หอไตร ...........สถาปัตยกรรมพื้นบ้านกลางน้ำ............
หอไตรเป็นที่เรือนหรืออาคารที่เก็บรักษา หนังสือผูก ใบลาน จารึกพระไตรปิฎก ปัจจุบันบ้างเป็นพิพิธภัณฑ์เชิงพุทธ และ เป็นอนุสรณ์รำลึกถึง ภูมิปัญญาของบรรพชนที่ตั้งใจเก็บรักษาจารึกพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้
1.jpg 95.77K
399 ดาวน์โหลด
ส่วนใหญ่หอไตรในอดีตนิยมสร้างเป็นลักษณะงานเครื่องไม้ โดยภูมิปัญญาคนโบราณที่ต้องการจะป้องกันปลวกแลงมากัดกิน คัมภีร์, ป้องกันน้ำท่วมและความชื้น เห็นได้ทั่วไปอยู่ 2 แนวทาง คือ การสร้างหอไตรไว้ในกลางสระน้ำ โดยทั่วไป และ การสร้างหอไตรสูง 2 ชั้น
2.jpg 48.84K
430 ดาวน์โหลด
การสร้างหอไตรสูง 2 ชั้น ชั้นบนเป็นไม้ ชั้นล่างก่ออิฐฉาบปูน พบในวัดใหญ่ทางภาคเหนือ
หอไตรในล้านนามีแบบแผนที่ไม่แตกต่างจากภาคกลางมากนัก ด้วยเป็นอาคารขนาดเล็ก สร้างขึ้นเพื่อเก็บรักษาพระไตรปิฎกและพระธรรมคัมภีร์ โดยต้องปลอดภัยจากแมลงกินไม้กินกระดาษจำพวกปลวก มอด จะต่างกันเพียงรูปแบบการประดับตกแต่ง และรายละเอียดประกอบอาคาร เป็นอาคารสองชั้น ชั้นบนใช้เก็บคัมภีร์ ชั้นล่างเป็นที่นั่งอ่านธรรม ไม่มีบันไดหรือทางขึ้นที่สะดวกนัก ส่วนใหญ่ใช้พาดขึ้นชั่วคราวและเก็บเมื่อใช้เสร็จ ถ้าเป็นอาคารไม้ก็มักจะสร้างอยู่กลางน้ำ ถ้าอยู่บนบกก็จะสร้างชั้นล่างเป็นเครื่องก่อ ชั้นบนเป็นเครื่องไม้
3.jpg 55.87K
343 ดาวน์โหลด
หอไตรวัดทุ่งศรีเมือง (อุบลราชธานี)
เป็นหอไตรกลางน้ำ สร้างด้วยไม้ มีลักษณะผสมระหว่างไทย พม่า และลาว ลักษณะอาคารเป็นแบบไทย เป็นเรือนฝาปะกนขนาด 4 ห้อง เก็บตู้พระธรรมลงรักปิดทอง หลังคามีลักษณะเป็นศิลปะไทยผสมพม่า มีช่อฟ้าใบ ระกา แต่หลังคาซ้อนกันหลายชั้น ส่วนลวดลายแกะสลักบนหน้าบันทั้งสองด้าน เป็นลักษณะศิลปะแบบลาว เป็นสถาปัตยกรรม ของอีสานที่สวยงามและสมบูรณ์ที่สุดครับ
ประวัติโดยย่อ : เมื่อพระอริยวงศาจารย์ฯ สร้างหอพระพุทธบาทเสร็จแล้ว ก็ได้สั่งให้ช่าง สร้างหอไตรที่สระกลางน้ำ โดยยมีจุดประสงค์ใช้เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกคือ คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา และปรัชญาพื้นบ้าน รวมถึงตำราต่างๆ มากมาย ส่วนมากเป็นหนังสือใบลานจารึกด้วยอักษรธรรมและสมุดข่อย ไม่ให้แห้งและกรอบและเพื่อกันปลวก มิให้ทำลายพระไตรปิกฎให้เสียหาย
4.jpg 77.35K
97 ดาวน์โหลด
“ ชาวบ้านถือว่าหอไตรเป็นตัวแทนของพระธรรมเจดีย์ และถือเป็นของสูงที่ต้องกราบไหว้บูชา เป็นสิ่งศักดิ์ของชาวบ้านเห็นได้จากบุคคลทั่วไปไม่ควรขึ้นไป โดยผู้ที่จะขึ้นไปบนหอไตรนั้น ส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุสามเณรหรือผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ”
5.jpg 184.64K
298 ดาวน์โหลด
หอไตร ถือเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นบ้านอย่างแท้จริง ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาและความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของคนในหมู่บ้าน ในการสร้างสิ่งก่อสร้างเพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจชาวพุทธ
ดังนั้น การอนุรักษ์ และ บูรณะ หอไตรในเชิงสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมชาวพุทธจึงควร รักษาไว้คู่พระพุทธศาสนาไทยต่อไป
6.jpg 131.52K
329 ดาวน์โหลด
ที่มาข้อมูล
สถาสาระ: หอไตรอีสาน : ปองพล ยาศรี 2551
องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
เมืองโบราณสมุทรปราการ
สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
หอไตร ...........สถาปัตยกรรมพื้นบ้านกลางน้ำ............
