ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิ อุบัติในสมัยพุทธกาล


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 11 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 25 April 2008 - 04:55 PM

ภายหลัง ต่อมาจากสมัยของพระสุเมธพุทธเจ้า ในมัณฑกัปนั้นนั่นแล

เมื่อสัตว์ทั้งหลายมีอายุที่นับไม่ได้มาโดยลำดับ และลดลงตามลำดับ จนมีอายุเก้าหมื่นปี

พระศาสดาพระนามว่า สุชาตะ ผู้มีพระรูปกายเกิดดี มีพระชาติบริสุทธิ์ ก็อุบัติในโลก

แม้พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญบารมีแล้วบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต

จุติจากนั้นแล้ว ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนางปภาวดี

อัครมเหสีในราชสกุลของ พระเจ้าอุคคตะ กรุงสุมงคล ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ออกจากพระครรภ์ของพระชนนี.

ในวันเฉลิมพระนาม พระชนกชนนีเมื่อจะทรงเฉลิมพระนามของพระองค์ ก็ได้ทรงเฉลิมพระนามว่า สุชาตะ

เพราะเกิดมาแล้ว ยังสุขให้เกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย ทั่วชมพูทวีป.


พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยเก้าพันปี ทรงมีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่าสิรี อุปสิรี และสิรินันทะ

ปรากฏพระสนมนารีสองหมื่นสามพันนาง มี พระนางสิรินันทาเทวี เป็นประมุข.



เมื่อพระโอรสพระนามว่า อุปเสน ของพระนางสิรินันเทวีทรงสมภพแล้ว

พระองค์ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ ทรงม้าต้นชื่อว่า หังสวหัง เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงผนวช

มนุษย์โกฏิหนึ่ง ก็บวชตามพระองค์ผู้ทรงผนวชอยู่


ลำดับนั้น พระมหาบุรุษนั้น อันมนุษย์เหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียร ๙ เดือน

ในวันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาส รสอร่อย ที่ธิดาของสิรินันทนเศรษฐีแห่งสิรินันทนนคร ถวายแล้ว

ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สาลวัน

***๑. บาลีเป็น สิริ อุปสิริ และจันทะ

เวลาเย็น ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่สุนันทอาชีวกถวายแล้ว เสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ ชื่อ เวฬุ ต้นไผ่

ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๓๓ ศอก

เมื่อดวงอาทิตย์ยังคงอยู่ ก็ทรงกำจัดกองกำลังมาร พร้อมทั้งตัวมาร

ทรงแทงตลอดพระสัมมาสัมโพธิญาณ ก็ทรงเปล่งพระอุทานที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงประพฤติมาแล้ว

ทรงยับยั้งอยู่ใกล้โพธิต้นพฤกษ์นั่นแล ตลอด ๗ สัปดาห์ อันท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาแล้ว


ทรงเห็น พระสุทัสสนกุมาร พระกนิษฐภาดาของพระองค์และเทวกุมาร บุตรปุโรหิต

เป็นผู้สามารถแทงตลอดธรรมคือสัจจะ ๔

เสด็จไปทางอากาศ ลงที่ สุมังคลราชอุทยาน กรุงสุมงคล ให้พนักงานเฝ้าราชอุทยาน

เรียก พระสุทัสสนกุมาร กนิษฐภาดาและ เทวกุมาร บุตรปุโรหิตมาแล้ว

ประทับนั่งท่ามกลางกุมารทั้งสองนั้น พร้อมด้วยบริวาร ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ที่นั้น

ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์โกฏิหนึ่ง


นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๑.


ครั้ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ โคน มหาสาลพฤกษ์

ใกล้ประตูสุทัสสนราชอุทยานเสด็จเข้าจำพรรษา ณ ดาวดึงส์เทวโลก

ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์สามล้านเจ็ดแสน

นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒.


