ข้อแนะนำการตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับวัดพระธรรมกาย
เริ่มโดย Dd2683, Sep 25 2010 12:07 AM
มี 5 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 25 September 2010 - 12:07 AM
กระทู้นี้ต่อยอดมาจากกระทู้ของ คุณ ตำรววจรักบุญ
เพื่อให้คำถาม คำตอบ สอดคล้องกัน ครับ
เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๑
ผู้ที่ถามปัญหาเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายมีหลายประเภท
๑. ถามเพราะอยากรู้ข้อเท็จจริง ถามด้วยใจเป็นกลางไม่มีอคติต่อทางวัด
การตอบ-ให้ชี้แจงข้อมูลไป สามารถจะตอบยาวได้ แต่อย่าสอน หรือท้าทายกลับไป และควรลงท้ายด้วยการชวนมาวัด
ชวนมาทำบุญเพื่อค้ำจุนพุทธศาสนาให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
๒. ถามแบบลองเชิง ว่าเราจะมีปัญญาตอบหรือไม่ หรือจะให้เหตุผลอย่างไร เป็นการทดสอบภูมิของคนวัด ว่างมงายเข้าวัดหรือเปล่า
การตอบ - ตั้งสติให้ดี ทำใจเย็นๆ ทำสีหน้าให้เบิกบาน แล้วตอบไปตรงข้อเท็จจริง
อาจตอบย้อนคำโดยเสริมคำอธิบายในทางบวก (ผู้ถามจะถามเชิงลบ)
เมื่อคำตอบของเราชอบด้วยเหตุผลทุกประการ ผู้ถามก็จะนิ่งเงียบไปเอง แม้ว่าใจจะไม่ยอมรับนัก (เพราะเสียเหลี่ยม)
แต่ก็ไม่อาจจะไปถามเพื่อหาเรื่องกับใครได้อีก
ถ้าโชคดีเจอผู้ถามที่ทิฏฐิน้อยก็จะได้มิตรเพิ่มขึ้น เพราะเขายอมแพ้ภูมิคนวัด หรือยอมรับเหตุผลของเราด้วยใจจริง
อาจแถมท้ายคำตอบด้วยการชักชวนให้ช่วยกันบำรุงพระพุทธศาสนา
แม้ว่าจะไม่ได้ผลในอนาคตนัก แต่ก็จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้ถามได้มากว่า
บุญที่เขาทำไว้แล้วกับวัดพระธรรมกายนั้นไม่สูญเปล่า เขาจะได้ผลบุญคุ้มค่าทีเดียว
๓. ถามแบบก่อกวน ผู้ถามมักไม่ต้องการคำตอบ
แต่จะลองดีและมีเจตนามุ่งร้าย ปรักปรำให้วัดเสียหาย
เป็นประเภทมิจฉาทิฏฐิ เกินแก้ไข
การตอบ-ถ้าไม่ตอบก็ไม่ได้จะเสียเชิง และผู้ถามจะย่ามใจ ถ้าตอบด้วยอารมณ์โกรธก็เท่ากับตกหลุมพราง
หรือติดกับดักที่เขาล่อไว้ ภาพพจน์ของคนวัดก็จะเสียหาย
วิธีตอบ ให้ตั้งเมตตาจิตให้สูง ตอบแบบใจเย็น เหมือนไม่รับรู้ต่อการยั่วยุนั้น แต่ให้รวบประเด็นในการตอบให้สั้น
เพราะการตอบแบบสาธยาย อาจเปิดช่องให้เขาหาจุดมายั่วยุต่อได้ ถึงอย่างไรเราก็ไม่อาจจะไปแก้ไขมิจฉาทิฏฐิของผู้ถามได้
ผู้ถามประเภทนี้ส่วนใหญ่รู้ข้อเท็จจริงอยู่บ้าง แต่แกล้งไม่รับรู้อาจเพราะมีใจอิจฉา
ซึ่งเป็นจุดที่แก้ไขยาก ต้องรีบยุติเหตุการณ์ อย่าต่อความ รักษาอารมณ์ให้มั่นคง และพูดด้วยถ้อยคำที่สุภาพ
ป.ล. กระทู้ที่อ้างอิง
คำถามเพื่อนำไปตอบกับคนที่ยังไม่เข้าใจ
