- ธรรมะสร้างกำลังใจ ทำให้คุณเป็นสุขใจได้ตลอดเวลา
- → ดูโปรไฟล์: กระทู้: feyhong
สถิติเว็บบอร์ด
- กลุ่ม Members
- โพสต์ 119
- ดูโปรไฟล์ 8726
- อายุ 44 ปี
- วันเกิด เมษายน 1, 1980
-
Gender
ไม่เปิดเผย
-
Location
13 หมู่ 1 ต.ท่าคล้อ อ.ก่งคอย จ.สระบุรี
-
Interests
computer,multimedai,wushu,miditation,the king
0
Neutral
เครื่องมือผู้ใช้งาน
กระทู้ที่ฉันเริ่ม
ยีราฟและสิงโต
17 October 2008 - 09:38 PM
เมื่อยีราฟเตะสิงโตจนได้แผลใน โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา สิงโตจึงใช้ดวงปัญญาอีกที
เปลี่ยนเนื้อ
31 July 2008 - 08:41 PM
อยากให้เปลี่ยนเนื้อร้องเพลงต้องสู้จึงจะชนะจากเดิม .....พรหมท่านลิขิตไว้ให้เป็น...
มาเป็น ...กรรมเก่าลิขิตไว้ให้เป็น....
ดีไหมครับ
มาเป็น ...กรรมเก่าลิขิตไว้ให้เป็น....
ดีไหมครับ
อยากได้ File ต้นฉบับของอนิ่เมชั่นสวรรค์ครับ
09 July 2008 - 09:24 PM
ผมเป็นผู้นำบุญจังหวัดลพบุรี(ศูนย์ปฏิบัติธรรมพุทธรัตน์) กำลังจะทำอนิเมชั่นโลโกของศูนย์ฯเป็นแบบสามมิติ คล้ายๆของชมรมพุทธฯ แต่ความรู้ในการทำโมเดลสามมิติของผมมีน้อยมาก(อันที่จริงไม่มีเลยจะถูกกว่า)
เคยทำไปเสนอพระอาจารย์แล้วแต่พระอาจารย์บอกว่า ให้กลับมาทำให้อลังการกว่าเดิม จึงอยากโมเดลสามมิติที่เป็นรูปดอกบัวสวยๆสีชมพูและโมเดลสามมิติรูปพระธรรมกาย ที่ใช้กับโปรแกรม3D Max9 ได้มาช่วยให้งานง่ายขึ้น มีใครพอจะมีบ้างครับ หรือสามารถขอได้ที่ไหนบ้างครับ ถ้าเป็นไปได้ เห็นดอกบัวในอนิเมชั่นสวรรค์ชุดล่าสุดสวยมากๆจะสามารถขอได้ที่ไหนครับ
อนุโมทนาบุญ และขอบคุณล่วงหน้าครับ
เคยทำไปเสนอพระอาจารย์แล้วแต่พระอาจารย์บอกว่า ให้กลับมาทำให้อลังการกว่าเดิม จึงอยากโมเดลสามมิติที่เป็นรูปดอกบัวสวยๆสีชมพูและโมเดลสามมิติรูปพระธรรมกาย ที่ใช้กับโปรแกรม3D Max9 ได้มาช่วยให้งานง่ายขึ้น มีใครพอจะมีบ้างครับ หรือสามารถขอได้ที่ไหนบ้างครับ ถ้าเป็นไปได้ เห็นดอกบัวในอนิเมชั่นสวรรค์ชุดล่าสุดสวยมากๆจะสามารถขอได้ที่ไหนครับ
อนุโมทนาบุญ และขอบคุณล่วงหน้าครับ
ประวัติบ่อนการพนันถูกกฎหมายในแผ่นดินสยาม
07 March 2008 - 12:47 AM
***หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือระบุเอาไว้ว่า ประมาณปี พ.ศ.1450 มีการเล่นการพนันที่เรียกว่า ‘กำถั่ว’ แล้ว และประมาณ พ.ศ.2100 ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ สมัยอยุธยามีการเล่นการพนันที่เรียกว่า ‘โป’ อีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์จะค่อนข้างเลือนลาง แต่ก็เป็นที่รับรู้กันว่า คนไทยนั้นนิยมเล่นการพนันเป็นอย่างมาก ดังปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรจากบันทึกของ ‘มองสิเออร์ เดอ ลาลูแบร์’ (Monsieur De La Loubere) เอกอัครราชทูตพิเศษฝรั่งเศส ซึ่งพระเจ้า หลุยส์ที่ 14 ส่งเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ในปี พ.