ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

สังเกต​, ​สังเกต​ ​และ​สังเกต​ 'Observe, observe and observe'


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 4 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 kuna

kuna
  • Members
  • 780 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 03 August 2008 - 06:02 PM

คอลัมน์​ ​จับจิต​ด้วย​ใจ​ ​โดย​ ​นพ​.​วิธาน​ ​ฐานะวุฑฒ์​ [email protected]

สมัยที่ผมเรียน​อยู่​ชั้นประถมศึกษา​ ​ผม​จะ​ชอบวิชาวิทยาศาสตร์มาก​เป็น​พิ​เศษ​ ​ส่วน​หนึ่ง​เป็น​เพราะ​คุณครูประกอบ​ ​นวลละออง​ ​ซึ่ง​ท่าน​เป็น​ครูวิชาวิทยาศาสตร์ของผม​ใน​สมัย​นั้น​ชอบเล่า​เรื่อง​ ​คุณครูประกอบ​จะ​เล่า​เรื่องของนักวิทยาศาสตร์ดังๆ​ ​หลายท่าน​ ​ที่ผมจำ​ได้​อย่างแม่นยำ​ที่สุดก็คือคุณครู​เล่า​เรื่องของโทมัส​ ​อัลวา​ ​เอดิสัน​ ​การคิด​ค้น​การประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ​ ​ของ​เขา​กว่า​จะ​ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าสำ​เร็จ​ ​เอดิสันก็​ต้อง​ทดลองอะ​ไรต่างๆ​ ​มากมายแสนสาหัส

ฟังดู​เหมือนแสนสาหัส​ ​แต่​ถ้า​เอดิสันรู้สึกว่า​ "สาหัส" ​เขา​ก็คง​ไม่​ทำ​ ​การที่​เขา​ยัง​สนุกสนาน​อยู่​กับ​การ​ค้น​คว้าสิ่งต่างๆ​ ​นั้น​ ​แสดงว่า​ ​"​เขา​น่า​จะ​ไม่​ได้​รู้สึกว่าหนักหนาสาหัส" ​กับ​การกระทำ​ของ​เขา​กระมัง

และ​สิ่งที่ผมฝังใจมากสำ​หรับการ​เป็น​นักวิทยาศาสตร์ที่คุณประกอบสอน​ไว้​ก็คือ​ ​"​ต้อง​ช่างสังเกต" ​แต่​ใน​ทางปฏิบัติ​ ​ด้วย​สา​เหตุอะ​ไรก็​ไม่​ทราบ​ ​ผมกลับ​ไม่​สามารถ​นำ​พา​ให้​ชีวิตจริงๆ​ ​มี​ "การสังเกต" ​อย่างจริงๆ​ ​จังๆ​ ​ได้​ ​เพียงคิด​และ​รู้​และ​ก็​เข้า​ใจว่า​ "นักวิทยาศาสตร์​ต้อง​เป็น​คนช่างสังเกต" ​และ​ผมเพิ่งกลับมานึก​ถึง​คำ​ว่า​ "สังเกต" ​ของคุณครูประกอบ​ได้​อีกครั้งหนึ่งเมื่อสามสี่ปีนี้​เอง

ใน​ครั้ง​นั้น​ท่าน​ ​อ​.​หมอประ​เวศ​ ​วะสี​ ​ได้​พูด​ถึง​ "ทฤษฎีตัวยู​" (อักษร​ U ​ใน​ภาษาอังกฤษ) ​ใน​การประชุมจิตวิวัฒน์ครั้งหนึ่ง​ ​เป็น​ "ทฤษฎี​ U" ​ที่​เขียน​อยู่​ใน​หนังสือที่ชื่อ​ "Presence" ​ซึ่ง​เขียน​โดย​นักปรัชญาทางสังคมดังๆ​ ​หลายท่าน​ ​เช่น​ ​ปี​เตอร์​ ​เซ็งเก​, ​โจเซฟ​ ​จาวอสกี้​, ​ออตโต​ ​ชาร์มเมอร์​ ​และ​เบตตี้​ ​ชูว์