http://dmc.tv/forum/...showtopic=23816
เพื่อให้คำถาม คำตอบ สอดคล้องกัน ครับ
เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๑
ผู้ที่ถามปัญหาเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายมีหลายประเภท
๑. ถามเพราะอยากรู้ข้อเท็จจริง ถามด้วยใจเป็นกลางไม่มีอคติต่อทางวัด
การตอบ-ให้ชี้แจงข้อมูลไป สามารถจะตอบยาวได้ แต่อย่าสอน หรือท้าทายกลับไป และควรลงท้ายด้วยการชวนมาวัด
ชวนมาทำบุญเพื่อค้ำจุนพุทธศาสนาให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
๒. ถามแบบลองเชิง ว่าเราจะมีปัญญาตอบหรือไม่ หรือจะให้เหตุผลอย่างไร เป็นการทดสอบภูมิของคนวัด ว่างมงายเข้าวัดหรือเปล่า
การตอบ - ตั้งสติให้ดี ทำใจเย็นๆ ทำสีหน้าให้เบิกบาน แล้วตอบไปตรงข้อเท็จจริง
อาจตอบย้อนคำโดยเสริมคำอธิบายในทางบวก (ผู้ถามจะถามเชิงลบ)
เมื่อคำตอบของเราชอบด้วยเหตุผลทุกประการ ผู้ถามก็จะนิ่งเงียบไปเอง แม้ว่าใจจะไม่ยอมรับนัก (เพราะเสียเหลี่ยม)
แต่ก็ไม่อาจจะไปถามเพื่อหาเรื่องกับใครได้อีก
ถ้าโชคดีเจอผู้ถามที่ทิฏฐิน้อยก็จะได้มิตรเพิ่มขึ้น เพราะเขายอมแพ้ภูมิคนวัด หรือยอมรับเหตุผลของเราด้วยใจจริง
อาจแถมท้ายคำตอบด้วยการชักชวนให้ช่วยกันบำรุงพระพุทธศาสนา
แม้ว่าจะไม่ได้ผลในอนาคตนัก แต่ก็จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้ถามได้มากว่า
บุญที่เขาทำไว้แล้วกับวัดพระธรรมกายนั้นไม่สูญเปล่า เขาจะได้ผลบุญคุ้มค่าทีเดียว
๓. ถามแบบก่อกวน ผู้ถามมักไม่ต้องการคำตอบ
แต่จะลองดีและมีเจตนามุ่งร้าย ปรักปรำให้วัดเสียหาย
เป็นประเภทมิจฉาทิฏฐิ เกินแก้ไข
การตอบ-ถ้าไม่ตอบก็ไม่ได้จะเสียเชิง และผู้ถามจะย่ามใจ ถ้าตอบด้วยอารมณ์โกรธก็เท่ากับตกหลุมพราง
หรือติดกับดักที่เขาล่อไว้ ภาพพจน์ของคนวัดก็จะเสียหาย
วิธีตอบ ให้ตั้งเมตตาจิตให้สูง ตอบแบบใจเย็น เหมือนไม่รับรู้ต่อการยั่วยุนั้น แต่ให้รวบประเด็นในการตอบให้สั้น
เพราะการตอบแบบสาธยาย อาจเปิดช่องให้เขาหาจุดมายั่วยุต่อได้ ถึงอย่างไรเราก็ไม่อาจจะไปแก้ไขมิจฉาทิฏฐิของผู้ถามได้
ผู้ถามประเภทนี้ส่วนใหญ่รู้ข้อเท็จจริงอยู่บ้าง แต่แกล้งไม่รับรู้อาจเพราะมีใจอิจฉา
ซึ่งเป็นจุดที่แก้ไขยาก ต้องรีบยุติเหตุการณ์ อย่าต่อความ รักษาอารมณ์ให้มั่นคง และพูดด้วยถ้อยคำที่สุภาพ
ป.ล. กระทู้ที่อ้างอิง
คำถามเพื่อนำไปตอบกับคนที่ยังไม่เข้าใจ
http://dmc.tv/forum/...showtopic=23816
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม
#2
โพสต์เมื่อ 25 September 2010 - 12:29 AM
ตัวอย่างคำถาม - คำตอบ
วัดนี้รวยแล้วไม่ใช่หรือ?
