ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ทำบุญทุกบุญ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 18 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 April 2006 - 11:33 AM

คำนี้สำหรับรายการ case study

เวลาไปวัดผมเข้าใจว่า ไปดูตู้บริจาค ไปดูตามจุดรับบริจาค ทุกจุด
แล้วนำเงินที่มี แบ่งทำบุญให้ครบทุกบุญ ใช่หรือเปล่า




#2 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 29 April 2006 - 12:40 PM

นั่นก็ถูกส่วนหนึ่งนะครับ แต่อีกกรณีหนึ่งที่เราสามารถทำได้ก็คือ ให้เราเตรียมปัจจัยใส่ซองแล้วตั้งจิตอธิษฐานโดยเจตนาว่า ปัจจัยที่ถวายแก่คณะพระภิกษุ-สามเณรในครั้งนี้ ขอจงเป็นไปเพื่อบุญทุกสิ่งในบวรพระพุทธศาสนา (ขอแนะนำว่า ให้ถวายเป็นสังฆทาน แล้วตั้งจิตอธิษฐานเหนี่ยวพระนิพพานเป็นอารมณ์ หากทำได้เช่นนี้ ย่อมบังเกิดมีผลานิสงส์มหาศาลสุดคณนา)

#3 เป็นหนึ่ง

เป็นหนึ่ง
  • Members
  • 354 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 April 2006 - 01:02 PM

ถูกส่วนเดียว อย่างที่คุณเกียรติก้องธรณินทร์ กล่าวไว้ครับ ที่พระเดชพระคุณ คุณครูไม่ใหญ่ ท่านบอกให้ "ทำบุญทุกบุญ" หมายถึง ทั้ง ทาน ศีล ภาวนา และ บุญในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ทุกบุญครับ แต่ที่คุณทศพลทำน่ะ มันแค่ ทาน อย่างเดียวครับ


บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ


บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ คือ สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ หรือกล่าวอย่างง่ายๆว่า การกระทำที่เกิดเป็นบุญ เป็นกุศล แก่ผู้กระทำดังต่อไปนี้

๑. บุญสำเร็จได้ด้วยการบริจาคทาน (ทานมัย) คือการเสียสละนับแต่ทรัพย์ สิ่งของ เงินทอง ตลอดจนกำลังกาย สติปัญญา ความรู้ความสามารถ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยส่วนรวม รวมถึงการละกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ออกจากจิตใจ จนถึงการสละชีวิตอันเป็นสิ่งมีค่าที่สุดเพื่อการปฏิบัติธรรม

๒. บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล (สีลมัย) คือการตั้งใจรักษาศีล และการปฏิบัติตนไม่ให้ละเมิดศีล ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ หรือศีล ๘ ของอุบาสกอุบาสิกา ศีล ๑๐ ของสามเณร หรือ ๒๒๗ ข้อของพระภิกษุ เพื่อรักษากาย วาจา และใจ ให้บริสุทธิ์สะอาด พ้นจากกายทุจริต ๔ ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักทรัพย์ ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม และเสพสิ่งเสพติดมึนเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท วจีทุจริต ๔ ประการ คือไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดปด ไม่พูดเพ้อเจ้อ และไม่พูดคำหยาบ มโนทุจริต ๓ ประการ คือ ไม่หลงงมงาย ไม่พยาบาท ไม่หลงผิดจากทำนองคลองธรรม

๓. บุญสำเร็จได้ด้วยการภาวนา (ภาวนามัย ) คือการอบรมจิตใจในการละกิเลส ตั้งแต่ขั้นหยาบไป จนถึงกิเลสอย่างละเอียด ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นโดยใช้สมาธิปัญญา รู้ทางเจริญและทางเสื่อม จนเข้าใจอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ในที่สุด

๔. บุญสำเร็จได้ด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ (อปจายนมัย) คือการให้ความเคารพ ผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ ๓ ประเภท คือ ผู้มี วัยวุฒิ ได้แก่พ่อแม่ ญาติพี่น้องและผู้สูงอายุ ผู้มี คุณวุฒิ หรือคุณสมบัติ ได้แก่ ครูบาอาจารย์ พระภิกษุสงฆ์ และผู้มี ชาติวุฒิ ได้แก่พระมหากษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์