ครั้งพระสุชาตทศพลเสด็จเข้าเฝ้าพระชนก ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์หกล้าน

นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ในมัณฑกัปนั้นนั่นแล มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุชาตะ ผู้นำ มีพระหนุดังคางราชสีห์ มีพระศอดังโคอุสภะ

มีพระคุณหาประมาณมิได้ เข้าเฝ้าได้ยาก.

พระสัมพุทธเจ้า รุ่งเรืองด้วยพระสิริ ย่อมงามสง่าทุกเมื่อ เหมือนดวงจันทร์หมดจดไร้มลทิน

เหมือนดวงอาทิตย์ ส่องแสงแรงร้อน ฉะนั้น.



พระสัมพุทธเจ้า บรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุดสิ้นเชิงแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ กรุงสุมงคล.

เมื่อพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้นำโลก ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ สัตว์แปดสิบโกฏิตรัสรู้ ในการแสดงธรรมครั้งที่ ๑.


ครั้งพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้มีบริวารยศหาประมาณมิได้ เสด็จเข้าจำพรรษา ณ เทวโลก

อภิสมัยครั้งที่ ๒ได้มีแก่สัตว์สามล้านเจ็ดแสน.

ครั้งพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วย พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอ เข้าไปโปรดพระชนก
อภิสมัยครั้งที่ ๓.ได้มีแก่สัตว์หกล้าน.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺเถว มณฺฑกปฺปมฺหิ ความว่า

ในมัณฑกัปใด พระผู้มีพระภาคเจ้า สุเมธะ ทรงอุบัติแล้ว ในกัปนั้นนั่นแหละ

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าสุชาตะก็อุบัติแล้ว.


บทว่า สีหหนุ ได้แก่ ชื่อว่าสีหหนุ เพราะพระหนุของพระองค์เหมือนคางราชสีห์ ก็ราชสีห์
คางล่างเท่านั้นเต็ม คางบนไม่เต็ม.

ส่วนพระมหาบุรุษนั้น เต็มทั้งสองพระหนุเหมือนคางล่างของราชสีห์ จึงเป็นเสมือนดวงจันทร์ ๑๒ คา

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า สีหหนุ.

บทว่า อุสภกฺขนฺโธ ได้แก่มีพระศอเสมอ อิ่ม กลม เหมือนโคอุสภะ

อธิบายว่า มีลำพระศอเสมือนกลองทองกลมกลึง.

บทว่า สตรํสีว แปลว่า เหมือนควงอาทิตย์.

บทว่า สิริยา ได้แก่ ด้วยพระพุทธสิริ.

บทว่า โพธิมุตฺตมํ ได้แก่ พระสัมโพธิญาณอันสูงสุด.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมโปรดมนุษย์ที่มาใน สุธรรมราชอุทยาน กรุงสุธรรมวดี

ทรงยังชนหกล้านให้บวชด้วยเอหิภิกขุภาวะ

ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น นั้น
เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.



ต่อจากนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ภิกษุห้าล้านประชุมกัน
เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.


พระสุทัสสนเถระพาบุรุษสี่แสนซึ่งฟังข่าวว่า

พระสุทัสสนกุมาร ทรงผนวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า บรรลุพระอรหัตจึงมาเข้าเฝ้าพระสุชาตนราสภ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดบุรุษเหล่านั้น ทรงให้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา

ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในสันนิบาตที่ประกอบด้วยองค์ ๔ นั้น
เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีสันนิบาตประชุมพระสาวก
ผู้เป็นพระขีณาสพไร้มลทินมีจิตสงบคงที่ ๓ ครั้ง.

พระอรหันตสาวก ผู้ถึงกำลังแต่งอภิญญา ผู้ไม่ต้องไปในภพน้อยภพใหญ่ หกล้านเหล่านั้น
ประชุมกันเป็นการประชุมครั้งที่ ๑.

ในสันนิบาตต่อมาอีก เมื่อพระชินพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก พระอรหันตสาวกห้าล้านประชุมกัน
เป็นการประชุมครั้งที่ ๒.

