ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 1 คะแนน

จารึกลานทองพระธรรมกายในพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 10 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 08 February 2006 - 11:55 PM


จารึกลานทองพระธรรมกายในพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑


ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ รัฐบาลได้มอบหมายให้กรมศิลปากรดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชกุศล
แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยพระราชพิธีเฉลิมพระชนพรรษา ๕ รอบ

ขณะดำเนินบูรณะปฏิสังขรณ์พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ ซึ่งเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑ และพระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขารประจำรัชกาลที่ ๓ อยู่นั้น
เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๑ เวลาประมาณ ๐๘.๑๕ น. ช่างที่กำลังสกัดผิวกระเบื้องเคลือบชั้นนอกขององค์พระมหาเจดีย์ทั้งสองพบว่า
บริเวณใกล้คอระฆังด้านทิศเหนือ มีโพลงลึกเข้าไปในองค์พระมหาเจดีย์
พบมีห้องกรุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โบราณวัตถุล้ำค่าต่างๆ
พระพุทธรูปและจารึกลานทองเกี่ยวกับพระธรรมคำสอน
ซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาบรรจุอยู่ในหีบทองลงยา หนึ่งในนั้นก็คือจารึกลานทองเกี่ยวกับพระธรรมกาย
จึงได้อัญเชิญเคลื่อนย้ายลงมา

แต่เนื่องจากวัตถุล้ำค่าในกรุพระมหาเจดีย์มีความสำคัญยิ่งเกี่ยวเนื่องกับพระบรมราชวงศ์จักรีวงศ์ กรมศิลปากรจึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย
เพื่อดำเนินการอันเหมาะสมต่อไป วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒
กรมศิลปากรได้รับหนังสือจากราชเลขาธิการ อัญเชิญพระราชดำรัสของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวความว่า

๑. โบราณวัตถุทั้งปวงที่บรรจุอยู่ในพระมหาเจดีย์นั้น ควรรวบรวมรักษาไว้โดยจัดพระวิหารหลังใดหลังหนึ่ง
ซึ่งมีอยู่มากมายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มั่นคง
แสดงสิ่งที่ขุดได้อย่างมีระเบียบเป็นหมวดหมู่สำหรับคนรุ่นนี้ และรุ่นหลังได้ศึกษา

๒. วัตถุใดแตกหักเสียหายมากไม่เป็นชิ้นดี จะบรรจุคืนเข้าในพระมหาเจดีย์ก็ควร

๓. ควรจัดทำจำลองวัตถุเดิมขึ้นใหม่โดยไม่จำเป็นต้องใช้ทัพสัมภาระที่มีค่าสูงบรรจุในพระมหาเจดีย์
ให้พระมหาเจดีย์ที่บูรณะใหม่มีลักษณะเป็น ธาตุเจดีย์ ธรรมเจดีย์ อุทเทสิกเจดีย์
และบริโภคเจดีย์ ครบถ้วนตามลักษณะดั้งเดิม

จารึกจากกรุพระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ มี ๔ รายการได้แก่

๑. จารึกฐานพระพุทธรูปบุเงิน อักษรไทย ภาษาไทย จำนวน ๑ ด้าน มีอักษร ๒ บรรทัด

๒. จารึกคัมภีร์ลานทอง (๑) อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย จำนวน ๙ ลาน มสายสนองร้อยรวมเป็นผูก
จารึกอักษรด้วยเส้นจารมีเส้นชุบชาดถมเส้นจารจำนวน ๗ ลานๆละ ๒ ด้านๆละ ๕ บรรทัดรวม ๗๐ บรรทัด
กับใบปกอีก ๒ ลานไม่มีอักษรจารึก เรื่องที่จารึกเป็นบทธรรมว่าด้วยพระอภิธรรมทั้ง ๗ ได้แก่
พระสังคิณี พระวิภังค์ พระธาตุกถา พระปุคคลบัญญัติ พระกถาวัตถุ พระยมกและพระมหาปัฏฐาน

๓. จารึกคัมภีร์ลานทอง (๒) อักษรขอม ภาษาบาลีจำนวน ๙ ลาน มีสายสนองร้อยรวมเป็นผูก จารึกอักษรด้วยเส้นจารมีเส้นชุบรักดำถมเส้นจารจำนวน ๗ ลานๆละ ๒ ด้านๆละ ๔ บรรทัด
รวม ๗๐ บรรทัดกับใบปกอีก ๒ ลานไม่มีอักษรจารึก
เรื่องที่จารึกว่าด้วยปัจยาการ อเนกชาติสังสารัง และพระธรรมกาย

๔. จารึกคัมภีร์ลานทอง (๓) อักษรขอมย่อ ภาษาบาลี-ไทย จำนวน ๙ ลาน
มีสายสนองร้อยรวมเป็นผูกจารึกอักษรด้วยเส้นชุบรักดำ จำนวน ๗ ลานๆละ ๑ ด้านๆละ ๔ บรรทัด
รวม ๒๘ บรรทัด กับใบปกอีก ๒ ลาน ไม่มีอักษรจารึก เรื่องที่จารึกว่าด้วยพระอภิธรรมทั้ง ๗ ได้แก่
พระสังคิณี พระวิภังค์ พระธาตุกถา พระปุคคลบัญญัติ พระกถาวัตถุ พระยมก และพระมหาปัฏฐาน
ซึ่งท่านย่อความไว้พอดีกับแผ่นจารึก


