ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ปริศนาธรรม ในสมัยพระเพทราชา


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 9 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 24 January 2006 - 09:31 PM

พระราชปุจฉาในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา

ว่าด้วยอัฏฐธรรมปัญหา


เมื่อปี พ.ศ. 2233 พระราชสมภารเจ้านิมนต์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ให้เฉลยปัญหาปฤษณาธรรม 8 ประการ ว่า

(1) ทางใหญ่อย่าเที่ยวจร

(2) ลูกอ่อนอย่าอุ้มรัด

(3) หลวงเจ้าวัดอย่าให้อาหาร

(4) ไม้โกงอย่าทำกงวาน

(5) ช้างสารอย่าผูกกลางเมือง

(6) ถ้าจะให้เปนลูกให้เอาไฟสุมต้น

(7) ถ้าจะให้ล่มบรรทุกแต่เบา

(8) ถ้าจะเรียนโหราให้ฆ่าอาจารย์ทั้ง 4 เสีย


สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ถวายวิสัชนา (ความย่อ)


(1) ทางใหญ่อย่าเที่ยวจร
หมายถึงทาง 2 ทาง คือ กามสุขัลลิกานุโยค ประกอบด้วยกามสุขในเบญจกามคุณทั้งหลาย 1

อัตตกิลลมถานุโยค ประกอบด้วยวัตรปฎิบัติ อันให้เกิดทุกข์ลำบากแก่ตน 1 ทั้งสองนี้นับเป็นทางใหญ่อย่าเที่ยวจรไป


(2) ลูกอ่อนอย่าอุ้มรัด หมายความว่า ลูกอ่อนนั้นได้แก่วงศาคณาญาติ และอุ้มนั้นมี 2 อย่าง

อุ้มแล้วรัดอย่างหนึ่ง อุ้มแต่มิให้รัดอย่างหนึ่ง อุ้มหมายความว่าอุปการอุดหนุน แต่อย่าอุ้มรัด คืออุปการบำรุงด้วยตัณหาอุปาทาน

ให้เปนแต่อุปการรักษาญาติวงศ์ทั้งหลาย แต่ตามประเพณีอันมีเมตตาจิต อย่าขัดให้ติดตัวด้วย สามารถละตัณหา อุปาทาน

ดุจดังบุคคลอุ้มลูกอ่อน และมิได้รัดเข้าให้ติดตัวฉะนั้น


(3) หลวงเจ้าวัดอย่าให้อาหาร หมายความว่า หลวงเจ้าวัดได้แก่จิต อันเป็นประธานเป็นใหญ่แก่เจตสิกทั้งปวง

เช่นเดียวกับหลวงเจ้าวัด อันเป็นประธานแก่ภิกษุลูกวัด ที่ว่าอย่าให้อาหารนั้นคือ อย่าให้จิตยินดีต่ออาหารทั้ง 4 คือ กวรึการาหาร ผัสสาหาร

มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร เพราะว่าอาหารทั้ง 4 นี้ กอร์ปด้วยภัย 4 ประการ คือ นิกันติภัย อุปคมนภัย อุปปัตติภัย และปฎิสนธิภัย


(4) ไม้โกงอย่าทำกงวาน หมายความว่า กงวานทั้งปวงเป็นอุปการแก่สำเภาให้แข็งแรงมั่นคง สำเภาที่ไม่มีกงวาน

มิอาจทนทานกำลังระลอกในท้องทะเลได้ ก็จะอับปางลง มิอาจข้ามทะเลได้ กงวานนั้นให้เอาไม้ตรงทำอย่าเอาไม้โกงมาทำฉันใด พระโยคาวจร

ผู้ปราถนาจะข้ามทะเลคือ สังสารวัฏ ให้ถึง นฤพาน ก็ฉันนั้น อย่าส้องเสพด้วยคนอันคดอันโกง อันเป็นอสัตบุรุษ ให้ส้องเสพด้วยคนอันซื่อตรง