พระสุทัสสนอัครสาวก เมื่อเข้าเฝ้าพระนราสภก็เข้าเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสาวกสี่แสน.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปตฺตานํ ความว่า ผู้ไม่ถึงพร้อมในภพน้อยภพใหญ่.

ปาฐะว่า อปฺปวตฺตา ภวาภเว ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน.

บทว่า ติทิโวโรหเณ ได้แก่ เมื่อพระชินพุทธเจ้าเสด็จลงจากโลกสวรรค์.

จึงเห็นว่าลงในอรรถกัตตุการก ท่านกล่าวเป็นการกวิปลาส.อีกนัยหนึ่ง

บทว่า ติทิโวโรหเณ ได้แก่ ในการเสด็จลงจากเทวโลก.

บทว่า ชิเน ได้แก่ เมื่อพระชินพุทธเจ้า พึงเห็นสัตตมีวิภัตติลงในในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ.

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  Buddha.rar   982.15K   188 ดาวน์โหลด


#2 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 25 April 2008 - 05:04 PM

แนบไฟล์  post_3745_1158158597.jpg   36.41K   97 ดาวน์โหลด

ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ


สดับข่าวว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

แนบไฟล์  post_3745_1158157512.jpg   42.97K   93 ดาวน์โหลด

สดับธรรมกถา ก็ถวายราชสมบัติในมหาทวีปทั้ง ๔ พร้อมด้วยรัตนะ ๗
แด่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ทรงผนวชในสำนักของพระศาสดา

ชาวทวีปทั้งสิ้น รวบรวมรายได้ที่เกิดในรัฐ ทำหน้าที่ของคนวัดให้สำเร็จ

ถวายมหาทานเป็นประจำแก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน พระศาสดาแม้พระองค์นั้น

ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า พระนามว่า โคตมะ ในอนาคตกาล.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

สมัยนั้น เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ มีกำลังมาก ท่องเที่ยวไปในอากาศ.

เรามอบถวายราชสมบัติอย่างใหญ่ ในทวีปทั้ง ๔และรัตนะ ๗ แด่พระพุทธเจ้าผู้สูงสุด แล้วบวชในสำนักของพระองค์.

ชาววัดทั้งหลาย รวบรวมรายได้ในชนบทมาจัดปัจจัย ที่นอน ที่นั่ง สำหรับพระภิกษุสงฆ์.

แม้พระพุทธเจ้า ผู้เป็นใหญ่ในหมื่นโลกธาตุพระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่า

ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า ในที่สุดสามหมื่นกัป.

พระตถาคตตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งร่าเริงใจ

อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.


เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย และนวังคสัตถุศาสน์ทั้งหมด ยังพระศาสนาของพระชินเจ้าให้งาม.

เราอยู่อย่างไม่ประมาทในพระศาสนานั้น เจริญพรหมวิหารภาวนา ถึงฝั่งแห่งอภิญญาแล้ว ไปสู่พรหมโลก.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุทีปมฺหิ ความว่า แห่งมหาทวีป ๔ ที่มีทวีป [น้อย.] เป็นบริวาร.

บทว่า อนฺตลิกฺขจโร ความว่า ทำจักรรัตนะไว้ข้างหน้าท่องเที่ยวไปในอากาศ.

บทว่า รตเน สตฺต ได้แก่ รัตนะ ๗ มีหัตถิรัตนะเป็นต้น.

บทว่า อุตฺตเม ก็คือ อุตฺตมานิ เเปลว่า อุดม

อีกนัยหนึ่ง พึงเห็นอรรถว่า อุตฺตเม พุทฺเธ แปลว่าในพระพุทธเจ้า ผู้อุดม.

บทว่า นิยฺยาตยิตฺวาน ได้แก่ ถวาย.

บทว่า อุฏฺฐานํ ได้แก่ ผลประโยชน์ที่เกิดในรัฐ อธิบายว่า รายได้.

บทว่า ปฏิปิณฺฑิย ได้แก่ รวมเอามาเก็บไว้เป็นกอง.

บทว่า ปจฺจยํ ได้แก่ ปัจจัยต่างๆ มีจีวรเป็นต้น .

บทว่า ทสสหสฺสิมฺหิ อิสฺสโร ได้แก่เป็นใหญ่ในหมื่นโลกธาตุ

คำนี้นั้น พึงทราบว่า ตรัสหมายถึงเขตแห่งชาติพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นใหญ่แห่งโลกธาตุ ที่ไม่มีที่สุด.


บทว่า ตึสกฺปฺปสหสฺสมฺหิ ความว่า ในที่สุดสามหมื่นกัปนับแต่กัปนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าสุชาตะ ทรงมีพระนคร ชื่อว่า สุมังคละ

พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอุคคตะ พระชนนีพระนามว่า พระนางปภาวดี

คู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสุทัสสนะ และ พระสุเทวะ

พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระนารทะ

พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนาคา และ พระนาคสมาลา

โพธิพฤกษ์ชื่อว่ามหาเวฬุ ต้นไผ่ใหญ่ เขาว่าต้นไผ่ใหญ่นั้น มีรูลีบ ลำต้นใหญ่ปกคลุมด้วยใบทั้งหลายที่ไร้มลทิน

สีเสมือนแก้วไพฑูรย์ น่ารื่นรมย์อย่างยิ่งงามเพริศแพร้วเหมือนกำแววหางนกยูง

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีพระสรีระสูง ๕๐ ศอก

พระชนมายุ เก้าหมื่นปี

พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสิรีนันทา

พระโอรสพระนามว่า อุปเสนะ

เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ด้วยยาน คือ ม้าต้น.

พระองค์ดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหาร สิลาราม กรุงจันทวดี

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมีพระนครชื่อว่า สุมงคล

พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอุคคตะ พระชนนีพระนามว่า พระนางปภาวดี.

พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระสุทัสสนะ และ พระสุเทวะ

พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระนารทะ.

มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระนาคา และพระนาคสมาลา

โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า มหาเวฬุ.

ไผ่ต้นนั้น ลำต้นตัน ไม่มีรู มีใบมาก ลำตรงเป็นไผ่ต้นใหญ่ น่าดูน่ารื่นรมย์.

ลำเดียวโดด เติบโต กิ่งทั้งหลายแตกออกจากต้นนั้น ไผ่ต้นนั้นงามเหมือนกำแววทางนกยูง ที่เขาผูกกำไว้ดีแล้ว.

ไผ่ต้นนั้นไม่มีหนาม ไม่มีรู เป็นไผ่ใหญ่ มีกิ่งแผ่ไปไม่มีช่อง มีร่มเงาทึบน่ารื่นรมย์.

พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น ว่าโดยส่วนสูง ก็๕๐ ศอก

ทรงประกอบด้วยความประเสริฐ โดยเพราะอาการพร้อมสรรพ ทรงถึงพระพุทธคุณครบถ้วน.

พระรัศมีของพระองค์ ก็เสมอด้วยพระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้เสมอ แล่นออกโดยรอบพระวรกายไม่มีประมาณ ชั่งไม่ได้

เปรียบไม่ได้ด้วยข้ออุปมาทั้งหลาย.

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระองค์ทรงพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.

ครั้งนั้น ปาพจน์คือธรรมวินัย งามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย เหมือนคลื่นในสาคร เหมือนดารากรในท้องนภากาศ ฉะนั้น.

พระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้น ด้วยพระคุณเหล่านั้นที่ชั่งไม่ได้ด้วยทั้งนั้น

ก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่าแน่แท้.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺฉิทฺโท แปลว่า มีรูเล็ก พึงเห็น

เหมือนในประโยคเป็นต้นว่า อนุทรา กญฺญา หญิงสาวท้องเล็ก อาจารย์

บางพวกกล่าว ฉิทฺทํ โหติ ปริตฺตกํ ดังนี้ก็มี.


บทว่า ปตฺติโก แปลว่า มีใบมาก.

อธิบายว่า ปกคลุมด้วยใบทั้งหลาย มีสีเหมือนแก้วผลึก

บทว่า อุชุ ได้แก่ ไม่คด ไม่งอ.

บทว่า วํโส แปลว่า ไม้ไผ่.

บทว่า พฺรหา ได้แก่ ใหญ่โดยรอบ.

บทว่า เอกกฺขนฺโธ ความว่า งอกขึ้นลำเดียวโดดไม่มีเพื่อน.

บทว่า ปวฑฺฒิตฺวา แปลว่า เติบโตแล้ว.

บทว่า ตโต สาขาปภิชฺชติ ได้แก่ กิ่ง ๕ แฉก แตกออกจากยอดไผ่ต้นนั้น.

ปาฐะว่า ตโต สาขา ปภิชฺชถ ดังนี้ก็มี.


บทว่า สุพทฺโธ ได้แก่ ที่เขาผูกโดยอาการผูกเป็นห้าเส้นอย่างดี.

กำแววหางนกยูง ที่เขาทำผูกเพื่อป้องกันแดด เรียกว่า โมรหัตถะ.

บทว่า น ตสฺส กณฺฏกา โหนฺติ ความว่า ไผ่ต้นนั้น เป็นต้น

ไม้มีหนามตามธรรมดา ก็ไม่มีหนาม.

บทว่า อวิรโฬ ได้แก่ ปกคลุมด้วยกิ่งไม่มีช่อง.

บทว่า สนฺทจฺฉาโย ได้แก่ มีร่มเงาทึบ ท่านกล่าวว่ามีร่มเงาทึบ ก็เพราะไม่มีช่อง.

บทว่า ปญฺญาสรตโน อาสิ ได้แก่ ๕๐ ศอก.

บทว่า สพฺพาการวรูเปโต ได้แก่ ประกอบแล้วด้วยความประเสริฐทั้งหลาย

โดยอาการทั้งปวง ชื่อว่า ประกอบพร้อมด้วยความประเสริฐโดยการพร้อมสรรพ.


บทว่า สพฺพคุณมุปาคโต เป็นเพียงไวพจน์ของบทหน้า.

บทว่า อปฺปมาโณ ได้แก่ เว้นจากประมาณ หรือชื่อว่า ไม่มีประมาณ เพราะไม่อาจจะนับได้.

บทว่า อตุลิโย แปลว่า ชั่งไม่ได้. อธิบายว่าไม่มีใครเหมือน.

บทว่า โอปมิเมหิ ได้แก่ ข้อที่พึงเปรียบ.

บทว่า อนูปโม ได้แก่ เว้นการเปรียบ อธิบายว่า อุปมาไม่ได้ เพราะไม่อาจกล่าวอุปมาว่า เหมือนผู้นี้ ผู้นี้.

บทว่า คุณานิ จ ตานิ ก็คือ คุณา จ เต ความว่า

พระคุณทั้งหลาย มีพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น ท่านกล่าวเป็นลิงควิปลาส

คำที่เหลือทุกแห่ง ความง่ายทั้งนั้นแล.


จบพรรณนาวงศ์พระสุชาตพุทธเจ้า

ดูเพิ่ม

มธุรัตถวิลาสินี (หน้าหลัก)

พุทธวงศ์ - ๑๒. สุชาตพุทธวงศ์

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์-จริยาปิฎก - พุทธวงศ์

http://th.wikisource.org


พระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25
ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ สุชาตพุทธวงศ์
http://202.44.204.76...o...5&lend=7900

#3 DJ.

DJ.
  • Members
  • 1212 โพสต์

โพสต์เมื่อ 25 April 2008 - 07:49 PM

สาธุ ขอเรียนถามว่า

๑) พระพุทธเจ้าศรีศากยมุนีสมณโคดม เวลาออกบวชมีผู้ติดตามออกบวชกี่คน มีปัญจวัคคีย์๕คนใช่ไหมครับ

สังเกตุว่าพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆส่วนมากจะมีคนตามบวชนับล้าน เพราะเหตุใดครับ

เพราะยุคคนอายุขัย๑๐๐ปี มีกิเลสหนาปัญญาหยาบใช่ไหมครับ

๒) บรรทัดที่๓๘ เขียนว่า "เข้าเฝ้าได้ยาก" หมายความว่าอะไรครับ เพราะพระพุทธเจ้าโคดมจะเทศน์ทุกวัน

พระพุทธเจ้าสุชาตะกี่วันเทศน์๑ครั้งครับ

๓) เหตุใดคุณดีๆจึงเลือกพระพุทธเจ้าสุชาตะครับ พระองค์มีสิ่งใดพิเศษที่ประทับใจ (หรือคุณดีๆมีชื่อจริงว่าสุชาติครับ)

#4 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 25 April 2008 - 10:38 PM

เรียน นักเรียนอนุบาล DJ96.25PM2-3
ถือว่าสนทนา แลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจและความคิดเห็นกันนะครับ

QUOTE
๑) พระพุทธเจ้าศรีศากยมุนีสมณโคดม เวลาออกบวชมีผู้ติดตามออกบวชกี่คน มีปัญจวัคคีย์๕คนใช่ไหมครับ


ตอนออกมหาอภิเนษกรมณ์ พระบรมโพธิสัตว์ ของเรานี้ ไม่มีผู้ติดตามออกบวช ครับ
มีแต่นาย ฉันนะ ตามเสด็จส่ง แล้วก็กลับกรุงกบิลพัสดุ์ครับ

ส่วนพราหมณ์ ๕ ท่านนั้น ติดตามพระองค์ในภายหลังครับ

QUOTE
สังเกตุว่าพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆส่วนมากจะมีคนตามบวชนับล้าน เพราะเหตุใดครับ


สังเกตได้ดีครับแนบไฟล์  thumbs_up.gif   71.06K   1 ดาวน์โหลด

ข้อนี้ผมไม่ทราบแน่ชัดว่า มีในบันทึกเหตุผล ตามข้อสังเกตนี้ หรือไม่

ผมเข้าใจว่า
การสั่งสมบุญญาบารมี ของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ
เช่น พระเมตเตยสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯล
ทรงใช้ระยะเวลายาวนานพิเศษ แบบวิริยาธิกพุทธะ ๘o อสงไขย(มหากัป) + กำไรแสนมหากัป

บุญบารมีที่มหาศาลนี้ จึงจัดสรร ให้ได้อุบัติในยุคสมัยที่
สิ่งแวดล้อมธรรมชาติดีมาก ๆ
อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ในยุคนั้น ๆ ยาวนานมาก เช่น แปดหมื่นปี , หนึ่งแสนปี ฯล
ยุคนั้น ๆ สัตว์โลกผู้สั่งสมบุญบารมีไว้มาก มาเกิดกันมาก เป็นยุคที่พื้นฐานศีล ธรรม ดีมากอยู่แล้ว เป็นต้น

ดังนั้นการออกบวช , การแสดงโอวาทปาติโมกข์ , การบรรลุธรรมาภิสมัย ของมนุษย์และเทวา ในยุคนั้น ๆ
จึงมีจำนวนคนมากมาย กว่า ยุคพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ครับ

QUOTE
๒) บรรทัดที่๓๘ เขียนว่า "เข้าเฝ้าได้ยาก" หมายความว่าอะไรครับ

ข้อนี้ผมไม่ทราบแน่ชัดว่า มีอรรถกถาจารย์เคย อธิบายขยายความหรือไม่

ผมเข้าใจว่า
คนเยอะ เวลามีเท่าเดิม ก็กลายเป็นเข้าเฝ้าได้ยาก กระมังครับ

QUOTE
พระพุทธเจ้าสุชาตะกี่วันเทศน์๑ครั้งครับ


ข้อนี้ควรศึกษาเรื่องพุทธจริยา พุทธกิจ อันเป็นประเพณีของพุทธวงศ์ ครับ

พุทธจริยาประการที่หนึ่ง โลกัตถจริยา ทรงอาศัยพุทธกิจประจำวัน ๕ ประการคือ พุทธกิจประการที่ ๑ เวลาเช้าเสด็จออกบิณฑบาต เพื่อเป็นการโปรดสัตว์โลกผู้ต้องการบุญ
QUOTE
พุทธกิจประการที่ ๒ ในเวลาเย็นทรงแสดงธรรมแก่คนผู้สนใจในการฟังธรรม
พุทธกิจประการที่ ๓ ในเวลาค้ำทรงประทานพระโอวาทให้กรรมฐานแก่ภิกษุทั้งหลาย
พุทธกิจประการที่ ๔ ในเวลาเที่ยงคืน ทรงแสดงธรรม และตอบปัญหาแก่เทวดาทั้งหลาย

พุทธกิจประการที่ ๕ ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูสัตว์โลกที่อาจจะรู้ธรรมซึ่งประองค์ทรงแสดง


จะเห็นว่า ปกติพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรม บันลือสีหนาท วันละ ๓ ครั้งครับ

ยกเว้น ช่วงไม่ปกติ เช่น ทรงอาพาธ ทรงปลีกวิเวก หลีีกเร้นในป่า
ดังเรื่อง ภิกษุเมืองโกสัมพี ทะเลาะกัน ครับ

QUOTE
๓) เหตุใดคุณดีๆจึงเลือกพระพุทธเจ้าสุชาตะครับ พระองค์มีสิ่งใดพิเศษที่ประทับใจ (หรือคุณดีๆมีชื่อจริงว่าสุชาติครับ)


happy.gif สนใจตรงที่ เป็นยุคที่ พระเจ้าจักรพรรดิ อุบัติร่วมสมัยพุทธกาล ครับ
ซึ่งในแต่ละพุทธกาล ยากที่จะมีพระเจ้าจักรพรรดิ อุบัติ ครับ

และยิ่งเชิดชูเกียรติคุณ ความยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่า

แม้ จักรพรรดิราช ผู้อุดมด้วยบุญบารมี ครอง รัตนะ ๗ สมบูรณ์ด้วยโลกียะสุข
ก็ยังสละราชสมบัติ ถวายราชสมบัติในมหาทวีปทั้ง ๔ พร้อมด้วยรัตนะ ๗
แด่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
แล้วทรงออกผนวชในสำนักของพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า

ตรงนี้โดนใจดีครับ

สรุปว่า ที่มีกระทู้นี้ เพราะเหตุดังกล่าว มิใช่ว่า ผมชื่อ ว่า สุชาติ ตามที่สงสัยครับ happy.gif

#5 DJ.

DJ.
  • Members
  • 1212 โพสต์

โพสต์เมื่อ 28 April 2008 - 01:37 PM

ผมคิดว่า พระพุทธเจ้าสุชาตะทรงมีอายุขัยยาวมาก ๙๐,๐๐๐ ปี และช่วงกลางๆประชาชนคงบรรลุพระอริยเจ้ากันหมด

แล้ว จึงไม่ต้องเทศน์มากนัก จึงมีเวลาเข้านิโรธสมาบัติ ๗ วันบ่อยๆ จึงเข้าเฝ้าได้เพียง ๗ วันต่อครั้ง จึงเรียกว่า

"เข้าเฝ้าได้ยาก"

#6 jane_072

jane_072
  • Members
  • 539 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 April 2008 - 10:12 AM

อนุโมทนาบุญด้วยนะครับ สาธุๆๆ

#7 ชินโนะสึเกะ

ชินโนะสึเกะ
  • Members
  • 9 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 July 2010 - 11:58 PM

ผมสงสัยครับ
เคยได้ยินมาจากพระไตรปิฏกว่า(จำไม่ได้ว่าตรงไหนหรืออาจจะเป็นอรรถกถาจารย์ก็ได้)
เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น พระเจ้าจักรพรรดิ์ก็จะไม่อุบัติ คือจะไม่อุบัติพร้อมกันเช่นเดียวกับพระปัจเจกพุทธเจ้าพระไม่อุบัติพร้อมกับพระพุทธเจ้า
ผมไม่มั่นใจ ช่วยทำให้หายสงสัยด้วย เพราะเรื่องนี้เท่ากับว่าคัมภีร์ขัดกันน่ะครับ

#8 ดุสิตาเทวบุตร

ดุสิตาเทวบุตร
  • Members
  • 213 โพสต์

โพสต์เมื่อ 11 July 2010 - 04:14 PM

สาธุครับ


#9 ตะกร้าอีกใบ

ตะกร้าอีกใบ
  • Members
  • 1297 โพสต์

โพสต์เมื่อ 11 July 2010 - 10:14 PM

พระเจ้าจักรพรรดิ์เกิดในยุดที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัคิขึ้นได้ไม่ใช่หรอครับ
อย่าขาดการปฏิบัติธรรมแม้แต่เพียงวันเดียว
เพราะขาดแม้เพียงวันเดียว ใจเราจะหยาบ ทำให้ผังวิตกกังวลได้ช่อง

7 ส.ค. 48



#10 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 12 July 2010 - 04:15 PM

QUOTE
เคยได้ยินมาจากพระไตรปิฏกว่า(จำไม่ได้ว่าตรงไหนหรืออาจจะเป็นอรรถกถาจารย์ก็ได้)
เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น พระเจ้าจักรพรรดิ์ก็จะไม่อุบัติ
คือจะไม่อุบัติพร้อมกันเช่นเดียวกับพระปัจเจกพุทธเจ้าพระไม่อุบัติพร้อมกับพระพุทธเจ้า


เกริ่นก่อนว่า
มธุรัตถวิลาสินี นั้นเป็นคัมภีร์ชั้น อรรถกถา ที่พรรณนา เกี่ยวกับพุทธวงศ์

ขยายความหมายของ อรรถกถา
http://th.wikipedia....rg/wiki/อ
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#11 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 24 August 2010 - 08:20 PM

คืนนี้ได้ยินพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ธมฺมชโย
เกริ่นถึงพระศรีอาริยเมตเตย ว่ามี พระเจ้าจักรพรรดิ์ มาอุบัติร่วมสมัยด้วย ทรงพระนามว่า พระเจ้าจักรพรรดิ์ สังขจักร

นึกถึงที่คุณ ชินโนะสึเกะ
สงสัยว่า
QUOTE
เคยได้ยินมาจากพระไตรปิฏกว่า(จำไม่ได้ว่าตรงไหนหรืออาจจะเป็นอรรถกถาจารย์ก็ได้)
เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น พระเจ้าจักรพรรดิ์ก็จะไม่อุบัติ
คือจะไม่อุบัติพร้อมกันเช่นเดียวกับพระปัจเจกพุทธเจ้าพระไม่อุบัติพร้อมกับพระพุทธเจ้า


แล้วยังไม่มีคำตอบที่มีหลักฐานทางคัมภีร์อ้างอิงอื่น ๆ มาสนับสนุนเพิ่ม

จึงย้อนค้นในกระทู้เก่า
พระอนาคตวงศ์
http://dmc.tv/forum/...?showtopic=1833
ความคิดเห็น #9

ก็มีคำตอบ ที่มีน้ำหนัก เหตุผลที่พอน่าเชื่อถือได้ แล้วนะครับว่า
มีพระเจ้าจักรพรรดิ เกิดในสมัยพุทธกาล ที่พระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์อยู่
ได้ครับ

สนใจรายละเอียด เชิญที่
พระอนาคตวงศ์
http://dmc.tv/forum/...?showtopic=1833
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#12 Tree

Tree
  • Members
  • 2076 โพสต์

โพสต์เมื่อ 25 August 2010 - 12:35 PM

เดี๋ยวพวกเราก็จะได้ฟังเรื่องราวของพระศรีอาริยเมตเตยจากคุณครูไม่ใหญ่แล้วนะครับ

สาธุ ครับผม