คำแปลจารึกลานทองพระธรรมกาย


ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระรัตนตรัย

"เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดมีวิญญาณ เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย
จึงเกิดมีนามรูป เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอายตนะ ๖
เพราะอายตนะ ๖ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส และอุปายาสะ
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั้น เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยดังกล่าว

อีกส่วนหนึ่งเพราะอวิชชาดับสนิทไม่เหลือ ปราศจากราคะ คือความกำหนัด สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับนามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับอายตนะ ๖ จึงดับ เพราะอายตนะ ๖ ดับผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ เพราะภพดับชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปาสะจึงดับ
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลล้วนดับตามเหตุปัจจัยดังกล่าว

เราเที่ยวแสวงหานายช่างทำบ้านเรือน(ตัณหา) เมื่อไม่พบ
จึงต้องท่องเที่ยวไปในสงสารหลายชาติไม่น้อย ชาติ(ความเกิด)บ่อยๆ
นำทุกข์มาให้ นายช่างเอ๋ย(บัดนี้) เราได้พบท่านแล้ว ท่านจักสร้างบ้านเรือนต่อไปอีกไม่ได้ เพราะเราได้หักทำลายรื้อโครงและยอดบ้านเรือนของท่านกระจัดกระจายหมดสิ้นแล้ว
จิตของเราหมดกิเลสเครื่องปรุงแต่งแล้ว เราได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแล้ว
พระเศียรหมายถึงพระสัพพัญญุตญาณ พระเกศาหมายถึงอารมณ์พระนิพพาน

พระลลาตหรือพระนลาฎหมายถึงจตุตถฌาณ พระอุนาโลมหมายถึงสมาบัติญาณเพชร พระภมู(พระขนง)
ทั้งสองหมายถึงนีลกสิณ พระจักษุทั้งสองหมายถึงทิพพจักษุ ปัญญาจักษุ สมันตจักษุ พุทธจักษุและธรรมจักษุ พระโสตทั้งสองหมายถึงทิพพโสตญาณ พระฆานะหมายถึงโคตรภูญาณ
พระปรางทั้งสองหมายถึงมรรคญาณผลญาณและวิมุติญาณ
พระโอษฐ์(ริมพระโอษฐ์)ทั้งสองหมายถึง โลกิยฌาณและโลกุตรฌาณ
พระทนต์หมายถึงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
พระเขี้ยวแก้วทั้ง ๔ หมายถึงมรรคญาณ ๔ พระศอหมายถึงสัจจญาณ ๔
การเอี้ยวพระศอทอดพระเนตรดูหมายถึงพระไตรลักษณญาณ
พระพาหาทั้งสองหมายถึง เวสารัชญาณ ๔ พระองคุลีทั้ง ๘ หมายถึงอนุสสติญาณ ๑๐
พระอุระหมายถึงสัมดภชฌงค์ ๗ พระถันทั้ง ๒ หมายถึงอาสยานุสยญาณ
พระอวัยวะส่วนกลางหมายถึงพลญาณ ๑๐ พระนาภีหมายถึงปฏิจจสมุปปบาท
พระชฆนะหมายถึงอินทรีย์ ๕ พละ ๕ พระอุระทั้ง ๒ หมายถึงสัมมัปปธาน ๔
พระชงฆ์ทั้ง ๒ หมายถึงกุศลกรรมบท ๑๐ พระบาททั้ง ๒ หมายถึงอิทธิบาท ๔

สังฆาฏิ (ผ้าสำหรับห่มซ้อน) หมายถึงศีลและสมาธิ จีจรสำหรับห่มปกปิดกล่าวคือผ้าบังสุกุลหมายถึงหิริและโอตตัปปะ ผ้าอันตรวาสก(ผ้าสำหรับนุ่ง) หมายถึงมรรค ๘ ประคตเอวหมายถึง สติปัฏฐาน ๔
เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงมีพระอวัยวะทุกส่วนสูงสุดประกอบด้วยสัพพัญญุตญาณ
ที่รู้กันว่าพระธรรมกายไม่มีใครจะเป็นผู้นำโลกได้เท่า ทรงรุ่งโรจน์กว่าเทวดาและมนุษย์เหล่าอื่น (ดังนั้น)พระโยคาวจรผู้มีญาณแก่กล้าเมื่อปรารถนาจะเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า

พึงระลึกถึงบ่อยๆซึ่งพุทธลักษณะคือ พระธรรมกาย ว่าพระพุทธเจ้า(พระองค์ใด)
ทรงมีพระวรกายสูง ๑๒ ศอก มีพระมงกุฎ (เครื่องประดับศรีษะ) ที่มีแสงสว่างดุจเปลวไฟพุ่งสูงขึ้นไปตลอดกาลเป็นนิจถึง ๖ ศอก พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นจึงชื่อว่าสูงได้ ๑๘ ศอก

............
"
นับเป็นบุญของแผ่นดินไทยโดยแท้ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชปรีชาญาณ
ทรงเล็งเห็นการณ์ไกล มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ
ให้อัญเชิญจารึกลานทองเรื่องราวเกี่ยวกับพระธรรมคำสั่งสอน ซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา จัดตั้งแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
เพื่อมหาชนได้ศึกษาเรียนรู้ จารึกลานทองพระธรรมกายจึงได้ปรากฏสู่สายตาชาวโลกเป็นเครื่องยืนยันว่า