เป็นสัตบุรุษจึงจะข้ามสงสารถึงนฤพานได้ตามปราถนา อันว่ากัลยาณมิตร อำมาตย์ ทาสกรรมกรนั้น เปรียบด้วยกงวานสำเภา

จิตแห่งโยคาวจรนั้น ดุจพานิชนายสำเภาแล


(5) ช้างสารอย่าผูกกลางเมือง
หมายความว่า ช้างทั้งหลายมิได้ยินดีจะอยู่ในเมือง ย่อมยินดีจะอยู่แต่ในป่าอย่างเดียว ฉันใด

พระโยคาวจรผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ก็ฉันนั้น มิได้ยินดีในสังขารธรรมทั้งปวง แต่ยินดีอยู่ในนฤพานอันระงับกิเลสธรรมนี้

ให้เดือดร้อนกระวนกระวาย ช้างสารคือพระโยคาวจรอย่าผูกนั้นคือ นิพพิทานุปัสสนา กลางเมืองนั้นคือสังขารธรรม


(6) ถ้าจะให้เป็นลูกให้เอาไฟสุมต้น
หมายความว่า ลูกนั้นได้แก่ผลทั้ง 4 คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล

และอรหัตตผล ไฟนั้นได้แก่มรรคญาณทั้ง 4 คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค

ต้นนั้นคือกิเสสธรรมอันมีอวิชชาตัณหาเป็นมูล พระโยคาวจรผู้ปราถนาผลทั้ง 4 นั้น ให้ฟังเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

เผาเสียซึ่งกิเลสธรรมอันเป็นสัญโยชน์อันเป็นมูลเสีย ดุจเอาไฟสุมต้น ฉะนั้น


(7) ถ้าจะให้ล่มให้บรรทุกแต่เบา หมายความว่าสำเภาอันบรรทุกสินค้าเบา มีฝ้ายและผ้าแพรไหม เป็นต้น

หาศิลากดท้องอันเป็นอับเฉามิได้นั้น พอชักใบกระโดงขึ้นให้เต็มกำลัง ครั้นลมแรงพัดต้องใบนั้น สำเภาก็จะหกคว่ำลงฉันพลัน

ถ้ามีศิลาหรือของหนักเป็นอับเฉาแล้ว สำเภานั้นก็มิได้ล่ม และจะท่องเที่ยวไปมาอยู่ในท้องทะเลสิ้นกาลช้านาน

อันพระโยคาวจรผู้ปราถนาจะให้ถึง อนุปาพิเสสนิพพานธาตุ มิให้บังเกิดในวัฏสงสารสืบไปนั้น พึงบรรทุกแต่ของเบา

คือกุศลธรรมทั้งหลายจึงจะพลันถึงนฤพาน มิได้ท่องเที่ยวไปในวัฏสงสาร ดุจสำเภาอันบรรทุกแต่เบาและพลันล่มลงฉะนั้น


(8) ถ้าจะเรียนโหราให้ฆ่าอาจารย์ทั้ง 4 เสีย หมายความว่า คัมภีร์ในโหรานั้น ได้แก่วิชชา 3 คือ ทิพพจักษุญาณ

บุพเพนิวาสญาณ และอาสวักขยญาณ อาจารย์ทั้ง 4 นั้นได้แก่ อุกศลธรรมทั้ง 4 คือ โลภะ โทสะ โมหะ และมานะ

พระโยคาวรผู้ปราถนาวิชชา 3 ประการนั้น ก็พึงฆ่าอาจารย์คือ อกุศลธรรมทั้ง 4 นั้นเสีย

#2 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 25 January 2006 - 10:42 AM

QUOTE
อาหารทั้ง 4 คือ กวรึการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร เพราะว่าอาหารทั้ง 4 นี้ กอร์ปด้วยภัย 4 ประการ คือ นิกันติภัย อุปคมนภัย อุปปัตติภัย และปฎิสนธิภัย