ศ.2230 ลาลูแบร์บันทึกเอาไว้ว่า
“ชาวสยามอยู่ข้างค่อนรักเล่นการพนันเสียเหลือเกิน จนถึงจะยอมผลาญตัวเองให้ฉิบหายได้ ทั้งเสียอิสรภาพความชอบธรรมของตัวหรือลูกเต้าของตัว ด้วย ในเมืองนี้ใครไม่มีเงินพอจะใช้เจ้าหนี้ได้ก็ต้องขายลูกเต้าของตัวเองลงใช้หนี้สิน และถ้าแม้ถึงเช่นนี้แล้วก็ยังมิพอเพียง ตัวของตัวเองก็ต้องกลายตกเป็นทาส การละเล่นพนันที่ไทยรักเป็นที่สุดนั้นก็คือ ติกแตก ชาวสยามเรียกว่า สะกา...”
สำหรับรูปแบบการเล่นการพนันซึ่งเป็นนิยมกันนั้น โดยมากมักใช้ ‘สัตว์’ ตั้งแต่ขนาดเล็ก เช่น จิ้งหรีดและปลากัด ไปจนถึงสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น วัว ควาย หรือช้าง ทั้งนี้ สัตว์ที่มาแรงที่สุดเห็นจะหนีไม่พ้น ‘ไก่ชน’ โดยที่เจ้าของบ่อนจะหักเงินค่าบำรุงบ่อนอย่างน้อยร้อยละ 10 จากจำนวนเงินเดิมพัน
ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไป และประเทศไทยเริ่มติดต่อทำมาค้าขายกับชาวต่างชาติ มากขึ้น การพนันรูปแบบใหม่ๆ ก็ได้หลั่งไหลเข้ามาเพิ่มเป็นลำดับ และหนึ่งใน การพนันที่ปรากฏขึ้นและได้รับความ นิยมคือ การเล่นถั่วโปซึ่งมีข้อสันนิษฐานที่น่าเชื่อถือได้ว่า เข้ามาเป็นครั้งแรก ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ระหว่างปี พ.ศ.2231- พ.ศ.2275 อาจเป็นสมัย พระเพทราชา พระเจ้าเสือหรือพระเจ้าท้ายสระ องค์ใดองค์หนึ่ง โดยได้รับอนุญาตจากรัฐบาลและรัฐก็เก็บภาษีจากการเล่นนี้
สาเหตุที่มีการตั้งบ่อนเบี้ย(สถานที่เล่นถั่วโป) นั้น เป็นผลมาจากชาวจีนที่เข้า มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมัยนั้นยังติดนิสัยเล่นเบี้ยกันเป็นจำนวนมาก โดยในระยะแรกไม่ได้เข้าไปควบคุมการเล่นแต่อย่างใด จนทำให้คนไทยนิยมเล่นบ้าง กระทั่งเมื่อจำนวนผู้เล่นเพิ่มมากขึ้น รัฐจึงเห็นว่าควรจะมีการควบคุมบ่อนเบี้ยเนื่องจากไม่สามารถห้ามปรามไม่ให้เล่นได้เด็ดขาดและมีการตั้งบ่อนเบี้ย ขึ้นโดยกำหนดให้มีการเล่นได้เพียงบางพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่มีชาวจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากเท่านั้น โดยห้ามคนไทยเข้าไปเล่น ทว่า การห้ามดังกล่าวก็ไม่มีผลอย่างใด เพราะคนไทยก็ลักลอบเล่นเหมือนเดิม รัฐจึงต้องอนุญาตให้ตั้งบ่อนสำหรับคนไทยขึ้น ดังนั้น จึงเกิดบ่อนเบี้ย 2 ประเภทคือ บ่อนเบี้ยจีนและบ่อนเบี้ยไทย ซึ่งข้างในต่างก็เล่นการพนันชนิดเดียวกัน เช่น การเล่นกำตัด กำถั่ว และไพ่งา เป็นต้น