พระธรรมคำสั่งสอนที่เกี่ยวกับพระธรรมกายในพระพุทธศาสนานั้นมีอยู่จริง
พระบูรพมหากษัตริย์ไทยทรงเห็นถึงความสำคัญยิ่ง
ทรงเกรงว่าพระคัมภีร์ล้ำค่าทางพระพุทธศาสนาจะสูญหายไป
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จารึกไว้บนลานทองเก็บรักษาไว้ในพระมหาเจดีย์

เมื่อถึงคราวมหามงคลสมัยในพระมหากษัตริย์ผู้ทรงทศพิธราชธรรมอย่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เจริญพระชนพรรษา ๖๐ พรรษา ก็มีเหตุอัศจรรย์บังเกิดให้ได้ค้นพบจารึกลานทองพระธรรมกายภายในพระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ พระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑ เป็นศุภนิมิตหมายที่ดียิ่งประกาศถึงพระเกียรติคุณองค์มหาราชโดยธรรมพระองค์นี้ว่า
ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ พระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองจนถึงที่สุดแห่งยุค จะเผยแผ่ขจรไกลไปทั่วโลก ชาวโลกทั้งหลายจักได้สัมผัสกระแสสันติสุขโดยถ้วนหน้า
แผ่นดินไทยนี้จักได้ชื่อว่า แผ่นดินศรีวิไล ที่มนุษยชาติใฝ่ฝันมานาน
สมดังคำพยากรณ์ของพระอรหันตเถระ ขอพระบรมราชจักรีวงศ์ดำรงอยู่คู่พระพุทธศาสนาตราบสิ้นกัลป์

จากวารสารกัลยาณมิตร ฉบับที่ ๑๖๐ เมษายน ๒๕๔๒



#2 หยุดอะตอมใจ

หยุดอะตอมใจ
  • Members
  • 729 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 09 February 2006 - 03:26 AM

อนุโมทนาสาธุกับคุณ dangdee ครับ เยี่ยมยอดมากครับสำหรับหลักฐานชิ้นนี้

ช่วยค้นหาคำว่าพระธรรมกาย ในศาสนาพุทธทุกๆ นิกายทั่วโลก มาให้เป็นบุญตา ชาว DMC ด้วยได้ไหมครับ smile.gif

แค่นี้ยังทำไม่ได้ แล้วจะไปปราบมารได้ไง


#3 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 09 February 2006 - 05:54 AM

เมื่อคุณ หยุดอะตอมใจ สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับ ธรรมกาย อันปรากฎในที่ต่างๆ

ซึ่งก็มีหลักฐานในคัมภีร์และศิลาจารึกของ พุทธเถรวาท และที่มีมากในคัมภีร์ของพุทธมหายาน

ก็พอนำเสนอได้บ้างครับ


ตกลงกันก่อนนะครับว่า สิ่งที่ผมนำมาโพสต์ เป็นความรู้เพิ่มเติม จากที่เคยรู้กันแล้ว

เพราะว่าผมcopy จาก internet มานานแล้ว ส่วนใหญ่เป็นข้อความสั้นๆนะครับ

ไม่ได้โน้มน้าวให้เชื่อ อยู่ที่วิจารณญาณของแต่ละท่านเอง

หากท่านใดไม่เห็นด้วย ก็อย่าให้ถึงต้องขัดแย้งทางความคิดกันเลยนะครับ

เพราะผมเอง เป็นเพียงนักเรียน ไม่ใช่นักการประวัติศาสตร์ศาสนา

เดี๋ยวกระดานนี้จะร้อน ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ขององค์กร

ที่สำคัญคือ เราต่างก็เป็น นักรบของกุศลธรรม ในที่คุมขัง ( worrier in the cage ) ของ อกุศลธรรม เหมือนๆกัน


...............

หลักฐาน ธรรมกาย ที่ปรากฏทางคัมภีร์ พุทธเถรวาท

ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ฉบับบาลี ปี 2525 หน้า 92 ความว่า

"ดูก่อน วาเสฐะ อันว่า คำว่า ธรรมกาย ก็ดี พรหมกาย ก็ดี ธรรมภูติ ผู้ที่เป็นธรรมก็ดี
หรือ พรหมภูตะ ผู้ที่เป็นพรหมก็ดี นี่แหละเป็นชื่อของเราตถาคต"

......

คัมภีร์ ขุทฺทกนิกาย สุตฺตนิปาต อรรถกถาปรมตฺถโชติกา ธนิยสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬา
หน้า 39

แปลไว้ใน ขุทฺทกนิกาย สุตฺตนิปาต อรรถกถาธนิยสูตร เล่ม 46 หน้า 84 ความว่า


"ลำดับนั้นนายธนิยะเห็นแล้วซึ่ง ธรรมกาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยปัญญาจักษุ ด้วยศรัทธา ซึ่งตั้งมั่นแล้ว อันเกิดขึ้นแล้วในพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นมูลด้วยความเลื่อมใสที่ไม่คลอนแคลน
ผู้มีหทัยอัน ธรรมกาย ตักเตือนแล้ว คิดแล้วว่า นับตั้งแต่อเวจีเป็นที่สุด
จนถึงภวัครพรหม เว้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสีย คนอื่นใครเล่าจักบันลือสีหนาทที่มีกำลังเช่นนี้ได้
พระศาสนาของเราเสด็จมาแล้วหนอ ด้วยความดำริว่า
เราตัดเครื่องผูกทั้งหลายได้แล้วและการนอนในครรภ์ของเราไม่มี
(ข้ามข้อความบางส่วน…..)
เพราะเหตุที่นายธนิยะพร้อมกับบุตรและภรรยาได้เห็น ธรรมกาย
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยโลกุตรจักษุ โดยการแทงตลอดอริยมรรค
เห็นรูปกายของพระองค์ด้วยโลกิยจักษุ และกลับได้แล้วซึ่งสัทธา
ฉะนั้นเขาจึงกล่าวว่า เป็นลาภของข้าพระองค์ไม่น้อยหนอ ที่ข้าพระองค์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า"

..........