ตอบ
รวยเงินน่ะไม่รวยหรอกค่ะ แต่รวยบุญ รวยคนดีมีคุณภาพ การจะฝึก ใครสักคนให้เป็นคนที่รักศีล รักธรรมะ รักศาสนานั้น บางทีหมดเงิน ไปตั้ง ๑๐๐ ล้านแล้วก็ยังไม่ได้มาสักคน แต่ที่วัดนี้มีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ ประมาณ ๖๐๐ คน มีภิกษุสามเณรประมาณ ๒๐๐ รูป ที่เป็นอาสาสมัคร เฉพาะกิจ เป็นกัลยาณมิตรอยู่รอบนอกก็อีกนับพันคน
ทรัพยากรที่เป็นบุคคลเหล่านี้มีค่ายิ่งกว่าตัวเงินเป็นพันล้าน หมื่นล้านเสียอีกนะคะ
คนของวัด นอกจากจะมีธรรมะอยู่ในหัวใจกันเต็มเปี่ยมแล้ว ยังตั้งใจที่จะช่วยกันเชิดชูพระพุทธศาสนาให้สูงเด่น
ช่วยกันประกาศ ธรรมนำธรรมไปสู่ประตูบ้าน ให้คนไทยมีศีลมีธรรมเป็นที่ยึดเหนี่ยว
ในการทำงานเผยแพร่พุทธศาสนานี้ ก็จำเป็นต้องใช้เงินเป็นทุน
แต่ ส่วนนี้เราขาดจึงต้องบอกบุญออกไป โดยเฉพาะงานใหญ่ๆ
ถ้าไม่มีเงินเป็นทุนทำงาน ทรัพยากรบุคคลที่เรามีอยู่ก็จะเป็น อัมพาต จริงไหมคะ
ถ้าคุณพี่จะช่วยเป็นกองเสบียงให้กับงานของพระ ศาสนาได้หนูก็ขออนุโมทนาด้วยค่ะ
ทำไมวัดนี้ถึงบอกบุญบ่อยจัง ?