ใน​หนังสือเล่มนี้พูด​ถึง​ "ทฤษฎี​ U" ​ว่า​เป็น​กลไกการเรียนรู้ที่สำ​คัญของมนุษย์​ใน​การที่​จะ​ ​"​ไม่​เลือก​ใช้​" ​สิ่งที่รู้​อยู่​เดิมๆ​ ​เก่าๆ​ ​แบบปฏิกิริยา​ ​เช่น​ ​ถ้า​เรา​ได้​รับรู้อะ​ไรบางอย่าง​เข้า​มามนุษย์ก็มี​แนวโน้มที่​จะ​เลือกสิ่งเดิมๆ​ ​พฤติกรรมเดิมๆ​ ​ใน​การมีปฏิกิริยาต่อสิ่ง​นั้น​ ​สมมุติว่า​เห็นคนแต่งตัวโทรมๆ​ ​ไว้​หนวดเครารุงรัง​และ​หน้าดุร้ายเดิน​เข้า​มาหา​เรา​ ​เราก็มัก​จะ​ต้อง​กลัวว่า​เขา​จะ​มาทำ​ร้าย​ไว้​ก่อน​ ​เป็น​ต้น

ใน​ทฤษฎียู​นั้น​บอกว่า​ ​ถ้า​เรา​ไม่​ตัดสินเรื่องราวแบบรวด​เร็ว​เกินไปนัก​ ​เฝ้ารอ​และ​ลองดำ​ดิ่งลงไปที่​ "ก้นตัวยู​" ​เราอาจ​จะ​ได้​ "ทางเลือก" ​อะ​ไร​ ​"​ใหม่​" ​ที่ก่อเกิดขึ้นมา​ใน​ความ​คิดของเรา​ได้

ที่​ "ก้นตัวยู​" ​นั้น​จะ​มี​ "การก่อเกิด" ​ของสิ่ง​ใหม่​ที่​ ​อ​.​หมอประ​เวศ​ใช้​คำ​ว่า​ "ผุดบังเกิด" ​หรือ​ "​โผล่ปรากฏ" ​เกิดขึ้นมา​เหมือน​กับ​ที่นักวิทยาศาสตร์อย่างเอดิสันเกิดปิ๊งแว้บ​ใน​งานทดลองของ​เขา​อยู่​เนืองๆ​ ​เหมือนอย่างที่อาคิมิดิสร้องคำ​ว่ายู​เรก้า​ ​เมื่อล้มตัวลงไป​ใน​อ่างน้ำ​ ​หรือ​อื่นๆ​

และ​ขั้นตอนสำ​คัญที่สุดที่​จะ​เดินลงไปสู่​ "ก้นตัว​ U" ​ได้​ก็คือ​ ​ต้อง​ไต่​ไปตาม​ "ขาลงของตัว​ U" ​และ​ขาลงของตัวยู​นั้น​ ​จะ​ต้อง​เริ่มต้น​ด้วย​ "การสังเกต​ ​สังเกต​ ​และ​สังเกต" ​ซึ่ง​ออตโต​ ​ชาร์มเมอร์​ ​ผู้​เป็น​เจ้าของทฤษฎียู​ได้​เขียน​ไว้​ที่ขาลงตัวยู​ด้วย​คำ​ว่า​ "observe, observe and observe" ​ย้ำ​สามครั้งตามสไตล์​เยอรมันของแท้

ตรงนี้​เองที่คำ​ว่า​ "สังเกต" ​ได้​กลับ​เข้า​มา​ใน​ชีวิตของผมอีกครั้งหนึ่งว่า​ "การสังเกต" ​นั้น​เป็น​สิ่งสำ​คัญสำ​หรับชีวิตของมนุษย์ธรรมดาๆ​ ​อย่างผม​และ​ท่าน​ผู้​อ่านทุกๆ​ ​ท่าน​ด้วย​ ​อาจ​จะ​ไม่​ต้อง​รอ​ให้​เป็น​ "นักวิทยาศาสตร์​" ​เท่า​นั้น​ที่​จะ​ต้อง​มีทักษะของการสังเกต

ถึง​ตรงนี้ก็อาจ​จะ​มีคำ​ถามนะครับว่า​ "สังเกตอะ​ไร​หรือ​?" ​ก็คง​จะ​ตอบว่า​ "สังเกตทุกสิ่งทุกอย่าง" ​ที่​เกิดขึ้นจริงๆ​ ​ณ​ ​เวลานี้​เดี๋ยวนี้ว่ามีอะ​ไรบ้าง

สังเกตเพื่อการรับรู้​เต็มร้อย​กับ​สถานการณ์หนึ่งๆ​ ​ที่​เกิดขึ้น​ใน​ตัวเรา​และ​รอบๆ​ ​ตัวเรา​ ​เช่น