‘สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ’ ได้ทรงนิพนธ์เอาไว้ใน ‘ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 17 เรื่องตำนานการเลิกบ่อนเบี้ยและเลิกหวย’ ว่า ในการจัดเก็บอากรบ่อนเบี้ยนั้น เดิมทีเก็บเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาบ่อน หรือให้เป็นค่าป่วยการ หรือเงินเดือนแก่ผู้รักษาบ่อน มิได้มีความมุ่งหมายในการจัดเก็บเพื่อเป็นผลประโยชน์ให้แก่รัฐ วิธีการเก็บอากรบ่อนเบี้ยในสมัยนั้น นายบ่อนจะไม่เกี่ยวข้องกับการเล่น จะมีเฉพาะพวกนักเลงบ่อนผลัดกันเป็นเจ้ามือ โดยนายบ่อนจะคอยเก็บส่วนลดจากผู้ที่ได้เงินจากการพนัน ซึ่งเรียกว่า ‘การเก็บหัวเบี้ย’ และธรรมเนียมการเก็บหัวเบี้ยนี้ได้มีการใช้กันจนกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ ต่อมาเมื่อมีการเล่นโปเกิดขึ้น จึงเปลี่ยนให้นายบ่อนเป็นเจ้ามือแต่เพียงผู้เดียว ถึงแม้รัฐจะได้ภาษีจากโรงบ่อนเบี้ยมากเพียงใดก็ตาม แต่ก็ไม่มีนโยบายสนับสนุนให้คนไทยเล่นการพนัน เช่น ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมีการห้ามไม่ให้ข้าราชการเล่นการพนัน และหากข้าราชการผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษเฆี่ยนตี 90 ที พร้อมทั้งถอดยศบรรดา ศักดิ์ลงเป็นไพร่ เป็นต้น
เมื่อก้าวย่างเข้าสู่ยุคสมัยของกรุงธนบุรี เงื่อนไขในการเข้มงวดเรื่องบ่อนก็เปลี่ยนแปลง ไป เมื่อไม่ปรากฏข้อห้ามให้คนไทยเล่นเบี้ย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอยู่ในช่วงสงคราม ปราบปรามก๊กต่างๆ บรรดาผู้ที่ถูกเกณฑ์ ไปออกรบล้วนเหน็ดเหนื่อยกับชีวิตสงครามที่ค่อนข้างยาวนาน จึงอนุญาตให้ทหารและแม่ทัพนายกองทั้งหลายเล่นพนันได้ตามสมควรในช่วงวันหยุดนัก ขัตฤกษ์ต่างๆ รวมทั้งอนุญาตให้ราษฎรทั่วไปเล่นการพนันได้ด้วย
ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ทรงไม่เห็นด้วยที่จะให้เล่นการพนันหรือเล่นเบี้ยแบบสมัยธนบุรี แต่ยังคงยอมให้มีบ่อนเบี้ยอยู่บ้างโดยเก็บอากรแผ่นดิน อย่างไรก็ตาม ทรงเคร่งครัดเรื่องการพนัน กับการดื่มสุรามากขึ้นกับข้าราชการด้วยการออกพระราชกำหนดเมื่อปี พ.ศ. 2325 ห้ามข้าราชการเล่นบ่อนเบี้ยและเสพสุรา
ก้าวล่วงเข้าสู่สมัยรัชกาลที่ 2 การเล่น พนันยังคงอยู่ต่อไปและสามารถเก็บอากรบ่อนเบี้ยได้ปีละ 260,000 บาท
ในสมัยรัชกาลที่ 3 เคยมีการสนับสนุนให้เล่นการพนันเพื่อเก็บภาษีอากร ที่เรียกกันว่า ‘อากรบ่อนเบี้ย’ และ ‘อากรหวย’ เฉพาะสำหรับอากรบ่อนเบี้ยนั้น หมายถึงเงินที่เก็บจากผู้ประมูลขอตั้งบ่อนการพนันถั่วและโปในราชอาณาจักร ซึ่งอากรทั้งสองประเทศสามารถสร้างรายได้ให้แก่รัฐเป็นจำนวนมาก คือปีละ 400,000 บาท