ตอบ
ที่จริงจะถือว่าบ่อยก็คงไม่ถูกนะคะ เพราะวัดบอกบุญปีละ ๓-๔ วัน เท่านั้น
คือวันมาฆะฯ วิสาขะฯ กฐินฯ อาจแถมวันราชบูชาอีก ๑๐ วัน
การทำบุญก็เหมือนกับการกินอาหาร อิ่มท้องได้ไม่นาน ก็ต้อง กินอีก อิ่มใจก็เหมือนกันค่ะ
พอเริ่มจางก็ต้องทำบุญเติมไว้อีก ใจจะ ได้ชุ่มอยู่ในบุญตลอดเวลาไงค่ะ
ถ้าวัดไม่จัดงานบุญ โอกาสที่เราจะได้ทำบุญก็จะถูกปิดไป
บางครั้งเรามีทรัพย์ จะทำบุญ แต่ไม่มีใครมาบอกเรา โอกาสไม่ ประจวบเหมาะกัน
เราก็เลยไม่ได้ทำ บุญก็ไม่เกิด จริงไหมคะ
เงินที่คนเขาทำบุญมา ก็เอากลับคืนไปเป็นบริการแก่สาธุชนทั้งหมด
ทั้งในเรื่องการจัดอาคารสถานที่ให้มีที่หลบแดดหลบฝน จัด อาหารเช้า กลางวัน บริการฟรี จัดรถรับส่งสาธุชนฟรี
การบวชพระ ที่นี่ก็ไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายอะไร หลวงพ่อออกให้ทั้งหมด
เดี๋ยวนี้ มีคนมาปฏิบัติธรรมกัน มาวันอาทิตย์ธรรมดาก็มีสัก ๒,๐๐๐-๔,๐๐๐ คน
อาทิตย์ต้นเดือน ราว ๖,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ คน
ยิ่งงานบุญใหญ่ ก็เพิ่มเป็น ๑๐๐,๐๐๐-๒๐๐,๐๐๐ คน
พื้นที่เดิมที่ว่าใหญ่แล้ว เดี๋ยวนี้เล็กลงไปมากไม่พอรองรับคน ก็เลยจำเป็นต้องขยายออกไป
เพื่อให้บริการสะดวกแก่คนที่มาวัด ที่บอกบุญนี้ก็เอาไปเป็นค่าที่ดินเสียมาก
เพราะไม่มีผู้บริจาคให้เหมือนแต่ก่อน แต่โชคดีที่เจ้าของที่เขา ขายให้ในราคาที่ถูกมาก
เงินบริจาคที่ได้มา ได้มาเท่าไร หลวงพ่อก็เอากลับคืนมาให้ เป็นความสะดวกแก่คนที่ตั้งใจมาปฏิบัติธรรม
เงินทุกบาททุกสตางค์ของ เราจึงได้ถูกนำไปใช้เป็นประโยชน์กับงานเผยแพร่พุทธศาสนาอย่างเต็มที่ ได้บุญเกินคุ้มนะคะ
(Dd2683 : ตัวเลขเป็นข้อมุลเก่า แต่แนวทางการตอบคำถาม ยังพอนำไปปรับใช้ได้เฉพาะกาลและเฉพาะบุคคล)
วัดนี้เป็นธรรมกายหรือธรรมโกยกันแน่ ?
ตอบ
ที่ใดที่มีงานมากก็ต้องใช้เงินมากเป็นธรรมดา
เงินที่ทางวัดได้ รับบริจาคมาทุกบาททุกสตางค์ ก็นำมาใช้เพื่อปรับปรุงงานพระศาสนา
และให้บริการ อำนวยความสะดวกแก่ผู้มาปฏิบัติธรรม
คนมีเงินมากจน เหลือฝากธนาคารถึงจะเรียกว่ารวย จริงไหมคะ
ถ้าเอาแต่รับเงิน บริจาคอย่างเดียว
แต่ไม่ช่วยให้คนฉลาด ไม่สร้างให้คนดีมีศีลธรรม ให้กับสังคมก็อาจจะถือว่าโกย
แต่ที่วัดพระธรรมกายไม่ใช่อย่างนั้น
เหมือนศาลาจะเล็กจะใหญ่ไปไม่ได้ขึ้นอยู่กับความกว้าง-ยาว ของศาลา
แต่ขึ้นอยู่กับการใช้งานต่างหาก
ถ้าจุได้ ๕๐๐ คนแต่มีคนมา ใช้แค่ ๕๐-๖๐ คนก็ไม่คุ้ม
แต่ขณะนี้ที่วัดมีคนมาใช้จนล้นศาลา
รวยหรือจนไม่ได้ขึ้นอยู่ที่จำนวนเงิน
แต่ขึ้นอยู่ที่การใช้เงินว่าคุ้ม ไหม
ถ้าได้มาเท่าไหร่แล้วเอามาใช้ในงานพระศาสนาจนหมด
ย่อม ไม่เรียกว่ารวย ถูกต้องไหมคะ
วัดนี้รวยแล้วไม่ใช่หรือ?