สุตตันตปิฎก ขุทฺทกนิกาย อปทาน มหาปชาบดีโคตมีเถรี อปทาน เล่ม 33 หน้า 284
ความว่า

"ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด
ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต

ธรรมกาย
อันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว
หม่อมฉันให้พระองค์ดูดดื่มน้ำนม อันระงับเสียซึ่งความอยากชั่วครู่
แม้น้ำนม คือพระสัทธรรมอันสงบระงับล่วงส่วน พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่มแล้ว"

...........

สุตตันตปิฎก ขุทฺทกนิกาย อปทานปัจเจกพุทธาปทาน เล่มที่ 32 ข้อ 2 หน้า 20

แปลไว้ใน ขุทฺทกนิกาย อปทาน ปัจเจกพุทธาปทาน เล่มที่ 32 ข้อ 2 หน้า 11 ความว่า

" นักปราชญ์เหล่าใดเจริญสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ และอัปปณิหิตวิโมกข์
ไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนาพระชินเจ้า นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นพระสยัมภูปัจเจกพุทธเจ้า
มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก มีจิตเป็นอิสระ ข้ามห้วงทุกข์ทั้งมวลได้
มีจิตโสมนัส มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง เปรียบดังราชสีห์ เช่นกับนอแรด"

...........

ขุทฺทกนิกาย จริยาปิฎก อรรถกถาปรมตฺถทีปนี ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า 324


แปลไว้ใน ขุทฺทกนิกาย จริยา อรรถกถาปกิณณกกถา เล่ม 74 หน้า 571 ความว่า

" อีกอย่างหนึ่งบารมีย่อมผูกสัตว์อื่นไว้ในตน ด้วยการประกอบคุณวิเศษ
หรือบารมีย่อมขัดเกลาสัตว์อื่นให้หมดจดจากมลทินคือกิเลส
หรือบารมีย่อมถึงนิพพานอันประเสริฐสุดด้วยคุณวิเศษ
หรือบารมีย่อมกำหนด รู้โลกอื่น
ดุจรู้โลกนี้ด้วยคุณวิเศษคือญาณอันเป็นการกำหนดแล้ว
หรือบารมีย่อมตักตวงคุณมีศีลเป็นต้นอื่นไว้ในสันดานของตนเป็นอย่างยิ่ง
หรือบารมีย่อมทำลายปฏิปักษ์อื่นจาก ธรรมกายอันเป็นอัตตา
หรือหมู่โจรคือกิเลสอันทำความพินาศแก่ตนนั้น
เพราะเหตุนี้จึงชื่อว่า ปรมะ สัตว์ใดประกอบด้วยปรมะดังกล่าวมานี้ สัตว์นั้นชื่อว่ามหาสัตว์"

............

ปฐมสมโพธิกถา ตอนมารพันธปริวรรต ปริเฉทที่ 28 หน้า 509
ความว่า

หลังพุทธปรินิพพานมีพระสาวกองค์หนึ่ง ชื่ออุปคุตต์มหาเถระ เป็นพระอรหันต์ บรรลุอภิญญา 6 มีฤทธานุภาพมาก สามารถปราบพญามารให้ละพยศได้ จนเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย
แล้วปรารถนาพุทธภูมิ พระอุปคุตต์มหาเถระ ได้ขอร้องให้พญามารเนรมิตพระรูปกายของพระพุทธเจ้า
พร้อมด้วยอัครสาวกซ้ายขวาดังนี้

"ท่านจงได้อนุเคราะห์แก่อาตมา ด้วยสมเด็จพระศาสดา บังเกิดในโลก เสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานเสียแล้ว
เราได้เห็นแต่ธรรมกาย บ่มิได้เห็นซึ่งพระสรีรกาย
ท่านจงสงเคราะห์นฤมิตพระรูปกายแห่งพระศาสดาจารย์ พร้อมด้วยอาการทั้งปวงสำแดงแก่เรา ให้เห็นประจักษ์กับทั้งพระอัครสาวกทั้งคู่ให้ปรากฏ…"

..........

ขุทฺทกนิกาย อปทาน เล่มที่ 32 ข้อ 139 หน้า 443

แปลไว้ใน ขุ.เถร อรรถกถานาคิตเถรคาถา ฉบับมหามกุฏฯ เล่ม 50 หน้า 413 ความว่า

"เรานั่งอยู่ในโรงทานอันกว้างใหญ่ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ
ผู้เป็นนายกของโลก ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ผู้บรรลุพลธรรม แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์
ภิกษุสงฆ์ประมาณหนึ่งแสน ผู้บรรลุวิชชา 3 ได้อภิญญา 6 มีฤทธิ์มาก แวดล้อมพระพุทธเจ้า
ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส ในมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลก ไม่มีอะไรเปรียบ
ในพระญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด

ใครได้เห็นพระสัมมาสัมพุทะเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีญาณไม่สิ้นสุดแล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า ชนทั้งหลายไม่สามารถเพื่อกำจัดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด
ผู้ทรงแสดงธรรมกาย
และผู้เป็นบ่อเกิดแห่งพระรัตนตรัยอย่างเดียวได้

ใครเล่าเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นแล้วจะไม่เลื่อมใส"

............