ขณะที่ในช่วงรัชกาลที่ 4 ผลของการที่ไทยได้ทำสัญญาผูกพันกับต่างประเทศ ต้องยกเลิกภาษีผูกขาดหลายประเภทจนเป็นเหตุให้รายได้ของแผ่นดินลดลง จึงได้ มีการปรับปรุงภาษีอากรหลายประเภท และได้กำหนดภาษีการพนันเพิ่มขึ้นจาก อากรบ่อนเบี้ยอีกประเภทหนึ่งและสามารถ เก็บภาษีได้สูงถึงปีละ 500,000 บาท
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช ก็ทรงพิจารณาเห็นว่า คนไทยติดการพนันกันงอมแงม เป็นหนี้เป็นสิน เสียผู้เสียคนกันทั่วบ้านทั่วเมือง จึงทรงประกาศให้เลิกการพนัน(เมื่อวันอังคาร เดือนอ้าย แรม ๑๓ ค่ำ ปีกุน พ.ศ.๒๔๓๐) โดยลดจำนวนบ่อนลงเรื่อยๆ โดยมิได้ทรงห่วงว่า เงินท้องพระคลังจะลดลงถึงปีละ ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ถ้าคิดเป็นเงินปัจจุบันอาจจะมากกว่า ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาทก็ได้) ถึงปี พ.ศ.๒๔๓๒ ทรงประกาศยกเลิกบ่อนเบี้ยในกรุงเทพฯ อีกปีละ ๑๐ ตำบล และเมื่อถึงปี พ.ศ.๒๔๔๑ ทรงประกาศยกเลิกบ่อนเบี้ยตามหัวเมืองในมณฑลต่างๆ จวบจนถึงปี พ.ศ.๒๔๖๐ (ในสมัยรัชกาลที่ ๖) จึงมีพระราชบัญญัติห้ามมิให้ใครเล่นถั่วโปในราชอาณาจักรอีกต่อไปได้มีประกาศปิดบ่อนทั่วราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๐ สำหรับการเปลี่ยนแปลงหลังจากนั้น ได้มีการตรากฎหมายการพนันฉบับแรกในปี พ.ศ.2473 ซึ่งเป็นการรวบรวมกฎหมายการพนันต่างๆ มาไว้ในที่เดียว กัน และมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอีกครั้ง โดยออกเป็น พ.ร.บ. การพนัน พ.ศ. 2478 พร้อมทั้งมีการเพิ่มเติมการเล่นพนันประเภทต่างๆ จนกลายมาเป็นกฎหมายฉบับปัจจุบัน
***จากบทความดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ทรงลำบากอย่างมากกว่าจะสามารถกำจัดหายนะนี้ไปจากแผ่นดินไทยได้ พวกเราเหล่าลูกหลานผู้สืบแผ่นดินของพระองค์จึงมิควรอย่างยิ่งที่จะทำให้การพนันหวนกลับมาทำลายสังคมไทยอีก หากแต่ควรช่วยกันฟื้นฟูศีลธรรมให้ประชาชนมีจิตสำนึกที่ดี จึงจะเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้องและถูกที่มากกว่า
“ชาวสยามอยู่ข้างค่อนรักเล่นการพนันเสียเหลือเกิน จนถึงจะยอมผลาญตัวเองให้ฉิบหายได้ ทั้งเสียอิสรภาพความชอบธรรมของตัวหรือลูกเต้าของตัว ด้วย ในเมืองนี้ใครไม่มีเงินพอจะใช้เจ้าหนี้ได้ก็ต้องขายลูกเต้าของตัวเองลงใช้หนี้สิน และถ้าแม้ถึงเช่นนี้แล้วก็ยังมิพอเพียง ตัวของตัวเองก็ต้องกลายตกเป็นทาส การละเล่นพนันที่ไทยรักเป็นที่สุดนั้นก็คือ ติกแตก ชาวสยามเรียกว่า สะกา...”