๕. บุญสำเร็จได้ด้วยการขวนขวายในกิจการที่ชอบ (เวยยาวัจจมัย) คือ การกระทำสิ่งที่เป็นคุณงามความดี ที่เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนรวม โดยเฉพาะทางพระพุทธศาสนา เช่น การชักนำบุคคลให้มาประพฤติปฏิบัติธรรม มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ในฝ่ายสัมมาทิฎฐิ

๖. บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ส่วนบุญ (ปัตติทานมัย) คือ การอุทิศส่วนบุญกุศลที่ได้กระทำไว้ ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง การบอกให้ผู้อื่นได้ร่วมอนุโมทนาด้วย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ ได้ทราบข่าวการบุญการกุศลที่เราได้กระทำไป

๗. บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย) คือ การได้ร่วมอนุโมทนา เช่น กล่าวว่า “สาธุ” เพื่อเป็นการยินดี ยอมรับความดี และขอมีส่วนร่วมในความดีของบุคคลอื่น ถึงแม้ว่าเราไม่มีโอกาสได้กระทำ ก็ขอให้ได้มีโอกาสได้แสดงการรับรู้ด้วยใจปีติยินดีในบุญกุศลนั้น ผลบุญก็จะเกิดแก่บุคคลที่ได้อนุโมทนาบุญนั้นเองด้วย

๘. บุญสำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม (ธัมมัสสวนมัย) คือ การตั้งใจฟังธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน หรือที่เคยฟังแล้วก็รับฟังเพื่อได้รับความกระจ่างมากขึ้น บรรเทาความสงสัยและทำความเห็นให้ถูกต้องยิ่งขึ้น จนเกิดปัญญาหรือความรู้ก็พยายามนำเอาความรู้และธรรมะนั้นนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สู่หนทางเจริญต่อไป

๙. บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม (ธัมมเทสนามัย) คือ การแสดงธรรมไม่ว่าจะเป็นรูปของการกระทำ หรือการประพฤติปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ ในทางที่ชอบ ตามรอยบาทองค์พระศาสดา ให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น หรือการนำธรรมไปขัดเกลากิเลสอุปนิสัยเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น ให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา มาประพฤติปฏิบัติธรรมต่อไป

๑๐. บุญสำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ตรง (ทิฏฐชุกัมม์) คือ ความเข้าใจในเรื่อง บาป บุญ คุณ โทษ สิ่งที่เป็นแก่นสารสาระหรือที่ไม่ใช่แก่นสารสาระ ทางเจริญทางเสื่อม สิ่งอันควรประพฤติสิ่งอันควรละเว้น ตลอดจนการกระทำความคิดความเห็นให้เป็นสัมมาทิฏฐิอยู่เสมอ

บุญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้ ผู้ใดได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือยิ่งมากจนครบ ๑๐ ประการแล้ว ผลบุญย่อมเกิดแก่ผู้ได้กระทำมากตามบุญที่ได้กระทำ ยิ่งได้มีการเตรียมกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ ตั้งใจจรดเข้าสู่ศูนย์กลางกาย หยุดในหยุด เข้าไปแล้วก็ยิ่งได้รับบุญมหาศาลตามความละเอียดประณีตที่เข้าถึงยิ่งๆ ขึ้นไป

ที่มา
http://www.dhammakay...amma/boon01.php
I just gotta get out of this prison cell.
Someday I'm gonna be free.

#4 ประคองบุญ

ประคองบุญ
  • Members
  • 210 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 April 2006 - 02:29 PM

อ้อ เป็นเช่นนี้เอง จะพยายามทำให้ได้ ทั้ง 10 ข้อ

#5 เป็นหนึ่ง

เป็นหนึ่ง
  • Members
  • 354 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 April 2006 - 03:03 PM

ลืมบอกไป ฝากนักเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยาทุกท่านด้วยนะครับ ใครที่ยังไม่เข้าใจคำว่า "ทำบุญทุกบุญ" คืออะไร ให้ทำความเข้าใจตามนี้นะครับ ก่อนที่จะไปชักชวนผู้อื่นมาทำบุญ เดี๋ยวถ้าคิดว่า ทำบุญทุกบุญ คือ ทำทานอย่างเดียว แล้วไปชักชวนผู้อื่นเข้า ผู้อื่นเขาจะเข้าใจผิดว่า พระเดชพระคุณ คุณครูไม่ใหญ่ สอนให้จ่ายตังอย่างเดียว ซึ่งไม่ใช่นะครับ "ทำบุญทุกบุญ" ที่พระเดชพระคุณ คุณครูไม่ใหญ่ ท่านกล่าวไว้ มีความหมายดังที่ผมได้โพสต์ไปแล้วนะครับ
I just gotta get out of this prison cell.
Someday I'm gonna be free.

#6 CEO

CEO
  • Members
  • 577 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย

โพสต์เมื่อ 29 April 2006 - 03:56 PM

ทำบุญทุกบุญ คือ ทำบุญให้ครบทั้ง 10 ข้อ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ครับ
สร้างบารมีทุกวินาที
แม้ชีวิตนี้ก็ให้ได้

#7 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 29 April 2006 - 04:34 PM

สาธุกับคุณ Neung และน้องก้องด้วยนะครับ ไม่มีถ้อยคำใด ไพเราะไปกว่า ถ้อยคำของบัณฑิต ในการกล่าวธรรม
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#8 MiraclE...DrEaM

MiraclE...DrEaM
  • Members
  • 1368 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 April 2006 - 06:18 PM

ลองไปดูสปอตของน้องนาโอมิกับน้องแป้งก็ได้ครับ เรื่อง กุศลกรรมบท 10
สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา

*********************

รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว

เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล


คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

#9 เป็นหนึ่ง

เป็นหนึ่ง
  • Members
  • 354 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 April 2006 - 08:25 PM

เอ่อ...คือว่า...คุณMiraclE...DrEaMครับ กุศลกรรมบท ๑๐ นี่มันคนละอันกับ บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ นะครับ

กุศลกรรมบท ๑๐


กุศลกรรมบท ๑๐ เป็นหนทางแห่งการทำความดีงาม ทางแห่งกุศลซึ่งเป็นหนทางนำไปสู่ความสุข ความเจริญ แบ่งออกเป็น ๓ ทางคือ กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ และมโนกรรม ๓

๑. กายกรรม ๓ หมายถึง ความประพฤติดีที่แสดงออกทางกาย ๓ ประการ ได้แก่

(๑) เว้นจากการฆ่าสัตว์ คือ การละเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเบียดเบียนกัน เป็นผู้มีเมตตา กรุณา
(๒) เว้นจากการลักทรัพย์ คือ ละเว้นจากการลักขโมย เคารพในสิทธิของผู้อื่น ไม่หยิบฉวย เอาของคนอื่นมาเป็นของตน
(๓) เว้นจากการประพฤติผิดในกาม คือ การไม่ล่วงละเมิดสามีหรือภรรยาผู้อื่น ไม่ล่วง ละเมิด ประเวณีทางเพศ

๒. วจีกรรม ๔ หมายถึง การเป็นผู้มีความประพฤติดีซึ่งแสดงออกทางวาจา ๔ ประการ ได้แก่

(๑) เว้นจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่ความจริง ไม่พูดโกหก หลอกลวง
(๒) เว้นจากการพูดส่อเสียด คือ พูดแต่ในสิ่งที่ทำให้เกิดความสามัคคี กลมเกลียว ไม่พูดจา ในสิ่งที่ก่อให้เกิดความ แตกแยก แตกร้าว
(๓) เว้นจากการพูดคำหยาบ คือ พูดแต่คำสุภาพ อ่อนหวาน อ่อนโยน กับบุคคลอื่นทั้ง ต่อหน้า และลับหลัง
(๔) เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ คือพูดแต่ความจริง มีเหตุมีผลเน้นเนื้อหาสาระที่เป็น ประโยชน์ พูดแต่สิ่งที่จำเป็นและพูดถูกกาลเทศะ

๓. มโนกรรม ๓ หมายถึง ความประพฤติที่เกิดขึ้นในใจ ๓ ประการ ได้แก่

(๑) ไม่อยากได้ของของเขา คือ ไม่คิดจะโลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน
(๒) ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น คือ มีจิตใจดี มีความปรารถนาดี อยากให้ผู้อื่นมีความสุข ความเจริญ
(๓) มีความเห็นที่ถูกต้อง คือ มีความเชื่อในเรื่องการทำความดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว และมี ความ เชื่อว่า ความพยายามเป็นหนทางแห่งความสำเร็จ
I just gotta get out of this prison cell.
Someday I'm gonna be free.