ตอบ
รวยเงินน่ะไม่รวยหรอกค่ะ แต่รวยบุญ รวยคนดีมีคุณภาพ การจะฝึก ใครสักคนให้เป็นคนที่รักศีล รักธรรมะ รักศาสนานั้น บางทีหมดเงิน ไปตั้ง ๑๐๐ ล้านแล้วก็ยังไม่ได้มาสักคน แต่ที่วัดนี้มีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ ประมาณ ๖๐๐ คน มีภิกษุสามเณรประมาณ ๒๐๐ รูป ที่เป็นอาสาสมัคร เฉพาะกิจ เป็นกัลยาณมิตรอยู่รอบนอกก็อีกนับพันคน
ทรัพยากรที่เป็นบุคคลเหล่านี้มีค่ายิ่งกว่าตัวเงินเป็นพันล้าน หมื่นล้านเสียอีกนะคะ
คนของวัด นอกจากจะมีธรรมะอยู่ในหัวใจกันเต็มเปี่ยมแล้ว ยังตั้งใจที่จะช่วยกันเชิดชูพระพุทธศาสนาให้สูงเด่น
ช่วยกันประกาศ ธรรมนำธรรมไปสู่ประตูบ้าน ให้คนไทยมีศีลมีธรรมเป็นที่ยึดเหนี่ยว
ในการทำงานเผยแพร่พุทธศาสนานี้ ก็จำเป็นต้องใช้เงินเป็นทุน
แต่ ส่วนนี้เราขาดจึงต้องบอกบุญออกไป โดยเฉพาะงานใหญ่ๆ
ถ้าไม่มีเงินเป็นทุนทำงาน ทรัพยากรบุคคลที่เรามีอยู่ก็จะเป็น อัมพาต จริงไหมคะ
ถ้าคุณพี่จะช่วยเป็นกองเสบียงให้กับงานของพระ ศาสนาได้หนูก็ขออนุโมทนาด้วยค่ะ
ทำไมวัดนี้ถึงบอกบุญบ่อยจัง ?
ตอบ
ที่จริงจะถือว่าบ่อยก็คงไม่ถูกนะคะ เพราะวัดบอกบุญปีละ ๓-๔ วัน เท่านั้น
คือวันมาฆะฯ วิสาขะฯ กฐินฯ อาจแถมวันราชบูชาอีก ๑๐ วัน
การทำบุญก็เหมือนกับการกินอาหาร อิ่มท้องได้ไม่นาน ก็ต้อง กินอีก อิ่มใจก็เหมือนกันค่ะ
พอเริ่มจางก็ต้องทำบุญเติมไว้อีก ใจจะ ได้ชุ่มอยู่ในบุญตลอดเวลาไงค่ะ
ถ้าวัดไม่จัดงานบุญ โอกาสที่เราจะได้ทำบุญก็จะถูกปิดไป
บางครั้งเรามีทรัพย์ จะทำบุญ แต่ไม่มีใครมาบอกเรา โอกาสไม่ ประจวบเหมาะกัน
เราก็เลยไม่ได้ทำ บุญก็ไม่เกิด จริงไหมคะ
เงินที่คนเขาทำบุญมา ก็เอากลับคืนไปเป็นบริการแก่สาธุชนทั้งหมด
ทั้งในเรื่องการจัดอาคารสถานที่ให้มีที่หลบแดดหลบฝน จัด อาหารเช้า กลางวัน บริการฟรี จัดรถรับส่งสาธุชนฟรี
การบวชพระ ที่นี่ก็ไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายอะไร หลวงพ่อออกให้ทั้งหมด
เดี๋ยวนี้ มีคนมาปฏิบัติธรรมกัน มาวันอาทิตย์ธรรมดาก็มีสัก ๒,๐๐๐-๔,๐๐๐ คน
อาทิตย์ต้นเดือน ราว ๖,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ คน
ยิ่งงานบุญใหญ่ ก็เพิ่มเป็น ๑๐๐,๐๐๐-๒๐๐,๐๐๐ คน
