทำความดีใด ๆ ในกาลต่อไป จึงควร
๑ ) พิจารณา ประเมินศักยภาพ ความสามารถของตน
๒ ) ต้องเข้มงวด ให้ความสำคัญกับเรื่องนั้น ๆ เป็นพิเศษ เหมือนเรื่องนั้น ๆ เป็นเรื่องสุดท้ายที่เราจะทำในชีวิตนี้
๓ ) เริ่มจากเรื่องง่ายไปหายาก เล็กไปหาใหญ่ ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ไปสู่ช่วงระยะเวลายาว ๆ นาน ๆ
เมื่อสัจจะบารมี ในเรื่องง่าย ระยะเวลาสั้น ๆ สำเร็จ ก็จักเป็น สัจจะ ที่สมบูรณ์
แล้วจักเป็น สัจจะบารมีที่มั่นคงมากขึ้น
ทำให้มีกำลังแห่งสัจจะ ไปพัฒนาสัจจะบารมี และบารมีอื่น ที่ทำได้ยาก ต่อไป
*** รอสมาชิกท่านอื่น ๆ แวะมาสนทนา แบ่งปัีนความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง
เกี่ยวกับการตั้งสัจจะ ในการทำความดี อีกครับ
อนุโมทนา ล่วงหน้าครับ
#10
โพสต์เมื่อ 08 April 2008 - 08:35 PM
ขอบคุณมาก อ่านเรื่องผูกคอตายแล้ว ได้คำตอบเรื่องเสียสัจจะแล้ว
สรุปคือ ในชาติต่อไปต้องใช้กำลังใจมากขึ้น (แต่ไม่เป็นบาป)
(เพราะฉะนั้นใครเคยเสียสัจจะ, ก็อย่าover guilty, ไม่ถึงกับเป็นบาป)
หลวงพ่อตอบได้สมเหตุสมผลมากครับ เป็นประทีปส่องทาง
คุณDd. search อย่างไร จึงพบเรื่องเสียสัจจะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งอยู่ภายในเรื่องผูกคอตาย
เก่งมากครับ ช่วยบอกวิธีด้วย ขอบคุณ สาธุ
สรุปคือ ในชาติต่อไปต้องใช้กำลังใจมากขึ้น (แต่ไม่เป็นบาป)
(เพราะฉะนั้นใครเคยเสียสัจจะ, ก็อย่าover guilty, ไม่ถึงกับเป็นบาป)
หลวงพ่อตอบได้สมเหตุสมผลมากครับ เป็นประทีปส่องทาง
คุณDd. search อย่างไร จึงพบเรื่องเสียสัจจะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งอยู่ภายในเรื่องผูกคอตาย
เก่งมากครับ ช่วยบอกวิธีด้วย ขอบคุณ สาธุ
#11
โพสต์เมื่อ 08 April 2008 - 09:05 PM
QUOTE
คุณDd. search อย่างไร จึงพบเรื่องเสียสัจจะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งอยู่ภายในเรื่องผูกคอตาย
ขอบคุณสำหรับคำชม ผมไม่ได้เก่งเรื่องค้นหา หรอกครับ
แค่สุ่มเลือกใช้ keyword ว่า ผิดสัจจะ ก็เจอแล้วครับ
ที่ใช้คำนี้ เพราะเข้าใจว่า สัจจะ นั้นมีแต่ คุณ ไร้โทษ ในตัวเอง
จึงเลือกใช้คำนี้ ครับ