อานุภาพกสิณ ๑๐
#1
โพสต์เมื่อ 02 February 2006 - 07:13 PM
กสิณ ๑๐ ประการนี้ เป็นปัจจัยให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในฉฬภิญโญ เมื่อบำเพ็ญปฏิบัติใน กสิณกองใดกองหนึ่งสำเร็จถึงจตตุถฌานแล้ว ก็ควรฝึกตามอำนาจที่กสิณกองนั้นมีอยู่ให้ชำนาญ ถ้าท่านปฏิบัติถึงฌาน ๔ แล้ว แต่มิได้ฝึกอธิษฐานต่างๆ ตามแบบ ท่านว่าผู้นั้นยังไม่จัดว่าเป็นผู้เข้าฌานถึงกสิณ
อำนาจฤทธิ์ในกสิณต่างๆ มีดังนี้
ปฐวีกสิณ มีฤทธิ์ดังนี้ เช่น นิรมิตคนๆ เดียวให้เป็นคนมากได้ ให้คนมากเป็นคนๆ เดียวได้ ทำน้ำและอากาศให้แข็งได้
อาโปกสิณ สามารถนิรมิตของแข็งให้อ่อนได้ เข่นอธิษฐานสถานที่เป็นดินหรือหรือหินที่กันดารน้ำให้เกิดบ่อน้ำ อธิษฐานหินดินเหล็กให้อ่อน อธิษฐานในสถานที่ฝนแล้วให้เกิดฝนอย่างนี้เป็นต้น
เตโชกสิณ อธิษฐานให้เกิดเป็นเพลิงเผาผลาญหรือให้เกิดแสงสว่างได้ ทำแสงสว่างให้เกิดแก่จักษุญาณ สามารถเห็นภาพต่าง ๆ ในที่ไกลได้คล้ายตาทิพย์ ทำให้เกิดความร้อนในที่ทุกสถานได้
วาโยกสิณ อธิษฐานจิตให้ตัวลอยตามลม หรืออธิษฐานให้ตัวเบา เหาะไปในอากาศก็ได้ สถานที่ใดไม่มีลมอธิษฐานให้มีลมได้
นีลกสิณ สามารถทำให้เกิดสีเขียว หรือทำสถานที่สว่างให้มืดครึ้มได้
ปีตกสิณ สามารถนิรมิตสีเหลืองหรือสีทองให้เกิดได้
โลหิตกสิณ สามารถนิรมิตสีแดงให้เกิดได้ตามความประสงค์
โอทากสิณ สามารถนิรมิตสีขาวให้ปรากฏ และทำให้เกิดแสงสว่างได้ เป็นกรรมฐาน ที่อำนวยประโยชน์ในทิพยจักขุญาณ เช่นเดียวกับเตโชกสิณ
อาโลกสิณ นิรมิตรูปให้มีรัศมีสว่างไสวได้ ทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้เป็นกรรมฐานสร้างทิพยจักขุญาณโดยตรง
อากาสกสิณ สามารถอธิษฐานจิตให้เห็นของที่ปกปิดไว้ได้ เหมือนของนั้นวางอยู่ในที่แจ้ง สถานที่ใดเป็นอับด้วยอากาศ สามารถอธิษฐานให้เกิดความโปร่งมีอากาศสมบูรณ์เพียงพอแก่ความต้องการได้
แหล่งที่มา http://www.banfun.co...a/kasin104.html
#2
โพสต์เมื่อ 02 February 2006 - 09:20 PM
รบกวนถามคุณ JOYSA เป็นความรู้เผื่อเพื่อนๆ หน่อยครับ
คำถามคือ
1. อะไรคือสาเหตุที่ทำให้บุคคลไม่สามารถนึกนิมิตกสิณได้?
2. ศัตรูของสมาธิคืออะไรครับ?