โมทนาสาธุกับบทความดีๆ ด้วยครับ
ช่วยอธิบายชนิดของอาหารทั้ง 4 แปลเป็นไทยหน่อยสิครับ กวริงการาหาร คือ??? ผัสสาหาร???มโนสัญเจตนาหาร??? วิญญาณาหาร??
ภัย 4 ประการ แปลเป็นไทยคืออะไรครับ??
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#3 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 25 January 2006 - 01:55 PM

วิญญาณาหาร = อาหารคือวิญญาณ, วิญญาณเป็นอาหารคือเป็นปัจจัยอุดหนุนหล่อเลี้ยงให้เกิดนามรูป (ข้อ ๔ ในอาหาร ๔)

ผัสสาหาร = อาหารคือผัสสะ, ผัสสะเป็นอาหาร คือเป็นปัจจัยอุดหนุนหล่อเลี้ยงให้เกิดเวทนา ได้แก่ อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ กระทบกัน ทำให้เกิดเวทนา คือ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง เป็นอุเบกขาบ้าง (ข้อ ๒ ในอาหาร ๔)

มโนสัญเจตนาหาร
= ความจงใจเป็นอาหาร เพราะปัจจัยให้เกิดกรรม คือ ทำให้พูดให้คิด ให้ทำการต่างๆ (ข้อ ๓ ในอาหาร ๔)

กวริงการาหาร หรือ กพฬิงการาหาร = อาหารคือคำข้าว ได้แก่อาหารที่กลืนกินเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย, อาหารที่เป็นวัตถุ


*** 4 คำแรกนี้ ใครมีหนังสือ พระธรรมเทศนา ๖๓ กัณฑ์ ของผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ลองค้นดูจะเข้าใจมากขึ้นครับ

**** ส่วน 4 คำที่เหลือ ค้นเจอแต่คำใกล้เคียงให้พอ แปลได้กว้างๆ ลองแปลดูนะครับ


อุปัตติเหตุ = เหตุที่เกิดขึ้น, เหตุการณ์ที่เกิด เช่น ควรเทศนาให้เหมาะแก่อุปัตติเหตุ
คือ แสดงธรรมให้เข้ากับเรื่องที่เกิดขึ้น; บัดนี้เขียน อุบัติเหตุและใช้ในความหมายที่ต่างออกไป

ปฏิสนธิ = เกิด, เกิดใหม่, แรกเกิดขึ้นในครรภ์


**** ส่วน นิกันติภัย อุปคมนภัย ค้นคำแปลไม่เจอเลยครับ ก็อย่างที่ทราบกันว่าเป็นภาษาบุราณกว่า 300 ปีมาแล้ว
จึงหาคำแปลยากบ้าง คุณ xlmen ค้นหา แล้วแวะมา Sharing กันอีกนะครับ สาธุ

#4 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 25 January 2006 - 05:45 PM

หายากเหมือนกันครับ ผิดถูกอย่างไรต้องขออภัยด้วยครับ

ภัยของอาหาร 4 ประการคือ

นิกันติภัย แปลว่า นิกันติ (ความพอใจ) ในรสอาหารเป็นโทษ หรือ ภัยที่เกิดจากความติดใจพอใจในรสอาหาร
อุปคมนภัย แปลว่า อุป มาจากคำว่า อุบัติ แปลว่าการเกิดขึ้น คมนะ หรือ คมนา แปลว่า การไปการถึง รวมความแปลว่า ภัยที่เกิดการจากแสวงหาอาหาร
อุปปัตติภัย แปลว่า ภัยที่เกิดจากการหมดไปของอาหาร,หรืออาหารเกิดขึ้นแล้วหมดได้ หรือบุญเกิดขึ้นแล้วหมดได้ (ปัตติ แปลว่า ส่วนบุญ)
ปฏิสนธิภัย แปลว่า การเกิดสิ่งมีชีวิตในอาหารเป็นโทษ น่าจะหมายถึง อาหารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน ทำให้มีสิ่งมีชีวิตในอาหารเช่น จุลินทรีย์ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อโรคพยาธิ ต่างๆ เป็นต้น