คัมภีร์ขุทฺทกนิกาย อุทาน ปรมตฺถโชติกา มงฺคลสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า 95
กล่าวว่า

"ทรงหักราคะ หักโทสะ หักโมหะ ไม่มีอาวะ ทรงหักบาปธรรมได้แล้ว
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า ภควา
ก็แล ความถึงพร้อมแห่งพระรูปกายของพระองค์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระบุญลักษณะนับร้อย
เป็นอันท่านแสดงด้วยความที่ทรงมีภาคยะคือบุญ
ความถึงพร้อมแห่ง พระธรรมกาย เป็นอันท่านแสดงด้วยความที่ทรงหักโทสะได้แล้ว"

...........

ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ฉบับบาลี ปี 2525 หน้า 92
ความว่า

"ดูก่อน วาเสฐะ อันว่า คำว่า ธรรมกาย ก็ดี พรหมกาย ก็ดี
ธรรมภูติ ผู้ที่เป็นธรรมก็ดี หรือ พรหมภูตะ ผู้ที่เป็นพรหมก็ดี นี่แหละเป็นชื่อของเราตถาคต

.........






















หลักฐาน ธรรมกาย ที่ปรากฏในศิลาจารึก


ศิลาจารึก ปราสาทพระขรรค์
(จารึกเป็นภาษาสันสกฤต) แปลได้ความว่า

" พระผู้มีพระภาคประกอบด้วย พระธรรมกาย อันพระองค์ยังให้เกิดขึ้นแล้วอย่างเลิศ
ด้วยการสั่งสม (บุญบารมี) ทั้งสัมโภคกาย และนิรมานกาย"

...........

. ศิลาจารึกเมืองพิมาย พิมพ์เป็นเล่มชื่อ จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แปลได้ความว่า

" ขอความนอบน้อม จงมีแด่ พระพุทธเจ้า ผู้มีนิรมานกาย ธรรมกาย
และสัมโภคกาย ผู้ล่วงพ้นภาวะและอภาวะทั้งสอง ผู้มีอาตมันเป็นสองและหาอาตมันมิได้"

ความเห็น : จารึกนี้แม้เป็นคติของมหายาน ผู้ที่ศึกษาเรื่อง ตรีกายมาบ้าง คงจะพอเข้าใจ ว่าพระพุทธเจ้ามีสามกาย คือ สัมโภคกายคือกายเนื้อ(รูปกาย)ของพระพุทธเจ้า ธรรมกายคือกายที่ตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า นิรมานกายคือกายที่พระพุทธเจ้าทำปาฏิหารหรือเนรมิต ขึ้น

..........

หลักศิลาจารึกพระธรรมกาย จารึกเมือ่ปี พ.ศ. 2092 พบที่พระเจดีย์วัดเสือ อ.เมือง จ.พิษณุโลก
(จากหนังสือ พระสมถะวิปัสสนากรรมฐานแบบโบราณ) ความว่า

" พระพุทธลักษณะคือ พระธรรมกาย มีพระเศียรอันประเสริฐคือ
พระสัพพัญญุตญาณ มีพระเกศางามประเสริฐคือ พระนิพพาน
อันเป็นผลอารมณ์แห่ง สมาบัติ มีพระนลาฏอันประเสริฐคือ จตุตถฌาน
มีพระอุนาโลมอันประเสริฐ ประกอบด้วยพระรัศมี คือพระปัญญาในมหาวชิรสมาบัติ…

พระพุทธลักษณะคือ พระธรรมกายนี้
อันโยคาวจรกุลบุตรผู้มีญานอันกล้า
เมื่อปรารถนาแห่งภาวะแห่งตน เป็นสัพพัญญูพุทธเจ้า พึงระลึกเนืองๆ…

…จึงตั้งจิตต์พิจารณาดูธรรมกายในรูปกาย ด้วยการดำเนินในโพชฌงค์ทั้ง 7 ประการ จนจิตต์รู้แจ้งแทงตลอดรูปธรรมและนามธรรมได้แล้ว จักมีตนเป็นที่พึ่ง จักมีธรรมเป็นที่พึ่ง ด้วยประการฉะนี้

พระโยคาวจรผู้รู้ว่าธรรมกาย ดำรงอยู่ในหทัยประเทศแห่งสรรพภูติ ทำให้หมุนดั่งว่าหุ่นยนต์ ท่านจึงตั้งใจเจริญพระวิปัสสนาญาณ เพื่อให้ถึงธรรมกาย
เป็นที่พึ่งอันยอดเยี่ยมโดยสิ้นเชิง ถึงสถานอันสงบระงับ ประเสริฐเที่ยงแท้
เพราะด้วยอำนาจของธรรมกายนั้นอมตะ…."

.........

คัมภีร์วิสุทธิมรรค รจนาโดยพระพุทธโฆษาจารย์ ประมาณ ปี พ.ศ. 1000 ความว่า

" …อันว่าสมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธองค์ ผู้ทรงสวัสดิภาคย์เป็นอันงามนั้น พระองค์มีพระรูปพระโฉม
พระสรีรกายอันวิจิตรด้วยทวัตติงสะมหาบุรุษลักษณะ และพระอสีตยานุพยัญชนะ 80 ทัศ
ประเสริฐด้วย พระธรรมกาย
อันบริบูรณ์ด้วยแก้ว
อันกล่าวแล้วคือ พระสีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์
วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ อันบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง…"

............