#10 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 April 2006 - 08:30 PM

เข้าใจแล้วครับ ถ้าคนไม่เข้าใจเรื่องบุญกริยาวัตถุ ๑๐ ก็จะไข้วเขวได้เพราะ
ว่าบุญที่ทางวัดวางไว้ให้มีหลาย ๆ บุญ เช่น เศรษฐีถาวร บุญวัดภาคใต้ บุญสร้างเสาแก้ว
บุญซื้อที่จอดรถ บุญไทยธรรม บุญสังฆทาน บุญถวายข้าวพระ

ถือโอกาศทำความเข้าใจกันพร้อมกันไปเลยก็ดีนะครับ วิธีของคุณเกียรติก้องธรนินท์
ก็เข้าทีดีเหมือนกันเพราะว่า ใส่ปัจจัยทีเดียวแล้วระบุว่าบุญทุกบุญในพุทธศาสนาก็เป็น
ทางมาแห่งบุญมหาศาลเหมือนกัน เข้าใจคิดครับทำทีเดียวได้ครบทุกบุญ (ทาน)
หยุดคือตัวสำเร็จ

#11 MiraclE...DrEaM

MiraclE...DrEaM
  • Members
  • 1368 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 April 2006 - 11:53 AM

ขอบคุณคุณ Neung ครับ ผิดพลาดทางเทคนิคนิดหน่อยครับ เมื่อวานเบลอครับ
แต่ยังไงก็ควรประกอบบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ ควบคู่ไปกับ กุศลกรรมบถ 10 ประการครับ
สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา

*********************

รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว

เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล


คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

#12 เป็นหนึ่ง

เป็นหนึ่ง
  • Members
  • 354 โพสต์

โพสต์เมื่อ 01 May 2006 - 02:00 AM

QUOTE(MiraclE...DrEaM)
ขอบคุณคุณ Neung ครับ ผิดพลาดทางเทคนิคนิดหน่อยครับ เมื่อวานเบลอครับ
แต่ยังไงก็ควรประกอบบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ ควบคู่ไปกับ กุศลกรรมบถ 10 ประการครับ


กุศลกรรมบท ๑๐ ก็อยู่ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อยู่แล้วนี่ครับ ข้อ ๒. บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล (สีลมัย) ยังไงล่ะครับ ข้อนี้ของบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ก็คือ กุศลกรรมบท ๑๐ นั่นเองครับ
I just gotta get out of this prison cell.
Someday I'm gonna be free.

#13 MiraclE...DrEaM

MiraclE...DrEaM
  • Members
  • 1368 โพสต์

โพสต์เมื่อ 01 May 2006 - 11:12 AM

ขอแย้งนิดนึงครับ กุศลกรรมบถ 10 ไม่น่าจะจัดอยู่ในข้อ 2. บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล (สีลมัย) ทั้งหมดครับ คือยกเว้นหัวข้อมโนกรรม 3 ไงครับ เพราะ ศีลควบคุมแค่ความประพฤติทางกายและวาจาเท่านั้น
QUOTE
๓. มโนกรรม ๓ หมายถึง ความประพฤติที่เกิดขึ้นในใจ ๓ ประการ ได้แก่

(๑) ไม่อยากได้ของของเขา คือ ไม่คิดจะโลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน
(๒) ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น คือ มีจิตใจดี มีความปรารถนาดี อยากให้ผู้อื่นมีความสุข ความเจริญ
(๓) มีความเห็นที่ถูกต้อง คือ มีความเชื่อในเรื่องการทำความดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว และมี ความ เชื่อว่า ความพยายามเป็นหนทางแห่งความสำเร็จ