สำหรับรูปแบบการเล่นการพนันซึ่งเป็นนิยมกันนั้น โดยมากมักใช้ ‘สัตว์’ ตั้งแต่ขนาดเล็ก เช่น จิ้งหรีดและปลากัด ไปจนถึงสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น วัว ควาย หรือช้าง ทั้งนี้ สัตว์ที่มาแรงที่สุดเห็นจะหนีไม่พ้น ‘ไก่ชน’ โดยที่เจ้าของบ่อนจะหักเงินค่าบำรุงบ่อนอย่างน้อยร้อยละ 10 จากจำนวนเงินเดิมพัน
ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไป และประเทศไทยเริ่มติดต่อทำมาค้าขายกับชาวต่างชาติ มากขึ้น การพนันรูปแบบใหม่ๆ ก็ได้หลั่งไหลเข้ามาเพิ่มเป็นลำดับ และหนึ่งใน การพนันที่ปรากฏขึ้นและได้รับความ นิยมคือ การเล่นถั่วโปซึ่งมีข้อสันนิษฐานที่น่าเชื่อถือได้ว่า เข้ามาเป็นครั้งแรก ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ระหว่างปี พ.ศ.2231- พ.ศ.2275 อาจเป็นสมัย พระเพทราชา พระเจ้าเสือหรือพระเจ้าท้ายสระ องค์ใดองค์หนึ่ง โดยได้รับอนุญาตจากรัฐบาลและรัฐก็เก็บภาษีจากการเล่นนี้
สาเหตุที่มีการตั้งบ่อนเบี้ย(สถานที่เล่นถั่วโป) นั้น เป็นผลมาจากชาวจีนที่เข้า มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมัยนั้นยังติดนิสัยเล่นเบี้ยกันเป็นจำนวนมาก โดยในระยะแรกไม่ได้เข้าไปควบคุมการเล่นแต่อย่างใด จนทำให้คนไทยนิยมเล่นบ้าง กระทั่งเมื่อจำนวนผู้เล่นเพิ่มมากขึ้น รัฐจึงเห็นว่าควรจะมีการควบคุมบ่อนเบี้ยเนื่องจากไม่สามารถห้ามปรามไม่ให้เล่นได้เด็ดขาดและมีการตั้งบ่อนเบี้ย ขึ้นโดยกำหนดให้มีการเล่นได้เพียงบางพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่มีชาวจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากเท่านั้น โดยห้ามคนไทยเข้าไปเล่น ทว่า การห้ามดังกล่าวก็ไม่มีผลอย่างใด เพราะคนไทยก็ลักลอบเล่นเหมือนเดิม รัฐจึงต้องอนุญาตให้ตั้งบ่อนสำหรับคนไทยขึ้น ดังนั้น จึงเกิดบ่อนเบี้ย 2 ประเภทคือ บ่อนเบี้ยจีนและบ่อนเบี้ยไทย ซึ่งข้างในต่างก็เล่นการพนันชนิดเดียวกัน เช่น การเล่นกำตัด กำถั่ว และไพ่งา เป็นต้น
‘สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ’ ได้ทรงนิพนธ์เอาไว้ใน ‘ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 17 เรื่องตำนานการเลิกบ่อนเบี้ยและเลิกหวย’ ว่า ในการจัดเก็บอากรบ่อนเบี้ยนั้น เดิมทีเก็บเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาบ่อน หรือให้เป็นค่าป่วยการ หรือเงินเดือนแก่ผู้รักษาบ่อน มิได้มีความมุ่งหมายในการจัดเก็บเพื่อเป็นผลประโยชน์ให้แก่รัฐ วิธีการเก็บอากรบ่อนเบี้ยในสมัยนั้น นายบ่อนจะไม่เกี่ยวข้องกับการเล่น จะมีเฉพาะพวกนักเลงบ่อนผลัดกันเป็นเจ้ามือ โดยนายบ่อนจะคอยเก็บส่วนลดจากผู้ที่ได้เงินจากการพนัน ซึ่งเรียกว่า ‘การเก็บหัวเบี้ย’ และธรรมเนียมการเก็บหัวเบี้ยนี้ได้มีการใช้กันจนกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ ต่อมาเมื่อมีการเล่นโปเกิดขึ้น จึงเปลี่ยนให้นายบ่อนเป็นเจ้ามือแต่เพียงผู้เดียว ถึงแม้รัฐจะได้ภาษีจากโรงบ่อนเบี้ยมากเพียงใดก็ตาม แต่ก็ไม่มีนโยบายสนับสนุนให้คนไทยเล่นการพนัน เช่น ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมีการห้ามไม่ให้ข้าราชการเล่นการพนัน และหากข้าราชการผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษเฆี่ยนตี 90 ที พร้อมทั้งถอดยศบรรดา ศักดิ์ลงเป็นไพร่ เป็นต้น
เมื่อก้าวย่างเข้าสู่ยุคสมัยของกรุงธนบุรี เงื่อนไขในการเข้มงวดเรื่องบ่อนก็เปลี่ยนแปลง ไป เมื่อไม่ปรากฏข้อห้ามให้คนไทยเล่นเบี้ย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอยู่ในช่วงสงคราม ปราบปรามก๊กต่างๆ บรรดาผู้ที่ถูกเกณฑ์ ไปออกรบล้วนเหน็ดเหนื่อยกับชีวิตสงครามที่ค่อนข้างยาวนาน จึงอนุญาตให้ทหารและแม่ทัพนายกองทั้งหลายเล่นพนันได้ตามสมควรในช่วงวันหยุดนัก ขัตฤกษ์ต่างๆ รวมทั้งอนุญาตให้ราษฎรทั่วไปเล่นการพนันได้ด้วย
ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ทรงไม่เห็นด้วยที่จะให้เล่นการพนันหรือเล่นเบี้ยแบบสมัยธนบุรี แต่ยังคงยอมให้มีบ่อนเบี้ยอยู่บ้างโดยเก็บอากรแผ่นดิน อย่างไรก็ตาม ทรงเคร่งครัดเรื่องการพนัน กับการดื่มสุรามากขึ้นกับข้าราชการด้วยการออกพระราชกำหนดเมื่อปี พ.ศ. 2325 ห้ามข้าราชการเล่นบ่อนเบี้ยและเสพสุรา
ก้าวล่วงเข้าสู่สมัยรัชกาลที่ 2 การเล่น พนันยังคงอยู่ต่อไปและสามารถเก็บอากรบ่อนเบี้ยได้ปีละ 260,000 บาท
ในสมัยรัชกาลที่ 3 เคยมีการสนับสนุนให้เล่นการพนันเพื่อเก็บภาษีอากร ที่เรียกกันว่า ‘อากรบ่อนเบี้ย’ และ ‘อากรหวย’ เฉพาะสำหรับอากรบ่อนเบี้ยนั้น หมายถึงเงินที่เก็บจากผู้ประมูลขอตั้งบ่อนการพนันถั่วและโปในราชอาณาจักร ซึ่งอากรทั้งสองประเทศสามารถสร้างรายได้ให้แก่รัฐเป็นจำนวนมาก คือปีละ 400,000 บาท