#4 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 09 February 2006 - 06:19 AM

คำว่า ธรรมกาย จาก พุทธฝ่ายมหายาน ที่เคยเผยแผ่ใน internet


**** ต้องบอกก่อนว่าพุทธมหายาน มีหลากนิกาย ซึ่งมีคำว่า ธรรมกาย ปรากฎในคัภีร์ต่างๆมากมาย
ดังนั้น ทางพุทธฝ่ายมหายาน มีความรู้เรื่องธรรมกายตกค้างเหลืออยู่มาก
แต่ความรู้เรื่องการเข้าถึงได้สูญหายไปแล้ว
ทางมหายานสามารถอธิบายได้ว่าธรรมกายมีสภาวะอย่างไร
แต่ไม่สามารถอธิบายได้ว่า มีรูปร่างเป็นอย่างไร

เนื้อหาที่ปรากฎจึงเสมือนการตีความ ในภาษาที่พุทธเถรวาทอาจไม่คุ้นเคย

อ่านเป็นความรู้เพิ่มเติมนะครับ อย่าจริงจังไป เดี๋ยวกระดานนี้จะร้อน

............

The Dharmakaya is the Body of the Law, or the absolute Buddha nature.
ธรรมกายคือกายแห่งธรรมชาติ หรือเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า

http://www.tsl.org/m...vairochana.html

..............

คัมภีร์ ลิ่ว จู่ ถั๋น จิง วู้ ซื่อ สมัยราชวงศ์ถัง
ความว่า

" ธรรมกายเป็นทางเอกที่ไร้รูป ใส สะอาดบริสุทธิ์ เป็นเรื่องที่ขบคิดด้วยปัญญาไม่ได้…

… มาเถอะกัลยาณมิตรทั้งหลาย เรื่องประพฤติธรรมนี้ ต้องเริ่มที่ใจของเรา
ไม่ว่าเวลาใดๆ ตรึกนึกภาวนา
ทำใจตนเองให้ใสบริสุทธิ์ ปฏิบัติธรรมด้วยตนเอง
เห็นธรรมกายของตนเอง เห็นจากพุทธะที่อยู่ในใจของเรา
ทำตนให้หลุดพ้น รักษาศีลด้วยตนเอง เริ่มต้นผิดจากนี้ไปมิได้… "

...........

"In the Nyingma tradition Dharmakaya is called the "Truth-State".
It is symbolized in the form of the Root-Buddha
ตามวิถีปฏิบัติของพวกนิงมาธรรมกายถูกเรียกว่า "สภาวะแห่งความจริงแท้"
และสัญลักษณ์แสดงถึงรูปแบบความเป็นต้นกำเนิดของพระพุทธเจ้า

http://www.diamondwa...age/ph-01-e.htm

.................

The sutras will be quoted to show the various interpretations given to Nirvana
until in the Mahayana it came to be identified with the highest truth or reality,
the Dharmakaya itself, and then with Suchness and Enlightenment.

พระสูตรเหล่านั้นจะแสดงความหมายหลายอย่างต่อพระนิพพาน จนกระทั่งทางมหายาน
พระนิพพานถูกแสดงด้วยสิ่งที่เป็นความจริงอันสูงสุดคือ ตัวตนของธรรมกาย ซึ่งเป็นตัวสัจจธรรมและการตรัสรู้ธรรม

Likewise the Tathagata has all his evil passions extinguished
but his Dharmakaya remains for ever.'

เช่นเดียวกับที่ ตถาคต มีความดับไปของกิเลสทั้งปวงแล้ว ยังคงเหลือแต่ธรรมกายที่ยังปรากฏอยู่เป็นนิรันดร์

In other Mahayana sutras Nirvana is identified with the Dharmakaya,
or with the Dharmadhatu where all Buddhas have their being,
or with the Buddha's deepest meditation, or with Prajnaparamita.

ในมหาปรินินิพพานสูตรอื่นของมหายาน นิพพานถูกแสดงด้วยธรรมกายหรือด้วยธรรมธาตุ ที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายยังดำรงอยู่ หรือด้วยภาวะนิโรจน์ของพระพุทธเจ้า หรือ ด้วยปรัชญาปรมิตตา

As they neither come into being nor go out of being, they are of the Dharmakaya
which abides for ever, and this is called Nirvana;

ท่านทั้งหลายไม่ทั้งกลับมามีชีวิตอยู่และไม่ไปเพื่อมีชีวิตอยู่
ท่านทั้งหลายมีความเป็นธรรมกายซึ่งคงอยู่อย่างนิจนิรันดร์ อย่างนี้เรียกว่าพระนิพพาน

All evil passions are caused by errors and have nothing to do with the Dharma-nature,
which is the master neither coming into being nor going out of being.
This is known to the Buddha and called Nirvana;

กิเลสอันลามกทั้งหลายอันเกิดจากความผิดพลาดและจากการไม่เป็นไปตามธรรมชาติของธรรมะ
ซึ่งพระศาสดาจะไม่ทั้งมาเกิดหรือไปเกิดอีก สิ่งนี้ตรัสรู้แล้วโดยพระพุทธเจ้า และเรียกว่านิพพาน

What is unreal rises from conditionality, whereas Reality transcends it,
and the Tathagata's Dharmakaya is this Reality, which is called Nirvana.

ะไรที่ยังไม่ใช่ของจริงเกิดจากความมีเงื่อนไข และด้วยเหตุที่สัจจธรรมเป็นสิ่งที่เหลือวิสัยที่จะกล่าว
และ "ธรรมกาย" ของตถาคตก็คือสัจจธรรมนั้น ซึ่งถูกเรียกว่าพระนิพพาน


http://home1.pacific...ma/nirvana.html

.............

Dharmakaya - Body of self-nature

What is body of self-nature? This is the foundation of all Buddhas,
the true and pure dharma realm, usage and equality. It is formless,
immobile, and has uncountable merits. The dharma nature is equality,
which is the truth. We may say in the dharma realm,
the pure Buddha nature is body of self-nature.

ธรรมกายคือกายอันเป็นธรรมชาติที่เป็นตัวของตัวเอง

อะไรคือกายอันเป็นธรรมชาติที่เป็นตัวของตัวเอง นี่คือรากฐานของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์
คือความจริงและความบริสุทธิ์แห่งธรรมจักร วัตรปฏิบัติและความเสมอภาค
เป็นสิ่งที่ไร้รูป(ขันธ์ 5) ไม่เคลื่อนไหว และมีบุญนับจะประมาณไม่ได้
ธรรมชาติของธรรมะคือความเสมอภาคซึ่งเป็นสัจจธรรม เราอาจกล่าวได้ว่าในธรรมจักรนั้น ธรรมชาติของพระพุทธเจ้าอันพิสุทธิ์ก็คือกายอันเป็นธรรมชาติที่เป็นตัวของตัวเองนั่นเอง

http://www.tbsn.org/...ttan/chap17.htm

..........

Samsara and nirvana manifest according to whether the mode of being (bzhugs tshul)
of the true nature, the dharmakaya, is realized or not. Even when there is realization,
dharmata (present as the ground and free from elaborations) is the creator (byed pa po)
of all that exists, samsara and nirvana.

สังสารวัฏและนิพพานประจักษ์ถึงรูปแบบของการมีชีวิตของธรรมชาติที่แท้จริง
อันคือธรรมกายไม่ว่าจะสามารถเห็นได้หรือไม่ก็ตาม
แม้เมื่อมีความเป็นจริง ธรรมมัต (คือรากฐานและความอิสระจากความถึงพร้อม)
คือผู้สร้างสิ่งที่มีอยู่แล้วนั้นทั้งหมดอันคือสังสารวัฏและนิพพาน

Mind relaxed in its own state-mind that does not identify that state,
reflexive awareness that is vivid (sa le ba) yet without any object-is the dharmakaya

ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย
รักษาสภาวะจิตนั้นว่ามันไม่ได้อยู่ที่สภาวะนั้น รักษาสติให้แจ่มใสโดยปราศจากสิ่งอื่นใด
นั่นก็คือสภาวะธรรมกาย

http://www.nitartha.org/ngengf.html


..............









The Dharmkaya Buddha is pure Energy-Awareness-Compassion-Wisdom that is infinite
ธรรมกายของพระพุทธเจ้าสะอาดบริสุทธิ์ เปี่ยมด้วยพลัง ถึงพร้อมด้วยสติ ความเมตตากรุณา และปัญญา อันเป็นอนันต์

http://isis.infinet....inpoche/qna.htm

...........

Eternal Buddha of the Lotus Sutra is the Sambhogakaya (Glorified Body),
while the historical Buddha is the Nirmanakaya (Accommodated Body).
The Ultimate Buddha, the Dharmakaya

พระพุทธเจ้าอันเป็นนิรันดร์ในพระปทุมสูตรคือสัมโภคกาย (กายแห่งเกียรติยศ ชื่อเสียง)
ขณะที่พระพุทธเจ้าในอดีตคือนิรมานกาย (กายแห่งความอารีย์)
พระพุทธเจ้าอันสูงสุดก็คือธรรมกาย

http://www.unification.net/ws/theme008

...........

No longer can the perfect Buddhas, who don the Dharmakaya glory, help man's salvation
ไม่มีพระพุทธเจ้าผู้เพียบพร้อม ผู้ถึงพร้อมด้วยรัศมีของธรรมกายพระองค์ใด ช่วยคนให้พ้นทุกข์ได้
(ต้องช่วยตัวเอง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน)

The "Open Way," no sooner hast thou reached its goal,
will lead thee to reject the Bodhisattvic body and make
thee enter the thrice glorious state of Dharmakaya (37)
which is oblivion of the World and men for ever.

"หนทางที่เปิด" ในไม่ช้าได้นำพวกท่านสู่เป้าหมาย จะนำทางให้พวกท่านสละร่างของพระโพธิสัตว์ และนำพวกท่านเข้าสู่ภาวะที่สามแห่งความรุ่งโรจน์ของธรรมกาย
ซึ่งได้หลุดพ้นจากโลกแห่งการเวียนว่ายตายเกิดของสรรพสัตว์ไปตลอดกาล

Pralyeka Buddhas are those Bodhisattvas who strive after
and often reach the Dharmakaya robe after a series of lives.

พระพุทธเจ้าปราไลคะ คือเหล่าพระโพธิสัตว์ผู้ซึ่งได้มีความพยายาม
หลังจากที่ได้เข้าถึงธรรมกายหลายครั้งหลายหนตลอดระยะเวลาหลายภพชาติ

http://www.primenet..../Theosophy.html

..........

there are many conceptions of the Buddha, for instance the Threefold personality (Trikaya)
the Body of the Truth (Dharmakaya), the Body of Wisdom (Sambhogakaya),
and the Body of phenomenal person (Nirmanakaya).

มีหลายแนวความคิดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ตัวอย่างเช่น แนวคิดเกี่ยวกับกายทั้งสาม (ตรีกาย)
คือ กายแห่งความจริง (ธรรมกาย)
กายแห่งปัญญา (สัมโภคกาย) และกายแห่งการเนรมิต (นิรมานกาย)

http://www.korealink...ages/2059.shtml

.................

Dharmakaya: In Buddhism the Dharmakaya, Sambhogakaya
and Nirmanakaya are the three "bodies" of the Buddha.

The Dharmakaya is the Body ("kaya") of Law ("Dharma"),
the Body of First Cause or the Body of Essence,
which is one with Absolute Reality.

It corresponds to the upper figure in the Chart of Your Divine Self,
the Causal Body, including the I AM Presence."

ธรรมกาย : ในศาสนาพุทธ ธรรมกาย สัมโภคกายและนิรมานกาย คือกายทั้งสามของพระพุทธเจ้า

ธรรมกายคือกายแห่งธรรมะ หรือกายแห่งแห่งธรรมชาติ
เป็นกายแรกและเป็นกายแห่งสาระ
ซึ่งเป็นกายแห่งความจริงแท้อย่างที่สุด มันอยู่ในฐานะที่สามารถแสดงความหยั่งรู้ได้ด้วยตัวเอง
ด้วยร่างกายอันไม่จิรังนี้ รวมถึงการแสดงว่า "ฉันคือปัจจุบัน"

http://www.ascension...rg/kuanyin.html

...............

The Buddha is a personification of the dharmakAya as the sambhogakAya.
The dharmakAya is the Divine Light of the Buddha. Thus,
nirvANa becomes a positive attainment rather than
a cessation of momentary existence.

พระพุทธเจ้าคือกายเนื้อของธรรมกายอาจเรียกว่าสัมโภคกาย
ส่วนธรรมกายคือกายตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า ดังนั้นนิพพานจึงเป็นสิ่งที่บรรลุได้จริงมากกว่าที่จะเป็นเพียงแค่สิ้นสุดการมีชีวิตอยู่เพียงชั่วขณะหนึ่ง

http://jhunix.hcf.jh...ka/bauddha.html

.........







ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  1005.9.jpg   160.21K   92 ดาวน์โหลด


#5 MiraclE...DrEaM

MiraclE...DrEaM
  • Members
  • 1368 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 February 2006 - 07:01 AM

อนุโมทนาบุญกับความรู้ที่หามาแบ่งปันด้วยครับ...สาธุ สาธุ สาธุ
อ้อ ตัวผมก็ได้เคยมีโอกาสเห็นพระบูชาจากเมืองจีน ที่เป็นปางแหวกตรงท้อง แล้วมีพระพุทธรูปอยู่ในท้องด้วยครับ
สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา

*********************

รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว

เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล


คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

#6 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 09 February 2006 - 07:03 AM

ลืมบอกไปว่า เนื้อหาที่ผมคัดลอกมาโพสตนั้น
์ผู้รวบรวมเป็นผู้ปฏิบัติธรรมแนวของพระมงคลเทพมุนี ( สด จนฺทสโร )

เข้าใจว่าเป็นธรรมทายาท นะครับ

จะไปค้น link ที่มาให้ครับ

dangdee









#7 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 09 February 2006 - 07:24 AM

ภาพ ตถาคตะคัพพะ พระพุทธเจ้าในท้อง


ที่คุณ MiraclE...DrEaM กล่าวถึง

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  t_gapa.jpg   8.99K   16 ดาวน์โหลด


#8 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 February 2006 - 03:12 PM

โมทนาสาธุครับ หลักฐานและรูปนี้หาดูได้ยากมากครับสาธุครับ
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#9 ฟ้ายังฟ้าอยู่

ฟ้ายังฟ้าอยู่
  • Members
  • 2511 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 February 2006 - 08:08 PM

ดีจังเลยค่ะ
"เกิดมาว่าจะมาหาแก้ว พบแล้วไม่กำจะเกิดมาทำไม
อ้ายที่อยากมันก็หลอก อ้ายที่หยอกมันก็ลวง ทำให้จิตเป็นห่วงเป็นใย.."
พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร)


#10 LiL' Faery

LiL' Faery
  • Members
  • 1160 โพสต์
  • Location:@ Time : Europe
  • Interests:Basic and Advance Meditation;วิชชา ธรรมกาย<br />Birth Day : 19 January

โพสต์เมื่อ 10 February 2006 - 12:06 AM

Splendid!! Excellent !! Well done!! Great!! ( applause + thumps and lil'fingers ) + (wai)
Thank you and Sa thu kah!! x3 happy.gif Beautiful crystal Buddha kah....may I save and copy it pls? happy.gif
คุณครูไม่ใหญ่ บอกว่า :
1. อดีตที่ผิดพลาด ลืมให้หมด 2. บาปทุกชนิดไม่ทำเพิ่มเด็ดขาด 3. หมั่นนึกถึงบุญอย่างสม่ำเสมอ
4. บุญทุกบุญทำให้เข้มข้นทับทวี 5. ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย

ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ _/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ ^_^ ด้วยรักจากใจ ด้วยห่วงใย จากใจจริง

#11 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 18 March 2007 - 02:49 PM

กราบอนุโมทนาบุญครับ สาธุ สาธุ สาธุ