#5 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 25 January 2006 - 07:13 PM

อนุโมทนาบุญ กับคุณ xlmen มากนะครับ ทำให้เข้าใจปฤษณาธรรม ได้แจ่มครับ สาธุ

dangdee

#6 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 26 January 2006 - 02:58 AM

ที่พี่สองคนพูดมานี่ ทำให้ผมนึกถึงวิธีการเจริญสมถกรรมฐานแบบ "อาหาเรปฏิกูลสัญญา" เลยนะเนี่ย

#7 เพียงพอ

เพียงพอ

    I |\|EE|) S()|\/|E |3()DY |_()\/E.

  • Members
  • 724 โพสต์
  • Location:ไม่มีข้อมูล
  • Interests:ไม่มีข้อมูล

โพสต์เมื่อ 28 January 2006 - 10:02 AM

สาธุ

เพียง. . .เพื่อดำรงชีวิตอยู่ให้มีคุณค่า
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.

เพียงพอ


#8 น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

    เราคือ นักรบกล้าอาสาสมัคร กองทัพธรรม

  • Members
  • 1961 โพสต์
  • Gender:Female
  • Interests:ช่วยงานบุญที่วัด ให้ถึงที่สุดกำลัง ตราบวันที่ชีวิตจะสิ้นลมหายใจ

โพสต์เมื่อ 26 August 2006 - 06:03 PM

สาธุค่ะ
"ด้วยใจกล้าอาสา พัฒนาไม่หยุดยั้ง"

น้ำฝนลูกพระธัมฯ

#9 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 17 March 2007 - 04:20 PM

สาธุ

#10 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 13 March 2008 - 09:44 AM

คำแก้ปริศนา โดย อ.วศิน อินทะสระ


"ทางใหญ่อย่าเที่ยวจร"

ทางใหญ่ คือ กามสุขขัลลิกานุโยค กับ อัตตกิลมถานุโยค เป็นทางใหญ่สองทางที่ไม่พึงจร

กามสุขขัลลิกานุโยค
คือการทำตนให้หมกมุ่นพัวพันอยู่ในกามสุข เพลิดเพลินหลงใหลอยู่ในกามสุข
เกี่ยวกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เห็นเป็นความสุขที่ยิ่งกว่าความสุขใดๆ
หมกมุ่นพัวพันอยู่จนไม่มีเวลาทำอย่างอื่น

อัตตกิลมถานุโยค
ประกอบตนให้ลำบากโดยไร้ประโยชน์ คือว่าเคร่งเกินไป จัดการกับตัวเองรุนแรงเกินไป ไม่ถนอมตนในสมัยโบราณ

สมัยพระพุทธเจ้าท่านยกตัวอย่างพวกฤาษีชีไพรที่ทรมานตน นอนบนหนาม
แก้ผ้าคลุกขี้เถ้า ลงคลาน 4 ขากินอาหารอย่างสุนัขบ้าง อย่างนี้เรียกว่าอัตตกิลมถานุโยค

ในปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตนสูตร พระพุทธเจ้าท่านก็เริ่มต้นด้วยเรื่องนี้
ว่าภิกษุทั้งหลายที่สุดทั้งสองนี้ บรรพชิตไม่พึงเกี่ยวข้อง คือกามสุขขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค



"ลูกอ่อนอย่าอุ้มรัด"

คำว่า"ลูกอ่อน" คือปัญจขันธ์ หรือขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
รวมเป็น 2 คือรูปกับนาม รูปเป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นนาม วิญญาณก็คือจิต

ลูกอ่อนไม่พึงอุ้มรัด คือ ไม่พึงเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 ไม่พึงเข้าไปกอดรัดขันธ์ 5
โดยความเป็นตนและของตน คือพึงปล่อยวาง ไม่ยึดถือในขันธ์ 5 ว่าเป็นเราหรือเป็นของเรา

แต่ว่าโดยวิสัยปุถุชน มันก็อดไม่ได้ที่จะยึดถือในขันธ์ 5
ถ้าเผื่อเรารู้เท่าทันธรรมดาบ้าง ก็มีเวลาที่จะปล่อยวางได้บ้าง
ในเวลาที่จำเป็นหรือว่าถึงคราวที่จะต้องปลดปล่อย ปล่อยวางได้บ้าง หรือว่าไม่แบกไว้มากเกินไป

เหมือนเราแบกหินอยู่ ก็รู้สึกว่าหนักๆ และมีคนบอกว่าให้วางก้อนหินลงเสีย ก็ไม่ได้วาง
ถ้าวางมันก็เบา ถ้าไม่ได้วางมันก็หนัก แบกไปก็บ่นไปว่าหนัก วิ่งไปก็บ่นไปว่าหนัก
มีคนบอกให้ปล่อยเสีย ให้วางเสียก็ไม่วาง มันก็หนักเรื่อยไป
เหมือนกับคนกลิ้งหินขึ้นภูเขา พอถึงยอดเขาแล้วก็ปล่อยลงมา
แล้วก็ตามลงมาจากยอดเขา แล้วก็กลิ้งขึ้นไปใหม่


"หลวงเจ้าวัด อย่าให้อาหาร"

"หลวงเจ้าวัด" คือ วิญญาณขันธ์
อย่าปรนเปรอด้วยอาหาร 4 มี กวฬิงการาหาร เป็นต้น

จิตหรือวิญญาณอย่าไปปรนเปรอมากเกินไป จะต้องให้อดอาหารเสียบ้าง ให้จิตมันอดอาหารเสียบ้าง
ถ้าเผื่อไม่ให้อดอาหารเสียบ้าง คือเราฝึกมันไม่ได้ มันอยากได้อะไรให้มันได้ ปรนเปรอทุกอย่าง
เหมือนเราให้เชื้อกับไฟ ไฟมันไม่รู้จักอิ่มด้วยเชื้อ มหาสมุทรไม่รู้จักอิ่มด้วยน้ำ ไฟไม่อิ่มด้วยเชื้อ
แปลว่า จิตไม่อิ่มด้วยตัณหา ถ้าปรนเปรอมันมากมันก็ยิ่งเดือดร้อนใหญ่โต


"ไม้โก่ง อย่าทำกังวาล"

กังวาล คือ เรือสำหรับต้านทานลมพายุ ต้องใช้ไม้ตรง ไม้โก่งไม้คดใช้ไม่ได้
คำไขปริศนาก็คือ อย่าเอาคนคดมาเป็นมิตร
คดกายบ้าง คดวาจาบ้าง คดใจบ้าง
ถ้าไม่คด เรียกว่า อุชุ เป็นผู้ซื่อตรง ไม่คดกาย ไม่คดวาจา
ถ้าไม่คดทางใจเรียกว่า สุอุชุ ตามคำอธิบายของอรรถกถากรณียเมตตสูตร

อย่าเอาคนคดมาเป็นมิตร เพราะเขาจะต้องคดโกงสักวันหนึ่งเหมือนกับเราเลี้ยงอสรพิษเอาไว้
ให้อาหารมันก็ตาม วันไหนไม่ได้อาหารมันต้องกัดคนให้นั่นแหละ
หรือโบราณที่เขาว่า คนเลี้ยงผีเอาไว้เป็นเพื่อน ไว้ใช้งาน แล้วก็ต้องเซ่นอาหารมันทุกวัน
ถ้าวันไหนไม่มีอาหารให้มัน มันก็จะมาเล่นงานคนเลี้ยงมัน เลี้ยงผีนี่เสี่ยงมาก

เลี้ยงโจรก็เสี่ยงเหมือนกัน ถ้าเผื่อมันปล้นที่ไหนไม่ได้ มันก็จะมาปล้นบ้านเรา
ฉะนั้น ก็อย่าเอาคนคดมาเป็นมิตร

พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า
QUOTE
ถ้าหาคนที่มีปัญญามาเป็นมิตรไม่ได้ ไม่มีคนดีมีปัญญาเป็นสหายแล้ว ก็อยู่คนเดียวดีกว่า ไปคนเดียวดีกว่า


สำหรับคนชั่วคนพาลหรือคนคด บางแห่งพระพุทธเจ้าท่านเปรียบเอาไว้
เหมือนกับงู ที่ตกลงไปในหลุมคูถ หรือหลุมอุจจาระ ทั้งเนื้อทั้งตัวมันเปื้อนไปด้วยอุจจาระ
ถ้าเราไปจับมัน ถ้ามันไม่กัดถึงตายหรือปางตาย มือเราก็เปื้อนคูถหรือว่าเผลอๆอาจจะได้ทั้งสองอย่าง
คือถูกกัดถึงตายหรือปางตาย และมือยังเปื้อนคูถด้วย


"ช้างสารอย่าผูกกลางเมือง"

ธรรมดาช้างสารย่อมจะพอใจในป่า ไม่พอใจในเมือง
แม้จะให้อยู่ในเมือง ปรนเปรออย่างดี โดยธรรมชาติของช้างไม่พอใจ มันชอบอยู่ในป่าหรืออยู่ที่สระ

ข้อนี้ฉันใด ผู้ปฏิบัติธรรมได้นิพพิทาญาณ คือ
ญาณที่เกี่ยวกับความเบื่อหน่ายในสังขาร ในนามรูปแล้ว ย่อมจะไม่พอใจในสังขาร หน่ายในสังขาร
พอใจในพระนิพพาน เหมือนช้างสารพอใจในป่า ไม่พอใจในเมือง



"ถ้าจะให้เป็นลูกให้เอาไฟสุมต้น"

คำว่า
ลูก
ในที่นี้ท่านหมายถึงมรรค 4 ผล 4
ต้น
ในที่นี้ก็คือกิเลส เอาไฟสุมกิเลส มีอวิชชา ตัณหา อุปทาน เป็นต้น

ไฟก็คือสมถกรรมฐาน หรือวิปัสสนากรรมฐาน สำหรับเผาลำต้นคือกิเลสให้เร่าร้อน

ถ้าได้มรรค 4 ผล 4 แล้ว นิพพานก็ต้องได้อยู่ดี เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ต่อเนื่องกัน ไม่มีการถอยกลับ
ได้มรรคแล้วต้องได้ผล ไม่ต้องถึงมรรคหรอกได้โคตรภูญาณแล้วก็ต้องได้มรรคแน่นอน
ไม่มีทางที่จะถอยกลับไปอย่างเดิม ต้องก้าวไปข้างหน้าเรื่อยไป ได้มรรคแล้วก็ได้ผลและก็ได้นิพพาน

"ถ้าจะให้ล่มให้บรรทุกแต่เบา"

นี่ก็หมายถึงเรือ ถ้าให้เรือล่มก็ให้บรรทุกแต่เบา ก็เป็น paradox อยู่
ธรรมดาเรือมันจะล่มมันต้องบรรทุกหนัก เพียบเกินอัตราเกินกำลัง อันนี้กลับตรงกันข้าม

คำไขปริศนาคือ
QUOTE
ถ้าจะให้เรือคือตัวเรานี้ถึงอมตะมหานิพพาน ไม่ต้องแล่นวนเวียนอยู่ในสังสารสาครแล้ว
ก็ให้บรรทุกอกุศลแต่น้อย แล้วก็ไม่ขนเอาลาภสักการะและอกุศลมากมายนั้นไป

ให้พยายามลดละ โยนทิ้งอกุศลและลาภสักการะเสีย พวกนี้มันเป็นภาระหนัก
เมื่อโยนทิ้งสิ่งเหล่านี้เรือมันก็เบา