เริ่มโดย อู่ต่อเรือ, Jul 07 2009 08:55 PM
มี 8 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 07 July 2009 - 08:55 PM
ใส ไว้ก่อน นั่ง นิ่งๆ ทิ้งทั้งตัว
#2
โพสต์เมื่อ 08 July 2009 - 09:43 AM
ดีจัง...เสียดายที่หอไตรนี้กลายเป็นประวัติศาสตร์-แหล่งท่องเที่ยว...แม้จะไม่มีมดปลวก...แต่ก็กลายเป็นที่อยู่ที่อาศัยของค้างคาวไปแล้วครับ
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC
#3
โพสต์เมื่อ 09 July 2009 - 05:11 PM
ตอนนี้กำลังเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้พอดีเลย
ขิบคุณนะคะที่ให้ความรู้เพิ่มเติม
ขิบคุณนะคะที่ให้ความรู้เพิ่มเติม
#4
โพสต์เมื่อ 11 July 2009 - 05:10 AM
รูปที่ ๒ จากข้างล่างเป็นหอไตรที่วัดพระสิงค์ เชียงใหม่หรือเปล่าครับ
#5
โพสต์เมื่อ 11 July 2009 - 11:03 AM
รูปที่ ๒ จากข้างล่าง ใช่หอไตรที่วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ แน่นอนค่ะ คนเชียงใหม่ขอยืนยันเจ้า
#6
โพสต์เมื่อ 14 July 2009 - 01:57 AM
สาธุ
ได้เกิดมาเป็น "มนุษย์"
ได้เจอพุทธศาสนา
ได้เจอแผนที่ชี้ทางที่ถูกตรง ได้พบครูบาอาจารย์ และกัลยาณมิตรอย่างนี้แล้ว
ไม่ฉกฉวยโอกาสและกำลังจากชาตินี้แล้ว จะไปรอเอาชาติไหน
ได้เจอพุทธศาสนา
ได้เจอแผนที่ชี้ทางที่ถูกตรง ได้พบครูบาอาจารย์ และกัลยาณมิตรอย่างนี้แล้ว
ไม่ฉกฉวยโอกาสและกำลังจากชาตินี้แล้ว จะไปรอเอาชาติไหน
#7
โพสต์เมื่อ 18 July 2009 - 11:24 AM
สาธุค่ะ ...ก็เป็นหน้าที่เราช่วยกันสนับสนุนทางวัดดูแลอาคารที่มีคุณค่าให้ใช้งานได้ยั่งยืนต่อไปค่ะ
#8
โพสต์เมื่อ 14 February 2010 - 03:53 PM
เก่า ดีเนอะ
ขอบคุณสำหรับ ภาพดีๆ คับ
สาธุๆ
ขอบคุณสำหรับ ภาพดีๆ คับ
สาธุๆ
+^^ Just You Make ^^+
#9
โพสต์เมื่อ 12 March 2010 - 05:54 PM
เป็นภาพที่ดีมากๆคะ
สาธุคะ
สาธุคะ