ขณะที่ในช่วงรัชกาลที่ 4 ผลของการที่ไทยได้ทำสัญญาผูกพันกับต่างประเทศ ต้องยกเลิกภาษีผูกขาดหลายประเภทจนเป็นเหตุให้รายได้ของแผ่นดินลดลง จึงได้ มีการปรับปรุงภาษีอากรหลายประเภท และได้กำหนดภาษีการพนันเพิ่มขึ้นจาก อากรบ่อนเบี้ยอีกประเภทหนึ่งและสามารถ เก็บภาษีได้สูงถึงปีละ 500,000 บาท
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช ก็ทรงพิจารณาเห็นว่า คนไทยติดการพนันกันงอมแงม เป็นหนี้เป็นสิน เสียผู้เสียคนกันทั่วบ้านทั่วเมือง จึงทรงประกาศให้เลิกการพนัน(เมื่อวันอังคาร เดือนอ้าย แรม ๑๓ ค่ำ ปีกุน พ.ศ.๒๔๓๐) โดยลดจำนวนบ่อนลงเรื่อยๆ โดยมิได้ทรงห่วงว่า เงินท้องพระคลังจะลดลงถึงปีละ ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ถ้าคิดเป็นเงินปัจจุบันอาจจะมากกว่า ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาทก็ได้) ถึงปี พ.ศ.๒๔๓๒ ทรงประกาศยกเลิกบ่อนเบี้ยในกรุงเทพฯ อีกปีละ ๑๐ ตำบล และเมื่อถึงปี พ.ศ.๒๔๔๑ ทรงประกาศยกเลิกบ่อนเบี้ยตามหัวเมืองในมณฑลต่างๆ จวบจนถึงปี พ.ศ.๒๔๖๐ (ในสมัยรัชกาลที่ ๖) จึงมีพระราชบัญญัติห้ามมิให้ใครเล่นถั่วโปในราชอาณาจักรอีกต่อไปได้มีประกาศปิดบ่อนทั่วราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๐ สำหรับการเปลี่ยนแปลงหลังจากนั้น ได้มีการตรากฎหมายการพนันฉบับแรกในปี พ.ศ.2473 ซึ่งเป็นการรวบรวมกฎหมายการพนันต่างๆ มาไว้ในที่เดียว กัน และมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอีกครั้ง โดยออกเป็น พ.ร.บ. การพนัน พ.ศ. 2478 พร้อมทั้งมีการเพิ่มเติมการเล่นพนันประเภทต่างๆ จนกลายมาเป็นกฎหมายฉบับปัจจุบัน
***จากบทความดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ทรงลำบากอย่างมากกว่าจะสามารถกำจัดหายนะนี้ไปจากแผ่นดินไทยได้ พวกเราเหล่าลูกหลานผู้สืบแผ่นดินของพระองค์จึงมิควรอย่างยิ่งที่จะทำให้การพนันหวนกลับมาทำลายสังคมไทยอีก หากแต่ควรช่วยกันฟื้นฟูศีลธรรมให้ประชาชนมีจิตสำนึกที่ดี จึงจะเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้องและถูกที่มากกว่า
- ธรรมะสร้างกำลังใจ ทำให้คุณเป็นสุขใจได้ตลอดเวลา
- → ดูโปรไฟล์: กระทู้: feyhong
- Privacy Policy
- เงื่อนไข ข้อตกลง และกฏระเบียบของเว็บไซต์ DMC ·