อย่างข้อ (๓) มีความเห็นที่ถูกต้อง คือ มีความเชื่อในเรื่องการทำความดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว และมี ความ เชื่อว่า ความพยายามเป็นหนทางแห่งความสำเร็จ น่าจะจัดอยู่ในข้อ ๑๐. บุญสำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ตรง (ทิฏฐชุกัมม์) คือ ความเข้าใจในเรื่อง บาป บุญ คุณ โทษ สิ่งที่เป็นแก่นสารสาระหรือที่ไม่ใช่แก่นสารสาระ ทางเจริญทางเสื่อม สิ่งอันควรประพฤติสิ่งอันควรละเว้น ตลอดจนการกระทำความคิดความเห็นให้เป็นสัมมาทิฏฐิอยู่เสมอ

สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา

*********************

รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว

เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล


คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

#14 เป็นหนึ่ง

เป็นหนึ่ง
  • Members
  • 354 โพสต์

โพสต์เมื่อ 01 May 2006 - 12:53 PM

QUOTE(MiraclE...DrEaM)
ขอแย้งนิดนึงครับ กุศลกรรมบถ 10 ไม่น่าจะจัดอยู่ในข้อ 2. บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล (สีลมัย) ทั้งหมดครับ คือยกเว้นหัวข้อมโนกรรม 3 ไงครับ เพราะ ศีลควบคุมแค่ความประพฤติทางกายและวาจาเท่านั้น


อืม...เป็นอย่างที่คุณMiraclE...DrEaMกล่าวมาจริงๆนั่นแหละครับ อนุโมทนาบุญครับ...สาธุ
I just gotta get out of this prison cell.
Someday I'm gonna be free.

#15 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 01 May 2006 - 04:39 PM

สาธุ สนทนาธรรมตามกาล นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#16 sage_072

sage_072
  • Members
  • 271 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:นครราชสีมา
  • Interests:ต้องการเรียนรู้กฏแห่งกรรม และสนทนาธรรมกับเพื่อนกัลยาณมิตร

โพสต์เมื่อ 01 May 2006 - 08:45 PM

(บารมีสิบทัศ) สร้างบารมีโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน
แบบนี้นักสร้างบารมีทั้งหลายว่าเช่นไรคะ

สู้ๆ
thamma_072.p

#17 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 01 May 2006 - 09:11 PM

ผมขอเป็นคนสรุปปิดท้ายก็แล้วกันนะครับ บุญกิริยาวัตถุ ๑o ประการนั้น สรุปลงได้เป็นบุญกิริยาวัตถุ ๓ ได้แก่

๑. ทานมัย คือ บุญกิริยาวัตถุข้อ ๑, ๕, ๖, ๗ เป็นการฆ่าความตระหนี่ออกจากใจ
๒. ศีลมัย คือ บุญกิริยาวัตถุข้อ ๒ เป็นเกราะป้องกันไม่ให้ทำชั่วทางกายและวาจา
๓. ภาวนามัย คือ บุญกิริยาวัตถุข้อ ๓, ๔, ๘, ๙, ๑o เป็นการฝึกตัวเองให้มีสัมมาสติ มีสัมมาสังกัปปะ และมีสัมมาทิฏฐิ ทั้งยังเป็นเกราะป้องกันไม่ให้ทำความชั่วทางใจได้อีกด้วยครับ



#18 glouy

glouy
  • Members
  • 162 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 May 2006 - 07:49 AM

ทำบุญ ที่ถูกเนื้อนาบุญ ครับ ขอกราบอนุโมทนาสาธุ

#19 usr21748

usr21748
  • Members
  • 17 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 January 2008 - 10:37 PM

การยิ้มก็เกิดเป็นบุญได้ เพราะทำให้ผู้พบเห็นส่วนใหญ่ พลอยมีความสุขไปด้วย ยิ่งถ้าผู้ยิ้มนั้น ยิ้มมาจากใจแล้วพร้อมแจกให้โดยปราถนาให้ผู้อื่นมีความสุข เพราะการทำบุญทุกๆบุญ ส่วนใหญ่แล้ว ทำบุญทำทานกับมนุษย์ด้วยกันทั้งนั้น หรือไม่ก้อ ทำบุญกับสัตว์ คนสมัยก่อน จะมักจะใช้คำว่า รับประทานอาหาร เพราะคำว่าทาน มักใช้คำนำหน้า เช่นทานอะไรหรือยัง ทานมาก่อน กิจกรรมการกลืนกินอยู่เสมอๆ