พื้นที่เดิมที่ว่าใหญ่แล้ว เดี๋ยวนี้เล็กลงไปมากไม่พอรองรับคน ก็เลยจำเป็นต้องขยายออกไป
เพื่อให้บริการสะดวกแก่คนที่มาวัด ที่บอกบุญนี้ก็เอาไปเป็นค่าที่ดินเสียมาก
เพราะไม่มีผู้บริจาคให้เหมือนแต่ก่อน แต่โชคดีที่เจ้าของที่เขา ขายให้ในราคาที่ถูกมาก
เงินบริจาคที่ได้มา ได้มาเท่าไร หลวงพ่อก็เอากลับคืนมาให้ เป็นความสะดวกแก่คนที่ตั้งใจมาปฏิบัติธรรม
เงินทุกบาททุกสตางค์ของ เราจึงได้ถูกนำไปใช้เป็นประโยชน์กับงานเผยแพร่พุทธศาสนาอย่างเต็มที่ ได้บุญเกินคุ้มนะคะ
(Dd2683 : ตัวเลขเป็นข้อมุลเก่า แต่แนวทางการตอบคำถาม ยังพอนำไปปรับใช้ได้เฉพาะกาลและเฉพาะบุคคล)
วัดนี้เป็นธรรมกายหรือธรรมโกยกันแน่ ?
ตอบ
ที่ใดที่มีงานมากก็ต้องใช้เงินมากเป็นธรรมดา
เงินที่ทางวัดได้ รับบริจาคมาทุกบาททุกสตางค์ ก็นำมาใช้เพื่อปรับปรุงงานพระศาสนา
และให้บริการ อำนวยความสะดวกแก่ผู้มาปฏิบัติธรรม
คนมีเงินมากจน เหลือฝากธนาคารถึงจะเรียกว่ารวย จริงไหมคะ
ถ้าเอาแต่รับเงิน บริจาคอย่างเดียว
แต่ไม่ช่วยให้คนฉลาด ไม่สร้างให้คนดีมีศีลธรรม ให้กับสังคมก็อาจจะถือว่าโกย
แต่ที่วัดพระธรรมกายไม่ใช่อย่างนั้น
เหมือนศาลาจะเล็กจะใหญ่ไปไม่ได้ขึ้นอยู่กับความกว้าง-ยาว ของศาลา
แต่ขึ้นอยู่กับการใช้งานต่างหาก
ถ้าจุได้ ๕๐๐ คนแต่มีคนมา ใช้แค่ ๕๐-๖๐ คนก็ไม่คุ้ม
แต่ขณะนี้ที่วัดมีคนมาใช้จนล้นศาลา
รวยหรือจนไม่ได้ขึ้นอยู่ที่จำนวนเงิน
แต่ขึ้นอยู่ที่การใช้เงินว่าคุ้ม ไหม
ถ้าได้มาเท่าไหร่แล้วเอามาใช้ในงานพระศาสนาจนหมด
ย่อม ไม่เรียกว่ารวย ถูกต้องไหมคะ
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม
#3
โพสต์เมื่อ 25 September 2010 - 02:32 PM
สาธุครับ
>>..........ชีวิตนี้ขอมอบแด่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกาย..........<<
#4
โพสต์เมื่อ 25 September 2010 - 06:18 PM
เจริญพร
อนุโมทนาบุญกับคุณโยมนักเรียนอนุบาล Dd2683 ด้วย เป็นแนวการตอบคำถามที่ถูกหลักวิชาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทีเดียว สาธุ...
อนุโมทนาบุญกับคุณโยมนักเรียนอนุบาล Dd2683 ด้วย เป็นแนวการตอบคำถามที่ถูกหลักวิชาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทีเดียว สาธุ...