สังเกตว่าขณะนี้ร่างกายของเรา​เป็น​อย่างไร​ ​ส่วน​ไหนตึง​ ​ส่วน​ไหนปวดเมื่อย​ ​ส่วน​ไหนสบายๆ​ ​ลมหายใจของเรา​เป็น​อย่างไร​ ​ช้า​หรือ​เร็ว​ ​ลึก​หรือ​ตื้น​ ​เรากำ​ลังคิดเรื่องอะ​ไร​อยู่​ ​เรากำ​ลังรู้สึกอย่างไร​ ​อารมณ์ของเรา​เป็น​อย่างไร

จาก​นั้น​ก็อาจ​จะ​สังเกตสิ่งรอบๆ​ ​ตัว​ ​อากาศ​เป็น​อย่างไร​ ​ร้อน​หรือ​หนาว​หรือ​พอดีๆ​ ​มีลมพัด​หรือ​ไม่​อย่างไร​ ​มองเห็นอะ​ไร​อยู่​ ​ได้​ยินเสียงอะ​ไร​อยู่​ ​กำ​ลัง​ได้​กลิ่นอะ​ไร​อยู่​ ​รับรู้สิ่งที่​เห็นพร้อมๆ​ ​กับ​สังเกตปฏิกิริยาที่ร่างกายของเราที่อาจ​จะ​เปลี่ยนแปลงไป​จาก​เดิมเมื่อเวลาผ่านไปเพียง​ไม่​กี่วินาที​หรือ​ไม่​กี่นาที

ลองสังเกตทุกอย่าง​ใน​ทุกกิจกรรมของชีวิต​ ​ไม่​ว่า​จะ​เป็น​การเดิน​ ​การนั่ง​ ​การกินอาหาร​ ​การขับรถ​ ​การประชุม​ ​หรือ​อื่นๆ​ ​เพราะ​ "การสังเกต" ​จะ​ช่วย​ให้​เรา​ "มองเห็น" ​สิ่งที่​ "​เรา​เคยมอง​ไม่​เห็น" ​มาก่อน​ ​ทำ​ให้​เรา​ได้​ "รับรู้​" ​สิ่งที่​เรา​ไม่​เคย​ได้​รับรู้มาก่อน​ ​ช่วย​ทำ​ให้​ "จุดบอด" ​ใน​ชีวิตของเราหายไป​ ​ผมมีสมมติฐาน​อยู่​ว่า​ ​ปัญหาต่างๆ​ ​ของพวกเรา​แต่ละคนก็มัก​จะ​อยู่​ใน​ "จุดบอด" ​ที่​เรามอง​ไม่​เห็นนั่นเอง

"การสังเกต" ​ยัง​จะ​ช่วย​ทำ​ให้​เรา​ได้​ "รับรู้​ถึง​ความ​สด​ใหม่​เสมอ" ​ของการมีชีวิต​เพราะ​แต่ละวินาที​แต่ละนาที​ ​ร่างกายของเรา​จะ​ไม่​เหมือนเดิมอีกต่อไป​แล้ว​ ​ต่อเมื่อเราสังเกตเรา​จึง​จะ​มองเห็น

ใน​เบื้องต้น​นั้น​ ​เรา​เพียงฝึกสังเกตสิ่งที่​เกิดขึ้นตามที่​เป็น​ไป​เท่า​นั้น​ ​ยัง​ไม่​ต้อง​พยายามที่​จะ​ไปทำ​อะ​ไร​ ​เพราะ​การสังเกต​เป็น​เหมือนประตู​เข้า​ไปสู่ก้นตัวยู​ ​เรา​จะ​สามารถ​คิดอะ​ไรดีๆ​ ​ออก ต่อเมื่อเรา​สามารถ​ดำ​ดิ่งลงไป​ถึง​ก้นตัวยู​ได้​เท่า​นั้น​ ​นอก​จาก​นั้น​ที่ก้นตัวยู​ ​เรา​จะ​ยัง​ได้​พบ​กับ​ ​"​ความ​หมายที่​แท้จริงของชีวิต" ​ของเราอีก​ด้วย

ทิม​ ​กัลเวย์​ ​ผู้​เขียนหนังสือที่​เกี่ยว​กับ​กระบวนการเรียนรู้ที่สำ​คัญอีกท่านหนึ่งพูด​ถึง​ "การตื่นรู้​เมื่อเราสังเกต" ​ไว้​ว่า​ ​เหมือน​กับ​การที่​เราฉายแสงส่องไฟไป​ยัง​ส่วน​ที่มืดของชีวิตของเรา