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน
#3
โพสต์เมื่อ 02 February 2006 - 09:46 PM
ศัตรูของสมาธิ
สิ่งที่มาทำลายจิตไม่ให้มีสมาธิก็คืออาการของกิเลสอ่อนๆที่เรียกว่า นิวรณ์ ซึ่งสรุปได้ ๒ อาการ อันได้แก่
๑. ความรู้สึกรัก, และชัง
๒. ความรู้สึกหดหู่ เซื่องซึม มึนชา
๓. ความคิดฟุ้งซ่านต่างๆนาๆ
นิวรณ์แต่ละตัวนี้เองที่ผลัดเปลี่ยนกันเกิดขึ้นมาครอบงำจิตของเราอยู่เกือบจะทั้งวัน จึงทำให้จิตของเราไม่มีสมาธิในการเรียน หรือในการทำงาน จึงเรียนไม่รู้เรื่อง ทำงานไม่ได้ดี เพราะจิตเศร้าหมองขุ่นมัวและไม่สงบ ไม่ปลอดโปร่งแจ่มใส (ไม่นิพพาน) ซึ่งจัดว่าเป็นความทุกข์ชนิดอ่อนๆ.
ส่วนข้อ 1ขอไปถามคุณแม่พรุ่งนี้ค่ะจะมาให้คำตอบพรุ่งนี้นะคะ
#4
โพสต์เมื่อ 03 February 2006 - 07:53 AM
ดีค่ะอนุโมทนาบุญด้วยค่ะ สมัยนี้คนฝึกกสิณมีน้อยกว่าเมื่อก่อน เรื่องอภิญญาเลยกลายเป็นเรื่องแปลกหรือบางคนก็ไม่เชื่อว่ามีอยู่จริง ถ้าสนับสนุนให้คนที่มีบารมีมีจริตด้านนี้ได้ฝึกกันมากๆแล้ว ก็เท่ากับว่าเอาความจริงมาเปิดเผยได้มากเลย โดยเฉพาะฆราวาสจะสามารถพูดได้เต็มที่มากกว่าพระสงฆ์ค่ะ ถ้าใครที่ฝึกได้จนชำนาญมีอภิญญาเกิดขึ้นจริงๆ(ซึ่งเป็นเรื่องยากในสมัยนี้) ก็จะสามารถช่วยคนได้เยอะเลย บางทีก็สามารถช่วยเหลือประเทศชาติได้ด้วยนะค่ะ ไม่เชื่อก็ไม่ควรลบหลู่นะค่ะ แต่ก็มีข้อควรระวังอยู่บ้างที่เรียกว่าวิปัสนูกิเลสและที่สำคัญต้องมีศีลและเมตตาคอยกำกับไว้ด้วยค่ะ
#5
โพสต์เมื่อ 03 February 2006 - 11:38 AM
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน
#6 *ผู้มาเยือน*
โพสต์เมื่อ 03 February 2006 - 04:39 PM
1.เลือกใช้กสิณไม่ถูกกับจริต เหมือนกันคนชอบของหวานแต่ทานของขม
2.ไม่สม่ำเสมอ
3.ไม่ถูกวิธี
แต่ที่ดีที่สุดคืออโลกกสิณครับ คือกสิณแสงสว่าง พวกองค์พระดวงและดวงแก้ว สามารถใช้ได้กับทุกจริตครับ
#7
โพสต์เมื่อ 03 February 2006 - 05:58 PM
เราควรจะหาวิธีใดฝึกแทนการนึกนิมิตหรือกสิณดีครับ ที่จะทำให้จิตรวมลงหยุดนิ่งได้เร็วไม่ต่างจากการนึกนิมิตครับ
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน
#8
โพสต์เมื่อ 03 February 2006 - 07:14 PM
ไม่ทราบว่าจะตอบถูกไหมนะคะ คุณแม่บอกคือการนั่งวิปัสนาเป็นเรื่องของการพิจารณาเจริญปัญญา เพื่อความรู้แจ้งเห็นจริง ค่ะ
ใครทราบช่วยตอบด้วยนะคะ
#9
โพสต์เมื่อ 05 February 2006 - 09:20 AM
#10
โพสต์เมื่อ 06 February 2006 - 11:56 PM
คำอธิฐานจิต
ด้วยบุญกุศล ที่ข้าพเจ้าได้ร่วมบุญใหญ่ ตั้งใจทำบุญทุกสิ่ง บูชาธรรม 60 ปี พระราชภาวนาวิสุทธิ์ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย ได้ถวายจุปัจจัย ถวายภัตตาหารทั้งเช้าเพล ตลอดจนน้ำปานะ บำรุงพระภิกษุ สามเณรอาพาธ ให้ปราศจากโรคภัย ได้ถวายดอกบัว ทำบุญประทีปบูชามหาธรรมกายเจดีย์ บูชามหาวิหารพระมงคลเทพมุนี ทำบุญบูชาข้าพระ สร้างศาสนสถาน บำรุงซ่อมแซมศาสนวัตถุ ร วมทั้งวัสดุ ค่าน้ำ ค่าไฟ บำรุงวัด ถวายอัฎฐบริขารไตรจีวร ขยายคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผ่านจานดาวธรรมและรายการธรรมมะเพื่อประชาชน สร้างเยาวชนใฝห้เป็นคนดี เป็นกำลังพระพุทธศาสนา ได้ถวายทุนการศึกษาพระภิกษุ สามเณร ทำบุญค่าเดินทาง ยานพาหนะแก้ว มอบสื่อธรรมะแก่วัดทั่วประเทศ ทำบุญไถ่ชีวิตโค-กระบือ ปล่อยสัตว์ ปล่อยปลา และทำบุญทุกสิ่งในบวรพระพุทธศาสนา
ขอให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้เกิดในบวรพระพุทธศานา ในตระกูลสูงที่คนยกย่อง เป็นสัมมาทิฏฐิ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี เกื้อกูลต่อการสร้างบารมี มีบัณฑิตนักปราชญุ์ เป็นสัมมาทิฏฐิ อยู่ในสิ่งแวดล้อม เกื้อกูลต่อการสร้างบารมี มีบัณฑิตนักปราชญ์ เป้นกัลยาณมิตร ให้ถึงพร้อมด้วยมนุษย์สมบัติอันเลิศ ทิพยสมบัติอันยิ่งใหญ่ นิพพานสมบัติอันไม่มีประมาณ
เป็นเหมือนมนุษย์ ให้ได้ที่สุดแห่งรูปสมบัติ ที่สุดแห่งทรัพย์สมบัติ ที่สุดแห่งคุณสมบัติ ให้ได้รูปกายที่งดงาม เหมาะสมต่อการสร้างบารมี มีผิวพรรณผ่องใส เป็นที่น่าเลื่อมใสของมหาชน ให้สั่งสอนตนเองได้ ระลึกชาติได้ตั้งแต่แรกเกิด บรรลุธรรมตั้งแต่เยาว์วัย ให้สุขภาพพลานามัยแข็งแรง มีอายุขัยยืนยาว ได้สร้างบารมีอย่างมีความสุขปราศจากทุกข์โศกโรคภัย ไปจนตลอดชีวติ ทุกภพทุกชาติ
ให้มีสมบัติจักรพรรดิตักไม่พร่อง ได้สร้างทานบารมี กับทักขิไณยบุคคลตลอดจนชนทุกระดับชั้น อีกสรรพสัตว์ทั้งหลาย ตลอดไปไม่รู้หมดสิ้น ให้มีคุณสมบัติยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยคุณธรรมอันเลิศ มีกำลังใสงส่ง มั่นคงในพระรัตนตรัยให้มีดวงปัญญาแตกฉาน เปรื่องปราดในศาสตร์ทั้งปวง ตลอดทั้งทางโลกและทางธรรมให้ได้บรรลุวิชชาธรรมกาย ตั้งแต่เยาว์วัย ได้บรรลุวิชชา 3 วิชชา 8 อภิญญา 6 ปฏิสัมภิทญาณ 4 วิโมกข์ 8 และจรณะ 15
ธรรมใด ที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโย คุณยายอาจารย์ มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ได้บรรลุถึงแล้ว ขอให้ข้าพเจ้า ได้บรรลุให้ถึงธรรมนั้น ให้เป้นผู้นำแห่งมหาชน ในการสร้างความดีตลอดไป ให้ได้ติดตามพระเดชพระคุณหลวงพ่อ และหมู่คณะ ไปได้ตลอดชีวติ ตลอดรอดฝั่งทุกภพทุกชาติ ตราบกระทั่งถึงที่สุดแห่งธรรมเทอร์
#11
โพสต์เมื่อ 07 February 2006 - 06:50 PM
.............................................................................................
วิชชา 3
1. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
2. จุตูปปาตญาณ (ตาทิพย์) รู้ว่าสัตว์ที่ตายแล้วไปเกิดเป็นอะไร
3. อาสวักขยญาณ คือทำให้อาสวะกิเลส (กิเลสละเอียด) หมดสิ้นไป
....................................................................................
...................................................................................
วิชชา 8 เป็นปัญญ่าวิเศสเหนือมนุษย์ธรรมดา
๑. การรู้ผลลัพธ์ของสรรพสิ่งโดยไม่ต้องคิดวิเคราห์ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เช่น อยากทราบคำตอบของโจทย์คณิตศาสตร์ก็เห็นคำตอบที่ถูกต้องทันที มาตรว่าสงสัยสิ่งใดก็มีคำตอบสิ้น ปัญญานี้ ท่านว่าทำลายความสงสัยทั้งปวงฯ สามารถรู้การเกิดตายของสัตว์ คือ รู้ว่าตนจักตายเมื่อใด หรือใครก็ตามจะตายเมื่อใด แลจะไปเกิดเมื่อใดก็รู้ ข้อนี้มีประโยชน์เวลาเข้านิโรธสมาบัติ ซึ่งต้องกำหนดว่าจะไม่เข้าสมาบัติระหว่างที่ตนต้องดับขันธ์ฯ (เพราะจะดับขันธ์ในสมาบัติไม่ทันได้ทำกิจอื่นๆ--ถ้ามี แลตั้งใจจะทำหลังออกสมาบัติ)
๒. การแสดงฤทธิ์ทางใจ เช่น การสร้างภาพนิมิตให้บุคคลคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนเห็น เช่น ตอนที่พระพุทธองค์ทรงเผยมหาบุรุษลักษณะ ๒ อย่างให้ปรากฏแก่ตาพรหามณ์ฯ อนึ่ง จะเนรมิตวัตถุใดๆ ก็ได้ เสกดินให้เป็นทอง เสกน้ำขุ่นให้ใส เสกน้ำเค็มให้จืด เรียกฝน เรียกลม หยุดฝน หยุดลม ได้ทั้งปวงฯลฯ
๓. มีฤทธิ์ทางกาย เหาะ หาย ดำดิน เดินบนน้ำ เดินใต้น้ำ หดกาย ขยายกาย จะพากายไปไหนก็ได้ ร่นระยะทาง เดินเร็ว ฟันแทงไม่เข้า (สังเกตที่พระพุทธเจ้าเพียงห้อพระโลหิตเพราะถูกหินกระทบเท่านั้น โลหิตไม่ได้หลั่งออกจากกาย) ฯลฯ
๔. มีหูทิพย์ ไว้ใช้ฟังเสียงเทวดา เวลาเทวดามาถามคำถาม ใครนินทาก็รู้ ใครสรรเสริญก็รู้ ใครจะสนทนาอะไรกันอยู่ทีไหนก็รู้แจ้งสิ้นฯ
๕. รู้ใจผู้อื่นไม่ว่าใจคน สัตว์ เทวดา หรือ พรหมฯ บุคคลนี้ๆ ชอบฟังสิ่งใด ไม่ชอบฟังสิ่งใดก็รู้ ใครสัทธา ไม่สัทธาก็รู้ ถ้าแก่กล้ามาก ใครสำเร็จธรรมหรือยังไม่สำเร็จก็รู้แจ้งสิ้นฯ
๖. ระลึกอดีตล่วงภพชาติได้ ขึ้นกับความกล้าแข็งเฉพาะบุคคล ยิ่งกล้าแข็งยิ่งระลึกได้มากชาติ กล่าวกันว่า พระพุทธเจ้า ทรงระลึกได้กี่ชาตินั้นไม่พึงต้องนับ เห็นจากที่พระองค์สรุปโดยนัยว่าเบื้องต้นของปฏิจจสมุปบาท (สงสารวัฏของจิตสัตว์แต่ละจิต) ไม่ได้ปรากฏฯ อนึ่ง ปัญญาอันนี้ถ้ากระทำให้พิสดารจักระลึกชาติของผู้อื่นได้ด้วย คือรู้ ว่าเขาเคยเกิดเป็นอะไร แลจะมีภพหน้าอีกกี่ภพกี่ภพเป็นอย่างไรก็รู้แจ้งสิ้นฯ
๗.มีตาทิพย์ ผู้มีตบะแก่กล้า สามารถเห็นทั่วตลอดสามภพไม่มีผู้ใดปิดบังได้เลย มาตรว่าเทพไท้องค์ใดจักบังอยู่ก็บังไม่ได้ฯ ผู้มีตาทิพย์นี้จะสามารถแยกแยะได้ว่านิมิตรนี้จริงฤาเท็จ เป็นผู้ใดจำแลงเนรมิตกายมาก็เห็นสิ้นฯ
๘. รู้ดับกิเลส คือ ทำลายสังโยชน์เบื้องสูง (กิเลสที่ฝังลึกที่สุดในจิต) ได้โดยสิ้นเชิง แลการบรรลุธรรมในศาสนาพุทธนั้น นับถือ องค์ณาณนี้เป็นที่สิ้นสุดฯ
.............................................................................
อภิญญา 6 เป็นความรู้ชั้นสูงอันเกิดจากการปฏิบัติสมถวิปัสสนา ประกอบด้วย
1) อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้
2) ทิพโสต มีหูทิพย์
3) เจโตปริยญาณ สามารถทายใจคนอื่นได้
4) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
5) ทิพจักขุ (จุตูปปาตญาณ) มีตาทิพย์
6) อาสวักขยญาณ คือทำให้อาสวะกิเลส (กิเลสละเอียด) หมดสิ้นไป
................................
ปฏิสัมภิทาญาณ 4
"ปฏิสัมภิทาญาณ" มี ๒ ระดับ คือ ระดับโลกีย์๑ ระดับโลกุตร๑
ระดับโลกีย์นี้ผู้ที่ศึกษาทางโลกมาดีก็กระทำได้ ส่วนระดับโลกุตรนั้นขึ้นอยู่กับบุญบารมีเป็นสำคัญฯ ตัวอย่างเช่น
๑. สามารถล่วงรู้สาเหตุของเหตุการณ์หนึ่งได้ เช่น ทรัพย์สิ่งของถูกโจรกรรมก็รู้ชัดได้ว่าผู้ใดเป็นขโมยขโจรฯ หรือ เห็นชาวบ้านเดือดร้อนด้วยปัญหาต่างๆ ก็ทราบได้ว่ามีที่มาจากอะไร เช่น คนหนึ่งมีอากาศล้มป่วยกระทันหัน ไปพบแพทย์อาการก็หายทันที กลับมาบ้านเป็นอีก ก็รู้ว่า เขาผู้นั้นป่วยเพราะเคยไปปัสสวะรดบริเวณที่สถานศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ข้อนี้แพทย์แผนปัจจุบันจะไม่สามารถล่วงรู้ได้โดยการวินิจฉัยโรค ซึ่งเป็นความรู้ระดับโลกีย์ฯ
๒. สามารถรู้ได้ว่าผลจากเหตุการณ์นี้จะเป็นอย่างไร เช่น กรณีพระกาฬเทวิลดาบสล่วงรู้ว่าพระกุมารนี้ต่อไปจะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฯ หรือพระทีปังกรพุทธเจ้าเห็นพระดาบสองค์หนึ่งนอนทับโคลนเพื่อมิให้พระพุทธองค์เหยียบก็ทราบได้ว่าพระดาบสผู้นี้จะได้เป็นพระโคดมพุทธเจ้าฯ
๓. แตกฉานภาษา คือ รู้ภาษาบรรดามีทุกอย่าง ภาษานาค ภาษาเทวดา ภาษาเซียน โดยไม่ต้องเรียนหรือฝึกฝน เช่น สมัยที่พระกุมารสิทธัสถะเรียนศีลปศาสตร์ วิชาภาษากับอาจารย์ อาจารย์มิพักสอนก็รู้หมดสิ้น แลรู้ยิ่งกว่าครูของพระองค์ ฯลฯ
๔. การทำการได้โดยอัตโนมัติ เช่น การที่พระพุทธเจ้าทรงตอบคำถามของเดียรถีย์จนผู้มาไม่ดีต้องจนด้วยปัญญา โดยที่มิต้องคิดว่าเดียรถีย์ถามอย่างนี้ จะตอบอย่างนี้ ถามอย่างนั้นจะตอบอย่างนั้นเป็นการล่วงหน้า หากตอบเดี๋ยวนั้นเลยด้วยญาณ ซึ่งต่างกับพระนาคเสนที่สมัยโต้ตอบกับพระยามิลินท์ยังต้องกลับไปคิดเตรียมคำตอบไว้ก่อนฯ
.................................................................................................
ควรศึกษาใน พระไตรปิฏก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
หน้า 87 ข้อ [๑๘๖] เป็นต้นไป
http://84000.org/tip...page=87&pages=2
....................................................................................