มีพระพุทธภาษิตบางแห่งที่ตรัสว่า

สิญฺจ ภิกฺขุ อิมํ นาวํ
ดูกรภิกษุ ท่านจงวิดเรือนี้
สิตฺตา เต ลหุเมสฺสติ
เรือที่ท่านวิดแล้วจักถึงเร็ว ท่านละราคะโทสะโมหะได้แล้ว จะถึงพระนิพพานโดยเร็ว

เรือคืออัตภาพ เมื่อวิดเรือแล้วเรือจะถึงเร็ว เมื่อละราคะ โทสะ โมหะ แล้วก็จะแล่นไปสู่นิพพานได้เร็ว

ปริศนาธรรมที่ว่า ถ้าจะให้ล่มบรรทุกแต่เบา คือว่า
ไม่ต้องแล่นวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ


"ถ้าจะเรียนโหราให้ฆ่าอาจารย์ทั้ง 4 เสีย"

อาจารย์โหราในที่นี้หมายถึงวิชชา 3 คือ

- บุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติหนหลังได้
- จุตูปปาตญาณ คือทิพจักษุ คือรู้อุบัติและจุติของสัตว์ทั้งหลาย
- อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้สิ้นกิเลส นี่ก็ระบุไปถึงการรู้

อริยสัจ ก็ถามว่า การรู้อาสวักขยญาณ คือ รู้อะไร เพราะว่าตามตัวแปลว่าญาณที่เป็นเหตุให้สิ้นอาสวะ
ถ้าถามว่าญาณที่ทำให้สิ้นอาสวะ คือญาณอะไร รู้อะไร

ในนิทเทศของอาสวักขยญาณทุกแห่งในพระไตรปิฎก
พระพุทธเจ้าจะตรัสถึง
อาสวักขยญาณ ก็จะตรัสถึง
ทุกฺเข ญาณํ รู้ทุกข์
ทุกฺขสมุทเย ญาณํ รู้สมุทัย 'ญาณในสมุทัย
ทุกฺขนิโรธาณํ ญาณในนิโรธ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทายาณํ
ญาณในทาง ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ทั้งนั้นเลยทุกแห่ง

ฉะนั้น ถ้าเขาถามว่า อาสวักขยญาณหมายถึงอะไร
ที่แปลกันก็คือแปลตามตัวว่า
อาสวักขยญาณคือญาณที่ทำให้กิเลสสิ้นไป

แต่ถ้าถามความหมายว่าหมายถึงอะไร
ก็ต้องตอบว่าหมายถึง
ญาณในอริยสัจ 4
ซึ่งประกอบด้วยรอบ 3 อาการ 12 ไตรปริวัตร ทวาทสาการ
เรียกว่ารู้อริยสัจจริง
มีอาสวักขยญาณ

ถ้าจะเรียนโหรา หมายถึงวิชชา 3 ก็ให้ฆ่าอาจารย์ทั้ง 4 เสีย
อาจารย์ทั้ง 4 ก็คืออาสวะทั้ง 4 คือ

1. กามาสวะ อาสวะคือกาม
2.ภวสวะ อาสวะคือภพ ความติดในภพ ความยินดีในภพ ความอยากเกิดอีก
3. ทิฐาสวะ อาสวะคือทิฏฐิ ความเห็นผิดต่างๆ
4. อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา ความไม่รู้คือรู้ไม่จริง

รู้ไม่จริงกับไม่รู้ อันไหนจะดีกว่า รู้ผิดกับไม่รู้ อันไหนจะดีกว่า
อวิชชามันเป็นทั้งสองอย่าง คือทั้งรู้ผิดและทั้งไม่รู้

อาจารย์ทั้ง 4 หรืออีกนัยหนึ่งท่านกล่าวว่า
อาจารย์ทั้ง 4 คือ โลภะ โทสะ โมหะ และมานะ

อาจารย์อย่างนี้ต้องฆ่าเสียเอาไว้ไม่ได้ สอนให้เสียคน ต้องฆ่าเสีย แล้วถึงจะเรียนโหราคือวิชชา 3 ได้

*** ขออนุโมทนา แหล่งที่มาจากเวปพันทิป