และ​เมื่อเรามองเห็นเรา​จึง​จะ​สามารถ​เกิด​ความ​สนุก​ ​ความ​สุข​ ​และ​ความ​เบาสบาย​ ​อย่างที่ควร​จะ​เป็น​ ​อย่างที่มนุษย์ทุกคน​จะ​สามารถ​สัมผัส​ได้

ต่อเมื่อเรา​ "สังเกต​เป็น"​ ​เท่า​นั้น​เรา​จึง​จะ​สามารถ​ ​"​ใช้​ชีวิต​ได้​เต็มร้อยจริงๆ​"

ก่อนที่สิ่งต่างๆ​ ​รอบตัวของยุคสมัย​ใหม่​จะ​ทำ​ให้​เรากลายไป​เป็น​หุ่นยนต์​ "ที่​ไม่​รู้สึกรู้สาอะ​ไร" ​กับ​สิ่งที่​เกิดขึ้น​ทั้ง​ใน​ตัว​และ​รอบๆ​ ​ตัวเรา

ซึ่ง​จะ​ค่อยๆ​ ​ทำ​ให้​เรากลายไป​เป็น​ "สิ่งมีชีวิตที่​ไม่​มีชีวิต" ​ไป​ได้​อย่างน่า​เสียดาย


***​ที่มา​: ​หนังสือพิมพ์มติชน​ ​วันที่​ 3 ​สิงหาคม​ ​พ​.​ศ​. 2551 ​ปีที่​ 31 ​ฉบับ​ที่​ 11103 , ​หน้า​ 6






#2 suppy001

suppy001
  • Members
  • 2210 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 August 2008 - 01:30 PM

ในพระพุทธศาสนาเรียกว่ามีโยนิโสมนสิการ คือการพิจารณาอย่างแยบคาย

#3 usr21238

usr21238
  • Members
  • 233 โพสต์

โพสต์เมื่อ 05 August 2008 - 09:00 PM

สาธุ

#4 กาแฟเย็น

กาแฟเย็น
  • Members
  • 121 โพสต์
  • Location:milan
  • Interests:วาดการ์ตูน เล่นคอมกับโปรแกรมแต่งรูปต่างๆ ชอบถ่ายรูปอยู่เหมือนกัน

โพสต์เมื่อ 11 August 2008 - 03:28 AM

ดีจัง ขอบคุณเจ้าของกระทู้คับ

#5 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 11 August 2008 - 12:30 PM

เป็นกระทู้ที่ดีมากครับ
QUOTE
" การสังเกต" ​จะ​ช่วย​ให้​เรา​ "มองเห็น" ​สิ่งที่​ "​เรา​เคยมอง​ไม่​เห็น" ​มาก่อน​ ​
ทำ​ให้​เรา​ได้​ "รับรู้​" ​สิ่งที่​เรา​ไม่​เคย​ได้​รับรู้มาก่อน​ ​ช่วย​ทำ​ให้​ "จุดบอด" ​ใน​ชีวิตของเราหายไป​


ผมชอบประโยคนี้มากครับ
แต่คิดต่างในประเด็นที่ว่า

การสังเกต อาจทำให้เรามองเห็น จุดบอด ได้ก็จริง
แต่
เพียงแค่ช่วยให้เรา มองเห็น จุดบอด ที่มีอยู่ เท่านั้น
เพียงแค่ช่วยให้เรา มองเห็น จุดบอด ไม่เคยเห็น หรือไม่เคยมองมาก่อนเท่านั้น
ไม่ถึงกับช่วยทำให้ จุดบอด หายไป หรอกกระมังครับ

ไม่อย่างนั้น หากมนุษย์มองเห็นข้อผิดพลาด สาเหตุความทุกข์ สาเหตุของปัญหางานและสุขภาพ
ก็คงหมดปัญหา หมดทุกข์ ร่างกายก็แข็งแรง ได้แล้วสิ

ผมมองว่า
การสังเกต จนมองเห็นจุดบอด ( สาเหตุปัญหาและความทุกข์ ) ตามทฤษฎีของนักคิดนั้น

ในทางพระพุทธศาสนา คงเสมือน เห็นอริยสัจ แค่ ๒ คือ ทุกข์และสมุทัย เท่านั้น
แค่ ๒ อย่างนี้ยังไม่สามารถดับทุกข์ หรือ ทำให้จุดบอดในชีวิตหายไปได้หรอกครับ
เพราะยังขาดอริยสัจ อีก ๒ คือ นิโรธและมรรค ครับ
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม