ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ขอความรู้เรื่องธรรมะ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 5 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 SuperNu

SuperNu
  • Members
  • 5 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 September 2009 - 01:31 AM

ฟังเทป ฟังซีดี ธรรมะ ของหลวงพ่อหลาย ๆ รูป จากหลาย ๆ สาย ทำไมบางครั้งก็รู้สึกว่าหลวงพ่อรูปอื่น ๆ สอนเหมือนหลวงพ่อคุณครูไม่ใหญ่ แต่บางครั้งก็เหมือนว่าไม่ใช่ทางเดียวกัน เลยสับสนในใจบ้าง ในหลาย ๆ เรื่อง บางครั้งไม่รู้จะเชื่อใคร ควรทำไงดีคะ

#2 สิริปโภ

สิริปโภ
  • Members
  • 1766 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:เรื่องลึกลับ

โพสต์เมื่อ 22 September 2009 - 08:57 AM

ผมว่า ถ้าเรื่อง ทาน,ศีล ส่วนใหญ่จะสอนไปในทางเดียวกันครับ ต่างกันที่รายละเอียดเล็กน้อยปลีกย่อย และเทคนิคชั้นเชิงในการแสดงธรรม

แต่เรื่องการภาวนา อาจจะสอนต่างกันบ้าง มีทั้งตื้นทั้งลึก ทั้งละเอียด และหยาบ การทำสมาธิภาวนาเป็นสิ่งที่ค่อนข้างละเอียดลึกซึ้ง โบราณจารท่านสอนวิธีการปฏิบัติไว้ถึง 40 วิธี ที่เรียกว่าคำภีร์วิสุทธิมรรค หรือกรรมฐาน40กอง ตามแต่จริตของผู้ปฏิบัติจะถนัดเลือกใช้วิธีไหน ครูบาอาจารย์บางท่าน ถนัดทำมาอย่างไร ส่วนใหญ่ก็จะเอาวิธีที่ตนถนัดมาสอนเหล่าสานุศิษย์ ซึ่งแต่ละอาจารย์แต่ละสำนักก็จะมีความถนัดมีความเชี่ยวชาญต่างการไป

แต่แท้ที่จริงแล้ว เป้าหมายหลักของการทำสมาธิภาวนา ก็คือการทำใจให้เป็นสมาธิ หรือการหยุดใจนั่นเอง หยุดใจจากสิ่งยั่วยุจากสรรพกิเลศต่างๆ เมื่อผู้ปฏิบัติสามารถฝึกฝนใจตนเองจนใจสงบไปถึงจุดหนึ่งแล้ว จะพบว่า ทางทุกสาย วิธีปฏิบัติธรรมจากหลายๆวิธี ล้วนมาบรรจบลงตรงที่จุดๆเดียวกัน คือการหยุดใจลง ณ ภายในใจ ภายในกาย ภายในวิญญาณของเรา ดังคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไว้ คือสติปัฏฐานสี่ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต จนกระทั่งไปเห็นธรรมในธรรม ที่แท้จริงในที่สุด




#3 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 22 September 2009 - 11:54 AM

วิธีแก้ความสับสน ก็คือ การทดลองให้รู้จริงน่ะครับ ดังที่คุณสิริปโภบอกมา คือ ถ้าคำสอนหลักๆ สำคัญๆ เช่น ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส มีเหมือนๆกัน แต่รายละเอียดปลีกย่อยไม่เหมือนกัน ก็ให้ลองปฏิบัติดูว่าถูกจริตกับเราหรือไม่น่ะครับ อย่างไหนถูกจริต เราก็ปฏิบัติไปตามนั้น สุดท้ายใจจะหยุดนิ่งได้เหมือนกัน
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#4 สุภาพบุรุษ072

สุภาพบุรุษ072
  • Members
  • 597 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 September 2009 - 06:12 PM

จุดแตกต่างในคำสอนของหลวงพ่อหลายๆรูปหรือสายต่างๆในเรื่องของการปฎิบัติธรรมนั้น ไม่ว่าจะปฎิบัติด้วยวิธีการใด
ถ้าใจหยุดถูกส่วนที่ศูนย์กลางกายฐานที่7อันเป็นที่ตั้งของใจ จากความต่างก็จะเป็นความเหมือน
คือเป็นการดำเนินไปสู่เส้นทางสายกลางภายใน
เป็นทางของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอริยเจ้าทุกๆพระองค์

#5 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 September 2009 - 11:55 PM

ทางเดียวกัน ต่างวิธีการ...

ทางเดียวกัน คือ ทางสายกลาง....ทุกยุค ทุกสมัย มีหนึ่งเดียว ผิดจากนี้ไม่มี
ต่างวิธีการ คือ ตามที่วิสุทธิมรรคกำหนดไว้ 40วิธี

ควรศึกษาให้ถ่องแท้ แล้ว พิสูจน์ด้วยตนเอง....ขอให้สำเร็จและสมหวังดังที่ตั้งใจไว้ในสิ่งที่ดีงามนะ
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#6 สุภาพบุรุษ072

สุภาพบุรุษ072
  • Members
  • 597 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 September 2009 - 09:14 AM

ในเรื่องของสมาธินั้น พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร)
ได้กล่าวไว้ในพระธรรมเทศนาเรื่อง สมาธิเบื้ื้องต่ำและสมาธิเบื้องสูง (28 กุมภาพันธุ์ 2497)ว่า
''สมาธิท่านวางหลักมาก ไม่ใช่แต่จิตแน่นเท่านี้ ไม่ใช่แต่จิตปราศจากอารมณ์ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งเท่านี้
สมาธิท่านวางหลักไว้ถึง 40 แต่ว่า 40 ยกเป็นปริยายเบื้องสูงเสีย 8 เหลืออีก 32 นั้นก็เป็นที่ทำสมาธิเหมือนกัน แต่ว่าเป็นสมาธิฝ่ายนอกพระศาสนา ไม่ใช่ในนะ สมาธิข้างนอก แต่ว่าเห็นข้างนอก แล้วก็น้อมเข้าไปข้างในได้ ถ้าสมาธิตรงข้างใน
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เช่นนี้ละก็ ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนาทีเดียว

สมาธินอกพระพุทธศาสนาออกไปน่ะ ที่พระพุทธเจ้ารับรองอนุโลมเข้ามาในพระพุทธศาสนานั่นกสิณ10 อศุภะ10
อนุสติ10 เป็น30แล้ว อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัตถานเป็น32นี่สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำทั้งนั้น ไม่ใช่สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ถึงจะทางปริยัติก็ดี ทางปฏิบัติก็ดี ว่าโดยปริยายเบื้องต่ำ สมาธิโดยทางปริยัติก็แบบเดียวกัน สมาธิโดยทางปฏิบัติก็แบบเดียวกัน แต่ว่าสมาธิโดยทางปริยัติไม่เห็น ผู้ทำสมาธิไม่เห็น นั่นสมาธิในทางปริยัติ

ถ้าสมาธิในทางปฏิบัติ ผู้ได้ ผู้ถึง เห็นทีเดียว เห็นปรากฏชัดทีเดียว นั่นสมาธิในทางปฏิบัติ เห็นปรากฏชัด เห็นปรากฏชัดดังนั้น

ส่วนสมาธิโดยปริยายเบื้องสูงต้องพูดถึงฌาน จิตที่เป็นดวงใส ที่เห็นเป็นดวงใสอยู่นั่นแหละ ผู้ปฏิบัติจะเข้าถึงซึ่งสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ต่อไปได้ ใจต้องหยุดนิ่งกลางดวงจิตที่ใสนั่น ต้องหยุดนิ่งทีเดียว พอหยุด ถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ ก็เกิดเป็นฌานขึ้นกลางดวงจิตที่หยุดนั่น กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กลางดวงจิตที่หยุดนั่น นิ่งหนักเข้าๆ พอถูกส่วนเข้าก็เข้ากลางของหยุดนั่น เข้ากลางของหยุดพอถูกส่วนถึงขนาดถึงที่เข้า เป็นดวงผุดขึ้นมา เป็นดวงผุดขึ้นๆ กลางนั่นแหละ ดวงใหญ่ไม่ใช่ดวงย่อย วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 2 วาหนาคืบหนึ่ง กลม เป็นปริมณฑล กลมรอบตัว วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 2 วาหนาคืบหนึ่ง ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ถ้าดวงนั้นผุดขึ้นมา มีกายๆ หนึ่ง กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ ขึ้นนั่งอยู่กลางดวงนั้น''

โดยพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี(หลวงปู่สด จนฺทสโร)ได้กล่าวสรุปไว้ในพระธรรมเทศนาเรื่อง ปัพพโตปมคาถา (28 มีนาคม 2497)ว่า
''เมื่อจรดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์แล้ว ก็บริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจ ไม่มีร่องเสียเลย
นั่นแหละถูกต้องร่องรอยความประสงค์ทางพระพุทธศาสนา''