#5
โพสต์เมื่อ 25 September 2010 - 10:56 PM
อนุโมทนาบุญค่ะ มีประโยชน์มาก
ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)
ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป
#6
โพสต์เมื่อ 26 September 2010 - 08:49 PM
...เห็นด้วยครับ ขอเสริม แม้เราจะชนะผู้ไม่เข้าใจวัด หรือเข้าใจวัดผิด แต่ผลก็คือเราแพ้ เพราะเราเอาชนะผิด ที่ต้องเอาชนะคือมาร ไม่ใช่เพื่อนมนุษย์ด้วยกันที่เวียนว่ายตายเกิดเหมือนๆกัน ชนะด้วยการทำให้เขาหยุดทำบาปเพิ่ม ชนะด้วยการทำให้เขาคิดดี ชนะด้วยการทำให้เขามาพิสูจน์ด้วยตนเองดั่งพระวัจนะของพระศาสดาที่ว่า "เอหิปัสสิโก" (เชิญมาค้นพบเอง) และชนะด้วยธรรม คือ ใจของเราก็ยังมีคุณธรรม ความดี และยังได้ทำให้ผู้คนนั้นมีคุณธรรม และความดีด้วย แบบนี้แม้จะดูเหมือนว่าเราแพ้ แต่เรานั้นชนะแล้ว
...การตอบโต้กันทั้งในเวปหรือนอกเวปไม่ได้เกิดประโยชน์เลย ต่างศาสนาจะได้ชื่นชมแทนที่ดูคนพุทธทะเลาะกัน การเถียงเพื่อให้ยอมกันเป็นวิถีแห่งคนพาล การดูถูกความรู้กันเป็นวิถีแห่งคนไร้ปัญญา การทำใจเป็นกลางเป็นวิถีแห่งศรัทธา เป้าหมายที่เราอธิบายให้ผู้ที่สงสัย หรือค้างคาใจในความเป็นวัดฯ คือ ให้เขามาพิสูจน์เองแบบทำใจเป็นกลาง ถ้าใจไม่เปิดสักนิดก็เหมือนคนปิดหู ปิดตา เข้าวัดมา ใครก็ช่วยไม่ได้ นอกจากจะรอว่า เมื่อไหร่นะ จะเอามือตัวเองออกจากที่ปิดหู ปิดตาตนเองสักที ...
..ท่านใดเป็นทนาย กรุณา pm มาคุยกันบ้างนะจ๊ะ
...การตอบโต้กันทั้งในเวปหรือนอกเวปไม่ได้เกิดประโยชน์เลย ต่างศาสนาจะได้ชื่นชมแทนที่ดูคนพุทธทะเลาะกัน การเถียงเพื่อให้ยอมกันเป็นวิถีแห่งคนพาล การดูถูกความรู้กันเป็นวิถีแห่งคนไร้ปัญญา การทำใจเป็นกลางเป็นวิถีแห่งศรัทธา เป้าหมายที่เราอธิบายให้ผู้ที่สงสัย หรือค้างคาใจในความเป็นวัดฯ คือ ให้เขามาพิสูจน์เองแบบทำใจเป็นกลาง ถ้าใจไม่เปิดสักนิดก็เหมือนคนปิดหู ปิดตา เข้าวัดมา ใครก็ช่วยไม่ได้ นอกจากจะรอว่า เมื่อไหร่นะ จะเอามือตัวเองออกจากที่ปิดหู ปิดตาตนเองสักที ...
..ท่านใดเป็นทนาย กรุณา pm มาคุยกันบ้างนะจ๊ะ
..อันมือของฉันสองมือนี้ ดูเล็กนิดเดียวและไม่มั่นใจว่าฉันจะสร้างสิ่งดีๆ ให้เกิดแก่โลกใบนี้ได้.. แต่ฉันมั่นใจว่า ...หัวใจของฉันนี้ มอบไว้ให้แด่พระพุทธศาสน์....