วิโมกข์ 8 (ความหลุดพ้น, ภาวะที่จิตปลอดพ้นจากสิ่งรบกวนและน้อมดิ่งเข้าไปในอารมณ์นั้นๆ อย่างปล่อยตัวเต็มที่ ซึ่งเป็นไปในขั้นตอนต่างๆ liberations; the eight stages of release)
1. ผู้มีรูป มองเห็นรูปทั้งหลาย (ได้แก่ รูปฌาน 4 ของผู้ได้ฌานโดยเจริญกสิณที่กำหนดวัตถุในกายของตน เช่น สีผม Remaining in the fine-material sphere, one perceives corporeal forms.)
2. ผู้มีอรูปสัญญาภายใน มองเห็นรูปทั้งหลายภายนอก (ได้แก่ รูปฌาน 4 ของผู้ได้ฌานโดยเจริญกสิณกำหนดอารมณ์ภายนอก Not perceiving internal corporeal forms, one perceives corporeal forms externally)
3. ผู้น้อมใจดิ่งไปว่า งาม (ได้แก่ ฌานของผู้เจริญวรรณกสิณ กำหนดสีที่งามหรือเจริญอัปปมัญญา One is intent on the thought, It is beautiful.)
4. เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ โดยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ (One attains and abides in the Sphere of Unbounded Space.)
5. เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ โดยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ (One attains and abides in the Sphere of Unbounded Consciousness.)
6. เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ โดยมนสิการว่า ไม่มีอะไรเลย (One attains and abides in the Sphere of Nothingness.)
7. เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ (One attatins and abides in the Sphere of Neither-Perception-Nor-Nonperception.)
8. เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ (One attains and abides in the cessation of Perception and Feeling.)
D.III.262, 288;
A.IV.306. ที.ปา. 11/350/276; 453/328;
องฺ.อฏฺฐก. 23/163/315.
..........................................................................
"จรณะ 15" คือ ข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุวิชชา หรือความรู้ในพุทธศาสนา ซึ่งได้แก่
(1) สังวรศีล
(2) สำรวมอินทรีย์
(3) โภชเนมัตตัญญุตา
(4) ชาคริยานุโยคะ เรียกว่า บจรณะ 4" ถ้าปฏิบัติแล้วจะได้
(5) ศรัทธา
(6) หิริ
(7) โอตตัปปะ
(8) พหุสัจจะ
(9) วิริยะ
(10) สติ
(11) ปัญญา
เมื่อเกิด "สติ" และ "ปัญญา" บริบูรณ์ สิ่งที่จะเกิดจริงเป็นจริงตามมา ก็คือ ความ
เป็น "ฌาน" ซึ่งได้แก่
(12) ฌาน หนึ่ง
(13) ฌานสอง
(14) ฌานสาม และ
(15) ฌานสี่
...............................................
ข้อมูลได้มาจากหลายที่หลายแหล่งโดยมิได้อ้างถึง ซึ่งเป็นไปเพื่อยึดถือ
พระไตรสรณคมณ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด ซึ่งที่พึ่งที่ระลึกนอกเหนือจากนี้ไม่มีอีกแล้ว
..........................
ขาด-ตก-บก-พร่อง ประการใด ได้โปรดชี้แนแก่ข้าพเจ้าด้วย ครับ
ในฐานะที่ข้าพเจ้าเรียนมาทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ กระทู้ต่างๆ ที่ข้าพเจ้าแสดงความเห็นใน DMC.tv นี้
ถึงจะเป็นตะเกียงดวงน้อยด้อยแสง แต่ไฟแรงจุดติดดวงอื่นได้
ไม่เสียดายให้แสงสว่างกับผู้ใด ชักนำใจให้สว่างเพียงแต่ธรรม
#12
โพสต์เมื่อ 09 February 2006 - 12:15 AM
#13 *ผู้มาเยือน*
โพสต์เมื่อ 09 February 2006 - 02:17 AM
#14 *ผู้มาเยือน*
โพสต์เมื่อ 09 February 2006 - 03:37 PM
#15
โพสต์เมื่อ 15 February 2006 - 01:18 AM
#16
โพสต์เมื่อ 13 March 2006 - 09:13 PM
น่าสนใจดีนะคะ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที
#17
โพสต์เมื่อ 23 October 2006 - 06:02 PM
#18
โพสต์เมื่อ 18 March 2007 - 02:36 PM